นักวิทยาศาสตร์เตือนหายนะจากโลกร้อน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>นักวิทยาศาสตร์เตือนหายนะจากโลกร้อน

    คอลัมน์ โลกสามมิติ

    โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th




    </TD><TD vAlign=top align=right>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    [​IMG]

    สิ้นศตวรรษนี้หรือปี 2100 อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 1.8-4 องศาเซลเซียส หรือ 3.2-7.2 องศาฟาเรนไฮต์ และระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นระหว่าง 28-43 เซนติเมตรหรือ5-23 นิ้ว และแผ่นน้ำแข็งฤดูร้อนในทะเลอาร์กติกจะละลายหมดภายในกลางศตวรรษ

    แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น มนุษย์อาจจะเผชิญกับคลื่นความร้อน พายุไต้ฝุ่นและเฮอiNริเคนที่รุนแรงมากขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นตลอดทั้งศตวรรษนี้
    [​IMG]

    นี่คือรายงานฉบับที่ 1 ว่าด้วยการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change -IPCC) ของสหประชาชาติ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2007 ภายหลังสิ้นสุดการประชุมของนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศจำนวน 2,500 คนจาก 113 ประเทศทั่วโลก ในระหว่างวันที่ 29 ม.ค.-1 ก.พ.2007 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

    รายงานของ IPCC ฉบับนี้ ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงมากว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกมาจากกิจกรรมของมนุษย์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินและกิจกรรมอื่นๆ มากกว่าเกิดจากธรรมชาติ

    "ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของมนุษย์ต่อภูมิอากาศของโลกดีขึ้นภายหลังรายงานเมื่อปี 2001 ซึ่งนำไปสู่ความมั่นใจในระดับที่สูงมากๆ ว่ากิจกรรมของมนุษย์ส่งต่อภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1950 มากที่สุด" รายงานระบุ

    เมื่อปี 2001 รายงานของ IPCC ระบุว่ามนุษย์ "น่าจะ" (likely) เป็นตัวการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกมากกว่าธรรมชาติ คำว่าน่าจะหมายถึงความเป็นไปได้ 66-90% แต่ในปีนี้ใช้คำว่า "น่าจะมากทีเดียว" (very likely) ซึ่งหมายถึงความเป็นไปได้สูงมากอย่างน้อยที่สุด 90%

    ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมี 6 ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน (HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6)

    ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมีปริมาณ 280 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 381 ส่วนในล้านส่วน

    การสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ชั้นบรรยากาศของโลกถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจก ทำให้กั้นรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวโลกไม่ให้สะท้อนกลับขึ้นสู่อวกาศ เหมือนเรือนกระจกที่ใช้เพาะปลูกต้นไม้ในประเทศเขตหนาว ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านเข้าไปภายในเรือนกระจกได้แต่ความร้อนยังคงอยู่ภายใน

    อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกในปัจจุบันสูงกว่าศตวรรษที่แล้ว 0.6 องศา เซลเซียส และจะสูงขึ้นต่อไปหากไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้

    IPCC พยากรณ์ไว้เมื่อปี 2001 ว่า อุณหภูมิของโลกเมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้จะสูงขึ้นในระหว่าง 1.4-5.8 องศาเซลเซียสหรือ 2.5-10.4 องศาฟาเรนไฮต์ แต่ในปีนี้ IPCC พยากรณ์ว่าน่าจะอยู่ในระหว่าง 1.8- 4.0 องศาเซลเซียสและน่าจะเป็น 4 องศาเซลเซียสมากที่สุดหากมนุษย์ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    [​IMG]

    ส่วนการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น IPCC พยากรณ์ไว้เมื่อปี 2001 ว่าจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 9-88 เซนติเมตร แต่ในปีนี้พยากรณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 18-59 เซนติเมตรหรือ5-23 นิ้ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าเป็นการประเมินที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเพราะ IPCC ไม่ได้คำนวณอัตราการละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาไว้ด้วย

    ระดับน้ำทะเลของโลกเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1870 เท่ากับ 1.44 มิลลิเมตรต่อปี ในศตวรรษที่ 20 เพิ่มขึ้นเป็น1.7 มิลลิเมตรต่อปี และนับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมาเพิ่มขึ้นเป็น 1.75 มิลลิเมตรต่อปี

