สังฆทานอันตราย ! ทำแล้วอาจตายกลายเป็นเปรต โปรดระวัง !!

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย นักรบธรรม, 6 มิถุนายน 2011.

  1. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    969
    ค่าพลัง:
    +1,174


    25/05/2011 By admin (online) 1 ความคิดเห็น
    93Share
    <SCRIPT type=text/javascript src="http://static.ak.fbcdn.net/connect.php/js/FB.Share"></SCRIPT>

    [​IMG]
    สังฆทานอันตราย ! ทำแล้วอาจตายกลายเป็นเปรต โปรดระวัง !!

    ในปัจจุบันนี้ การทำบุญสังฆทาน ชาวพุทธเข้าใจผิดมานานกว่า 30 ปี โดยนำของใส่ถัง แล้วไปถวายพระ 1 รูปบ้าง 2 รูปบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญสังฆทานที่ผิด ได้บุญน้อย บางครั้งแทบจะไม่ได้บุญเลยถ้าทำผิด เพราะสังฆทานที่ถูกต้อง พระที่รับสังฆทานนั้น จะต้องมีตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ถึงจะทำมติแทนสงฆ์ได้ เพราะสงฆ์ในที่นี้คือ พระที่บรรลุธรรมแล้วเท่านั้น แต่พระโดยทั่วไป เรียกว่า สมมติสงฆ์ อย่างนี้จึงเรียกว่าสังฆทานที่ถูกต้อง แต่เมื่อถวายสังฆทานถูกต้องแล้ว แต่ถ้าพระไม่ได้ทำการอปโลกน์สังฆทาน ( พระ 4 รูปมีมติแบ่งปันของสงฆ์เป็นของปุถุชน ) ถ้าอาหารเหล่านั้น ใครไปทานเข้าก็เท่ากับกินของสงฆ์ เมื่อตายไปแล้วจะต้องกลายเป็นเปรต แม้พระที่รับสังฆทาน ถ้าไปฉันเข้าเมื่อตายไปแล้วจะต้องกลายเป็นเปรตเช่นกัน ประชาชนชาวพุทธทั้งหลายควรจะต้องรับรู้เรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง มีดังนี้
    1. ต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น และต้องถวายก่อนเที่ยง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการถวายภัตตาหารเพลพระนั่นเอง ( ส่วนของที่เป็นถังๆ หรือ ของอย่างอื่น เป็นได้แค่เพียงบริวารสังฆทานเท่านั้น )
    2. ต้องกล่าวคำถวายสังฆทาน
    3. พระ ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ( พระ 4 รูปเรียกว่า ครบสงฆ์ ) จึงจะรับสังฆทานได้ เพราะคำว่า สังฆทานนั้น แปลว่า เป็นทานที่ถวายแด่สงฆ์ เป็นบุญสูงสุดด้านอาหาร
    4. จะต้องทำการอปโลกน์สังฆทาน หลังจากที่พระรับสังฆทานแล้ว ถ้าพระไม่ทำการอปโลกน์ อาหารทุกชิ้นถือเป็นของสงฆ์ทั้งสิ้น ถ้าผู้ใดก็ตามขืนไปกินเข้า เมื่อตายไปจะต้องเกิดเป็นเปรตประมาณ 92 กัลป์ ( 1 กัลป์ คือ 6,420 ล้านปี )
     
  2. Pawanrat-jin

    Pawanrat-jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,052
    ค่าพลัง:
    +3,939
    โอ..น่ากลัว
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่นำมาบอกกล่าว
     
  3. bork

    bork Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +37
    เป็นความรู้ดีคับ ผมโชคดีที่วัดที่ผมไปทำบุญถวายสังฆทานก็ทำอย่างที่บอกไว้เลยครับ
     
  4. ภูมิวนัฐถ์

    ภูมิวนัฐถ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +5
    เป็นคนชอบทำสังฆทาน ที่เป็นถัง ส่วนใหญ่จะนำไปถวายพระในตอนเช้าของวันพระ ที่เวลาเราใส่บาตรแล้ว พระก็จะสวด ชัยมงคลคาถา สวดอะไรหลายๆบท เราก็ไม่รู้จัก ตามพิธีกรรม ของคนต่างจังหวัด ในวันพระ อย่างนี้จะได้บุญหรือเปล่า และเรียกว่าเป็นสังฆทานได้หรือไม่
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สังฆทาน (บาลี: สงฺฆทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.97.E0.B8.B1.E0.B8.81.E0.B8.82.E0.B8.B4.E0.B8.93.E0.B8.B2.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A0.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B8.AA.E0.B8.B9.E0.B8.95.E0.B8.A3_0-0>[1]</SUP> ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่
    การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฎิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้
    ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น

    ความหมายและลักษณะของสังฆทาน
    การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ
    หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย "ไม่เลือก" ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน (ตัวอย่าง: เช่นการใส่บาตรโดยไม่เลือกพระผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรก็ตาม)
    เมื่อพิจารณาจากมูลอันจะเป็นสังฆทานดังกล่าว การที่จะเป็นสังฆทานหรือไม่นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การถวายสิ่งของเพื่อบำรุงสังฆบริษัท หรือตัวแทนแห่งสังฆบริษัท เพื่อประโยชน์ในด้านการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมด้านปัจจัยสี่ของพระสงฆ์นั่นเอง<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.97.E0.B8.B1.E0.B8.81.E0.B8.82.E0.B8.B4.E0.B8.93.E0.B8.B2.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A0.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B8.AA.E0.B8.B9.E0.B8.95.E0.B8.A3_0-1>[1]</SUP>
    มีข้อควรพิจารณาประการหนึ่งว่า ในพระวินัยถือว่า ภิกษุสงฆ์ 4 รูปขึ้นไปนับเป็นองค์สงฆ์ แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนาของพระพุทธเจ้าในทักขิณาวิภังคสูตรแล้ว หากแม้จะเป็นพระภิกษุถึง 4 รูป แต่เป็นพระที่ผู้ถวายเจาะจงระบุตัวมา ก็หานับว่าเป็นสังฆทานไม่ (คงนับเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ระบุตัวพระภิกษุผู้รับถวายทาน)

