ตื่นตากับ"ป่าหิมพานต์"ในโลกจริง! ที่มิวเซียมสยาม

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 19 ธันวาคม 2010.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,657
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตื่นตากับ "ป่าหิมพานต์" ในโลกจริง! ที่มิวเซียมสยาม</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>18 ธันวาคม 2553 12:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> เมื่อพูดถึง "ป่าหิมพานต์" เชื่อว่าในวัยเด็กของใครหลายคนคงเคยได้ยินชื่อนี้กันมาแล้วในวิชาเรียนภาษาไทย เพราะป่าแห่งนี้มักจะถูกอ้างถึงมากที่สุดในวงวรรณคดีไทย เช่น พระสุธน-มโนห์รา ตลอดจนละครจักร ๆ วงศ์ที่เคยฉายผ่านทางจอแก้วหลายต่อหลายเรื่อง ทั้งยังถูกหยิบยืมใช้ในคติความเชื่อ และรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้จัก และรู้จริงถึงเรื่องราวของป่าแห่งนี้

    ทำให้ทาง "มิวเซียมสยาม" พิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกทิ้งท้ายปี ด้วยการเปิดมิติใหม่แห่งการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ผ่านป่าหิมพานต์ที่ถูกสาดแสง และสีสันย้อมพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืนให้สว่างสดใสเป็นโลกสุดแฟนตาซีเหนือจินตนาการครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นแหล่งเรียนรู้ตัวเลือกสำหรับทุกครอบครัวในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้เป็นอย่างดี

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ซ้ายไปขวา : ต้นปาริชาติ และต้นหว้า </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อก้าวเดินจากประตูทางเข้ามายังบริเวณที่จัดวางงานแสดงของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ เป็นอีกหนึ่งบรรยากาศที่คุณ และครอบครัวจะได้สัมผัสกับต้นไม้ และสัตว์ที่มีพลังอำนาจมหัศจรรย์ของป่าหิมพานต์หลากหลายชนิด เริ่มจาก ต้นปาริชาติ ที่ตั้งจำลองใหญ่โตอยู่ทางด้านซ้าย เป็นต้นไม้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่อยู่เบื้องบนของป่าหิมพานต์ เมื่อใดที่บานเต็มที่แล้ว ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ต่างพากันเกิดปีติสุขเอิบอิ่มพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะเวลา 5 เดือนทิพย์ ณ ใต้ต้นปาริชาติ

    ส่วนอีกต้นทางด้านขวา คือ ต้นหว้า ต้นไม้สำคัญที่อยู่บนเชิงเขาในป่าหิมพานต์ มีขนาดใหญ่โตมาก ดอกมีกลิ่นหอม ขณะที่ผลมีขนาดใหญ่รสหวานเหมือนน้ำผึ้ง ส่วนยางนั้น เมื่อไหลหยดลงพื้นแล้ว ตามตำนานเล่าว่า ยางจะกลายเป็นทองชมพูนุช หรือทองบริสุทธิ์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บนลงล่าง : สระน้ำอโนดาต และนาค หรือพญานาค</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภายในบริเวณเดียวกันนี้ จะพบกับสัตว์ป่าหิมพานต์ในร่างมนุษย์ที่สามารถจับเนื้อต้องตัว และถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้ เช่น กินรี มีร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ และคชสีห์ สิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง

    ไม่เพียงเท่านั้น คุณ และลูก ๆ ยังจะได้ตื่นตากับพญานาคตัวใหญ่ยาวหน้าเหมือนจริงข้าง ๆ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อว่า "อโนดาต" สระใหญ่ 1 ใน 7 ที่อยู่ภายในป่าหิมพานต์ โดยตามตำนานกล่าวว่า เป็นสระที่มีน้ำใสสะอาด หากมองไปยังพื้นของสระจะเป็นแผ่นหินชื่อว่า มโนศิลา ส่วนที่เป็นดินมีชื่อว่า หรดาล เป็นสระสำหรับสรงน้ำของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ฤๅษี วิทยาธร ยักษ์ นาค และเทวดา

