จิตนิ่งแล้ว ยกอะไรไปวิปัสสนา ??

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mr.Boy_jakkrit, 13 มกราคม 2011.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอกล่าว ตามภูมิสติปัฏฐานฯ

    ถ้าสติรู้ว่ากายหายลง
    ลมหายใจละเอียดจนหายวับ
    เหลือแต่สติรู้ในความนิ่ง ให้มีสติปัจจุบันรู้ในนิ่ง
    นิ่ง นั้นเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง ยังไม่ใช่ที่สุดแห่งธรรม

    ดูอาการ ดูสภาวะ เพื่อให้รู้
    แต่ไม่ต้องไปรู้สึกกับมัน นั้น.เป็นการพิจารณาแล้ว
    ธรรมทั้งปวงมีสองสิ่ง รูปกับนาม ในรูปกับนามมีไตรลักษณ์
    ข้อนี้ใช้ได้ทุกสภาวะธรรม

    เอาให้เป็นภัยในความไม่เที่ยง
    เอาให้ได้อารมณ์ธรรม
    เพราะสติไม่ขาดสาย ธรรมนอกหรือธรรมในมองไปที่ไหนมันก็น้อมมาเป็นธรรม เพราะใจมันเป็นปัจจุบันธรรมนั่น มันเป็นอย่างนั้น
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เสริม คุณหาธรรม

    พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP> ได้แก่
    1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
    2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
    3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ
    4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
    5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย
    พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ5เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแก่จิตในปัจจุบันที่ทำให้เกิดมีขึ้น ส่วนอินทรีย์คือพละ5ที่สะสมจนตกผลึก เหมือนกับนิสัย หรือสันดาน เช่นผู้มีสมาธิทรีย์มากก็อาจทำสมาธิได้ง่ายกว่าผู้มีน้อยกว่า ผู้มีปัญญินทรีย์มากก็มีปกติเป็นคนฉลาด พละ5อาจเกิดขึ้นได้ดีและสั่งสมเป็นอินทรีย์ได้ไวคือผู้ทีบวชรือประพฤติพรหมจรรย์ และผู้ปฏิบัติโมเนยยะปฏิบัติ
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า " ตีณิ โมเนยฺยานิ, กตมานิ ตีณิ
    กายโมเนยฺยํ วจีโมเนยฺยํ มโนโมเนยฺยํ "
    ดังนี้ แปลความว่า โมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างคือ

    กายโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ทางกาย ๑,
    วจีโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ทางวาจา ๑,
    มโนโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ทางใจ ๑.


    บุคคลทั้งหลาย ย่อมทำกิจการงานทางกายอยู่ด้วยกัน

    แต่ถ้าไม่มีสติที่ระลึก ไม่มีปัญญาที่พิจารณาดูการงานที่ทำทางกาย
    การงานที่เป็นไปในทางกาย จึงเป็นไปในทางชั่ว ซึ่งเรียกว่า กายทุจริตบ้าง

    เป็นไปในทางดี ซึ่งเรียกว่า กายสุจริตบ้าง แต่มักเป็นไปในทางกายทุจริต

    เพราะไม่มีสติระลึก ไม่มีปัญญาพิจารณา
    ต่อเมื่อมีสติระลึกได้ มีปัญญาพิจารณาดูการงานทั้งหลาย ที่ทำทางกาย

    ให้รู้จักว่าความประพฤติทางกายเช่นนี้ เป็นกายทุจริต รู้จักว่า ความ
    ประพฤติทางกายเช่นนี้ เป็นกายสุจริต และรู้จักเลือกทำกิจการงานทางกาย

    ให้หลีกเลี่ยงพ้นกายทุจริตให้ดำเนินไปโดยทางกายสุจริต
    นี้ได้ชื่อว่า กายโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ทางกาย.


    อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายย่อมพูดด้วยถ้อยคำด้วยวาจาด้วยกัน แต่ว่าบาง
    คนพูดถ้อยคำที่ชั่ว ซึ่งเป็นวจีทุจริต บางคนพูดถ้อยคำที่ดี ซึ่งเป็นวจีสุจริต
    แต่มักพูดวาจา ที่เป็นวจีทุจริตเป็นพื้นเพราะไม่มีสติระลึก และปัญญาพิจารณา
    ต่อเมื่อมีสติระลึกได้ มีปัญญาพิจารณาดูคำที่พูด

    ให้รู้จักว่าพูดคำพูดเช่นนี้ เป็นวจีทุจริต พูดคำพูดเช่นนี้เป็นวจีสุจริต และ
    รู้จักเลือกพูดถ้อยคำที่พ้นจากวจีทุจริต พูดแต่วจีสุจริตอยู่เสมอ

    นี้เป็น วจีโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ทางวาจา.