    มูลเหตุของสังฆทาน
    มูลเหตุที่ทำให้พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน มาจาก ทักขิณาวิภังคสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.97.E0.B8.B1.E0.B8.81.E0.B8.82.E0.B8.B4.E0.B8.93.E0.B8.B2.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A0.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B8.AA.E0.B8.B9.E0.B8.95.E0.B8.A3_0-2>[1]</SUP> ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังฆทานว่า (โดยย่อ)
    "ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชมน์อยู่ ครั้งนั้นทรงประทับอยู่ ณ วัดนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า ได้เกิดศรัทธาแรงกล้า ทรงทอจีวรด้วยพระองค์เองเพื่อนำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงได้ปฏิเสธที่จะรับถวายผ้าจีวรดังกล่าว โดยได้ตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีนำผ้าดังกล่าวไปถวายแก่กองกลางคณะสงฆ์ เพราะทรงเห็นว่าการถวายผ้าเป็นสังฆทานจักได้อานิสงส์มากกว่า แม้จะถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาก็ตาม (การถวายหรือให้ทานแก่พระพุทธเจ้า พระภิกษุหรือบุคคลทั่วไป ทรงจัดเป็นปาฏิปุคลิกทาน) อีกทั้งการถวายเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์ทั้งปวงด้วย
    จากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงปาฏิปุคลิกทาน 14 ประเภท (มีการถวายทักษิณาแก่พระพุทธเจ้าเป็นอาทิ) และตรัสถึงทักษิณาทานที่ถวายแก่สงฆ์ (สังฆทาน) ว่ามี 7 ประการ คือ

    1. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
    2. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
    3. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
    4. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
    5. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน (ให้ทานโดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้เลือกพระภิกษุและพระภิกษุณีที่จะรับถวายทานเอง)
    6. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
    7. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
    โดยได้ตรัสว่า แม้ในอนาคตกาล การถวายสังฆทานแม้แก่พระสงฆ์ผู้ทุศีล ก็ยังนับว่ามีผลนับประมาณมิได้ และปาฏิปุคลิกทานทั้งปวงในบุคคลใด ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นอาทิ ก็ไม่สามารถมีผลสู้สังฆทาน 1 ใน 7 ประการดังกล่าวได้เลย"
    จากพระพุทธดำรัสดังกล่าว ทำให้พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธานิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทานเพราะมีอานิสงส์มาก อีกประการหนึ่งการที่สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าปาฏิปุคลิกทานธรรมดาเพราะการที่จัดถวายทานแก่ส่วนรวม (คณะสงฆ์) ย่อมมีประโยชน์แก่พระศาสนามากกว่า เพราะการถวายสังฆทานเป็นการกระจายปัจจัยวัตถุอันจะพึงได้แก่คณะสงฆ์ทั้งปวงโดยไม่จำกัดหรือเลือกปฏิบัติแก่รูปใดรูปหนึ่ง
    ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องสังฆทานจึงนับได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงการไม่เลือกปฏิบัติทางด้านบุคคล ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ทั้งปวงผู้เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

    คำกล่าวถวายสังฆทาน
    <DL><DD>ตั้งนะโมสามจบ <DD>นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ) </DD></DL><DL><DD>อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม <DD>สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุ สังโฆ อิมานิ ภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ <DD>อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขายฯ </DD></DL><DL><DD>กล่าวคำแปล <DD>ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ <DD>ขอพระสงฆ์ จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ <DD>เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ</DD></DL>ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสังฆทานในปัจจุบัน
    ปัจจุบันในประเทศไทย มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำบุญด้วยการถวายสังฆทานมาก โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสิ่งของที่จะนำมาถวายสังฆทานนั้นต้องซื้อเป็นชุดไทยธรรมถังสีเหลืองสำเร็จรูปที่บรรจุสิ่งของจากร้านสังฆภัณฑ์ หรือจะต้องนำสิ่งของที่ตนตั้งใจถวายใส่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่มีสีเหลือง แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปถวายพระสงฆ์แล้วจะเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง

    ปรากฏการณ์ถังสีเหลือง
    ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทานในปัจจุบัน มีผู้กล่าวว่าเกิดจากปรากฏการณ์ "ถังสีเหลือง"<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP> โดยกล่าวว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมีที่มาจากการที่ร้านค้าสังฆภัณฑ์จัดสินค้าเป็นถังไทยธรรมที่บรรจุสิ่งของเครื่องใช้นำมาวางจำหน่ายโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์สีเหลืองเพื่อให้เป็นที่ติดตาของผู้ซื้อ และบางร้านมีการติดสัญลักษณ์ร้านค้าบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของถังสีเหลืองให้แก่ผู้ซื้ออีกด้วย โดยเรียกถังสีเหลืองดังกล่าวว่าเป็น "ถังสังฆทาน" และปรากฏว่าพุทธศาสนิกชนนิยมซื้อสินค้าดังกล่าวนำไปถวายพระสงฆ์ เพราะมีความสะดวกที่ไม่ต้องไปจัดหาสิ่งของด้วยตนเอง และความสวยงามของการจัดรูปแบบสิ่งของในตัวบรรจุภัณฑ์
    และเนื่องจากการที่ถังสีเหลืองดังกล่าวมีผู้นิยมซื้อเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ จึงทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าสำคัญของร้านค้าต่าง ๆ ห้างดิสเคาท์สโตร์ หรือแม้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ จนในระยะหลังเริ่มมีร้านค้าบางร้านเอาเปรียบผู้ซื้อโดยจัดสิ่งของในถังสีเหลืองที่ไม่ได้คุณภาพหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เช่น การทำให้สิ่งของดูมีจำนวนมากโดยใส่ขวดน้ำหรือกระดาษลังในก้นถังเพื่อถ่วงน้ำหนัก และปรากฏว่ามีการกระทำเช่นนี้มานานแล้วนับสิบปีโดยไม่มีผู้ออกมาร้องเรียน (เนื่องจากสินค้าถังสีเหลืองส่วนใหญ่จะนำไปถวายพระสงฆ์ โดยที่ผู้ซื้อไม่เคยแกะถังสีเหลืองเพื่อตรวจสอบ)
    จนในช่วงปี 2548 เริ่มมีรายการโทรทัศน์ออกข่าวเปิดโปงการเอาเปรียบดังกล่าวและมีสื่อมวลชนและองค์กรต่าง ๆ เสนอข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นระยะ จนในที่สุดสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก<SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP> เพื่อควบคุมชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมที่ขายตามรานค้าและร้านสังฆภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพต่อไป แต่ก็ยังคงมีผู้ค้าบางรายแอบนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาใส่ในถังเหลืองเพื่อจำหน่ายอยู่บ้าง
    ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้ "ถังสีเหลือง" เป็นสิ่งของแรก ๆ ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่คิดถึง เมื่อจะไปทำบุญถวายจตุปัจจัยตามวัดต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า "การทำบุญด้วยถังสีเหลือง" เป็นสิ่งคู่กันอย่างแยกไม่ออก และมักเรียกรวมกันว่า การถวายถังสังฆทาน ซึ่งยังคงก่อปัญหาความลำบากใจให้แก่พระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ อยู่จนถึงปัจจุบัน<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP> เพราะยังคงมีร้านค้าบางร้านใช้สินค้าราคาถูกหรือไม่ได้คุณภาพบรรจุลงในถังเหลืองออกจำหน่ายอยู่ ดังนั้นการทำบุญให้เป็นสังฆทานที่มีคุณภาพโดยแท้จริงควรซื้อหาสินค้าที่จะนำไปถวายโดยพิจารณาจากความต้องการและประโยชน์ของพระสงฆ์ มากกว่าประโยชน์คือความสะดวกของผู้ถวาย ดังที่มีผู้แนะนำการถวายสังฆทานว่าควรประกอบไปด้วย<SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP>
    1. ปุพพเจตนา หรือ มีความตั้งใจในการทำบุญโดยการเลือกซื้อสิ่งของที่เป็นประโยชน์แท้จริงแก่พระสงฆ์ เช่นของมีคุณภาพ หรือสิ่งของที่พระสงฆ์ต้องการ
    2. มุญฺจเจตนา คืออาการที่ถวายเป็นสังฆทานถูกต้อง เช่น ถวายเข้ากองกลางของวัด หรือถวายแก่ตัวแทนของพระสงฆ์เพื่อนำสิ่งของไปแจกจ่าย หรือเผดียงสงฆ์ไม่เลือกระบุตัวพระสงฆ์ผู้รับ โดยการถวายดังกล่าวควรทำเจตนาในการถวายให้มุ่งตรงต่อหมู่สงฆ์ ไม่ใช่ถวายแก่บุคคล
    3. อปราปรเจตนา<SUP class=reference id=cite_ref-6>[7]</SUP> เมื่อถวายแล้วก็ทำจิตใจให้เป็นบุญ นึกถึงการถวายสังฆทานดังกล่าวเมื่อใดก็มีความยินดีไม่เกิดความเสียดาย
    [​IMG]

    ในปัจจุบัน มักเรียกกันอย่างเข้าใจผิดว่าการถวายสังฆทานคือการถวายสิ่งของโดยใส่ถังหรือบรรจุภัณฑ์สีเหลือง แต่ความจริงแล้วสังฆทานนั้นคือการถวายเครื่องอุปโภคบริโภคแก่หมู่พระสงฆ์โดยสิ่งของนั้นจะเป็นสิ่งของชนิดใดก็ได้

    สังฆทาน - วิกิพีเดีย
     
  6. atzcret

    atzcret สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +2
    เอ่อ ... ไม่ทราบว่าต้องมีพระ 4 รูปด้วย
    ปกติจะไปถวายก่อนเที่ยงอยู่แล้ว แต่จะไปถวายกับเจ้าอาวาสเลย ท่านก็นั่งอยู่รูปเดียวนี่แหละ
    Y_Y"
     
  7. napapatch_datch

    napapatch_datch Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +57
    โมทนา สาธุ กับเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะที่ให้ความกระจ่างกับผู้ไม่รู้อีกมากมาย สาธุ
     
