คู่มือดับทุกข์ฉบับสมบูรณ์ ก่อนไปนิพพาน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย john2518, 26 ตุลาคม 2010.

  1. john2518

    john2518 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +561
    คู่มือดับทุกข์เพื่อจิตบริสุทธิ์ เข้าสู่นิพพานต่อไป(ไม่ต้องลงมาเกิด)<O:p</O:p
    ฉบับสมบูรณ์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑.จงประพฤติศีล ๕ ให้สมบูรณ์ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด, ไม่ขโมยสิ่งของ ๆ ใคร, ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไม่ดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒.แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควรสำหรับผู้ที่เป็นฆราวาส และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓.ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔.วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่จะพบเห็นรูป สี แสง สวรรค์นรก หรือเทวดาอินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕.พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้ว ให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้า นับที่ลมหายใจทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๒ วนอย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้าๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันจะหยุดนับของมันเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖.หรือบางทีอาจจะกำหนด “พุทโธ” ก็ได้ โดยหายใจเข้ากำหนดว่า “พุท” หายใจออกกำหนดว่า “โธ” อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นอุบายที่จะทำจิตให้หยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗.แต่ในการฝึกแรก ๆ นั้น ท่านยังนับ หรือ กำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างตลอดรอดฝั่งเพราะมันมักจะมีความคิดต่าง ๆ แทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรก ๆ มันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก ๑๕ นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เองของมัน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘.การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวัน ๆ ละ ๒ - ๓ ครั้ง แรก ๆ ให้ทำครั้งละ ๑๕ นาที และค่อยเพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงครั้งละ ๑ ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ปรารถนา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙.ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือ สัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๐.เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไปถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใด ๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิด นึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๑.จงยกเอาปัญหานั้น ขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานี้…มันมาจากไหน? มันเกิดขึ้น…เพราะอะไร? เพราะอะไร…ท่านจึงหนักใจกับมัน? ทำอย่างไร…ที่ท่านจะสามารถแก้ไขมันได้? ทำอย่างไร…ท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน? <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๒.การพิจารณาอยู่ ด้วยจิตอันสงบนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่าน มันจะค่อย ๆ รู้เห็น เกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมา โดยธรรมชาติชองมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุ ของปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายาม พิจารณาปัญหาต่าง ๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๓.ในกรณีที่ ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้น หลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะ หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งขึ้นมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืน…อะไรเพียงไหน? ท่านจะได้อะไร…จากชีวิต คือร่างกายและจิตใจนี้? ท่านจะอยู่ไปในโลกนี้นาน…เท่าไร? เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร? ให้พยายามถามตัวเอง เช่นนี้อยู่เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๔.หรือท่าน อาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเองที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนรวมหรือไม่? หรือท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง? และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้…ท่านจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูดจะทำ..แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสะอาด บริสุทธิ์ ของชีวิตของท่านเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๕.จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือท่านจะฝึกสมาธิ เพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลังและมั่นคง สภาวะจิตนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๖.สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้น ไปพัฒนาความคิดนึกหรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกนึกคิดที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “ปัญญา” นั่นเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๗.จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือ ความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้น ก็จะไม่หมดไปได้ เพราะการไหว้วอน บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทัน ตามความเป็นจริง ในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๘.ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบเสียก่อน จากนั้น จึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณา ทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๙.ท่านจะต้องรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลาย ๆ อย่าง ท่านไม่สามารถจะแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ตามสภาวะแวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือ ท่านจะต้องพยายามหาวิธีทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่า…ท่านทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไร…ก็ช่างมัน ปัญหามันจะหมดไปหรือไม่…ก็ช่างมัน ท่านจะได้หรือจะเสีย…ก็ช่างมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดี-ร้าย ได้-เสีย ก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๐.ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ตามเหตุปัจจัยของมัน เช่น เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ ตามเหตุปัจจัยของมัน เพราะทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้จริงแล้ว มันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาในโลก ก็ล้วนแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิดมาจากอำนาจของเทวดาฟ้าดินที่ไหนเลย มันเป็นของธรรมดาที่มีอยู่ในโลก อย่างนี้เอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๑.จงรู้จักธรรมะ ข้อที่ว่า “อนิจจตา” ซึ่งแปลว่า “ความไม่เที่ยง” สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดี ไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะ ความเป็นของไม่เที่ยงของมันนั้นเอง ดังนั้น จงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดี-ร้าย ได้-เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า..มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่านรู้อย่างนี้ ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๒.จงรู้จักธรรมะ ข้อที่ว่า “ทุกขตา” ซึ่งแปลว่า “ความเป็นทุกข์” จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่ มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์ได้แก่ ความเกิด ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับในสิ่งที่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านั้นแหละคือ ความทุกข์ ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้ กำลังประสบอยู่<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๓.