    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมคิดเรื่องราวทั้งหลายด้วยมนะอยู่ด้วยกัน

    แต่เรื่องที่คิดย่อมเป็นไปต่าง ๆ กัน บางคนย่อมคิดเรื่องที่ชั่วที่เป็นมโน
    ทุจริต บางคนคิดเรื่องที่ดีที่เป็นมโนสุจริต เรื่องที่ระลึกเป็นอารมณ์ การนึก
    คิดเป็นมโน แต่มักนึกคิดเป็นไปในทางชั่ว เป็นมโนทุจริต เพราะไม่มีสติ
    ระลึกได้ ไม่มีปัญญาพิจารณา ต่อเมื่อมีสติระลึกได้ มีปัญญาพิจารณา

    หรือมีสติสัมปชัญญะเมื่อนึกคิดอารมณ์ หรือเรื่องอันใดก็มีสติระลึกได้

    มีปัญญาพิจารณารู้ว่า อารมณ์หรือเรื่องที่คิดเช่นนี้ เป็นมโนทุจริตหรือ
    เป็นอกุศลวิตก อารมณ์หรือเรื่องที่คิดเช่นนี้ เป็นมโนสุจริตหรือเป็นกุศลวิตก
    และรู้จักเลือกนึก หรือตรึกหลีกเลี่ยงจากมโนทุจริตหรืออกุศลวิตก

    ตรึกนึกอยู่แต่ในเรื่องที่เป็นมโนสุจริตหรือเป็นกุศลวิตก
    นี้เป็น มโนโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้ทางมนะ คือ ทางใจที่นึกคิด
    ( มโนโมเนยยะ นอกจาก เป็นผู้มีสติระลึกรู้อารมณ์แล้ว ก็มี
    เรื่อง สติระลึกรู้การละราคะในจิต และ การดับสังขารด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธน
    รวมเป็น 3 ชนิด )


    เมื่อบุคคลรู้ความเป็นผู้รู้ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ดังนี้แล้ว เลือก
    ประกอบประพฤติในทางที่ดี จึงได้ชื่อว่าเป็นมุนีผู้รู้ ๆ นั้น

    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยโมเนยยะ คือความเป็นผู้รู้ หรือความรู้ทั้ง ๓ ประการ

    ดังพรรณนามาแล้วนั้น และไม่มีอาสวะ ท่านจึงได้ชื่อว่าไม่มีบาป

    คือ ความชั่วอันละเสียแล้ว ไม่มีพอกพูนทับถมอยู่ด้วยประการฉะนี้

    นี้แสดงถึงมุนีอย่างสูงสุด แต่ท่านผู้รู้ที่ยังมีอาสวะ เมื่อรู้มากเพียงใดก็กำจัด
    หรือล้างความชั่ว หรือบาปเสียได้มากเพียงนั้น จนกว่าจะเป็นผู้รู้สูงสุด
    ก็จะกำจัดหรือล้างความชั่วเสียได้ ด้วยประการทั้งปวง.
    พระสัมมาสัมพุทธะ ทรงแสดงโมเนยยะ ความเป็นผู้รู้

    โดยทวารทั้ง ๓ คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ด้วยประการฉะนี้.

    ( วชิร. ๑๕๘-๑๖๐ ).
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  4. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิแล้ว ควรยกธรรมข้อใดไปพิจารณา ?

