เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บทเรียนการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจจากอาร์เจนตินา บทเรียนสำหรับขบวนการแรงงานไทย
    โดย : ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน (10/03/2009 03:06 PM)
    ภูมิภาคลาตินอเมริกาและเอเชียมักจะเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจคล้ายคลึงกันเสมอ โดยเฉพาะหมู่คนรากหญ้าและแรงงานที่โดนผลกระทบอย่างรุนแรงมากที่สุด "บทเรียนการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจจากอาร์เจนตินา" จึงเป็นบทเรียนที่น่าสนใจ ในการปรับนำมาใช้กับสังคมไทยที่กำลังลังค่อยๆ ถูกวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่เข้าจู่โจม

    เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 52 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยได้จัดการเสวนา "บทเรียนการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจจากอาร์เจนตินา" โดยวิทยากรคือ Gustavo Vera นักกิจกรรมและนักเขียนชาวอาร์เจนตินา ผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานคนตัดเย็บเสื้อผ้าที่นำนายจ้างที่ละเมิดสิทธิ์แรงงานเข้าสู่กระบวนการศาล และรวมกลุ่มแรงงานทำการผลิตในโรงงานและมีโลโก้ของตัวเอง
    [​IMG]Gustavo เล่าว่านักเคลื่อนไหวในภูมิภาคลาตินอเมริกาเองก็คอยจ้องมองเหตุการณ์ที่เกิดในภูมิภาคเอเชียด้วยเช่นกัน เพราะว่าวิกฤตทางเศรษฐกิจนั้นมักจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันในสองภูมิภาคนี้
    วิกฤตที่อาร์เจนตินาต้องเผชิญในอดีตก็คือเรื่องของค่าเงินที่ตั้งราคาไว้ไม่สมเหตุสมผล (1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์) ทำให้เกิดหนี้สินจากการเข้าโปรแกรมการกู้เงินของไอเอ็มเอฟซึ่งในเงื่อนไขการกู้เงินนั้นจะต้องให้อาร์เจนตินาทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า เป็นต้น
    ในช่วง 10 ปีอาร์เจนตินาได้สะสมหนี้สินไว้ (ทศวรรษที่ 1990) หลังจากนั้นไอเอ็มเอฟไม่สามารถให้เงินกู้ต่อไป เพราะอาร์เจนตินาไม่มีทรัพยากรอะไรไว้ค้ำประกันแล้ว ทำให้ค่าเงินเปโซของอาร์เจนตินาไม่มีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานเริ่มเพิ่มสูงขึ้นถึง 40% ประเทศเกิดความโกลาหลมีการบุกเข้าไปในซูเปอร์มาเก็ต คนชั้นกลางบุกธนาคารเพื่อทวงสิทธิ์นำเงินฝากของเขาออกมา
    19 ธ.ค. 2544 มีการชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชน ในเมืองบูโนสไอเรส มีการปิดถนน ประชาชนลุกฮือขึ้นและปฏิเสธกลไกต่างๆ ของรัฐ โดยในคืนวันนั้นเองประธานาธิบดีได้สั่งการให้ทหารและตำรวจทำการปราบปรามประชาชน และมีผลให้ประชาชนเสียชีวิต 30 คน ช่วงบ่ายวันต่อมาประธานาธิบดีต้องหนีออกจากประเทศ ซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ประเทศต่างๆ ข้างเคียงต้องหนีออกจากประเทศเนื่องจากการลุกฮือขึ้นของประชาชน เช่นกัน


    <TABLE cellPadding=10 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>
    วิกฤตเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา
    วิกฤตเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา (Argentine economic crisis) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจในอาร์เจนตินาล่มสลาย ประเทศอยู่ในภาวะล้มละลาย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (GNP) ลดต่ำลงจนติดลบติดต่อกันยาวนานถึง 4 ปีเต็ม คนตกงานกว่าครึ่งค่อนประเทศแม้กระทั่งหมอก็ยังตกงาน เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ถึง ปี ค.ศ. 2002

    ปี 1983

    เมื่อรัฐบาลทหารได้คืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1983 นายราอูล อัลฟองซิน (Ra'l Alfons'n) ก็ได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ช่วงที่อัลฟองซินดำรงตำแหน่งอยู่นี้ ภาวะเศรษฐกิจภายในอาร์เจนตินาย่ำแย่ลงอย่างหนัก รัฐบาลไม่มีปัญญาจ่ายหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% หรือ ปีละเกือบ 3000% รัฐบาลขาดเสถียรภาพอย่างหนัก นายอัลฟองซินได้ลาออกก่อนจะหมดวะระเพียง 6 เดือน

    จุดเริ่มต้นใน ปี ค.ศ. 1989

    นายคาร์ลอส ซามูล เมเนม (Carlos Menem) ได้รับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จากพรรคนิยมเปรอง แต่เมื่อได้ดำรงตำแหน่งกลับทำตรงกันข้ามกับลัทธิเปรอง (Peronist) เนเนมได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจตาม"ฉันทมติวอชิงตัน" ซึ่งนำความหายนะมาสู่อาร์เจนตินาซึ่งหลักๆได้แก่ การเปิดเสรีการค้าอย่างเต็มที่ ทั้งทางด้านการค้าและการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของต่างชาติ

    ปี 1991

    รัฐบาลของเมเนมได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างจริงจังโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โดมิงโก คาวัลโย (Domingo Cavallo) เป็นผู้ที่ได้ใช้นโยบาย "ฉันทมติ วอชิงต้น" มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นคงที่ ค่าเงินที่ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขายสัมปทานของรัฐออกไป 250 แห่ง ซึ่งรัฐบาลอาร์เจนตินาได้รับเงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้นำไปสู่การผูกขาด ซึ่งโดยรวมหลักของนโยบายเสรีนิยมใหม่ของเมเนมวางอยู่บนความพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการตัดลดงบประมาณให้สมดุล ลดภาษีนำเข้า เพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุนจากต่างชาติ มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นอย่างมากมายในรัฐบาลของเมเนม
    • การแปรรูปสายการบินแห่งชาติ
    • การแปรรูปโทรศัพท์
    • การแปรรูปการไฟฟ้า
    • การแปรรูปทางด่วน
    • การแปรรูปน้ำประปา
    • การแปรรูปรถไฟ
    ปี 1999

    ประธานาธิบดี เฟอร์นานโด เดลารัว (Fernando de la R'a) ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาเพื่อสอบสวนกรณีคอร์รัปชั่นในยุคประธานาธิบดี เมเนม ในวันที่ 7 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2001 ได้มีคำพิพากษาสั่งจำคุกอดีตประธานาธิบดีเมเนมเป็นเวลา 6 เดือน มีข้อกล่าวหา การยักยอกเงิน 100 ล้านเหรียญจากการลอบขายอาวุธ และ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นาย โดมิงโก คาวาโย ก็โดนข้อหาเดียวกัน เมเนมได้หนี้ลี้ภัยไปอยู่ประเทศชิลี

    วิกฤตเศรษฐกิจ

    รัฐบาลของเฟอร์นานโด เดลารัว เข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ.1999 ต้องรับภาระปัญหาต่างๆที่รัฐบาลเมเนมได้ก่อเอาไว้ หนี้ต่างประเทศก้อนโตจำนวนกว่า 132 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ อัตราค่าเงินเปโซที่กำหนดให้แข็งค่าเกินจริงแบบคงที่ ทำให้ภาคการส่งออกมีปัญหา ภาครัฐมีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้และดอกเบี้ย ประธานาธิบดีเดลารัวได้ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลตามคำแนะนำจากไอเอ็มเอฟ (IMF) เพื่อแลกกับเงินกู้จำนวน 8 พันล้านเหรียญ โดยมีการปลดข้าราชการ ตัดงบประมาณชุมชนและงบสวัสดิการสังคมต่างๆ สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายหนัก เมื่อมาตรการตัดลดรายจ่ายยิ่งทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง

    ผลจากการขาดงบประมาณรายจ่ายเพราะเก็บภาษีได้ลดลงรวมกับการขาดดุลการชำระเงินเพราะการกำหนดค่าเงินคงที่ ทำให้รัฐบาลโดนบีบให้ลดค่าเงินเปโซ และยอดหนี้ต่างประเทศสูงขึ้นจากร้อยละ 50 ต่อGDPในปี ค.ศ. 2001 กลายมาเป็น ร้อยละ90 ต่อGDPในปี ค.ศ.2002 รัฐบาลต้องพิมพ์ธนบัตร์ออกมาทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เฟอร์นันโด เดรารัว จึงเชิญ โดมิงโก คาวัลโย อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจสมัยเมเนม มาแก้ปัญหาในปี ค.ศ. 2001 คาวัลโย ใช้มาตรการลดรายจ่ายโดยการตัดเงินเดือนข้าราชการร้อยละ 20 และตัดเงินบำนาญลงร้อยละ 13 ตัดงบประมาณกระทรวงต่างๆ และห้ามถอนเงินจากธนาคารเกินอาทิตย์ละ 250 เหรียญ แต่สถานการณ์กลับยิ่งเลวร้ายลง เมื่ออัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ประชากร 1ใน 3 ของประเทศมีชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน ไอเอ็มเอฟบีบให้ธนาคารทุกแห่งเปลี่ยนเงินฝากของประชาชนเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่อายุไถ่ถอน 10 ปี เพื่อรัฐบาลจะได้นำเงินไปจ่ายดอกเบี้ยของหนี้สินต่างประเทศ มีการประท้วงเกิดขึ้นจนเกิดการจลาจลไปทั่วประเทศ

    ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2001 นายโดมิงโก คาวัลโย ลาออก ก่อน ประธานาธิบดี เดรารัว เพียงไม่กี่ชั่วโมง มีการประท้วงใหญ่หน้าทำเนียบประธานาธิบดี ประเทศเกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจมีการแต่งตั้งผู้รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดี อดอลโฟ โรดริเกซ ซา (Adolfo Rodr'guez Sa') ขึ้นมาบริหารได้เพียงอาทิตย์เดียวก็ถูกกดดันให้ลาออก เมื่อประกาศว่าจะพักชำระหนี้ต่างประเทศจำนวน 141,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของอาร์เจนตินา นายเอดูอาโด ดูฮาลเด้ (Eduardo Duhalde) ได้ขึ้นมาแทนและได้ประกาศลดค่าเงินเปโซร้อยละ 30 และให้แปลงเงินฝากสกุลดอลลาร์ให้เป็นเปโซทั้งหมดผลทำให้ธุรกิจที่มีหนี้สินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐล้มละลายเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลง 11%

    ที่มา: wikipedia.org

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากวิกฤตที่เกิดขึ้นนั้นได้นำไปสู่การรวมกลุ่มของประชาชนในรูปของสมัชชาเพื่อนบ้าน (vecinos) ขบวนคนว่างงาน (piqueteros) โดย Gustavo เล่าว่าแรงงานและคนในชุมชนได้รวมตัวหารือกันว่าจะหาทางฝ่าวิกฤตนี้อย่างไร โดยคนในชุมชนได้มาพูดคุยกันทุกอาทิตย์ มีการรวมตัวการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่นเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น

    [​IMG]Gustavo กล่าวต่อว่าถึงแม้ว่าการประชุมสมัชชาเพื่อนบ้านนั้นจะมีนักมาร์กซิสต์ นักทฤษฎีต่างๆ เข้าร่วมประชุมด้วย แต่การตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการออดเสียงของชาวบ้าน โดยในสมัชชาจะมีการคุยถึงเรื่องปากท้อง มีการรื้อฟื้นโรงงานที่ปิดไปโดยยึดมาทำการผลิตเอง มีการสร้างงานในชุมชน นอกจากนี้มีการเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอย่างแรงงานต่างชาติ แรงงานนอกระบบต่างๆ เป็นต้น
    หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้น พบว่าในอาร์เจนตินามีการยึดโรงงานเพื่อทำการผลิตเองมากขึ้น หลังจากที่นายจ้างทำตัวล้มละลาย ปิดโรงงานหนีไป คนงานได้กลับเข้าไปในโรงงานดำเนินวิถีการผลิตแบบเดิมหากแต่จัดการบริหารด้วยตัวเอง ไม่มีนายจ้าง
    มีโรงงานกว่า 300 แห่ง ที่คนงานทำการผลิตเอง ในกิจการประเภทต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, ร้านอาหาร, โรงงานผลิตรองเท้า, โรงงานผลิตเสื้อผ้า, บริษัทกราฟฟิกดีไซน์ เป็นต้น และเมื่อใดก็ตามที่ตำรวจจะเข้าไปจับกุมแรงงานที่ยึดเหล่านั้นโรงงานนั้น ชาวบ้านชุมชนข้างเคียงได้มีการช่วยเหลือแรงงานกลับเข้าไปยึดโรงงานได้เหมือนเดิมอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ในปี 2002 ได้มีการผ่านกฎหมายรับรองการเข้าไปยึดโรงงานเป็นสิ่งที่สามารถทำได้
    โดยในช่วงการยึดโรงงานนั้นมีการช่วยเหลือจาก NGO's และภาคประชาชน ทั้งการหาตลาด การหาแหล่งทุน หรือการเพิ่มทักษะให้กับแรงงาน เป็นต้น ซึ่งวิธีการดำเนินงานของโรงงานนั้นจะมีการประชุมกันทุกสัปดาห์ ในที่ประชุมจะชั้นกระบวนการประชาธิปไตยในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ในเรื่องของรายได้นั้น ก็มีการจัดสรรให้อย่างเท่าเทียม นอกจากนี้แรงงานได้มีการเพิ่มทักษะในด้านการบริหารขึ้นด้วย
    แต่ทั้งนี้ Gustavo เล่าว่าโรงงานที่ยึดได้นั้นก็ยังมีปัญหาที่แรงงานต้องเผชิญก็คือ เรื่องการดำรงคุณภาพของสินค้า การแข่งขันในตลาดกับสินค้าตัวอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้จาก 300 กว่าโรงงานที่ยึดได้นั้น ปรากฏว่า 80% สามารถอยู่รอดได้ ทั้งนี้มีหลายโรงงานที่ได้ผลปรากฏว่าได้รับเงินเดือนมากกว่าที่เคยทำงานในโรงงานที่มีนายจ้างบริหาร
    หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองที่กล่าวไปนั้น นอกจากเกิดการเข้ายึดโรงงานโดยแรงงานแล้ว ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือการการประท้วงบนท้องถนนมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากคนตกงานเพิ่มมากขึ้น มีการปิดถนน ปิดสะพาน เพื่อทำการประท้วง ในการเรียกร้องเรื่องสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน สิทธิการยึดโรงงาน และเรียกร้องสวัสดิการสังคมต่างๆ เป็นต้น
    Gustavo เล่าว่าถึงแม้ในการชุมนุมการปิดถนน จะมีการเผชิญหน้าตำรวจและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการสูญเสียบาดเจ็บล้มตาย แต่ก็สามารถต่อรองเรียกร้องให้บรรลุผลได้หลายประเด็น เช่น สามารถกดดันให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้กับโรงงานที่ยึดได้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเครื่องจักร เงินทุน หรือที่ดินที่ใช้ในการผลิต และนอกเหนือจากการปิดถนนแล้วก็ยังมีการชุมนุมเรียกร้องหน้าบรรษัทใหญ่ๆ เรียกร้องให้มีการจ้างงาน มีการรับคนกลับเข้าทำงานบางส่วน รวมถึงมีการฟื้นฟูกิจการที่ปิดตัวไปแล้ว
    Gustavo กล่าวต่อไปว่า ปี 2003-2005 สถานการณ์วิกฤตเริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจเริ่มดี มีงานทำ โรงงานที่ยึดไว้ก็ยังดำเนินการได้อยู่ แต่ทว่าเมื่อเดือนกันยานปีที่แล้ว เริ่มเกิดวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง ทำให้แรงงานงานยึดโรงงานผลิต 25 แห่งทันที จากบทเรียนที่ผ่านมา ทำให้มีการตอบโต้จากภาคประชาชนอย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันนายจ้างกับรัฐเองก็กลัวแรงงานยึดโรงงานเช่นกัน ทั้งนี้เหมือนกับว่าประชาชนเองก็มีภูมิคุ้มกันแล้ว ถ้ามีสัญญาณไม่ดีทางเศรษฐกิจ พวกเขาก็จะยึดโรงงานเลย หรือถ้าหากเกิดความไม่โปร่งใสไม่ตรงไปตรงมาเขาก็เรียกประชุมและสร้างสมัชชาเพื่อนบ้านขึ้นมาทันที
    ทั้งนี้ Gustavo ได้สรุปว่า ในช่วงวิกฤตที่อาร์เจนตินาเผชิญมานั้น ยุทธศาสตร์สำคัญ 3 อย่างที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ สมัชชาเพื่อนบ้าน, การยึดโรงงาน และการชุมนุมประท้วง ที่ทำให้ขบวนการภาคประชาชนก้าวผ่านวิกฤตนั้นมาได้ และทั้ง 3 ยุทธศาสตร์นี้ต้องเอื้อกันสำหรับการต่อรองกับรัฐ และความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น Gustavo กล่าวว่าไม่ใช่การช่วยเหลือของพรรครัฐบาล,ฝ่ายค้าน, พรรคฝ่ายซ้าย หรือพรรคฝ่ายขวา แต่เป็นการร่วมมือกันเองของประชาชน
    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา:
    อาร์เจนตินาที่ลุกเป็นไฟ (สุรพล ธรรมร่มดี, กรุงเทพธุรกิจ, วันที่ 28 พฤศจิกายน 2545)
    มองมุมใหม่ :แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต้นเหตุวิกฤติอาร์เจนตินาจริงหรือ? (รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์,กรุงเทพธุรกิจ, 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2549)
    การสวนกระแสตรรกะทุนนิยม: กิจการที่คนงานกอบกู้ในอาร์เจนตินา (ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล, บทความลำดับที่ 1443 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
    โรงงานไม่มีเจ้านาย: การต่อสู้ของแรงงานซานอง (ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล, ประชาไท, 31 มีนาคม 2549)
    รายงาน : สงครามโลกครั้งที่ 4 - สงครามใต้ฝ่าเท้าเราทุกคน (ฐาปนา พึ่งละออ, ประชาไท, 3 เมษายัน 2550)

    วิทยากร บุญเรือง
    ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน
    (Cross Border News Agency)

    ฉบับที่ 9 (10 มีนาคม 2552)
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การล่มสลายของอาร์เจนตินา ภัยคุกคามความมั่นคงที่ประเทศไทยควรศึกษา
    กล่าวนำ
    อาร์เจนตินาเป็นสาธารณรัฐที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่มากถึง 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่โตกว่าพื้นที่ประเทศไทยของเราตั้ง 5 เท่า เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพวกอินเดียแดง ที่มีประชากรประมาณ 3 แสนคน เมื่อพ.ศ.2059 จึงเริ่มมีคนสเปนเข้ามาอยู่ อีก 10 ปีต่อมา พ.ศ.2069 พวกอิตาลีก็เข้ามาสร้างป้อมค่ายและสถาปนาอำนาจขึ้นแถบลุ่มแม่นํ้าปารานา และปารากวัยในนามของพวกสเปนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คนสเปนและคนอิตาลีก็จึงค่อยๆทยอยกันเข้ามาอยู่ในดินแดนอาร์เจนตินา กระทั่งปัจจุบันทุกวันนี้ ประชากรร้อยละ 97 ของอาร์เจนตินา เป็นมนุษย์เชื้อสายสเปนและอิตาลี ผู้อ่านท่านก็คงจะทราบว่า คนสองชาตินี่เป็นพวกขยันขันแข็ง มีระเบียบวินัยในการใช้เงินและการใช้ชีวิตดีพอสมควร สาธารณรัฐอาร์เจนตินาเป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์มาก จึงสามารถปลูกพืชผลที่ทั้งใช้บริโภคภายในประเทศ และยังส่งเป็นสินค้าออกได้อีกด้วย ประเทศนี้จึงเป็นประเทศแถวหน้า ในการส่งออกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวไรย์ ทานตะวัน ฝ้าย และเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก เคยได้รับฉายาเป็น “ประเทศยุโรปในลาตินอเมริกา” ก็เพราะโครงสร้างทางสังคมคล้ายคลึงกับประเทศพัฒนาแล้ว อาร์เจนตินาจัดให้เป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีความอัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ (economic miracle) เพราะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงซึ่งถูกขนานนามว่า “อัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” หรือ “ดาวรุ่งทางเศรษฐกิจ” และเป็นประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

