คำสอนพุทธกับที่ถูกบันทึกในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย wakeup, 19 พฤษภาคม 2011.

  1. wakeup

    wakeup สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +2
    คือไม่ทราบว่าใครพอรู้ไหมว่า คำสอนที่พุทธสอนจริงๆหลังจากตรัสรู้จนปรินิพพาน ถูกบรรจุใว้ในพระไตรปิฏกหมดเลยหรือเปล่า หรือแค่เท่าที่พระอรหันตร์500 รูปจำได้เท่านัน หรือแค่เท่าที่พระอานนทร์จำได้องค์เดียว
    ขอบคุณครับ
     
  2. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    พอพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพาน พระเถระซึ่งเป็นพระอรหันต์จำนวน 500 องค์ก็ทำสังคายนากัน วิธีสังคายนาก็คือ ผู้หนึ่งตั้งคำถาม อีกผู้หนึ่งตอบ
    เมื่อรับรองกัน เห็นพ้องกันแล้ว ก็จดไว้ต่อไป

    ในด้านพระวินัย ท่านพระกัสสปถามท่านพระอุบาลีตอบ
    ในด้านพระสูตร ท่านพระกัสสปถาม ท่านพระอานน์ตอบพระอานนท์ จำได้หมด 84,000 พระธรรมขันธ์
    พระไตรปิฏกจำได้ง่ายก็เพราะมีการทำเป็นร้อยกรองด้วย เช่น เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแล้ว ก็จะมีผู้ทำหน้าที่ร้อยกรองขึ้น เป็นพระสูตรร้อยกรองเสร็จแล้ว จึงบรรยาย ถวายต่อพระพุทธเจ้า
    เช่น พระอานนท์ทูลถามว่า ธรรมบรรยายนี้ชื่อไรพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรมบรรยาย นี้ไว้ว่าชื่อ พหุธาตุกบ้างจตุปริวัฏฏบ้าง ว่าชื่อ ธรรมทาสบ้าง ว่าชื่อ อมตทุนทุภีบ้าง ว่าชื่ออนุตตรสังคามวิชัยบ้าง" คือพระพุทธองค์จะทรงตั้งชื่อจึงสามารถจดจำได้ง่าย

    สรุปได้ว่าพระในสมัยนั้น ท่องจำพระสูตร ที่มีการรจนา และตรวจทานถูกต้องแล้วเหมือนกันหมดทุกองค์ ดังนั้นการสอบทาน ในภายหลัง
    จึงทำได้ง่ายและการท่องจำซึ่งสมัยนี้เรียกว่า "อาขยาน" นั้นเมื่อท่องขึ้นใจว่าเสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็มักจะไม่ลืม
    การจารึกลงเป็นตัวอักษร ในสมัยหลังนั้น มีนิทาน (เรื่อง) เล่าว่า พระอรหันต์ในสมัยนั้นเห็นว่าต่อไปจะมี คนทรงจำได้น้อยแล้ว จึงควรจารึกเป็นอักษรไว้
    ดังนั้นจึงได้ตอบไว้ในตอนต้นว่า ถ้าพระไตรปิฎก จะคลาดเคลื่อน ก็คงจะเป็นส่วนน้อยแต่ใจความหลัก ๆ ที่ สำคัญน่าจะไม่ผิด
    พระไตรปิฏกไม่ใช่พุทธวจันะทั้งหมดเพราะเขียนไว้เป็นทำนองบันทึกเหตุการณ์ เทวดาพูดก็มี พราหมณ์พูดก็มีพระเจ้าแผ่นดินพูดก็มี จะว่า ไม่ใช่พระพุทธเจ้าตรัสทั้งหมดก็ถูก
    บางกรณี ทรงสั่งให้ท่านพระสารีบุตรบ้าง ท่านมหากัจจายนะบ้าง เป็นผู้แสดงธรรม หรือในบางสูตร พระสาวกเป็นผู้แสดงธรรม ให้ภิกษุอื่นฟังก็มี
    เเค่นี้คงทำให้หายสงสัยเเล้วนะครับ ยังไงช่วยบอกต่อด้วยก็ยิ่งเป็นการดีเพราะสมัยนี้อะไรที่ไม่ถูกใจ ตัวกู ของกู ก็จัดการเเก้พระไตรปิฏกเองเลยหรือบอกว่าพระไตรปิฏกคลาดเคลื่อนเชื่อไม่ได้ (เพราะว่ากูไม่ชอบ)