    ยังไม่ต้องไปกำหนดอะไรขึ้นมาทั้งนั้น ให้จิตเค้าถอนออกมาเองอย่างธรรมชาติ จากนั้น จึงโน้มจิตไปพิจารณา
    ธรรมะอะไรก็ได้ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    จึงจะเป็นไปเพื่อปัญญารู้ยิ่งรู้ดีเพื่อความดับ

    ธรรมภายนอก หมายถึงอะไรบ้าง
    ภายนอกไม่มีธรรมมะ โลกนี้ไร้ธรรมะ
    พระธรรมแท้บำเพ็ญที่ใจสำเร็จแล้วที่ใจ

    ธรรมภายใน หมายถึงอะไรบ้าง
    การเข้าไปสงบระงับสังขารได้เป็นสุขอย่างยิ่ง

    อาการนิ่งแล้วพิจารณา นำเรื่องเก่ามาเล่า มาเจียใหม่ หรือ เอาเรื่องที่เพิ่งผ่านไปเมื่อกี้ขึ้นมาพิจารณา
    ธรรมใดก็ดี ล่วงเป็นอดีตไปแล้วไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    บุญคุณความแค้นว่างเปล่าเก่งแล้วก็ยังมีเก่งกว่าเรา
    ไม่จบไม่สิ้น คุณธรรมตาหากที่ดำรงค์อยู่
    ผู้อาวุโสทุกรุ่นๆทรงคุณธรรมเกิดเท่าไหร่
    ตายเกลี้ยงมีไม่เหลือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  5. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -เมื่อจิตควรแก่การงานแล้ว จำเป็นต้องพิจารณา กาย ให้มาก
    -หากยังพิจารณานอกกายมันจะไม่เห็นกาย ที่สำคัญคือจะมี มานะทิฐิ
    เมื่อตีนครกายแตกแล้วก็หมดกัน สิ่งที่ไม่รู้ก็จะรู้ตามเป็นจริง

    ธรรมภายนอก หมายถึงอะไรบ้าง
    ภายนอกไม่มีธรรมมะ โลกนี้ไร้ธรรมะ
    พระธรรมแท้บำเพ็ญที่ใจสำเร็จแล้วที่ใจ ยกมา

    ธรรมภายนอก คือ ทุกข์
    ธรรมภายใน คือ สมุทัย นิโรธ มรรค
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะยกภูมิเข้าสู่วิปัสสนา

    ต้องเกิดจาก รู้จริง เห็นจริง เป็นปรมัตถ์อารมณ์

    ไม่ใช่ รู้เห็น เป็นปรุง นั่นเป็นบัญญัติอารมณ์

    หมายความว่า รู้สภาวะทุกข์ เห็นภัยความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา

    โดยไม่มีตัวกู ตัวสู นั่นนี่ หมาแมวเข้ามาข้องเกี่ยว

    ซึ่งจะเป็นเหตุให้จิตไหล ชอบไม่ชอบ ปรุงไม่ขาดสาย บิดบังไตรลักษณ์

    ทำให้สติ ไม่อยู่ ไม่เห็น ไม่รู้ บัจจุปัน

    ดังนั้น ปรมัตถ์อารมณ์ จึงมีแค่รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้

    ก็ให้เป็นไปตามความละเอียดของสมาธิ เป็นไปตามธรรมชาติของมัน
     
  7. กิ้มเลิ้ง

    กิ้มเลิ้ง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +6
    แก่นสมาธินั้นคือ ลักษณะที่ใจของเรานั้นรู้ต่อเนื่อง แน่วแน่ นิ่ง หนักแน่น เป็นปรึกแผ่น ถ้าได้ถึงตรงนั้นแล้ว ของจิต ไม่ต้องห่วง ไม่หวง ไม่กังวล เป็นเรื่องของเปลือกนอก
    จะนั่ง นอน ก็รับรู้ตื่นตลอดเวลา
    การปฏบัติธรรม จิตเราต้องมีกำลัง จิตจึงจะควบคุมจิตได้ การกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นการบริหาร ออกกำลังจิต ให้จิตมีกำลัง คือกำหนดรู้ตามตั้งแต่เริ่มถึงสุดลมหายใจเรา ทุก ๆ ระยะ ทุกลักษณะ อาการ และลมแรง ลมเบา นิ่งไม่วอกแวก
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ความเห็นส่วนตัวครับ

    จิตไม่นิ่งเพราะเป็นทุข ทนต่อสภาวะทั้งภายนอกที่กระทบทางอายตนะต่างๆและภายใน นามขันธ์ ไม่ได้ และเกิดอาการยึดว่าตัวเรากำลังร้องรน และหลงไปตามสภาวะธรรมนั้นๆ จึงไม่ตื่น ไม่พ้นจากสภาวะธรรมเหล่านั้น