    ดาวรุ่งเศรษฐกิจ
    เมื่อราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เป็นช่วงเวลาที่ไล่เรี่ยกับประเทศไทยเปิดวิเทศธนกิจ (BIBF) ในปี ค.ศ. 1993 เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศที่ถูกขนานนามว่า “ดาวรุ่งทางเศรษฐกิจ” เช่นเกาหลีใต้ เม็กซิโก และมาเลเซีย แต่แล้วในที่สุดประเทศที่ ก็กลับต้องมีอันเป็นไป ต้องประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจจากภาวะหนี้ต่างประเทศท่วมท้น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนต่างประเทศไหลออก วิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้พลเมืองของอาร์เจนตินาต้องประสบกับความทุกข์ยากแสนสาหัสไปทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะพลเมืองที่มีฐานะเศรษฐกิจระดับกลางไปถึงระดับล่างหรือระดับรากหญ้า ซึ่งทุกข์ยากจนถึงกับออกมาประท้วงถามถนนหลายครั้ง ปัญหาของการมีหนี้สะสมจนถึงขั้นวิกฤต ได้ส่งผลกระทบหลายอย่างต่อประเทศ ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของประเทศตกต่ำลงอย่างมาก กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลง ภาวการณ์บริหารกิจการต่าง ๆ ล้มเหลว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ได้เงินมาแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณและลดหนี้สินต่างประเทศ หลังจากการแปรรูป กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้กำไรอย่างมหาศาล แต่กิจการเหล่านี้เป็นของกลุ่มทุนต่างชาติ และรัฐบาลต้องแบกรับหนี้ระยะยาวของกิจการเหล่านี้ที่โอนมาให้รัฐบาลก่อนขาย ทั้งหมดก็เท่ากับว่ารัฐได้ยกกิจการของรัฐซึ่งประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของ ไปให้กลุ่มทุนต่างชาติและกลุ่มทุนใหญ่ โดยที่นักการเมือง ญาติพี่น้อง ผู้บริหารระดับสูง ได้โอนเงินไปฝากในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แล้วปล่อยให้ประชาชนรับกรรมจากการบริการที่แย่ลง แต่มีราคาแพงขึ้นส่งผลให้เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก
    ภูมิหลังของปัญหา
    นายอัลฟองซีน เป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องการที่จะพัฒนาอาร์เจนตินาให้เป็นประเทศชั้นนำอันดับหนึ่งของอเมริกาใต้ เขาได้เสนอโครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่เคยปรากฏมาก่อนในอาร์ เจนตินา เช่น การปฏิรูประบบราชการ การเปิดทางให้ต่างชาติเข้ามาครอบครองแผ่นดิน การเอารัฐวิสาหกิจออกมาขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือให้สัมปทานการเปิดเสรีการค้า ฯลฯ เมื่อแผนพัฒนาประเทศดังกล่าวถูกนำสู่สาธารณ ชน และเข้าสู่สภา ปรากฏว่าได้รับการต่อต้านจากประชาชน และฝ่ายค้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้นำฝ่ายค้าน นายเมเนม ได้กล่าวหาว่า นายฟองซีน และพวกเป็นคนขายชาติ ขายแผ่นดิน มีผลให้นายฟองซีนต้องหลุดจากตำแหน่งประธานาธิบดี ก่อนที่จะครบวาระ
    ในปี ค.ศ. 1989 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่ง คาร์ลอส เมเนม (Carlos Menem) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อจากนายฟองซีนและครองเสียงข้างมากในสภา เข้าคุมประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ ชัยชนะที่ได้มานั้นมาจากปัจจัยที่สำคัญ เช่นการใช้เงินซื้อเสียงด้วยวิธีการต่างๆ การใช้นโยบายหลอกล่อประชาชนให้หลงเชื่อ และการทำลายฝ่ายตรงข้าม เมื่อเข้ามาบริหารประเทศหลังเลือกตั้งเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ สื่อต่างๆ ของอาร์เจนตินาตกอยู่ภายใต้ความครอบงำของรัฐบาล เมเนม สื่อโทรทัศน์ของรัฐ และเอกชนถูกสั่งโดยทางตรง และทางอ้อมให้ปิดหูปิดตาประชาชนเสมอ และได้พยายามสร้างและหาความนิยมจากประชาชน กล่าวคือ อะไรที่อัลฟองซีนทำ เขาบอกว่าจะไม่ทำ จะคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อประชาชน และประเทศ เขาได้บริหารประเทศโดยใช้นโยบาย ลดแลก แจก แถม หรือที่เรียกทั่วๆ ไปว่า "ประชานิยม" คือเอาเงินภาษีอากรของประชาชนมาใช้ในการหาเสียงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    เมื่อเมเนมเข้าบริหารประเทศก็ได้หาวิธีการหยุดยั้งการลดลงของค่าเงินเปโซอาร์เจนตินา โดยวิธีการนำเอาเงินเปโซค่าตรึงตายตัวกับเงินดอลล่าร์สหรัฐในอัตรา 1 : 1 ซึ่งก็ได้ผลเพราะทำให้ค่าเงินเปโซมีเสถียรภาพเป็นที่น่าไว้วางใจแก่นักลงทุนต่างประเทศ ประจวบกับในปี ค.ศ. 1989 ค่ายสังคมนิยมล่มสลายจากการรื้อกำแพงเบอร์ลินที่กั้นระหว่างเยอรมันตะวันออกกับตะวันตกทิ้งไป และรวมเป็นเยอรมนีประเทศเดียว จึงทำให้นักลงทุนทั้งจากสหรัฐและยุโรปกล้าสยายปีกไปลงทุนในที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งอาร์เจนตินาก็ได้รับผลดีนี้ตามมาด้วยและได้รับค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในย่านเดียวกัน เนื่องจากได้ตรึงค่าเงินเปโซไว้กับดอลลาร์อย่างมั่นคง
    อันที่จริง การผูกค่าเงินเปโซไว้ตายตัวกับเงินดอลลาร์ซึ่งเป็นเงินสกุลหลัก ก็มีลักษณะไม่ต่างไปจากการผูกเรือไว้กับท่าเรือ เพราะแม้เรือจะไม่ล่องลอยไปไหน แต่เรือก็ลอยระดับขึ้นลงตามระดับน้ำอยู่ตลอดเวลา ในกรณีถ้าเปรียบเงินเปโซเป็นเหมือนเรือและดอลลาร์สหรัฐเหมือนน้ำ ก็จะเห็นว่าถ้าระดับน้ำเพิ่มสูงมากจนเกินกว่าความยาวของเชือกที่ผูกยึดเรือไว้กับท่าเรือก็จะพลิกล่มได้ในที่สุด จากการเปรียบเทียบข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าการผูกค่าเงินเปโซไว้กับดอลลาร์สหรัฐ ได้ทำให้เงินเปโซเสียหายเมื่อค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในช่วงที่เรียกว่า “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy) ของสหรัฐ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี1995 อันเป็นปีที่ก่อตั้งองค์การการค้าโลกเป็นต้นมา การสูงขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐได้ดึงให้เงินเปโซมีค่าแข็งขึ้นตามความเป็นจริง และได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของอาร์เจนตินามาตั้งแต่เมื่อราวปี 1998 เพราะสินค้าส่งออกมีราคาแพงขึ้น มูลค่าการส่งออกที่น้อยลง ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น ดุลงบประมาณก็ขาดดุลสูงจนต้องกู้จากต่างประเทศมาชดเชย ซึ่งต่อมาความสามารถในการชำระหนี้ก็ลดลงด้วย และกระทบต่อความเชื่อถือของประเทศ ซึ่งล่าสุดแม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟก็ยังไม่อยากให้กู้ วิกฤตครั้งนี้จึงถือว่าร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยเป็นมาในประวัติศาสตร์อาร์เจนตินาในประวัติศาสตร์อาร์เจนตินา
    วิกฤตของอาร์เจนตินา
    วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินานับว่ารุนแรงที่สุดในโลก เมื่อผลของมันทำให้คนยากจนลงทันทีเพราะขาดรายได้ และสูญเสียเงินออม และเกิดการว่างงานมากมายมหาศาล ต้นเหตุก็เพราะหนี้ของประเทศท่วมท้น และอุตสาหกรรมส่งออกที่ตกต่ำ ทางออกที่ไอเอ็มเอฟ เสนอให้กลับซ้ำเติมวิกฤติจนชาวอาร์เจนตินาออกมารวมกลุ่มประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างกว้างขวาง และทำให้การเมืองกลายเป็นจุดชี้ขาดอนาคตของชาติ หนี้ต่างประเทศของอาร์เจนตินาพุ่งขึ้นไปถึง 140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสำคัญมาจาก นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ตายตัวโดยผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์มาตลอด ทศวรรษ 1990 นโยบายนี้มีรัฐเป็นผู้ค้ำจุนกำไรของเอกชนโดยให้หลักประกันว่า อัตราแลกเปลี่ยน 1 เปโซต่อ 1 ดอลลาร์ จะดำรงคงอยู่นานเท่านาน กลุ่มทุน และภาครัฐจึงนำเงินลงทุนจากนอกประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าในประเทศเข้ามาอย่างมหาศาล ทำให้ช่วงครึ่งทศวรรษแรกอาร์เจนตินาเจริญเติบโตราวมหัศจรรย์เฉลี่ยร้อยละ 7.7 ต่อปี อุตสาหกรรมส่งออกขยายตัวอย่างมาก
    การส่งออกเข้าสู่ภาวะถดถอยเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเม็กซิโก ปี 1995 ตามมาด้วยวิกฤติเอเชียปี 1997 และบราซิล ปี 1999 การลดค่าเงินสกุลของประเทศเหล่านี้เท่ากับส่งออกวิกฤติไปยังประเทศอื่นๆ ที่พึ่งพาการส่งออก เพราะทำให้ราคาสินค้าส่งออก ของตนถูกกว่า การตัดราคาดังกล่าว ทำให้การส่งออกของอาร์เจนตินา ประสบภาวะชะงักงันอย่างรุนแรง ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1998 และกลายเป็นวิกฤติในปี 2001 เมื่อ GDP ตกลงเหลือ 1.5 และคาดว่าปีนี้จะติดลบถึงร้อยละ 15 ธุรกิจล้มละลายจนต้องปิดกิจการไปกว่า 3,000 แห่ง ที่สุดรัฐบาลต้องลดค่าเงินเปโซ วิกฤติลุกลามถึงรัฐบาลในปัญหาหนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ก็สูงถึงร้อยละ 20 ของงบประมาณแล้ว ทำให้รัฐต้องใช้มาตรการลดค่าใช้จ่าย โดยตัดเงินเดือน และบำนาญของข้าราชการลงไปร้อยละ 13 และจ่ายเป็นบอนด์อายุ 1 ปี (patacones) แทนเงินสด ขณะเดียวกัน ภายใต้การบงการของไอเอ็มเอฟ รัฐใช้งบประมาณได้จำกัดเพียงแค่รายได้จากการจัดเก็บภาษีเท่านั้น (zero deficit) เท่ากับรัฐหมดพลังในการแก้ไขวิกฤติของชาติไปเลย ที่ซ้ำร้ายคือ เมื่อรัฐให้เงินอุดหนุนธนาคารเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่กลางปี 2001 เพื่อรองรับ การถอนเงินฝากของประชาชน แต่ก็ไม่เพียงพอ BBC ระบุว่าเงินฝากในธนาคารลดลงถึง 65,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟ ยังได้สั่งให้ทางการยุติการอุดหนุนนี้แล้ว เพื่อให้รัฐเก็บรักษาทุนสำรองไว้ใช้หนี้ต่างประเทศ และที่สุดกลุ่มทุนธนาคาร กลัวทุนของตนจะหดหาย ได้เรียกร้องให้รัฐ โดยผ่านการตัดสินของศาลสูงอาร์เจนตินา ออกกฎห้ามการถอนเงินจากธนาคาร (corraiito) ภายใต้มาตรการเหล่านี้ ทำให้ชาวอาร์เจนตินาอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว Guardian ระบุว่า คนว่างงานพุ่งขึ้นจากร้อยละ 18 ในปี 2001 มาเป็นร้อยละ 24 ในปีนี้ ประชากร 20 ล้านคน ตกอยู่ในภาวะยากจน และในจำนวนนี้มีถึง 7.8 ล้านคน ที่ไม่อาจหาปัจจัยสี่มายังชีพได้ ภายหลังลดค่าเงิน GDP ต่อหัวตกลงจาก 8,950 ดอลลาร์สหรัฐ เหลือแค่ 2,493 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าจ้างตกร้อยละ 50 คนงานมีรายได้เพียง 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ขณะที่รายได้ที่เส้นยากจนนั้นอยู่ที่ 180 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ยิ่งไปกว่านั้นราคาค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ส่วนอาหารเพิ่มร้อยละ 50 และยาแพงจนโรงพยาบาลขาดวัคซีน และยาปฏิชีวนะ
    ชีวิตที่เลวร้ายลงโดยฉับพลันทำให้ชาวอาร์เจนตินาลุกขึ้นรวมตัวต่อสู้ และหาทางออก กลางปี 2001 ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกลดเงินเดือนออกมาประท้วง ตามมาด้วยคลื่นมหาชนของคนงาน แม่บ้าน คนงานวัยเกษียณ คนตกงาน เป็นต้นกว่า 40,000 คน รวมตัวกันตีหม้อไหประท้วง (cacerolas) จนเกิดการจลาจลทั่วกรุงบูเอโนสไอเรส

    อาร์เจนตินาเกิดวิกฤติชะงักงัน เงินเฟ้อพุ่งเพราะรัฐบาลใช้จ่ายเงินมหาศาลเพื่ออุ้มรัฐวิสาหกิจ และนโยบายประชานิยม การเมืองอาร์เจนตินาผ่านการเมืองแบบเลือกตั้งสลับกับเผด็จการทหารขณะที่เศรษฐกิจเผชิญเงินเฟ้อพุ่งสลับกับภาวะตกต่ำตลอดสี่สิบปี รัฐบาลทุกยุคสมัยต้องพิมพ์ธนบัตรและกู้หนี้ต่างประเทศเพื่ออุ้มรัฐวิสาหกิจทั้งระบบที่ขาดทุนอย่างหนัก และใช้จ่ายในโครงการประชานิยมต่างๆ ทำให้เงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด เงินเฟ้อสูงถึง 20,000% ต่อปี หนี้ต่างประเทศที่เกิดจากการอุ้มรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนมีสูงถึง 64,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 38.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบเป็นศูนย์ รัฐบาลจำต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความอยู่รอด เริ่มจากการลดอัตราภาษีศุลกากร ลดการคุ้มครองธุรกิจในประเทศ ให้สินค้านำเข้ามาแข่งขันได้ และแก้ไขกฎระเบียบส่งเสริมการส่งออก และออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจ นำมาใช้ในการบริหารประเทศอาร์เจนตินา แผนหลักสำคัญๆ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเปิดเสรีการค้า การให้สิทธิต่างชาติซื้อแผ่นดิน การปฏิรูประบบราชการ การยกเลิกแก้ไขกฎหมายที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในชาติ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เมเนม เคยต่อต้านในช่วงที่ตนเองเป็นฝ่ายค้าน แต่พอมามีอำนาจกลับนำมาใช้ เพราะเห็นว่าสามารถสร้างความร่ำรวยให้แก่ตนเอง และพรรคพวกได้
    ระบบรัฐวิสาหกิจหยั่งรากลึกในเศรษฐกิจอาร์เจนตินา มีกิจการทุกประเภท ตั้งแต่สาธารณูปโภค เชื้อเพลิง ขนส่ง ไปถึงห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ บาร์ไนท์คลับ คณะละครสัตว์ และโบสถ์คริสต์ เกือบทั้งหมดขาดทุนอย่างหนัก เป็นภาระที่รัฐบาลต้องหาเงินมาหล่อเลี้ยงจำนวนมหาศาลทุกปีและเป็นรากเหง้าของปัญหาเงินเฟ้อ รัฐบาลจึงเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจ มีทั้งยุบเลิกและแปลงสภาพเป็นบริษัทขายให้เอกชนไปดำเนินการ แล้วนำเงินไปใช้หนี้ต่างประเทศ ผลก็คือ เงินเฟ้อลดต่ำกว่า 10% ขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวเติบโตในอัตรา 7.9% ต่อปีในช่วง 2536-37 แต่ปัญหาใหญ่กลับยังไม่ได้รับการแก้ไขคือ หนี้ต่างประเทศลดลงไม่มาก รวมทั้งการใช้จ่ายเกินตัวทั้งของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น

    การขายรัฐวิสาหกิจ เขาใช้สื่อหลอกลวงประชาชนว่า รัฐวิสาหกิจเป็นภาระของรัฐบาล มีการโกงกิน การบริหารไร้สมรรถภาพ ต้องแปรรูปเอาหุ้นเข้าตลาดหลัก ทรัพย์ หรือไม่ก็ขายสัมปทาน ความจริงแล้วรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีกำไร และนำเงินเข้าสู่รัฐ เพื่อนำมาใช้สอยสร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชน แค่ปรับปรุง และปราบการโกงกินก็ย่อมทำได้แต่ไม่ทำ เพราะถ้าเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์จะสามารถปันเงินเข้ากระเป๋าตัวเองและพรรคพวก แรกๆ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สหภาพต่างๆ ออกมาคัดค้าน รัฐบาลของนายเมเนม ก็ให้สินบนผู้คัดค้านเหล่านั้นด้วยการขายหุ้นในราคาถูกบ้าง ให้หุ้นฟรีบ้าง สัญญาว่าจะขึ้นเงินเดือน 20-30% บ้าง จะไม่มีการไล่ออกบ้าง การให้สินบนก็เอาเงินภาษีของประชาชนมาปิดปากการคัดค้าน พวกขายตัวก็เงียบไปยอมสยบกับรัฐบาล แต่ในที่สุดรัฐบาลแทบไม่ได้ทำตามสัญญาเลย รัฐบาลนายเมเนมได้เอารัฐวิสาหกิจแทบทุกอย่างออกมาขายในตลาดหลักทรัพย์ เที่ยวหลอกลวงประชา ชนว่าไม่ต้องห่วงรัฐยังถือหุ้นส่วนใหญ่อยู่ และจะไม่ขายให้แก่ต่างชาติ สุดท้ายเขา และพรรคพวกใช้อำนาจบริหารกวาดหุ้น ปั่นหุ้น ทำเงินเข้ากระเป๋าเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ ยังไม่นับรายได้จากการขายสัมปทานของรัฐโดยตรง ในที่สุด รัฐวิสาหกิจต่างๆ ก็ตกอยู่ในมือของพวกนักธุรกิจการเมือง และตกอยู่ในมือคนต่างชาติ เช่น กิจการประปาตกอยู่ในมือของอังกฤษและฝรั่งเศส ไฟฟ้าตกอยู่ในมือของแคนาดา ฝรั่งเศส และอเมริกา กิจการสายการบินตกอยู่ในมือของสเปน กิจการโทรศัพท์ตกอยู่ในมือของสเปน เป็นต้น
    ขอยกตัวอย่างให้เห็นว่าเขานำภัยสู่ประชาชนอย่างไรกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าและประปา อาร์เจนตินาผลิตไฟฟ้าประมาณ 50% โดยใช้พลังน้ำตก ที่เหลือใช้น้ำมันก๊าด และถ่านหินซึ่งเกือบทั้งหมดมีอยู่ในประเทศ ซึ่งนับว่าต้นทุนถูกมาก หลังจากแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ และตกอยู่ในมือของพวกเศรษฐีและต่างชาติแล้ว ราคาค่าไฟเพิ่มขึ้นมาถึงหน่วยละประมาณ 6.50 บาท ในขณะที่ประเทศไทยต้องซื้อก๊าซ น้ำมัน ถ่านหินจากต่างชาติ ขณะที่เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ทุกวันนี้ค่าไฟหน่วยละประมาณแค่ 2.50 บาท ตามชนบทห่างไกล การไฟฟ้ายังทำกำไรนับพันๆ ล้าน หลังจากเอากำไรบางส่วนไปพัฒนาเขตที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เมื่อแปรรูปประปาแล้ว น้ำประปาในอาร์เจนตินาแพงถึงขนาดคนต้องตาย เพราะขอน้ำใครกินไม่ได้ ไม่มีใครให้เพราะน้ำแพง คนที่ตายไปเพราะขอน้ำใครกินไม่ได้ เขาถึงกับตั้งศาลเพียงตาไว้ ไม่มีประเทศไหนในโลกที่แปรรูปแล้วประชาชนไม่เดือดร้อนและนักการเมืองไม่โกงกิน โทรศัพท์เมื่อแปรไปแล้ว ราคาแพงสุดโหด และหุ้นใหญ่ตกไปอยู่ในมือขององค์การโทรศัพท์สเปน 2 ปี ที่ผ่านมา องค์การโทรศัพท์ของสเปนประกาศว่ากำไรของเขาลดลงไป 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพราะเหตุการณ์วิกฤตในอาร์เจนตินา คิดดูแล้วกันว่าต่างชาติขนเงินออกจากอาร์เจนตินาเท่าไรเมื่อรัฐวิสาหกิจตกไปอยู่ในมือต่างชาติ


    เมเนมได้ออกกฎหมายให้ต่างชาติเข้ามาซื้อแผนดินได้ โดยหวังที่จะให้เงินลงทุนมาจากต่างประเทศ ปรากฏว่าต่างชาติได้เข้ามาซื้อที่ดินในรูปแบบต่างๆ จอร์จ โซรอส แค่รายเดียว ซื้อที่ดินในอาร์เจนตินาเกือบล้านไร่ ในช่วงไม่กี่ปีต่างชาติเข้าครองแผ่นดินอาร์เจนตินาถึง 40% สร้างความวิบัติให้แก่สังคมอย่างมหาศาล การเปิดเสรีการค้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างความวิบัติ พวกนักธุรกิจการเมืองในรัฐบาลเมเนม มีผลประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติในสาขาต่างๆ เช่น การค้าปลีกค้าส่ง ปล่อยและร่วมมือให้ร้านค้าขนาดยักษ์ต่างชาติเข้ามาทำลายร้านค้าขนาดย่อมขนาดเล็ก สร้างความหายนะให้แก่คนอาร์เจนตินาล้านๆ คน นอกจากนั้น กิจการภาคบริการก็ถูกต่างชาติยึดอีก คนชั้นกลางของอาร์เจนตินาต้องกลายเป็นคนจนนับล้านๆ คนเพียงแค่ 2-3 ปี
    วิธีบริหารประเทศของเมเนม ใช้คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายบริหารประเทศเป็นหลัก มือหนึ่งเขาจะใช้กลยุทธ์การบริหาร และการตลาดตลอดจนการประชาสัมพันธ์หลอกลวงประชาชนด้วยโครงการต่างๆ เพื่อให้ตายใจ ส่วนอีกมือหนึ่งเขาจะหยิบเอาสมบัติของคนทั้งชาติ เช่นรัฐวิสาหกิจไปปั่นหุ้นขายหาเงินเข้ากระเป๋าตนเอง และพรรคพวก สมคบกับต่างชาตินำทุนข้าม ชาติมาทำลายทุนใหญ่น้อยในชาติ กู้เงินมาลงทุนสร้างโครงการที่ไม่มีความจำเป็น เช่นสนามบิน เป็นต้น เพื่อที่จะได้ค่าใต้โต๊ะเป็นการตอบแทน
    คนอาร์เจนตินาตกงานนับล้านๆ คน รัฐบาลสั่งห้ามคนอาร์เจนตินาถอนเงินฝากของตน นอกจากเอามาใช้ซื้ออาหารกินเดือนละ 1,200 เปโซ เด็กในเมืองหลวงนับล้านไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้ เพราะรัฐไม่มีเงินช่วยเหลือ ผู้คน และเด็กอดอาหารนับล้านคน ทั้งๆ ที่อาร์เจนตินาผลิตอาหารเลี้ยงคนได้ถึง 200 ล้านคน อาร์เจนตินามีพลเมืองแค่ 37 ล้านคน แต่เนื่องจากแผ่นดินการเกษตรตกอยู่ในมือต่างชาติ จึงผลิตเพื่อการส่งออก อาชญากรรมระบาดไปทั่ว
    ทุกวันนี้พลเมืองอาร์เจนตินาราวครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 18 ล้านคน ล้วนเป็นผู้มีฐานะยากจน มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน การหดตัวของธุรกิจอย่างขนานใหญ่ได้ทำให้อัตราการว่างงานสูงขึ้น ปริมาณการผลิตที่ลดลงส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น คนอาร์เจนตินา จะใช้ชีวิตออกไปนอนตามสวนสาธารณะในเวลากลางวัน เนื่องจากว่างงานและเมื่อถึงเวลากินก็จะไปเข้าคิวแจกอาหารซึ่งเหลือทิ้งจากร้านอาหารและภัตตาคารเพื่อประทังชีวิตไปวันๆ คนยากจนในอาร์เจนตินาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

