ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Nart Lamp, 27 มิถุนายน 2011.

  1. Nart Lamp

    Nart Lamp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +15
    1. นิมนต์พระ
    หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา
    การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่
    ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี
    รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน
    การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว
    ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ
    นิมนต์เจ้าค่ะ" (ใช้คำไฮโซมาก)
    มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์" (เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว)
    การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ
    โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย - -")
    การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย
    ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษา
    มากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ
    อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง" ทำเอาเสีย
    self จนอยากสึกออกไปทำ baby face
    โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่า
    กวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์
    หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ

    2. จบ
    อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ
    การจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน
    การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป
    เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก
    นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า "โยมขออะไรเราน้า?"

    3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า
    จริงๆแล้ว จุุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่าน
    เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่ง
    มีหลายประเภทเหมือนกัน เช่น
    บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" (สูงกว่าเดิมอีก)
    บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น (หนักกว่าเก่า)
    เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า
    พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควรถอดรองเท้าใส่บาตรนะ"
    โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
    โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
    พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม
    โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
    โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ
    อิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร
    อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล (เรื่องขำขันขณะฉันเพล)
    พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่

    4. ใส่บาตร
    อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร
    สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า
    บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร
    พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป
    พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ
    ก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ
    นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า
    เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี
    ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป
    เคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี"
    กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า
    แต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" (อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ)
    คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง"
    การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม
    โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับ
    ชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)
    ขั้นตอนต่อไปคือ

    5. รับพร
    หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร
    เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
    เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว
    (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก))
    ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม
    ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป

    การใส่บาตรที่อยากแนะนำก็มีประมาณเท่านี้
    [/COLOR]ขั้นตอนการทำบุญง่ายๆ ตื่นเช้ามาใส่บาตรกันเถอะครับ พี่น้อง
    อ่านแล้วเข้าใจว่าผู้เขียนคงจะเป็นพระที่อารมณ์ดีมาก เขียนได้ดีเลยนำมาให้อ่านด้วยกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มิถุนายน 2011
  2. Red-X

    Red-X เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +1,217
    อนุโมทนา สาธุ ขอบคุณมากค่ะ อ่านไปยังขำไป แต่เนื้อหาดีมากค่ะ
     
  3. Monarchtoon

    Monarchtoon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +56
    อนุโมทนาด้วยนะครับ เป็นบทความที่อ่านแล้วได้อารมณ์มากครับ อิอิ
     
  4. ฟปำ

    ฟปำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +1
    เข้าใจแล้วครับ

    ไม่เคยใส่บาตรเลยครับ
    จะ20ปีละ
     
  5. พระยาเดโชชัยมือศึก

    พระยาเดโชชัยมือศึก สินธพอมรินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,742
    ค่าพลัง:
    +12,024
    ก่อนจะใส่บาตร ตั้งใจว่าถวายให้พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ แล้วแยกอาทิสมานกายออกไป ขอให้ท่านแม่พระธรณีและท่านพ่อพระยายมราชเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลครั้งนี้
    ใส่บาตรแบบนี้ แม้นครั้งเดียวในชีวิต ใส่แม้นแค่โจ๊กถุงเดียว แต่ถ้าใจบริสุทธิ์ จิตผ่องใส ก็ยังหาที่สิ้นสุดแห่งอานิสงล์บุญครั้งนี้ไม่ได้เลย
     
  6. พระยาเดโชชัยมือศึก

    พระยาเดโชชัยมือศึก สินธพอมรินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,742
    ค่าพลัง:
    +12,024
    ถ้าไม่ได้ใส่เอง ก็ให้โมทนาบุญคนที่ใส่ เราก็เอาอาทิสมานกายเราไปครอบคนที่กำลังใส่บาตร แล้วแผ่บุญสิ่งที่ใส่บาตรให้เจ้าของเขาไป ทำแบบนี้ได้นะครับ
     
  7. ตายแน่!

