เกร็ดประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ทางสายธาตุ, 3 ตุลาคม 2010.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระขุนแผน กรุกลางทุ่งมะขามหย่อง

    [​IMG]

    [​IMG]
    พระขุนแผนเคลือบกรุกลางทุ่งมะขามหย่องอยุธยา ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า เป็นพระพิมพ์ที่อยู่ในยุคเดียวกับ กรุงวัดใหญ่ชัยมงคล กรุงวัดเชิงท่า นนทบุรี กรุบางใหญ่ นนทบุรี หรือแม้แต่ วัดบ้านกลิ้ง อำเภอบางปะอิน อยุธยา และผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบทางด้านพุทธศิลปะ และเนื้อผง ต่างๆมีลักษณะเดียวกับพระขุนแผนเคลือบในกรุดังที่กล่าวมาแต่ลักษณะของพระขุนแผนเคลือบของกรุ กลางทุ่งมะขามหย่อง เนื้อออกจะมีสีค่อนข้างดำแต่ดำไม่มากนัก สาเหตุเนื่องมาจากบริเวณทุ่งภูเขาทองและทุ่งมะขามหย่องในฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมทุกปี จึงเป็นสาเหตุให้พระขุนแผนของกรุกลางทุ่งมะขามหย่องจะมีผิวคล้ำไปบางเล็กน้อยเนื่องจากกรุถูกน้ำท่วม ส่วนด้านพุทธคุณ ซึ่งมีพระพุทธคุณสูงส่งเหมือนพระกรุ เช่นวัดใหญ่ชัยมงคลหรือกรุบ้านกร่าง ผู้ที่บูชาพระขุนแผนกรุทุ่งมะขามหย่อง จะมีเสน่ห์ เมตตามหานิยมแคล้วคลาดปลอดภัยอันตรายใด ๆ ทั้งปวงเป็นพระกรุงขุนแผนเคลือบอีกองค์หนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่องต้องนำติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งปวง

     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทำไมจึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระขุนแผน ก็ไม่ทราบ ในความเห็นส่วนตัวคิดว่าน่าจะให้เรียกพระพิมพ์ชุดนี้ว่าพระพิมพ์พุทธชินราช นะคะ
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คณะบุคคลผู้เทิดทูนและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ได้ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงและทอดผ้าป่าอุทิศบุญกุศลถวายแด่พระองค์ที่วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ) จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันแรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นวันทางจันทรคติ ที่ตรงกันกับ วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ ที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา ตามกำหนดการดังนี้

    ๐๙.๐๐ น. เริ่มพิธีบวงสรวง

    ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล

    ๑๓.๐๐ น. ทอดผ้าป่า

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1320463/[/MUSIC]
    แด่ยอดรักนักรบไทย
    กัญญนัทธ์ ศิริ

    เนื้อร้อง /ทำนอง/ ขับร้อง


    ไกลสุดขอบฟ้า ฝากศรัทธารัก...ถึงเธอ
    จากภูผา โอบขอบฟ้า สู่ทะเล
    ยอดรัก ฉันรอคอย ไม่หักเห
    ไม่รวนเร รอเธอกลับ...นับวันคืน
    (ก่อนจะนอน ฉันขอพร พระคุ้มครอง)

    เธอ คือยอดดวงใจ ที่ห่วงใยฉันทุกนาที
    ปกป้องผืนแผ่นดินนี้ ด้วยศักดิ์ศรี นักรบไทย

    บัดนี้ เธอห่างหาย ชีพวางวาย...เพื่อชาติไทย
    เพรียกหา..เธอออยู่แห่งไหน โถ ดวงใจ จะขาดรอน

    *ขอเธอจงหลับไหล โอบกอดไพร ใต้เเสงจันทร์
    คืนนี้ไม่ต้องฝัน อาบจันทร์ นิรันดร์ กาล
    ยอดรัก ฉันจะกล่อมให้หลับไหล
    หลับเถิด ใต้ธงไทย สดุดี

    จะขอเฝ้าจดจำ จารึกไว้ สุดหัวใจ
    โอ้ยอดนักรบไทย ที่ดวงใจฉันเทิดทูน


    บทเพลงนี้ ขอมอบให้แก่ ทหารหาญนักรบ และผู้กล้า ทั้งในอดีต และปัจจุบันที่สละชีพเพื่อชาติ

    กุศลทั้งหมดทั้งมวลนี้ ขอถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช<!-- google_ad_section_end -->


    ขอขอบคุณบทเพลงแด่ยอดรักนักรบไทย ที่คุณโมเยกรุณาส่งมาให้ฟังค่ะ​
     
  4. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +498
    ก็เพราะพระพิมพ์นี้มีพุทธคุณครบทั้งเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดคงกระพันเหมือนขุนแผนครับ
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขอบคุณค่ะ ที่ทำให้ทราบถึงที่มาของชื่อพระพิมพ์นี้
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    คาถาบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