    สาเหตุหลักของความตกต่ำของอาร์เจนตินา
    เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุหลักของความตกต่ำทางเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาครั้งนี้ ก็พบว่า
    มาจาก 3 ประการด้วยกัน คือ
    ประการแรก การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด ที่สำคัญคือ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซอาร์เจนตินาไว้ตายตัวกับเงินดอลลาร์ แม้ว่าจะทำให้ค่าเงินเปโซมีเสถียรภาพ แต่ก็เป็นเสถียรภาพเฉพาะกับเงินดอลลาร์และเป็นเสถียรภาพตามอัตราแลกเปลี่ยนทางการเท่านั้น เพราะทุกครั้งที่ค่าเงินดอลลาร์ไหวตัว การผูกค่าเงินเปโซกับดอลลาร์แม้จะไม่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนทางการที่กำหนดไว้ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์เปลี่ยนแปลงก็จริง แต่อัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดจะไม่คงที่ตายตัว และจะเปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเอง การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับดอลลาร์ทำให้เมื่อเกิดวิกฤตที่เม็กซิโก เงินทุนต่างประเทศไหลออกจากดินแดนละตินอเมริกา อาร์เจนตินาจึงพลอยได้รับผลไปด้วย ตาอมาเมื่อวิกฤตที่ไทยซึ่งขยายไปในย่านเอเซีย ก็ส่งผลไปถึงละตินอเมริกาอีกสุดท้ายเมื่อเกิดวิกฤตที่บราซิล ค่าเงินรีอัลลดลง สินค้าออกของบราซิลถูกลง แต่การที่ตรึงค่าเงินเปโซอาร์เจนตินาคงที่ทำให้อาร์เจนตินาส่งออกได้น้อยลง ปัญหาเศรษฐกิจจึงตามมาเป็นลูกโซ่ คือ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น ต้องกู้เงินมาใช้มากขึ้น หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นและเงินทุนต่างประเทศไหลออกไม่หยุดค่าเงินเปโซในตลาดทรุดลงอย่างรวดเร็วและเกิดเงินเฟ้อรุนแรง
    ประการที่สอง การบริหารงานของรัฐขาดหลักธรรมาภิบาล ผลจาการทุจริตคอร์รัปชันในทางรัฐบาลได้ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณมีการรั่วไหลเสียหายเป็นอันมาก นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของผู้วางแผนภาครัฐโน้มเอียงที่เอื้อประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติ ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดปัญหาค่าเงินเปโซ รัฐบาลก็ไม่ได้ยกเลิกผูกค่าเงินเปโซกับเงินดอลลาร์ในทันที ทั้งนี้เพราะรัฐบาลมีความเกรงใจนักลงทุนต่างชาติ จึงประวิงเวลาเพื่อช่วยให้นักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในอาร์เจนตินาขนเงินดอลลาร์กลับออกไปได้โดยไม่ขาดทุน นั่นคือ นักลงทุนต่างชาติสามรถเอาเงินเปโซที่มีอยู่มาแลกกับดอลลาร์ในอัตราที่ 1 ต่อ 1 ตามเดิม ทั้งที่อัตราในท้องตลาด 1 เปโซที่ถืออยู่จะแลกกลับไปได้ไม่ถึง 1 ดอลลาร์ การเอื้อนักลงทุนต่างชาติในลักษณะนี้ ได้ทำให้ทุนสำรองของประเทศที่เป็นเงินดอลลาร์ลดลงอย่างรวดเร็วแทบไม่เหลือ และเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ยิ่งเลวร้ายลง
    ประการที่สาม อิทธิพลจากภายนอก มาจากคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ที่ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาแก่อารืเจนตินาชนิดที่สวนทางกับธรรมชาติของเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่ออนุมัติเงินให้กู้ ไอเอ็มเอฟก็จะกำหนดเงื่อนไขให้อาร์เจนตินาใช้นโยบายเศรษฐกิจหดตัวด้วยมาตรการต่างๆ เช่น ตัดการใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่มภาษี ลดสวัสดิการ และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น เพื่อลดการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยอ้างว่าจะช่วยลดภาวะเงินเฟ้ออันเกิดจากอุปสงค์ ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจในประเทศเต็มไปด้วยคนว่างงาน และกำลังซื้อในตลาดมีน้องอยู่แล้ว แนงทางแก้ปัญหาของไอเอ็มเอฟที่กำหนดเป็นเงื่อนไขปฎิบัติแก่อาร์เจนตินานั้น จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากการใส่น้ำมันลงไปเพื่อดับกองไฟที่กำลังลุกโชน เพราะเป็นการซ้ำเติมให้ภาวะเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาทรุดตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ชนิดที่แม้แต่คนนอาร์เจนตินาก็สิ้นหวังจนถึงกับไม่อยากจะอยู่ในประเทศของตัวเองอีกต่อไป ทำให้มีผู้เดินทางออกนอกประเทศสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

    บทสรุป
    วิกฤติอาร์เจนตินา หัวใจของลัทธิประชานิยม คือ การเพิ่มรายจ่ายของรัฐอย่างต่อเนื่องในโครงการลดแลกแจกแถมที่อ้างว่า ช่วยคนจน แต่กลับสร้างความพิการในโครงสร้างการคลังไว้อย่างมิอาจเยียวยา นำไปสู่ภาระหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น ในยามที่เศรษฐกิจฟื้นตัวและเติบโต กลไกการเมืองประชานิยมก็เดินไปได้เมื่อรัฐบาลยังมีทางจัดเก็บภาษีและกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่เมื่อเศรษฐกิจชะงัก รายได้ภาษีตกต่ำ วิกฤติการคลังก็ระเบิดขึ้น นำไปสู่วิกฤติหนี้สาธารณะ วิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติการเมืองในที่สุด
    คนเราอาจจะหลอกคนบางคนได้ในบางเวลา แต่จะหลอกทุกคนไปตลอดเวลาไม่ได้ ความวิบัติของประเทศ มันจะไม่เกิดขึ้น ถ้าผู้บริหารประเทศ และประชาชนมีความสำนึก ผูกพัน และหวงแหนแผ่นดิน สมบัติของชาติ รัฐวิสาหกิจ สิทธิและผลประโยชน์เรื่องการทำกินของคนในชาติและสถาบันที่รักและเทิดทูน ในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลต้องทำหน้าที่รับใช้ประชาชน ระบอบเผด็จการเท่านั้น ที่รัฐบาลแสดงอำนาจกับประชาชน
    รัฐที่ล้มเหลวอาจไม่พัฒนาไปสู่ความเป็นรัฐที่ล่มสลาย หากชนชั้นสูงหรือผู้นำในสังคมยังคงดำรงอุดมการณ์ความเป็นชาติ และพิทักษ์รักษาบูรณภาพแห้งดินแดน รัฐที่ล่มสลาย ไม่มีสถานะความเป็นรัฐหลงเหลืออยู่อีกเลย ขณะที่รัฐล้มเหลวจะแปรสภาพเป็นรัฐที่ล่มสลายเมื่อไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในรัฐ สภาวะที่จะนำไปสู่การเป็นรัฐที่ล่มสลายนั้นจะพัฒนาการไปสาสภาพที่ดีขึ้นได้ ต้องอาศัยชนชั้นนำในสังคมที่ยังคงมีพลังในการชี้นำ ให้ใช้ความพยายามดำรงอุดมการณ์ความเป็นชาติและความพยายามในการธำรงรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน ประการสำคัญ คือ การประสานประโยชน์ของพลังอำนาจ ของฝ่ายต่างๆ ความสมดุลจึงจะดำรงความเป็นรัฐที่เข้มแข็งและยั่งยืนได้ตลอดไป

    เศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสขององค์พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์ผู้ทรงประเสริฐยิ่งของเราจะทำให้เราไม่สิ้นชาติ
    รักษาชาติ รักษาประชาธิปไตย
    ควรจะรักษาอย่างไหนไว้ก่อน
    ถ้าสิ้นชาติ จะมีประชาธิปไตยได้หรือ
    ถ้ารักชาติ ต้อง ชาตินิยม ไม่ใช่ประชานิยม
    ถ้ารักชาติ อย่าส่งเสริมให้ขายสมบัติของชาติ
    ถ้ารักชาติ ควรเสียภาษีให้ครบถ้วนอย่าโกงภาษี
    เอกสารอ้างอิง
    1. นิติภูมิ นวรัตน์. เปิดฟ้าส่องโลก. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ17 พฤศจิกายน 2549.
    2. นิติภูมิ นวรัตน์. เปิดฟ้าส่องโลก. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ18 พฤศจิกายน 2549.
    3. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์. บทความ “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต้นเหตุวิกฤติอาร์เจนตินาจริงหรือ”
    กรุงเทพธุรกิจ 18 ธันวาคม 2545.
    4. วิสันติ สระศรีดา. “รัฐที่ล้มเหลว รัฐที่ล่มสลาย” วารสารเสนาธิปัตย์ ปีที่ 58 ฉบับที่ 1 มกราคม –
    เมษายน 2552.
    5. สุรพล ธรรมร่มดี. บทความ “อาร์เจนตินาที่ลุกเป็นไฟ” กรุงเทพธุรกิจ 28 พฤศจิกายน 2545.
    6. เสรี ลีลาลัย. เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.เสริม
    มิตรการพิมพ์, 2547.
    7. อัมรินทร์ คอมันตร์. บทความ “ยืนยัน ยังไง-ยังไง ก็ต้องพูดถึง อาร์เจนตินา ตัวอย่าง แห่ง หายนะ”
    มติชนรายวัน วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9473.
    8. nitipoom.com 1/2/2552

    87149_การล่มสลายของอาร์เจนตินา ภัยคุกคามความมั่นคงที่ประเทศไทยควรศึกษา |
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    Phase II.......Part 7 of ( "การทำลายล้าง" และ "ความรอด" 3 )


    Disclaimer : สิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ เป็น "ความเชื่อส่วนบุคคล" ครับ ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ การเมือง และอริยธรรมของมนุษย์ ในการการศึกษาค้นคว้าของผู้เขียน ความคิดต่าง เห็นต่าง ขอให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านครับ.......

    เช้าวันหนึ่ง เมื่อสัปดาห์ก่อนผมเปิดโทรทัศน์ดู มีรายการนึงน่าสนใจครับ มีพิธีกรชายคนหนึ่งพาไปเยี่ยมเยียนชีวิตความเป็นอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงของ ศิลปินตลกอาวุโสท่านนึงครับคือ "ป๋าเทพ โพธ์งาม" คือป๋าเทพแกไปซื้อที่ไว้ 10 ไร่ครับที่จังหวัดอะไรก็ไม่ทราบ เพราะผมไม่ได้ดูแต่แรก แล้วแกก็ใช้ Concept หรือ "หลักปรัชญา" เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงสร้างสรรค์ทุกอย่างขึ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ สีข้าวและอีกสารพัด น่าจะครบวงจรหมด คือแกแทบจะไม่ต้องหาหรือต้องใช้ "เงิน" เลยครับ ในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เพราะทุกอย่างมันเป็นระบบหมุนเวียนกันเหมือนระบบนิเวศน์ในตัวมันเอง

    ที่น่าทึ่งคือ ถ้าเราถอดมองทะลุความเป็น "ตลก" ของแกเข้าไปแล้วเราฟังในสิ่งที่แกคิดหรือพูดออกมาแล้ว เหมือนเรากำลังฟังปราชญ์ท่านนึงทีเดียวครับ เพราะด้วยวัยและประสบการณ์และหลักคิดของแก อาจจะเรียกได้ว่า "ตกผลึก" แล้วล่ะครับ แม้อาจจะเป็นการพูดไป หัวเราะไป เล่นไปตามสไตล์ของแก แต่ถ้าเอาคำพูดและความคิดของแกมาวิเคราะห์ล่ะก็ ต้อง "อึ้ง" เลยล่ะครับ

    เพราะฉะนั้นหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ในความคิดของผมก็คือ การพึ่งพาและยืนอยู่บนขาตัวเองให้มากที่สุด ถ้าคุณใช้มากกว่าที่หาได้คุณก็หมด ถ้าคุณหาได้มากกว่าที่คุณใช้คุณก็เหลือเก็บ แต่ถ้าคุณสามารถใช้โดยที่คุณไม่ต้องหา คุณก็จะไม่มีวันหมดและอาจจะมีเหลืออีกต่างหาก หรือจะเรียกอย่างสั้นๆว่า "ยั่งยืน" ผมว่าน่าจะเป็นอะไรที่สุดยอดแล้วครับ ก็คืออย่างที่บอกครับว่ามันครบวงจร ไม่ได้อยู่ที่ขนาดว่าใหญ่หรือเล็ก ต้องมากหรือน้อย มันอยู่ที่ "ความพอดีและพอใจ" มากกว่าครับ

    ทีนี้เลยจะเกิดคำถามตามมามากมายครับ แล้วหลายท่านที่เป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิดหรือใช้ชีวิตอยู่ในเมืองอย่างนี้จะต้อง ขายบ้านเข้าไปทำไรทำนาเหมือนกันหมดเลยหรือเปล่า คำตอบคือ "ใช่และไม่ใช่" ก็คือ...ใช่ในหลักการแต่ไม่ใช่ในวิธีการครับ ก็คือทำยังก็ได้ให้เราลดการพึ่งพาหรือการซื้อหาจากภายนอกให้ได้มากที่สุด การลดการพึ่งพาเทคโนโลยี การสื่อสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และทุกๆอย่างที่เกินความจำเป็นลง โดยต้องคิดครับว่าที่เราคิดว่ามันจำเป็นและขาดไม่ได้ก็เพราะ เราถูกสอนถูกฝึกหรือถูกปลูกฝังมาอย่างนั้นครับ ถ้าย้อนกลับไปดูรุ่นปู่ย่าตายายท่านก็อยู่มาได้โดยไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่ทั้งหมดก็จะกลับไปอยู่บนความ "พอดีและพอใจ" และแต่ละบุคคลครับ

    ยิ่งทำได้มากเท่าไหร่ "ความยั่งยืน" ก็จะมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวครับ และอีกอย่างที่คุณจะได้เป็นของแถมทีมีค่ามากๆ ก็คือ สุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีขึ้นครับ ที่ผมกล้าบอกคุณอย่างนี้เพราะผมกำลังทำอยู่ครับแล้วยังพัฒนามันต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องทิ้งทุกอย่างที่เรามีหรือความเป็นตัวเราทั้งหมด ค่อยๆปรับค่อยๆเปลี่ยนไปครับ แต่ยังไงก็ต้องดูทิศทางลมพายุที่กำลังตั้งเค้าแล้ว มันจะหนักมากครับครั้งนี้ ใครที่ทำได้ก่อนหรือทำได้มากก็โดนน้อย แต่ถ้าทำได้น้อยก็ต้องโดนมากเป็นธรรมดาครับ

    หรืออย่างน้อยคุณก็ต้องรู้ว่าเมื่อวิกฤติการณ์เกิดขึ้นแล้วคุณจะไปไหน ต้องไปหาใครอย่างไร ด้วยวิธีไหน คุณจะทำหรือไม่ทำอะไร และเมื่อไหร่ ถ้าคุณทำแล้วคุณจะไม่ Panic หรือตื่นตระหนกครับไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะว่า หนึ่งคุณรู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้วจากการบอกเล่าของผม สองคุณเตรียมความพร้อมแล้วในระดับหนึ่ง และสามคุณกำลังรอดูสิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อที่จะทำการ "แปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส"...สำหรับผู้ที่มองเห็นครับ

    เพราะฉะนั้น Trend หรือทิศทางหรือแนวโน้มของเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคม ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน การประกอบอาชีพ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ แบบ "ฉับพลันทันที" ครับ เพราะว่าจะมีคนที่รู้และตามทันสิ่งที่จะเกิดขึ้นน้อยมากๆครับ เพราะ "ไม่กล้าคิด" ยิ่งถ้าติดกรอบความคิดหรือกรอบการศึกษาในโลกปัจจุบันนี้อยู่ด้วยแล้ว จะยิ่งลำบากครับ ทุกอย่างจะกลับไปสู่พื้นฐานหรือ Back To Basic หรือกลับสู่สามัญคืออะไรที่มีความจำเป็นในลำดับต้นๆ ในการดำรงชีพของมนุษย์ นั่นแหละครับจะเป็นกระแสที่จะมา

    อย่างที่ผมเคยทำนายไว้ครับว่า "หัวจะกลายเป็นหาง หางจะกลายเป็นหัว, คนยากจนจะกลับมั่งมีและคนมั่งมีจะกลายเป็นคนยากจน" .....พอจะนึกภาพออกแล้วนะครับ แล้วเรามารอดูกันครับว่าจะเป็นจริงแค่ไหน

    เอาล่ะครับที่ผ่านมาทั้งหมดก็เป็นเรื่องของการดิ้นรนเอาตัวรอดในด้านร่างกายหรือ Physical เพื่อรอรับเหตุการณ์ความพลิกผันทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงของโลก ที่คิดว่าจะแผลงฤทธิ์ในครึ่งหลังของปี 2011 หรือไม่เกินกลางปี 2012 แต่ทั้งหมดจะไม่ได้เกิดขึ้นแบบโครมเดียวครับ จะมีสัญญานต่างๆ ออกมาเป็นระลอกๆ จากทางสหรัฐ ยุโรป อังกฤษ จีน รัสเซีย รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ ที่คุณต้องทำคืออ่านสัญญานแล้วรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องเตรียมพร้อมและติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวพร้อมกันไปครับ แล้วดู Sequence หรือลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผมเขียนไว้ในโพสต์ที่แล้ว การล้มตัวในลักษณะโดมิโน่จะไล่ไปเรื่อยๆและน่าจะใกล้เคียงตามนั้นครับ เพียงแต่ว่าอะไรที่จะเป็นตัวจุดชนวนหรือ Spark เท่านั้นเอง แต่ผลก็จะออกมาไม่ต่างกันในที่สุด

    ในสหรัฐตอนนี้กลุ่ม Patriot หรือ Truth Movement หรือคนอเมริกันจำนวนไม่มากแต่ก็ไม่น้อยครับ ที่ตื่นแล้ว ก็เตรียมความพร้อมกันเป็นการใหญ่ เค้าทำอย่างไรกันบ้างไว้จะโพสต์วีดีโอไว้ให้ครับ เห็นแล้วรู้สึกเลยว่า ต้องขนาดนั้นเลยหรือ ถ้าคุณยังอยู่ในสหรัฐหรือเลือกที่อยู่ที่นั่นก็ควรที่จะทำขนาดนั้นครับ แต่สำหรับในบ้านเราก็คงต้องดูผลกระทบกันเป็นรายตัว รายภาคไป แต่อย่างหนึ่งที่ผมกังวลคือ การพึ่งพาฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะภาคการเมือง คงจะทำอะไรไม่ได้เลยครับ เพราะการแข่งกีฬาสี ระหว่าง สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และอีกสารพัดสี คงยังคุกรุ่นอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ลากเอาผู้คนอีกจำนวนมากเข้าไปอยู่ในวัฏจักรเหล่านั้นด้วย และบางส่วนก็กลายเป็นโลกทั้งใบของพวกเค้าไปแล้ว

    ความสามัคคีและความเป็นเป็นเอกภาพของคนไทยหรือคนในชาติ คงยากที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น หรือภายใน 1-2 ปีนี้ครับ เพราะฉะนั้นถ้า "ปัจจัยภายนอก" กระแทกใส่เข้ามาแล้ว คงจะ "หนัก" ครับ เพราะภายในก็ยังแบ่งสี แบ่งพวก เล่นการเมือง ตีกันอยู่อย่างนี้ แต่ละฝ่ายคิดถึงแต่อำนาจ และความอยู่รอดของตัวเอง ถ้าประเมิณจากปัญญาน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมาก็คงจะพอจะเดาทิศทางได้นะครับ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องมองในภาพรวม เพราะปัญหาใหญ่ๆ ขนาดนั้นต้องการการแก้ปัญหาในระดับนโยบายในระดับชาติครับ

    แต่ในใจลึกๆ ผมก็ยังมีความหวังว่า เมื่อวันนึงที่ปัญหาในระดับโลกอุบัติขึ้นแล้ว จะทำให้ทุกคนในชาติ ไม่ว่าจะสีไหน หรือพรรคอะไร จะตระหนักถึงผลกระทบอันรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อทุกคนในชาติอย่างเท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าคุณจะเลือกเสื้อสีไหนก็ตาม ผมหวังว่าวันนั้นจะเป็นวันที่คนไทยจะระลึกได้ว่าทุกคนก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ยังสามารถที่หลอมรวมกัน กลับมาเป็นคนไทยเหมือนก่อนที่วิกฤติการณ์ทางการเมืองจะแบ่งแยกพวกเราออกจากกัน เพื่อฝ่าฟันปัญหาต่างๆไปพร้อมกัน ด้วยความเป็นเอกภาพในที่สุด



    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1





    โพสต์โดย What's going on in America โพสต์เมื่อ <A class=timestamp-link title="permanent link" href="http://jimmysiri.blogspot.com/2010/12/phase-iipart-7-of-3.html" rel=bookmark><ABBR class=published title=2010-12-27T16:32:00+07:00>4:32 หลังเที่ยง</ABBR> 1 comments [​IMG] [​IMG]






    <SCRIPT type=text/javascript>if (window['tickAboveFold']) {window['tickAboveFold'](document.getElementById("latency-3791398797927443293")); } </SCRIPT>Insider by Lindsey Williams ( Dec 23, 2010 )


    สรุปให้คร่าวๆครับ กับบทสัมภาษณ์เพิ่มเติม โดย Lindsey Williams ในรายการ Radio Liberty โดยมีพิธีกรคือ Dr.Stan และยังคงยืนยันในข้อมูลภายในที่ได้รับมาโดยได้เพิ่มเติมบางประเด็นดังนี้ คือ

    1.เหตการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นที่วอชิงตัน(ศูนย์กลางอำนาจของสหรัฐและของโลก) หรือในโลกการเงิน ไม่มีอะไรที่เป็นความบังเอิญ ทุกอย่างถูกออกแบบหรือกำหนดให้เป็นอย่างนั้น (By Design)


    2.จากการเปิดเผยของ IMF ในปี 2011 ที่จะถึงนี้ 15 ชาติมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งรวมทั้ง สหรัฐ ญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน กรีซ มีภาระที่จะต้องระดมเงินหรือสภาพคล่อง ไม่ต่ำกว่า $10.2 Trillion เพื่อจ่ายดอกเบี้ย(เท่านั้น) ซึ่งยังไม่รวมถึงเงินต้น สำหรับพันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนด ซึ่ง "เป็นไปไม่ได้" ในทางปฏิบัติ หรือเท่ากับ 27% ของ GDP ของเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลกเมื่อนำมารวมกัน ซึ่งหมายถึงค่าเงินของประเทศเหล่านั้นจะเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องในปี 2011


    3.ในอีกไม่ 4-5 เดือนข้างหน้าจะเกิดความขัดแย้งใหญ่ในตะวันออกกลาง (ไม่มีการระบุรายละเอียดว่ามาจากฝ่ายไหน) และจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงอีกครั้งหนึ่ง ราคาขายปลีกน้ำมันในสหรัฐจะไต่ขึ้นสู่ระดับ $4-$5/แกลลอน


    4.ไม่ต้องใส่ใจความขัดแย้งของ 2 เกาหลี


    5.คนอเมริกันจะไม่สามารถอาศัยหรือฝากชีวิตไว้กับ 401K, IRA และ Retirement Account ได้อีกต่อไป


    6.จับตาดูสกุลเงินยูโรและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เมื่อถึงเวลาที่เงินสกุลยูโร "ล้ม" แล้ว จะมี 2-3 เพียงสัปดาห์เพื่อจะออกจากกระดาษทั้งหมด


    7.อาหารและน้ำดื่มในสหรัฐจะไม่ขาดแคลน แต่....ประชาชนจะไม่มีเงินพอที่จะซื้อเพราะการเสื่อมลงของค่าเงินดอลล่าอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ( Hyperinflation )


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/DGoODVoxRtk?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x006699&color2=0x54abd6 width=480 height=295 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>



    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1


    โพสต์โดย What's going on in America

    ....."The Gold War phase II" by Jimmy Siri
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฮานอยเฮี้ยบห้ามผู้บริหารรับของขวัญ ห้ามใช้เหล้า-ไวน์นอกฉลองปีใหม่

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 ธันวาคม 2553 17:55 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ภาพแฟ้ม-- แม่ค้าหาบเร่เดินผ่านร้านจำหน่ายไวน์นำเข้าแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ในท่ามกลางบรรยากาศเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ที่กำลังคึกคัก ทางการกรุงฮานอยได้สั่งห้าม หน่วยงานรัฐเลี้ยงฉลองด้วยไวน์หรือสุราที่นำเข้า ห้ามระดับบริหารรับของขวัญของฝากจากใคร ไม่ว่าจะราคามากน้อยเท่าไร.-- REUTERS.