    เมื่อจิตนิ่ง แสดงว่า มีสติครอง รับรู้แล้วถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่นจะเป็นการรู้ถึงการละลึกสิ่งที่ผ่านไปแล้วรู้ในสัญญาอาการ หรือรู้ถึงสิ่งที่มากระทบในขนะนั้นๆ รู้ถึงสิ่งที่กำลังปรุงแต่งคิด รู้ในอารมที่เกิด

    สำคัญตรงที่ มีสติแล้ว ท่าเกิดปัญญาด้วยเห็นจริงแทงตลอดไม่ติดขัด ไม่สงสัย ไม่ผิดทาง บางทีไม่สงส้ยแต่ไม่ใช่ของจริงก้หลงทาง

    งั้นผมว่าเมื่อจิตนิ่งแล้ว ธรรมใดๆที่เกิดอยู่แล้วเป้นอยุ๋แล้วและเป็นมานานนับไม่ถ้วนแล้วก้จะถูกรู้ และเห้นในสถาวะธรรมที่เป้นจริงนั้นๆ
    งั้นไม่ว่าจะยกอะไรมาพิจารนา ก้จะรู้ แต่จะแทงตลอดด้วยปัญญาจนขจัดเอาความเห็นที่ไม่ตรงออกไปได้หรือไม่อยู่ที่ วาสนาแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  9. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ความหมายของคำว่าจิตเป็นสมาธิ
    คำว่าจิตเป็นสมาธินั้น หมายถึง "จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง " ไม่ใช่จิตหยุดโดยไม่รับอารมณ์ใดเลยทั้งสิ้น
    นักปฏิบัติใหม่หรือท่านที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิมักจะเข้าใจอย่างนั้น ความจริงการเข้าใจอย่างนั้นเป็นการเข้าใจที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง
    ธรรมดาของนักปฏิบัติใหม่ จิตที่ว่างจากอารมณ์โดยไม่รับรู้อารมณ์เลย สำหรับการปฏิบัติเบื้องต้นนี้ ไม่มีอาการอย่างนี้
    จิตที่ว่างจากอารมณ์ เป็นอาการของ "สัญญาเวทยิตนิโรธ" พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณและพระอนาคามีปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้นที่จะเข้าได้
    พระอริยะเจ้านอกนั้น แม้จะเป็นพระอรหันต์ระดับเตวิชโช หรือฉฬภิญโญก็ไม่สามารถทำได้ ปกติของจิตเป็นแบบนี้
    เมื่อทราบแล้วว่าจิตไม่ว่างจากอารมณ์ เพื่อฝึกฝนจิตให้มีกำลังที่ควรแก่การเจริญวิปัสสนาญาณในขั้นต่อไปท่านจึงสอนให้ภาวนา
    เพื่อโยงจิตให้อยู่ในอารมณ์ภาวนา คือหาทางให้จิตนึกคิด แต่นึกคิดในขอบเขตที่มอบหมายให้ ไม่ใช่นึกคิดเพ่นพ่านไป
    การภาวนาคาถาบทใดบทหนึ่งนี้เป็นการระงับการฟุ้งซ่านของจิต จิตนี่มีสภาพรับอารมณ์อารมณ์เดียว เมื่อมันรับอารมณ์ที่เป็นกุศล
    ทรงสติสัมปชัญญะด้วย "อานาปานุสสติกรรมฐาน" แล้วอะไรมันจะเข้ามาเอง
    ถ้าหากท่านไม่สามารถทรง "อานาปานุสสติกรรมฐาน" ได้ถึงปฐมฌาน ผลแห่งการเจริญวิปัสสนาญาณของท่านทั้งหลาย
    จะไม่มีผลตามต้องการเพราะจิตมีกำลังไม่พอ ที่จะทำลายกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้

    คัดมาจากหนังสือของ"หลวงพ่อฤาษีลิงดำ"
     
  10. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    จิตนิ่งแล้ว ไม่วอกแวก ไม่รับสัมผัสแล้ว ...