จงรู้จักธรรมะ ข้อที่ว่า “อนัตตตา” ซึ่งแปลว่า “ความไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา หรือ ความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร” ข้อที่ว่า “สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น” หมายความว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะมี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    อยู่ในโลกนี้ เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นาน ก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้ตลอดไป ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนถาวรของมันจึงไม่มี ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๔.เมื่อทุกสิ่ง เป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวร เช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหล อยากได้ อยากเป็น อะไรในมันให้มากเรื่องไป โดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า?<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๕.ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น ๒ ช่วง คือช่วงแรก ต้องทำจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ ๒ จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๖.พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๗.จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดี…ที่ถูกใจเรา เมื่อไรก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเรา เมื่อไรก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้น เราจึงต้องทำใจให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจ หรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๘.จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายาม รักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากได้ อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาให้จิตบริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ และสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้ จะทำให้จิตใจของท่านสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อน ได้เป็นอย่างดีที่สุด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๒๙.จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็จะรักษาจิต ให้สะอาดผ่องใส และไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่าง ๆ มาไว้ในใจ ให้หนักเปล่า ๆ เลย ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๐.จะคิดเรื่องอะไร ก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ให้พวกเขาได้รับความสุข สงบในชีวิต คิดเพื่อจะทำหน้าที่ของท่าน ให้ดีที่สุด คิดจะทำให้ตัวเองและคนอื่น สัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์อยู่เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๑.จงจำไว้ว่า ไม่มีสิ่งใด ที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์ได้ นอกจากความคิดผิดของท่านเอง ถ้าท่านคิดผิด ท่านก็จะเป็นทุกข์ ถ้าท่านคิดถูก ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๒.จงอย่าเชื่อ สิ่งงมงาย ไร้เหตุผล เช่น เมื่อมีความทุกข์ หรือเกิดเรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนาขึ้น ก็ไปบนเจ้าที่เจ้าทาง ไปไหว้จอมปลวก ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ปรารถนาจะให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านหลงผิดคิดว่ามีอยู่ในสถานที่เหล่านั้นมาช่วยท่านให้พ้นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น นี่คือ ความงมงาย จงละเลิกมันเสีย เพราะ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    มันจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองทรัพย์สินและเวลา โดยไม่รับประโยชน์อะไรเลย พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๓.จงรู้ความจริงว่า เรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจนี้ เป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีอยู่ในโลกนี้ บางทีท่านก็ได้ตามปรารถนา แต่บางทีก็ไม่ได้ ตามปรารถนา มันเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้เอง อย่าตื่นเต้นดีใจหรือเสียใจไปกับมัน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๔.ตลอดเวลา ที่ท่านกำลังทำกิจการงานอะไรอยู่ จงน้อมจิตให้มองเห็นความสงบ ที่ท่านเคยพบในการฝึกสมาธิ และจงมองเห็น ความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก จงแยกมันให้ออกว่า สิ่งหนึ่ง คือ จิตอันสงบของท่าน ส่วนอีกสิ่งหนึ่งคือ ความปรุงแต่งวุ่นวายของโลก สิ่งทั้งสองนี้ มันแยกกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๕.ถ้าท่าน ไม่มองหาความสงบ แต่หันไปอยากได้อยากดีกับสิ่งภายนอก จิตของท่านก็จะสับสนวุ่นวายและเป็นทุกข์ แต่ถ้าท่านมองเห็น ความสงบในจิตและควบคุมจิตไม่ให้เกิดความอยาก ความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอขึ้นมาแล้ว จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ที่ใด ก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวย หรือยากจนสักเพียงใดก็ตาม แต่จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการฝึกจิตด้วยวิธีนี้<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๖.จงใช้ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งปัญญานั้น หมายถึงความมีสติที่รู้จักประคับประคองจิตให้สะอาดอยู่เสมอ รู้จักทำจิตให้ปล่อยวาง ทำจิตให้โปร่งเบา รู้เท่าทันอะไรถูกอะไรผิด ถ้าผิดท่านจะไม่ทำไม่พูด ถ้าถูกท่านจึงจะทำจะพูด และรู้จักพิจารณาว่า…หน้าที่ ที่ท่านจะทำกับสิ่งนั้น ๆ คือ อะไร? แล้วก็ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด พยายามแก้ปัญหานั้นให้สงบไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และถูกต้องที่สุด โดยไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้จะทำให้ปัญญาของท่านคมชัด และจะไม่มีความทุกข์อยู่ในจิตเลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๗.ท่านต้องรู้ว่า คนส่วนมากในโลกนี้ เขามีกิเลสคือ ความโลภ โกรธและหลง ดังนั้นบางทีเขาก็คิดถูกและทำถูก แต่บางทีก็คิดผิดและทำผิด บางทีก็โง่ บางทีก็ฉลาด เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องให้อภัยเขา ค่อย ๆ พูดกับเขา ไม่ด่าว่ารุนแรงกับเขา ท่านจะต้องใช้ปัญญาของท่านเข้าไปสอนเขา ไปชักจูงเขาให้เดินในทางที่ถูก นี่คือหน้าที่ของผู้มีปัญญา ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนโง่ที่มีอยู่ในโลกนี้ เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ผลที่จะได้รับ ก็คือ ท่านจะเป็นคนที่มีจิตใจเยือกเย็นและน่าเคารพกราบไหว้ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านจะไม่เป็นทุกข์ร้อนเลย แม้ว่าจะพบเห็นหรือเกี่ยวข้อง กับคนมากมายหลายประเภทในโลกนี้อยู่เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๘.การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ในตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิ อย่างนี้คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นสูงสุดแล้ว ก็คือ ความรู้จักปล่อยวาง ไม่แบกหามภาระใด ๆ มาไว้ในใจ จนนอนไม่หลับและเป็นุกข์ นั่นเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๓๙.จงจำไว้ว่า การฝึกสมาธินั้น แท้จริงแล้วท่านทำเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นเองที่จะเป็นตัวทำลายความทุกข์ทางใจให้หมดสิ้นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่ การอ้อนวอนอธิษฐานเอาอะไร ๆ ตามใจตัวเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๐.