    อิติจิตตัง เอหิ เทวะตาหิ จะมหาเดโช นะระปูชิโต โสระโส ปัจจะยา ทิปปะติ
    นะเรโส จะ มหาราชา เมตตา จะกะโรติ มหาลาภัง สะทาโสตถิ ภะวันตุเม

    ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมกราบบูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    พระองค์ผู้ทรงมหาเดชานุภาพ ทรงเป็นทรัพย์อันใหญ่ยิ่งของชาติไทย เป็นที่รักและเคารพอย่างยิ่ง
    ของประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ขอพระบุญญานุภาพของพระองค์ทรงแผ่เมตตาบารมีคุ้มครอง
    ป้องกันภัยพิบัติ ประทานพรให้ข้าพระพุทธเจ้าและครอบครัว ให้มีความเจริญรุ่งเรืองด้วย ทรัพย์สิน
    เงินทอง มีลาภ มีความสุขสวัสดี ชั่วนิจนิรันดร์ เทอญฯ
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วันกองทัพไทย เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135 (บางตำราว่า ปีพุทธศักราช 2136)

    เดิมกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พุทธศักราช 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอา
    วันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันกองทัพไทย และวันสถาปนากระทรวงกลาโหมลง 13 มิถุนายน 2513 ต่อมาในภายหลัง ได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็น วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม (ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทย ลง 23 สิงหาคม 2549) ในปัจจุบัน วันที่ 18 จึงถือเป็น "วันยุทธหัตถี" "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" หรือ " วันกองทัพไทย "


    ในปี พุทธศักราช 2135 พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมก ไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวง บริเวณหนองสาหร่าย เช้าของวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2135 สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือ ช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้ว หรือเคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่า หลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์ และจาตุรงค์บาทเท่านั้น ที่ติดตามไปทัน สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้ กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรง ของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบ ของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกัน ให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราไม่มีอีกแล้ว" พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอ เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพ ชนพลายพัทธกอ เสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

    ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้ปืนระดมยิงใส่สมเด็จพระ
    นเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป
    นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเลย

    พระแสงของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประหารพระมหาอุปราชาครั้งนั้น ได้นามต่อมาว่า "พระแสงแสนพลพ่าย" และ
    พระมาลาที่ถูกฟันปรากฏนามว่า "พระมาลาเบี่ยง" นับเป็นเครื่องมงคลราชูปโภคมาจนบัดนี้ ส่วนช้างศึกที่ชนะก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"
     
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ขอท่านทั้งหลายจงภูมิใจในสายเลือดสยามนี้เถิด
    อันว่าความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้แล..คือพลังแห่งการกอบกู้อิสระภาพแห่งเรา
    ถึงลูกหลานรุ่นหลังปัจจุบันนี้ อันความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
    มิได้ขึ้นอยู่กับความทันสมัยของค่านิยมจากอารยธรรมอื่นดอก
    เราต้องมีความสำนึกในความเป็นคนสยาม มีวัฒนธรรมของเรา มีภาษาของเรา มีนักกรบผู้กล้าและเสียสละของเรา รวมแล้วเป็นประเทศของพวกเราทุกคน

    ขอจงอย่าทำลายชาติ
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดบ้านกลิ้ง อ.บางปะอิน

    <TABLE style="WIDTH: 100%" border=0 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]


    แต่เดิมมีเรือนไม้โบราณแห่งหนึ่ง ซึ่งเรือนหลังนี้เดิมทีอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า เป็นตำหนักของเจ้านาย สร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ภายหลังได้รื้อไปปลูกไว้ที่ วัดบ้านกลิ้ง อยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ อำเภอบางปะอิน เดิมมีอยู่ด้วยกัน ๒ หลัง คือ หอไตร เป็นห้องมีระเบียงรอบ และหอเขียน เป็นศาลาไม้มีฝา ๓ ด้าน ทุกฝามีภาพลายรดน้ำประกอบเต็มทุกฝา​

    ต่อมาเนื่องจากอาคารทรุดโทรมลงมาก ชาวบ้านจึงได้รื้อ แล้วรวมเอาไม้ปลูกขึ้นใหม่เป็นหลังเดียว แต่เนื่องจาก ภาพลายรดน้ำได้จางไปมากแล้ว การประกอบจึงไม่ได้เรียงตามลำดับเนื้อเรื่อง เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๐๒ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นพระนัดดา (หลาน) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ได้ทรงทราบว่าที่วัดเล็กๆ ซึ่งเกือบจะร้างอยู่แล้วแห่งนี้ มีเรือนโบราณเก่าแก่อยู่หลังหนึ่งที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีผู้ใดบูรณะรักษาเลย แต่มีสิ่งสวยงาม พระองค์ท่านจึงทำผาติกรรม ไถ่ถอนย้าย มาไว้ที่วังสวนผักกาด และได้ทรงโปรดให้มีการบูรณะพระประธานที่วัดชาวบ้านเรียกขานกันว่าหลวงพ่อขาว ระบุปีไว้ที่ฐานขององค์หลวงพ่อขาวว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๔๓ ( สมัยพระนเรศวรมหาราช )​