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ปีนี้เป็นอีกปีที่ทางการกรุงฮานอยกวดขันกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยห้ามทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารหน่วยงาน รับของขวัญของฝากใดๆ จากใครก็ตามในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ และห้ามใช้สุรากับไวน์นำเข้าจากต่างประเทศในการเลี้ยงฉลอง รวมทั้งในช่วงเทศกาลตรุษ ขึ้นปีใหม่ประเพณีด้วย โดยกล่าวว่า ประเทศยังขาดดุลการค้าปีละกว่าหมื่นล้านดอลลาร์

    “คำแนะนำ” ของนายเหวียนเท้ถาว (Nguyen The Thao) ประธานคณะปกครองนครฮานอย ได้ส่งหมุนเวียนไปยังหน่วยงานในสังกัด รวมบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับหน่วยงานรัฐ และยังครอบคลุมถึงธนาคารกับบรรดาบริษัทต่างชาติที่ลงทุนในกรุงฮานอยด้วย หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ (Tuoi Tre) ในนครโฮจิมินห์ กล่าว

    ปีที่แล้วทางการกรุงฮานอยได้สั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ระดับกลางระดับล่างจำนวนหนึ่ง ที่ฝ่าฝืน “คำแนะนำ” ของผู้ว่าราชการเมืองหลวง ที่มีตำแหน่งเป็นกรมการเมืองคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย

    ในทางตรงข้าม นายถาว ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ เข้มงวดกำกับดูแลการผลิตสินค้าภายในใต้ความรับผิดชอบ เพื่อให้มีหลักประกันว่าจะมีเพียงพอสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในช่วงสิ้นปี- ปีใหม่และช่วงเทศกาลตรุษ เตื่อยแจ๋ กล่าว

    ทุกๆ ปี ชาวเวียดนามฉลองทั้งวันส่งท้ายปีเก่าและขึ้นปีใหม่สากล แต่งานฉลองใหญ่จริงๆ คือ เทศกาลตรุษซึ่งปีนี้ฤกษ์ดีตกวันที่ 3 ก.พ.2554

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=456 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=456>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    ภาพแฟ้ม-- คริสต์มาสเพิ่งจะผ่านไป ปีใหม่กำลังจะมา ชาวฮานอยออกจับจ่ายซื้อหาของขวัญและสิ่งของประดับตบแต่งบ้านในเทศกาล แต่สำหรับเจ้าหน้ารัฐทุกระดับมีข้อจำกัด ทางการเมืองหลวงห้ามเด็ดขาด ไม่ให้รับของขวัญของฝากใดๆ จากผู้ใด ไม่ว่าจะมีมูลค่าน้อยหรือมาก .-- AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    IndoChina - Manager Online -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สุข - เศร้า ใบหน้าจีนในรอบปี 2010
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 ธันวาคม 2553 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ประชาชนเดินถนนสวมถุงพลาสติกคลุมหน้า ป้องกันฝุ่นทรายจากลมพายุที่มีความเร็วกว่า 100 ก.ม. / ช.ม. ที่กระหน่ำเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมาในกรุงปักกิ่ง และคลุมพื้นที่มากกว่า 2 ล้านตารางกิโลเมตร ใน 16 มณฑล (ภาพเอเยนซี)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>พีเพิ่ลเดลี่ สื่อจีนได้รวบรวมภาพถ่ายใบหน้าที่เป็นข่าวในรอบปีซึ่งกำลังจะผ่านไปนี้ โดยระบุว่าเป็นภาพใบหน้าประจำปี 2010 ซึ่งสะท้อนความสุข ทุกข์ที่ผ่านมา ตั้งแต่ภาพใบหน้าของผู้คนเดินถนนที่ครอบถึงพลาสติกคลุมหน้าช่วงพายุทรายกระหน่ำกรุงปักกิ่งเมื่อเดือนมีนาคม ไปจนถึง ใบหน้าแห่งความสุขของเด็กๆ ไร้เดียงสาที่เล่นอยู่ในค่ายชั่วคราว หลังเหตุแผ่นดินไหว ในมณฑลชิงไห่ เมื่อเดือนเมษายน โดยกล่าวว่า แม้จีนจะเผชิญสุข - โศก และเคราะห์กรรมเพียงใด แต่อุปสรรคเหล่านี้น ก็เป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมา แล้วก็จะผ่านพ้นไป พร้อมๆ กับวัน เดือน ปี

    ชมภาพใบหน้าแห่งปี 2010 จาก พีเพิ่ลเดลี่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=550>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ผู้โดยสารรถไฟ ในเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง กับตั๋วรถไฟที่ระบุชื่อจริงในการซื้อ ซึ่งทางการจีนเริ่มใช้มาตรการนี้ เมื่อวันที่ 21 มกราคม เพื่อแก้ปัญหาการค้ากำไรจากตั๋วโดยสารรถไฟ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=550>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เด็กน้อยวัย 4 ขวบ กำลังอาสาช่วยผู้ใหญ่ กู้ภัยในเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ โคลนถล่มเมืองจ้าวฉู่ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=442 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=442>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แรงงานหญิงคนหนึ่งกำลังแบกกระสอบใบใหญ่ พร้อมกับอุ้มทารกน้อย ขณะที่เธอเข้าเมืองมาทำงานที่สถานีรถไฟหนันชาง มณฑลเจียงซี (30 มกราคม) </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=550>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สุภาพสตรีคนหนึ่ง ร่ำไห้ต่อหน้าซากปรักหักพังของบ้านที่ฝังจมอยู่ใต้โคลนในเมืองจ้าวฉู่ มณฑลกานซู่ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=550>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สาวน้อยในเต็นท์อพยพหลังเหตุแผ่นดินไหวในยู่ว์ซู่ มณฑลชิงไห่ เมื่อวันที่ 18 เมษายน </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=550>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>มิสเวิร์ลปี 2010 อเล็กซานเดรีย มิลส์ จากสหรัฐอเมริกา หลั่งน้ำตาหลังคว้ามงกุฏ มิสเวิร์ล จากการประกวด ในเมืองซันย่า มณฑล ไห่หนันเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=550>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ผู้เฒ่าจีน กับการฉลองอายุขึ้นตัวเลขสามหลัก ในเทศกาลวันผู้สูงอายุของจีน เมื่อเดือนตุลาคม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    China - Manager Online -
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “ภาษาอังกฤษแบบจีน” ภาษาเพื้ยนที่ซ่อนนัยลึกกว่าที่คิด
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย สุรัตน์ ปรีชาธรรม</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 ธันวาคม 2553 17:41 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    วิธีสร้างและเล่นคำศัพท์ใหม่ “ภาษาอังกฤษแบบจีน” ซึ่งกำลังเป็นที่ฮิตระเบิดในหมู่ชาวเน็ตจีน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>Smilence, Amerryca, Emotionormal, Freedamn, Democrazy, Suihide, Innernet...

    คำเหล่านี้คือ “ภาษาอังกฤษแบบจีน” ที่ดูผิดเพี้ยน น่าตลกขบขำ แต่ดูดีๆมันมีนัยความจริงบางอย่างจะฟ้อง...

    ******

    จีนหนีไม่พ้นกระแสการใช้ภาษาอังกฤษ ปะปนในการเขียนภาษาท้องถิ่นในลักษณ์ต่างๆดั่งเช่นหลายๆประเทศปฏิบัติกัน และที่เด็ดดวงไปกว่านั้น คือ ขณะนี้ชาวเน็ตจีนยังกำลังระดมสมองคิดสร้างคำศัพท์ใหม่กัน “ภาษาอังกฤษแบบจีน” ที่ทางการจีนเรียกมันว่า “ภาษาจีนก็ไม่ใช่ ภาษาต่างชาติก็ไม่เชิง” จนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (20 ธ.ค.) สำนักงานบริหารสื่อ และสิ่งพิมพ์แห่งรัฐ ของรัฐบาลจีน ก็สวมบทบาทผู้พิทักษ์ความบริสุทธิ์และมาตรฐานภาษา ออกโรงแถลง “ประกาศปรับปรุงมาตรฐานการเขียน การใช้ภาษา คำศัพท์ ในสื่อและสิ่งพิมพ์” อีกครั้ง

    ประกาศฯฉบับดังกล่าวชี้แจงว่า เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ก็ได้บังเกิดปรากฎการณ์แปลกใหม่ในการเขียนภาษาจีน โดยมีการใช้คำศัพท์ภาษาต่างชาติตามสื่อสิ่งพิมพ์รายคาบต่างๆ หนังสือ สื่อและหนังสือออนไลน์ ได้แก่ การใช้คำศัพท์ภาษาต่างชาติเพิ่มขึ้นมาก การใช้ภาษาอังกฤษแบบตามอำเภอใจ และยังมีการสร้างคำศัพท์ชนิดที่เรียกว่า “ภาษาจีนก็ไม่ใช่ ภาษาต่างชาติก็ไม่เชิง” คำศัพท์ที่มีความหมายไม่ชัดเจน จนกลายเป็นปัญหาการละเมิดในการใช้ภาษา ซึ่งส่งผลอย่างร้ายแรงในการทำลายความบริสุทธิ์และมาตรฐานของภาษาจีน ทำลายความกลมกลืนของสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมภาษา ตลอดจนส่งผลกระทบเสียหายต่อสังคม

    ในประกาศฯฉบับนี้ ได้ย้ำการใช้ภาษาต่างประเทศอย่างมีมาตรฐาน ห้ามใช้คำศัพท์และคำย่อภาษาอังกฤษสะเปะสะปะ ห้ามใช้คำที่คิดขึ้นใหม่ “ภาษาจีนก็ไม่ใช่ ภาษาต่างชาติก็ไม่เชิง” คำที่มีความหมายไม่ชัดเจน ฯลฯ

    สำหรับการใช้คำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ ที่ขณะนี้แพร่หลายบนสื่อออนไลน์แล้วนั้น สามารถใช้ได้บนสื่อออนไลน์เท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ในในงานเขียนที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ

    นี่คือ เนื้อหาของประกาศที่จีนได้เคยประกาศมาแล้ว แต่ “การประกาศแจ้งให้ทราบ” อีกครั้งนี้ ดูมีเบื้องหลัง วาระซ่อนเร้น ที่มีสีสันเด็ดไม่เบา...ดูจากเป้าหมายที่จีนต้องการสกัดในครั้งนี้ คือถ้อยคำศัพท์ “ภาษาอังกฤษแบบจีน” ที่ชาวเน็ตพากันคิดรังสรรค์กันอย่างเมามัน โดยใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษมาดัดแปลง ตัดต่อ ผสมกันเป็นคำใหม่ โดยมีนัยแอบแฝง เป็นการล้อเลียน เสียดสีสังคม เป็นต้น

    อย่างเช่น...Ungeliable อ่านว่า อันเก่ยลี่เอเบิล ซึ่งในพากษ์ภาษาจีน คือ 不给力 อ่านว่า ปู้เก่ยลี่

    “อันเก่ยลี่เอเบิล” ฮิตระเบิดในหมู่ชาวเน็ตจีน “un” แสดงถึงการปฏิเสธ และ “able” แสดงรูปคำคุณศัพท์ ส่วนตรงกลาง “geli” มาจากภาษาจีน “เก่ยลี่” (给力)

    เก่ยลี่ เป็นแสลงจีน หมายถึง ยอดเยี่ยม, เจ๋ง, ได้ใจ, สะใจโก๋ ส่วนคำ “ปู้” แปลว่า ไม่

    คำศัพท์ “ภาษาอังกฤษแบบจีน”นี้ สร้างขึ้นใหม่อย่างสอดคล้องกับหลักการสร้างคำในภาษาอังกฤษ แต่อย่างเดียวที่ไม่สอดคล้อง คือชาวต่างชาติไม่เข้าใจ!

    แม้ชาวต่างชาติไม่เข้าใจ แต่เมื่อ Ungeliable ปรากฎขึ้นบนเน็ต ชาวเน็ตแดนมังกรก็ขานรับกันเป็นปี่เป็นขลุ่ย

    “不给力คือ ungelivable,给力ก็คือ gelivable。”… “ศัพท์คำนี้ สะใจโก๋ จริงๆ ฮาฮา! ”

    มาดูคำศัพท์“ภาษาอังกฤษแบบจีน” ที่ gelivable ที่สื่อจีนได้รวบรวมมา มุมจีนขอคัดเลือกมาให้ดูราวสิบคำ ให้เห็นหน้าตาว่าเด็ดดวงแค่ไหน

    Smilence = 笑而不语=ได้แต่ยิ้มไม่พูดคำใด หมายถึง ใบหน้าที่แสดงรอยยิ้มโดยไม่ปริปากพูดคำใดๆ เมื่อคุณคาดหวังคำตอบจากผู้ฟังชาวจีน คุณก็อาจได้รับรอยยิ้ม (smile) แบบมีนัยะบางอย่าง และความเงียบ(silence)

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    Once asked about what happened after July, 5th, 2009 in Xinjiang, the western province of China, many Uygurs smilenced.

    当被问及新疆七・五事件之后发生了什么,许多维族人笑而不语。

    แปลว่า เมื่อคุณถามว่าเกิดอะไรขึ้นในซินเจียงหลังวันที่ 5 ก.ค. ปี 2009 ชาวอุยกูร์ ก็ได้แต่ยิ้มไม่พูดคำใด

    Democrazy =民主妄想 = ประชาคลั่งไคล้ หมายถึง ระบบลวงของรัฐบาล ซึ่งประชาชนสามารถเลือกผู้ปกครองโดยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีอยู่ในจินตนาการของชาวจีนไม่กี่คน

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    In the mysterious land like China, the cure for democrazy, a dangerous sickness can be found in mental-illness hospitals or prisons.

    在中国这片神奇的土地上,要治疗民主妄想这种危险疾病的方法就是进精神病医院或监狱。

    แปลว่า ในดินแดนลึกลับอย่างเช่นประเทศจีน วิธีเยียวยารักษาประชาคลั่งไคล้ ซึ่งเป็นเชื้อโรคอันตราย คือไปที่โรงพยาบาลโรคจิต หรือเรือนจำนักโทษ

    Freedamn =自由=สู่นรกฟรีๆ หมายถึง เมื่อคุณคิดว่าคุณสามารถทำในสิ่งที่ต้องการทำ คุณก็จะได้ไปนรกฟรีๆ

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    Life is dear, love is dearer. Both can be given up; then all you have is freedamn.

    生命诚可贵,爱情价更高,二者均已抛,自由也未到。

    ชีวิตเป็นสิ่งพึงปรารถนา ความรักเป็นสิ่งพึงปรารถนายิ่งกว่า แม้ได้สละสิ้นทั้งสองสิ่งนี้แล้ว สิ่งที่คุณจะได้รับคือ นรกฟรีๆ

    Amerryca = 享乐国 = ประเทศอแมรี่กา หมายถึง ประเทศที่มีประชาชนบริโภคแหล่งพลังงาน 70 เปอร์เซนต์ของโลก และยังเรียกร้องให้คนอื่นตัดลดการแพร่กระจายก๊าซความร้อน

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    If you were elected in Amerryca, you would be a war president and Nobel peace prize winner at the same time too.

    如果你在享乐国当选了,你也能同时成为战时总统和诺贝尔和平奖获得者。

    ถ้าคุณชนะการเลือกตั้งในประเทศอแมรี่กา คุณก็จะได้เป็นทั้งประธานาธิบดีแห่งสงคราม และผู้ชนะรางวัลโนเบลในเวลาเดียวกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>“Innernet is Yake Lizard!” ทั้งนี้ Innernet (อินเนอร์เน็ต) หนึ่งในคำภาษาอังกฤษแบบจีน ที่ชาวเน็ตแดนมังกรสร้างขึ้น และให้ความหมาย อินเนอร์เน็ต คือ สัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง! ในภาพ: สัตว์ประหลาดประเภทเลื้อยคลานที่ชาวเน็ตจีนได้จินตนาการขึ้น (แฟ้มภาพ เอเจนซี) </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> Innernet =内联网 =อินเนอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัด โดยมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการรับรอง ในบางภูมิภาคหรือบางประเทศ อาทิ จีน อิหร่าน และเวียดนาม

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    "What is Yake Lizard what is Yake Lizard, ah? Innernet is Yake Lizard*!"

    “什么亚克蜥?啊 什么亚克蜥?内联网就是亚克蜥!”

    “อะไรคือ สัตว์ประหลาดย่าเค่อ,อะไรคือ สัตว์ประหลาดย่าเค่อ! มันคือ อินเนอร์เน็ต นั่นเอง!”

    * โปรดคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายYake Lizard

    Departyment =有关部门 =หน่วยงานพรรคฯ หมายถึง หน่วยงานที่ลึกลับที่สุดในจีน มีหน้าที่รับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่าง และคุณไม่สามารถค้นหาพบเมือต้องการไปติดต่องาน

    When google said it wants to negotiate with Chinese departyment about its threat of pulling out of China, it found that there is no such a departyment.

    当谷歌说要和中国的有关部门谈判撤出中国的威胁时,它发现它找不到这个“有关部门”。

    เมื่อกูเกิลแถลงว่าต้องการเจรจากับหน่วยงานรัฐ เกี่ยวกับเรื่องที่ประกาศออกไปว่าจะถอนกิจการออกจากจีน ก็จะพบว่า “ไม่มีหน่วยงานของรัฐ” นี้อยู่เลย(ในจีน)

    Suihide =躲猫猫 =เล่นซ่อนหาพลีชีพ หมายถึงวิธีการฆ่าตัวตายโดยการเล่นซ่อนหา

    คำนี้ เล่นซ่อนหาพลีชีพ มาจากแรงบันดาลใจ จากเหตุการณ์ที่นาย หลี่ เฉียวหมิง เสียชีวิตหลังจากที่ถูกจับโยนเข้าคุกกว่า 10 วัน โทษฐานตัดต้นไม้ในคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนัน (ยูนนาน) รายงานการไต่สวนเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระบุว่าเขาล้มลงไปและเสียชีวิตระหว่างที่เล่นเกมซ่อนหากับนักโทษอื่นๆ

    Don’train= 动车=รถไฟไฮเทค คือ รถไฟความเร็วสูงรุ่นไฮเทค ซึ่งมีค่าโดยสารแพง จนชาวจีนทั่วไปไม่สามารถซื้อบริการได้

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    When they were told that most of migrant works cannot afford go back to their hometowns for the Spring Festival reunion by airplane, the officials responded, "Now they have the option to take Don'train."

    当被告知多数的农民工没钱乘飞机回家过年时,官员们的回答是“现在他们可以乘动车嘛!”

    เมื่อมีคนบอกกับเจ้าหน้าที่ว่า แรงงานอพยพส่วนใหญ่ไม่มีเงินพอซื้อตั๋วเครื่องบินกลับบ้านไปฉลองวันตรุษจีนกับครอบครัว เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็ตอบ ว่า “ตอนนี้ พวกเขาก็สามารถเดินทางโดยรถไฟ...ได้แล้วนี่”

    Chinsumer= 中国消费者=ผู้บริโภคจีน หมายถึง ชาวจีนที่มีกำลังซื้อ และสามารถช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจในจีน สหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมทั้งไต้หวัน

    Why do we need to export any value to be a superpower? As long as we can export Chinsumers, nobody would look down upon us.

    为什么我们需要输出价值观 才能成为强国?只要我们能输出中国消费者,就没有人会小看我们。

    ทำไม เราจะต้องส่งออกคุณค่าใดๆเพื่อที่จะได้เป็นมหาอำนาจด้วยเล่า? ตราบเท่าที่เรายังสามารถส่งออกผู้บริโภคจีน ก็ไม่มีใครหน้าไหนกล้ามาดูถูกเราแล้ว

    Emotionormal =情绪稳定 =อารมณ์ปกติ หมายถึง ภาวะอารมณ์ที่สงบและมีเหตุผล ใบหน้ายิ้มไม่พูดจา (smilence)

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    After Yangjia's execution, his mother was reported emotionormal from the mental-illness hospital, according to state-owned media.

    在杨佳被处决后,国营媒体说,他的妈妈在精神病院里情绪稳定。

    หลังจากประหารชีวิต นาย หยัง จยา แล้ว สื่อของรัฐก็รายงานว่า แม่ของเขาซึ่งรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลโรคจิต มีอารมณ์ปกติดี (emotionormal)

    Harmany= 河蟹*= กลืนความหลากหลาย หมายถึง สถานการณ์สงบมั่นคง ประชาชนทุกคนอยู่ในอารมณ์ปกติ (emotionormal) ไร้สัญญาณความวุ่นวายใดๆ

    ตัวอย่างการใช้คำศัพท์:
    We have been in a harmany society for too long to remember what is harmony.

    我们在一个河蟹的社会呆得太久已经忘记了什么是真正的和谐。

    เราอยู่ในสังคมกลืนความหลากหลายกันมายาวนาน จนลืมไปแล้วว่า ความกลมกลืน (หรือสมานฉันท์)ที่แท้จริง คืออะไร?

    สำหรับคำศัพท์ใหม่คู่นี้ ดูเป็นการเลียนเสียง ระหว่าง Harmany (ฮาร์แมนี) กับ harmony (ฮาร์โมนี แปลว่าความกลมกลืน หรือสมานฉันท์), 河蟹 (เหอเซี่ย แปลว่า ปูแม่น้ำ) และ 和谐 (เหอเสีย แปลว่า ความกลมกลืน)

    ดูไปแล้ว มิใช่คำผิดเพี้ยน พาภาษาวิบัติ ธรรมดาๆเสียแล้ว เห็นที กำแพงไฟ (Great Firewall) ระบบคัดกรองข้อมูลข่าวสารอันเลื่องลือของรัฐบาลจีน จะต้านทานไม่ไหวเสียแล้ว.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    China - Manager Online -
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนทุ่มงบโครงการชลประทาน $30,000 ล้าน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>27 ธันวาคม 2553 12:52 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เด็กน้อย 2 คน หาบน้ำบรรจุขวดกลับบ้าน ระหว่างเกิดภัยแล้งในเมืองคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนัน(ยูนนาน) ทั้งนี้ จีนวางแผนพัฒนาโครงการอนุรักษ์น้ำ มูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี2554 (ภาพเอเอฟพี)

    เอเอฟพี - จีนเตรียมแผนทุ่มงบมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลุยโครงการชลประทานปีหน้า (2554) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่มีต่อผลผลิตทางการเกษตร

    จีนทุ่มงบก้อนมหึมาสำหรับโครงการชลประทาน สืบเนื่องจากในปีนี้ภัยน้ำท่วมรุนแรงและภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ได้ทำลายพืชผลทางการเกษตรจำนวนมาก ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูง และผลักดันภาวะเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.ให้เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบมากกว่าสองปี

    ไชน่า เดลี่ อ้างคำกล่าวของ นายเฉิน เล่ย รัฐมนตรีกระทรวงชลประทาน ว่า การลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จะมุ่งไปที่การพัฒนาระบบชลประทาน และรับมือกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศ

    “เราต้องเร่งการก่อสร้างแหล่งอนุรักษ์น้ำ เนื่องจากเป็นโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหลัก เพื่อให้แน่ใจว่า ผลผลิตทางการเกษตรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

    รายงานข่าวระบุว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จีนได้ลงทุนในโครงการจัดการน้ำทั้งสิ้น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    ข้อมูลทางการ เผย ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ ซีพีไอ ปรอทวัดเงินเฟ้อตัวสำคัญ พุ่งขึ้นแต่ระดับ 5 เปอร์เซ็นต์ในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

    ภาวะเงินเฟ้อและราคาที่พุ่งสูงอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวาย ทางการจีนจึงได้ดำเนินการส่งเสริมซับพลายของสินค้าหลัก พร้อมทั้งคุมเข้มบรรดานักเก็งกำไร และเสนอการช่วยเหลือทางการเงินให้กับผู้ยากจน

    สำนักข่าวซินหวา รายงานเดือนที่ผ่านมา ว่า หลังจากประสบกับภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประเมินว่า ในฤดูหนาวนี้ ประชาชนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร

    ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม ได้กล่าวเตือนเมื่อเดือนที่ผ่านมา ว่า ในรอบ 20 ปีต่อจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของจีนลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร

    นายถัง หวาจวิ้น รองคณบดีสำนักวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน ได้เตือนว่า ผลผลิตทางการเกษตรอาจลดลงตั้งแต่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573 หากยังไม่มีการสำรวจสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ จีนคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตธัญพืชอยู่ที่ 546.4 ล้านตันในปีนี้ (2553) และตั้งเป้าจะเพิ่มผลผลิตฯ เป็น 550 ล้านตัน ภายในปี 2563 เพื่อรับประกันความมั่นคงทางอาหารสำหรับประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,300 ล้านคน

    China - Manager Online -
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกที่มีต่อไทย
    รศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง , รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย
    คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


    เศรษฐกิจไทยในอนาคตจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร พลเมืองเข้มแข็งทั้งหลายควรรู้ข้อเท็จจริงเอาไว้ เพราะแม้แต่คนขายไก่ในปัจจุบันยังรู้เศรษฐกิจมหภาคมากกว่าอดีตนักวิชาการที่เคยเป็นรัฐมนตรีเสียอีก

    วิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เรียกโดยย่อว่าเป็นวิกฤตเงินกู้ของผู้กู้ต่ำกว่าระดับ (subprime crisis) ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้และส่งผลถึงเศรษฐกิจไทยเมื่อปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่ามีที่มาจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก (global imbalance) ที่มีประเทศสหรัฐฯ เป็นตัวการเป็นสำคัญ

    เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ก็เป็นเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุล เนื่องจากมีการบริโภคเกินตัวทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน ในอีกด้านหนึ่งเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ในโลกก็ขาดความสมดุลเช่นกันเพราะต้องพึ่งพาการบริโภคของสหรัฐฯ เป็นตัวขับเคลื่อนผลักดัน หากไม่มีผู้ซื้อ เช่น สหรัฐฯ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจรองลงไปและเป็นผู้ขายรายใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น จีน เยอรมนี หรือแม้แต่ไทยจะหาใครมาซื้อสินค้าบริการที่ตนเองผลิตขึ้นมา เพราะแต่ละประเทศมุ่งเน้นการพึ่งพาการส่งออกเป็นกลไกหลักในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับประเทศ

    ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกเริ่มจะมีมากขึ้นเมื่อสหรัฐฯ มีการขาดดุลคู่แฝด(twin deficits) ทั้งในดุลงบประมาณ (budget deficit) และดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบริโภคเกินตัวของสหรัฐฯ ส่งผลให้ประเทศเจ้าหนี้ที่ได้รับเงินของสหรัฐฯ ที่ประเทศสหรัฐฯ สามารถพิมพ์ขึ้นมาเพื่อใช้ชำระราคาค่าสินค้าได้เองเริ่มไม่ไว้วางใจกระดาษที่เรียกว่า “ดอลลาร์สหรัฐ” จะมีอำนาจซื้อตามที่ระบุไว้หรือไม่ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่ม depreciate มีค่าลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่ตนเองเสียดุลไม่ว่าจะเป็นกับ เยน หยวน มาร์ค หรือแม้แต่บาท

    การบริโภคเกินตัวในภาครัฐเกิดขึ้นเพราะรัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายมากกว่าภาษีที่จัดเก็บได้หรือที่เรียกว่า งบประมาณแบบขาดดุล เช่นเดียวกัน การใช้จ่ายเกินตัวทั้งภาครัฐและเอกชนในการบริโภคที่มากกว่าผลผลิตที่ประเทศผลิตได้จนต้องนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามาสนองตอบต่อความต้องการภายในประเทศที่มีอยู่จึงเป็นการขาดดุลในการค้าระหว่างประเทศ นั่นคือมีการส่งออกน้อยกว่านำเข้าจนทำให้เกิดการขาดดุลในบัญชีเดินสะพัด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเป็นการยืมเงินออมของต่างประเทศในรูปของสินค้านำเข้ามาใช้เนื่องจากเงินออมที่มีอยู่ภายในประเทศไม่พอเพียงนั่นเอง

    วิกฤตเงินกู้ของผู้กู้ต่ำกว่าระดับของสหรัฐฯ จึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อการบริโภคที่มีอยู่มิได้มีพื้นฐานมาจากรายได้หากแต่มาจากการกู้ยืมเพื่อมาบริโภคของประชาชนสหรัฐฯ ที่ต้องหยุดชะงักไป คล้ายดั่งฟองสบู่ที่แตกออกเมื่อโผล่พ้นผิวน้ำ ทำให้การบริโภคเกินตัวดังกล่าวลดลงโดยฉับพลันเมื่อสถาบันการเงินของสหรัฐฯ หลายแห่งมีทรัพย์สินที่เป็นพิษ (toxic assets) ที่ก่อให้เกิดการขาดทุนจนทำให้สถาบันการเงินไม่สามารถอำนวยสินเชื่อให้ลูกหนี้เพื่อใช้บริโภคต่อไปอีกได้ ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทั้งเจ้าหนี้ผู้ฝากเงินและประเทศที่พึ่งพาการส่งออกรวมถึงไทยที่เป็นรูปธรรมหลายประการ เช่น การส่งออกที่ลดลง หรือการลดลงของอัตราการเจริญเติบโต จนทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องตั้งงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณที่ผ่านมา

    แต่ที่น่าสนใจและสำคัญในขณะนี้ก็คือ จะมีใครบ้างไหมที่สำเหนียกว่า การที่เงินบาทมีค่า “แข็ง” หรือ appreciate กับเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีค่า “อ่อน” หรือ depreciate นั้น เป็นปัญหาชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างอันเนื่องมาจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากการบริโภคที่เกินตัวของสหรัฐฯ และนโยบายพึ่งพาการส่งออกและนโยบายพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่นโยบายดังกล่าวดูเหมือนจะอยู่เหนือสิ่งอื่นใดแม้แต่ชีวิตคนแถวมาบตาพุด และไม่มีใครที่คิดจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว จะมีใครคิดถึงปัญหาของประเทศไทยในระยะยาวเช่นนี้หรือไม่?

    วิวาทะที่มีอยู่ในสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันในยุค “บาทแข็ง” ที่ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ที่มีบทบาทรับผิดชอบโดยตรงต้องถูกวิพากษ์จากผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ “เสีย” เช่น นักอุตสาหกรรม หรืออดีตนักวิชาการบางคนว่า ไร้ความสามารถอ่อนหัดเมื่อ




    ไม่สามารถทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตามที่คนเหล่านั้นเคยชินได้ จึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระสิ้นดีหากมิได้พิจารณาไปถึงปัญหาความไม่สมดุลดังกล่าวข้างต้น

    ปฐมบทของความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลก มีที่มาจากการบริโภคเกินตัวของสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยการบริโภคของภาคเอกชนสูงเกินกว่าฐานรายได้ที่มีอยู่ ดังจะเห็นได้จากรายได้จากการจ้างงานคิดต่อ GDP ที่แสดงโดยเส้นล่างสุดของรูปที่ 1 ล่างซ้ายของบทความหรือรายได้หลังภาษี (disposable income) คิดต่อ GDP ที่แสดงโดยเส้นที่อยู่ถัดขึ้นมา ทั้ง 2 เส้นนี้ต่างมีระดับค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ต่ำกว่าเส้นหนาบนสุดที่แสดงถึงหนี้สิน

    [​IMG]


    ของครัวเรือนต่อรายได้หลังภาษีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ 1980 และหักหัวลงในช่วงปี ค.ศ. 2007-8 เมื่อเกิดวิกฤตเงินกู้ต่ำกว่าระดับ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นในช่วงปี ค.ศ. 1965-85 หนี้สินครัวเรือนดังกล่าวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับรายได้

    นอกจากนี้ข้อมูลการบริโภคของบุคคลในช่วงหลังๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1980-2010 ก็มีมากกว่าค่าเฉลี่ยของการบริโภคในช่วงปี ค.ศ. 1975-2000 ดังแสดงโดยเส้นประในรูปที่ 2 ล่างขวา
    [​IMG]

    ข้อมูลจากทั้งสองรูปแสดงให้เห็นว่าการบริโภคของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมีที่มาจากการกู้ยืมจากคนอื่นที่เพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ที่ตนเองมีมากขึ้น สนับสนุนสมมติฐานของการบริโภคที่เกินตัวของประชากรสหรัฐฯ อย่างชัดเจน

    ในส่วนของภาครัฐ ภาระงบประมาณที่ขาดดุลดังแสดงโดยการออมที่เป็นลบในรูปที่ 3 ท้ายบทความโดยกราฟแท่งที่มีสีทึบและอยู่กลับหัวแสดงให้เห็นถึงการบริโภคเกินตัวที่มีมาโดยตลอด ที่สำคัญก็คือการใช้จ่ายในภาครัฐส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพเพราะเงินงบประมาณส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เช่น สงครามในอิรัก หรืออัฟกานิสถาน เป็นต้น ผลก็คือการลงทุนโดยรวมของประเทศที่แสดงโดยเส้นทึบบนสุดจะมีค่ามากกว่าการออมของประเทศอยู่ตลอดเวลาดังแสดงโดยเส้นที่อยู่ต่ำลงมา การบริโภคเกินตัวนี้มีผลทำให้ต้องพึ่งพาเงินออมจากต่างประเทศดังแสดงโดยเส้นล่างสุด
    การเกิดวิกฤตเงินกู้ของผู้กู้ต่ำกว่าระดับในช่วงปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมาก็มีส่วนดีที่แง่ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องปรับตัวลดการกู้ยืมเงินออมจากต่างประเทศลง แต่จะเป็นการปรับตัวไปสู่ความสมดุลหรือไม่ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามเพราะภาครัฐยังไม่ยอมปรับตัวเหมือนภาคเอกชน

    สหรัฐฯ จึงเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่ต้องพึ่งพานำเข้าเงินทุนจากต่างประเทศแทนที่จะส่งออก ในขณะที่ประเทศที่เป็นผู้ส่งออกเงินทุนหรือประเทศผู้ให้กู้ยืมก็คือประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น เยอรมนีหรือแม้แต่ไทย ที่ส่วนใหญ่เก็บกำไรหรืออีกนัยหนึ่งความมั่งคั่งจากการค้าขายของตนเองในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในรูปของหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น พันธบัตร หรือ ตั๋วเงินคลัง

    การขาดดุลของสหรัฐฯ จึงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตัวลูกหนี้เอง เพราะเมื่อใดที่สหรัฐฯ ทำงบประมาณแบบขาดดุลก็จะมีผู้ที่เข้ามาซื้อตราสารหนี้เพื่อ finance การขาดดุลดังกล่าว ทำให้มีช่องว่างเหลือพอที่จะสามารถพิมพ์กระดาษที่เรียกว่า “ดอลลาร์สหรัฐ” เพื่อนำมาชำระค่าสินค้าจากต่างประเทศได้มากขึ้น สหรัฐฯ จึงเปรียบเสมือนชายหนุ่มรูปงามความรู้สูงที่ใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าแบบ “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” ที่เกินกว่ารายได้ที่มีอยู่ทุกเดือน แต่ก็จะมีผู้ขายเช่น จีน ญี่ปุ่น ไทย เข้ามาให้กู้ยืมในส่วนที่ขาด ทำให้ลูกหนี้รายนี้ไม่สนใจจะแก้ไขปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวของตนเองตราบเท่าที่ตนเองยังสามารถกู้เพื่อมาซื้อสินค้าที่ตนต้องการได้

    ประเทศผู้ให้กู้ก็ใช่ว่าจะไม่รู้ แต่ก็ใช่ว่าจะมีทางเลือก ในโลกนี้นอกจากสหรัฐฯและเงินดอลลาร์สหรัฐแล้วจะหาประเทศและสกุลเงินใดมาเป็นที่เก็บรักษาส่วนเกิน (ความมั่งคั่ง) จากการค้าได้บ้าง เพราะนับตั้งแต่การทำข้อตกลงของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ Bretton Woods หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เงินดอลลาร์สหรัฐได้กลายมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) ระหว่างประเทศอย่างแพร่หลาย แต่ด้วยการออกจากระบบมาตรฐานทองคำและพฤติกรรมการบริโภคเกินตัวของสหรัฐฯ เองในระยะหลังๆ ได้ทำให้หน้าที่ในการเก็บรักษามูลค่า (store of value) ของเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มที่จะทำได้ไม่ดี

    เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจึงขาดสมดุล เนื่องจากค้าขายด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่สามารถเก็บความมั่งคั่งไว้ในเงินดอลลาร์สหรัฐได้

    (รูปที่ 1 และ 2 ข้างต้นมาจาก UNCTAD, Trade and Development Report, 2010)

    รูปที่ 3 การออมและการลงทุน (%GDP) ของสหรัฐฯ​

    [​IMG]


    ที่มา : UNCTAD, Trade and Development Report, 2010

    (ผู้จัดการรายวัน)
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Update - Mark Zuckerberg ร่วมงานแต่งงานลูกน้องในเมืองไทย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>28 ธันวาคม 2553 23:15 น</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเครือข่ายสังคมสุดฮอตอย่างเฟซบุ๊กที่ปรากฏตัวกลางซอยทองหล่อ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา

    กลายเป็นข่าวที่มวลชนไทยออนไลน์ให้ความสนใจมากเหลือเกินสำหรับมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้งเครือข่ายสังคมสุดฮอตอย่างเฟซบุ๊กที่ปรากฏตัวกลางซอยทองหล่อ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่ผ่านมา แหล่งข่าววงในชี้ว่าซัคเกอร์เบิร์กเดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมงานแต่งงานของลูกน้องคนสนิทรายหนึ่งซึ่งจะเข้าพิธีแต่งงานกับสาวไทยในสัปดาห์นี้

    ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า สาวผู้จะเข้าพิธีสมรสกับมือขวาของซัคเกอร์เบิร์กมีนามว่า "เตื้อย" วิศรา วิจิตรวาทการ เป็นบุตรีของ วิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ ผู้บริหารบริษัทในเครือล็อกซเลย์ โดยวิศรานั้นมีดีกรีเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องสุญญากาศ (In Space) ผลงานหลังจากการเบนเข็มมาศึกษาด้านภาพยนตร์ในมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University)จากเดิมที่วิศราศึกษาจบปริญญาตรีด้านชีววิทยามนุษย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จนได้ไปฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์มากมาย

    ยังไม่มีข้อมูลชื่อของคนสนิทซัคเกอร์เบิร์กที่กำลังจะเป็นเจ้าบ่าวในเร็ววันนี้ รวมถึงกำหนดการเดินทางออกจากเมืองไทยของเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลก

    ข่าวการเดินทางมาประเทศไทยของซัคเกอร์เบิร์กนั้นได้รับความสนใจจากชาวออนไลน์อย่างมาก โดยเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงในทวิตเตอร์ และเครือข่ายสังคมอื่นๆบ่อยครั้งเพื่อบอกต่อถึงการพำนักในประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งข้อมูลจากทวิตเตอร์ระบุว่า ซัคเกอร์เบิร์กนั้นต้องการพักผ่อนในผับชื่อ Enchanted ย่านทองหล่อ แต่ยามรักษาการณ์ไม่ให้เข้าเนื่องจากที่นั่งเต็มเสียก่อน

    ล่าสุดเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นได้ยืนยันว่า เจ้าของและผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊คเดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมงานแต่งงานของคริส ค็อกซ์ (Chris Cox) รองประธานเฟซบุ๊คและเพื่อนเก่าของเขา โดยงานเลี้ยงฉลองสมรสระหว่างค็อกซ์กับแฟนสาวชาวไทยจะจัดขึ้นที่ห้องอาหารแห่งหนึ่งในย่านสุขุมวิทคืนวันพุธ (29 ธ.ค.)


    <CENTER>[​IMG]
    ภาพมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก กับ คริส ค็อกซ์จากการรายงานของนิวยอร์กไทมส์ในปี 2552</CENTER>

    ความสนใจเรื่องการเยือนประเทศไทยของซัคเกอร์เบิร์กที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะชื่อเสียงของเฟซบุ๊ก ผลงานที่ทำให้ซัคเกอร์เบิร์กสามารถร่ำรวยเงินทองจนกลายเป็นเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในขณะนี้ โดยนิตยสารฟอร์บส์ ได้จัดให้ซัคเกอร์เบิร์กมีอันดับความร่ำรวยที่ 35 ก้าวกระโดดจากอันดับที่ 158 ในปี 2009 มีมูลค่าทรัพย์สินจากเดิม 4.9 พันล้านเหรียญมาเป็น 6.9 พันล้านเหรียญในปีเดียว เป็นตัวเลขที่ฮือฮาอย่างมากเพราะสูงกว่าทรัพย์สินของผู้ก่อตั้งแอปเปิล ซึ่งสตีฟ จ็อบส์นั้นสามารถทำได้เพียงอันดับที่ 42 ด้วยทรัพย์สินมูลค่า 6.1 พันล้านเหรียญ ขณะที่นิตยสารไทม์ล่าสุดก็ยกให้เขาเป็นบุคคลแห่งปีอีกด้วย

    ปัจจุบัน เฟซบุ๊กคือบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมที่มีสมาชิกมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะประเทศไทยนั้นมีจำนวนสมาชิกราว 7 ล้านคน และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ
    CyberBiz - Manager Online - <b><font color=red>Update</b></font> - Mark Zuckerberg
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เมืองในเม็กซิโกร้างตำรวจ หลังเจ้าหน้าที่คนสุดท้ายถูกลักพาตัว
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>29 ธันวาคม 2553 02:36 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    (แฟ้มภาพ) เอริกา กันดารา ตำรวจหญิงคนสุดท้ายของเมืองกัวดาลูเป ล่าสุดถูกลักพาตัวไปแล้ว

    บีบีซี - ราษฎรในเมืองกัวดาลูเป ของเม็กซิโก ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดผวาไม่มีตำรวจมาคอยดูแลรักษาความปลอดภัย หลังเจ้าหน้าที่คนสุดท้ายถูกลักพาตัวไปแล้ว

    สำนักงานอัยการแห่งรัฐเปิดเผยว่าบ้านพักของตำรวจหญิง เอริกา กันดารา ถูกกลุ่มมือปืนจุดไฟเผาเหลือแต่ซากหักพังระหว่างปฏิบัติการลักพาตัวเธอเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่ก่อนหน้านี้เพื่อนร่วมงานของเธอถูกฆ่าหรือไม่ก็ลาออกจากงานไปหมดแล้ว หลังดินแดนแห่งนี้ตกอยู่ท่ามกลางสงครมยาเสพติดที่คร่าชีวิจผู้คนไปจำนวนมาก

    มีผู้คนทั่วเม็กซิโก เสียชีวิตในเหตุความรุนแรงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไปแล้วกว่า 30,000 ราย นับตั้งแต่ประธานาธิบดี เฟลิเป กัลเดรอน ประกาศปราบปรามแก๊งค้ายาเสพติดเมื่อปี 2006

    ทั้งนี้มีรายงานว่านางสาวกันดารา ต้องตระเวนตรวจตราเมืองซึ่งมีประชากรอยู่ราว 9,000 คน เพียงลำพังนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา "ไม่มีใครต้องการเป็นตำรวจในพื้นที่นี้ และก็ไม่มีงบประมาณส่งลงมานานแล้ว" เธอบอกกับเอเอฟพีเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

    เมืองกัวดาลูเป ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนสหรัฐฯราว 5 กิโลเมตรและห่างจากเมืองชิวดัด จัวเรซ ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่แก๊งอาชญากรรมลักลอบนำยาเสพติดเข้าไปยังอเมริกา ราว 60 กิโลเมตร

    นอกจากนี้เมืองดังกล่าวยังตั้งอยู่ใกล้กับปราเซดิส กัวเรโร เมืองซึ่งน.ส.มาริซอล วัลเลส การ์เซีย นักศึกษาสาวเม็กซิโก วัย 20 ปี ซึ่งยังไม่จบปริญญา เพิ่งเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจไปเมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากไม่มีคนอื่นยื่นใบสมัคร

    Around the World - Manager Online -
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    Gold Update.......This Way


    Disclaimer : ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นการเก็บรวมรวมข่าวสาร ตัวเลข สถิติและการวิเคราะห์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของผู้เขียน การนำไปใช้ใดๆ จะถือว่าเป็นการตัดสินใจของท่านผู้อ่านเอง เพราะด้วยสภาพเงินทุนที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล การตัดสินใจและผลที่ออกมาอาจจะแตกต่างกัน


    ขอถือโอกาสตอบคำถามของคุณ 752 ไว้ในโพสต์นี้ครับ เพราะมีประเด็นและข้อมูลที่น่าสนใจและสำคัญๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ของเมื่อวานนี้ คือ 28 ธันวาคม ครับ



    เมื่อคืนที่ผ่านมาทองคำปรับตัวขึ้นถึง 1.5% หรือ $22 โดยประมาณ ในขณะที่ Silver พุ่งขึ้นถึง 4.45 % ครับ ก็พอจะเห็นแล้วครับว่า ทิศทางของแร่เงิน Outperform ทองคำไปถึง 3 เท่าตัว น่าสนใจครับ


    สัญญาโกลด์ฟิวเจอร์ส่งมอบเดือนธันวาคม หรือสัญญา Z ของฝั่งสหรัฐจะหมดอายุลงในวันนี้ คือ 29/12 ครับ และผลก็ออกมาอย่างที่เห็นทำไปได้แค่นี้ ด้วยวอลุ่มที่หนาแน่นเกือบตลอดทั้งเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เอาไม่ลงครับ ก็ได้แค่ $75 จาก Hi เดิม ที่ $1,431 โดยเฉพาะปลายเดือนช่วงรอยต่อเทศกาลอย่างนี้ ซึ่ง "ผิดปรกติ" ครับ กลุ่มขาใหญ่ก็เจ็บตัวจากสัญญาเหล่านี้ไปอย่างมหาศาล พาลไปเอาคืนที่ทองแดงหรือ Copper ทำให้ราคาทองแดงตอนนี้ไม่รู้ว่าจะไปจบลงที่ตรงไหน เพราะทำ New High อย่างต่อเนื่อง สัญญานเทคนิคก็แทบจะไม่ตกเลย แต่หลังจากปิด Comex ของสิ้นเดือนนี้ไปแล้ว ทองแดงก็ต้องระวังการปรับฐานออกมาครับ แต่โอกาสที่จะไปต่อก็มีมากเช่นกัน เพราะทั่วโลกตอนนี้กำลังมุ่งความสนใจไปที่แร่งเงิน ทองคำและทองแดงตามลำดับ เหตุผลก็เพราะเจ้าแร่ 2 ตัวแรกแทบจะหาของไม่ได้ในระดับโลกครับ


    สำหรับเงิน SLV หรือแร่เงินซึ่งคือเป้าหมายที่แท้จริงในการเข้าทุบราคาในรอบนี้ ขึ้นหนักและลงหนักกว่าทองคำถ้าหากเราจับตาดูความเคลื่อนไหวในแต่ละวันครับ แต่ในที่สุดแล้วยืนอยู่ได้ที่ 29.xx หลังจากที่ทรุดลงไปอยู่ 27.xx เพียงแวบเดียว


    แล้วด้วยผลของการทุบราคาที่ไม่เป็นผลเท่าไหร่ ทำให้เมื่อวานนี้กลุ่มขาใหญ่เริ่มเปลี่ยนมุขเป็นการทำสเปรด และเริ่มมาอยู่ในฝั่งสัญญา L ครับ ซึ่งในทางเทคนิคก็คือการปลด S แบบกลายๆ ซึ่งไม่บ่อยที่เค้าจะทำอย่างนี้ หรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ แต่เท่านี้ยังไม่พอครับ คงต้องมีการปั๊มราคาขึ้นในอนาคตอันไกล้ จึงทำให้มีกระแสข่าววงในออกมาในลักษณที่หลังจากปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไปราคาโลหะทุกตัวคงจะพุ่งสูงขึ้นไปจนถึงประมาณวันที่ 15 เพื่อการนี้ แล้วก็จะเริ่มเป็น Sell Off Cycle หรือเทขายอีกรอบกดราคา เพื่อจะไปปิดสัญญา S ในวันที่ 27 มกราคม ศกหน้า


    ดูตารางปิด Comex เหล่านี้ครับ :
    GLD / ทองคำ
    SLV / แร่เงิน


    สรุปผลที่ออกมาก็คือกลุ่มขาใหญ่ยังจะไม่ Default หรือผิดสัญญาส่งมอบในเดือนนี้ครับ แต่ก็สร้างความหวาดผวาให้กับตลาดมากจนเกิดความกังวลในเรื่องดังกล่าว จึงเกิดกระแสการแห่ไถ่ถอนทองคำ และแร่เงินที่ฝากไว้ในเซฟของ Comex อย่างต่อเนื่องและมหาศาล จนถึงวันนี้ ซึ่งเป็นที่รู้กันวงในว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับ Comex!!!


