หาผู้รู้ให้เจอ แล้วปล่อยผู้รู้ ทางที่ผ่านแล้วของลุงหวีด บัวเผื่อน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 26 กันยายน 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หวีด บัวเผื่อน...จิตที่พ้นทุกข์


    หวีด บัวเผื่อน หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลุงหวีดได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติขึ้นเล่มหนึ่งใช้ชื่อว่า “จิตที่พ้นจากทุกข์”.....

    ตอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แข็งแรงอยู่ หลังฉันแล้วท่านมักจะเทศน์อบรมฆราวาสและตอบปัญหาธรรมที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายมีจดหมายไปกราบเรียนถาม เช้าวันที่ 4 พ.ย. 2546 ท่านตอบจดหมายหน้าเดียว ซึ่งถามมาเพียงข้อเดียวว่า

    “กระผมได้ปฏิบัติธรรมมานานแล้ว กระผมจิตว่างอยู่หลายปี ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งหลายจนจิตว่างไปหมด เหลือแต่ผู้รู้ แต่ก็ยังมาติดผู้รู้อีก เมื่อพิจารณาผู้รู้อย่างจริงจัง ก็เหมือนมีสปริงดีดผู้รู้นั้นกระเด็นหายไปทันที เหลือแต่ผู้รู้ที่ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกำหนด ในขณะนั้นสมมติทั้งสามแดนโลกธาตุปรากฏเกิดขึ้นที่ใจ อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย กระผมขอกราบเรียนถามหลวงตาว่า ที่กระผมเข้าใจว่าธาตุผู้รู้นี้ไม่ดับไม่สูญ เป็นรู้ที่อยู่ในรู้ตลอดชั่วนิรันดรใช่ไหมครับ แม้สังขารนี้จะดับไปแล้วก็ตาม ขอความกรุณาหลวงตาช่วยตอบกระผมด้วยครับ”
    ผู้อ่านจดหมายกราบเรียนท่านว่า ผู้ถามนามว่า นายหวีด บัวเผื่อน มาจาก อ.เมือง จ.จันทบุรี

    หลวงตามหาบัวตอบว่า “ถ้าธรรมดาแล้วปัญหาเป็นอย่างนี้แล้วมันก็หมดปัญหาไปในตัว ไม่จำเป็นต้องถาม แต่ที่ถามนั้นเขาก็มีความมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นด้วย สำหรับคนผู้ถามปัญหาเราก็เชื่อเขาแล้วว่าเขาไม่มีปัญหา...อันนี้เราให้ สนฺทิฏฺฐิโก เป็นสมบัติของคุณเอง รับรองคุณเองก็แล้วกัน”

    บางถ้อยคำในการตอบคำถามครั้งนั้นมีว่า “ที่เขาเล่ามานี้ไม่มีที่ต้องติ หมดปัญหาไป”

    “นี่คือผลแห่งการปฏิบัติ นิยมไหมว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เพศหญิง เพศชาย กิเลสกับธรรมไม่มีเพศ จิตผูกได้ด้วยกันทั้งนั้น แก้ได้ด้วยกัน นี่ผลแห่งการแก้ การบำเพ็ญ จะเป็นฆราวาสก็ตามก็เป็นอย่างให้เห็นอยู่นี้แหละ นี่เป็นอยู่ที่จิต ผู้ปฏิบัติต่อจิตเป็นอย่างนี้ และผู้ไม่เป็นอย่างงั้นก็ค่อยเป็นมาโดยลำดับ ขอให้ได้รับการบำรุงรักษาเถอะ จะค่อยเป็นค่อยไปของมันอยู่นั้นละ” (อ่านเทศน์อบรมฆราวาส วันที่ 4 พ.ย. 2546 เรื่องพื้นฐานแห่งความสำเร็จในธรรมที่ http://www.luangta.com หรือที่ http://www.luangta.c...D=2432&CatID=0)

    หลายปีต่อมา หวีด บัวเผื่อน หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลุงหวีดได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติขึ้นเล่มหนึ่งใช้ชื่อว่า “จิตที่พ้นจากทุกข์”

    การปฏิบัติของคุณลุงหวีดเริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ

    [​IMG]

    ท่านว่าถึงจะออกมาจากการภาวนาแล้วก็ “ต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึกหรือรู้ตัวทั่วพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาโดยมีความเพียรเป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ ไม่ไหลไปตามอารมณ์...”

    แรกๆ ก็ทำไม่ได้แต่อาศัยความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นให้จงได้ จึงมีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเอง

    ด้วยวิธีนี้ “จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึ้นจากนาที เป็นสองสามนาที เป็นสิบนาที เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เป็นวันโดยใช้เวลาไม่นานปีนัก”

    ที่ทำได้เพราะท่านมุ่งมั่นโดยตั้งปฏิญาณไว้กับตนเองว่า ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะต้องมีสติอยู่ด้วย แต่ถ้าขาดจากสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ก็ขออย่าได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเลย เพราะถ้าเราเอาชนะตนเองไม่ได้แล้วจะเอาชนะสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร...คนเราถ้าอยู่อย่างขาดสติสัมปชัญญะแล้วก็เหมือนกับเรือที่ขาดหางเสือ
    ท่านคอยเตือนตัวเอง คอยควบคุมให้มีสติคุ้มครองจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน

    “ให้จิตเป็นปกติ คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นธาตุแห่งอารมณ์ดีหรือชั่วทั้งหลาย พยายามไม่พูดในจิต ไม่คิดในใจ เมื่อตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น เช่น เห็นป้ายโฆษณาก็ไม่อ่านในใจ มีสติอยู่กับสมาธิให้จิตเป็นอุเบกขา วางเฉยอยู่อย่างเบาๆ ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่มากระทบใดๆ ทั้งสิ้น

    วันหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา หากเผลอตัวไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ เมื่อรู้ตัวก็หยุดคิด หยุดปรุงแต่ง หยุดแสวงหา ให้จิตใจอยู่อย่างสบาย ไม่กังวล หยุดโกรธ หยุดโลภ หยุดปรารถนา”

    ผลของการปฏิบัติเช่นว่า ในที่สุด จิตของก็เป็นสมาธิขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์
    กล่าวคือ ภายในจิตใจไม่มีสังขารความคิดหรืออารมณ์ดีชั่วใดๆ มาก่อกวนเลย...บางครั้งจะคิดเรื่องการงานบ้าง แต่จิตกลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ออกทำงานเลย ติดว่างอยู่อย่างนั้น ถึงกับต้องบังคับให้จิตออกมาคิดเรื่องอื่นๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นจิตจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา...”

