ทำไมอึดอัด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไกล้ธรรม, 7 พฤศจิกายน 2010.

  1. ไกล้ธรรม

    ไกล้ธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +121
    ผมภวนา พุท โธ แล้วดูลมหายใจที่ปลายจมูกไปด้วยทำไมอึดอัดมากเลยครับ บางครั้งอยากจะเลิกเลยครับ ช่วงปฎิบัติครั้งแรกๆ ผมภวนา พุท โธ อย่างเดียว ไม่ได้ดูลมหายใจที่ปลายจมูกไปด้วย แต่มันฟุ้งซ่านบ่อยมากเลยครับ พักหลังผมลองมาดูลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกไปด้วย แต่ก็ยังอึดอัดอีก จะทำอย่างไรดี แล้วก็โมโหง่ายด้วยครับ หรือผมปฎิบัติผิด :'( ขอคำชี้แนะหน่อยครับ
     
  2. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ......ก่อนอื่น สูดลมหายใจยาวๆ แล้วปล่อยออก 2-3ครั้ง...จะโล่ง...ลองดู พระอาจารย์บอก(ทำแล้วได้ผลเกินคาด)
     
  3. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,260
    ....การรู้สึกอึดอัด นั้นอาจจะมาจากสาเหตุเราไปกำหนดลมหายใจเอง เช่น กำหนดให้มันหายใจแรงๆหรือเบาเอง เพื่อจะได้รู้สึกที่ปลายจมูก พูดตรงๆคือ หายใจไม่ถูกจังหวะ
    ....ก่อนจะนั่ง เราควรจะหายใจลึก คล้ายๆกับถอนหายใจน่ะค่ะ กี่ครั้งก็ได้ให้เรารู้สึกสบายสงบแล้วก็จับลมหายใจต่อเลย คือที่เคยนะคะ พอเราหายใจลึกๆสัก 3-4 จากนั้นเราก็จะกลับมาหายใจปกติ ตอนนั้นล่ะค่ะ เราก็จับลมหายใจต่อเลย...ไม่ทราบว่า จะเข้าใจอย่างที่อธิบายหรือเปล่า
    ....จากอาการที่เคยเป็นก็คือ จะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ทั่วท้อง ลมมันจะอั้นแถวๆลิ้นปี่ ถ้ารู้สึกเช่นเดียวกัน ก็นั้นแหละค่ะ..เราลองถอนหายใจลึำกๆดู จะรู้สึกโล่งเอง
    ...ลองๆดูนะคะ....ว่าเป็นคล้ายๆกันหรือเปล่า
     
  4. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,260
    ....
    ....อยากฝึกให้ถึงขั้นคุณ Suwit จังเลยค่ะ ตอนนี้แค่จับลมหายใจ 3 ฐาน ยังได้แค่ จมูก บ้าง เกือบครึ่งชั่วโมง ถึงจะรู้สึกว่าได้ครบ 3 ฐาน อาการที่มาพร้อมกันคือ ร่างกายจะหนักข้างหนึ่ง เหมือนจะถ่วงให้เราเอียงข้าง แต่อาการพวกนี้เกิดไม่ถึง 5 นาทีค่ะ สักพักมันก็หาย
    ...จากนั้น มันก็พร้อมกับอาการปวดขา ขาชา เคยคิดจะสู้ นั่งต่อไป ดูิสิว่า จะตายไหม...แต่ท้ายที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ค่ะ เลิกนั่ง แล้ว นอนจับลมหายใจแทน
    ...เคยเกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก ก็ต่อสู้จนชนะค่ะ สักพักก็จะรู้สึกดี แต่อาการชาขา ปวดขานี้ สู้ไม่ได้สักที...คงกำลังใจไม่เข้มแข็งพอ ไม่รู้ว่ากว่าจะผ่านด่านทดสอบนี้ จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ท้อค่ะ จะพยายามค่ะ
     
  5. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,260
    ...ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำ เอาไว้คราวหน้า ก่อนจะนั่งสมาธิ จะแผ่เมตตาก่อน คือ ปกติแล้ว จะแผ่บ้าง ไม่แผ่บ้าง ถ้าจะแผ่ก็จะแผ่ตอนนั่งเสร็จแล้ว ไม่เคยแผ่ก่อนนั่งเลยค่ะ ถ้าการแผ่เมตตาส่งผลให้เราได้ถึงฌาน 4 เร็วๆ ก็น่าจะลองทำดู...ได้ผลคืบหน้าหรือไม่ จะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ....ขอบคุณค่ะ
     