    อย่างนึงที่ต้องทำความเข้าใจคือ การ Suppress หรือการกดราคาทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกำไรครับ จุดประสงค์หลักอันแรกคือ รักษาสภาพเงินดอลล่าไว้ให้นานที่สุดตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา และระบบทั้งหมดนี้ก็คือ Fraud หรือ "การฉ้อโกง" ครับถ้าเรามองเห็น โดยการใช้การค้ากระดาษ Derivatives หรือตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือหลัก โดยมี FED และรัฐบาลสหรัฐอยู่เบื้องหลังทั้งหมด ผ่านหน้าฉากของกลุ่มธนาคารขาใหญ่ต่างๆ ทั้ง JPM, BofA, Citi, HSBC, โดยเฉพาะ GS หรือ โกลด์แมน แซค เพราะฉะนั้นเงินที่เอามาอัดในส่วนนี้ก็คือกระดาษของ FED นั่นเอง


    เพราะฉะนั้นข่าวสารที่เราบริโภคกันทั่วโลกจากหนังสือพิมพ์หรือข่าวต่างๆ นั่นเป็นเพียง "เบื้องหน้า" ที่จะคอยทำให้นักลงทุนรายย่อยหรือ "แมสเม่า" ตื่นเต้นไปตามกระแสข่าวต่างๆ ส่วนกองทุนก็จะใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพียงบางส่วนครับ ซึ่งเราจะเห็นภาพสะท้อนจากรายงาน COT ได้เป็นอย่างดี ในลักษณะ การเล่นฟุตบอลของเด็ก คือ ลูกบอลอยู่ที่ไหนก็จะกรูกันไปที่นั่น แต่พวกขาใหญ่เหล่านี้กลับเป็นตัวกำหนดทิศทางของเกมส์อยู่ข้างสนาม


    ถ้าจะเอาชนะตลาดได้ต้องไม่ใช้ข้อมูลของตลาดครับ ไม่เช่นนั้นคุณก็จะไม่ต่างอะไรไปจากเด็กเล็กๆ เหล่านั้นที่วิ่งตามลูกฟุตบอล หรือที่ในภาษาการลงทุนจะเรียกว่า "แมงเม่า" นั่นเอง ข้อมูลในทางลึกเหล่านี้จะออกมาจาก House หรือสำนักวิเคราะห์ต่างๆที่ต้องจ่ายเงินเพื่อสมัครสมาชิกครับ ซึ่งจริงๆแล้วก็คือการซื้อข้อมูล โดยเฉพาะ Insider หรือข้อมูลวงใน สิ่งนึงที่ต้องสังเกตุครับ เช่นทำไมตัวเลขเป้าหมายต่างๆ ของกูรูในวงการออกมาตรงกัน ในกรอบเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงนี้ครับ ทั้ง Jim Sinclair, Bob Chapman, Roger Wiegand และอีกมากมาย


    ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะอ่านกราฟเทคนิคได้ขาดขนาดไหน รู้ปัจจัยพื้นฐานมากเท่าไหร่ นั่นก็เป็นข้อได้เปรียบหนึ่งครับ อย่างไรก็ดี หลายๆคนก็รู้เท่าๆกัน หรือไม่มากไม่น้อยไปกว่ากันในข้อมูลที่เข้าถึงได้เหล่านี้มิใช่หรือ หรือการอ่านค่าต่างๆเหล่านั้นก็ไม่น่าจะต่างกันมากเท่าไหร่ ซึ่งยังไงก็ยังดีกว่าการ "เดา" ครับ
    หลายวันที่ผ่านมามีกระแสข่าวในทางลบจากฝั่งสหรัฐหลายๆ เรื่องที่น่าสนใจครับ สดๆ ร้อนๆ เลยก็คือการประมูลพันธบัตรชนิด 5 ปี ที่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไหร่ จึงทำให้ 10 ปี และ 30 ปี ร่วงลงด้วย (ดอกเบี้ยพุ่งขึ้น) ทำให้เกิดความวิตกส่งผลต่อราคาทองคำเมื่อคืนวานครับ เป็นฉากหน้าอย่างที่เป็นข่าว และอีกสารพัดข่าวร้ายที่ "ถูกปล่อย" ออกมาเพื่อดันราคาทองคือ
    1.ราคาเฉลี่ย ซื้อ-ขาย บ้านในเดือนตุลาคม ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4
    2.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง
    3.Baby Boomer จะมีอายุครบ 65 ปีในเดือนมกราคมนี้ ซึ่งจะทำให้กองทุนต่างๆ โดยเฉพาะ Medicare อาจจะเข้าสู่สภาวะล้มละลาย
    4.เมืองต่างๆในสหรัฐกำลังเข้าสู่สภาวะล้มละลาย
    5.JPM มีคดีถูกฟ้องร้องเพิ่มขึ้นจากกรณีบิดเบือนราคาแร่งเงิน
    6.จีนชลอการส่งออกสินแร่หายากต่างๆ (Rare earth metal) ทำให้สหรัฐต้องไปร้องเรียนกับ WTO ในประเด็นดังกล่าว
    ทั่งหมดนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงครับที่ประดังออกมาในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ทิศทางราคาจะไปทางไหนในระยะสั้น กลาง และยาว ก็พอจะคาดการณ์กันได้แล้วนะครับ.......


    ทองคำ / GLD
    แนวต้าน 1407

    เส้นเปลี่ยนเทรนด์ 1393
    แนวรับ 18 วัน 1391
    แนวรับ 45 วัน 1377
    แนวรับล่าง 1368
    แนวรับ 100 วัน 1324
    ทิศทาง กลับตัวขึ้นอย่างฉับพลัน


    เงิน / SLV
    แนวต้าน 30.37
    แนวรับ 18 วัน 29.25
    แนวรับล่าง 28.27
    ทิศทาง กลับตัวขึ้นอย่างฉับพลัน


    ของฝากวันนี้เป็นโปรแกรม Kcast ของ Kitco ครับ ติดตั้งเพื่อดูราคาทองคำ เงินและอื่นๆ แบบเรียลไทม์ รวมทั้งกราฟย้อนหลังและลิ๊งค์ต่างๆ สวยงามและใช้งานได้ดีทีเดียวครับ



    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1



    โพสต์โดย What's going on in America
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE class=contentpaneopen fixed_bound="true"><TBODY fixed_bound="true"><TR fixed_bound="true"><TD class=contentheading width="100%" fixed_bound="true">วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ปี 2554 ไม่ควรนำประเทศไปติดกับดักประชา(ภิวัฒน์)นิยม </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen fixed_bound="true"><TBODY fixed_bound="true"><TR fixed_bound="true"><TD vAlign=top fixed_bound="true">[​IMG]

    ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
    [​IMG]
    "ดร.สมภพ" วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงปีเถาะ "ไม่ควรนำประเทศไปติดกับดักประชา(ภิวัฒน์)นิยม"

    ศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIT วิเคราะห์ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในปี 2554 ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ อย่างรอบด้าน อยากรู้ว่า ปัจจัยเสี่ยง มีอะไรบ้าง ต้องอ่านบทสัมภาษณ์ต่อไปนี้
    ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก มีเรื่องใดต้องระวังเป็นพิเศษ

    ในปี พ.ศ.2553 นั้น เศรษฐกิจโตขึ้นมาจากฐานที่ต่ำมากกว่าปีพ.ศ.2552 ซึ่งปีพ.ศ.2552 ลดลง 2 % กว่า เพราะฉะนั้นปีพ.ศ.2553 โตขึ้นมา 7 %กว่า เลขสุทธิที่ได้มาทั้งหมดก็ 5 % ซึ่งเป็นอัตราปกติที่ไทยต้องโตขึ้นมา แต่พอมาถึงปีพงศ.2554 เลขอัตรามันก็จะโตขึ้นมาอีก สุทธิ 5 % แล้วก็จะโตต่อไป มันก็จะยากลำบากขึ้นคือต้องอาศัยฝีมือไม่ใช่อาศัยการปรับฐานทางเศรษฐกิจ แล้วปีหน้านี้หากเราวิเคราะห์กันไปอีกคงต้องแยกแยะเป็น 2 ระดับคือ เศรษฐกิจภายนอกประเทศกับเศรษฐกิจภายในประเทศถึงจะเห็นภาพชัดขึ้น

    ผมคิดว่าเศรษฐกิจภายนอกประเทศคงจะปั่นป่วนมากกว่าปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอเมริกายังไม่มีการปั้มให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ การว่างงานมีอยู่ 98 % แบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ ถ้าการว่างงานยังคงมีมากขึ้นนี้ QE ก๊อก 3 ก็คงออกมา ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะออกมา เพราะผมดูแล้วก๊อก 2 นี้อาจจะปั้มไม่ดี ตอนนี้หุ้นมันขึ้นจริงแต่ราคาบ้านเริ่มหยุดไหลลง แต่ว่าขณะเดียวกันมันไม่มีตัวแปรที่จะเพิ่มไปสู่การจ้างงาน ถ้าการจ้างงานไม่ขยายตัวก็จะทำให้การบริโภคในอเมริกาไม่มีการกระเตื้องตัว ซึ่งขณะนี้การบริโภคการกระเตื้องตัวมันสร้างปัญหาให้แก่อเมริกามาก เพราะว่าการบริโภคภายในประเทศมีสัดส่วน 76 % ของจีดีพี

    ฉะนั้นก็ต้องหาทางให้การจ้างงานลดลงให้ได้ ทางหนึ่งก็คืออัดเงินออกมาเพื่อ 1.พยุงสถานะของเศรษฐกิจอเมริกาที่เป็นอยู่ขณะนี้ให้มันขยายตัวมากกว่านี้ ให้มันมีผลในเชิงลูกโซ่ ให้มันมีหุ้นขึ้น ราคาบ้านก็เริ่มขยายตัวเพราะเงินมันเยอะ จากนั้นจะได้สร้างการจ้างงานเพิ่มขึ้น นั่นคือประการแรก 2.ปั้มเงินออกมามากๆ จะทำให้ดอลล่าร์อ่อนซึ่งเป็นการไม่ควรอยู่แล้ว อเมริกากลัวเงินฝืดมากกว่า ขณะนี้มันทำท่าจะมีเงินฝืดในอเมริกา เพราะว่า CPI (Consumer Price Index) หรือว่าดัชนีราคาผู้บริโภคมันแค่ไม่เกิน 1 % หลังจากนั้นก็จะต้องอัดออกมาอีก พูดง่ายว่าคุณจะเก็บก็เก็บไปฉันจะอัดออกมา พออัดออกมา ก็แน่นอน เงินเหล่านี้มันก็ต้องไหลออกนอกประเทศ หลังจากนั้นปีหน้าผมว่าเอเชียจะปั่นป่วนมาก เพราะเงินไหลเข้ามา

    ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมกับเศรษฐกิจไทยคืออะไร

    เงินบาทมีการแข็งค่ามาก เมื่อแข็งค่ามากมันก็จะมีทีท่าของการเกิดกรณีฟองสบู่มากขึ้น หุ้นจะขึ้น ราคาสินทรัพย์ประกันเงินก็จะขยายตัวจะเพิ่มขึ้น เงินเฟ้อขยายตัว ฉะนั้นแบงค์ชาติก็อาจจะเพิ่มดอกเบี้ยขึ้น อย่างน้อย 3 - 4 ครั้งในปีหน้า แต่ดอกเบี้ยนโยบาย 2 % RP 2 % ในขณะนี้ก็อาจจะขึ้นไปเป็นอย่างน้อย 3 % ซึ่งก็หมายถึงดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากก็จะถูกปรับขึ้น ซึ่งพอมันปรับเพิ่มขึ้นราคาค่าแรงก็จะถูกปรับขึ้น มีแต่ราคาน้ำมันถึงแม้มันจะไม่เพิ่มมากมายแต่ก็คงอุดไม่อยู่ถ้ามันขึ้นจริง ๆ เพราะผมเชื่อว่าในปีหน้าเงินที่มันลดลงและจะเข้าไปในสินค้าจำพวกพื้นฐาน เช่น น้ำมัน ถ้ามันดันราคาน้ำมันขึ้นไปเกิน 100 เหรียญ อุดอย่างไรก็คงไม่อยู่ เพราะว่าตอนนี้ก็ตั้งเป้าเอาไว้อุด 3 เดือน ถ้ามันเกิน 100 เหรียญมันจะกลายเป็นด้านลบจะตามมาทันที ซึ่งจะทำให้เห็นว่าเงินเฟ้อขยายตัวค่อนข้างมาก

    ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น เพราะในเมืองไทยอาจจะน้อยกว่า ซึ่งในจีนจะขยายตัวมากกว่านี้ ในอินเดียมีมากกว่าทั่วทั้งเอเชีย หลายๆประเทศมีมากกว่านี้ด้วย ซึ่งหมายถึงทุกประเทศจะต้องปรับปรับดอกเบี้ยขึ้นหมด เมื่อปรับดอกเบี้ยขึ้นแน่นอนว่าประเทศอื่นก็ต้องตกกระไดพลอยโจนและต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นตาม ก็เพื่อลดความสมดุลย์ระหว่างประเทศ ฉะนั้นต้นทุนดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้น ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น ต้นทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น อะไรต่างๆ เพิ่มขึ้น มันก็จะต้องดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นสุดท้ายมันก็จะเกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยก็ถูกปรับขึ้นอีก แล้วมันจะเกิดสภาวะใยแมงมุม ของการขยายตัวอัตราเงินเฟ้อ

    ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ จะแตกไหม

    ฟองสบู่ยังคงไม่น่าจะแตกง่าย ๆ ประการแรก ฟองสบู่ในไทยยังไม่ได้ขึ้นมา แล้วประการที่สองก็คือว่า สถานะของแบงค์ชาติและพวกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนายังไม่มีปัญหามาก ขณะที่ราคาบ้านในไทยเมื่อเทียบกับในจีน เกาหลี สิงค์โปร์ ฮ่องกง ของเรายังขึ้นน้อยกว่าหลายเท่า
    แนวโน้มปี 54 การบริหารคงไม่ง่ายนัก น่าจะมีความเสี่ยงไม่ใช่น้อย

    ในปีพ.ศ.2554 มีปัจจัยที่เสี่ยงและไม่เสี่ยงเพิ่มขึ้น มีปัจจัยในด้านดีคือเงินที่อัดออกมาจากที่ประชาภิวัฒน์ ทำให้อำนาจซื้อเพิ่มสูงขึ้น เมื่ออำนาจซื้อเพิ่มสูงขึ้นสินค้าทางการเกษตรจะขายดีขึ้น และราคาสินค้าเกษตรปีหน้าจะดีมาก สภาพพอากาศแปรปรวน ต่างประเทศมีหิมะตก ซึ่งตกหนักในเดือนพฤศจิกายน ทำให้การเกษตรเสียหายมาก ในจีนก็เหมือนกัน ตอนนี้ที่หางโจวหิมะเป็นฟุตๆ ซึ่งปกติมันไม่เคยตกแบบนั้น

    ฉะนั้นความแปรปรวนของปัญหาเรื่องน้ำท่วมในไทยจะทำให้ซัพพลายสินค้าทางการเกษตรลดลง พอมันลดลงทำให้สินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้นเยอะ ซึ่งด้านหนึ่งก็เป็นประโยชน์ของเกษตรกร อำนาจซื้อของคนเมืองไทยอย่างน้อยก็ 50 % ก็จะเพิ่มขึ้น ฉะนั้นอำนาจซื้อเกษตรเพิ่มขึ้น ค่าแรงถูกปรับขึ้น เงินเดือนให้มีการถูกปรับขึ้น เงินเดือนนักการเมืองถูกปรับขึ้น ซึ่งเงินเดือนของลูกจ้างทั่วไปก็ถูกปรับขึ้นอย่างมากมาย ได้โบนัสกันมาก อสังหาริมทรัพย์ได้ 7 - 8 เดือน มันก็มีอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น ตัวแปล C (การบริโภคภายในประเทศ) มีการวิ่งจาก 54 % คงจะวิ่งไปถึง 60 % เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หลังจากนั้นตัวแปรตัวนี้คงจะช่วยให้รัฐบาลผ่อนคลายในแง่ของแนวโน้มทางจีดีพี ได้ในระดับหนึ่งเพราะตัว C น้ำหนักมันมาก

    ปัญหาที่กล่าวคือ เศรษฐกิจจะปั่นป่วนสูงในปีหน้านี้ โดยต้องอาศัยรัฐบาลที่มือถึง รัฐบาลที่มือถึงในที่นี้หมายถึงรัฐบาลที่มีความคล่องตัวในการบริหารเศรษฐกิจมหาภาค ไม่ว่านโยบายการเงินและการคลัง แต่ถ้าหากนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคถูกเอาไปรับใช้นโยบายประชานิยมมาก จะมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวต่ำลงมาก และถ้าเกิดต่ำลงมากก็จะไม่สามารถใช้นโยบายเศรษฐกิจมหาภาคได้ โดยหลัก คือ นโยบายการเงินและการคลัง บริหารการจัดการความปั่นป่วนมาพร้อมกับความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลก

    สิ่งเลวร้ายที่สุด คืออะไร

    ถ้าเกิดว่าปัจจัยภายนอกมันเลวร้ายและรุนแรงมาก อาจจะเกิดวิกฤตที่ใดที่หนึ่งของโลกแล้วก็จะลากไปทั้งหมด ประเทศไหนก็ตามที่มีภูมิคุ้มกันในประเทศต่ำ ก็จะโดดลงมาเป็นพิเศษ ตรงนี้จะเป็นตัวที่แสดงให้เห็นหากคุณมองโลกในแง่ดีอย่างเดียว เช่น เราเก็บภาษีได้เกินเป้าในช่วงสั้นแล้วก็มองโลกในแง่ดีว่าอีก 5 ปี เราต้องสมดุลงบประมาณหรือเกินดุลงบประมาณเรามองอย่างนั้นไม่ได้
    อาจารย์เตือนว่า อย่าประมาทในปีหน้า เพราะมีปัจจัยเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึง

    ในปีหน้าประเทศไทยจะมีปัจจัยเสี่ยงสูงมากและไม่ควรนำประเทศไปสู่การติดกับประชานิยม เพราะยิ่งไปติดกับประชานิยมมากเท่าไหร่ ประชานิยมนโยบายบางเรื่องดูว่าเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ แต่โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่ มันเป็นตัวแปรทางการเมือง ทำประชานิยมเมื่อไหร่ ไม่มีทางเลิกได้ทุกเรื่อง มีแต่จะขยายมากขึ้น หากปรับตัวเข้าสู่นโยบายนี้มากขึ้น ก็หมายถึงคุณจะต้องมีภาระทำในนโยบายนี้ รัฐบาลชุดไหนที่ต้องการประชานิยมก็จะกลายเป็นตัวแปรตามไม่ใช่ตัวแปรอิสระ ก็คือตกกะไดพลอยโจนด้านนโยบายประชาภิวัฒน์ ฉะนั้นเมื่อมีอย่างนี้เกิดขึ้นระยะยาวก็น่าเป็นห่วง ประชาชนจะเสพติดประชานิยม ประชานิยมนำไปสู่การบิดเบือนที่ทำให้ขีดความสามารถต่างๆ ในประเทศลดลง ใคร ๆ ก็ชอบรับกันแจกรับกันแถม อย่าลืมของที่แจกแถมมันมีที่มา มีต้นทุน มีผู้แบกรับภาระ
    คุณกรณ์และคุณอภิสิทธิ์ยืนยันว่ามีความสามารถในการที่จะหาเงินมาสนับสนุนประชาภิวัฒน์

    ใครจะประกันได้หากเหตุการณ์เกิดขึ้นปีต่อปี เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดมาจากนอกประเทศเข้ามาหนักๆ เราต้องใช้เงินจำนวนมาก ทุนจากต่างประเทศหดลงอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเอาเงินมาลงทุน มาซื้อหุ้นในเมืองไทย เอาดอลล่าร์มาไล่ซื้อเงินบาท ส่วนหนึ่งที่ต้องใช้ประชาภิวัฒน์คือส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือเปล่า คนคิดว่านโยบายเกิดการรับใช้เป้าหมายทางการเมือง อย่างไรก็ตามประชาภิวัฒน์คงต้องดูอย่างเลือกสรร บางเรื่องก็ควรเลือกที่มีประโยชน์ต่อคนด้อยโอกาส เราคงต้องดูเป็นเรื่อง ๆ ไป อย่างเช่น เรื่องของราคาน้ำมันจะไม่เอามาพูดในช่วงนี้ หลายๆ เรื่องเราไม่จำเป็น ไปปูพรมมากขนาดนั้น หรืออย่างเช่น การเอาเงินมาขึ้นเงินเดือนหลายภาคส่วน ซึ่งเป้าหมายจริง ๆ แล้วคือ เขาจำเป็นไหมที่จะต้องมีการปกครองที่ผ่านการเลือกตั้ง ต้องต่อสู้ขนาดไหน ลงทุนขนาดไหนให้ตนเองชนะการเลือกตั้ง ฉะนั้นแล้วตนคิดว่าการถลำตัวเข้าสู่ประชาภิวัฒน์สร้างขึ้นมาก็ก่อให้เกิดปัญหาแน่นอน
    ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1292985268&grpid=05&catid=04
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง ปี 2554 ไม่ควรนำประเทศไปติดกับดักประชา(ภิวัฒน์)นิยม
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เศรษฐกิจสหรัฐฯยังเปราะบาง
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top>วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2010 เวลา 10:33 น. </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]ความหวาดหวั่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) ในสหรัฐอเมริกาหวนกลับมาอีกครั้งเมื่อ นายเบน เบอร์นานคี ประธานธนาคารกลาง หรือ เฟด ออกมาระบุเมื่อคืนวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า มีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนว่า เฟดอาจจำเป็นต้องงัดมาตรการเชิงผ่อนคลายหรือที่รู้จักกันในนามมาตรการคิวอี มากระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯกันอีกรอบ
    ประธานเฟดกล่าวในรายการ 60 Minutes ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสว่า อเมริกาอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการคิวอีเพื่อการอัดฉีดเศรษฐกิจรอบที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจที่เพิ่งจะฟื้นตัวต้องกลับไปตกอยู่ในสภาพถดถอยอีก "มีความเป็นไปได้แน่นอนที่เฟดอาจต้องเปิดประตูมาตรการคิวอีอีกครั้งหากก้าวการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯไม่กระเตื้องความเร็วขึ้น" นักวิเคราะห์กล่าวว่า การออกรายการของเบอร์นานคีไม่เพียงเป็นการออกมาปกป้องการตัดสินของเฟดที่นำมาตรการคิวอี 2 ออกมาใช้เมื่อเดือนที่แล้ว แต่เขายังต้องการจะส่งสัญญาณไปยังสาธารณชนด้วยว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกายังคงเปราะบาง ทั้งนี้ เบอร์นานคีกล่าวว่า การจะนำมาตรการคิวอี3 ซึ่งหมายถึงเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มเติมจากคิวอี 2 มูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า มาตรการที่ใช้อยู่ในขณะนี้ให้ผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด "มันขึ้นอยู่กับเงินเฟ้อ และท้ายที่สุดแล้วมันขึ้นอยู่กับว่าภาวะเศรษฐกิจออกมาเป็นอย่างไร"
    แม้จะมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า มาตรการคิวอี2 ของเฟดอาจเป็นปัจจัยกระพือเงินเฟ้อสหรัฐฯให้ขยับสูงขึ้น และนักการเมืองรวมทั้งนักวิเคราะห์ในต่างประเทศก็กังวลว่ามาตรการที่ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนตัวลงนี้ จะสร้างแรงกระทบต่อไปยังเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว แต่เบอร์นานคีก็โต้แย้งว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิมพ์ธนบัตรออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการสร้างงานใหม่ ขณะเดียวกันยังเป็นการป้องกันไม่ให้สหรัฐฯ ติดหล่มภาวะ "เงินฝืด" หรือ deflation ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ ขณะที่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง เพราะสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้สหรัฐฯ กลับสู่วังวนของเศรษฐกิจถดถอยได้อีกครั้ง
    "ขณะนี้เงินเฟ้อถือว่าต่ำมากๆ ซึ่งใครๆก็คิดว่ามันเป็นเรื่องดี และโดยปกติแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ทว่าเรากำลังเข้าใกล้จุดอันตรายเข้าไปทุกที นั่นคือจุดที่ราคาสินค้าต่างๆ เริ่มลดลงเรื่อยๆ นั่นคือภาวะเงินฝืดและมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่เราเผชิญกับ Great Depression (ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐฯเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930)" เบอร์นานคีกล่าวในรายการ 60 Minutes เขายังเตือนด้วยว่า เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ดูเหมือนว่า การเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งไม่น่าจะเป็นไปได้ นั่นก็เป็นเพราะอุตสาหกรรมบางประเภทของสหรัฐฯ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มบ้านพักอาศัย ยังคงอยู่ในสภาวะตกต่ำ ทำให้เชื่อว่ามันคงต่ำมากไปกว่านี้อีกไม่ได้แล้ว
    "เราจำเป็นต้องทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับประมาณ 2.5% จึงจะสามารถทำให้อัตราการว่างงานคงที่ และตอนนี้เราก็กำลังจะทำได้ถึงจุดนั้นแล้ว" อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า น่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4-5 ปี จึงจะสามารถทำให้อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่เกือบๆ 10% กลับมาอยู่ที่ระดับ 5-6% ได้
    ทั้งนี้ สถิติล่าสุดชี้ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯเริ่มมีการขยายตัวนับตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 2552 เป็นต้นมา ในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจมีความรุนแรง จำนวนคนตกงานในสหรัฐฯได้ทะยานถึง 8 ล้านคน และหลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวก็เพิ่งมีการจ้างงานกลับเข้ามาเพียง 1 ล้านคน ทำให้อัตราการว่างงานในปัจจุบันยังอยู่ที่ระดับ 9.8% ตัวเลขการจ้างงานใหม่นอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 ธ.ค.) นั้นถือว่าต่ำกว่าเป้าหมาย โดยมีการจ้างงานใหม่เพียง 39,000 คนในเดือนพฤศจิกายน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 150,000 คนต่อเดือนซึ่งเป็นระดับที่จะทำให้ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐฯคงที่อยู่ได้
    หลังจากที่เบอร์นานคีออกอากาศรายการดังกล่าว ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ขยับสูงขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ นายโคจิ ฟูกายะ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์เงินตราต่างประเทศของธนาคารเครดิต สวิส ในกรุงโตเกียว กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯโดยภาพรวมดูดีขึ้น และข่าวที่ว่าเฟดอาจขยายวงเงินเพิ่มในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยช่วยให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯยังขยับสูงขึ้นด้วยจากแนวโน้มที่ว่าจะมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นายเดวิด มอลแพส นักเศรษฐศาสตร์ บริษัท เอนซิมา โกลบอลฯ แสดงความวิตกว่า การที่เฟดซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่ไม่ได้มีภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงหลายอย่างตามมา เช่นการเก็งกำไร และการตกต่ำของราคาตอนที่เฟดพยายามจะระบายพันธบัตรออกมา ขณะเดียวกันนายจอห์น เทเลอร์ ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน บริษัท เอฟเอ็กซ์ คอนเซ็ปต์ฯ ซึ่งดูแลกองทุนประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีขนาดของกองทุนราว 8,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 2.55 แสนล้านบาท พยากรณ์ว่า สหรัฐฯกำลังมุ่งหน้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเขาคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2554 นั่นหมายความว่า มาตรการคิวอีใดๆ ก็ไม่อาจป้องกันหรือหยุดยั้งการถดถอยอีกครั้งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
    จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,591 12-15 ธันวาคม พ.ศ. 2553​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เศรษฐกิจสหรัฐฯยังเปราะบาง
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    MIKE RUPPERT - 13 WEEKS BEFORE ECONOMIC COLLAPSE