    ท่านว่าตอนนั้นนอนใจคิดว่าที่เป็นอยู่ถูกต้องแล้ว ไม่รู้ว่า นี่คือการติดสมาธิ ผลคือ ติดความว่างอยู่ถึง 2 ปีเต็มๆ

    แม้จะส่งผลเช่นนั้น แต่คุณลุงก็ยืนยันว่า “อย่างไรก็ดีการปฏิบัติให้จิตเป็นสมาธินั้นเป็นทางเดินเบื้องต้นที่ถูกต้อง ท่านให้ชี่อว่า สมถกรรมฐาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ”

    ท่านว่า การปฏิบัติต้องมีความเพียรเป็นหลัก ทุ่มเทกันด้วยชีวิตจิตใจไม่ท้อถอย ปฏิบัติดังนี้แล้ว จิตจะเกิดความชุ่มชื้นสงบเย็น ความภาคภูมิใจและความปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก

    จากสมถะก็เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน คือ การพิจารณากายที่ยาววาหนาคืบนี้ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง

    ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะ “จิตที่ติดอยู่สมาธิจะเพลินอยู่ในสมาธิ ยากจะออกมาพิจารณาจึงต้องบังคับจิตให้ออกมาทำงานทางด้านปัญญาบ้าง โดยต้องฝืนและบังคับซึ่งก็ไม่เป็นผลนักในตอนแรก แต่ก็จำเป็นต้องออกมาพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้ว...”

    ท่านแก้โดย ลองเอากรรไกรตัดผมตัวเองออกมาพิจารณาดู ตัดเล็บที่ปลายนิ้วทั้งสิบออกมาวางไว้กับพื้นแล้วพิจารณาดู

    “พิจารณาวนเวียนไปวนเวียนมา ก็ไม่เห็นว่ามันจะเป็นเราไปได้...หากเราลอกหนังที่ปิดบังอยู่นี้ออกมาเพื่อเปิดเผยความจริง เหมือนเราลอกหนังเป็ดหนังไก่หรือหนังกบก็คงจะเห็นเนื้อแดงๆ เลือดไหลซึม ไม่แตกต่างอะไรกับพวกซากศพ ผีเปรต...”

    ความรู้นี้แจกแจงลงไปเป็นธาตุ 4 ค่อยๆ เห็นความจริงขึ้นว่า “...กายคือกาย จิตคือจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็นความไม่รู้ของจิตเองที่ไม่รู้ความจริง แล้วก็ไปยึดถือร่างกายเป็นเรา...”

    ท่านพิจารณาจนนับครั้งไม่ถ้วน “จนบางครั้งจิตเป็นคนที่เดินไปเดินมานี้เป็นกระดูกที่ไม่มีเนื้อหนังหุ้มอยู่ เห็นเพียงกระดูกเปล่าๆ ที่เดินไปเดินมาจึงสรุปได้ว่าจิตกับกายเป็นคนละส่วนกันไม่ปะปนกัน กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวของจิตเท่านั้น จิตก็เริ่มยอมรับตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ...”

    ท่านว่า เมื่อถึงการพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไปติดอยู่ที่การพิจารณาเวทนาอยู่นานมาก แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสไว้ว่า เวทนาก็ไม่ใช่เรา แต่พิจารณาอย่างไร จิตก็ไม่ยอมรับ เพราะรู้สึกอยู่กับตัวว่า ความปวดเมื่อยจากการทำสมาธินั้น “เราเป็นผู้ปวดเมื่อยทุกครั้งไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยังคิดว่า “เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เป็นเนื้อเดียวกันหมด”
    บัดที่จะทะลุขึ้นนี้ไปได้จู่ๆ มันก็เกิดขึ้นดังนี้

    “วันหนึ่งขณะที่จิตกำลังสงสัยอยู่ พิจารณาใคร่ครวญวกไปเวียนมาอยู่หลายรอบ เพื่อหาความจริงว่าเวทนาเป็นเราหรือไม่ ขณะนั้นเอง คล้ายกับเกิดนิมิตขึ้นในจิต เห็นเวทนาได้ลอยออกจากจิตของข้าพเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เวทนานี้ขาดออกจากจิตโดยสิ้นเชิง รู้สึกชัดเจนมาก เหมือนเราเอามีดไปฟันต้นกล้วยขาดกระเด็นออกจากกัน เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา เวทนานั้นก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเวทนา เพราะเวทนา ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ เวทนาจึงเป็นเพียงขันธ์ๆ หนึ่งปรากฏขึ้นมา เป็นคนละส่วนกันกับธาตุรู้หรือจิต...”

    คุณลุงจึงเปรียบเทียบไว้ว่า ธาตุรู้หรือจิตเป็น กระจก เวลาเวทนาเกิดขึ้น กระจกจะไปเจ็บได้อย่างไร เพราะธาตุรู้หรือจิตเป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ กระจกกับเวทนามันคนละอัน

    ท่านว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้เจ็บ จิตไม่ใช่ผู้เจ็บ ความเจ็บมันมาจากสัญญาจำได้ ถ้าเราเป็นกระจก หากเวทนา เหมือนเม็ดพริกขี้หนู เม็ดพริกขี้หนูไม่รู้เลยว่าตัวเองเผ็ด เพราะไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจ และไม่มีเจตนาที่จะทำให้ใครเผ็ด ความเจ็บความปวด ก็ไม่มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถทำให้ใครเจ็บปวดได้

    “หากไม่เข้าใจความจริงนี้ความเจ็บความปวดนั้นก็จะเป็นเรา คือเราเจ็บ โดยไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่หากเข้าใจความจริงนี้แล้ว เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ก็เป็นความจริงอันหนึ่ง อาการเจ็บก็เป็นเพียงอาการและความจริงอันหนึ่ง และธาตุรู้หรือจิตก็เป็นผู้รู้ซึ่งเป็นความจริงอีกอันหนึ่งเช่นกัน ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าความเจ็บความปวดเราเป็นของเราแต่อย่างใด”

    สัญญา ก็ไม่แตกต่างจากเวทนา
    สัญญาก็เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจเหมือนกัน เป็นของตาย คือ เกิดๆ ดับๆ แล้วจะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกัน สิ่งที่ติดตาติดใจ ก็คงจำได้นานหน่อยถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ติดใจก็ดับเร็วลืมเร็ว

    สัญญาจึงไม่ใช่เราเหมือนกับเวทนานั่นเอง
    สังขาร ความคิดความปรุงแต่ง ก็เป็นอาการและความจริงของตนอีกอันหนึ่งเช่นกัน คือคิดแล้วดับไป ปรุงแล้วดับไป