  6. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ผมว่าบางครั้งเราก้ไม่ควรจริงจังกับการภาวนามากเกินไปครับ ควรปล่อยใจให้สบายด้วยครับ เพราะตลอดจิตใจเราตลอดทั้งวันวุ่นวายมามากเหลือเกิน แล้วพอเย็นมาจะนั่งสมาธิให้นิ่งคงนิ่งมันคงเปนไปไม่ได้ ควรจะรักษาให้จิตใจให้สบายไม่ให้เหนื่อยไปด้วย ถึงพอเวลามานั่งสมาธิ จิตใจก้เปนสมาธิได้แล้วเพียงจดจ่ออย่กับคำภาวนาและลมหายใจ

    อยากจะให้ทำโดยให้ปล่อยวางให้ได้ก่อนจะดีที่สุด สมาธิที่เกิดได้นอกจากจิตจดจ่ออย่กับคำบริกรรม กับจิตมีสติรู้ตัวตลอดเวลาแล้ว ก้ยังมีอีกอย่างคือปล่อยวางความร้สึกออก
    จากใจได้ ปล่อยวางความอยากทั้งหมดออกไปให้ได้ คนที่ปล่อยวางความอยากได้จิตจะเปนสมาธิได้เร็ว และหากพยายามปล่อยวางคือไม่สนใจว่าจิตจะนิ่งหรือไม่นิ่งได้แล้วจะร้ว่า
    การปล่อยวางก้คืออุเบกขา เป็นฐานสำคัญที่ให้จิตพัฒนาขึ้นและแก้ความฟุ้งซ่านได้ดีที่สุด
     