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2011
  3. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    ใครบอกว่าพระไตรปิฏกมีการเเก้ลองคิดดูต่อไป
    การแก้พระไตรปิฎกนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะแก้ ก็แก้เอาตามใจ แต่ต้องแก้ในการทำสังคายนา ซึ่งมีพระภิกษุชั้นเยี่ยม นับร้อยรูปประชุมกัน ทำและเห็น พ้องต้อง
    กันเป็นเอกฉันท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะเห็นได้ชัดว่า การที่พระชั้นดี มาย่อมร่วมกัน ทำผิดศีล มุสาวาท โดยไม่มีองค์ไหนค้านเลย แม้แต่องค์เดียวนั้น เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อทีเดียว

    เหตุผลประการที่สำคัญที่เรามักจะหาว่า พวกพระแก้ไขดัดแปลง พระไตรปิฎก ก็คงจะมีว่า แก้เพื่อผลประโยชน์ ของพวกพระเอง ซึ่งศัพท์ทางพระ ท่านเรียกว่า "เพื่อลาภสักการะ" นั่นเอง ข้อนี้ก็เป็นความเห็นที่ เอาโทษไปใส่ให้ท่าน อีกเช่นกัน เพราะพระชั้นสูง (ขนาดที่ได้รับนิมนต์ ไปทำสังคายนา) นั้นย่อมมี ความรู้ว่า พระบัญญัติบทปาราชิก (ขาดจากความเป็นพระ) สองข้อ (ใน 4 ข้อ ) คือ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีอยู่จริง และการลักขโมย นั้นมีฐานมาจากการกระทำ เพื่อเหตุแห่งท้องทั้งสิ้น ทรงสรัสว่า
    เหตุใดพวกเธอจึง... เพื่อสาเหตุแห่งท้องเล่า

    และ ทรงประณามว่า การกระทำ เพื่อสาเหตุ แห่งท้องนั้น มีค่าเท่ากับ เป็นมหาโจรปล้นชาวบ้าน การที่พระชั้นสูง จำนวนเป็นร้อย ๆ รูป ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ จะทำการแก้ไข
    แต่งเติม พระไตรปิฎก เพื่อเห็นแก่ ลาภสักการะ (สาเหตุ ที่ทรงบัญญัติให้เป็นปราชิก) โดยพร้อมเพรียงกันนั้น เราย่อมทราบอยู่เองว่า น่าจะเป็นไปได้ หรือน่าจะเป็นไปไม่ได้

    คำถาม ถึงไม่มีการแก้ไขดัดแปลง โดยเจตนา ความคลาดเคลื่อน โดยธรรมชาติ ก็ควรจะมีอยู่ เพราะมนุษย์ ย่อมไม่สามารถจำได้ถี่ถ้วนเช่นนั้น
    คำตอบ ยอมรับว่า ความคลาดเคลื่อน ย่อมมีอยู่บ้างแต่ไม่ควรจะคลาดเคลื่อนในใจความหรือหลักสำคัญ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    [​IMG]

    พระไตรปิฏกเชื่อถือได้แค่ไหน...

    <O:p</O:p
    บทความทางวิชาการ โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี นธ.เอก. ป.ธ.๘ , พธ.บ.(บาฬีพุทธศาสตร์) , พธ.ม.(วิปัสสนา).<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระเจ้าข้า”<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบเป็นภาษาบาฬีว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” <O:p</O:p
    แปลว่า. ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป <O:p</O:p
    หมายความว่า พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่ง สอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของ พระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก<O:p</O:p
    คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, , ,, , ๖ มาตามลำดับ<O:p</O:p
    หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่อง จำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ บางตำราว่า พ.ศ. ๔๓๓ (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ )ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท สาเหตุของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นอกจากนั้นพระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร? จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า<O:p</O:p
    "ความจริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือ(เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้น ปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้ หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้ แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"<O:p</O:p
    อ้างอิง..พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในตอนต้นครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” แต่เรียกว่าพระธรรมวินัยบ้าง พระสัทธรรมบ้าง ปาพจน์บ้าง สัตถุศาสน์บ้าง พระ บาลีบ้าง สุตตะบ้าง แม้หลังพุทธปรินิพพานก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก คงเรียก ว่าพระธรรมวินัย เช่น การสังคายนาชำระคำสอน ครั้งที่ ๑-๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนา พระธรรมวินัย และได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” เมื่อการสังคายนาครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๔๕๐ ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด จึงได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ตั้งแต่บัดนั้น