    ปัญหาของคุณลุงในข้อนี้ก็คงเหมือนกับนักปฏิบัติทั่วไปที่เข้าวัดแล้วบางทีก็อดตำหนิติเตียนครูบาอาจารย์อยู่ในใจ แม้จะห้ามไม่ให้คิดแล้วบางทียิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เมื่อนำปัญหานี้ไปปรึกษาครูบาอาจารย์ ท่านก็ได้แก้ไขปัญหาด้วยประโยคเดียว

    ทันทีที่ครูบาอาจารย์ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอกโยม เพียงแต่โยมอย่าไปคิดว่าสังขารความคิดเป็นโยมก็แล้วกัน” คุณลุงว่า “ความรู้สึกของข้าพเจ้าในขณะนั้นเหมือนยกภูเขาออกจากอกโล่งไปหมด เข้าใจได้ในทันทีว่า สังขารความคิดมีอาการและความจริงเช่นนี้ บังคับไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งถูกรู้ เป็นคนละอันกับจิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์อยู่อย่างนั้น”

    เรื่องของวิญญาณ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้รับการสัมผัส ใจสัมผัสอารมณ์ เมื่อมีการกระทบกันทางอายตนะทั้ง 6 ดังกล่าวข้างต้น อาการของวิญญาณก็จะรับทราบการกระทบนั้นเป็นครั้งๆ เป็นเรื่องๆ ไป กระทบครั้งหนึ่งรับทราบครั้งหนึ่งแล้วก็ดับไป รับทราบแล้วดับ รับทราบแล้วดับ ไม่ใช่ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เช่นเดียวกัน

    ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า “ขันธ์ 5 ทั้งหมดมิใช่เรามิใช่ของเรา เป็นเพียงอาการของจิต มีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ 5 เป็นเพียงสิ่งถูกรู้ และเราเป็นผู้รู้สิ่งเหล่านี้เท่านั้น”

    เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเราของเรา ปัญหาสำคัญตามมาคือ แล้วเราคืออะไรล่ะ?

    คุณลุงว่าค้นอยู่นาน ที่สุดเมื่อถามครูบาอาจารย์ก็ได้คำตอบว่า “เราคือความรู้สึกหรือธาตุรู้”

    “ธาตุรู้นี้ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่เราเรียนมาจากหนังสือไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู สัมผัสด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น และสัมผัสด้วยกาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งถูกรู้ทั้งหมด จึงไม่ใช่ธาตุรู้ ธาตุรู้นี้มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในสามแดนโลกธาตุนี้ สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดไม่ใช่ธาตุรู้ แม้แต่อารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยใจของเรานี้ ก็ยังไม่ใช่ธาตุรู้ แต่เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เท่านั้น นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำเป็นจะต้องพิจารณาให้เห็นธาตุรู้นี้ให้ได้ เพราะธาตุรู้นี้แหละคือเรา ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ ที่ก่อนหน้านี้เห็นว่าเป็นเรา

    ธาตุรู้หรือจิตนี้ เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน แต่กลับไม่เคยเห็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมธาตุนี้มาก่อนเลย ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ว่า “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ หนอนไม่เห็นอาจม”

    “จากนั้นมาข้าพเจ้าจึงพยายามอยู่กับธาตุรู้ ถึงแม้ในตอนแรกจะขาดๆ หายๆ อยู่ได้เพียงหนึ่งนาทีสองนาทีก็หายไป เมื่อได้สติก็พยายามดึงกลับมาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาหลับ ในที่สุดด้วยความเพียรอย่างยิ่งของข้าพเจ้าทำให้สามารถอยู่กับผู้รู้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ได้ครบ 100% และสามารถอยู่กับธาตุรู้ได้อย่างอัตโนมัติ

    ท่านว่า ติดอยู่กับผู้รู้เป็นเวลาสองปีเต็มๆ ในที่สุดพระอาจารย์ของคุณลุงก็มาเทศน์โปรดให้ปล่อยธาตุรู้

    “โยมจะจับไว้ทำไมกันปล่อยไปเสียนะโยม ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักเท่ารู้อีกแล้ว โยมจะจับไว้ทำไมกัน”

    พอว่า “ผมปล่อยไม่เป็นหรอกครับอาจารย์ ปล่อยไม่ได้ ไม่รู้จะปล่อยอย่างไร” พระอาจารย์ก็หยิบหนังสือขึ้น แล้วก็ปล่อยลงมา “ปล่อยอย่างนี้แหละโยม ปล่อยได้ไหม”

    แม้ครูบาอาจารย์จะช่วยโปรดหลายหนมาที่บ้านถึง 7 ครั้ง ไปกราบที่สำนัก 3-4 หนก็ไม่ได้ผล เพราะปรารภกับตัวเองว่า “ธาตุรู้นี้เป็นชีวิตจิตใจแล้วเราจะปล่อยวางได้อย่างไร”

    ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2536 ขณะที่คุณลุงเตรียมตัวออกจากสำนักพระอาจารย์กลับบ้านในเวลา 4 โมงเย็น โดย “คิดอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่าชาตินี้คงไม่มีวาสนาที่จะสามารถปล่อยรู้ได้ ทันใดนั้นอาจารย์ได้กล่าวขึ้นว่า “โยม เวลามีสิ่งกระทบโยมก็ปล่อยรู้แล้วมาจับสิ่งที่มากระทบ แต่ในขณะที่ไม่มีสิ่งกระทบ โยมก็มาอยู่กับธาตุรู้อีก เอาอย่างนี้ได้มั้ยโยม เมื่อมีสิ่งกระทบ โยมก็ปล่อยทั้งสองอย่างไปเลย เวลานี้โยมเปรียบเหมือนหนอนคืบ เมื่อมาจับที่หัวก็ปล่อยหาง เมื่อจับหางก็ปล่อยหัว ให้โยมปล่อยทั้งสองอย่างไปเลยได้มั้ย”

    “เท่านั้นเอง ข้าพเจ้าถึงกับตะลึง สะดุ้งขึ้นในใจและขณะเดียวกันนั้น ทั้งธาตุรู้และสิ่งถูกรู้เหมือนมีพลังหนึ่งมาสะบัดอย่างรุนแรงธาตุรู้ และสิ่งถูกรู้นั้นกระเด็นออกไปทันที และเกิดธาตุรู้อีกตัวหนึ่งซึ่งเป็นรู้ภายใน คือตัวที่มองธาตุรู้ตัวแรกและสิ่งถูกรู้ที่กระเด็นออกไป ปรากฏเป็นรู้ปัจจุบันขึ้นมาทันที เป็นธาตุรู้ที่ไม่ต้องประคองไม่ต้องจับ ไม่ต้องกำหนด