  7. ~มะเดี่ยว~

    ~มะเดี่ยว~ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +61
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CPEAR%27S%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} p.ececmsonormal, li.ececmsonormal, div.ececmsonormal {mso-style-name:ec_ec_msonormal; mso-margin-top-alt:auto; margin-right:0cm; mso-margin-bottom-alt:auto; margin-left:0cm; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Tahoma; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:595.3pt 841.9pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:35.4pt; mso-footer-margin:35.4pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    โดย ดังตฤณ<o:p></o:p>​
    <o:p></o:p>
    ต้องเจริญสติไปถึงไหนมือใหม่จึงจะมั่นใจว่ามาถูกทาง? นี่คือข้อกังขาสามัญที่ต้องเกิดขึ้นกับมือใหม่ทุกคน ซึ่งผมก็เช่นกัน<o:p></o:p>
    บนเส้นทางสายนี้ คุณจะไม่รู้สึกมั่นใจจนกว่าจะมีใจมั่น นั่นคือจิตอยู่ในสภาพตั้งมั่นรู้ มากกว่าที่จะซัดส่ายคิดไปเรื่อย<o:p></o:p>
    ภาวะ ที่จิตฟุ้งซ่านซัดส่ายไปเรื่อยนั่นแหละ ต้นเหตุสำคัญของความไม่แน่ใจ แม้จะเกิดสติรู้เห็นกายใจบ้างแล้ว ก็เหมือนมีคลื่นรบกวน แทรกแซงความรู้เห็น ตลอดจนชะล้างความมั่นใจให้หายเกลี้ยงร่ำไป<o:p></o:p>
    ช่วงสามเดือนแรกของการฝึกตามตำรา คอยระลึกเท่าที่จะนึกได้ว่าตอนนี้กำลังหายใจออก ตอนนี้กำลังหายใจเข้า ผม ไม่มีความมั่นใจเลยว่ามาถูกทาง บางครั้งคัดแน่นอึดอัดไปหมด บางครั้งถามตัวเองว่านี่เรากำลังทำอะไรอยู่ บางครั้งสงสัยว่าจะต้องเห็นลมหายใจให้เป็นภาพหรือเอาแค่รู้ว่าหายใจ บางครั้งงงว่าต้องรู้เฉพาะจุดกระทบของลมตรงไหน ฯลฯ<o:p></o:p>
    ผม มีแต่ศรัทธาว่าทำตามพระพุทธเจ้าสอนเป็นหลักใจอย่างเดียว เรียกว่ามีความสว่างหนุนหลัง ที่เหลือในหัวเต็มไปด้วยความสงสัยคลางแคลง เรียกว่าเดินหน้าอยู่บนก้าวย่างที่เป๋ไปเป๋มาเกือบตลอด<o:p></o:p>
    อย่าง ไรก็ตาม ส่วนลึกมีความเชื่อว่าเราทำตามพระพุทธเจ้าสอน แล้วเราก็สังเกตไปเรื่อยๆว่าอย่างไหนก้าวหน้าอย่างไหนก้าวหลัง อย่างไหนเทียบเคียงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสได้ ก็น่าจะเป็นการเพียงพอ ผมไม่พยายามแสวงหาครูบาอาจารย์ อาจเป็นเพราะไม่รู้จะไปหาที่ไหน และสมัยนั้นสื่อประชาสัมพันธ์สถานฝึกกรรมฐานก็ไม่แพร่หลายเหมือนเดี๋ยวนี้<o:p></o:p>
    ผมมักนั่งหลับตาระลึกถึงลมหายใจเป็นชั่วโมง เพียงเพื่อตอนลืมตากลับ ‘รู้สึก’ ถึงลมหายใจเข้าออกได้แจ่มชัดกว่าเป็นไหนๆ หลายเดือนกว่าจะฉุกคิด พยายามใช้ปัญญาสำรวจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นไปได้<o:p></o:p>
    ผม จับสังเกตได้ทีละนิดทีละหน่อยว่าทุกครั้งเมื่อปิดตาลง จะเกิดอาการเล็งจิตเข้าไปที่จมูก หรือบางทีก็หว่างคิ้ว หรือบางทีก็ตรงกลางๆบริเวณส่วนที่กลวงๆในตัว ด้วยความคาดหวังว่าจะสงบลงทันใด เข้าใจว่าความคิดเป็นสิ่งบังคับให้สงบระงับกันได้<o:p></o:p>
    ส่วน ลมหายใจ ผมก็ไปสำคัญว่ามันต้องยาว ต้องลึกทุกครั้ง ถึงจะนับว่าดี ผลคือเกิดความอึดอัดคัดแน่น คับแคบตั้งแต่แรกเริ่มปิดตาตั้งใจทำสมาธิกันเลยทีเดียว<o:p></o:p>
    เทียบ กับตอนลืมตา สายตาผมจะแลไปตรงๆ ไม่โฟกัสที่จุดจุดหนึ่งข้างหน้า ทำให้จิตไม่เล็งสั้นๆแคบๆ มีความเปิดกว้างยิ่งกว่าตอนปิดตาเล็งจมูกเยอะ จากนั้นจึงนึกถึงลมหายใจเล่นๆ ไม่เอาจริงเอาจัง ไม่พยายามบังคับว่าต้องเลิกฟุ้งซ่านในทันที อีกทั้งไม่คาดหวังว่าลมจะต้องดี ต้องยาวท่าเดียว จุดเริ่มต้นจึงสบายใจกว่ากันเยอะ<o:p></o:p>