  8. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    คิดมากไปหรือเปล่า...ใครเป็นผู้กำหนดว่าจะต้อง พระ 4 รูป หรืออื่นๆ ก้อมนุษย์ไม่ใช่หรือครับ ที่ว่าตายไปเป็นเปรต มีอะไรพิสูจน์ได้บ้างว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ คุณหลายๆคนก้อเป็นชาวพุทธ ผมเชื่อว่า ในชีวิตนึงของเราทุกคน อย่างน้อยทุกคนคงต้องเคยทำสังฆทานกับพระ 1 รูปมากันทั้งนั้น แต่เคยดู เคยอ่านเรื่องที่คนที่ระลึกชาติได้ บ้างหรือเปล่า ? บางคน เพิ่งตายไปไม่นานกลับมาเกิดใหม่หลังจากที่ตายไปไม่กี่สิบปี ทำไมไม่ยักจะเป็นเปรตไปก่อนล่ะ.... ผมเชื่อว่าเขาคนนั้น คงน่าจะเคยทำสังฆทานกับพระ 1 องค์ มาเหมือนๆกับเรานั่นแหละ ผมคิดว่าเรื่องเหลวไหลแบบนี้ ใครจะเชื่ออย่างไรก้อแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคล ผมคิดว่า คนเราทำดี ทำบุญ ทำทาน คงไม่น่าที่จะไปเกดเป็นเปรตหรอกนะ....ถ้ามีหลักฐานว่าเป็นจริงๆ คงได้หันไปนับถืออย่างอื่นดีกว่ามั๊ง...
     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff colSpan=2 height=65>
    อานิสงส์ถวายสังฆทานและวิหารทาน

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=61 bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top width=435 bgColor=#ffffff>ถ้าเราตั้งจิตจะถวายสังฆทาน แต่ว่าไม่ได้บอกเล่าคะ ?
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ถ้าตั้งจิตแต่ไม่ได้บอกก็ไม่ได้ยิน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าพระนั่งฉันอยู่ตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปหนูเอาของไปถวายเอาน้ำไปถวายถ้วยเดียว ก็เป็นสังฆทานทันที ไม่ต้องบอก ถ้ามีพระตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปนะ ถ้าองค์เดียวต้องบอก แล้วเขาจะเก็บไว้เป็นสังฆทานเลย จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างอื่นคนรับก็ไปนรกซิ ผู้ให้ไปสวรรค์เพราะว่าถวายทานเป็นส่วนบุคคลกับถวายเป็นสังฆทาน อานิสงส์มันต่างกันหลายแสนเท่า แล้วก็ยังมีอีกเวลาหนึ่ง ถ้าพระออกจากสมาบัติ นี่คูณหนักเข้าไปอีกไม่รู้เท่าไร การถวายสังฆทานนี้มีอานิสงส์มาก ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริง ๆ ละก็ รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านที่วัดตั้งเยอะแยะ ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทาน เราทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีกังวลการบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว ถ้ามีกังวลมากอานิสงส์มันก็น้อย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล มันห่วงงานอื่นมากกว่า ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายสังฆทาน คำว่าสังฆทานก็หมายความว่า ถวายสงฆ์ในหมู่ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกกันว่าคณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็นคณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียวเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ทานโดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>การที่เราทำบุญใส่บาตร ตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัด แล้วไปทำที่วัด อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ.....?</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ถ้าฉันตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป เป็นสังฆทานมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ ๑ องค์ ถึง ๓ องค์ อย่างนี้เป็น"ปาฏิปุคคลิกทาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>ผู้ถาม</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>มีอานิสงส์มากไหมคะ......?</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>หลวงพ่อ</TD><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>"มีโยม ถ้าเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ถ้าวัดกันตามลำดับแย่นะ ไล่เบี้ยตั้งแต่ให้ทานกับ คนไม่มีศีล จนถึง พระอรหันต์ มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน แต่จะพูดสรุปโดยย่อว่า
    ให้ทานกับพระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับ พระพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    ให้ทานกับพระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง
    และถ้า ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง
    คือสร้างวิหาร มีการก่อสร้างเช่นสร้างส้วม ศาลา การเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
    การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และก็ถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวายเกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจน เข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้ว จะไม่เกิดในที่นั้นผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่า แม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน
    คำว่าไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ญบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด คำว่าอานิสงส์ ยังไม่หมดก็เพราะว่าถ้าบุคคลใดบูชาบุคคลผู้ควรบูชา นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
    ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระ มีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่งคือ หมายความว่าถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ ๕ ประการ อย่างนี้เราถวายกี่หมื่นกี่แสน อานิสงส์มันก็ไม่มาก ถ้าหากว่าถวายแก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ บางท่านก็เข้าถึงฌานสมาบัติ บางท่านที่เป็นพระอริยเจ้า ก็เข้าถึงผลสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้มีผลมาก"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมเล่ม1<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. ใจทุกข์

    ใจทุกข์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +0
    กลัวทำไมครับกับการทำบุญ แค่การทำบุญข้อแรกพวกท่านยังกลัว ยังคิดมาก
    ทำไปเถอะครับทำบุญกับใครก็ได้ ไม่ว่าคน หรือ สัตว์
     
  11. ใจทุกข์

    ใจทุกข์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +0
    น่าหัวเราะ :boo:แทนที่พวกท่านทำบุญแล้วได้บุญคือการสละความตระหนี่ในใจ
    แต่นี่กลับยึดติด เป็นทุกข์ เพราะกลัวว่าตัวเอง จะเป็นเปรต
     