    ตายแน่! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +509
    ก่อนออกไปบิณฑบาต จริงๆพระสงฆ์ล้างหน้าแปลงฟันได้หรือป่าวครับ ขอความรู้
     
  8. ณัฐธัญพงษ์

    ณัฐธัญพงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +237
    5. รับพร
    หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร
    เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
    เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว
    (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก))
    ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม
    ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป

    ขออนุญาตอ้างอิงข้อความนี้ครับในเรื่องของการใส่บาตและรับพรพระ

    สิกขาบทที่ ๑๔<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ภิกษุ พึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่<o:p></o:p>
    ภิกษุ สามเณร พึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จะไม่เทศนาแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ จำไว้นะข้อนี้ <o:p></o:p>
    ผมเองไปบ้านน้อยเมืองใหญ่ เห็นพระทั้งหลายนั้นไปภกขาจาร บิณฑบาต ตามตรอกน้อยตรอกใหญ่ โยมเขาใส่บาตรเสร็จแล้วเขานั่งเคารพ พระก็ยืนให้พรเขา<o:p></o:p>
    ( ยะถา วาริวะหา ปูราฯ จงเป็นผู้เจริญด้วยโภคสมบัติ อายุมั่นขวัญยืน ) .....นั่นแหละ.....<o:p></o:p>
    ยืนให้พรเห็นแก่ลาภ และ ไม่เคารพพระธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นว่าปั้นข้าวนั้นดีกว่า ธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะตัวเองไม่เคารพ ยืนเทศนาวัตรให้แก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ ตัวเองก็ไม่เป็นไข้ จะสำคัญว่าตัวเองถูกอย่างไร พระทำอย่างนั้นก็เป็นโมฆะ ควรที่จะเป็นบุญของเขาก็ไม่ใช่ เพราะตัวเองเป็นพระทุศีล ล่วงเกินทำศีลข้อนี้ขาด อานิสงส์ให้ทานก็เลยได้น้อย เพราะ ให้ทานบูชาพระทุศีล <o:p></o:p>
    ไม่เคารพคำสอนของพระพุทธเจ้า นี่ข้อสำคัญนะ<o:p></o:p>
    ถ้าเราไปบิณฑบาต โยมเอาข้าวต้มขนมมาใส่ให้ แล้วเขาก็ขอพร เราก็บอกให้เขาลุกขึ้นยืนเสมอกัน<o:p></o:p>
    นี่ได้ไม่เป็นไร ถ้าเขานั่งอยู่เรายืนให้พร แปลว่า เราประมาทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เลยไม่เป็นบุญ เป็นบาป เผาตัวเอง<o:p></o:p>
    เขานั่ง เราก็ต้องนั่งในสถานที่อันสมควร ถ้าที่นั้นมีน้ำและโคลนตมถ้าเขาจะนั่งมันก็เปรอะเปี้อน<o:p></o:p>
    สกปรก ก็บอกให้โยมยืน อาตมาก็ยืน จึงรับพร มันจึงถึงใจ จึงเป็นบุญ ถ้าโยมนั่ง อาตมายืน ไม่ได้เป็นโทษ พระองค์เจ้าไม่อนุญาตให้ ต่างคนต่างยืนแล้วก็ให้พรได้ไม่เป็นไร ยืนก็แต่กายหรอกส่วนใจนั้นมันเคารพนอบน้อมธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ นี่ข้อสำคัญ <o:p></o:p>
    ผมดูประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ บ้านหนองเผือนาในนะ ท่านก็ให้เขาทำร้านไม้ไว้เป็นระยะๆ โยมเขาก็เอาไม้แผ่นเดียวตีไว้กับตอไม้ ถึงเวลาเขาเอาผ้าขาวมาปูไว้ หลวงปู่มั่นกับหมู่สงฆ์ไป เขาก็ตีเกราะเตือนให้เขานำข้าวปลาอาหารมา แล้วท่านก็ลุกขึ้นบิณฑบาต เสร็จแล้วมานั่วที่ร้าน ท่านก็ “ ยะถา สัพพีฯ ”ให้พรเสร็จท่านก็ลุกไปกลุ่มหน้าโน้นอีก <o:p></o:p>
    นี่ ท่านทำถูก ท่านเคารพธรรมวินัย ท่านไม่ลว่งเกิน ฉนั้นจึงเป็นพระผู้ดีเลิศประเสริฐ เป็นที่อัศจรรย์ใจของมวลชลน สมัยนี้ไม่มีใครเสมอเหมือนนั่นแหละ เพราะการทำถูกไม่ผิดพระธรรมวินัย ควรที่จะเอาท่านเป็นตัวอย่างเราจึงจะดี นี่ข้อสำคัญนะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ธัมมเทสนาปฏิสังยุคที่ ๓<o:p></o:p>
    ( หมวดว่าด้วยการแสดงธรรม )<o:p></o:p>
     