    ผม สังเกตต่อว่าพอสบายใจแล้วระลึกเท่าที่จะนึกออกว่า ลมหายใจกำลังเข้า ออก หรือหยุด แค่นั้นเอง เดี๋ยวก็กลายเป็นความเคยชิน แม้จะเหม่อลอยไปบ้าง ลมหายใจก็เหมือนปรากฏอยู่ในความรับรู้เอง ไม่ต้องเพ่งพยายามให้เหนื่อย<o:p></o:p>
    ต่อ มาผมอ่านจากหลายแห่ง พบว่ากล่าวไว้ตรงกันว่าหลักการทำสมาธิที่ถูกนั้น จะต้องได้ความรู้สึกเป็นสุข อิ่มใจ สบายตัว ไม่ใช่เป็นทุกข์ แห้งเหี่ยว เนื้อตัวแข็งกระด้างแต่อย่างใด จึงมั่นใจว่าการเริ่มต้นที่ดี ควรทำอย่างไรก็ได้ให้ห่างไกลจากความเคร่ง เพ่ง และเกร็ง<o:p></o:p>
    จับ หลักได้เช่นนั้น ผมก็สนุกกับการทำสมาธิมากขึ้น ไม่ดันทุรังนั่งหลับตาขัดสมาธินานๆ เมื่อใดมีโอกาสนั่งเก้าอี้ได้ก็เอาเลย จะอยู่ในห้องนอนหรือรอใครในที่สาธารณะก็ตาม ผมเริ่มด้วยการสำรวจสังเกตว่าฝ่าเท้างองุ้มไหม ถ้างุ้มหรือเกร็งอยู่ก็คลายออกเสีย วางเท้าแบราบกับพื้นอย่างสบาย<o:p></o:p>
    มัน ได้ผลทุกครั้ง พอฝ่าเท้าสบาย พื้นจิตพื้นใจก็พลอยสบายตาม แสดงให้เห็นชัดว่าอาการของฝ่าเท้าสะท้อนได้ว่าสภาพจิตของเราเครียดหรือสบาย อยู่ เมื่อทำให้เท้าสบาย จิตก็หายเครียดไปเยอะ<o:p></o:p>
    จาก นั้นจึงสำรวจว่าฝ่ามือผ่อนคลายหรือกำอยู่ ถ้ากำก็คลายเสีย ให้เกิดความรู้สึกผ่อนพักสบายไม่ต่างจากฝ่าเท้า และถึงที่สุด ผมสำรวจขั้นสุดท้ายว่าทั่วใบหน้าผ่อนคลาย หายขมวด หายตึงหรือยัง แค่สำรวจเฉยๆก็เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อทั้งใบหน้าคลายออกหมดได้<o:p></o:p>
    เมื่อ ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหน้าคลายจากความฝืนทั้งหมด อุปสรรคของสมาธิก็หายไป จิตเปิดกว้างสบาย พร้อมจะรู้ พร้อมจะดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับกายใจบ้างแล้ว คุณลองดูตอนนี้ก็จะเห็นจริงตอนนี้เลยเช่นเดียวกัน<o:p></o:p>
    ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา ผมใช้ความสบายตัวสบายใจเป็นฐานในการรู้ลมตามจริงเสมอ กล่าวคือเมื่อแน่ใจแล้วว่าใจเปิด ใจสบาย ค่อยถามตัวเองว่าตอนนี้ร่างกายต้องการเรียกลมเข้าหรือยัง ตอนนี้ร่างกายต้องการระบายลมออกหรือเปล่า ตอนนี้ร่างกายต้องการพักลมหรือไม่<o:p></o:p>
    ด้วย อุบายสังเกตความต้องการของร่างกายเช่นนี้ ช่วยให้ผมหายใจตามจริง ไม่ใช่หายใจตามอยาก กับทั้งปล่อยให้ลมเกิดขึ้นตามควร ไม่ใช่บังคับลมยาวอยู่ตลอด ผิดจากความต้องการจริงของร่างกาย<o:p></o:p>
    ผลของการรู้ลมไปเรื่อยๆด้วยความสบาย คือ จิตจะพอใจ ไม่อยากคิดถึงเรื่องอื่น เห็นเรื่องอื่นสำคัญน้อยกว่าลมหายใจเฉพาะหน้า<o:p></o:p>
    และ ความที่เริ่มฝึกจิตด้วยการมีพระพุทธเจ้าเป็นครูสอน เมื่อตระหนักว่าท่านสอนให้หมั่นพิจารณาความไม่เที่ยง ผมก็ฝึกดูลมโดยความเป็นของไม่เที่ยง ตรงนี้ต้องใช้เวลาจับจุดอยู่นานว่าเมื่อใดจึงควรพิจารณาว่าลมเป็นของไม่ เที่ยง เพราะเมื่อพยายามคิดๆนึกๆเอา เช่น ลมเป็นของภายนอก เข้ามาข้างในเดี๋ยวเดียวก็ต้องคืนกลับไป ไม่นานก็กลายเป็นฟุ้งซ่าน และไม่รู้สึกเลยว่าลมหายใจไม่เที่ยง<o:p></o:p>
    ต่อเมื่อสังเกตออกว่าถ้าเฝ้ารู้ลมว่าเดี๋ยวออก เดี๋ยวเข้า เดี๋ยวสั้น เดี๋ยวยาว โดยไม่คิดอะไรเพิ่มเติม กระทั่ง จิตสงบลงบ้าง จึงรู้สึกได้เองว่าลมหายใจไม่เที่ยง และแม้ไม่พิจารณาว่าลมหายใจสักแต่เป็นธาตุลม มีเพียงลักษณะพัดไหว ไม่มีบุคคลอยู่ในอาการพัดไหว ในที่สุดก็เกิดความเข้าใจขึ้นมาเช่นนั้นได้เอง<o:p></o:p>
    แม้ จิตยังไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิขั้นสูง ผมก็เกิดประสบการณ์การรับรู้ที่แตกต่างไป หน้าตาและตัวตนคล้ายล่องหน มีแต่ความรู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกตามจริง และคล้ายกับว่าลมหายใจรู้ตัวเองว่าเป็นสภาวะชั่วคราวอะไรอย่างหนึ่ง ไหลเข้าแล้วต้องไหลออก ชุดหนึ่งยาว อีกชุดหนึ่งสั้น เอาแน่เอานอนไม่ได้<o:p></o:p>
