ช่วยอธิบายทีครับ อานาปานสติ,วิปัสนากรรมฐานและมโนมยิทธิ คืออะไรกันบ้างครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย romanov, 12 กันยายน 2010.

  1. romanov

    romanov Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +30
    ช่วยอธิบายทีครับ อานาปานสติ,วิปัสนากรรมฐานและมโนมยิทธิ
    เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกันยังไงครับ งงมากครับ
     
  2. ฅนล้านนา

    ฅนล้านนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +1,000
    ผมไม่เก่งแต่พอธิบายได้ดังนี้
    อานาปานสติคือการทำสมาธิโดยการกำหนดลมหายใจเปนหลัก(ซึ่งอันที่จริงมีวิธิการทำสมาธิทำได้หลายวิธีรายละเอียดมีอีกเยอะครับ)
    วิปัสนากรรมฐานคือการพิจารณาธรรมอันเปนจริงแต่จะทำได้ดีต้องมีสมาธิโดยการที่ไปเริ่มที่อานาปนสติหรือกรมมฐานกองอื่นๆก่อน
    ส่วน"มโนมยิทธิ"ต้องรอให้ผู้รู้มาอธิบายดีกว่าครับ
    ก็อธิบายพอคร่าวๆนะครับเพราะผมยัังไม่เก่งพอครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อานาปานสติ กรรมฐานเนื่องด้วยลมหายใจ

    วิปัสนากรรมฐาน เป็นชื่อของกรรมฐานสายที่ใช้วิธีเจริญสติ...เขาใช้ชื่อนี้เรียกเป็นสมมุติบัญญัติ.. แปลแบบตามตัว....วิปัสสนา แปลว่า รู้เห็นตามความเป็นจริง...กรรมฐาน แปลว่าที่ตั่งแห่งกรรม หรือ แนวการปฏิบัติ....แปลรวม แนวการปฏิบัติที่ทำให้รู้เห็นตามความเป็นจริง(ถ้าเป็นความหมายรวม..ทุกสายก็เพื่อเรื่องนี้หมดครับ...คือรู้เห็นตามความเป็นจริง(ปัญญา).)...

    มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ

    ถามว่าเกี่ยวกันไม....ถ้ามองว่าเกี่ยวก็เกี่ยว......ถ้ามองแยกว่าไม่เกี่ยวก็ไม่เกี่ยว....

    ธรรมของพระพุทธเจ้าย่อมไปหากันได้หมด....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2010
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จะไปงงทำไม...ของเขามีให้ปฏิบัติ....ไม่ใช่มีไว้ให้งง.....
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ใครรู้ก็ช่วยให้เขาหายงงหน่อย...................
     
  6. Lue_b18

    Lue_b18 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +1,080
    อานาปานสติ คือการรู้ลมหายใจเข้า-ออก เป็นกรรมกองหนึ่งใน 40 กอง ที่นิยมนำมาฝึกมากที่สุดเหมาะกับจริตทุกคน

    วิปัสนากรรมฐาน เป็นเเนวปฎิบัติที่ต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณาหลักธรรม เพื่อให้จิตมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น เเต่ทั้งสองอย่างนี้ต้องปฎิบัติควบคู่กันไป เรียกว่า สมถะวิปัสนากรรมฐาน


    มโนมยิทธิ คือเเนวทางปฎิบัติเพื่อให้ผู้ปฏิบัติบรรลุอรหันต์ มี 4 สาย มโนยิทธิจัดเป็นกึ่งวิชาสามวิชาหก ซึ่งอยู่ที่จริตของเเต่ละคนจะเลือกฝึก โดยในการฝึกปฎิบัติทั้ง 4 สายนี้ต้องใช้ สมถะเเละวิปัสนากรรมฐานเป็นเเม่บทใหญ่
     
  7. วรรณนรี05

    วรรณนรี05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +903
    อานาปานุสสติ เป็นกัมมัจฐาน สำคัญ ไม่ว่าใครจะฝึก กัมมัจฐาน กองไหน ถ้าไม่มีอานาปานุสสติคุม กัมมัจฐาน นั้นๆ จะไม่มีผลเลย เพียงแต่คนที่ฝึกเข้าใจมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง
    ส่วนวิปัสสนา คือ อารมณ์ ในขอบเขต ของ อริยสัจสี่ ต้องในขอบเขตเท่านั้นถ้าเกินนั้น ถือว่าฟุ้ง อารมณ์คิด จะเกิดได้ ก็เมื่อ สติ สัมปัญญะ ทรงตัว ไม่ใช่อยู่ๆ จะนั่งคิดขึ้นมาเองได้
    ต้องฝึกก่อนแล้วจะรู้