    หลังจากตื่นตากับต้นไม้ สรรพสัตว์ และสถานที่สำคัญ ๆ บางส่วนแล้ว หากเดินเข้าไปยังจุดชมนิทรรศการด้านในจะได้สัมผัสบรรยากาศที่ตกแต่งให้เหมือนป่าหิมพานต์เหนือจินตนาการด้วยการจัดวางต้นไม้ที่ถูกสาดแสง และสีสันให้สว่างตามมุมตึกต่าง ๆ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์ที่แต่งองค์ทรงเครื่องเป็นนางในวรรณคดีไทยเหมือนหลุดออกมาจากหนังสือเรียนภาษาไทยเลยก็ว่าได้

    สำหรับจุดเข้าชมนิทรรศการในห้องต่าง ๆ นั้น สังเกตให้ดีจะมีสรรพสัตว์ในป่าหิมพานต์จำนวนมากแฝงตัวอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวจะมีป้ายประจำตัวบอกรายละเอียด และลักษณะเฉพาะให้ได้ทราบโดยทั่วกัน เช่น กุญชรวารี มีรูปร่างเป็นช้างแต่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด หรือมีเท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา อาศัยอยู่ในทะเลสีทันดร หรือเหรา (มกร) เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างพื้นฐานเป็นจระเข้แต่มีหัวแบบนาค รวมไปถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณ และลูก ๆ จะได้ตื่นตาตื่นใจ เช่น ศฤงคมัสยา มัจฉวาฬ เป็นต้น

    ระหว่างการเดินเข้าชม นอกจากจะถูกรายล้อมด้วยสัตว์หิมพานต์แล้ว ยังมีกิจกรรมความรู้สอดแทรกอยู่ตามทางเดินอีกด้วย เช่น วงล้อเรื่องสัตว์หิมพานต์กับตราสัญลักษณ์ที่ถูกหยิบยืมไปใช้ในคติความเชื่อ และรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่น้อยคนนักจะรู้จัก และรู้จริงถึงสัญลักษณ์ดังกล่าว

    อีกทั้งความสนุกชวนค้นหาตลอดการเที่ยวชม โดยใช้ชื่อกิจกรรม "ผ่านป่าหิมพานต์" มีอยู่ 3 กิจกรรมให้ทุกครอบครัวได้ร่วมสนุกกัน ได้แก่ เกมย่ำค่ำ ค้นคำตอบ เป็นกิจกรรมให้พ่อแม่ลูกได้รู้จักสัตว์หิมพานต์ผ่านเรื่องราวของประวัติศาสตร์ไทย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สรรพสัตว์หิมพานต์ ตัวข้างบนมีชื่อว่า "เหรา" ส่วนข้างล่างจากซ้ายไปขวา คือ พญานาค และกุญชรวารี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เกมประกอบร่างสัตว์หิมพานต์ ให้ผู้เล่นมองผ่านรูปของกล่องที่เตรียมเอาไว้ และให้ผู้เล่นเลือกภาพส่วนต่าง ๆ ที่เตรียมไว้นำมาประกอบกันให้เป็นภาพของสัตว์หิมพานต์เหมือนกับภาพในกล่อง และ เกมผสมสัตว์หิมพานต์ ให้ทายภาพของสัตว์หิมพานต์ว่ามีการผสมระหว่างสัตว์ชนิดใด โดยให้จับคู่กับสัตว์ที่เป็นลักษณะดั้งเดิม