    แม้ จับทางถูก จิตของผมก็ใช่จะมีกำลังสามารถรู้ลมได้ตลอดเวลา ก็ตกลงกับตัวเองว่ารู้ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น นึกได้เมื่อไรก็สังเกตไปเล่นๆเมื่อนั้น ไม่บังคับว่าต้องถี่ห่างขนาดไหน ปล่อยให้พัฒนาไปตามธรรมชาติดีกว่า<o:p></o:p>
    ผม พบว่าในชีวิตประจำวันมีโอกาสทำสมาธิได้บ่อย โดยเฉพาะเวลานั่งรถเมล์กลับบ้าน หรือต้องนั่งรถยาวๆข้ามจังหวัด ผมไม่เกี่ยงว่าจะต้องนั่งสมาธิแบบหลับตาหรือลืมตา แค่ปล่อยให้ใจไปผูกอยู่กับลมเป็นสำคัญ แม้กระทั่งก่อนนอนก็นึกถึงลมเรื่อยๆ ฟุ้งซ่านบ้าง ปลอดโปร่งบ้าง ขอให้บอกตัวเองได้ว่า ยังเต็มใจอยู่กับลมเป็นพอ<o:p></o:p>
    บาง คืนผมมีประสบการณ์ไม่ดี ไปเพ่งจับลมหายใจแน่นเกินไป เกิดความอึดอัด ตาแข็ง นอนหลับไม่สนิท ผมก็จำไว้เป็นบทเรียน คืนต่อมาฝึกใหม่ สังเกตที่ใจเป็นหลักว่าขณะรู้ลมอยู่นั้น มีความสบายหรืออึดอัด และค้นพบว่าความแข็งขืนฝืนตัวจะเริ่มเกิดเมื่อตั้งอกตั้งใจเกินพอดี แทนที่จะ ‘รับรู้เฉยๆ’ กลับไป ‘เพ่งจ้องให้รู้ชัดๆ’ เอา<o:p></o:p>
    ผม ได้ข้อสรุปว่าถ้าจะมีสติรู้ลมก่อนนอน ต้องระวังเรื่องอาการจดจ้อง และการระวังที่ดีที่สุด ก็คือสังเกตตั้งแต่แรกว่ากายใจยังสบายอยู่ไหม เมื่อไรอึดอัดไม่สบาย ต้องรู้เท่าทัน ก่อนมันจะลุกลามใหญ่โต<o:p></o:p>
    ตาม ธรรมชาตินะครับ เมื่อก่อนนอนหลับเราเอาใจไปผูกอยู่กับลมหายใจหลายๆคืนเข้า พอตื่นนอนใจจะนึกถึงลมหายใจเองโดยอัตโนมัติ ผมจำได้ดีว่าช่วงแรกๆที่ฝึกสติรู้ลมหายใจ ตื่นนอนเมื่อไร กายจะลุกขึ้นนั่งตรง ลากลมหายใจยาว และจิตจะทำงานเป็นอัตโนมัติ ตื่นตัวรับรู้แบบที่ไม่ฝืน ไม่เพ่งเล็ง ไม่บังคับแม้แต่นิดเดียว ปลอดโปร่งเป็นสุขดีแท้<o:p></o:p>
    ความ เชื่อมั่นจริงๆว่ามาถูกทาง เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ เช้าตรู่นั้นผมนอนอยู่ในบ้านริมทะเลของคุณพ่อ และตื่นขึ้นด้วยความเคยชินที่จะระลึกถึงลมหายใจ ทว่าครั้งนั้นแปลกและแตกต่างตรงที่จิตส่องสว่าง เหมือนกลายเป็นดวงแสงนวลขนาดใหญ่ กระจายรัศมีอาภาเป็นวงกว้าง รู้สึกถึงความแช่มชื่นปรีดา ยิ่งกว่าที่เราอยากยิ้มกว้างที่สุดด้วยเรื่องน่ายินดีที่สุด รสวิเวกแห่งจิตที่ได้ลิ้มยามนั้นมันแปลก หน้าท้องคล้ายพองออกได้มากกว่าปกติเป็นสองเท่า ลมหายใจที่ถูกลากยาวเข้ามา ปรากฏกระจ่างเป็นทางชัดราวกับสายน้ำตกกลางอากาศว่าง สติเต็มตื่น รับรู้ ณ ขณะแรกสุดแห่งต้นลมเข้าไปจนกระทั่ง ณ ขณะท้ายสุดแห่งปลายลมออก<o:p></o:p>
    จิตตั้งมั่นเด่นดวงเป็นผู้รู้ผู้เห็นว่าสายลมมีอยู่ แต่ไม่มีบุคคล!<o:p></o:p>
    ผมมาทราบในภายหลังว่าที่เห็นลมหายใจอย่างชัดเจน ประดุจนิมิตสายน้ำเช่นนั้น ตำราเรียก ‘อุคหนิมิต’ ซึ่งปรากฏในสมาธิเฉียดฌาน และนิมิตนั้นก็เกิดจากของจริง สัมผัสจริง ซึ่งตาเนื้อเห็นไม่ได้ ต้องอาศัย ‘ตาใน’ คือสัมผัสทางจิตเข้าไปรู้เห็น<o:p></o:p>
    ประโยชน์ ของการรู้ลมหายใจโดยความเป็นอุคหนิมิตในขั้นอุปจารสมาธิ คือทราบขณะแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของลมหายใจอย่างแจ่มแจ้ง จิตเฝ้ารู้เฝ้าดูความเกิดดับอย่างถนัด และ ณ ขณะแห่งความรู้ชัดเช่นนั้นเอง ไม่มีใครมาหลอกได้ว่าลมหายใจเป็นเรา เราเป็นเจ้าของลมหายใจ<o:p></o:p>
    ตราบเท่าที่จิตตั้งมั่นรู้เห็นอยู่เช่นนั้นเอง คือขณะแห่งความเป็นสัมมาสมาธิ ผมไม่เคยเข้าใจคำว่า ‘สัมมาสมาธิ’ กระทั่งเกิดประสบการณ์ตรงในเช้าตรู่ดังกล่าว และเมื่อเข้าใจแล้ว ก็เกิดกำลังใจที่จะเดินหน้าหาความคืบหน้ากันต่อไป<o:p></o:p>
    ก็เมื่อใจมั่น กระทั่งมั่นใจแล้วว่ามาถูกทาง ใครล่ะจะอยากถอยหลังหรือกระทั่งคิดหยุดเดินหน้า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  8. prayut.r