จงตั้งใจว่า ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์หงุดหงิดใจเมื่อไร ท่านจะสลัดมันทิ้งเมื่อนั้น ท่านจะไม่เอาอารมณ์นั้นมาไว้ในใจ ถ้าท่านสลัดอารมณ์ไม่ดีให้หลุดไปได้เมื่อใด ท่านก็รู้แจ้งธรรมะ เมื่อนั้น ท่านจะหมดทุกข์ เมื่อนั้น ท่านจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของท่าน ในนาทีที่ท่านสลัดอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายออกไปจากใจได้<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๑.ในตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จงอย่าคิด…อยากจะหายจากโรคนั้น แต่จงคิดว่า…ท่านจะรักษาโรค ไปตามเรื่องของมัน บางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย อย่างไรก็ตาม…ถึงแม้ท่านไม่เป็นโรคนี้ ท่านก็ต้องตายอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเสียใจ หรือหวาดกลัวต่อโรคนั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๒.จงตามดู ความรู้สึกภายในจิตอยู่เสมอ ถ้าจะวิตกกังวล…ให้ตัดทิ้งเลย ถ้าจะหงุดหงิด…ตัดทิ้งเลย ถ้าจะห่วงอะไร…ก็ตัดทิ้งไปเลย ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอ ปัญญาของท่าน ก็จะสมบูรณ์ เต็มเปี่ยมอยู่ในจิต นี่แหละ คือทรัพย์อันประเสริฐสุดในชีวิตของท่าน และสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ก็จะสลายตัวเองไปในที่สุด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๓.ปัญหา ที่ทำให้ท่านหนักใจเป็นทุกข์ จะไม่เกิดในจิต ถ้าท่านทำจิต ให้สลัดอารมณ์ดี-ร้ายเหล่านั้น อยู่เช่นนี้เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๔.สมาธิ ก็จะมั่นคงต่อเนื่องอยู่ในจิต แม้ท่านจะกำลังเดินเหิรไปมา หรือทำการงานทุกอย่างอยู่ ถ้าหากว่า ท่านพยายามทำจิต ให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้ สมาธิก็จะมั่นคงยิ่งขึ้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๕.อย่าคิด…จะให้สิ่งต่าง ๆ มันเป็นไปตามใจของท่านหมด แต่จงคิดว่า…มันจะเกิดเรื่องดี-ร้ายอย่างไร ก็ให้มันเกิด ท่านพยายามหาทางแก้ไขมัน ไปตามความสามารถ แก้ไขได้..ก็เอา แก้ไขไม่ได้..ก็เอา เรื่องดี..ก็ทิ้ง เรื่องร้าย..ก็ทิ้ง สุข..ก็ทิ้ง ทุกข์..ก็ทิ้ง แล้วจิตของท่านก็จะเป็น…อิสระ และไม่เป็นทุกข์เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๖.ท่านจงอย่าปล่อย ให้ความอยาก ความรักตัว หวงตัว เกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมชาติอย่างนั้น มันเป็นสิ่งสกปรกที่จะบั่นทอนจิตของท่าน ให้ตกต่ำและเป็นทุกข์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๗.พอมีเวลาว่าง จงน้อมจิตเข้าสู่สมาธิอันสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ แม้จะทำครั้งละ ๕ นาที สมาธิที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตได้เช่นเดียวกัน และจะเพิ่มปริมาณความสงบสะอาดของมันขึ้นเรื่อยไป จิตของท่านก็จะมั่นคง แข็งแกร่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๘.จงอย่าคิดว่า…ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจ ที่จะปฏิบัติควบคุมจิตของตนเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะความคิดอย่างนั้น มันเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๔๙.เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ ๑ - ๒ กลับไปกลับมา พร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า…นี่มันอะไร? ทำอย่างไร...เราจึงจะไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน? เราจะทำอย่างไร...จึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้ อย่างถูกต้องที่สุด?<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๐.การทำอย่างนี้ จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง และท่านจะเกิดความคิด ที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ปัญหานั้น ได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๑.หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้ ก็คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวางอย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยที่ท่านไม่เป็นทุกข์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๒.พอถึงเวลา ก็นั่งสมาธิอีก<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๓.พอออกจากสมาธิ ก็ตามดูจิต และทำจิต ให้ปล่อยวางเรื่อยไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๔.จงมองเห็น ความไม่เที่ยงของทุกสิ่ง อยู่เป็นประจำ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๕.จงยอมรับ การเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดี หรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๖.นี่คือ การฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๗.จงคิดเสมอว่า ชีวิตท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และความพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้น..จงอย่าประมาท คือ อย่ามัวเมาสนุกสนานอยู่ในโลก โดยไม่มองหาทางหลุดรอดให้กับตัวเอง เพราะความประมาทนั้น มันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึง สติปัญญาความหลุดพ้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๘.ความหลุดพ้นทางจิต คือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๕๙.ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้ เรียกกันว่า “การปฏิบัติธรรม” นั่นเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๐.ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๑.อย่าเชื่อง่ายจนเกินไป อย่าคิดว่าใครพูดอย่างไรก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่า…ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ๆ จึงจะถูก ธรรมะของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่า…จิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจ ฯลฯ อย่างนี้ก็อย่า<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    เพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๒.แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันวางได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละ จึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตของท่านได้จริง ๆ จากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๓.จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วกำลังความมั่นคงและความสงบของจิต ก็จะเกิดขึ้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๔.การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับ หรือกำหนดอะไรสักอย่างหนึ่ง อยู่อย่างต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๕.การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือ การปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๖.จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและฉลาด ให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๗.จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะสลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ทานอยู่เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๘.อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๖๙.มีเวลาเมื่อไร จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณา..สิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่น มันไว้ในใจ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๐.จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะความทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่าน หรือตั้งตนเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๑.จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้ว ถูกต้องแล้ว มันก็ดีแล้วและถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่น..ไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้น..ท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๒.จงพยายามเข้าหา ครูบาอาจารย์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะ ที่เป็นเช่นนั้น จะช่วยให้ท่านได้สติปัญญาและรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้อง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๓.