    ทั้งทรงโปรดให้สร้างศาลาสวดมนต์และศาลาท่าน้ำ ถวายวัดบ้านกลิ้งเป็นการทดแทน พร้อมกับได้จ่ายเงินในการซ่อมแซมตัวอาคารและภาพลายรดน้ำไปเป็นจำนวนมาก เสด็จในกรมฯ ทรงประทานหอเขียนเป็นของขวัญแก่ "คุณท่าน" เมื่ออายุครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ และได้เชิญชาวบ้านกลิ้งมาทั้งหมดซึ่งขณะนั้นชาวบ้านวัดบ้านกลิ้งมีอยู่เพียงประมาณ ๑๐๐ คน เพื่อให้มาชมหอเขียนที่ย้ายมาจากวัดบ้านกลิ้ง และได้ปลูกสร้างใหม่นี้ (ปัจจุบันสามารถชมได้ที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด)​

    นอกจากการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ในปี ๒๕๐๒ แล้ว เสด็จในกรมฯ ท่านได้ทรงสร้างขุมทรัพย์ไว้ในฐานชุกชี ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่คือหลวงพ่อขาวประดิษฐานอยู่กลางแจ้งมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อีก ๗ องค์เรียงรายอยู่โดยรอบ โดยไม่มีใครในสมัยนั้นคาดคิดถึงมาก่อน การบูรณะซ่อมแซมในสมัยนั้นพระสงฆ์และชาวบ้านได้นำ พระเครื่องที่เก็บรักษาไว้ในวัดซึ่งมีพระพุทธรูปสมัยอยุธยาจำนวนมาก พระโคนสมอ พระขุนไกร แม้แต่พระแผงใบขนุนก็ยังมี นอกจากนี้ยังมีพระขุนแผนเคลือบที่สมัยนั้นค่านิยมในการแลกเปลี่ยนเป็นเงินทองยังไม่มีค่ามากมายอะไรนัก เข้าบรรจุในฐานชุกชี รวมไปถึงใต้ฐานพระองค์เล็ก ๆ ที่ประดิษฐานอยู่รายรอบพระประธานองค์ใหญ่ กลายเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่ามหาศาล ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน การบูรณะในเวลานั้นรวมถึงครั้งต่อ ๆ มา เป็นการบูรณะโดยชาวบ้านวัดบ้านกลิ้งเอง มีการโบกปูนทับ ทาสีใหม่ จากการสังเกตพระพุทธรูปปูนปั้นคราวแตกกรุพบว่ามีการเคลือบปูนปิดอยู่หลายชั้น​

    [​IMG] [​IMG]

    วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๐ ได้มีการพบพระขุนแผนเคลือบบริเวณฐานชุกชีของพระองค์เล็กที่เป็นองค์บริวาร องค์หนึ่ง (จากรูปองค์ขวามือสุดของเรา) พร้อมกับพระขุนไกรอีก ๒ องค์ เหตุที่มีการเคลื่อนย้ายพระเนื่องจากทางวัดต้องการสร้างวิหารครอบทับพระหลวงพ่อขาว และพระที่ตั้งอยู่กลางแจ้งทั้งหมด ซึ่งส่วนหลังของวิหารจะไปชนกับด้านหน้าโบสถ์ จึงต้องเคลือนย้ายพระที่อยู่กลางแจ้งเลื่อนออกไปทางด้านหน้า พระขุนแผนเคลือบที่ขึ้นมาองค์แรก เวลานั้นยังไม่มีใครรู้ว่าเป็นพระอะไร หลังจากนั้นได้พบพระใต้ฐานชุกชีพระองค์ใหญ่อีกหลายองค์ ได้มีการนำพระที่ได้มาแจกจ่ายกันในหมู่พระสงฆ์และกรรมการวัด​

    จนมีพระรูปหนึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดโปรดสัตว์ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดบ้านกลิ้ง ได้นำพระมาวางอุบายให้เซียนพระเข้ามาพิจารณาดูอ้างว่าเป็นพระมรดกตกทอดมีอยู่ด้วยกันหลายองค์แต่ยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างพี่น้อง จนเมื่อได้รับทราบความจริงว่าเป็นพระที่มีค่ามหาศาลเช่าหากันหลักล้าน เกิดการเจรจาซื้อขายกันในหมู่พระและกรรมการวัดด้วยกัน รวมถึงมีเซียนพระท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการขุดพระออกมาจำหน่าย หลายต่อหลายองค์ ทำให้มีพระหลุดไปจากวัดในช่วงแรกนั้นจำนวนหนึ่ง ​