    “ธาตุรู้นี้ไม่มีหาย ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ธาตุรู้ตัวใหม่นี้เป็นอิสรเสรี โดยที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของเหมือนแต่ก่อน เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปัจจุบันธรรม เป็นกลางๆ ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ไม่กินเนื้อที่ ปราศจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งสิ้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนมาก สมมติที่ฝังจมอยู่ในจิต คือธาตุรู้ตัวแรกนั้นดับไป ภพชาติทั้งหลายที่ติดแน่นอยู่ในจิตนานแสนนานได้ดับลงพร้อมกันในขณะนั้น อวิชชาดับไปโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งประกาศชัยชนะเหนือกิเลสทั้งหลายอย่างขาวสะอาด ในสามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นกลับตัวเป็นธรรมพร้อมกันหมดทั้งภายในและภายนอก

    “ความเป็นกลาง ความสะอาด ความบริสุทธิ์นั้น ก็หมายถึงจิตดวงนี้เอง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือ จิตดวงนี้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ซึ่งก็คือ การเห็นจิตที่บริสุทธิ์ ณ ปัจจุบันนั่นเอง

    “จิตที่บริสุทธิ์จึงเป็นจิตที่อยู่นอกเหตุเหนือผล เหนือสมมติ เหนือบัญญัติ เหนือเกิด เรียกว่า เป็นวิมุตติ หมดภาระ หมดสิ้นการงาน หมดคำพูด จึงหยุดแล้วปล่อยคำว่าหยุดลงเสียด้วย สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ‘ไม่มีธรรมใดที่ไม่เป็นโมฆะ’ นั่นหมายความว่า สมมติทั้งหลายที่เคยติดแน่นในจิตเมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสมมตินั้นแล้ว สมมติก็เป็นโมฆะหรือหมดความหมายไป”

    คุณลุงหวีด บัวเผื่อน เพิ่งละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีพิธีประชุมเพลิง ณ วัดเขากระแจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ทิ้ง “จิตที่พ้นจากทุกข์” ไว้เป็นหลักไมล์และป้ายบอกทางให้แก่ผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ไว้ข้างหลังได้ศึกษา

    หวีด บัวเผื่อน...จิตที่พ้นทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  2. ประเสริฐ2522

    ประเสริฐ2522 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    658
    ค่าพลัง:
    +409
    อ่านแล้วดีจังเลยครับ เห้อทำยากจริงๆๆ อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ
     
  3. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    อนุโมทนาครับ ได้สาระธรรมมากๆ

    แต่มีข้อสงสัยอยุ่ว่า ถ้าบรรลุแล้ว(ทิ้งจิตผู้รู้)
    เพศฆราวาสจะไม่สามารถอยู่ได้เกินหนึ่งวัน
    เพราะอรหัตตผล สะอาดบริสุทธิเกินกว่าที่จะอยู่
    เพศฆราวาศได้...
     
  4. จิตสดใส

    จิตสดใส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +1,260
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044
    จะค่อยๆนำไปปฎิบัติตามสติปัญญาค่ะ ขออนุโมทนากับลุงหวีด และเจ้าของกระทู้ด้วย

    ค่ะ
     
  6. wiraj

    wiraj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    390
    ค่าพลัง:
    +1,620
    โอ น่าเสียดายครับ ผมกำลังตามหาอยู่เลยว่าท่านอยู่ไหน

    ผมเป็นคนจันทบุรีเหมือนกันครับ
     
  7. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    อนุโมทนาครับ ได้สาระธรรมมากๆ

    แต่มีข้อสงสัยอยุ่ว่า ถ้าบรรลุแล้ว(ทิ้งจิตผู้รู้)

    เพศฆราวาสจะไม่สามารถอยู่ได้เกินหนึ่งวัน
    เพราะอรหัตตผล สะอาดบริสุทธิเกินกว่าที่จะอยู่
    เพศฆราวาศได้...<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ..<!-- google_ad_section_end -->

    ......................................................


    ...แต่ก่อนผมก็คิดเหมือนท่าน ..พอได้ฟังประวัติองค์หลวงตา...ผมเลยรู้ อรหันตผล ไม่ได้เป็นเพชฆาตฆ่าคน....(ผมจำคำหลวงตามาเล่าครับ)
     
  8. wiraj

    wiraj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    390
    ค่าพลัง:
    +1,620
    ผมสงสัยอยู่เหมือนกันว่าพระอรหันต์ต้องบวชหรือไม่

    แต่ถ้าเรานึกถึงท่านชีแม่แก้ว ท่านก็เป็นอุบาสิกานะครับ ไม่ใช่ภิกษุณี

    ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ชาย สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วไม่ออกบวชเป็นพระภิกษุ

    แต่เป็นอุบาสก น่าจะเทียบกันได้ไหมครับ

    ขอความเห็นจากท่านผู้รู้ด้วยครับ
     
  9. navigator_th

    navigator_th สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +8
    http://palungjit.org/threads/ทำ-ไ-ม-พ-ร-ะ-อ-ร-หั-น-ต์-จะ-ฝัน-ไม่-ได้.262109/

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าถึงความฝันของพระอรหันต์เอาไว้ว่า เรื่องความฝันนี้ก็เป็นเรื่องของธาตุของขันธ์ ทำไมพระอรหันต์จะฝันไม่ได้ ขันธ์ห้าเป็นสิ่งที่กระดุกกระดิกได้เหมือนทั่วๆไป ท่านบรรลุมรรคผลนิพพาน ท่านสังหารขันธ์ห้าให้ฉิบหายไปแล้วหรือ ขันธ์ทั้งห้านี้จึงดีดจึงดิ้นไม่ได้ การดีดได้ดิ้นได้ก็ฝันได้น่ะสิ ขันธ์เป็นขันธ์ทำไมจะฝันไม่ได้ พูดตัวอย่างให้ชัดๆ ก็อย่างพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น วันนั้นท่านไม่ค่อยสบาย แล้วท่านนอนหลับ ท่านละเมอไป เราเดินจงกรมอยู่ข้างๆนั้น เราก็ปุ๊บปั๊บ แต่ท่านเร็วนะ ท่านคงได้ยินเสียงเราเดินฉุบฉับๆเข้าไป ใคร ท่านว่างั้น เราก็กราบเรียนท่านว่า ผมมหาได้ยินเสียงพ่อแม่ครูอาจารย์ดังผิดปกติ เราก็กราบเรียนท่านว่าอย่างงั้น อ๋อ ฝันล่ะสิ ฝันเมื่อตะกี้นี้ ฝันเรื่องเกี่ยวกับหมา ดุหมาไล่หมา พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านว่าอย่างนั้น ที่ว่าถ้าสำเร็จธรรมขั้นสูงสุดคืออรหัตภูมิแล้วถ้าไม่ได้บวชจะตายภายในเจ็ดวันก็เหมือนกัน ทำไมคิดเหมือนกันนะ วิสุทธิธรรมหรือวิสุทธิจิตนี้เป็นเพชรฆาตฆ่าขันธ์ห้าเชียวหรือ อันนี้ไม่ใช่เพชรฆาตนี่น่ะ สิ่งใดที่ควรไม่ควรพระอรหันต์ท่านจะรู้ของท่านเอง ถึงขั้นนี้แล้วจะไม่มีใครมาบอกก็ตาม ท่านจะรู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องขันธ์ของท่าน เหตุใดจะต้องไปตายภายในเจ็ดวันด้วย