  12. เทพเมรัย

    เทพเมรัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +81
    ผมว่าขั้นตอนการถวายคงเป็นเพียงพุทธประเพณี แต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของทาน ก็คือ ทานนั่นแหละ ทั้งผู้ให้และผู้รับต่างมีสุข เหตุใดต้องคำนึงให้มากความด้วยเล่า
     
  13. Learn from life

    Learn from life Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +47
    ผมว่าประเด็นว่าจะเป็นเปรตเพราะทำสังฆทาน น่าจะมาจากการที่เราถวายของเป็นให้เป็นของหมู่สงฆ์แล้ว ถ้าพระท่านไม่อุปโลกน์ให้เราเอามาใช้มาทานได้มันก็ยังถือเป็นของสงฆ์อยู่ ในกรณีนี้ถ้าเอามาก็อาจเป็นเปรตได้ ไม่น่าเกี่ยวกับการถวายกับพระกี่รูปหรอกครับ

    ถ้าผมจำไม่ผิด ตัวเลข 4 นี่ก็ไม่ได้มีกำหนดไว้ว่าเป็นองสงฆ์สำหรับรับสังฆทาน แต่เป็นตัวเลขที่ตั้งกันขึ้นมาภายหลัง (อันนี้ฟังมาจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง) ดังนั้นถ้าเราตั้งใจถวายให้เป็นของพระโดยรวมมันก็เป็นสังฆทานแล้ว
     
  14. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +7,749
    อนุโมทนากับคุณเฮียปอ ตำมะลัง ครับ อันนี้ถูกต้องกว่า คุณจะถวายพระ 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 องค์ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้คนทำบุญไปเกิดเป็นเปรตได้ ถ้าพระที่บางวัดที่พระจำพรรษาแค่องค์เดียวหรือสององค์ชาวบ้านที่ไปทำบุญมิต้องกลายเป็นเปรตกันทั้งหมู่บ้านหรือครับ
     
  15. annedisonge

    annedisonge สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +2
    พระภิกษุสองรูปเดินไปด้วยกัน
    พบหญิงตกน้ำ
    พระรูปหนึ่งลงไปช่วย แบกหญิงคนนั้นขึ้นมา
    แล้วพอมีคนมาช่วย หรือเห็นว่าหญิงนั้นปลอดภัย
    ทั้งสองรูปก็เดินจากไป
    พระที่ไม่ได้ไปช่วยถามว่า
    "ท่านแบกสตรี ไม่กลัวบาปหรือ"
    พระที่ช่วยตอบว่า
    "เราวางไว้ตั้งนานแล้ว ท่านนั่นแหละที่ยังแบกอยู่"


    ---------------- อยู่ที่ใจ ครับ --------------------
     
  16. Nat_usp

    Nat_usp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    677
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,394

    ขอบคุณครับผม ชัดเจนครับ
     
  17. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต

    ของเพียนจิตเป็นกุศล สิ่งที่ทำย่อมเกิดกุศลเช่นกันครับ
     
  18. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    เรื่องที่ ๑๔๙
    ตายจากกาไปเกิดเป็นเปรตมีชื่อว่า "กากะเปรต"


    จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน


    "..อาตมาขอนำเรื่องจากพระสูตรมาเล่าให้ฟังคือเรื่อง "กากะเปรต"
    เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อครั้งองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์มหานคร
    เวลานั้นพระโมคคัลลาน์กับพระลักขณะ จำพรรษาอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ ในตอนเช้าทั้งสององค์ก็ลงมาเพื่อไปบิณฑบาตขณะเดินมาอยู่ดีๆ ปรากฏว่าพระโมคคัลลาน์ยิ้มออกมาเฉยๆ พระลักขณะเห็นพระโมคคัลลาน์ยิ้มออกมาเฉยๆ จึงถามว่า "พระคุณเจ้ายิ้มเรื่องอะไร"
    เวลานั้นปรากฏว่าพระโมคคัลลาน์ท่านเห็นอหิเปรตกับกากะเปรตอยู่ข้างหน้า แต่ท่านไม่ตอบเพราะพระลักขณะซึ่งเป็นปฏิสัมภิทาญาณเหมือนกันท่านไม่เห็น ส่วนพระโมคคัลลาน์ท่านเป็นอัครสาวกมีความเข้มข้นกว่าจึงเห็น
    ความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณมีกำลังไม่เท่ากันคือ
    ๑) ปฏิสัมภิทาญาณขั้นปกติ มีกำลังตํ่า
    ๒) ปฏิสัมภิทาญาณขั้นมหาสาวก มีกำลังความเป็นทิพย์สูงกว่า
    ๓) ปฏิสัมภิทาญาณขั้นอัครสาวก มีกำลังสูงกว่าพระมหาสาวก
    ฉะนั้น บรรดาท่านผู้ที่ฝึกมโนมยิทธิได้ความเป็นทิพย์ จึงมีความรู้สึกไม่สมํ่าเสมอกัน ใช้จิตมากๆ ใช้ปัญญาน้อย ความแจ่มใสของจิตก็น้อย การเห็นก็ไม่ค่อยจะตรงนัก ไม่ชัดเจนแจ่มใส
    ต่อมาเมื่อกลับจากบิณฑบาต ฉันข้าวเสร็จ พระโมคคัลลาน์เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ และบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เมื่อพระพุทธเจ้าเทศน์จบ พระลักขณะก็ถามพระโมคคัลลาน์ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ถามว่า
    "เมื่อเช้าพระคุณเจ้ายิ้มเดินมาแล้วยิ้มเฉยๆ ผมถามท่าน ท่านบอกให้ถามต่อหน้าองค์สมเด็จพระบรมครู อยากจะถามว่าเมื่อตอนเช้าท่านยิ้มเพราะเรื่องอะไร"
    พระโมคคัลลาน์จึงตอบว่า
    "เมื่อตอนเช้าที่เรายิ้มเพราะเห็นเปรต ๒ เปรต คือ อหิเปรตกับกากะเปรต"
    เมื่อพระโมคคัลลาน์กล่าวเพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองว่า
    "อหิเปรตก็ดี กากะเปรตก็ดี มีจริงๆ ตามที่พระโมคคัลลาน์ว่า ตถาคตเห็นเปรตทั้งสองนี้มาตั้งแต่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีคนอื่นเห็น ตถาคตจึงไม่พูดเพราะไม่มีพยาน เวลานี้พระโมคคัลลาน์เห็นแล้วตถาคตมีพยาน ตถาคตก็ขอยืนยัน" ต่อจากนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวถึงกรรมของเปรตทั้งสอง แต่วันนี้จะพูดถึงกรรมของกากะเปรตเรื่องเดียวก่อน
    องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงกล่าวว่า "เปรตทั้งสองตนนั้นมีตัวยาว ๒๕ โยชน์ (๑ โยชน์มี ๔๐๐ เส้น)เปรตทั้งสองนี้มีสภาพเหมือนกันคือ มีไฟลุกตั้งแต่หัวพุ่งไปหาหางและไฟก่อตัวขึ้นจากหางพุ่งไปหาหัว ไฟก่อตัวขึ้นตรงกลางตัวรวมไปทั้งหัวทั้งหางและกลางเสร็จ รวมความว่าเปรตทั้งสองนี้จมอยู่ในกองเพลิงตลอดเวลา สำหรับอหิเปรตนั้นมีรูปร่างคล้ายคน แต่หัวเป็นงู (อหิแปลว่างู)ส่วนกากะเปรตนั้นมีหัวเป็นคนแต่ตัวเป็นกา"
    แล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสบุพกรรมของกากะเปรตนี้ทำบาปอะไรไว้ เรื่องมีดังนี้

    ถอยหลังไปกัปนี้เองสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธกัสสป" เวลานั้นบรรดาประชาชนทั้งหลายตั้งใจถวายอาหารแก่พระสงฆ์ สมัยนั้นเขาจะถวายพระองค์ไหนเขาก็รับบาตรจากท่านไป เมื่อชาวบ้านเขารับบาตรจากพระเถระไปแล้ว ก็นำอาหารที่มีรสเลิศหมายความว่าอาหารที่ทำดีแล้วใส่บาตร ในขณะที่ใส่อาหารลงไปในบาตรนั้น ยังไม่ทันจะถวายพระ ก็มีกาตัวหนึ่งจับอยู่บนยอดไม้มองเห็นอาหารในบาตรเป็นที่ชอบใจ จึงได้โฉบลงมาคาบเอากับข้าวในบาตรไปเต็มปากตามกำลังที่จะนำไปได้ แล้วก็ไปยืนกิน
    พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า กาทำบาปเพียงเท่านี้เมื่อตายจากความเป็นกาก็ไปเกิดเป็นกากะเปรต มีหัวเป็นคนตัวเป็นกายาว ๒๕ โยชน์ มีไฟไหม้ก่อตัวทางหัวพุ่งไปถึงหาง ไฟไหม้ก่อตัวทางหางพุ่งมาทางหัว ไฟไหม้ก่อตัวตรงกลางลามไปทั่วตัว ต้องไหม้อยู่อย่างนี้นับเป็นพุทธันดร

    และพระองค์ตรัสอีกว่า อาการที่กาขโมยอาหารเขากิน ถึงแม้ข้าวนั้นยังไม่ได้เป็นของสงฆ์คือยังไม่ได้ประเคนพระ ยังเป็นเจตนาที่จะถวายพระอยู่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของบุญ ยังไม่เป็นอาหารของสงฆ์ จึงได้มาเกิดป็นกากะเปรตอยู่ในแดนของเปรต

    พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าอาหารที่ถวายสงฆ์แล้ว ถ้าขโมยกินอย่างนี้เป็นขโมยข้าวสงฆ์ จะมีโทษมากกว่านี้มาก จะไปเกิดแค่เปรตไม่ได้ จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกก่อนในอเวจีมหานรก หรือข้าวที่เขาถวายพระเสร็จแล้ว เขาจะนำไปเลี้ยงคน ตอนนั้นถ้าฉกฉวยเอาไปกินเป็นส่วนตัวก็ถือว่าเป็นขโมยของสงฆ์เหมือนกัน แต่ถ้าพระท่านอนุญาตว่ากินได้อันนี้ไม่มีโทษเพราะพระให้แล้ว มีหลายท่านถามว่า "กินข้าววัดต้องชำระหนี้สงฆ์ไหม"

    ถ้าขโมยกินต้องชำระหนี้สงฆ์ ถ้าพระให้กินไม่ต้องชำระหนี้สงฆ์ คือพระให้ไม่เป็นหนี้

    รวมความว่าการที่จะเกิดมาเป็นคนได้ต้องอาศัยศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐
    จะมีทรัพย์สินบ้าง ก็เพราะผลของทาน
    จะมีปัญญาบ้าง ก็เพราะการอบรมธรรม
    และการเกิดมาเป็นคนแล้วกลับทำความชั่ว ก็จะต้องกลับไปเกิดเป็นสัตว์นรก กว่าจะมาเกิดเป็นคนใหม่ก็ยํ่าแย่ใช้เวลาอีกนานเป็นการถอยหลัง ทางที่ดีควรจะก้าวหน้าต่อไป อย่างน้อยจากการเป็นคนแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทวดาหรือนางฟ้า ไปเป็นพรหมก็ยิ่งดีกว่า ไปพระนิพพานดีถึงที่สุด.."
     