    [​IMG] [​IMG]


    (พระขุนแผนเคลือบพิมพ์แขนอ่อน ติดแน่นอยู่กับด้านหลังของพระขุนไกร และป้ายที่ฐานชุกชีที่เพิ่งขุดพบ ตัวเลขภาษาขอม ระบุปี ๒๑๔๓)​


    จนข่าวแพร่กันไปปากต่อปาก ถึงมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น ปิดกันไม่อยู่จึงมีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ ๔ กันยายน โดยความยินยอมของเจ้าอาวาส และกรรมการวัด เกิดความขัดแย้งการขโมยพระที่ขุด การลักลอบจำหน่ายไปแบบส่วนตัวก็มี เมื่อถึงวันที่ ๖ กันยายนทางคณะกรรมการวัดได้ลงมติให้มีการนำพระที่เหลือทั้งหมดออกจำหน่าย รวม ๑๐ องค์ โดยมีการตั้งมูลค่าไว้สูงถึง ๑๐ ล้านบาท​

    นับรวมพระที่มีการจำหน่ายอย่างลับ ๆ จนถึงการซื้อขายอย่างเปิดเผย มีพระขุนแผนเคลือบวัดใหญ่จำนวนทั้งสิ้น ๓๓ องค์ ในจำนวนนี้รวมพระแตกหักเกินกว่า ๑๐ องค์ เป็นการเสียหายเนื่องจากการขุดค้นโดยเร่งรีบและผิดวิธีการทั้งสิ้น และพระขุนแผนไม่เคลือบ (ขุนแผนวัดจักรวรรดิ์) ๒องค์ ​


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    จากหลักฐานทั้งหมดที่มาของขุนแผนเคลือบจึงสันนิษฐานได้ ๒ กรณี​

    ๑. เป็นพระที่บรรจุไว้ในฐานชุกชี ตั้งแต่สมัยพระนเรศวรมาแล้ว (ตามปีที่ระบุไว้ที่พระหลวงพ่อขาวว่าสร้างขึ้นสมัยพระนเรศวรมหาราช) เมื่อการบูรณะต้นปี ๒๕๐๐ นำขึ้นมาลงรักปิดทองไว้แล้วบรรจุไว้ตามเดิม ความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่าหลวงพ่อขาว ต้องมีการสืบค้นกันต่อไป​

    ๒. เป็นพระที่ชาวบ้านวัดบ้านกลิ้ง ซึ่งขณะนั้นมีประมาณ ๑๐๐ คน ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านของช่างฝีมือ (พิจารณาจากคำบอกเล่า และเรื่องของการบูรณะเรือนไม้ประวัติศาสตร์) ซึ่งได้ไปทำการบูรณะวัดใหญ่ชัยมงคล นำพระขุนแผนเคลือบติดไม้ติดมือมา ลงรักปิดทองและบรรจุไว้ที่ฐานหลวงพ่อขาวคราวบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๐๐​

    ขุนแผนเคลือบวัดใหญ่ในฐานชุกชีหลวงพ่อขาว เมื่อค้นคว้าโดยละเอียดจึงมีความสำพันธ์กับ พระนเรศวรมหาราช รวมไปเชื้อพระวงศ์ซึ่งมีศักดิ์เป็น พระราชนัดดา (หลาน) ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มหาราช อีกทั้งเรือนไทยที่มีความสวยงามติดอันดับต้น ๆ ของโลกก็ยังได้สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งทรงเป็นมหาราชอีกองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    "หัวเจ้าซุง" คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    จากหน้า 58 หนังสือ เจาะตำนาน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH>Wan-li: Year 1, Month 3, Day 4</TH><TD>(5 Apr 1573)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    The Vice Minister Yin Zheng-mao, military superintendent of Guang-dong/Guang-xi, memorialized: "The yi envoys sent by Hua-zhao-song (Alternatives: Hua-tai-zhu or Hua-zhao-zhu), the king of the country of Siam, have come to present tribute of local products. They claim that the seal and tally-slips which were originally conferred [upon their country] were destroyed by fire when the country of Dong-niu) attacked and destroyed their cities, and they have requested that replacements be supplied." The matter was sent to the Ministry of Rites for deliberation.