    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระไตรปิฎกมีความสำคัญดังนี้<O:p</O:p
    ๑. เป็นที่รวบรวมพระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ เป็นศาสดาแทนพระองค์<O:p</O:p
    ๓. เป็นแหล่งต้นเดิมของคำสั่งสอนในพุทธศาสนา <O:p</O:p
    ๔.เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือยืนยันหลักการที่กล่าว ว่า เป็นพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    ๕. เป็นมาตฐานตรวจสอบความเชื่อและข้อปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา จะวินิจฉัยสิ่งใดว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน <O:p</O:p
    ๖. พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด กว่าหนังสือใดๆ บนพื้นพิภพ ที่ยืนยันให้คนยุคปัจจุบันได้รับรู้ ว่าเมื่อ ๒๕๐๐ปีก่อน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอะไรไว้บ้าง <O:p</O:p
    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก จึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนาหรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้มีการปฏิบัติก็จะไม่เป็น ไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะ ไม่ดำรงอยู่ คือ จะเสื่อมสูญไปในที่สุด

    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถาม... เป็นไปได้หรือไม่ที่พระไตรปิฏกอาจจะถูกสาวกรุ่นหลังๆ แก้ไขเพิ่มเติม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตอบ “เป็นไปไม่ได้” ด้วยเหตุผลดังนี้<O:p</O:p
    ๑. พระไตรปิฎกสืบทอดกันมาด้วยภาษาบาลี ที่มีหลักไวยากรณ์เฉพาะ มีกฎตายตัวไว้เฉพาะภาษาบาลี โดยปฏิเสธกฎไวยากรณ์หลายประการของสันสกฤต เพื่อไว้ให้เป็นหลักเกณฑ์ของไวยากรณ์บาลีโดยเฉพาะ เช่น พระบาลีมี ๒วจนะเท่านั้น คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ไม่มีทวิวจนะ <O:p</O:p
    ...อ้างอิง ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    ๒. แม้บางช่วงของประวัติศาสตร์เกิดภัยต่าง ๆ ทำให้คัมภีร์พระไตรปิฎกขาดหายหรือเลอะเลือนไป แต่เมื่อสังคายนาใหม่อีกครั้งก็ได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบดูกัพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนหมดข้อสงสัย จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพระไตรปิฎกที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก ตรงกับพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาครั้งก่อน ๆ ทุกประการ<O:p</O:p
    ๓. มีข้อความในคัมภีร์รุ่นหลังกล่าวอ้างถึงข้อความคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่เมื่อตรวจสอบในบาลีพระไตรปิฎกแล้วกลับไม่มีข้อความนั้น ทั้งที่เมื่อพิจารณาข้อความนั้นแล้วมีอรรถเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก เช่น บาลีสังยุตตนิกาย มหาวรรคว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมาอริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ” ( อ้างอิง.... ส.ม.๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐) <O:p</O:p
    แต่คัมภีร์วิสุทธิมรรค นำไปอ้างโดยเพิ่มข้อความว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อปิจ อริยสฺส สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ สเทวเก โลเก ฯเปฯ มนุสฺสา ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อถวา เอเตส อภิสมฺพุทฺธตฺตา อริยภาวสิทฺธิโตปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจตีติ ฯ อปิจ โข ปน อริยานิ สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ อริยานีติ ตถานิ อวิตถานิ อวิสวาทกานีติ อตฺโถ ฯ ยถาห ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ เอวเมตฺถ นิพฺพจนโต วินิจฺฉโต เวทิตพฺโพ ฯ <O:p</O:p
    ( อ้างอิง... วิสุทฺธิ.๒/๑๔๐-๑๔๑ )(อักษรตัวหนา เป็นข้อความที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มเข้ามา โดยอ้างว่านำมาจากพระไตรปิฎก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังข้อมูลที่เสนอมานี้ก็หมายความว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีไม่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เพราะทั้งที่ปรากฏข้อความที่ตกหล่นปรากฏอยู่ในคัมภีร์น่าเชื่อถือเป็นที่สุดอย่างเช่น วิสุทธิมรรค ข้อความนั้นก็มิได้ถูกบรรจุไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก <O:p</O:p
    สรุปว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีย่อมเป็นไปได้ที่มีการตกหล่นบ้าง คำกล่าวอ้างที่ว่าถูกสาวกรุ่นหลังแก้ไขเพิ่มเติมย่อมเป็นไปไม่ได้เลย <O:p</O:p

