อยากทราบถึงลักษณะองค์ธรรมในปฐมฌานครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย chans, 5 ตุลาคม 2010.

  1. chans

    chans Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +68
    ว่าผู้ที่ทำสมาธิโดยการบริกรรมพุทโธ หากเข้าถึงองค์ธรรมที่ชื่อวิตกและวิจารณ์จะมีลักษณะเป็นอย่างไร รวมทั้งปีติ สุข เอกัคตารมณ์ด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌานตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลยคงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่างเป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจแต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p></O:p>
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อาการปิติเป็นอาการที่ถามกันมาก.....ซึ่งผู้ปฏิบัติมักจะข้องใจเมื่อเกิดอาการนี้....

    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 45%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ<O:p</O:p
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <O:p</O:p
    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล
    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  4. prapanuch

    prapanuch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +853
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<o>:p></o>:p>(เมื่อเรา มาถึงจุดนี้แล้ว ขั้นต่อไป เราควรทำอย่างไรต่อไป ขอผู้รู้โปรดอธิบาย ค่ะ)
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตอบแล้ว หากไม่ไปปฏิบัติ ตนเองก็จะไม่รู้

    1 วิตก วิจารณ์ ไม่อยากจะแยก เอาเป็นว่า เหมือนคน นั่งชิงช้า แกว่งไปแกว่งมา อยู่อย่างนั้น ไม่ไปที่อื่น ถ้าบริกรรมพุทโธ มันก็จะพุทโธ จ่ออยู่อย่างนั้น ใจแนบไปกับพุทโธ เท่านั้่น

    2 ปีติ และ สุข ก็ จะเกิดอาการเบาตัว เหมือนตัวนี้เบาๆ โล่ง เกิดอาการเบา สุข อารมณ์ทุกข์เวทนา ไม่ปรากฎ แต่จะปรากฎเป็น สุขเวทนา คือ สบาย
    ทีนี้ บางคนบอกว่า ปิติ เกิดอาการแบบนั้นแบบนี้ น้ำตาไหลบ้าง ตัวร้อนบ้าง อันนั้นเป็นปีติแบบหยาบ แต่ จริงๆ แล้ว ปีติ ที่จะเข้าถึง นิพพาน ถ้าขัดเกลาให้ดี คือ สงบ เบา เย็น นิ่ง

    3 เอกคตา อารมณ์ ก็จะเกิด อาการนิ่งอยู่ตั้งมั่น ไม่คิดสอดส่าย จิตเป็นหนึ่ง เปรียบเหมือน ยาง เมื่อ ยืดแล้วหดกลับดังเดิม อุปมาว่า เมื่อเกิดเอกคตารมณ์ แล้ว แม้่ออกจาก ฌาณ แล้ว ไปทำอะไรก็ตาม จิตจะยังเป็นหนึ่ง ไม่ค่อยแตกออก ไปใน ความคิดปรุง หรือ อารมณ์ ต่างๆ ตั้งมั่นอยู่ได้นาน

    นั่นแหละ อารมณ์ ปฐมฌาณ
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ทำให้คล่อง.....เมื่อต้องการความสงบแห่งจิตเมื่อใด...ก็สามารถทำได้.....

    เมื่อจิตมีกำลัง ควรแก่การงาน..ก็ใช้ในการเจริญวิปัสสนาต่อไป....

    หรือถ้าใครยังนิยมการเกิดหรือฝึกหลายๆด้าน...ก็สามารถ ฝึก อรูปฌาน หรือ กรรมฐานกองอื่น อีก ๓๙ กองได้ง่าย....โดยต้องจบกองแรกก่อน........อันนี้ก็แล้วแต่อุปนิสัยของใครของมัน.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]


    ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้


    ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?