    มันก็คือ..ตายแล้ว !? เสียชีวิตแล้ว !? :boo:

    หากจะไปยกสัญญากันขึ้นมาพิจารณาปรุงต่ออีกนั้นเป็นเรื่องการคิด
    ธรรมอยู่ต่อหน้า...เส้นผมบังภูเขาอย่างที่เขาว่า
    วิปัสสนาคือการรู้เห็นตามความเป็นจริง สมถะคือคนหนทางไปสู้ประตู
    ธรรมคือผู้ถูกรู้ จิตคือตัวรู้ จะรู้ได้ก็ด้วยความมีสติ ปัญญาจึงจะเกิดตามมา:cool:

    เมื่อพิจารณาไปเช่นนี้ ความสงสัยที่ดุจดั่งเมล็ดข้าวโพดที่เรียงรายกันอยู่ในตู้อบก็ผุดขึ้น แตกเป็นป๊อปคอร์น ปุก ปัก ปุก ปัก...เช่นเดียวกับความสงสัยในอะไรๆในธรรมทั้งมวลเมื่อหัวข้อใหญ่มันถูกทำลายสิ้นลงสิ่งร้อยรัดในละดับต่างๆมันก็แตกกระเจิงไม่เหลือแล้ว ด้วยเหตและปัจจัยเช่นเดียวกับข้าวโพดอีกนั่นแหละ เมื่อปัจจัยอันว่าด้วยอุณหภูมิมันได้ที่ความเป้นเมล็ดของมันก็ทนอยู่ได้ยากมันก็แตกออกเอาไส้ในมาให้ดูให้เห็นกัน

    ... ความคิดเห็นที่ว่ามีตัวฉันนั้นมันก็ก็จะพังทลายเปรียบเสมือนหินย้อนบนเพดานถ้ำถล่มลงมาด้วยความที่ต่อต้านกับแรงดึงดูด แรงแห่งสัจจธรรมไม่ได้มนก็พังทลายลงสิ้น

    ... ความครุ่นคิดสงสัยในสรนะของพระสงฆ์และสาวกพระพุทธเจ้าเขาทำหน้าที่อะไรก็จะหมดสิ้นเหมือนเมื่อรู้ว่าเขาเป็นผู้สืบทอดพระศาสนา เขาจรรโลงไว้ซึ่งพระธรรม

    ... ความเชื่อที่ตนเคยเชื่อเคยคิดไว้ เคยหวังไว้ เคยฟังมาแบบนี้ ปลูกฝังมาแบบนี้ ใครเคยชวนไปแบบนั้นแบบนี้ ความคิดแบบเดิมก็จะกลายเป็นเห็นว่านั่นคือความงมงายในที่สุด เมื่อรู้ว่าสิ่งใดๆที่ทำมา นับถือกันมา มันพาไปคนละทาง ความหลง ความเขลา ก็มลายสิ้นไปด้วยผลแห่งการเข้าถึงความจริง

    มาถึงตรงนี้ย่อมเปรียบได้กับแสงสว่างในหุบเขาที่พุ่งขึ้นสู่ที่สูงเจิดจรัดถึงแม้จะยังไปไม่ถึง หนทางอีกยาวไกล แต่ก็รู้แล้วว่าต้องเดินไปในทิศทางใด ส่วนสิ่งที่เหลือก็เหมือนหินก้อนใหญ่ที่ถูกยกออกมาแล้วจะก็แต่ก้อนที่มันเล็กลงมา ละเอียดลงไปเรื่อยๆ ก็ทำไปอยู่อย่างนั้น เดินไปอยู่ในเส้นทางนั้นค่อยถางป่า ค่อยหยิบหินออกทีละนิดละหน่อย สำคัญคือต้องทำ จนที่สุดก็พบกับจุดหมายต่อหน้า อุปมาอุปมัย

    อนุโมทนากับทุกความเห็นครับ สาธุ :cool:
     
  11. นาสังสิโม

    นาสังสิโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +1,703
    ได้อ่านของหลายท่าน แล้วขออนุโมทนาครับ
    ของผมเวลานั่งสมาธิ พอจิตเริ่มคลาย ความคิด หรืออารมณ์ สังขาร ตัวใดเริ่มเข้ามา ก็จับสิ่งนั้นมาพิจารณา ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ ให้จิตรู้ว่ามันเป็นธรรมดาของโลก มันจะได้ไม่ยึด
    และสุดท้าย ปิดด้วย สิ้นชาตินี้ขอไปพระนิพานอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่าสมบัติใดๆในโลก ความรักความผูกพันใดๆ แม้แต่กายเรา ก็ไม่เอาอีกแล้ว ขอไปพระนิพพานอย่างเดียว
    สำหรับกรรมฐาน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการนำมาใช้พิจารณาในชีวิตประจำวันขณะทำงาน ดังนี้
    1.ตั้งสมาธิให้มั่น ของผมกำหนดให้รู้ลมหายใจอยู่ที่หน้าท้อง กำหนดดูจนเป็นลมละเอียดเบา พอทำงานก็ตั้งใจทำ ถ้าว่างก็มาดูลม
    2.เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น ก็รู้ให้ทันมัน เมื่อรู้ทันมันจะวางเอง(เพราะเราเห็นว่าทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ไม่ยึดถือมัน สำหรับงานที่เราทำเป็นหน้าที่ตราบใดที่สังขารยังอยู่ก็ทำให้ดีที่สุด)
    3. จากข้อ 1 และ 2 ถ้าเผลอเมื่อไหร่ ก็มาตั้งต้นกันใหม่เรื่อยๆ ตลอดชีวิต
     