    <O:p</O:p








    <HR align=left SIZE=1 width="33%">
    [1][1] บางแห่งว่า พ.ศ.๔๓๓<O:p</O:p
    [1][2] พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔<O:p</O:p
    [1][3] ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    [1][4] ส.ม.(บาลี) ๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐<O:p</O:p
    [2][5] วิสุทฺธิ.(บาลี)๒/๑๔๐-๑๔๑

    http://www.tlcthai.com/club/view_to..._id=1278&table_id=1&cate_id=788&post_id=11639
    <O:p</O:p






    <HR align=left SIZE=1 width="33%"><O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2011
  5. wakeup

    wakeup สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +2
    ที่ผมเข้าใจคือ ข้อความที่ถูกบันทึกในพระไตรปิฏกนั้น ก็เท่าที่ท่านพระอุบาลีกับพระอานน์จำได้เท่านั้น ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ?
    อย่างนั้นถ้ามีคำสอนใดที่ไม่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก ก็จะกล่าวอ้างไม่ได้ว่าไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าอาจกล่าวใว้ที่ใดที่หนึ่ง แต่ไม่ได้ถูกบันทึกใว้แค่นั้นเอง
     
  6. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    พร ๘ ประการที่พระอานนท์กราบทูลขอพระพุทธองค์มีดังนี้ครับ
    ๑. อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒. อย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓. อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่่ประทับของพระองค์
    ๔. อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
    ๕. ขอพระองค์จงเสด็จไปยังที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
    ๖. ให้ข้าพระองค์พาบริษัทซึ่งมาเฝ้าพระองค์แต่ที่ไกลเข้าเฝ้าได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
    ๗. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าทูลถามได้เมื่อนั้น
    ๘. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาเรื่องใดในที ่ลับหลังข้าพระองค์ ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมเทศนาเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย


    สรุปคือคำสอนพระพุทธเจ้าได้อยู่ในพระไตรปิฏก 84000 ทั้งหมดครับ ถ้านอกจากนี้ไม่ใช่ครับ ตอนนี้ผมได้ลองอ่านพระไตรปิฏกอยู่ อ่านได้ 4 เล่มเเล้ว จึงรู้ว่าสิ่งที่ควรเเละไม่ควรในโลกนี้อยู่ในพระไตรปิฏกทั้งสิ้น (ฉบับเถรวาทเท่านั้น)

    เท่าที่ผมอ่านดูสังเกตุได้ว่าคำตรัสของพระพุทธองค์ทุกคำนั้นเป็นการเเสดงธรรมทุกคำตรัส ตรัสเเต่ละครั้งจะต้องมีผู้รับผลทุกครั้ง

    ที่ต้องอ่านเพราะโง่มานาน
     
  7. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ผมไปกราบพระไตรปิฎกฉบับที่มีอายุ ๒๐๐๐ ปีซึ่งมาแสดงที่พุทธมณฑลถึง ๕ ก.พ. ๕๔ มีลักษณะเป็นเศษชิ้นกระดาษใบลานชำรุด
    แล้วลองอ่านเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกฉบับบาลีของเรา(ในปัจจุบัน)
    พบว่ามีความหมายเหมือนกันมากแต่ทั้งนี้เพราะภาษาที่ต้องแปลจากบาลีไปเขียนเป็นอักษรอัฟกันโบราณแล้วมาแปลเป็นภาษาอังกฤษทำให้การวางตำแหน่งคำนามคำคุณศัพท์ฯลฯสลับหน้าหลังไม่เหมือนกัน
    ลองดูตัวอย่างที่เหมือนกันครับ
    ในภาพข้างล่างนี้คือเศษชิ้นพระไตรปิฎก--จังกีสูตร--จะเห็นคำว่า --gautamah daharo yeva ผมขีดเส้นสีชมพูไว้---------------------


    [​IMG]



    ในพระสูตรภาษาบาลีและที่เป็นภาษาไทยก็มีเช่นเดียวกัน
    ................................................................................

