สรุปว่าเป็นสัตว์จำพวกไหนแน่?

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย งูขาวพันปี, 26 ธันวาคม 2010.

  1. งูขาวพันปี

    งูขาวพันปี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2010
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +146
    ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยนะคับว่า คำถามอาจจะดูไร้สาระไปหน่อยแต่เมื่อเรากำลังนอนอ่านหนังสืออยู่นั้น เราก็ไปเจอกับคำว่าที่มันอธิบายความหมายของคำว่า สัตว์เดรัชฉาน ว่า เดรัชฉาน หมายถึง ขนาน สัตว์เดรัชฉานก็แปลว่า สัตว์ที่มีร่างกายหรือลำตัวขนานกับพื้นดิน (แต่เมื่อก่อนสัตว์เดรัชฉานแปลว่าสัตว์ที่พูดไม่ได้แต่คงต้องเปลี่ยนไปเมื่อเจอนกแก้ว นกขุนทองมั้งคับ) แต่เมื่อความหมายใหม่เข้ามา ผมก็แปลกใจอยู่อย่างว่า แล้ว นกเพนกวิ้น มันอยู่ในสัตว์จำพวกไหน สัตว์ประเสริฐอย่างมนุษย์เราก็ไม่ใช่(เพราะมันพูดไม่ได้) สัตว์เดรัชฉานรึป่าว แต่เพราะเวลามันไปไหนมันก็เดินไป(ลำตัวตรงเชียะ) ขนาดมันหลับมันก็ยังยืนซะตรงเด่ ไม่เห็นมันจะล้มตัวลงนอนเหมือนเรา และถ้าจะบอกว่าเวลามันว่ายน้ำ ลำตัวมันถึงขนานกับพื้น แต่เวลามนุษย์เราว่ายน้ำลำตัวเราก็ขนานเหมือนมันนี่นา แล้วสรุปว่ามันเป็นสัตว์จำพวกไหนกันแน่คับ ใครรู้ช่วยตอบทีนะคับ จะได้หายสงสัย...
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ก็ลองเอาแบบง่ายๆ ตามความคิดผมนะเเดรัจฉานก็คือพวกที่อยู่ในอานาจักรสัตว์ทั้งหมดยกเว้นมนุษย์ แล้วรวมพญานาคเข้าไปด้วย
     
  3. Nothing Eternal

    Nothing Eternal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +654
    ว่าตาม อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉท ๕

    ติรัจฉานภูมิ หรือ ที่เรียกกันว่า สัตว์เดรัจฉาน มีความหมายว่า สัตว์ที่ไปทางส่วนขวาง
    หรืออีกนัยหนึ่งว่า สัตว์ที่เป็นไปขวางจากมรรคผล (แปลง่ายๆ คือ บรรลุมรรคผลไม่ได้)

    ไม่มีภูมิที่อยู่ของตนเองเป็นสัดส่วน คงอาศัยอยู่เพียงในมนุษยโลก ในขณะที่เทวโลก
    พรหมโลก และพระนิพพาน จะไม่มีสัตว์เดรัจฉานไปอยู่ร่วมได้เลย

    สัตว์เดรัจฉานจะมีสัญญาที่ปรากฏ คือ มีความเป็นอยู่และเป็นไป เพียง ๓ อย่าง ดังนี้

    ๑. กามสัญญา คือ รู้จักเสวยกามคุณ
    ๒. โคจรสัญญา คือ รู้จักกิน รู้จักนอน
    ๓. มรณสัญญา คือ รู้จักกลัวตาย

    ส่วนอีกอย่าง คือ ธรรมสัญญา (ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี) นั้น จะปรากฏเฉพาะในสัตว์
    บางจำพวกเท่านั้น คือ สัตว์ที่เป็นโพธิสัตว์ลงมาบำเพ็ญ และ มนุษย์

    สัตว์เดรัจฉาน แบ่งไว้กว้างๆ เป็น ๔ ประเภทใหญ่

    ๑. อปทติรัจฉาน คือ พวกไม่มีเท้า
    ๒. ทวิปทติรัจฉาน คือ พวกสองเท้า
    ๓. จตุปปทติรัจฉาน คือ พวกสี่เท้า
    ๔. พหุปปทติรัจฉาน คือ พวกหลายเท้า

    อนึ่ง บรรดาโพธิสัตว์ที่ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว จะไม่เกิดเป็นสัตว์ที่เล็กกว่านกกระจาบ
    และไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
     

แชร์หน้านี้

Loading...