    พุทธดำรัส ตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล”​

    ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
    ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ : ๓๖๐-๓๖๑
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒
     
  8. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    สาธุ อนุโมธนา ด้วยครับ
    .
    ผมเคยนั่งจนเห็นแต่แสงสว่างเป็นวงกลม คล้ายน้ำมันวนไปวนมา ไม่รู้สึกถึงร่างกาย
    .
    ขนลุกซู่ซ่า,น้ำตาไหล,ร่างกายเอนไปมา เคยครับ - แต่ผมเป็นคนขี้เกียจทำไงดี ^^

    ปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง แต่จะเริ่มตั้งใจละ แต่มีหลายครั้งนั่งไปนานๆ ลมหายใจเบาลงๆ

    จนหยุดไป ตัวเกร็งมากเหมือนจะหายใจไม่ออก แต่มันก็อยู่ได้ เคยรู้สึกว่ากลัวตาย

    เพราะขาดอากาศหายใจ แต่พอศึกษาเรื่องการทำสมาธิมากเข้า ก็เข้าใจ

    และพยายามทำต่อไปโดยไม่สนใจ............
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    หลวงพ่อชา เคยสอน ขี้เกียจก็ปฏิบัติ ขยันก็ปฏิบัติ.....

    การปฏิบัติเราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ใช่ว่าการปฏิบัติคืออะไรที่จะต้องเอาเวลาไปทำอย่างเดียว....
     
  10. chans

    chans Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +68
    ขอบพระคุณมากๆครับที่ช่วยชี้แจงให้เข้าใจ ทุกคำตอบมีประโยชน์ต่อผมมาก ตอนนี้ผมก็ฝึกสมาธิจิตอยู่ทุกวันครับ ทั้งเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ในกลุ่มเพื่อนๆที่ทำสมาธิด้วยกันมักมีคำถามที่ไม่มีคำตอบอยู่บ่อยๆ(เพราะใหม่ด้วยกันทั้งนั้น)งั้นผมขอถามในข้อที่ข้องใจอีกนิดนะครับ ขณิกะสมาธิ อุปปจาระสมาธิ และอัปปณาสมาธิ ผมเข้าใจว่าเป็นขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นสูงใช่ไหมครับ ในการเข้าสู่ฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานถึงจตุถฌาน ในแต่ละขั้นฌานนั้นมีทั้งขณิกะ อุปปจาระ และอัปปณาอยู่ในตัวเองทุกขั้นของฌานนั้นอยู่แล้วหรือเป่ลาครับ หรือว่าตั้งแต่ทุติยะฌานขึ้นไป จัดเป็นอุปปจาระ ตติยะฌานขึ้นไปจัดเป็นอัปปณาสมาธิ ขอเป็นเกร็ดความรู้ไว้ครับ คิดว่าเป็นธรรมทานแก่ผู้มาใหม่ครับขอบพระคุณมากๆครับ
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ตามแบบที่ผมเคยศึกษาและปฏิบัติตาม...เขาแบ่งกันอย่างนี้ครับ....

    ขนิกสมาธิ คือ สมาธิเล็กน้อย

    อุปจารสมาธิ คือสมาธิที่ต่อจากขนิกสมาธิ มีกำลังมากกว่า ตั้งมั่นกว่า

    ซึ่งในสองชั้นแรกนี้เพียงพอต่อการเจริญปัญญาพิจารณาธรรม......

    ต่อมาเป็นเรื่องของฌาน ไล่ลำดับไป...๑ ถึง ๔ แล้วต่อไป อรูป ๔ ต่อไป นิโรธสมาบัติ(นิโรธสมาบัติ เป็นของพระอนาคามี และ พระอรหันต์เท่านั้นที่จะทรงได้..ส่วนสมาธิที่ต่ำลงมายังอยู่ในส่วนของโลกีย์ฌาน..มีเสื่อมได้.....ซึ่งถ้าไม่เป็นพระอริยบุคคลก็ฝึกได้...หรือแม้เป็นพระอริยบุคคลก็ทรงไว้ได้...เพราะเป็นวิหารธรรม...แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วจะแปรเป็นโลกุตรฌานไม่มีเสื่อม...)...ประโยชน์ของสมาธิชั้นสูงขึ้นไปก็เพื่อทรงกำลังความสงบแห่งจิตไว้ได้....และมีกำลังมากกว่า...มีความตั้งมั่นมากกว่า...มีสุขมากกว่า....และสามารถเป็นกำลังพื้นฐานให้กับวิปัสสนาได้(นอกจากนี้อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายเพิ่มเติมละเอียดเช่นใดผมก็ว่าตามท่านหละครับ..เพราะผมก็เอามาจากท่านนั้นหละครับ).....