    ส่วน มโนม ยิทธิ คืออภิญญา เล็ก หรือ ฤททิ์ใจ จริงๆแล้วจะเรียกว่าฌาณสี่ละเอียดก็ได้มาตอน หลังหลวงพ่อบอกว่า ลดกำลังลงมา อยู่แค่ อุปจารสมาธิ เพื่อจะได้ฝึกได้ทุกคน
    เพราะถ้ารอฌาณสี่ละเอียดคงได้ยาก ดูได้จากการฝึกเต็มกำลัง จะฝึกได้ผลน้อยมา เพราะ
    ส่วนมากไม่มีกำลังของฌาณสี่ **และที่ถามมานั้นถ้าคุณเข้าใจ อุปจารสมาธิว่าเป็นอย่างไรแล้ว เป็นเรื่องง่ายที่คุณจะฝึก มโนมยิทธิ
     
  8. คิเคียว

    คิเคียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +459
    1. อานาปานสติคือ วิธีการทำสมาธิโดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก จนทำให้เกิดสมาธิ หรือเรียกว่าสมถะกรรมฐาน
    2. พอทำสมถะกรรมฐานจนสมาธิเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จึงใช้มโนมยิทธิไ้ด้
    3. หรือถ้าไม่ใช้มโนมยิทธิก็ทำสมถะกรรมฐานจนเป็นสมาธิในระดับหนึ่ง
    จึงพิจารณาร่างกาย ว่ามันไม่เที่ยง การพิจารณานี้เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน


    * ทั้งนี้ ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันเพื่อเป็นไปเพื่อความดับทุกข์
    ** มโนมยิทธิมีไว้เพื่อพิสูจน์คำพูดของพระพุทธเจ้าว่านรก-สวรรค์มีจริง
    เป็นประโยชน์ในด้านความเลื่อมใสต่อพุทธศาสนา และอื่นๆอีกมากมายหากรู้จักใช้


    ปล. ดิฉันใช้มโนมยิทธิไม่ได้อะ!!
     
  9. วรรณนรี05

    วรรณนรี05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +903



    ** เห็นบรรยายมาอย่างดี แล้วทำมัยใช้มโนมยิทธิ ไม่ได้


    การใช้มโนมยิทธิ ต้องเปลี่ยน คำ ภาวนา เป็น นะ มะ พะ ธะ เท่านั้น

    จึงไปได้ ลองทำดูค่ะ เป็นกำลังใจ ให้ ได้โดยง่าย
     
  10. พรเทวราช

    พรเทวราช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +426
    อานาปานสติ คือการฝึกจิตให้มีสมาธิ โดยใช้ลมหายใจ เข้าออก เป็นเครื่องหมาย เพื่อให้เกิดตั้งมั่นของจิต โดยมีฌาน เป็นจุดหมาย

    วิปัสนากรรมฐาน คือการพิจารณา ตามความเป็นจริง โดยโยงเข้าหากฏของไตรลักษณ์ และ อริยสัจน์ ๔ มีจุดมุ่งหมาย คือการประหานกิเลส

    มโนมยิทธิ คือแนวทางปฏิบัติ ที่สูงกว่าวิชชาสาม และต่ำกว่าอภิญญา นิดหน่อย ใช้พิสูจน์คำสอนเรื่องภพภูมิ และ ทำอาสวกิเลส ให้ลดน้อยถอยลงไป ด้วยการรู้เห็น ตามความเป็นจริง
     
  11. คิเคียว

    คิเคียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +459
    ก็เพราะเป็นสุกขวิปัสสโกไงคะ ฮ่าๆๆ แล้วไม่ค่อยชอบทำสมถะ แต่ฝักใฝ่วิปัสสนา ผลออกมาก็เป็นแบบนี้แหละ!!
     
  12. แมวธนู

    แมวธนู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +856
    ก็แค่ วิธีการ ซึ่ง สามารถลิ๊งค์ไปหาจุดหมายจุดเดียวกันได้ (ถ้าทำจริงๆอะนะ)

    กองทราย จะ 40กอง หรือ 80 กอง หรือ เป็นร้อยๆกอง เวลามารวมกันแล้ว มันได้กี่กองแหละ ชิมิ ชิมิ

    เลิกเอาซักอย่าง แล้วตั้งใจทำไป ..ทำให้จริง..ทำให้เนื่องๆเท่านั้น เดี๊ยว รู้เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2010
  13. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    อานาปานสติ หมายถึง มีสติอยู่ที่ลมหายใจ