อย่าลืมหลักปฏิบัติที่ว่า หยุดคิด..ให้จิตสงบ แล้วจากนั้น จึงคิด…อย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๔.อย่าถือมั่นว่า ชีวิต คือร่างกายและจิตใจของท่าน เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาจะเป็นทุกข์ เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๕.จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทอง ให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้จะช่วยให้จิตของท่านสะอาดและมีความพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๖.จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้ว…ท่านจะไม่ได้อะไร ดังนั้น จงฝึกจิตให้ สงบ และปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๗.จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๘.การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะดวงวิญญาณต่าง ๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่งคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๗๙.อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงาน และแสวงหาอะไร ๆ ที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๐.ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไร ๆ สมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยาก นั่นแหละ..ที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่ง คือ วัน…ที่สิ่งนั้น มันหายไปจากท่าน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๑.แต่ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละ อย่างนี้เรื่อยไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๒.ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมาย ประดังเข้ามา…ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้น ก็จะสลายไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๓.จงรู้ว่า…สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำกิจการงานใด ๆ อยู่ก็ตาม<O:p></O:p>
    ๘๔.สมาธิ เปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก<O:p></O:p>
    ๘๕.เพียงแต่ท่าน…สำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฏขึ้นมาในจิตทันที<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๖.จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียว ยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย ท่านจึงจะเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๗.ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น คือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกจากความทุกข์ได้<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๘.การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไร ๆ ตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมา ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๘๙.อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไร ๆ มาตามที่ท่านปรารถนา แต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่ง มันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้ จะเป็น อะไรเลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๐.เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร ก็จงใช้สติคิดดูว่า…ทำอย่างไรจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๑.ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้อะไร ๆ เหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้น ๆ ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือ มันจะทำให้ท่าน ไม่เป็นทุกข์ ในทุก ๆ กรณี<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๒.ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อจะเรียกปัญญา คือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุด…ความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๓.เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่งทำอะไรออกไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่ง…ที่คนทุกคนในโลกนี้ ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน <O:p></O:p>
    ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่า ท่านชนะมัน<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๔.เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาที…ท่านก็จะรู้วิธี ที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด <O:p></O:p>
    โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๕.เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้ อย่างที่กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือสภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นหรือเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไร..ก็ให้มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า…ในที่สุดแล้ว ท่านจะพลัดพรากและสูญเสีย แม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้ จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๖.เวลาประสบกับ…เรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไม…เรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไร ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้น ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๗.จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดี ก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละ ที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมัน ด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มัน เป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๘.จงเฝ้าสังเกตดู…ความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจอยู่ ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจ จะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๙๙.จงรู้ความจริงว่า “ทั้งความพอใจ และ ความไม่พอใจ” ก็ล้วนแล้วแต่...เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีก็ได้ถึงที่สุด<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๐๐.ถ้าจะเกิดความสงสัย อะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า…อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็น ความสะอาด บริสุทธิ์ ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า…ไม่มีอะไร ที่จะดีไปกว่า การเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบ และเป็นอิสระเสรีภายในจิตของท่านได้<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๐๑.ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี้แหละคือ สติปัญญา ความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๐๒.เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่เอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ นับ ๑-๒ ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้ จะเป็นอะไรจากสมาธิ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๐๓.เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิต สิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย<O:p></O:p>
    ๑๐๔.จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้ว..จงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลาแล้ว..จงออกมาสู้กับปัญหา อย่างนี้เรื่อยไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑๐๕.จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด ในสักวันหนึ่ง ซึ่งไม่นานนัก<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ทั้งหมดนี้คือ แนวทางที่ถูกต้องที่สุดในการที่จะเอาชนะความทุกข์ในชีวิตของท่าน ซึ่งแนวทางนี้เรียกว่า “การปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น” อันเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงพระประสงค์ที่จะให้ทุกคนเข้าถึง เพื่อความหมดทุกข์ทางใจในที่สุด.<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2010