    น้อมเคารพพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยเศียรเกล้า
    ผิดพลาดประการใด ลูกหลานขอ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้นด้วยเถิด

    ที่มา : แถบเสียง ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จากหนังสือ “พ่อแม่ครูอาจารย์” ชึ่งเรียบเรียงโดย พระอาจารย์มหาธีรนาถ อคฺคธีโร และท่านใด้อ่านและบันทึกเสียง ที่วัดป่าภูผาสูง แถบเสียง ประวัติหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน | วัดป่าภูผาสูง
     
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    กัลยาณมิตรธรรมส่งหนังสือ “จิตเป็นอมตะ” ซึ่งเพิ่งพิมพ์เมื่อเดือนก่อนมาให้ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของคุณลุงหวีด บัวเผื่อน ฆราวาสบรรลุธรรม และแนวทางปฏิบัติของท่าน

    กัลยาณมิตรธรรมส่งหนังสือ “จิตเป็นอมตะ” ซึ่งเพิ่งพิมพ์เมื่อเดือนก่อนมาให้ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของคุณลุงหวีด บัวเผื่อน ฆราวาสบรรลุธรรม และแนวทางปฏิบัติของท่าน

    เนื้อหาสองส่วนนี้สอดคล้องต้องกันกับเจตนารมณ์ของผู้จัดทำต้นฉบับซึ่งประกาศเจตนาของการทำหนังสือไว้ว่า “...เป็นหนังสือที่ต้องการบอกให้ทุกคนที่ต้องการแสวงหาความสุขทางใจได้รับรู้ว่า ไม่ว่าท่านจะอยู่ในสภาพไหน อย่างไร ก็มีสิทธิปฏิบัติธรรมและได้รับผลแห่งการปฏิบัติสมควรแก่ธรรมนั้นๆทั้งสิ้นทุกคน...” นั่นประการหนึ่ง

    อีกประการหนึ่งคือ “...ในหนังสือยังกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติของคุณลุง ตลอดจนธรรมะที่คุณลุงเห็นว่า สำคัญที่สุด อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาคือ ‘รู้’ และธรรมอื่นๆ อันเป็นแก่นของพุทธศาสนา”

    ในส่วนแรกที่ว่านั้น พึงทราบว่าคุณลุงหวีดเป็นแรงบันดาลใจของผู้คนจำนวนมากเพราะท่านเป็นคนพิการ แต่อย่างที่ผู้จัดทำต้นฉบับได้ระบุไว้คือ ขอเพียงเราเป็นผู้แสวงหาความสุขทางใจ ไม่ว่าเราจะอยู่ในสภาพไหน อย่างไรเราก็ปฏิบัติธรรมได้และย่อมจะได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้นๆ โดยสมควรแก่ธรรมทั้งสิ้น

    [​IMG]

    ไม่เพียงแต่คุณลุงจะไม่เอาข้อจำกัดทางร่ายกายมาเป็นอุปสรรคบั่นทอนตนเอง หากแต่กลับนำสิ่งที่คนอื่นอาจจะคิดว่าเป็นจุดด้อยพลิกมาเป็นจุดแข็งอีกต่างหากนั่นคือ เมื่อคุณลุงหวีดย้ายจาก ต.หนองบัว มาอยู่ที่เขาไร่ยา จ.จันทบุรี นั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งมาแนะนำคุณลุงว่า

    “สภาพร่างกายที่พิการอย่างคุณลุง ไปไหนมาไหนไม่ได้แบบนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีในการรักษาศีลห้า เพราะจะไปเที่ยวลักทรัพย์ใครก็ไม่ได้ ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ไม่ได้ และโดยนิสัยคุณลุงก็ไม่ใช่คนชอบมุสาอยู่แล้ว เรื่องไปผิดลูกผิดเมียใครก็ไปไม่ได้ สุราของมึนเมา คุณลุงก็ไม่ดื่มไม่แตะ ดังนั้นศีลห้าของคุณลุงก็นับว่า แทบบริบูรณ์ ขาดแต่เพียงเจตนาเท่านั้น ขอเพียงคุณลุงตั้งใจเจตนาว่าจะรักษาศีลห้า ศีลห้าก็จะบริบูรณ์ทันที...”

    คุณลุงหวีดจึงสมาทานศีลห้ามาตั้งแต่บัดนั้น
    เส้นทางของการได้ครูดี ศิษย์เป็นคนมีปัญญาจึงเริ่มขึ้น

    พิจารณาแล้วก็น่าคิดว่า โลกไม่เคยตัดรอนใคร สมดังคำกล่าวที่ว่า ในดีมีเสีย ในเสียมีดีจริงๆ

    เส้นทางการปฏิบัติธรรมของคุณลุงหวีดมีช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญหลายตอน แต่ที่กลายเป็นฐานอันมั่นคงในกาลถัดมาเกิดขึ้นในปี 2530 เมื่อพระอาจารย์ของท่านสอนให้ท่านปฏิบัติ โดย “พยายามให้มีสติ หยุดความคิด อย่าให้มีความคิด เพราะความคิดเป็นต้นเหตุของความทุกข์”

    เมื่อจับอยู่กับสติได้แล้วขั้นต่อไปคือ “เมื่อมีสติแล้ว พอมีความคิด เราก็จะเห็น เมื่อเห็นความคิด ก็หยุดซะ อย่าให้มันมีต่อไปให้ยาวนัก...”