    ประเด็นช่วงนี้ที่ต้องจับตามองคือ US Government Bond และ Muni Bond ที่มาออกอาการไม่ดีพร้อมกันครับ ซึ่ง Muni Bond หรือ Municipal Bond หรือพันธบัตรที่ออกมาเพื่อกู้เงินโดยรัฐบาลท้องถิ่นคือรัฐต่างๆ และ US Government Bond หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ที่กำลังประสบปัญหา "ขายไม่ออก" พร้อมๆกัน โดยเฉพาะมูนิบอนด์ของ 3 รัฐคือ แคลิฟอเนีย, มิชิแกน และอิลลินอยส์ ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ถึงขั้นที่จะล้มละลายเอาง่ายๆ โดยกำลังมีการถกเถียงกันว่ารัฐต่างๆเหล่านี้จะร้องขอล้มละลายตัวเองได้หรือไม่ แล้วจะเป็นการผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ประการใด หรือจะต้องทำการแก้กฏหมายก่อน ว่ากันไปโน่นแล้วครับ


    ส่วนพันธบัตรของรัฐบาลกลาง ก็ตกต่ำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (ดอกเบี้ยพุ่ง) จากชนิด 30 ปี มาที่ 10 ปี แล้วก็ลามที่ ชนิด 5 ปีที่ประมูลกันไปเมื่อคืนที่ผ่านมา


    ถ้าท่านเข้าในในเรื่องตลาดพันธบัตรสหรัฐ ก็คงจะเข้าใจได้ว่าตลาดพันธบัตรนี่แหละครับ ที่จะเป็นเครื่องมือหรือสัญญานอีกตัวที่จะบ่งชี้ถึงความเป็นความตายของเงินดอลล่า ซึ่งจะทำให้เกิด Dollar Collapse หรือเงินดอลล่าล้มได้อย่างฉับพลันเช่นกัน ถ้าเหตุการณ์ยังคงเป็นไปอย่างนี้ แล้วทำให้เกิดการ Sell Off หรือเทขายเงินดอลล่าออกมาพร้อมๆ กันทั่วโลก หรือไม่ FED ก็ยังจะสามารถซื้อเวลาด้วยการทำ QE3 QE4


    แต่นั่นเป็นแค่มุมมองในฝั่งสหรัฐครับ ส่วนเจ้าหนี้หรือผู้ถือครองพันธบัตรเหล่านั้นอาจจะกำลังคิดอะไรอยู่ก็เป็นได้ ประมาณว่า "ถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อน" หรือใครจะอดทนที่จะไม่เทกระดาษเหล่านี้ออกมาได้นานกว่ากัน อย่างที่บอกครับว่า Life Line หรือชะตะกรรมของเงินดอลล่า ไม่ได้อยู่ในมือของ FED หรือรัฐบาลสหรัฐเท่านั้นครับ จึงเป็นการยากที่จะคาดการณ์กรอบเวลาที่แน่นอนว่า เมื่อไหร่???


    เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ต่างๆ ณ เวลานี้ มาถึงจุดนี้แล้วครับ อาจจะมีตัวช่วยต่างออกมาบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการซื้อเวลาและไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน แต่มีอย่างนึงที่น่าสังเกตุครับว่า ออกอาการขนาดนี้แล้ว เรตติ้งของพันบัตรสหรัฐ ยังคงเป็น Tripple A หรือ " AAA " อยู่เลย เผลอๆ ล้มกันไปหมดแล้ว ก็ยังเป็น AAA อยู่ ...สงสัยจะลืม... แต่จริงๆแล้วก็เป็นพวกเดียวกันนั่นแหละ แล้วที่พยายามทำกับยุโรปอยู่นั่นคืออะไร....เจตนามันฟ้องครับ


    <EMBED height=385 type=application/x-shockwave-flash width=480 src=http://www.youtube.com/v/aA6ZzNYQ-fo?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x3a3a3a&color2=0x999999 allowfullscreen="true" allowscriptaccess="always"></EMBED>​


    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1


    โพสต์โดย What's going on in America
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2010
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    2010ปีแห่ง'สงครามเงินตรา'ระดับโลก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>30 ธันวาคม 2553 05:22 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เอเอฟพี - “สงครามเงินตรา” หรือถ้าพูดกันตามเนื้อผ้าให้มากขึ้นหน่อย ก็ได้แก่ความตึงเครียดทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสหรัฐฯกับจีน แล้วสอดแซมด้วยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของสกุลเงินยูโร เหล่านี้คือลักษณะโดดเด่นของตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปี 2010 ขณะเดียวกัน มันก็เป็นสิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นถึงช่องว่างที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างพวกเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่กำลังลำบากย่ำแย่ กับพวกเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่โตเร็วซึ่งกำลังเด่นผงาดขึ้นทุกที
    “เรากำลังอยู่ในท่ามกลางสงครามเงินตราระหว่างประเทศ เป็นการแข่งขันกันลดค่าเงินตรากันอย่างทั่วหน้า” กุยโด มานเตกา รัฐมนตรีคลังบราซิลกล่าวสรุปเอาไว้เช่นนี้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

    แม้มีนักวิเคราะห์ไม่น้อยโต้แย้งว่ามันยังไม่ได้ไปไกลถึงขั้นนั้น แต่วลีนี้ก็เป็นที่จับใจผู้คน มันจึงกลายเป็นวลีที่ถูกใช้กันแพร่หลาย เพื่อบรรยายถึงความแตกต่างที่กำลังเพิ่มขึ้นระหว่างพวกผู้นำของประเทศใหญ่ที่ส่งออกเป็นปริมาณมากๆ อย่างเช่น จีน, เยอรมนี, และญี่ปุ่น กับเหล่าประเทศที่ต้องการทำอะไรเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ เป็นต้นว่า สหรัฐฯ และชาติยูโรโซน

    พิจารณากันในบริบทดังกล่าว การตัดสินครั้งสำคัญที่สุดของปีนี้ ย่อมหนีไม่พ้นการที่ธนาคารกลางของจีนยอมปล่อยให้เงินหยวนที่ตรึงค่าไว้กับดอลลาร์อเมริกัน สามารถลอยตัวได้เพิ่มมากขึ้น โดยเป็นมติที่ออกมาไม่นานนักก่อนหน้าการประชุมซัมมิตกลุ่มจี-20 ที่นครโทรอนโต ประเทศแคนาดา ในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ตามมายังคงไม่สามารถคลี่คลายความตึงเครียดได้

    มันไม่ช่วยบรรเทาความร้อนแรงในถ้อยคำโวหารของพวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งกำลังตั้งท่าอยากเปิดศึกสู้กับนโยบายด้านเงินตราของจีน ทั้งนี้พวกเขากล่าวหาปักกิ่งว่าประคองค่าเงินหยวนให้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า จนทำให้ชาวอเมริกันต้องสูญเสียตำแหน่งงานจำนวนมาก

    “มีแต่จะต้องออกกฎหมายชนิดแรงๆ เท่านั้นจึงจะสามารถทำให้ฝ่ายจีนยอมเปลี่ยนแปลง และจะหยุดยั้งไม่ให้ตำแหน่งงานและความมั่งคั่งไหลทะลักออกไปจากอเมริกาได้” ชัค ชูเมอร์ วุฒิสมาชิกสังกัดพรรคเดโมแครตจากมลรัฐนิวยอร์ก ระบุ เขาเป็นหัวเรือใหญ่ที่กำลังผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายที่จะลงโทษคว่ำบาตรสินค้าจีนโดยอ้างเหตุผลเรื่องการกดค่าเงินหยวน

    แต่จีนซึ่งมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับปีละ 10% ได้ออกมาประท้วงต่อต้านแรงกดดันจากต่างประเทศเช่นนี้

    “นโยบายด้านเงินตราของจีนมีความเสมอต้นเสมอปลายและมีความรับผิดชอบ” ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีนประกาศ

    ขณะที่นายกรัฐมนตรี เวินเจียเป่า ยกเหตุผลว่า ถ้าปล่อยให้เงินหยวนปรับขึ้นอย่างแรงๆ แล้ว วิสาหกิจส่งออกของจีนจำนวนมากก็จะล้มละลาย คนงานมากมายจะตกงาน จนเป็นเรื่องลำบากที่สังคมจีนจะยังรักษาเสถียรภาพเอาไว้ได้

    ในช่วงระยะเวลาร่วมๆ 6 เดือนหลังมานี้ เงินหยวนเมื่อเทียบดอลลาร์แม้ปรับค่าสูงขึ้นบ้างแต่ก็อยู่ในระดับน้อยกว่า 2.5% กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) บอกว่า เงินตราของจีนยังคง “มีค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก”

    และยิ่งดอลลาร์เองก็กำลังอ่อนค่าลงหากเทียบกับสกุลเงินตราอื่นๆ ดังนั้นเงินหยวนจึงปวกเปียกลงมาราว 3%ทีเดียวเมื่อเทียบกับยูโร และประมาณ 5%ถ้าเทียบกับเงินเยน

    หากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือสงครามเงินตราจริงๆ ฝ่ายยุโรปและฝ่ายญี่ปุ่นก็คิดว่าพวกเขานั่นแหละคือเหยื่อของสงคราม

    ในเขตยูโรโซน หลายประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่จบสิ้น เป็นต้นว่า กรีซ และไอร์แลนด์ กำลังต้องเจ็บปวดจากการที่พวกเขาต้องใช้สกุลเงินยูโรเฉกเช่นเดียวกับเยอรมนี ที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวสดใส

    ปี 2010 จึงเกิดการอภิปรายถกเถียงกันอย่างร้อนแรงในเรื่องที่ว่า ยังจะสามารถรักษาสหภาพเงินตราของยุโรปเอาไว้ต่อไปได้หรือไม่

    ในอีกด้านหนึ่ง โลกเราในช่วงร่วมๆ 40 ปีมานี้ อยู่ในสภาพที่เงินดอลลาร์มีฐานะครอบงำ ขณะเดียวกันก็มีการอยู่เคียงคู่กันของหลายสกุลเงินตราที่ลอยตัวอย่างเสรีในตลาด และอีกหลายสกุลเงินตราซึ่งบริหารจัดการโดยแบงก์ชาติของรัฐนั้นๆ

    ทว่าระบบเช่นนี้ดูเหมือนจะเดินมาจนสุดขีดจำกัดของมันเสียแล้ว

    นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งเศส ปาทริก อาร์ตุน อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “Uncontrollable Liquidity” (สภาพคล่องที่ไม่อาจควบคุมได้) ของเขาว่า ระบบเงินตราเช่นนี้กำลังผลักดันให้ประเทศต่างๆ ผลิตเงินขึ้นมาอย่างล้นเกิน

    เขาเขียนเอาไว้ว่า สหรัฐฯนั้นสนุกสนานกับการมีอภิสิทธิ์ที่จะออกเงินตราได้อย่างไม่ต้องบันยะบันยัง

    ในสภาพเช่นนี้ แบงก์ชาติของประเทศต่างๆ ถูกบังคับให้ต้องกดค่าเงินของตนไม่ให้แข็งขึ้น ด้วยวิธีซื้อหาดอลลาร์มา นำเอาดอลลาร์มาเป็นทุนสำรอง แล้วก็นำทุนสำรองนี้มาลงทุนใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่คือการเข้าซื้อพันธบัตรคลังสหรัฐฯ

    แต่ระบบนี้ดูไม่อาจยืนยาวไปได้อีกนานนักแล้ว จนกระทั่งฝ่ายสหรัฐฯเองก็มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้

    “ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ระบบเงินตราระหว่างประเทศนั้นมีข้อบกพร่องผิดพลาดในเชิงโครงสร้าง” เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ยอมรับเช่นนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
    Around the World - Manager Online - 2010
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนห้ามจัดงานเลี้ยงหรู

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 29 ธันวาคม 2553 19:12

    [​IMG]

    ปักกิ่ง - จีนมีแผนห้ามข้าราชการจัดงานเลี้ยง-สัมนาหรูหรา หวังบรรเทาความไม่พอใจประชาชนเรื่องคอร์รัปชันและการนำภาษีประชาชนไปใช้
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101214/show_ads_impl.js"></SCRIPT>จีนวางแผนห้ามเจ้าหน้าที่รัฐจัดงานเลี้ยงและงานสัมนาหรูหรา หลังบางงานเลี้ยงตกเป็นข่าวใหญ่เจ้าหน้าที่เสียชีวิตเพราะดื่มเกินขนาด ขณะเจ้าหน้าที่อีกคนถูกจับหลังบันทึกไดอารีออนไลน์ถึงการมีเพศสัมพันธ์ ดื่มเหล้า และจ่ายเงินใต้โต๊ะตามงานเลี้ยง ขณะที่ซีซีทีวีรายงานว่ามีการนำเจ้าหน้าที่เดินทางอย่างหรูหราไปลาสเวกัสและที่อื่นๆ ด้วยภาษีประชาชน 400,000 ล้านหยวนทุกปี
    เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีการใช้เงินภาษี ไปเป็นค่าใช้จ่ายโรงแรมคืนละ 700 ดอลลาร์ในลาสเวกัสและไปดูเซกส์โชว์ที่ซานฟรานซิสโก จนกระทั่งประธานาธิบดีหู จิ่นเทา เตือนเจ้าหน้าที่ถึงความเย้ายวนของสาวสวย เงิน และอำนาจ
    รัฐบาลเห็นความคืบหน้าในการปรามเรื่องนี้ เพราะการใช้เงินประชาชนไปกับการทัวร์ต่างประเทศ การจัดงานเลี้ยง และรถยนต์ ลดลง 5,700 ล้านหยวนปีนี้ ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ 113,000 คนถูกลงโทษปีนี้ฐานคอร์รัปชัน

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    Glenn Beck Show ( Dec 28, 2010 ).......Restoring History


    สำหรับท่านใดที่พลาดชม วาไรตี้เชิงข่าวสาร ของเกลน เบค ในตอนผ่านๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่จะเน้นไปในเรื่องปัญหาภายในของสหรัฐ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องหนี้สิน เศรษฐกิจ และการว่างงาน ในตอนนี้เค้าจับเอาเนื้อหาที่สำคัญต่างๆเหล่านั้นมารวมกันครับ เพราะฉะนั้นเนื้อหาจะเข้มข้นมาก ที่จะบอกเราถึงปัญหาต่างๆที่สหรัฐกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ แล้วที่สำคัญที่สุดคือ "ทิศทาง" ที่สหรัฐกำลังจะเดินไป


    อย่างหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ Fox News เป็นสื่อ "หลัก" ตัวหนึ่งในมือของกลุ่ม NWO ในอเมริกา ที่เค้าใช้เป็นเครื่องมือในการ "ล้างสมอง" คนอเมริกันให้เชื่อหรือไม่เชื่ออะไรมาหลายสิบปีติดต่อกัน ทุกอย่างที่เค้านำเสนอในช่วงนี้ก็คือ "คำเตือน" หรือจะเรียกว่าเป็นการใบ้บอกล่วงหน้าครับว่าเค้าจะทำอะไร หรืออะไรจะเกิดขึ้นต่อไป การลงมือทำงานของพวกเค้า มีหลักอยู่อย่างหนึ่งคือ เค้าจะบอกก่อนว่าจะทำอะไร บอกกันทั้งทางตรงทางอ้อมอย่างนี้แหละครับ แต่คำเตือนเหล่านี้กลับถูกมองข้ามจากคนส่วนใหญ่


    ข้อมูลและตัวเลขที่เกลน เบ๊ค หยิบยกมาทั้งหมดเป็น "ของจริง" ครับ เป็นสถานการณ์จริงๆที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ที่หลายคนดูแล้วก็ยังงงๆ ว่ามันหนักขนาดนั้นเลยหรือ ซึ่งคำตอบคือ "มันหนักขนาดนั้นจริงๆ" ครับ แต่ด้วยชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายจากเทคโนโลยีต่างๆ ความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้มันกลายเป็นกรอบความคิด และทำให้เรามองไม่ออกครับ และน้อยคนที่จะศึกษาและเข้าใจประวัติศาสตร์ว่าเคยเกิดอะไรขึ้นบ้างในอดีตที่ผ่านมา ทำให้คิดว่าไปว่า .......มันยากที่จะเกิดขึ้น


    ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านที่ติดตามอ่านข่าวสารจากบล๊อกนี้เป็นประจำ คงจะอ่านออกครับ ว่าเค้ากำลังบอกอะไร ซึ่งมันอยู่ที่คนดูครับว่าจะคิดจะนำไปต่อยอดหรือไม่ หรือจะไม่รู้สึกอะไรเลยหรือแค่ผ่านๆไป อันนี้ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลครับ

    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/xihK1ZY-XJY?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x402061&color2=0x9461ca width=560 height=340 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>

    มีเรื่องหนึ่งที่ต้องตอกย้ำกันครับคือเรื่องกรอบเวลา ที่ผมเคยเขียนไว้ว่าทุกอย่างน่าจะระเบิดออกมาในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2011 หรือไม่เกินกลางปี 2012 "เพื่อความไม่ประมาท" ผมขอแก้ไขเป็นตั้งแต่กลางเดือนมกราคมของปี 2011 เป็นต้นไปครับ ข่าวสารข้อมูลที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มันมีประเด็นอะไรหลายๆ อย่างที่่ยังไม่น่าเกิดกลับเกิดขึ้นมาก่อน เช่นเรื่องมูนิบอนด์ หรือพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นในระดับมลรัฐ พันธบัตรรัฐบาลกลางสหรัฐที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ ที่สำคัญทั้งสองเหตุการณ์มาเกิดขึ้นพร้อมๆกัน อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งคาดกันว่าอย่างน้อยต้องมีถึง 11 เมือง หรือรัฐบาลท้องถิ่นของสหรัฐที่จะต้องฟ้องล้มละลายตัวเองในปี 2011


    วิกีลีค รวมทั้งข่าวลือและการเริ่มพูดคุยกันถึงการ "ล้ม" ของรัฐต่างๆ รวมทั้งข้อกฏหมาย ปัญหาในตลาดตราสารอนุพันธ์หรือ Derivatives โดยเฉพาะ Comex จนทำให้กลุ่มขาใหญ่เสียการควบคุมไปมากพอสมควร ซึ่งมันสะท้อนถึง Fear หรือความกลัวที่ "เกิดขึ้นแล้ว" ในตลาดจนสะท้อนออกเป็นการพุ่งขึ้นของราคาทองคำ เงิน และโภคภัณฑ์ต่างๆ ในช่วงเวลานี้ของปี ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกเช่นกันครับ


    ปัญหาการว่างงานในสหรัฐโดยมีตัวเลขล่าสุดออกมาที่ 30 ล้านคนเข้าไปแล้ว ซึ่งดูแล้วคงไม่มีอะไรดีขึ้นนอกจากการบิดเบือนตัวเลข และการปั๊มเงินออกมาอุด หรือซื้อเวลาและลากปัญหาออกไป

    The Gold War Phase II.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>.<WBR></WBR>by Jimmy Siri บน Facebook
    http://www.facebook.com/<WBR></WBR>home.php?sk=group_17040824<WBR></WBR>6326805&ap=1


    โพสต์โดย What's going on in America
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    100 เมืองมะกันเสี่ยงถังแตก อ่วมหนี้ 2 ล้านล้านดอลลาร์



    ...........................ท่าม กลางแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเติบโตราว 2.6% ในไตรมาส 4 แต่สหรัฐก็ยังมีปัญหาที่หมักหมมอยู่ และรอวันปะทุในอนาคต ซึ่งหากเป็นจริงก็อาจลากให้ราว 100 เมืองต้องล้มละลายเลยทีเดียว