  2. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    อ๊ายมันมองไม่เห็นเลย เอาแว่นส่องก็ยังไม่ล้าย...(ping-love
     
  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    อ่านยากจัง.................
     
  4. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    ก๊อปไปวางเลย .. นะคะ เดี๋ยวจะลบอันนี้ให้

    คู่มือดับทุกข์เพื่อจิตบริสุทธิ์ เข้าสู่นิพพานต่อไป(ไม่ต้องลงมาเกิด)<O:p</O:p
    ฉบับสมบูรณ์<O:p
    <O:p
    ๑.จงประพฤติศีล ๕ ให้สมบูรณ์ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด, ไม่ขโมยสิ่งของ ๆ ใคร, ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไม่ดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา<O:p
    <O:p
    ๒.แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควรสำหรับผู้ที่เป็นฆราวาส และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ<O:p
    <O:p
    ๓.ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา<O:p
    <O:p
    ๔.วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่จะพบเห็นรูป สี แสง สวรรค์นรก หรือเทวดาอินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น<O:p
    <O:p
    ๕.พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้ว ให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้า นับที่ลมหายใจทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๒ วนอย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้าๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันจะหยุดนับของมันเอง<O:p
    <O:p
    ๖.หรือบางทีอาจจะกำหนด “พุทโธ” ก็ได้ โดยหายใจเข้ากำหนดว่า “พุท” หายใจออกกำหนดว่า “โธ” อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นอุบายที่จะทำจิตให้หยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น<O:p
    <O:p
    ๗.แต่ในการฝึกแรก ๆ นั้น ท่านยังนับ หรือ กำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างตลอดรอดฝั่งเพราะมันมักจะมีความคิดต่าง ๆ แทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรก ๆ มันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก ๑๕ นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เองของมัน<O:p
    <O:p
    ๘.การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวัน ๆ ละ ๒ - ๓ ครั้ง แรก ๆ ให้ทำครั้งละ ๑๕ นาที และค่อยเพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงครั้งละ ๑ ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ปรารถนา<O:p
    <O:p
    ๙.ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือ สัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต<O:p
    <O:p
    ๑๐.เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไปถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใด ๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิด นึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ<O:p
    <O:p
    ๑๑.จงยกเอาปัญหานั้น ขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานี้…มันมาจากไหน? มันเกิดขึ้น…เพราะอะไร? เพราะอะไร…ท่านจึงหนักใจกับมัน? ทำอย่างไร…ที่ท่านจะสามารถแก้ไขมันได้? ทำอย่างไร…ท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน? <O:p
    <O:p
    ๑๒.การพิจารณาอยู่ ด้วยจิตอันสงบนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่าน มันจะค่อย ๆ รู้เห็น เกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมา โดยธรรมชาติชองมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุ ของปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายาม พิจารณาปัญหาต่าง ๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว<O:p
    <O:p
    ๑๓.ในกรณีที่ ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้น หลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะ หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งขึ้นมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืน…อะไรเพียงไหน? ท่านจะได้อะไร…จากชีวิต คือร่างกายและจิตใจนี้? ท่านจะอยู่ไปในโลกนี้นาน…เท่าไร? เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร? ให้พยายามถามตัวเอง เช่นนี้อยู่เสมอ
    <O:p
    ๑๔.หรือท่าน อาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเองที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนรวมหรือไม่? หรือท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง? และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้…ท่านจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูดจะทำ..แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสะอาด บริสุทธิ์ ของชีวิตของท่านเอง<O:p
    <O:p
    ๑๕.จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือท่านจะฝึกสมาธิ เพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลังและมั่นคง สภาวะจิตนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง<O:p</O:p
    <O:p
    ๑๖.สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้น ไปพัฒนาความคิดนึกหรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกนึกคิดที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “ปัญญา” นั่นเอง<O:p
    <O:p
    ๑๗.จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือ ความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้น ก็จะไม่หมดไปได้ เพราะการไหว้วอน บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทัน ตามความเป็นจริง ในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น<O:p
    <O:p
    ๑๘.ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบเสียก่อน จากนั้น จึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณา ทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์<O:p
    <O:p
    ๑๙.ท่านจะต้องรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลาย ๆ อย่าง ท่านไม่สามารถจะแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ตามสภาวะแวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือ ท่านจะต้องพยายามหาวิธีทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่า…ท่านทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไร…ก็ช่างมัน ปัญหามันจะหมดไปหรือไม่…ก็ช่างมัน ท่านจะได้หรือจะเสีย…ก็ช่างมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดี-ร้าย ได้-เสีย ก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน<O:p
    <O:p
    ๒๐.ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ตามเหตุปัจจัยของมัน เช่น เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ ตามเหตุปัจจัยของมัน เพราะทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้จริงแล้ว มันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาในโลก ก็ล้วนแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิดมาจากอำนาจของเทวดาฟ้าดินที่ไหนเลย มันเป็นของธรรมดาที่มีอยู่ในโลก อย่างนี้เอง<O:p
    <O:p
    ๒๑.จงรู้จักธรรมะ ข้อที่ว่า “อนิจจตา” ซึ่งแปลว่า “ความไม่เที่ยง” สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดี ไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะ ความเป็นของไม่เที่ยงของมันนั้นเอง ดังนั้น จงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดี-ร้าย ได้-เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า..มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่านรู้อย่างนี้ ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย<O:p
    <O:p