    สิ่งที่ท่านมาประยุกต์เอาในการปฏิบัติจริงคือ “พยายามมีสติให้ได้ทั้งวันทั้งคืน ช่วงแรกๆ ทำได้นิดเดียว แวบหนึ่งก็ขาดสติแล้วแต่ด้วยความที่คุณลุงไม่ยอมแพ้ ตั้งใจแน่วแน่ว่า จะทำตรงนี้ให้จงได้ ตอนนั้นคุณลุงเข้าใจว่า สติก็คือ ตัวตื่นที่ใจ แล้วก็จับเอาตรงนั้นไว้เรื่อยมา เวลาขาดสติก็ระลึกขึ้นมาให้ตื่นที่ใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้ตื่นที่ใจเอาไว้ จะคิดจะพูดจะทำอะไรก็ให้ตื่นที่ใจไว้ จับตรงนี้...”

    สิ่งที่เกิดตามมาคือ “มันให้ผลเร็ว สติเริ่มต่อเนื่อง ต่อมาก็ทำได้นานขึ้น สติยาวเป็นสาย ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไร รู้สึกว่ามีสติตลอด หลังผ่านไป 2 ปีคุณลุงสามารถมีสติได้ตลอดเวลา ไม่มีความคิดแทรกเข้ามาเลย อยากจะหยุดความคิดเมื่อไหร่ มันก็หยุดได้ในทันทีอย่างง่ายดาย”

    พระอาจารย์ท่านว่า ตรงนี้มันถูกจุดที่สุด จะนำไปสู่การหลุดพ้น!

    หลังจากนั้นท่านก็ได้เห็นทุกข์ ได้พบความว่าง ได้รู้จักความว่างที่แท้จริง ได้พิจารณาโดยมีสติรู้ตลอดเวลาแล้วรู้ว่า การพิจารณาตามความเป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร ได้พิจารณาจนเวทนาขาดจากจิต ได้รู้ว่าเวทนาไม่ใช่จิต สัญญาไม่ใช่จิต สังขารความคิดก็เป็นคนละอันกับจิต วิญญาณก็ไม่ใช่จิต

    เมื่อเวทนาขาดจากจิต ก็ได้ทบทวนใหม่ว่า จากเดิมที่เข้าใจว่า สติเป็นเรา ไม่เกี่ยวกับขันธ์ห้าเลยนั้น แท้จริงแล้วเราคือใคร?

    ท่านว่าระหว่างนั้น “เราก็มาอยู่กับสติตามเดิมแต่รู้แล้วว่า สติ คือ ความระลึกได้เท่านั้นเอง ที่เราไม่ขาดจากจิตก็เพราะมีสติระลึกอยู่...”

    เมื่อผ่านด่านนั้นมาแล้ว ท่านจึงสรุปภาวะที่เกิดขึ้นตอนนั้นว่า “...ตอนนั้นมันยังมีอุปทานอยู่ว่า เราก็คือ จิตนั่นแหละคือ ความรู้สึกอันนี้ แต่กาย ขันธ์ห้าไม่เกี่ยว (กับจิต)...รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เกี่ยว เรียกว่า เราไปอยู่กับความรู้สึก (ซึ่งก็คือจิต) ในขณะนั้น”

    ต่อมาท่านพบว่า จิตกับสติเป็นคนละสิ่งกัน

    ฉะนั้นวิหารธรรมของท่านจึงกลายเป็นว่า “...ตอนนี้เราไม่ได้ใช้สติแล้ว มันมาอยู่กับจิตโดยตรง”

    และนั่นทำให้ท่านได้ข้อสรุปว่า “เราคือจิต จิตคือเรา จิตคือรู้ รู้คือจิต”
    สภาวะของจิตอยู่กับจิตนั้นเป็นอย่างไร

    คุณลุงหวีดเล่าไว้ว่า จากที่เมื่อก่อนต้องคอยประคองสติให้จ่อกับผู้รู้หรือจิต เวลานี้ไม่ต้องประคอง คือ เป็นรู้โดยอัตโนมัติ จิตทรงอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ชัดเจนอยู่ข้างในว่านี่คือ เรา...”

    เราที่ว่าก็คือ “เราคือจิต จิตคือเรา จิตคือรู้ รู้คือจิต”

    ถึงขนาดนั้นแล้วก็ยังไม่ใช่ที่สุด

    พอรู้และอยู่กับรู้ ไป “ตั้งรู้อยู่นั้น” ผลคือ “รู้ ตัวนี้มันหนัก...มันเหมือนกับเราหิ้วหรือหาบอะไรอยู่ตลอดเวลา”

    เมื่อตามไปขอรับการชี้แนะจากครูบาอาจารย์ท่านก็แนะให้ “ให้ปล่อย ‘รู้’ เสีย...”

    ท่านว่าจากนั้นมาก็จนด้วยเกล้าไม่รู้จะปล่อยอย่างไร เพราะเราคือตัวนี้...ถ้าปล่อยมันก็คือ ตาย มันจะไม่มีเราไปได้ยังไง...มันจนด้วยเกล้า”

    เราคือตัวนี้ เพราะสรุปไว้ว่า “เราคือจิต จิตคือเรา จิตคือรู้ รู้คือจิต”

    วนเวียนอยู่กับภาวะ จะปล่อยยังไง ไม่ปล่อยก็ผิด ปล่อยก็ปล่อยไม่เป็น อยู่ 2 ปี วันหนึ่งตามไปกราบพระอาจารย์รูปดังกล่าวที่ภาคใต้ แนะกันยังไงมันก็ไม่ตก ไม่คลาย ท่านว่าเราคงไม่มีวาสนาบารมีแล้ว ไม่มีปัญญาแล้ว มันจนปัญญาจริงๆ รถก็กำลังจะออก ในเวลานั้นหน้าลุงหวีดมีแก้วอยู่ 2 ใบ พระอาจารย์ท่านจึงหยิบแก้ว 2 ใบนั้นมาตั้งเรียงกันแล้วกล่าวขึ้นว่า

    “โยม...เวลามีสิ่งมากระทบ โยมก็กระโดดจากแก้วนี้ไปอยู่แก้วนี้ เวลาไม่มีกระทบ โยมก็กลับไปอยู่ตัวเดิม คือ มันจับทั้งสองตัวใช่ไหม ปล่อยหัวจับหาง จับหางปล่อยหัว มันก็ไม่ปล่อยสักทีใช่ไหม เอาอย่างนี้ได้ไหมโยม ให้ปล่อยทั้งหัวทั้งหางเลย คือ เวลามีสิ่งกระทบ โยมปล่อยไปทั้งสองตัวเลย อย่างปล่อยตัวเดียว”