    [๖๕๐] เอวํ วุตฺเต จงฺกี พฺราหฺมโณ เต พฺราหฺมเณ เอตทโวจ
    006 เตนหิ โภ มมาปิ สุณาถ ยถา ยถา มยเมว อรหาม ตํ
    007 สมณํ ๑ โคตมํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ น เตฺวว อรหติ โส ภวํ
    008 โคตโม อมฺหากํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ สมโณ ขลุ โภ โคตโม
    009 อุภโตสุชาโต มาติโต จ ปิติโต จ สํสุทฺธคหณิโก ยาว สตฺตมา
    010 ปิตามหยุคา อกฺขิตฺโต อนุปกฺกุฏฺโ€ ชาติวาเทน ยมฺปิ ๒ สมโณ
    011 โคตโม อุภโตสุชาโต ฯเปฯ ชาติวาเทน อิมินาปงฺเคน น อรหติ
    012 โส ภวํ โคตโม อมฺหากํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ อถ โข
    013 มยเมว อรหาม ตํ ภวนฺตํ โคตมํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ สมโณ
    014 ขลุ โภ โคตโม ปหูตํ หิรฺสุวณฺณํ โอหาย ปพฺพชิโต
    015 ภูมิคตํ จ เวหาสฏฺ€ฺจ สมโณ ขลุ โภ โคตโม ทหโรว ---------------------
    ...........................................................................

    [๖๕๐] เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวกะพราหมณ์ เหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้าบ้าง เรานี่แหละ สมควรจะไปเฝ้าพระสมณโคดมพระองค์นั้นทุกประการ แต่ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ไม่สมควรเสด็จมาหาเราเลย ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงเป็น อุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาติ แม้เพราะเหตุที่พระสมณโคดมเป็น อุภโตสุชาติ ฯลฯ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาตินี้ ท่านพระโคดมพระองค์นั้น จึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูกเราทั้งหลายนี้แหละสมควรจะไปเฝ้าท่านพระโคดม พระองค์นั้น ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่าพระสมณโคดมทรงสละเงินและทองมากมาย ทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศเสด็จออกผนวช ... พระสมณโคดมกำลังรุ่น---------------------------
    ...................................................................
    ส่วนคำว่ามหาปุริสลักษณะ--ที่ผมขีดเส้นใต้สีน้ำเงินไว้ก็ตรงกับฉบับของเรา
    นอกจากนี้จากเศษใบลานก็ยังพบมีคำที่ตรงกันอีกหลายคำครับ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _DSC0459nn.jpg
      _DSC0459nn.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104.7 KB
      เปิดดู:
      819
  8. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    พระไตรปิฎกที่ถูกเขียนขึ้นเมื่ิอ ๒๐๐๐ ปีที่แล้ว(หลังปรินิพพาน ๕๕๐ปี)ก็อยู่ในยุค ๑๐๐๐ ปีแรกซึ่งพระไตรปิฎกกล่าวว่ายังคงมีพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา(พระอรหันต์ผู้มีอิทธิฤทธิ์)
    ผมก็เชื่อว่าการจารึกพระไตรปิฎกครั้งนั้นต้องเป็นงานใหญ่และสามารถเชิญพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่จำนวนมากมาร่วมงานจารึกได้โดยไม่ยาก
    พระไตรปิฎกฉบับ ๒๐๐๐ ปีนี้ต้องถูกต้องแม่นยำมาก(ตรงกับพุทธพจน์ ๑๐๐%)
    ข้อความสำคัญที่สุ่มมาเทียบก็ตรงกับพระไตรฯของเราในปัจจุบัน
    ผม(คนเดียวนะครับ)พอจะเชื่อได้ว่าพระไตรฯของเรายังคงถูกต้องอยู่ครับ
     
  9. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,718
    ค่าพลัง:
    +5,514
    นี่ก็อีกตัวอย่างนึงครับ
    ผมอ่านเองตามภาษาฝรั่งได้ความว่า-- อนุตโร (ขีดเส้นใต้สีแดง)---วิชาจารณสัมปันโน(ขีดเส้นใต้สีเขียว)
    อ่านถูกอ่านผิดอย่างไรก็ช่วยๆกันอ่านนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _DSC0459m.jpg
      _DSC0459m.jpg
      ขนาดไฟล์:
      219.4 KB
      เปิดดู:
      138
  10. เพชรกร

    เพชรกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    291
    ค่าพลัง:
    +1,260
    ละเอียดมากเลยครับ เเสดงว่ารู้จริง ถึงหาข้อมูลมาได้ขนาดนี้ :cool:
    อนุโทนาสาธุครับ
     
  11. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444

แชร์หน้านี้

Loading...