    โดย เมเรดิธ วิทนีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธบัตรรัฐบาลและภาคธนาคาร ที่เคยทำนายวิกฤตการเงินโลกได้อย่างถูกต้อง ให้สัมภาษณ์รายการ 60 มินิตส์ ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสว่า หนี้ของมลรัฐและ เมืองในสหรัฐคือปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจสหรัฐ และอาจทำให้การฟื้นตัวของประเทศหลุดจากเส้นทางที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งเชื่อว่าจะมีการผิดนัดชำระหนี้ตราสารหนี้เทศบาลมูลค่ามหาศาล หรือหลายแสนล้านดอลลาร์ และเมืองกว่า 100 แห่งใน สหรัฐอาจล้มละลายในปีหน้า หากวิกฤต หนี้ที่เคยทำให้ธนาคารและหลายประเทศล้มมาแล้วจุดชนวนการล่มสลายในระดับ เทศบาล

    อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง จอร์จ ไฟร์ดแลนเดอร์ นักวิเคราะห์พันธบัตรเทศบาลของซิตี้ระบุในบันทึกถึงลูกค้าว่า แม้จะมีความเป็นไปได้ว่าในช่วง 2 ปีข้างหน้าจะมีการผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรเทศบาลมากขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต แต่จะมีมูลค่าต่ำกว่าที่วิทนีย์ประเมินไว้มาก

    ทั้งนี้ ปัจจุบันเมืองและมลรัฐในสหรัฐมีหนี้รวมกันมากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ หากเทียบกับยุโรปที่คาดกันว่ารัฐบาล ท้องถิ่นกู้ยืมเงินทำสถิติสูงสุดที่เกือบ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้

    เพราะ ปัญหาขาดดุลงบประมาณ ทำให้หลายเมืองจำเป็นต้องลดการใช้จ่าย อาทิ ดีทรอยต์ เมืองใหญ่สุดของรัฐมิชิแกนจำเป็นต้องลดบริการตำรวจ ไฟฟ้า ซ่อมแซมถนน และทำความสะอาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรมากถึง 20% ข้อมูลระบุว่านับถึงเดือน มิ.ย.ปีหน้า ดีทรอยต์จะขาดดุลงบฯถึง 85 ล้านดอลลาร์

    เช่นเดียวกับรัฐข้างเคียงอย่างอิลลินอยส์ใช้จ่ายเงิน มากกว่าที่เก็บภาษีได้ราว 2 เท่า โดยมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เพียงแห่งเดียวเป็นหนี้ถึง 400 ล้านดอลลาร์

    ทั้ง นี้ ซีเอ็มเอ ดาต้าวิชั่น ผู้ให้บริการข้อมูลตราสารอนุพันธ์เผยข้อมูลว่า รัฐนี้มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ราว 21% หรือสูงกว่าที่อื่น ๆ

    และ ปัญหาทางการเงินที่รุมเร้าส่งผลให้หลายรัฐจำเป็นต้องหารายได้เพิ่ม เช่น แคลิฟอร์เนียได้ปรับขึ้นค่าเทอมของมหาวิทยาลัยรัฐ 32% แอริโซนาขายอาคารที่ทำการศาลฎีกาและที่ทำการรัฐให้แก่ นักลงทุนก่อนจะขอเช่าต่อ

    กาย เจ. เบนสเตด จาก ซีดาร์ ริดจ์ พาร์ตเนอร์ ในซานฟรานซิสโกมองว่า การผิดนัดชำระหนี้อาจเกิดขึ้นในฟลอริดา ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์อันร้อนแรงได้ฟุบไปแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน สอดคล้องกับความคิดของ ฟิลิป บราวน์ กรรมการผู้จัดการของซิตี้กรุ๊ปในลอนดอน ที่ว่าต้องมีการลดหนี้สาธารณะ และต้องหั่นงบประมาณลงมหาศาล ปัญหาหนี้รุมเร้ารัฐบาลกลางก่อน และตอนนี้กำลังคุกคามรัฐบาลท้องถิ่นอยู่

    ขณะ เดียวกัน เว็บไซต์บิสซิเนส อินไซเดอร์ ได้เผยรายชื่อของ 16 เมืองสหรัฐที่เสี่ยงจะล้มละลายหากไม่สามารถลดการใช้จ่ายงบประมาณมหาศาลได้ใน ปีหน้า โดยเมืองดัง ๆ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซานดิเอโก ที่ยอดขาดดุลงบฯนับถึงเดือน มิ.ย. 2555 เท่ากับ 73 ล้านดอลลาร์ และที่ผ่านมาทางการพยายามลดการ ขาดดุลโดยเพิ่มภาษีการค้าพร้อมหั่น ค่าใช้จ่ายกว่า 200 ล้านดอลลาร์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นการรัดเข็มขัดให้แน่นขึ้นอีกคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

    ด้าน นิวยอร์กซิตี้ มียอดขาดดุลในช่วงเดียวกันสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ โดย ผู้ว่าการของเมืองอย่าง ไมเคิล บลูมเบิร์ก ได้เรียกร้องให้ปลดพนักงานของรัฐบางส่วน ส่วนเมืองซานโฮเซขาดดุลงบฯ 116 ล้านดอลลาร์เมื่อปีกลาย ซึ่งนำไปสู่การปลดพนักงานรัฐเกือบ 900 คน และคาดการณ์ว่าเมืองจะขาดดุลงบฯราว 90 ล้านดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 2555

    หาก มองต่อไปจะเห็นเมืองโฮโนลูลูในฮาวายที่จะขาดดุลราว 100 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน ซึ่งทางการพยายามแก้ปัญหาขาดดุลด้วยการให้พนักงานรัฐ 2,900 คนต้องคืนเงินเดือนที่ได้ปรับขึ้นไป 6% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาให้กับรัฐ นอกจากนี้ ยังขึ้นภาษีอสังหาฯบางประเภทเพื่อชดเชยการขาดดุลมหาศาล 140 ล้านดอลลาร์ เมื่อปีที่แล้วด้วย

    ขณะเดียวกัน ซานฟรานซิสโกได้ปรับลดการขาดดุลขนานใหญ่ถึง 438 ล้านดอลลาร์เมื่อปีกลาย และคาดว่าจะขาดดุลราว 380 ล้านดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 2554 ด้านลอสแองเจลิสจะเผชิญยอดขาดดุลถึง 438 ล้านดอลลาร์ แต่ยังน้อยกว่าวอชิงตันที่ คาดว่าจะขาดดุลสูงถึง 688 ล้านดอลลาร์

    ทั้ง นี้ บลูมเบิร์ก นิวส์เคยรายงานว่า เมืองในสหรัฐมีแนวโน้มที่จะเบี้ยวหนี้มากกว่าเมืองในยุโรป เพราะมักพึ่งพาพันธบัตรที่ขายให้กับนักลงทุน ซึ่งหากเจ้าหนี้ไม่ได้รับการชำระหนี้ก็จะถือเป็นการผิดนัดชำระทันที ต่างจากเมืองในยุโรปที่โดยทั่วไปจะพึ่งพาเงินกู้จากธนาคารและรัฐบาล

    ที่มา http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02for01271253&sectionid=0205&day=2010-12-27

    เครดิต http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I10068209/I10068209.html
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'ตะวันตก'ล่ม'เอเชีย'ผงาดจ่อขึ้นคุมโลกการเงินยุคใหม่
    20 กรกฎาคม, 2009 - 07:42. เศรษฐกิจ และการลงทุน
    ธุรกิจการเงินเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความเป็นโลกาภิวัตน์มากกว่าภาค เศรษฐกิจใดๆ ด้วยความที่มันเป็นตัวหล่อลื่นธุรกรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ระบบไม่อาจขาดมันไป ได้เลย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจวบจนต้นทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 สถาบันการเงินในโลกตะวันตกได้ครองความเป็นเจ้าในเซกเตอร์สำคัญนี้อย่างต่อ เนื่องยาวนาน ด้วยการครอบครองเทคโนโลยีอันก้าวหน้าซับซ้อน การมีนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ทางการเงินนับไม่ถ้วน อีกทั้งยังมีแรงจูงใจอันมหาศาลในการสร้างกำไร

    อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายของภาครัฐในสหรัฐอเมริการและยุโรปที่ไฟเขียวแก่ตลาดการเงินอันแสน เสรีของพวกตนให้"ควบคุมและปกครองกันเอง"อย่างสุดโต่ง สถาบันการเงินโลกตะวันตกพากันสร้างผลิตภัณฑ์การเงินที่ซับซ้อน อิงอยู่กับการสร้างภาระหนี้อย่างนุงนังหนักหน่วง และหากินด้วยการเร่ขายผลิตภัณฑ์ให้แก่นักลงทุนผู้หิวกระหายตัวเลขผลตอบแทนงด งามในทุกภูมิภาคทั่วโลก

    มาถึงปัจจุบันนี้ ระบบการเงินของโลกตะวันตกกำลังทำลายล้างตัวเอง แต่ยิ่งกว่านั้น โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ในยามที่ปัญหายังไม่อักเสบ มันได้เพาะสร้างคู่แข่งที่น่ากลัวขึ้นมา กล่าวคือ ภายในประเทศต่างๆ ของเอเชีย พวกสถาบันการเงินที่มากด้วยพรสวรรค์และพรแสวงได้พัฒนาศักยภาพขึ้นมาได้ไล่ เลี่ยกับพวกต้นแบบ หรืออาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ

    นับจากปี 2007 ธรรมชาติแห่ง"สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตน" ได้กัดกินและทำลายสถาบันการเงินของโลกตะวันตกด้วยวิกฤตล้มละลายในตลาดซับ ไพรม์ ในการนี้ ตามข้อมูลของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ความเสียหายที่เกิดแก่สถาบันการเงินสหรัฐฯ สูงเกือบถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่ฝั่งเอเชียโดนหางเลขไปแค่ 40,000 ล้านดอลลาร์

    อาจกล่าวได้ว่าแบงก์ทางเอเชียหลบหลีกอานุภาพการทำลายล้างของระเบิด เวลาชื่อ "ตราสารอนุพันธ์ในตลาดซับไพรม์" ได้เป็นส่วนใหญ่ แม้จะเกิดกลียุคในตลาดการเงินโลก แต่โดยทั่วไปแล้ว แบงก์ในเอเชียยังมีฐานเงินทุนที่แข็งแรงดี มีการอันเดอร์ไรท์หนี้ที่ยังนับได้ว่าเข้มงวด และไม่ถูกเล่นงานงอมพระรามจากการล้มระเนนของตลาดที่อยู่อาศัย

    ทั้งนี้ อาจจะด้วยประสบการณ์ที่ยังตราตรึงไม่รู้จางจากพิษวิกฤตการเงินปี 1997-98 อาจมีบ้างเป็นบางแบงก์ในเอเชียที่ต้องเดือดร้อนจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008/09 แต่ไม่ปรากฏสภาพการณ์หายนะตายเป็นเบือเกิดขึ้นในแวดวงแบงก์ของเอเชีย ยิ่งกว่านั้น อันที่จริงแล้ว พวกแบงก์ในจีน อินเดีย และเกาหลีมีบทบาทอันสำคัญในการปล่อยสินเชื่อและให้ปัจจัยหนุนช่วยการเติบโต ทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค

    ณ บัดนี้ สถาบันการเงินในเอเชียอยู่ในตำแหน่งแห่งที่อันดีมาก ในอันที่จะฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ป่วยหนักของพรรคพวกในซีกโลกตะวันตก พวกกองทุนบริหารความมั่งคั่งภาครัฐ (SWFs) ของเกาหลี จีน และสิงคโปร์ มีเม็ดเงินในมือระดับมหาศาล ขณะที่สินทรัพย์ของฝั่งโลกตะวันตกนับว่าถูกสตางค์เป็นประวัติการณ์ ดังเห็นได้ว่ามีการรุกคืบเกิดขึ้นแล้ว อาทิ ค่าย Korea Investment Corp อันเป็น SWF ของเกาหลีเข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองใน Bank of America แถมซีอีโอของค่ายยังพูดจาน่าหยิกไว้เมื่อต้นเดือนนี้ว่า "นี่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับขณะนี้ เราเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้น และเราคิดว่าแบงก์ออฟอเมริกาจะฟื้นไปด้วยกันกับระบบเศรษฐกิจ"

    ยิ่งกว่านั้น ภูมิทัศน์ใหม่ในตลาดการเงินของโลกตะวันตกจะเอื้อแก่การรุกคืบของสถาบันการ เงินเอเชีย ทั้งนี้ แนวโน้มมีอยู่ว่าในเมื่อพวกแบงก์สะดุดความโลภและแพ้ภัยแก่วิชามารของตน เองอย่างหมดรูป อีกทั้งเปิดโอกาสให้ภาครัฐสามารถเข้าไปล้วงลูกเพื่อโอบอุ้มและจัดระบบให้ เข้าที่เข้าทาง แนวทางของภาครัฐในการพัฒนาระบบการเงินการธนาคารจึงน่าที่จะเน้นให้หวนสู่ บทบาทดั้งเดิม คือการเป็นตัวกลางที่ประชาชนจะนำเงินไปฝากได้อย่างปลอดภัย ให้ดอกเบี้ยตามสมควร แล้วก็ทำหน้าที่ปล่อยกู้โดยทำการวิเคราะห์อย่างเหมาะสม นอกจากนั้น พวกตัวก๋ากั่น ตัวเอ้ๆ ในวงการเงินโลกตะวันตกน่าจะจ๋อยและจ๋องไปอีกนานกว่าที่ภาครัฐท่านจะอนุญาต ให้ธุรกิจนี้"ควบคุมและปกครองตนเอง"ได้จริงๆ อีกครั้งหนึ่ง

    แนวโน้มข้างหน้าจึงหมายถึงการเปลี่ยนดุลยภาพภายในระบบเศรษฐกิจโลก ครั้งมโหฬาร ที่เป็นการลดอิทธิพลทางเศรษฐกิจของเพลเยอร์แห่งซีกโลกตะวันตก พร้อมกับเปิดประตูกว้างให้แก่เพลเยอร์อื่นๆ ที่มีศักยภาพดี อาทิ แบงก์และ SWF ของเอเชีย

    เงื่อนไขสำคัญเพื่อความสำเร็จในเรื่องนี้มีอยู่ 2 ประการ

    ประการแรกคือสิ่งที่มูดี้ส์ สำนักระดับโลกด้านการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ ชี้ไว้ในรายงานแนวโน้มวงการธนาคารเอเชีย 2009 (มิถุนายน 2009) ว่า "ความมั่งคั่งที่พุ่งเพิ่มมหาศาลเมื่อเร็วๆ นี้ทั่วเอเชีย จะสามารถหรือไม่ที่จะสร้างการบริโภคภายในท้องถิ่นในระดับที่เพียงพอแก่การทด แทนดีมานด์ที่หดหายไปจากสหรัฐฯ และประเทศร่ำรวยอื่นๆ อันเป็นแหล่งรายได้สำคัญของเอเชีย" เรื่องนี้จึงหมายถึงการปรับตัวออกจากโมเดลการพัฒนาที่พึ่งพิงภาคส่งออกนั่น เอง

    ประการที่สอง เอเชียจะสามารถเพียงใดที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมศักยภาพเชิงการแข่ง ขันที่ลดอุปสรรคแก่การเข้าสู่ภาคการธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง ในเมื่อหลายประเทศยังพอใจกับนโยบายการใช้ภาคการเงินการธนาคารเป็นเครื่องมือ ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจซึ่งหมายถึงการคุมทิศทางให้มุ่งตอบสนองภาคธุรกิจกลุ่ม เป้าหมายของประเทศเป็นสำคัญ โดยไม่คำถึงว่านโยบายนี้เป็นเครื่องถ่วงรั้งการเติบโตของภาคการเงินการ ธนาคาร

    ขณะที่วิกฤตการเงินโลกและสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกำลังฉุดกระชากให้ระบบ เดิมพังพาบ มันได้เสนอความท้าทายอันแสนจะเย้ายวนและเร้าใจแก่ชาวเอเชียให้เข้าไปยึดครอง พื้นที่สุญญากาศภายในตลาดการเงินการธนาคาร และสร้างภูมิรัฐศาสตร์แห่งโลกการเงินขึ้นใหม่ ในการนี้ เอเชียยังต้องช่วยประคองพรรคพวกในซีกโลกตะวันตก ไม่ให้ลูกหนี้ของเอเชียแปรตัวไปเป็นหนี้เสียหรือหนี้ชักดาบ แต่ขณะเดียวกัน เอเชียก็ต้องสยายปีกการลงทุนระดับโลกทั้งด้านกว้างและด้านลึก พร้อมกับหนุนพัฒนาการของตลาดทุนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นอะไรที่อุกฤษฏ์แก่การช่วยให้ตลาดท้องถิ่นหยั่งรากลงลึกอย่างยั่งยืน ได้ ความลับของเรื่องนี้จึงมีอยู่ว่า เอเชียจะสามารถหรือไม่ที่จะดำเนินการกับการเปลี่ยนแปลงโมเดลทางเศรษฐกิจและ บทบาทของสถาบันการเงิน - ผู้จัดการ

    'ตะวันตก'ล่ม'เอเชีย'ผงาดจ่อขึ้นคุมโลกการเงินยุคใหม่ | นสพ.ประชาชาติอิสลามออนไลน์
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนเริ่ม'ติดตั้ง'ขีปนาวุธชนิดใหม่ ยิงเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯได้
    29 ธันวาคม, 2010
    .: ASTV
    ขีปนาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ของจีน ซึ่งสามารถยิงใส่เรือบรรทุกเครื่องบิน และผู้เชี่ยวชาญเห็นกันว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงดุลแห่งอำนาจทางทหารอย่างสำคัญในเอเชีย-แปซิฟิก ได้รับการพัฒนาจนอยู่ในขั้นที่สามารถนำออกปฏิบัติการได้แล้ว ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของผู้บัญชาการทหารอเมริกันประจำภูมิภาคแถบนี้

    พล.ร.อ.รอเบิร์ต วิลลาร์ด ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคพื้นแปซิฟิก ระบุว่า ขีปนาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ของจีนนี้ ซึ่งได้รับการออกแบบมาด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อคุกคามเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันในภูมิภาคแถบนี้ ในเวลานี้ได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นมี “สมรรถนะในการปฏิบัติการเบื้องต้นแล้ว”

    คำพูดของเขาเป็นการส่งสัญญานว่า ความสามารถของสหรัฐฯที่จะแสดงแสนยานุภาพทางทหารในเอเชีย กำลังถูกจีนท้าทายอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าที่หลายๆ ฝ่ายคาดหมายกันไว้

    ทั้งนี้สหรัฐฯตลอดจนหลายๆ ชาติในเอเชีย-แปซิฟิก ต่างกำลังวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับอัตราความเร็วในการพัฒนาอำนาจทางนาวีของแดนมังกร

    จากคำพูดเช่นนี้ของวิลลาร์ด ที่กล่าวในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์อาซาฮี ในญี่ปุ่น ทางด้านแอนดริว อีริกสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีน ณ วิทยาลัยสงครามนาวีของสหรัฐฯ ให้ความเห็นสรุปว่า “ดังนั้นมาถึงเวลานี้เราทราบแล้วว่า - (ขีปนาวุธนำวิถีประเภทต่อต้านเรือ) ของจีนไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความมุ่งมาตรปรารถนาอีกต่อไปแล้ว”

    ก่อนหน้านี้พวกนักวิเคราะห์ด้านกลาโหมทั้งหลาย ได้พูดถึงขีปนาวุธนำวิถีที่มีชื่อว่า “ตงเฟิง 21 ดี” (Dongfeng 21D) นี้ว่า เป็น “ตัวเปลี่ยนเกม” เนื่องจากอาวุธชนิดนี้จะทำให้เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯประสบความลำบาก ในการเคลื่อนเข้าสู่เขตน่านน้ำซึ่งจีนไม่ต้องการให้เข้าไป

    ทั้งนี้ ตงเฟิง 21 ดี ซึ่งเป็นขีปนาวุธที่ยิงจากภาคพื้นดิน และมีอุปกรณ์ต่างๆ คอยช่วยเหลือ ทั้งระบบดาวเทียม, อากาศยานไร้นักบิน, ตลอดจนระบบเรดาร์ติดตามระยะไกลมาก ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้โจมตีเป้าหมายที่เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน

    ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา รอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ แถลงว่า การพัฒนาขีปนาวุธชนิดนี้ จะบังคับให้ทางกระทรวงต้องหันมาขบคิดพิจารณากันใหม่ ในเรื่องที่จะนำเอาเรือบรรทุกเครื่องบินไปประจำการไว้ที่ไหนอย่างไร

    “ถ้าหากฝ่ายจีนหรือคนอื่นๆ มีขีปนาวุธลาดตระเวน หรือ ขีปนาวุธนำวิถี ประเภทต่อต้านเรือซึ่งมีความแม่นยำสูง ที่สามารถโจมตีใส่เรือบรรทุกเครื่องบินภายในพิสัยหลายร้อยไมล์แล้ว สำหรับในเอเชียมันก็จะบังคับให้เราต้องถอยไปอยู่ข้างหลัง 'แนวหมู่เกาะแนวที่สอง' แล้วคุณยังจะสามารถใช้เรือบรรทุกเครื่องบินได้ยังไงอีกในอนาคต” เกตส์ตั้งคำถามฉกาจฉกรรจ์ ที่ดูยังไม่มีคำตอบอันชัดเจน

    “แนวหมู่เกาะแนวที่สอง” (the second islands chain) เป็นแนวที่ลากจากหมู่เกาะโบนิน ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ผ่าน หมู่เกาะมาเรียนา, เกาะกวม, และเกาะปาเลา โดยเส้นที่เป็นลักษณะแนวเหนือ-ใต้นี้ อยู่ทางด้านตะวันออกของญี่ปุ่นและฟิลิปปนส์ ทางฝ่ายจีนนนั้นมองเส้นนี้ว่าเป็น “เขตท้องทะเลที่อยู่ใกล้เคียง” ของตน และก็เป็นน่านน้ำซึ่งกองเรือรบสหรัฐฯออกปฏิบัติการอยู่เป็นประจำในปัจจุบัน รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งฐานทัพใหญ่ทางนาวีของสหรัฐฯและของเหล่าพันธมิตร

    ก่อนหน้านี้ในปีนี้ วิลลาร์ดเคยเปิดเผยว่า จีนกำลังนำเอาขีปนาวุธนำวิถีประเภทต่อต้านเรือ (Anti-ship ballistic missile หรือ ASBN) มาดำเนินการทดสอบอย่างกว้างขวางครอบคลุม และใกล้ที่จะนำเข้าประจำการได้แล้ว พวกผู้สังเกตการณ์เชื่อว่า จีนได้เริ่มต้นผลิตเครื่องยนต์ของขีปนาวุธนี้ในปีที่แล้ว และกำลังเตรียมสถานที่เพื่อใช้เป็นฐานทัพขีปนาวุธนิวเคลียร์สำหรับนำเอาอาวุธดังกล่าวนี้เข้าประจำการ โดยฐานทัพนี้อยู่ที่เมืองเสากวน ทางภาคใต้ของแดนมังกร

    สำหรับวลีที่ว่า “สมรรถนะในการปฏิบัติการเบื้องต้น” ที่วิลลาร์ดพูดออกมานั้น ในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯวลีนี้หมายความว่า มีหน่วยทหารบางหน่วยเริ่มนำเอาอาวุธชนิดนั้นๆ เข้าประจำการแล้ว และมีสมรรถนะที่จะใช้อาวุธดังกล่าว

    วิลลาร์ดกล่าวว่า ขีปนาวุธใหม่ของจีนนี้ยังไม่ถึงขั้นใช้ในการปฏิบัติการได้อย่างเต็มที่ และอาจจะต้องผ่านการทดสอบ “เป็นเวลาอีกหลายๆ ปี” โดยขั้นตอนทดสอบสำคัญยิ่งที่ยังจะต้องดำเนินการอีกก็คือ การทดสอบระบบทั้งหมดในเวลาออกปฏิบัติการต่อเป้าหมายในทะเล

    จีนเริ่ม'ติดตั้ง'ขีปนาวุธชนิดใหม่ ยิงเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯได้ | นสพ.ประชาชาติอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...