    “ท่านพูดเท่านั้นเองล่ะก็ดีดพัวะ...เหมือนกับตอนเวทนาที่หลุดลอยออกไป มันเหมือนที่รู้ที่เราจับไว้ มันดีดผึงออกไปจากใจ ถึงตอนนั้นเรารู้ทันทีว่า โอ้โฮ ความเป็นอิสระมันเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นกลางมันเป็นอย่างนี้ สิ่งเราไม่ต้องรักษามันเป็นอย่างนี้ คือ เขาเป็นของเขาเอง ไม่มีเรา

    เรานี่ดับพรึ่บไปเลย มันเหลือแต่จิตล้วนๆ จริงๆ ความรู้สึกที่เบา ไม่เป็นภาระเหมือนรู้ตัวก่อน

    รู้ตัวแรกมันเป็นภาระ เราประคับประคองไว้ ประคบประหงมเอาไว้เป็นอย่างดีเลย กลัวมันหลุดลอยไป เราไปหมายรู้ไว้อย่างชัดเจน แต่เราไม่รู้เลยว่าเราหมาย เอา “เรา” นี่แหละไปหมาย

    พอเราหมายปุ๊บ รู้นั้นเป็นอวิชชาทันที แต่พอปล่อยปุ๊บ มันก็มีรู้ที่ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกำหนด ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งสิ้น จิตที่เป็นกลางๆ เป็นปัจจุบันธรรมขึ้นมา ก็คือ รู้ที่เกิดใหม่ขึ้นมานี้เอง รู้เลยว่าจิตที่เป็นปัจจุบันธรรมเป็นอย่างนี้ จิตเป็นกลางเป็นอย่างนี้ ทั้งหมดทั้งปวงมันอยู่ในนี้หมดเลย ปล่อยตัวรู้ตัวเดียวมันเข้าใจหมด”

    ความนี้ทำให้ระลึกถึงคำชี้แนะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งได้ชี้แนะ หลวงพ่อพุธ ฐานิโยว่า “พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต”
    ถามว่า ผู้รู้คืออะไร


    รู้ไว้ใช่ว่า ปฏิบัติถึงไม่ถึงไม่เป็นไร คุณลุงหวีดบอกไว้ว่า ผู้รู้สำหรับท่านนั้นหมายถึง “ความรู้สึกที่ตื่นขึ้นมาจากใจตัวเอง”

    “คำว่าตื่นในที่นี้ มันเป็นความรู้สึกตื่นขึ้นที่ใจของเรา ธรรมดาคนเรามันมีความรู้สึกอยู่แล้ว แต่มันส่งไปข้างนอก ความรู้สึกตัวนี้ มันปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ความรู้สึกที่มันจุดประกายขึ้นภายใน ธรรมดามันก็จุดประกายด้วยกันอยู่แล้ว เพียงแต่ของคนอื่นมันเอาไปใช้ข้างนอกหมดสิ้นเลย แต่ของผู้ที่มีรู้อยู่ภายใน มันแบ่งเอาไว้ครึ่งหนึ่ง แทนที่จะไปรู้ข้างนอกหมดเลย มันรู้ข้างในด้วยเหมือนกับแสงสว่าง แทนที่มันจะไปสว่างที่จุดเดียวแต่อันนี้มันสว่างข้างนอก สว่างข้างใน จิตของคนทั่วไปทั้งที่มันติดสว่างอยู่ข้างใน แต่เหมือนกับดับ กล่าวคือ มันไปสว่างข้างนอกแล้วมันมืดข้างใน ในขณะที่จิตของผู้รู้อยู่ภายใน มันสว่างจากข้างในไปถึงข้างนอก หมายถึงว่า มันสว่างในบ้านด้วย สว่างนอกบ้านด้วย เรียกว่า เป็นตัวตื่น...”

    ท่านเทียบให้เห็นว่า รู้ของคนทั่วไปนั้นมันเหมือนไฟฉายพุ่งเป็นลำไปที่ใดที่หนึ่งทางเดียว แต่รู้ของนักปฏิบัตินั้นเหมือนเทียน เหมือนพระอาทิตย์กล่าวคือ มันสว่างใจกลางกินบริเวณกว้างโดยรอบ เห็นตลอดทั้งตัวเราและสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา

    ท่านว่า เราต้องขวนขวายให้เจอผู้รู้ว่า มันคืออะไร

    ท่านว่า เทคนิคมันมีง่ายๆ เพราะทุกคนมี “รู้” อยู่แล้ว แต่ความรู้ต่างๆ ที่ได้ยินจากหู ได้กลิ่นจากจมูก ตาเห็นภาพแล้ว ฯลฯ นั้นไม่ใช่ผู้รู้

    เวลาเห็นผู้หญิงหรือกระป๋อง ทั้งผู้หญิง ทั้งกระป๋องมิใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้ถูกรู้ ส่วนผู้เห็นนั่นล่ะผู้รู้

    ท่านว่า “เข้าใจรู้ จับรู้ได้ ถือเป็นก้าวแรกของการรู้จักพระพุทธศาสนา เริ่มเข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนาแล้ว...”

    “ถ้าจับรู้ได้ก็เป็นการละกายอยู่แล้ว จะไม่ยึดว่ากายเป็นของเราอีก หรือละสักกายทิฏฐิ...”

    “หาผู้รู้ให้เจอ แล้วอยู่กับผู้รู้ให้ได้ 20-30% ในแต่ละวันแค่นี้ก็ปิดอบายภูมิได้แล้ว”

    “หาผู้ให้เจอ อยู่กับผู้รู้ให้ได้ 20-30% ในแต่ละวันก็ปิดอบายภูมิได้แต่หาเจอแล้วอย่าไปอยู่กับผู้รู้ เจอแล้วต้องปล่อยเพราะ “เมื่อปล่อย ‘รู้’ ได้ก็คือ ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด”

    “ผู้รู้ นั่นแหละ อวิชชา กิเลสตัวใหญ่ ฉะนั้นเราต้องปล่อยรู้”

    “ปล่อยรู้ ก็คือ ปล่อยอวิชชานั่นเอง”

    ทั้งหมดนี้มีแจกแจงแสดงไว้ใน “จิตเป็นอมตะ” ผมได้หนังสือนี้มาห่อหนึ่ง ใครอยากได้แจ้งที่อยู่มานะครับ

    อ้อ...ว่าเรื่องสำคัญไปหมดแล้ว แต่เรื่องหญ้าปากคอกประการหนึ่งที่มิอาจข้ามไปได้นั่นคือ ท่านว่า นิพพานมีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ปัจจุบันไม่ถึง อนาคตมันก็ไม่ถึง ใครไปหวังนิพพานชาติหน้าโน้นเทอญนั้น ผิด ท่านว่า ไม่ถึงชาตินี้ โอกาสอื่นไม่มี