    ดร.ลอนนี ทอมป์สัน ศาสตราจารย์สาขาธรณีวิทยา และนักธารน้ำแข็งวิทยาของศูนย์ Byrd Polar Research Center มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ซึ่งมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำแข็งขั้วโลกมากมายเป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่เห็นแย้งกับรายงานของ IPCC

    งานวิจัยของเขาพบว่าระดับน้ำทะเลเมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้จะสูงมากกว่า 55 นิ้ว (140 เซนติเมตร) ซึ่งจะทำให้พื้นที่ราว 1ใน 3 ของ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกาจมอยู่ใต้ทะเล

    แต่ก่อนจะถึงปี 2100 พื้นที่บางส่วนของโลกก็จะพบกับความหายนะแล้ว ทอมป์สัน บอกว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเพียง 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) ก็จะต้องอพยพผู้คนและสัตว์เลี้ยงบริเวณชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดินลึก 1 ไมล์ ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 55 นิ้วก็ต้องอพยพเข้าไปในแผ่นดินลึก 55 ไมล์
    [​IMG]

    ปัจจุบันสถานการณ์การละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกยังน่าเป็นห่วง ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เมื่อปีที่แล้วพบว่าปริมาณน้ำแข็งของทะเลอาร์กติกในฤดูหนาวปี 2005-2006 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเวลา 26 ปีที่ผ่านมา ถึง 6% และอัตราการละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงเวลาระหว่างปี 1996-2005 โดยธารน้ำแข็งได้ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติกเร็วขึ้น

    เมื่อปลายปี 2006 รายงานของเซอร์ นิโคลาส สเติร์น อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกที่ชื่อว่า Stern Review on the Economics of Climate Change ซึ่งมีความหนาถึง 700 หน้าได้เตือนถึงหายนะจากโลกร้อนไว้ว่าถ้าโลกไม่เคลื่อนไหวที่จะจัดการลดก๊าซเรือนกระจกเสียตั้งแต่บัดนี้จะเกิดหายนะอย่างใหญ่หลวงจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ

    โดยจะเกิดน้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นซึ่งต้องอพยพคนมากถึง 100 ล้านคน ธารน้ำแข็งละลายจนทำให้ประชากรโลก 1 ใน 6 ขาดแคลนน้ำจืด สัตว์ป่าอย่างน้อย 40% ของสปีซีส์ทั้งหมดจะสูญพันธุ์ จะเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้งซึ่งอาจจะทำให้ประชากรโลกหลายสิบล้านคนหรือหลายร้อยล้านคนกลายเป็นผู้ลี้ภัย
    [​IMG]

    ปัจจุบันหลายประเทศในทวีปแอฟริกาได้รับผลกระทบแล้ว อุณหภูมิที่แอฟริกาสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 0.5 องศาเซลเซียส หลัง 100 ปีที่ผ่านมา โดยในหลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และในบางพื้นที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 3.5องศา เซลเซียสภายในระยะ 20 ปีเท่านั้น เช่นบางส่วนของประเทศเคนยา

    อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้แอฟริกาขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและการบริโภค

    รายงานฉบับนี้ยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกลงนามในสัญญาลดก๊าซเรือนกระจกฉบับใหม่ในปี 2007 แทนที่จะรอการพิจารณาในปี 2010/11 ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่หลังพิธีสารเกียวโตสิ้นสุดลง

    พันธกรณีของประเทศอุตสาหกรรมตามพิธีสารเกียวโต (ซึ่งไม่มีประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย) คือต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากที่ปล่อยไว้ในปี 1990 ภายในปี 2008-2012

    แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าโลกจะปลอดภัยก็ต่อเมื่อมีก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศต่ำกว่าระดับในปี 1990 ประมาณ 60% ดังนั้น เป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเพียง 5.2% จึงไม่เพียงพอที่จะลดภาวะโลกร้อน

    นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าตราบใดที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดไม่ร่วมกับนานาชาติในการลดก๊าซเรือนกระจกก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้

    ภารกิจของ IPCC ยังไม่สิ้นสุด IPCC จะจัดทำรายงานอีกสองฉบับ ฉบับที่ 2 จะว่าด้วยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อมนุษย์ซึ่งจะเผยแพร่ในเดือน เมษายน 2007และฉบับที่ 3 จะว่าด้วยการจัดการบรรเทาผลกระทบอย่างไรซึ่งจะเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2007
    [​IMG]
    -------------------
    Ref.
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01tec14100250&day=2007/02/10&sectionid=0143
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2007
  2. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,352
    หยุดไม่ได้ซะแล้ว..
     