  9. ณัฐธัญพงษ์

    ณัฐธัญพงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +237
    ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ
     
  10. nao7310

    nao7310 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +931
    อนุโมทนาบุญค่ะ ใส่บาตรทุกวันเหมือนกัน และก็ทำเช่น จขกท บรรยายไว้ค่ะ แต่เวลานิมนต์พระ จะใช้คำพูดว่า "นิมนต์ เจ้าค่ะ" คำว่า "เจ้าค่ะ เจ้าขา" เป็นคำเก่าโบราณนะค่ะ แต่ฟังแล้วไพเราะ บางครั้งก็จะใช้คำแทนพระสงฆ์ว่า "พระคุณเจ้า" (กรณีพระผู้ใหญ่หรือแก่พรรษา) แต่ถ้าอายุน้อยกว่าเรา ก็จะใช้คำว่า "ท่าน"

    ขอชวนทุกท่านใส่บาตรทุกวันนะค่ะ สะสมบุญบารมีกันไว้ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  11. supphakrit

    supphakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +178
    โมทนาสาธุครับ ผมขอเพิ่มเติมสักนิดนะครับใครเห็นว่าดีก็นำไปปฏิบัตินะครับ การใส่บาตรถือว่าเป็นการทำสังฆทานอย่างนึง ข้อปฏิบัติเหล่านี้ผมได้มาจากลป.ดู่และลพ.ฤาษีและจากหนังสือธรรมะต่างๆ ครับ
    1. ควรสมาทานศีลมาจากบ้านเสียก่อน (ลป.ดู่บอกว่าให้ตั้งใจอฐิษฐานมาแต่บ้านเลย เพราะตอนนั้นจิตเราสงบเท่ากับว่าเรามีศีลบริสุทธิ์ ของที่ใส่บาตรเราได้มาจากเงินบริสุทธิ์ ผู้รับ(พระสงฆ์)เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ถึงแม้ว่าวัตถุทานจะไม่มากก็ได้บุญใหญ่ครับ และถ้าจะให้ดีก็ควรนั่งสมาธิสักเล็กน้อยหรือกำหนดลมหายใจระหว่างที่ยืนรอพระอันนี้ได้มาจากวัดพระธรรมกายเป็นการกลั่นใจใสๆ เหมือนเรานำภาชนะดีๆ มารองรับบุญ
    2. ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี ถ้าเรายังต้องการทรัพย์เพื่อมาเลี้ยงชีวิตก็ท่องคาถาลพ.ปาน "คาถาพระปัจเจกโพธิ์" หรือคาถา"เงินล้านของลพ.ฤาษี(ลิงดำ)" ก่อนใส่บาตรก็จะยิ่งดีใหญ่ครับ
    3.ก่อนจะไปทำบุญที่ไหนก็เชิญเจ้ากรรมนายเวร เทวดาประจำตัว เทวดาทั้งหลายที่เรานับถือ ญาติและมิใช่ญ่าติไปทำบุญด้วย อันนี้ได้มาจากเว็ปซุปเปอร์ริชชี่ เป็นการใช้หนี้ทั้งต้นทั้งดอก คือเค้ามาทำบุญกับเรา(ผ่านทางกาย) ด้วยคือใช้ต้น และโมทนาบุญกับเราด้วยคือใช้ดอก ขอบคุณที่ทุกท่านเสียเวลาอ่านถึงตรงนี้
     
  12. phuketwomen

    phuketwomen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +72
    อนุโมทนาสาธุค่ะเกือบสําลักเพราะท่านีอารมขันและได้ความรู้ไปในตัว ขอบคุณที่เอามาแชร์:cool:
     
  13. น้องเมธี

    น้องเมธี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +9
    อยากทราบว่าในพระไตรปิฏก ได้บอกไว้บ้างไหมเกี่ยวกับการให้พรของพระ เมื่อใส่บาตรเสร็จ ขอความกรุณาผู้รู้ ช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยค่ะ ขอบคุุณค่ะ และขออนุโมทนา
     
  14. FatBee

    FatBee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +4
    เรื่องการใส่บาตรข้อ ๔ กลัวใส่แล้วมือจะโดนบาตร นี่คิดถึงตนเองเลย อนุโมทนาสาธุด้วยจ้า
     
  15. สองเสาร์

    สองเสาร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +124
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ

    ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...