    ๒๒.จงรู้จักธรรมะ ข้อที่ว่า “ทุกขตา” ซึ่งแปลว่า “ความเป็นทุกข์” จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่ มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์ได้แก่ ความเกิด ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับในสิ่งที่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านั้นแหละคือ ความทุกข์ ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้ กำลังประสบอยู่<O:p
    <O:p
    ๒๓.จงรู้จักธรรมะ ข้อที่ว่า “อนัตตตา” ซึ่งแปลว่า “ความไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา หรือ ความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร” ข้อที่ว่า “สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น” หมายความว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะมี<O:p
    <O:p
    อยู่ในโลกนี้ เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นาน ก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้ตลอดไป ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนถาวรของมันจึงไม่มี ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย<O:p
    <O:p
    ๒๔.เมื่อทุกสิ่ง เป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวร เช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหล อยากได้ อยากเป็น อะไรในมันให้มากเรื่องไป โดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า?<O:p
    <O:p
    ๒๕.ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น ๒ ช่วง คือช่วงแรก ต้องทำจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ ๒ จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ<O:p
    <O:p
    ๒๖.พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น<O:p
    <O:p
    ๒๗.จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดี…ที่ถูกใจเรา เมื่อไรก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเรา เมื่อไรก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้น เราจึงต้องทำใจให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจ หรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น<O:p
    <O:p
    ๒๘.จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายาม รักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากได้ อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาให้จิตบริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ และสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้ จะทำให้จิตใจของท่านสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อน ได้เป็นอย่างดีที่สุด<O:p
    <O:p
    ๒๙.จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็จะรักษาจิต ให้สะอาดผ่องใส และไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่าง ๆ มาไว้ในใจ ให้หนักเปล่า ๆ เลย ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา<O:p
    <O:p
    ๓๐.จะคิดเรื่องอะไร ก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ให้พวกเขาได้รับความสุข สงบในชีวิต คิดเพื่อจะทำหน้าที่ของท่าน ให้ดีที่สุด คิดจะทำให้ตัวเองและคนอื่น สัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์อยู่เสมอ<O:p
    <O:p
    ๓๑.จงจำไว้ว่า ไม่มีสิ่งใด ที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์ได้ นอกจากความคิดผิดของท่านเอง ถ้าท่านคิดผิด ท่านก็จะเป็นทุกข์ ถ้าท่านคิดถูก ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<O:p
    <O:p
    ๓๒.จงอย่าเชื่อ สิ่งงมงาย ไร้เหตุผล เช่น เมื่อมีความทุกข์ หรือเกิดเรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนาขึ้น ก็ไปบนเจ้าที่เจ้าทาง ไปไหว้จอมปลวก ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ปรารถนาจะให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ที่ท่านหลงผิดคิดว่ามีอยู่ในสถานที่เหล่านั้นมาช่วยท่านให้พ้นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น นี่คือ ความงมงาย จงละเลิกมันเสีย เพราะ<O:p
    มันจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองทรัพย์สินและเวลา โดยไม่รับประโยชน์อะไรเลย พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น<O:p
    <O:p
    ๓๓.จงรู้ความจริงว่า เรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจนี้ เป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีอยู่ในโลกนี้ บางทีท่านก็ได้ตามปรารถนา แต่บางทีก็ไม่ได้ ตามปรารถนา มันเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้เอง อย่าตื่นเต้นดีใจหรือเสียใจไปกับมัน<O:p
    <O:p
    ๓๔.ตลอดเวลา ที่ท่านกำลังทำกิจการงานอะไรอยู่ จงน้อมจิตให้มองเห็นความสงบ ที่ท่านเคยพบในการฝึกสมาธิ และจงมองเห็น ความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก จงแยกมันให้ออกว่า สิ่งหนึ่ง คือ จิตอันสงบของท่าน ส่วนอีกสิ่งหนึ่งคือ ความปรุงแต่งวุ่นวายของโลก สิ่งทั้งสองนี้ มันแยกกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน<O:p
    <O:p
    ๓๕.ถ้าท่าน ไม่มองหาความสงบ แต่หันไปอยากได้อยากดีกับสิ่งภายนอก จิตของท่านก็จะสับสนวุ่นวายและเป็นทุกข์ แต่ถ้าท่านมองเห็น ความสงบในจิตและควบคุมจิตไม่ให้เกิดความอยาก ความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอขึ้นมาแล้ว จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ที่ใด ก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวย หรือยากจนสักเพียงใดก็ตาม แต่จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการฝึกจิตด้วยวิธีนี้<O:p
    <O:p
    ๓๖.จงใช้ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งปัญญานั้น หมายถึงความมีสติที่รู้จักประคับประคองจิตให้สะอาดอยู่เสมอ รู้จักทำจิตให้ปล่อยวาง ทำจิตให้โปร่งเบา รู้เท่าทันอะไรถูกอะไรผิด ถ้าผิดท่านจะไม่ทำไม่พูด ถ้าถูกท่านจึงจะทำจะพูด และรู้จักพิจารณาว่า…หน้าที่ ที่ท่านจะทำกับสิ่งนั้น ๆ คือ อะไร? แล้วก็ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด พยายามแก้ปัญหานั้นให้สงบไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และถูกต้องที่สุด โดยไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้จะทำให้ปัญญาของท่านคมชัด และจะไม่มีความทุกข์อยู่ในจิตเลย<O:p
    <O:p
    ๓๗.ท่านต้องรู้ว่า คนส่วนมากในโลกนี้ เขามีกิเลสคือ ความโลภ โกรธและหลง ดังนั้นบางทีเขาก็คิดถูกและทำถูก แต่บางทีก็คิดผิดและทำผิด บางทีก็โง่ บางทีก็ฉลาด เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องให้อภัยเขา ค่อย ๆ พูดกับเขา ไม่ด่าว่ารุนแรงกับเขา ท่านจะต้องใช้ปัญญาของท่านเข้าไปสอนเขา ไปชักจูงเขาให้เดินในทางที่ถูก นี่คือหน้าที่ของผู้มีปัญญา ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนโง่ที่มีอยู่ในโลกนี้ เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ผลที่จะได้รับ ก็คือ ท่านจะเป็นคนที่มีจิตใจเยือกเย็นและน่าเคารพกราบไหว้ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านจะไม่เป็นทุกข์ร้อนเลย แม้ว่าจะพบเห็นหรือเกี่ยวข้อง กับคนมากมายหลายประเภทในโลกนี้อยู่เสมอ<O:p
    <O:p
    ๓๘.การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ในตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิ อย่างนี้คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นสูงสุดแล้ว ก็คือ ความรู้จักปล่อยวาง ไม่แบกหามภาระใด ๆ มาไว้ในใจ จนนอนไม่หลับและเป็นทุกข์ นั่นเอง<O:p
    <O:p
    ๓๙.จงจำไว้ว่า การฝึกสมาธินั้น แท้จริงแล้วท่านทำเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นเองที่จะเป็นตัวทำลายความทุกข์ทางใจให้หมดสิ้นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่ การอ้อนวอนอธิษฐานเอาอะไร ๆ ตามใจตัวเอง<O:p
    <O:p
    ๔๐.จงตั้งใจว่า ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์หงุดหงิดใจเมื่อไร ท่านจะสลัดมันทิ้งเมื่อนั้น ท่านจะไม่เอาอารมณ์นั้นมาไว้ในใจ ถ้าท่านสลัดอารมณ์ไม่ดีให้หลุดไปได้เมื่อใด ท่านก็รู้แจ้งธรรมะ เมื่อนั้น ท่านจะหมดทุกข์ เมื่อนั้น ท่านจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของท่าน ในนาทีที่ท่านสลัดอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายออกไปจากใจได้<O:p