    ต้องมาสู่ปัจจุบันนี้ จึงจะถึงได้ ถ้าไม่มีปัจจุบันจะมีอนาคตได้อย่างไร

    ไม่ถึงชาตินี้ โอกาสอื่นไม่มี

    ไม่ถึงชาตินี้ โอกาสอื่นไม่มี

    ไม่ถึงชาตินี้ โอกาสอื่นไม่มี

    หาผู้รู้ให้เจอ แล้วปล่อยผู้รู้ ทางที่ผ่านแล้วของลุงหวีด บัวเผื่อน
     
  11. yanathicha

    yanathicha สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +5
    ผู้ใดต้องการหนังสือ จิตที่เป็นอมตะ ติดต่อได้ที่เมล์นี้ค่ะ

    ท่านใดที่ต้องการหนังสือ จิตเป็นอมตะ สามารถแจ้งเข้ามาได้ที่ loongweedbook@gmail.com นะคะ ส่วนหนังสือ จิตที่พ้นจากทุกข์ มีเหลือเล็กน้อยเท่านั้น ตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างแก้ไข (คุณลุงหวีดได้สั่งให้แก้ไขก่อนที่จะเสียชีวิต) และจะพิมพ์แจกเป็นธรรมทานต่อไปค่ะ หนังสือสองเล่มนี้ คุณลุงหวีดมีความประสงค์ให้พิมพ์แจกเป็นธรรมทานเท่านั้น ไม่อนุญาติให้พิมพ์ขายค่ะ

    ตอนนี้กำลังทำ website ของคุณลุงหวีดอยู่ คาดว่าอีกประมาณ 2 อาทิตย์คงจะเสร็จ ในนั้นจะมีไฟล์ให้ดาวน์โหลดหนังสือด้วยค่ะ
     
  12. yanathicha

    yanathicha สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +5
    ตอบคุณ wiraj

     
  13. คอน ดอนแดง

    คอน ดอนแดง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    กลอนประกอบข้อแนะนำลุงหวีด บัวเผื่อน

    จิตคือพุทธะ

    <O:p</O:pอันพุทธะคือจิตสนิทนิ่ง<O:p></O:p>
    ไม่ไหวติงว่างเปล่าไร้เศร้าสันต์<O:p></O:p>
    ไม่ยึดติดรูป-นามธรรมเป็นสำคัญ<O:p></O:p>
    ไม่ยึดมั่นการปรุงแต่งแห่งจิตใจ<O:p></O:p>
    อันว่าจิตคือพุทธะละให้สิ้น<O:p></O:p>
    อย่ายึดกลิ่นรสรูปเสียงสำเนียงไหน<O:p></O:p>
    ความว่างเปล่าคือแก่นแท้จงแน่ใจ<O:p></O:p>
    จิตตื่นได้คือประตูสู่นิพพาน.<O:p></O:p>

    สติ-ผู้รู้(จิต)


    อันผู้รู้ก็คือจิตไม่ผิดพลาด<O:p></O:p>

    อายตนะธาตุแค่สื่อนำล้ำสมัย<O:p></O:p>
    จิตปรุงแต่งสมมุตินามตามปัจจัย<O:p></O:p>
    สัญญาหมายจดจำไม่ซ้ำกัน <O:p></O:p>
    เอาสติมาจับจิตคิดเรื่อยเปื่อย<O:p></O:p>
    อย่าให้เลื้อยเลี้ยวลัดผลัดแปลงผัน<O:p></O:p>
    อยู่คู่จนรู้ปล่อยทุกข์ปลุกจิตพลัน<O:p></O:p>
    สติมั่นกลางจิตอยู่ผู้ตื่นใจ.


    สมาธิ-พิจารณาขันธ์ห้า<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    อันกายหยาบคือสิ่งตายไร้ความคิด<O:p></O:p>
    ถูกหรือผิดร้อนหรือเย็นเช่นภูผา<O:p></O:p>
    กายละเอียดก็คือจิตคิดนำพา<O:p></O:p>
    ปรุงแต่งหาสัญญาหมายให้จดจำ<O:p></O:p>
    ขันธ์ทั้งห้ารวมเข้าไปในกายหยาบ<O:p></O:p>
    สื่อให้ทราบรูปเสียงกลิ่นรสอิ่มหนำ<O:p></O:p>
    สังขารแต่งแปลงจิตคิดชี้นำ<O:p></O:p>
    จิตเจ็บช้ำด้วยเวทนาพาทุกข์ตรม<O:p></O:p>
    จิตกับขันธ์อยู่ร่วมกันนั้นไม่เที่ยง<O:p></O:p>
    อย่าเบ่นเบียงว่าคือ เรา เฝ้าสร้างสม<O:p></O:p>
    จงแยกจิตจากขันธ์ผันอารมณ์<O:p></O:p>
    สติสมฯเตือนจิตน้อมพร้อมปล่อยวาง.<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2010
  14. Sunthorn2493

    Sunthorn2493 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +180
    ขออนุญาต save เก็บไว้อ่านนะครับ..
    ขอบคุณครับ..:VO:VO
     
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หวีด บัวเผื่อน...จิตที่พ้นทุกข์

    อ้างอิง :จากคุณjoy1983

    ดิฉันเพิ่งจะได้มีโอกาสอ่านหนังสือ "จิตที่พ้นจากทุกข์"ของคุณหวีด บัวเผื่อน
    โดยได้รับแจกเป็นธรรมทานเดือนมีนาคม ของชมรมกัลยาณธรรมมาค่ะ
    ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว มีประโยชน์มากค่ะ

    [​IMG]


    ขอแปะ link fileหนังสือเล่มนี้ด้วยค่ะ (เผื่อมีผู้สนใจ)
    http://www.kallayana.../Jitpontook.pdf

    ประชาสัมพันธ์นิดนึงค่ะ สำหรับผู้ที่ต้องการรับหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งธรรมทานอื่นๆ ในเดือนมีนาคมของชมรมกัลยาณธรรม
    สามารถส่งซองเปล่าติดแสตมป์ไปขอได้ที่ชมรมกัลยาณธรรมค่ะ
    รายละเอียด.. ��������ҳ���� ..Kanlayanatam

    ขอขอบคุณนะคะ ข้อมูลจาก : คุณjoy1983
    ลานธรรมเสวนา
     
  16. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    ไม่ทราบว่าอาจารย์ที่คอยแนะนำท่านคุณลุงหวีดคือพระอาจารย์ท่านใดครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...