  3. chakrit

    chakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +966
    แผ่นดินใหม่กำลังจะเกิดขึ้นหรือเปล่า
     
  4. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ต้องหยุดได้สิ!
     
  5. ปกรณ์

    ปกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +3,761
    ^^
     
  6. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    โลกร้อนสำแดงเดช จีนเหงื่อแตก-"จาการ์ตา"จม

    คอลัมน์ ข่าวเด็ด7วัน



    [​IMG]



    ผ่านพ้นการเปิดข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกมาได้หนึ่งสัปดาห์ ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกับจีน ชาติที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

    ปีที่ผ่านมา จีนเติบโตถึงร้อยละ 10.7 และคาดว่าในปีนี้การเติบโตจะดำเนินต่อไปในระดับที่ใกล้เคียงกัน

    การเติบโตดังกล่าวไม่เพียงนำความปลาบปลื้มมาเท่านั้น แต่ยังตามมาด้วยความวิตกกังวลด้วย

    เพราะในการผลิตภาคอุตสาหกรรม จีนจะต้องเผาผลาญพลังงานอีกมาก ซึ่งหมายถึงถ่านหินและพลังงานสกปรกอื่นๆ ที่จะปล่อยก๊าซที่ก่อภาวะเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก

    ขณะที่จีนครองอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ชาติที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก

    และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเริ่มสำแดงให้จีนเห็นในสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศในต้นปีนี้แล้ว



    เริ่มตั้งแต่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงมีอากาศอุ่นที่สุดในช่วงฤดูหนาวในรอบร้อยปี

    น้ำแข็งในทะเลสาบละลาย จนทางการต้องประกาศห้ามการเล่นสเกตน้ำแข็งตามทะเลสาบ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรง

    นายกัว หู หัวหน้าศูนย์สังเกตสภาพอากาศเทศบาลกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์นี้ ชาวจีนในกรุงปักกิ่งจะรู้สึกถึงอุณหภูมิที่สูงที่สุดในรอบ 167 ปี หลังจากเมื่อวันจันทร์ อุณหภูมิสูง 16 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าอุ่นมากในฤดูหนาว <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากรายงานของไชน่าเดลี่ ต้นแม็กโนเลียเริ่มออกดอกแล้ว ทั้งที่ปกติ ดอกไม้จะผลิบานในเดือนเมษายน ช่วงฤดูใบไม้ผลิ

    ส่วนที่เจียงซู มณฑลทางฝั่งตะวันออกของจีน และซินเกียง มณฑลฝั่งตะวันตก ระยะทางห่างกัน 3,000 กิโลเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยจากเดือนมกราคมถึงธันวาคมต่างสูงที่สุดในรอบ 56 ปี

    ที่มณฑลเฮย์หลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิสูงสุดในรอบ 40 ปี และที่มณฑลส่านซี ประชากรอย่างน้อย 300,000 คน เริ่มขาดแคลนน้ำดื่ม ปริมาณน้ำฝนลดลงจากระดับเฉลี่ยถึงร้อยละ 90 ในเดือนมกราคม



    อย่างไรก็ตาม ในนาทีนี้ รัฐบาลจีนแจ้งว่าจะยังไม่มีแผนใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานถ่านหินหรือพลังงานสกปรกอื่นๆ

    นางเจียง หยู โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงว่า ชาติที่พัฒนาแล้วควรจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ หลังจากที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอื่นๆ มานาน และในปริมาณมาก

    นายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐที่รณรงค์ต่อต้านภาวะโลกร้อน กล่าวว่า สิ่งที่จีนพูดนั้นไม่ผิด แต่จีนเองจะมีส่วนอย่างยิ่งต่อการลดภาวะโลกร้อน