    Hua zhao song หรือหัวเจ้าซุง เป็นผู้ทรงนำ yi หรือเครื่องราชบรรณาการไปกรุงปักกิ่งด้วยพระองค์เอง หังเจ้าซุงพระองค์นี้ก็คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    Hua-zhao-song (華招宋)

    華 หัว

    แปลเป็นคำนามว่า
    1. China
    2. flower
    3. flora
    แปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า
    1. flowery
    2. magnificent
    3. splendid
    4. gray
    5. flashy
    6. prosperous
    招 เจ้า

    แปลว่า
    1. trick
    2. recruit
    3. attract
    4. beckon
    宋 ซุง หรือ ซ่ง

    มาจากคำว่า Song Dynasty ราชวงศ์ซ่ง


    Hua-zhao-song (華招宋) แปลรวมว่าอย่างไรไม่ทราบค่ะ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง

    [​IMG]

    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top rowSpan=2 width="16%">siamese นิลพัท

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ตอบ: 1970​


    [​IMG]





    </TD><TD height="100%" vAlign=top width="85%"><TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 15 เม.ย. 11, 16:26


    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" height=20 vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR style="BACKGROUND-COLOR: #adadad">รายละเอียดบริเวณนกสับทำเป็นครุฑ ศิลปะงานคร่ำทอง และที่สับทำเป็นหัวสิงห์ งดงามมาก ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชศาสตราวุธ รำลึกแห่งวีรกรรมครั้งสมเด็จพระนเรศวรทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง

    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2><HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ขอแก้ไขที่เคยกล่าวว่า ไกปืนของพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง เป็นนกสับของพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง เป็น ครุฑดำ​

    และที่คาบชนวนไฟขอแก้ จากรูปพญานาค เป็นรูปหัวสิงห์ (แต่ข้าพเจ้าเองยังคลุมเคลือเพราะเห็นแล้วเหมือนพญานาคมากกว่า​

    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">หัวสิงห์

    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2><HR class=hrcolor SIZE=1 width="100%">[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ขอบคุณข้อมูลจากเวปเรือนไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2011
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    <TABLE id=post2827666 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_2827666 class=alt1>
    วัดเอกแห่งอรัญญิการาม


    ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงความสำคัญของวัดไชยวัฒนารามในฐานะ ที่เป็นวัดออกบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์ปราสาททอง

    และราชวงศ์บ้านพลูหลวง ในพระอัยการลักษณะมรดกกล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระเจ้าปราสาททองว่า

    “พระเจ้าแผ่นดินสถิตในพระที่นั่งพลับพลาทองเหนือพระมหาวิหาร พระชัยวัฒนาราม เมื่อ พ.ศ.2179

    และการเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ในปีเดียวกัน

    นอกจากนี้วัดไชยวัฒนารามยังเป็นสุสานของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนบุคคลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กรมหมื่นอินทรเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ หรือแม้กระทั่งเจ้าธรรมธิเบศร์ เจ้าฟ้าสังวาลเป็นต้น

    อาจารย์ น. ณ ปากน้ำได้ให้ทัศนะไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับฐานะของวัดไชยวัฒนารามว่า

    ในสมัยตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง บางทีสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว สังฆราชฝ่ายอรัญวาสี น่าจะเสด็จมาอยู่วัดไชยวัฒนารามเป็นประจำ เพื่อต้อนรับกษัตริย์และเจ้านาย

    และเมื่อพิจารณาที่ตั้งของวัดทั้งสองก็คงเป็นไปได้เพราะไม่ได้ไกลกันเท่าไหร่นัก พระวันรัตท่านเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ คงจะไปครองอยู่แทนพระเถระ เพราะวัดไชยวัฒนารามเป็นวัดใหญ่วัดใหญ่โตกว่าวัดป่าแก้วแถมอาจจะโก้หรูกว่าด้วย”


    วัดที่ไม่ไกลกัน ก็คือวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) กับวัดไชยวัฒนารามค่ะ

    และมีความเป็นไปได้ค่ะที่พระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะยังคงสถิตย์อยู่ที่วัดป่าแก้วโบราณแห่งกรุงศรีอยุธยา วัดนั้นก็คือวัดวรเชษฐ์<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +898
    ขออนุโมทนา เจ้าของกระทู้ ที่นำสิ่งดีๆ มาเผยแพร่สู่เพื่อนสมาชิกด้วยกัน

    อ่านทีไร น้ำตาซึมทุกที ไม่รู้เพราะอะไร

    เรื่องของวัดวรเชษฐ์ เมื่อ ๓ ปีที่แล้ว ก็มีข่าว ในเว็บ เรื่องอัฐิของพระนเรศวร ว่าเก็บไว้ที่เจดีย์องค์ใหญ่ครับ

    ลองค้นดู สำหรับผมถ้าเดินทางเป็นการส่วนตัวหรือไม่รีบ จะแวะกราบทุกครั้ง ที่แรกก็ไม่รู้เหมือนกันว่า