    prayut.r เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,707
    น่าจะคล้ายผมครับที่เกิดอาการอึดอัด แต่อาศัยทำมานานพอควรเลยสังเกตุเห็นสาเหตุที่อึดอัดได้ครับ

    ถ้าเรากำหนดลมหายใจพร้อมคำภาวนา เราจะพยายามลากลมหายใจเรายาวตามคำภาวนา
    (ที่จริงเราพยายามลากคำภาวนาตามลมหายใจนั้นแหละครับแต่มันดึงๆกันอยู่)

    ดังนั้นสิ่งที่ตามมาคืออาการฝืนลมหายใจ ถ้าช่วงหายใจเข้าจะไม่รู้สึกอะไรครับมันจะโปร่งๆสบายๆ ไม่อึดอัดมาก

    แต่ปัญหามันเกิดตอนหายใจออกนี่แหละครับเราจะพยายามลากลมยาวช่วงออกเหมือนกับว่าลมหายใจปกติมันออกหมดแล้ว แต่เราพยายามบังคับลมออกต่อมันจะเกิดอาการแน่นหน้าอกทันที (ลองทำดูตอนนี้ก็ได้ครับ)

    ทางแก้ของผมช่วงแรกก็คือพยายามไม่ลากคำภาวนาครับ เช่นหายใจเขาพุธ ก็รู้พุธสั้นๆและมามองลมหายใจต่อจากคำภาวนาพุธทันที หรือถ้าไม่หายอีกก็ตอนหายใจเข้าไม่ต้องกังวลแต่ตอนหายใจออกให้พยายามออกให้ปกติครับ จะลดอาการอึดอัดไปได้มาก