    ด้านนายฉิน ต้าเหอ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมอุตุนิยมวิทยาจีน กล่าวว่า จีนจะปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ลงร้อยละ 20 ภายใน 5 ปีข้างหน้า <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากที่ขณะนี้พลังงานของจีนร้อยละ 70 มาจากการเผาถ่านหิน ในการผลิตที่เร่งตอบสนองความต้องการของประชาชน 1,300 ล้านคน

    ในปี 2548 จีนสร้างโรงงานพลังงานถ่านหินที่รัฐบาลอนุมัติถึง 117 แห่ง หรือคิดเป็นอัตราสร้างโรงงาน 1 แห่งใน 3 วัน

    ขณะที่จีนสั่งปิดโรงงานเผาถ่านหินที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์กว่า 5.4 ล้านตันไปแล้ว



    ไม่เพียงจีนเท่านั้นที่นักสิ่งแวดล้อมวิตกกังวลกับสถานการณ์แปรปรวนทางอากาศ

    อินโดนีเซีย ได้รับรายงานการศึกษาและพยากรณ์จากอีโว เดอ บัวร์ เจ้าหน้าที่ของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UNFCCC) ว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกาะของอินโดนีเซีย ซึ่งมีราว 18,000 เกาะ ส่วนใหญ่ไม่มีคนอาศัยอยู่ จะจมหายไปในทะเล 2,000 เกาะ ภายในปี 2573 เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

    และในปี 2551 ที่จะถึงนี้ อินโดนีเซียยังจะต้องเผชิญภาวะขาดแคลนข้าว เพราะฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้ชาวนาปลูกข้าวไม่ได้

    หลังจากการเปิดข้อมูลดังกล่าวได้ไม่นาน กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ต้องเผชิญภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 50 ราย

    พื้นที่ 75% ของเมืองหลวงจมอยู่ใต้บาดาล ประชาชน 500,000 คนในเมืองหลวงและจังหวัดใกล้เคียงต้องอพยพจากบ้านเรือน สร้างความเสียหายไปแล้วกว่า 16,233 ล้านบาท

    แม้ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำจะเริ่มลดลง แต่ชาวอินโดนีเซียจะต้องฟื้นฟูบ้านเรือนที่ต้องใช้เวลาอีกนาน

    ขณะที่ไม่มีสัญญาณรับประกันว่า ในปีนี้อินโดนีเซียต้องเผชิญกับความแปรปรวนของอากาศอีกหรือไม่



    ด้านเวียดนาม ชาติที่มีเศรษฐกิจร้อนแรงรองจากจีน ได้รับคำเตือนจากภาวะโลกร้อนเช่นกัน

    เมื่อนายมาร์ก โลว์ค็อก ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ กระทรวงพัฒนาระหว่างประเทศของอังกฤษ กล่าวว่า เวียดนามจะเป็นอีกประเทศนอกเหนือไปจากบังกลาเทศ สำหรับชาติที่มีพื้นที่ต่ำที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

    เนื่องจากเวียดนามมีชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาว 3,200 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ต่ำ ถ้าน้ำทะเลขึ้นสูง 1 เมตร เวียดนามจะสูญเสียพื้นที่ไปร้อยละ 12 และกลืนบ้านเรือนประชาชนกว่าร้อยละ 23 จากประชากร 84 ล้านคน

    ความแปรปรวนทางอากาศได้แสดงให้เห็นในปีที่แล้ว เมื่อเวียดนามเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นกว่า 10 ลูก

    ขณะที่ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นถี่ขึ้นและแรงขึ้น

    คำเตือนนี้จึงไม่มีอะไรที่เกินจริง

    ------------------
    Ref.
    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03for20110250&day=2007/02/11&sectionid=0306
     
  7. *( Pregiiez )*

    *( Pregiiez )* สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +10
    หยุดได้คับ ถ้าคนไม่ทำลายธรรมชาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2007
  8. naf06

    naf06 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    577
    ค่าพลัง:
    +2,227
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และหดตัวไป ว้าวม่ายช่ายดับไปคราบบบบบบบบบบ
     
  9. bbjuatm

    bbjuatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +636
    ขอให้มันดีขึ้นครับ
     
  10. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,074
    ค่าพลัง:
    +638
    คนเยอะก้องี้แหละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...