    ซึ่งเป็นวิธีทำสมาธิกรรมฐานโดยการตามรู้หรือกำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้ายาวรู้ ออกยาวรู้ หายใจเข้าสั้นรู้ออกสั้นรู้ ถี่ขึ้นรู้ จากนั้นลมก็ละเอียดขึ้น ๆๆๆๆๆๆ จิตรวมแน่วแน่อยู่ สงบอยู่ สมาธิแบบนี้เรียกว่า สมถสมาธิ เป็นสมาธิเพื่อความสงบ ซึ่งยังไม่ให้คุณเต็มที่

    วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง ฐานของการงานเพื่อการรู้แจ้ง

    คือการทำให้รู้แจ้ง ทีนี้การที่จะรู้แจ้งได้ก็ต้องมีวิธี วิธีการทำให้รู้แจ้งก็คือวิปัสสนา แล้วทำอย่างไร ส่วนใหญ่จะเริ่มจากสมถกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง แต่กองที่ทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้เร็วและตรงสุดคือ สติปักฐาน ๔ ได้แก่ ๑. กายานุปัสสนา (มี ๖ อย่าง ซึ่ง อานาปานก็เป็นหนึ่งในนั้น) ๒. เวทนานุปัสสนา ๓. จิตตานุปัสสนา และ ๕. ธรรมานุปัสสนา

    สติปักฐาน ๔ เป็นทางดำเนินไปสู่การวิปัสสนาเพื่อการรู้แจ้งหรือให้เกิดปัญญารู้แจ้ง (มีบางคนแย้งว่าสติปักฐาน ๔ ไม่ใช่วิปัสสนา จริง ๆ แล้วเป็นทั้งใช่ก็ได้ไม่ใช่ก็ได้ มีบางท่านพูดว่าระหว่าสมถกับวิปัสสนาเสมือนมีฟิล์มบาง ๆ กันเท่านั้นเอง จากสมถ ถ้าขยับนิดเดียวก็เป็นวิปัสสนา เช่น ถ้าเราหิว แล้วระงับความหิวด้วยการข่มด้วยสมาธิ นี่เป็นสมถะ แต่ถ้าเราดับความหิวด้วยปัญญาเราก็กำหนดรู้ที่ความหิวความหิวจะดับไปเอง นี่เป็นวิปัสสนา)

    ย้อนกลับไปที่สติปักฐาน ๔ ในข้อ ธรรมานุปัสสนา ในธรรมานุปัสสนามีธรรมที่เป็นวิปัสนาภูมิอยู่ด้วย เช่น มีเรื่องการพิจารณาขันธ์ ๕ อยะตนะ ๖ (อายตนะ ๖ และ ธาตุ ๑๘) อริยสัจย์ ๔ ปฏิจสมุปบาท ๑๒ ... ในนี้แหละมีวิปัสสนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง (แนะนำให้หาอ่านเรื่องวิปัสสนาภูมิ ๖)

    มโนมยิทธิ หมายถึง ฤทธิ์ทางใจ อันนี้ขอให้ผู้รู้ท่านอื่นตอบล่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2010
  14. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,306
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ตามนี้ได้เลยครับคุณ romanov เวปสอนปริยัติธรรม on line เรียนฟรีครับ ในนั้นมีทุกอย่างที่คุณต้องการรู้ครับ บทเรียนอยู่ทางขวามือของเวปครับ สนใจก็สมัครเรียนเป็นนักเรียนได้ครับ เรียนจบได้ใบประกาศนียบัตรด้วยครับ เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ อนุโมทนาครับ

    ปล. ผมเพิ่งเข้าไปเช็คเมื่อครู่นี้ รู้สึกบทเรียนจะหายไปครับ สงสัยเค้ากําลัง update เวปอยู่ ยังไงก็รอไปซักพักก่อนเเล้วกันครับ เเต่ยังไงก็เข้าไปดูก่อนได้ครับ อนุโมทนาครับ

    อภิธรรมโชติกะ,อภิธรรมออนไลน์,มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม
     
  15. ฅนล้านนา

    ฅนล้านนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +1,000
    ...มีท่านผู้รู้มาอธิบายแล้ว ยัง ง.งูสองตัวอยู่หรือเปล่าครับคุณ romanov
    เข้ามาตอบด้วยก็จะดีมากน่ะครับ
     