    พอทำได้สักพักก็จะชินกับลมหายใจแบบนั้นแหละครับ และความอึดอัดก็จะลดลงเรื่อยๆ
    (แต่ถ้าถูกต้องจริงๆ ก็ควรรู้ลมแบบปกติที่เราหายใจแหละครับแบบไม่ฝืนน่ะ แต่มันยากจัง)
     
  9. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ไม่ผิดทางหรอกคับ เพียงแต่ลมหายใจเป็นอุปสรรค

    ของการเข้าฌาน ต้องละลมหายใจ ลมหายใจยังหยาบอยู่

    เมื่อจิตเค้าละเอียดแล้วเค้าจะวางลมหายใจเอง

    แต่ไกล้ธรรม ฝืนต่อต้านการละลมหายใจตามขบวณการทาง

    ธรรมชาติ จึงทำให้อึดอัด แนะนำให้ไกล้ธรรมปล่อยวางตาม

    ขบวนการธรรมชาติ เมื่อจิตจะเข้าฌานเอง
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากว่าคุณลองปฎิบัติตามที่ทุกคนได้แนะนำแล้วยังไม่หายก็แสดงว่าคุณปฎิบัติไม่ถูกกับจริตครับต้องเปลี่ยนวิธีปฎิบัติครับเพราะสมถะมีตั้ง40ชนิดนะครับ อย่าได้ยึดติดครับ เพราะทุกวิธีก็นำพาเราให้บรรลุได้ครับอยู่ที่จิตตัวเดียวครับ
     
  11. devilblaze

    devilblaze สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +23
    เห็นด้วยครับ ผมจับลมหายใจที่ปลายจมูกไม่ได้เรื่อง ตาผมมันชอบร่อกไปดูที่ปลายจมูก นานๆเข้าปวดตา สู้จับที่กลางอกไม่ได้
     
  12. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    รักษาอารมณ์จิตให้ดีก่อนฝึกปฏิบัติสมาธิ

    ถ้าเปนคนเจ้าโทสะ โมโหง่าย ด้วยเหตุที่เอาแต่ใจตัวเองก้ตามหรือเพราะสภาพ
    แวดล้อมภายนอกเปนเหตุทำให้ท่านไม่พอใจ ขณะที่จิตใจปั่นป่วนนั้น ธาตุใน
    ร่างกายก้พลอยปั่นป่วนไปด้วย เปนเหตุให้การทำสมาธิจิตเข้าสู่ความสงบได้ยาก

    ท่านควรนึกเงียบหยุดโมโหสักครู่ แล้วพิจารณาโดยโยนิโสฯว่าโมโหแล้วจะมีอะไรดีขึ้นบ้าง โมโหแล้วมีแต่สุขภาพกายและจิตเสื่อม ท่านก้จะมีสติขึ้นมาทำ
    ให้คลายความโกรธลงไปได้และรักษาอารมณ์ให้สงบลงมา จิตใจก้จะสงบ
    สดชื่นและพร้อมทุกครั้งก่อนเข้าสู่การปฏิบัติ

    การฝึกสมาธิไม่ใช่ฝึกเพราะการบีบบังคับ แต่ฝึกเพราะความสมัครใจที่หวังจะสงบและหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ทำให้ท่านไม่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายที่จะเข้าฝึกครั้งต่อไป เริ่มต้นด้วยด้วยความตั้งใจ วางจิตใจร่างกายให้อยู่ในอารมณที่สบาย ตัดความกังวลทั้งหมดวางไว้นอกกาย ให้คิดถึงภาวะปัจจุบันคือ"ภาวะทำการฝึกสมาธิให้จิตสงบอยู่...":boo:
     
  13. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ภาวนา
    บริกรรม ไม่ได้ดูลมหายใจ แล้วไปบริกรรมอยู่กับอะไรครับ ???