    อย่างไรก็ดี ทั้ง 3 กิจกรรมนี้จะมีตราประทับผ่านกิจกรรมหากได้ครบทั้ง 3 ตรา รับทันทีการ์ดสะสมครบชุด โดยใบที่ใช้ประทับตราในการเล่นเกมนั้น ทางเจ้าหน้าที่จะแจกให้ก่อนเข้าชมนิทรรศการ ซึ่งจะอยู่ในคู่มือทัศนาจร เรียกได้ว่า ได้ทั้งความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตื่นตากับสัตว์ในร่างคน และวงล้อกิจกรรมภายในงาน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับความตื่นตาในครั้งนี้ คุณแม่จรรยา และน้องต้นข้าว- ปภาวรินทร์ จิตธรรม ที่จูงมือเดินทางกันมาจากจ.นนทรี บอกเล่าให้เราฟังว่า เธอและลูกสนุกตื่นเต้นกับบรรยากาศที่แปลกใหม่ ได้รู้จักกับสัตว์หิมพานต์ในแต่ละตัวมากขึ้น พร้อมทั้งได้เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยไปพร้อม ๆ กับลูกผ่านป่าแห่งนี้

    ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนให้ครอบครัวอื่น ๆ มาสัมผัสกับป่าหิมพานต์ในโลกแห่งความเป็นจริงและชมการแสดงสุดอลังการยามค่ำคืน เช่น ศึกยกทัพจับมักกะลี ตลอดจนการแสดงพิเศษชุดครุฑยุคนาค

    เอาเป็นว่าวันหยุดนี้ หากบ้านใดยังไม่มีโปรแกรมพาครอบครัวไปเที่ยวไหน พิพิธภัณฑ์ยามค่ำตอนป่าหิมพานต์แห่งนี้ ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับครอบครัว และผู้ที่สนใจ ร่วมชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในระหว่างวันที่ 17-19 ธ.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. ที่มิวเซียมสยาม

    *** ข้อมูลประกอบข่าว

    ตามตำนานเล่ากันว่า ป่าหิมพานต์ เป็นดินแดนที่เป็นรอยต่อซ้อนมิติ ระหว่างโลกทิพย์ กับโลกมนุษย์ มีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ 7 สระ คือ 1.สระกรรณมุณฑะ 2.สระสีหัปปาตะ 3.สระฉัททันต์ 4.สระอโนดาต 5.สระกุณาละ 6.สระรถการะ 7.สระมันทากินี

    นอกจากนี้ ยังมีขุนเขาล้อมรอบสระทั้ง 7 อยู่ 5 ลูก คือ 1.เขาไกรลาศ 2.เขาจิตตะ 3.เขาคันธมาศ 4.เขาสุทัศนะ 5.เขากาฬกูฏ

    อย่างไรก็ดี ไม่ว่าพืช หรือสัตว์ที่อาศัยในป่าแห่งนี้จะมีรูปร่างแปลกไปจากเมืองมนุษย์ โดยตำนาน กล่าวไว้ว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย (ประเทศอินเดีย) ทอดตัวต่ำลงมาในแดนของมนุษย์ ทับซ้อนมิติกันอยู่กับโลกมนุษย์ในหลายประเทศ และแถบสุวรรณภูมิทั้งหมด

    โดยบ้านเรามีอยู่หลายจังหวัดที่เป็นรอยต่อ ซึ่งเรียกว่า ประตูผ่านมิติ ซึ่งบางคนอาจจะเคยได้ยินว่ามีคนพลัดหลงเข้าไปยังดินแดนต่างมิติ เช่น หนองคายเป็นรอยต่อกับเมืองบาดาล อุตรดิตถ์เป็นรอยต่อกับเมืองลับแล บริเวณป่าแถบกาญจนบุรีเป็นรอยต่อกับป่าหิมพานต์ เป็นต้น

    อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก นที ลานโพธิ.รวมเรื่องอัศจรรย์. กรุงเทพฯ: ฉัตรแก้ว, 2542</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ------------
    Life & Family - Manager Online -
     
  2. Bun

    Bun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +462
    คุณแม่จรรยา และน้องต้นข้าว- ปภาวรินทร์ จิตธรรม ที่จูงมือเดินทางกันมาจากจ.นนทรี ????
     
  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    อยากไปจังเลย...................
     
  4. อำพัน

    อำพัน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +4
    อดไป เสียดายมากกกกกกก
     
  5. khunfong

    khunfong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    462
    ค่าพลัง:
    +162

แชร์หน้านี้

Loading...