    ทำไมสดุจใจกับเจดีย์ และชื่อวัดด้วย ก็มาพบเรื่องราวของวัดในเว็ปพลังจิตนี้ละครับ
     
  17. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    ทุกนอนทึกคืนและก่อนออกไปทำงาน จะระลึกพร้อมทั้งอธิษฐานจิตถึงพระองค์และบูรพามหากษัตริย์ไทยทุก ๆพระองค์
    ลูกหลานเหลนโหลน พสกนิกรคนนี้ มิเคยลืมในพระมหาธิคุณของมหากษัตริย์ไทยทุก ๆพระองค์
    ด้วยเกล้าด้วยกระม่อมขอเดชะ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ได้ไปค้นหาบทความจากหนังสือเล่มหนึ่งมาค่ะ เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยนั้น
    ในบันทึกราชวงศ์หมิง บันทึกไว้ว่า ปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรทรงมีราชสาส์นไปราชสำนักจีนว่าจะทรงไปปราบโจรญี่ปุ่นให้ โจรญี่ปุ่นท่านนี้ชื่อ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ เป็น ไดเมียว (ตระกูลที่มีอิทธิพลในญี่ปุ่นตระกูลหนึ่ง) ซึ่งร่วมมือกับลิ้มโต๊ะเคี่ยมออกปล้นทรัพย์กับเรือสินค้าที่ผ่านไปผ่านมาทางทะเลจีนใต้ด้วย<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    [​IMG]

    โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (ญี่ปุ่น: 豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi 2 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2079 - 18 กันยายนพ.ศ. 2141 <SUP>?</SUP>) คือไดเมียว ที่สำคัญของญี่ปุ่นใน ยุคเซงโงกุ ที่ได้สร้างวีรกรรมต่อจาก โอดะ โนะบุนะงะ

    [​IMG]

    ประวัติส่วนตัวของฮิเดโยชิ

    ฮิเดโยชิ เกิดที่ย่านไอจิ แคว้นโอวาริ (ในเขตนากามุระ เมืองนาโกย่าในปัจจุบัน) เขาเกิดมาโดยไม่มีสายเลือดของนักรบอยู่เลย เป็นชาวนาที่ยากจน มีนามเดิมว่า คิโนชิตะ โทคิจิโร่ ฮิเดโยชิมีฉายาว่า "ลิง"ตั้งแต่เด็ก ต่อมาเขาได้เดินทางไปยังดินแดนของอิมากาว่า โยชิโมโต้ และเข้าร่วมรับใช้เป็นพลทหาร ในปี พ.ศ. 2100 ฮิเดโยชิได้เดินทางกลับโอวาริบ้านเกิด ในช่วงที่โอดะ โนบุนางะได้ทำสงครามกับอิมากาว่า โยชิโมโต้ที่โอเกฮาซามะ ปี พ.ศ. 2103 เขาได้เข้าร่วมทัพของโนบุนางะ แล้วร่วมกันโจมตีทัพของอิมากาว่าที่มีกำลังเหนือกว่า 5 เท่าเป็นอันสำเร็จ

    ระหว่างที่โนบุนางะทำศึกกับตระกูลไซโต้ ฮิเดโยชิได้คิดอุบายให้โนบุนางะเข้ายึดปราสาทอินาบะยามะซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทกิฟุ หนึ่งในปราสาทที่สำคัญของโนบุนางะ นอกจากนั้นเขาได้เป็นเพื่อนสนิทกับ มาเอดะ โทชิอิเอะ ซึ่งเป็นแม่ทัพคนสนิทของโนบุนางะด้วย แต่เนื่องด้วยนิสัยที่ชอบทำตัวหยิ่งเกินตัว และไต่เต้ามาอยู่ในตำแหน่งสูงในเวลาที่รวดเร็ว ทำให้นายทหารคนอื่นไม่ชอบเขาโดยเฉพาะ ชิบาตะ คัทสึอิเอะ

    ฮิเดโยชิได้เดินทางร่วมกับโนบุนางะไปยังเกียวโตและเปลี่ยนชื่อจาก คิโนชิตะ โทคิจิโร่ เป็น ฮาชิบะ ฮิเดโยชิ (羽柴 秀吉) และได้ร่วมทำศึกต่างๆ มากมายเช่นศึกที่แม่น้ำอาเนกาว่า ที่ปะทะกับอาซากุระ และอาซาอิ นางามาสะ ศึกที่นางาชิโนที่โนบุนางะและโตกุกาว่า อิเอยาสึ ปราบทัพม้าอันเกรียงไกรของทาเคดะ คัทสึโยริอย่างราบคาบ เขาได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากศึกต่างๆ ที่ผ่านมาอย่างชำนาญ ระหว่างที่ฮิเดโยชิได้ถูกส่งไปกับโมริทางตะวันตก อาเคจิ มิทสึฮิเดะก็ก่อกบฏและสังหารโนบุนางะกับทายาทเสีย แต่จากนั้นหนึ่งสัปดาห์ กองทัพของฮิเดโยชิกับโอดะ โนบุทากะบุตรชายคนที่สามของโนบุนางะก็สามารถเอาชนะกองทัพของมิทสึฮิเดะได้ที่ยามาซากิ เขาสามารถคว้าชัยชนะได้อย่างง่ายดาย รวดเร็วก่อนที่หลุมศพของโนบุนางะจะถูกสร้างเสร็จเสียอีก<!-- google_ad_section_end -->