    พอมาบริกรรมตามติดกับลมหายใจแล้วทำให้อึดอัด
    อันที่จริงมันอึดอัดอยู่แล้วนะ แต่ไม่ได้ดูเอง
    พอมาดูเลยรู้สึกว่าอึดอัด หากจิตฟุ้งซ่านมากๆ
    ความคิดฟุ้งซ่านนี่จะเป็นตัวกำหนดกายให้มีพฤติกรรมตามไปด้วย
    เช่น เวลาเราเพ้อไปหาอดีตคู่อริเราก็คิดและให้เหตผลตลอดสนับสนุนและส่งเสริม
    เหมือนกับเติมเชื้อเข้ากองไฟนั่นแหละ มารู้ตัวอีกทีหายใจฮึดฮัดๆๆเหงื่อหยดติ๋งๆเลยก็มี
    ทั้งๆที่คู่อรินั่นมันไปสบายใจที่ไหนต่อไหนแล้วก็ไม่รู้

    ฉนั้นการบริกรรมนี้ควรมีหลักไว้เพื่อยึดเสียก่อน อย่าปล่อยจิตไปเที่ยวมากและนานจนเกินไป
    ทั้งนี้ทัั้งนั้นสิ่งที่จะเป็นรัดไม่ให้ลิงจ๋อจอมวุ่นนี้ไม่ไปไหนมาไหนไกลๆก็คือการกำหนดรู้นี่แหละ ฝึกจิตให้เกิดความเคยชินแล้วมันจะเป็นของมันเองในภายภาคหน้า


    เจริญธรรมกันครับ :cool:
     
  14. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,306
    การภาวนาแล้วรู้สึกอึดอัดมาก เพราะเราบังคับลมตามจังหวะที่เราไปกำหนด
    ไม่ตามดูแบบธรรมชาติของลมที่เข้าออก โดยวางไว้ที่ลมเท่านั้น เริ่มต้นภาวนาใหม่ๆ ลมมันหยาบ เป็นก้อนยิ่งลาก มันยิ่งแน่น ลองเริ่มใหม่ดูลมอย่างเดียว มันจะสั้นยาวช่างมัน รู้ไป ให้รู้เหมือนตอนเราไม่กำหนดพุท หรือ โธ แบบนี้มีเวลาที่รู้สึกตัวก็ให้ดูมัน ตอนที่เราหายใจเป็นธรรมชาติ ทำไมมันไม่อึดอัดหล่ะ นั่นแหละ ตรงนั้น!
    ส่วนเรื่องโมโหง่าย จขกท รู้ตัวแล้ว ว่าตัวเองโมโหง่าย เพราะเหตุปัจจัยอะไรบ้าง ให้รู้ตามด้วย ถ้ามีสติตามได้มากขึ้นมันจะเบาได้ตอนเรารู้ และพัฒนาเป็นดับได้ แต่ถ้ามันเผลอดับไม่ทัน ให้พิจารณาอีกที ครั้งต่อไปจะเริ่มมีสติขึ้น เทียบเคียงดูค่ะ ว่าแต่ก่อนโมโหเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตอนนี้เราเริ่มรู้ว่าทำไมเราโมโหง่าย นั่นแหละค่ะ รู้ตัวแล้วใช่มั้ย ปฏิบัติไปเถอะค่ะ คุณงามความดี เป็นปัจจัยทั้งนั้น ทางเดินจะได้สั้นเข้า ถ้าท้อก็ให้คิดถึงว่าไม่อยากลงนรก ต้องทำก่อนในเบื้องต้น แต่ถ้าถ้อยลงแน่ พี่เอาใจช่วยค่ะ ขอให้เพียรให้มาก เรายังมีเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย จะได้เอาบุญของเราไปช่วย สงเคาะห์ตัวเอง และสงเคาะห์โลก มีแต่ประโยชน์เนอะ
     
  15. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    ฝากอันนี้ให้คุณ ไกล้ธรรม อ่านเเล้วนําไปปฎิบัติครับ อย่ายอมเเพ้ใจตัวเองครับ ถ้าเราชนะได้ตอนนี้ เราจะชนะได้ตลอดไปครับ ยังไงก็อย่าเลิกปฎิบัตินะครับ นี่ครับ อ่านตามข้างล่างนี้ได้เลยครับ เป็นกําลังใจให้คุณ ไกล้ธรรม นะครับ เรื่องความคิดหรือความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ปฎิบัตินั้น เราไม่ต้องไปสนใจครับ ให้จับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกพุทโธของเราพอเเล้วในอนาคต ทุกอย่างจะเป็นไปตามครรลองของเขาเอง เจริญในธรรมครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้นของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=420

    อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ

    http://palungjit.org/threads/อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ.217531/
     
  16. ไกล้ธรรม

    ไกล้ธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +121
    สาธุ สาธุ ขอบพระคุณทุกคำแนะนำนะครับ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่ง ยิ่งขึ้นไปนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...