  12. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    คิดเอา

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • wimutti.gif
      wimutti.gif
      ขนาดไฟล์:
      33.1 KB
      เปิดดู:
      183
  13. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ธรรมภายนอก ก็พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นดับลง พิจารณาเห็นถึงความเสื่อมไป ความไม่คงทน คนไม่แน่นอน

    ธรรมภายในก็รูปแบบเดียวกัน สภาวะใดใดเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับลงเป็นธรรมดา

    ว่ากันว่า..เมื่อรู้จักธรรมภายในดีแล้วย่อมมองธรรมภายนอกให้เป็นธรรมได้ทั้งนั้น
     
  14. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    พี่ศรีฯล ของผม "จิตนิ่ง" นะครับไม่ใช่จิตรวมใหญ่..มันจะถอนอะไรได้ มันก็เหมาะในการใช้คิดพิชิตกิเลสให้ขาดเป็นเรื่องๆไป ด้วยกำลังสติกับสมาธิเท่านั้นครับ:':)'(
     
  15. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ไม่มีวิถีใดๆให้ต้องบรรลุ
    ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปต้องแต่แรกแล้ว
    พุทธไม่อยากเกิดเต๋าไม่อยากตาย เพราะฉะนั้น คนที่บำเพ็ญจนธรรมสว่างไม่ทำให้กายสังขารไปถ่วงจิตเดิม ไม่ถูกสภาวะภายนอกมาทำให้ใจจริงของตนสับสน สามารถตอบรับต่อสรรพสิ่งตามกลไกสัมพันธ์ ก็จะมีหลักธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับเหลืออยู่นี่คือการเข้าถึงธรรมอันสูงสุด

    นั่งสมาธิเพื่ออะไร?
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    กาย
    เวทนา
    จิต
    ธรรม
    กำหนดแล้วจิตนิ่ง จิตนิ่งแล้วกลับมาพิจารณา
    สติ สมาธิ ปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075

    เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ

    ให้สิ่งหนึ่งนำไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง นั่นธรรมชาติแล้ว
     
  18. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    จิตนิ่งไม่ดีเค้าเรียกสมาธินอนตาย
    สาเหตุใหญ่ส่วนใครเข้าสมาธิลึกเกินไป
    จนจิตขี้เกียจพิจารณาอะไรๆต่อไป
    ต้องบังคับจิตที่นิ่ง ออกมาพิจารณา
    สภาวะธรรมะให้แจ้งทางปัญญา
    อุบายแบบนี้ อาศัยนิมิตละนิมิต
    อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่เข้าลึกมากไป
    สามารถพิจารณาวิปัสสนาญาณได้
     
  19. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ช้าไปไม่ทันกาล

    ค่อยเป็นค่อยไป

    เป็นทางออกของกิเลส
    กิเลสเค้าอยู่กับเธอมานานแล้ว
    กิเลสเค้าหาทางออก
     
  20. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    นิ่งแล้ว ก็คิดดิ่งอยู่ในเรื่องเดียว(แสดงว่ายังคิดได้) จะเป็นอุปจารหรือไม่อย่าไปมองหรือกังวล เพราะใครก็ไม่รู้ครับว่า.. กำลังสมาธิเราอยู่ขั้นอุปจารสมาธิ นอกจากผู้ที่มีวสี..ผมจำเอาตรง ยังไม่ง่วง ไม่เบลอ มีสติ และคิดอยู่แต่ในเรื่องเดียวที่พิจราณาครับ..ความสังเกตุเห็นส่วนตัวครับ:cool::'(
     

แชร์หน้านี้

Loading...