    ...... วีรกรรมโดยย่อ

    ในปี พ.ศ. 2133 ฮิเดโยชิได้ร่วมทัพกับอิเอยาสึ เพื่อปราบตระกูลโฮโจที่ปราสาทโอดาวาร่า โฮโจ อุจิมาซะ ได้รวบรวมไดเมียวภาคเหนือให้ร่วมเป็นพันธมิตรเช่น ดาเตะ มาซามุเนะ โมกามิ โยชิอากิระ และ นัมบุ โนบุนาโอะต่อมา ทัพโฮโจเริ่มขาดเสบียง แถมฮิเดโยชินั้นยืดเยื้อไม่โจมตีเข้ามาอีก ทำให้โฮโจเริ่มเสียท่า โฮโจต้องเผชิญปัญหาต่อมาคือ การแปรพักตร์ของดาเตะ มาซามุเนะและเหล่าไดเมียวจากภาคเหนือ และในที่สุด โฮโจก็ยอมจำนนพร้อมกระทำฮาราคิรี หลังจากนั้นเขาก็ให้อิเอยาสึย้ายมาอยู่ที่นี่ โดยที่ฮิเดโยชิจะเอาจังหวัดของอิเอยาสุไป 5 จังหวัด
    ปี พ.ศ. 2135 ฮิเดโยชิได้ยกทัพเรือข้ามทะเลโจมตีเกาหลีในรัชสมัยพระเจ้าซอนโจ ซึ่งเขาตั้งใจจะบุกให้เข้าถึงเมืองจีน แต่ทัพของเขาก็พ่ายต่อทัพเกาหลีที่มีทัพจีนมาช่วย การบุกเกาหลีนี้มีถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จทั้งสองครั้ง
    สิ้นสุดการปกครอง

    ปี พ.ศ. 2141 สุขภาพของฮิเดโยชิก็แย่ลง เขาได้เรียกผู้อาวุโสทั้ง 5 มารับคำสั่ง ผู้อาวุโสนี้ประกอบไปด้วย โตกุกาว่า อิเอยาสึ มาเอดะ โทชิอิเอะ อุกิตะ ฮิเดอิเอะ อุเอสึงิ คาเงคัตสึ และ โมริ เทรุโมโตะ เมื่อฮิเดโยชิเสียชีวิตไป ผู้ที่ควรจะได้ครอบครองอำนาจต่อคือ โทโยโทมิ ฮิเดโยริ บุตรชายของเขา แต่ทว่าปีถัดมาโทชิอิเอะก็สิ้นชีพตามกันไปเช่นกัน อำนาจจึงตกอยู่ในมือของโทะกุงะวะ อิเอะยะสึ

    วีรกรรมของฮิเดโยชิ ทำให้เขาเป็นผู้บุกเบิกญี่ปุ่นเป็นคนที่ 2 ต่อจากโนบุนางะ และก่อนคนสุดท้ายซึ่งก็คือผู้สถาปนาเมืองเอะโดะบาคุฟุ (โทะกุงะวะบาคุฟุ) โทะกุงะวะ อิเอะยะสึ



    ถ้าใครดูหนังเรื่อง เจ้าหญิงอัตสึ ช่อง Thai PBS คาดว่าตระกูลโทะกุงะวะ ก็คือตระกูลโชกุนที่เจ้าหญิงอัตสึแต่งเข้าไปอยู่ในช่วงปลายสมัยของตระกูลโทะกุงะวะ ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยเมจิ<!-- google_ad_section_end -->


    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ในช่วงเวลาที่เหลือของรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ทรงส่งคณะทูตไปจีน 4 ชุดในปี ค.ศ.1554 ค.ศ.1558 ค.ศ.1559 และ ค.ศ. 1560 ตามลำดับ

    หลังปีค.ศ. 1560 ไปแล้ว สงครามระหว่างอยุธยากับพม่ารุนแรงมากขึ้นจนในที่สุดอยุธยาเสียแก่พม่าใน ค.ศ.1569 พม่าได้สถาปนาพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาในฐานะประเทศราชของพม่า

    สมเด็จพระนเรศวรพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นี้ถูกนำตัวไปพม่าในฐานะตัวประกัน ใน ค.ศ.1573 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงส่งคณะทูตบรรณาการไปจีนอีก และทรงทูลขอพระราชท่านตราตั้งใหม่ ซึ่งก็ได้รับพระรามชทาน

    ดูเหมือนว่าจีนเข้าใจผิดอีกว่า พระมหากษัตริย์องค์ใหม่นี้คือ พระมหินทราธิราช พระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิซึ่งครองราชย์เพียงชั่วระยะหนึ่งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา และได้ถูกนำตัวไปพม่าในฐานะตัวประกันเมื่อกรุงแตก