  19. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    เรื่องที่ ๑๗๓
    คนก่อนจะตายต้องเห็นนิมิตก่อน


    จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน


    "..ตามที่หนังสือโบราณท่านเขียนไว้ "คนก่อนจะตายต้องเห็นนิมิต" สมัยหลวงพ่อปาน ท่านก็เขียนไว้ ท่านบอกว่าลอกมาจากตำรับตำรา ท่านบอกว่า คนก่อนจะตายต้องเห็นนิมิต คือ
    ๑) เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นไฟ กองไฟ หรือดวงไฟ แสดงว่าคนนั้นตายแล้วตรงไปนรกทันที ไม่ผ่านสำนักพระยายมราช
    ๒) เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นป่า จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    ๓) เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นก้อนเนื้อ จะเกิดเป็นคน
    ๔) เวลาก่อนจะตาย ถ้าเห็นสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล เช่นของที่เราเคยให้ทาน หรือวัดที่เราเคยทำบุญ พระที่เราเคยไหว้จะเป็นพระพุทธรูปก็ตาม พระสงฆ์ก็ตาม เป็นอันว่าสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลอย่างนี้ ก็จะไปเกิดบนสวรรค์คือไปสู่สุคติ
    ตามที่หลวงพ่อปานเขียนมาอย่างนี้ อาตมาไม่ใช่ต้องการพิสูจน์แต่ได้ไปประสบเข้าโดยคาดไม่ถึง นั่นก็คือมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งชื่อ "จวน" นามสกุลจำไม่ได้ อยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวลานั้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัยท่านจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกณฑ์คนไปทำงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต้องการจะเอาคนงานทั้งหมดเป็นทหารต่อต้านญี่ปุ่น คุณจวนก็ไปทำงานที่นี่ด้วย เมื่อเลิกสงครามก็เลิกทำงาน กลับมาก็ปรากฏว่าเป็นโรคไข้ ต่อมาก็เป็นวัณโรคคือเป็นโรคฝีในท้อง เป็นโรคปอด
    วันสุดท้ายของชีวิตของเธอ อาตมาไปเทศน์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี พอดีกลับมามีคนเขาบอกว่า "จวนป่วยหนัก" ประมาณ ๔ โมงเย็น อาตมานิมนต์พระไปเป็นเพื่อนอีก ๔ องค์ ที่นำพระไปด้วยก็คิดว่าคนป่วยหนักถ้าเห็นพระอาจจะเป็นมงคลก็ได้ เพราะตามตำราท่านบอกว่า ถ้าเห็นสิ่งที่เป็นกุศลคนนั้นจะไปสวรรค์
    พอไปถึงคุณจวนก็อาการหนักจริงๆ หายใจช้าๆ แล้วก็เบาลงๆ อาตมาไปนั่งข้างๆ เรียกชื่อ "จวน จำฉันได้ไหม" ท่านเหลียวหน้ามาพยักหน้าตอบว่า "จำได้" เสียงเบามาก จึงถามเธอว่า "เวลานี้เห็นอะไรไหม ไม่ใช่เห็นฉัน มีภาพอะไรลอยข้างหน้าบ้าง"

    ท่านก็ตอบว่า "เวลานี้มีภาพไฟลอยข้างหน้า"

    ท่านก็แสดงอาการหวาดกลัวไฟมาก เมื่อฟังเท่านั้นก็ตกใจ คิดว่าท่าจะไม่ได้การแล้ว นิมิตอย่างนี้ถ้าเห็นตายแล้วไปนรกทันที
    ก็คิดอะไรไม่ถูกจึงถามว่า "จวน ภาวนาว่าพุทโธ ได้ไหม"

    เธอส่ายหน้าบอกว่า "คิดไม่ออก"

    อาตมาจึงหันไปถามภรรยาท่านว่า "มีสตางค์ไหม"

    เธอก็ตอบว่า "มี"

    ก็เลยบอกว่า "ถ้ามีละก็ขอสัก ๒๐ บาทได้ไหม"
    เธอก็นำธนบัตรใบละ ๒๐ บาทมาให้ อาตมาก็นำไปใส่มือจวน เอามือทั้งสองประกบกันในท่าพนมมือแล้วบอกว่า