    <O:p
    ๔๑.ในตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จงอย่าคิด…อยากจะหายจากโรคนั้น แต่จงคิดว่า…ท่านจะรักษาโรค ไปตามเรื่องของมัน บางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย อย่างไรก็ตาม…ถึงแม้ท่านไม่เป็นโรคนี้ ท่านก็ต้องตายอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเสียใจ หรือหวาดกลัวต่อโรคนั้น<O:p
    <O:p
    ๔๒.จงตามดู ความรู้สึกภายในจิตอยู่เสมอ ถ้าจะวิตกกังวล…ให้ตัดทิ้งเลย ถ้าจะหงุดหงิด…ตัดทิ้งเลย ถ้าจะห่วงอะไร…ก็ตัดทิ้งไปเลย ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอ ปัญญาของท่าน ก็จะสมบูรณ์ เต็มเปี่ยมอยู่ในจิต นี่แหละ คือทรัพย์อันประเสริฐสุดในชีวิตของท่าน และสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ก็จะสลายตัวเองไปในที่สุด<O:p
    <O:p
    ๔๓.ปัญหา ที่ทำให้ท่านหนักใจเป็นทุกข์ จะไม่เกิดในจิต ถ้าท่านทำจิต ให้สลัดอารมณ์ดี-ร้ายเหล่านั้น อยู่เช่นนี้เสมอ<O:p
    <O:p</O:p
    ๔๔.สมาธิ ก็จะมั่นคงต่อเนื่องอยู่ในจิต แม้ท่านจะกำลังเดินเหิรไปมา หรือทำการงานทุกอย่างอยู่ ถ้าหากว่า ท่านพยายามทำจิต ให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้ สมาธิก็จะมั่นคงยิ่งขึ้น<O:p
    <O:p
    ๔๕.อย่าคิด…จะให้สิ่งต่าง ๆ มันเป็นไปตามใจของท่านหมด แต่จงคิดว่า…มันจะเกิดเรื่องดี-ร้ายอย่างไร ก็ให้มันเกิด ท่านพยายามหาทางแก้ไขมัน ไปตามความสามารถ แก้ไขได้..ก็เอา แก้ไขไม่ได้..ก็เอา เรื่องดี..ก็ทิ้ง เรื่องร้าย..ก็ทิ้ง สุข..ก็ทิ้ง ทุกข์..ก็ทิ้ง แล้วจิตของท่านก็จะเป็น…อิสระ และไม่เป็นทุกข์เลย<O:p
    <O:p
    ๔๖.ท่านจงอย่าปล่อย ให้ความอยาก ความรักตัว หวงตัว เกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมชาติอย่างนั้น มันเป็นสิ่งสกปรกที่จะบั่นทอนจิตของท่าน ให้ตกต่ำและเป็นทุกข์<O:p
    <O:p
    ๔๗.พอมีเวลาว่าง จงน้อมจิตเข้าสู่สมาธิอันสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ แม้จะทำครั้งละ ๕ นาที สมาธิที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตได้เช่นเดียวกัน และจะเพิ่มปริมาณความสงบสะอาดของมันขึ้นเรื่อยไป จิตของท่านก็จะมั่นคง แข็งแกร่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป<O:p
    <O:p
    ๔๘.จงอย่าคิดว่า…ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจ ที่จะปฏิบัติควบคุมจิตของตนเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะความคิดอย่างนั้น มันเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย<O:p
    <O:p
    ๔๙.เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ ๑ - ๒ กลับไปกลับมา พร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า…นี่มันอะไร? ทำอย่างไร...เราจึงจะไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน? เราจะทำอย่างไร...จึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้ อย่างถูกต้องที่สุด?<O:p
    <O:p
    ๕๐.การทำอย่างนี้ จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง และท่านจะเกิดความคิด ที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ปัญหานั้น ได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง<O:p
    <O:p
    ๕๑.หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้ ก็คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวางอย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยที่ท่านไม่เป็นทุกข์<O:p
    <O:p
    ๕๒.พอถึงเวลา ก็นั่งสมาธิอีก<O:p
    <O:p
    ๕๓.พอออกจากสมาธิ ก็ตามดูจิต และทำจิต ให้ปล่อยวางเรื่อยไป<O:p
    <O:p
    ๕๔.จงมองเห็น ความไม่เที่ยงของทุกสิ่ง อยู่เป็นประจำ<O:p
    <O:p
    ๕๕.จงยอมรับ การเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดี หรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน<O:p
    <O:p
    ๕๖.นี่คือ การฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก<O:p
    <O:p
    ๕๗.จงคิดเสมอว่า ชีวิตท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และความพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้น..จงอย่าประมาท คือ อย่ามัวเมาสนุกสนานอยู่ในโลก โดยไม่มองหาทางหลุดรอดให้กับตัวเอง เพราะความประมาทนั้น มันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึง สติปัญญาความหลุดพ้น<O:p
    <O:p
    ๕๘.ความหลุดพ้นทางจิต คือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม<O:p
    <O:p
    ๕๙.ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้ เรียกกันว่า “การปฏิบัติธรรม” นั่นเอง<O:p
    <O:p
    ๖๐.ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย<O:p
    <O:p
    ๖๑.อย่าเชื่อง่ายจนเกินไป อย่าคิดว่าใครพูดอย่างไรก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่า…ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ๆ จึงจะถูก ธรรมะของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่า…จิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจ ฯลฯ อย่างนี้ก็อย่า<O:p
    <O:p
    เพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้<O:p
    <O:p
    ๖๒.แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันวางได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละ จึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตของท่านได้จริง ๆ จากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น<O:p
    <O:p
    ๖๓.จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วกำลังความมั่นคงและความสงบของจิต ก็จะเกิดขึ้น<O:p
    <O:p
    ๖๔.การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับ หรือกำหนดอะไรสักอย่างหนึ่ง อยู่อย่างต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง<O:p
    <O:p
    ๖๕.การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือ การปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด<O:p
    <O:p
    ๖๖.จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและฉลาด ให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน<O:p
    <O:p
    ๖๗.จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะสลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ทานอยู่เสมอ<O:p
    <O:p
    ๖๘.อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด<O:p
    <O:p
    ๖๙.มีเวลาเมื่อไร จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณา..สิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่น มันไว้ในใจ<O:p
    <O:p
    ๗๐.จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะความทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่าน หรือตั้งตนเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม<O:p
    <O:p
    ๗๑.จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้ว ถูกต้องแล้ว มันก็ดีแล้วและถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่น..ไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้น..ท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง<O:p
    <O:p
    ๗๒.จงพยายามเข้าหา ครูบาอาจารย์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะ ที่เป็นเช่นนั้น จะช่วยให้ท่านได้สติปัญญาและรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้อง<O:p
    <O:p
    ๗๓.อย่าลืมหลักปฏิบัติที่ว่า หยุดคิด..ให้จิตสงบ แล้วจากนั้น จึงคิด…อย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ<O:p
    <O:p
    ๗๔.อย่าถือมั่นว่า ชีวิต คือร่างกายและจิตใจของท่าน เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาจะเป็นทุกข์ เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา<O:p
    <O:p