    ในปี ค.ศ. 1575 ไทยส่งคณะทูตไปจีนอีกครั้งหนึ่งเพื่อทูลขอพระราชทานตราตั้งซึ่งจักรพรรดิทรงพระราชทานให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1573 แต่ปรากฏว่ามิได้ให้ไปกับคณะทูตไทยชุด ปีค.ศ. 1573นั้น กรมพิธีการกราบบังคมทูลต่อจักรพรรดิว่า ตราเก่าที่พระราชทานไปให้ไทยนั้นเป็นเวลานานแล้ว ฉะนั้นจึงยากที่จะตรวจสอบหลักฐานและรูปแบบตราได้

    จักรพรรดิทรงมีพระบัญชาให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงส่งรูปแบบและตัวหนังสือจีนในตราเก่าและครูสอนภาษาไทยไปจีน สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากก็คือ ทั้งๆที่เคยมีความพยายามมาหลายครั้งในการจัดให้มีล่ามไทยในปักกิ่ง แต่ปัญหาทางด้านภาษาก็ยังคงมีอยู่ นอกจากนั้นแล้ว การที่จักรพรรดิทรงทูลขอแบบ และ ตัวหนังสือจีนในตราเก่า ก็ชี้ให้เห็นว่า

    ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรเสื่อมโทรมลงเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ดังปรากฏว่าอัตราเฉลี่ยของการส่งคณะทูตไทยไปจีนลดต่ำลงมากหลังจากประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปแล้ว



    คัดมาจากหนังสือความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,812
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ใน ค.ศ. 1577 คณะทูตไทยได้นำตราที่ชำรุดแล้วไปจีน บรรดาทูตและล่ามพักอยู่ในปักกิ่งเพื่อสอนภาษาไทยให้ขุนนางจีน บุคคลเหล่านี้ได้รับพระราชทานหมวก เสื้อคลุมและเข็มขัด ซึ่งเป็นเครื่องหมายว่าเป็นขุนนางในราชสำนักจีนหรือนักปราชญ์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงส่งคณะทูตไปสองชุดสุดท้าย ในรัชสมัยของพระองค์ใน ค.ศ.1578 และ ค.ศ. 1579

    เพื่อที่จะแก้ปัญหาเรื่องการแปลภาษาไทยให้ลุล่วง ขุนนางจีนกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งแผนกไทยในกรมต้อนรับคณะทูตต่างประเทศใน ค.ศ.1579 ซึ่งก็ได้รับพระบรมราชานุญาต<!-- google_ad_section_end -->

    ใน ค.ศ. 1584 สมเด็จพระนเรศวรรัชทายาททรงประกาศอิสรภาพของไทยจากการเป็นประเทศราชของพม่า พระองค์ทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชบิดาใน ค.ศ. 1590 และต่อมาใน ค.ศ.1593 ทรงทำสงครามยุทธหัตถีชนะพม่า

    ก่อนที่พระองค์จะทรงครองราชย์พระองค์ทรงใช้เวลาเกือบทั้งหมดตอบโต้การรุกรานของเขมรซึ่งเกิดขึ้นอย่างน้อย 6 ครั้งในระหว่าง ค.ศ. 1586-1602 และต่อต้านการรุกรานจากพม่าหลายครั้ง

    เมื่อพิจารณาพระราชภารกิจในการปกป้องเขตแดนของอาณาจักรไทยแล้ว แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าพระองค์ทรงสามารถส่งคณะทูตไทยซึ่งประกอบด้วยคนในคณะทูต 27 คนไปจีนในปี ค.ศ. 1592 เพื่อเสนอจะเข้าโจมตีโอบล้อม ฮิเดะโยชิ (Hideyoshi) จากด้านหลัง ตัน เชียน (Tan chien) เขียนถึงข้อเสนอของพระองค์ในอีก 50 ปีต่อมาว่า

    เสียว เอี้ยน(Hsiao Yen) อุปราชแห่งมณฑลกวางทั้งสอง(กวางตุ้งและกวางสี) นำความขึ้นกราบบังคมทูลถวายจักรพรรดิว่า (พระมหากษัตริย์) ไทยมีความโกรธเคืองผู้สำเร็จราชการ กัมปากุ (Kampaku) (ของญี่ปุ่น) อย่างมาก ความรู้สึกสำนึกในหน้าที่ที่เกิดขึ้นเพราะเห็นใจประเทศเพื่อนบ้านทำให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีความปรารถนาจะช่วยเหลือจักรพรรดิ

    คัดมาจากหนังสือความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย<!-- google_ad_section_end -->

    Hideyoshi Toyotomi (1582-1598)
    [​IMG]

    - One of Japan's three most important pre-modern "heroes",
    similar to Americans like Benjamin Franklin and George Washington

    [​IMG]

    The armor of Hideyoshi Toyotomi

    [​IMG]


    Korean monks fighting off invasion by Toyotomi Hideyoshi, 1592<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...