    "จวน เอาอย่างนี้นะ ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เราจะตาย หรือไม่ตายนั้นไม่มีความสำคัญ ตั้งใจทำบุญก็แล้วกันนะ เวลานี้ฉันมาพร้อมกับพระ ๔ องค์ ขอจวนตั้งใจชำระหนี้สงฆ์ ให้คิดว่าของต่างๆ ในวัดทั้งหลายที่มีพระสงฆ์ก็ดี หรือไม่มีพระสงฆ์ก็ดี เป็นวัดร้างมีพระพุทธรูปก็ดี หรือเป็นวัดร้างไม่มีพระพุทธรูปก็ดี หรือเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไม่มีสภาพเป็นวัดก็ตาม เราไปนำอะไรมาจากที่นั่นก็ตาม จะเป็นของหนักก็ดี ของเบาก็ดี ของน้อยก็ตาม ของมากก็ตาม มีค่ามากก็ตาม มีค่าน้อยก็ตาม ขอชำระหนี้สงฆ์ด้วยเงิน ๒๐ บาท"

    ท่านก็พูดเบาๆ ตามแล้วก็น้อมทำท่าผงกศีรษะนิดหน่อย ก็เลยบอกพระ ๔ องค์ว่า "คุณทั้งหลายถ้าเห็นชอบให้ สาธุ พร้อมกันนะ"

    พระทั้งหลายก็ "สาธุ" พร้อมกัน พอพระสงฆ์สาธุพร้อมกัน รู้สึกว่าจิตใจของท่านสดชื่นขึ้นมามาก ถามว่า "จวน เวลานี้เห็นภาพอะไร ไฟหายไปแล้วหรือยัง"
    ท่านก็ตอบ "ไฟหายไปแล้ว"
    ถามว่า "เห็นภาพอะไร"
    ท่านบอก "เห็นภาพพระประธานในพระอุโบสถวัดบางนมโค" เพราะว่าท่านเคยบวชที่วัดบางนมโคและก็ไปทำวัตรเป็นประจำ
    ถามว่า "เห็นชัดไหม"
    ท่านก็บอก "เห็นชัด อยู่ใกล้มาก"
    เลยบอกว่า "จวน นึกในใจก็ได้นะ ออกเสียงมันจะเหนื่อย นึกภาวนาในใจว่า พุทโธ"
    แทนที่ท่านจะนึกในใจกลับออกเสียงว่า "พุทโธๆ ๆ ๆ" เบาๆ ว่าไปสัก ๓-๔ ครั้ง รู้สึกว่าหายใจเบาลงแต่ว่ามีเสียงเล็กน้อย
    ถามว่า "จวน เวลานี้เห็นพระไหม"
    ท่านตอบว่า "เห็นพระ"
    ถามว่า "ชัดขึ้นไหม"
    ท่านก็ตอบว่า "ชัดเจนแจ่มใสมาก สุกสว่างใหญ่กว่าเดิมมาก"
    เลยบอกว่า "ถ้าอย่างนั้น นึกถึงพระเป็นที่พึ่งนะ นึกถึงว่าเวลานี้เราอยู่กับพระพุทธเจ้า ภาพที่เห็นคือภาพพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านมาสงเคราะห์ จะหายจากโรค ถ้าจำเป็นต้องตายก็ไปสวรรค์"
    ท่านยิ้มนิดหนึ่งแล้วบอกว่า "พอพูดจบก็มีวิมานลอยมาอยู่ข้างหน้า พระท่านก็ชี้บอกว่า วิมานนี้เป็นของเธอ"
    จึงถามว่า "เวลานี้ต้องการอยู่บ้านหรือต้องการอยู่วิมาน"
    ท่านก็ตอบเบาๆ ว่า "ต้องการวิมานครับ"
    ก็ไม่ต้องรบกวนให้เหนื่อยต่อไปจึงบอกว่า "ตั้งใจไปวิมานนะ ภาวนาว่าพุทโธ"
    ท่านก็ภาวนาเบาๆ ว่า "พุทโธๆ ๆ ๆ"
    ในที่สุดก็เงียบไปพร้อมกับคำภาวนาและลมหายใจเข้าออก
    รวมความว่าท่านตายคู่กับพุทโธ
    เป็นอันว่า นิมิตเครื่องหมายมีจริง อาตมาพบมาเองหลายสิบราย และวิธีแก้ก็มีวิธีเดียวคือวิธีนี้ เพราะว่าเวลานั้นอย่างอื่นมันแก้กันไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินชำระหนี้สงฆ์ ถ้าบังเอิญเขาไม่เป็นหนี้สงฆ์ ก็เป็นสังฆทานและวิหารทาน รวมความว่าเป็นบุญใหญ่ที่เขาจะพึงได้รับ
    เป็นอันว่ามนุษย์เราที่ตาย ทุกคนจะเห็นนิมิตก่อน แต่ว่านิมิตที่ดีและถูกตัดรอนเพราะกฎของกรรมก็มี.."
     
  20. rubian

    rubian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +483
    เหมือนจะไม่เกี่ยวนะครับ บุญอยู่ที่เจตนา นะครับ

    เออ เราถวายจริง ท่านไม่ฉันท์ก็ได้ เพราะพระมีศีล ไว้พรุ่งนี้ก็ได้

    ส่วนสังฆทานเท่าที่ทราบอันที่จริงก็ใช้ 4 รูปนั่นแหละ แต่ปัจจุบัน ก็อนุโลมเอา แต่ก็ได้บุญนะครับ หาใช่เกิดเป็นเปรตไม่

    ใจนะสำคัญ

    แต่ไอ้ที่จะเกิดเป็นเปรตนะคือ พวกถังสังฆทาน ยัดไส้นะครับ มีเคยออกข่าวยัดหนังสือโป้ใส่ถัง ฉะนั้น ผมแนะนำให้จัดถังเองดีกว่า เพราะเราจะได้รู้ว่ามีอะไรบ้างในนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...