    ๗๕.จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทอง ให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้จะช่วยให้จิตของท่านสะอาดและมีความพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด
    <O:p
    ๗๖.จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้ว…ท่านจะไม่ได้อะไร ดังนั้น จงฝึกจิตให้ สงบ และปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา<O:p
    <O:p</O:p
    ๗๗.จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น<O:p
    <O:p
    ๗๘.การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะดวงวิญญาณต่าง ๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่งคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น<O:p
    <O:p
    ๗๙.อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงาน และแสวงหาอะไร ๆ ที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง<O:p
    <O:p
    ๘๐.ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไร ๆ สมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยาก นั่นแหละ..ที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่ง คือ วัน…ที่สิ่งนั้น มันหายไปจากท่าน<O:p
    <O:p
    ๘๑.แต่ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละ อย่างนี้เรื่อยไป<O:p
    <O:p
    ๘๒.ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมาย ประดังเข้ามา…ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้น ก็จะสลายไป<O:p></O:p>
    <O:p
    ๘๓.จงรู้ว่า…สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำกิจการงานใด ๆ อยู่ก็ตาม
    <O:p
    ๘๔.สมาธิ เปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก<O:p
    ๘๕.เพียงแต่ท่าน…สำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฏขึ้นมาในจิตทันที<O:p
    <O:p
    ๘๖.จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียว ยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย ท่านจึงจะเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้<O:p
    <O:p
    ๘๗.ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น คือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกจากความทุกข์ได้<O:p
    <O:p
    ๘๘.การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไร ๆ ตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมา ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย<O:p
    <O:p
    ๘๙.อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไร ๆ มาตามที่ท่านปรารถนา แต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่ง มันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้ จะเป็น อะไรเลย<O:p
    <O:p</O:p
    ๙๐.เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร ก็จงใช้สติคิดดูว่า…ทำอย่างไรจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน<O:p
    <O:p
    ๙๑.ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้อะไร ๆ เหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้น ๆ ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือ มันจะทำให้ท่าน ไม่เป็นทุกข์ ในทุก ๆ กรณี<O:p
    <O:p
    ๙๒.ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อจะเรียกปัญญา คือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุด…ความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก<O:p
    <O:p
    ๙๓.เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่งทำอะไรออกไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่ง…ที่คนทุกคนในโลกนี้ ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน <O:p
    ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่า ท่านชนะมัน<O:p
    <O:p
    ๙๔.เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาที…ท่านก็จะรู้วิธี ที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด <O:p
    โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย<O:p
    <O:p
    ๙๕.เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้ อย่างที่กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือสภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นหรือเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไร..ก็ให้มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า…ในที่สุดแล้ว ท่านจะพลัดพรากและสูญเสีย แม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้ จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย<O:p</O:p
    <O:p
    ๙๖.เวลาประสบกับ…เรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไม…เรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไร ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้น ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา<O:p
    <O:p
    ๙๗.จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดี ก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละ ที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมัน ด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มัน เป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<O:p
    <O:p
    ๙๘.จงเฝ้าสังเกตดู…ความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจอยู่ ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจ จะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ<O:p
    <O:p
    ๙๙.จงรู้ความจริงว่า “ทั้งความพอใจ และ ความไม่พอใจ” ก็ล้วนแล้วแต่...เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีก็ได้ถึงที่สุด<O:p
    <O:p
    ๑๐๐.ถ้าจะเกิดความสงสัย อะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า…อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็น ความสะอาด บริสุทธิ์ ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า…ไม่มีอะไร ที่จะดีไปกว่า การเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบ และเป็นอิสระเสรีภายในจิตของท่านได้<O:p
    <O:p
    ๑๐๑.ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี้แหละคือ สติปัญญา ความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย
    <O:p
    ๑๐๒.เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่เอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ นับ ๑-๒ ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้ จะเป็นอะไรจากสมาธิ<O:p
    <O:p
    ๑๐๓.เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิต สิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย
    <O:p
    ๑๐๔.จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้ว..จงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลาแล้ว..จงออกมาสู้กับปัญหา อย่างนี้เรื่อยไป<O:p
    <O:p
    ๑๐๕.จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด ในสักวันหนึ่ง ซึ่งไม่นานนัก<O:p
    <O:p
    ทั้งหมดนี้คือ แนวทางที่ถูกต้องที่สุดในการที่จะเอาชนะความทุกข์ในชีวิตของท่าน ซึ่งแนวทางนี้เรียกว่า “การปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น” อันเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงพระประสงค์ที่จะให้ทุกคนเข้าถึง เพื่อความหมดทุกข์ทางใจในที่สุด

     
  5. uchen

    uchen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +122
    ขออนุโมทนาบุญ สาธุครับ ยอมรับเลยว่าน่าจะเขียนออกมาจากประสบการณ์จริงตัวเอง และเป็นความหมายของวิมุติ คือความหลุดพ้น ของทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจทั้งปวง เมื่อจิตใจผ่องใส ร่างกายใบหน้าผิวพรรณก็ผ่องใส อารมณ์จิตใจก็เย็นลง ถึงนี้แล้วสติปัญญาจะเกิดขึ้นกับตัวเองตลอด โอ้!!! เป็นการอธิบายธรรมะของพุทธองค์ที่ประเสริฐจริงๆ ข้าพเจ้าขอยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต สาธุ

    อนุโมทนาบุญ อีกครั้งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...