    ข้อมูลนี้....อ้างได้ใน ตำรา คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง ซึ่งเอาต้นแบบมาจาก วิสุทธิมรรค....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ผมไม่รู้ว่าการแบ่งแบบ ขนิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปณาสมาธิ...นี่อยู่ในเล่มใหน....

    แต่เห็นครูบาอาจารย์ที่แบ่งอย่างนี้....ก็มีอยู่ เช่น หลวงพ่อพุธ ฐานิโย......ท่านพูดถึงการปฏิบัติให้ถึงอัปณาสมาธินั้นบ่อยมาก....และท่านก็บอกสภาวะว่า ตัวรู้เด่นดวงอยู่...ไม่สนใจอาการภายนอก.....อารมณ์ตั้งมั่น......ควรแก่การงาน.....ถ้าเป็นเช่นนั้นพออนุมานได้เลยว่า......ท่านกล่าวถึงสภาวะของ ฌาน ๔ ....เพราะว่าฌาน ๔ มีสภาวะเป็นอย่างนั้น......

    เข้าใจว่าน่าจะเป็นการแยกแบบให้เข้าใจง่าย.....แต่ไม่ได้ละเอียดในสภาวะแต่ละชั้น...เหมือนในวิสุทธิมรรค......และไม่รู้ว่าการแยกแบบนี้เกิดขึ้นหลังหรือก่อนยุคอรรถกถา......
     
  13. รัก_D

    รัก_D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,096
    ผมก็สงสัย พอปฏิบัติไปพอถึงจุดนั้นจุดนี้มักจะคิดว่าเอะใช่หรือไม่ใช่อย่างนั้นอย่างนี้ก็เลยเกิดนิวรณ์ นั่น..โดนเข้าอีก

    อยากถามว่าพอถึงแล้วจะรู้ขึ้นมาใจจิตเลยหรือเปล่าว่าถึงนั่นถึงนี่.. ผมก็ไม่เคยลองถามในจิต
    รอฟังท่านที่คล่องดีกว่า
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    แนะนำให้คุณทำให้ได้ก่อน....แล้วค่อยกลับมาสงสัย....

    ให้เอามารมณ์ในฌาน ๔ เป็นเครื่องวัด......

    สงสัยก่อนมักไม่ได้อะไร....เข้าใจนะ....
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    กินข้าวเอง อิ่มเอง ไม่สงสัย

    ถ้ากินข้าวแล้ว อิ่มแล้ว ไม่สังเกตุ เป็นคนหลงๆ ลืม อิ่มแล้วก็ลืม สงสัยว่า เรากินข้าวหรือยัง

    ให้มีสติ สังเกตุตนเองให้ดี นั่นแหละ จะเป็นตัวบอกทั้งหมด

    ให้เจริญมหาสติปัฎฐาน 4 ให้ดี
     
  16. chans

    chans Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +68
    ขอบพระคุณมากๆครับ ที่ให้ความรู้และช่วยเตือนสติ ผมได้ฝึกสมาธิแบบต่อเนื่องมาก็ราวๆสามเดือน ก็รู้สึกว่าได้ชิมความเป็นสมาธิบ้างแล้ว (คงเป็นขณิกะสมาธิ) ผมพยายามตั้งข้อสังเกตุอยู่ว่าในความที่เป็นสมาธินั้น จิตผมเริ่มต้นยังไง ถอนออกยังไง และที่สำคัญคือทำยังไงจะตั้งจิตให้มั่นในสมาธินั้นให้ได้นาน อืมมม นั่นสินะ (ต้องพยายามต่อไป)
     

แชร์หน้านี้

Loading...