  16. romanov

    romanov Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +30
    ขอบคุณทุกคำตอบเลยครับ เข้าใจดีขึ้นเยอะเลยครับ
    คือผมศึกษาเองนะครับ ไม่มีครูบาอาจารย์ ใช้หาอ่านเอาเองครับ
    ก็เวลาอ่าน ผมก็ไม่รู้ว่าต้องเริ่มอ่านที่อะไร ผมก็หาอ่านไปเรื่อย
    เรื่องนี้นิดเรื่องนั้นหน่อย มันจึงไม่ปะติดปะต่อกัน
    ถ้ามีอะไรสงสัยไม่เข้าใจอีก ก็ต้องขอรบกวนทุกคนอีกครั้งนะครับ
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ผมจะร้อยเรียงความเกี่ยวข้องให้ดูนะ

    1. อานาปานสติ คือ กรรมฐานที่ปรากฏกับตัวง่ายที่สุด เพราะเป็นเรื่องลมหายใจ
    และเพราะความที่มันติดกับตัว มีทุกคน พระท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะวิธีปฏิบัติสายไหนๆ
    (ในปัจจุบัน) จึงมักเอา อานาปานสติ วางไขว้ไว้ เพื่อเป็น แผนสอง

    จำคำว่า แผนสองไว้นะ

    2. มโนยิทธิ หรือ(แม้แต่วิธีการ แนวฝึกอื่นๆ ที่ไม่ใช่อานาปานสติ) เป็นกรรม
    ฐานที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านทำแล้ว ปฏิบัติแล้ว ทราบชัดในหนทางที่ตนเดิน จึง
    ยกชื่อ กรรมฐานสายนั้นๆเป็นตัวชูโรง เป็น แผนที่ 1

    และการปฏิบัติใน แผนที่ 1 หรือ แผนสำรอง(แผนสอง) ก็ดี เมื่อปฏิบัติได้
    อย่างไรแล้ว จะมากจะน้อย จะต้องตามด้วย แผน3 คือ วิปัสสนา ด้วย ถ้า
    ขาดการทำแผน 3 ก็จะไม่ชื่อว่าได้ทำสิกขาครบ

    * * * *

    ความก้ำเกิน ของ แผน 1 กับ แผน 2 คือ กรณีที่คนปฏิบัติไม่สามารถ
    หรือ อินทรีย์ยังอ่อนที่จะทำตาม แผนที่ 1 เพียวๆ อย่างน้อยคนๆนั้น จะปฏิบัติ
    แบบแผน 2 ได้ ไม่มากก็น้อย กล่าวคือ หากฝึกแบบมโนยิทธิยังไม่ได้ผล อย่าง
    น้อยจะยังได้ชื่อว่า ทำอานาปานสติ อยู่ ไม่เสียกรรมฐานไปเสียหมด

    แต่ไม่ว่าจะสำเร็จจาก แผน 1(มโนยิทธิ ฯ) หรือ มาลงเอยที่แผน 2(อานาปานสติ)
    หากไม่ขึ้นมาทำ แผน 3 (วิปัสสนา) ก็จะไม่ถือว่าได้ ทำสิกขา ให้ครบ

    * * * * *

    สรุปแล้ว หาก จขกท ต้องการทำมโนยิทธิ เพียวๆ ก็เพียงแต่ทำใจเบาๆ ให้สบายๆ
    แล้วน้อมนึกรูปที่สามารถนำมาใส่ใจ ให้เกิดความเพียรได้ ไว้เนืองๆ ไว้บ่อยๆ ทำให้
    มากๆ จนกว่าจะชำนาญ โดยที่ไม่ต้องสนใจกรรมฐาน อานาปานสติ เลยก็ได้

    แต่สมมติว่า ทำไปแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำใจเบาๆ สบายๆ ค่อยๆน้อมนึกรูปให้ติด
    ตาได้อย่างไร อันนี้ก็ต้องกันเหนียวเข้ามา คือ ให้สมาทาน อานาปานสติ แทรกเข้า
    ไปด้วย เพราะหากน้อมนึกแล้วไม่เกิดนิมิตรูป จะเห็นเลยว่า จิตมันแล่นไปรูปอื่นมากมาย
    จึงต้องเอา ลมหายใจ มาเป็นเครื่องผูกจิต ในฐานะแผนสำรอง

    ไม่ว่า จขกท จะเดินแผน 1 เพียวๆ คือ น้อมนึกรูปแล้วก็ปิ๊ง!! ใสแจ๋ว หรือว่า มาจับ
    พลัดจับพลูมาลงเอยที่ อานาปานสติ(แทนมโนยิทธิไปแล้ว)ซึ่งจะมีอาโลกากสิณกับ
    วาโยกสิณพ่วงติดอยู่กับอานาปานสติ(จริงๆมีหลายตัว เพราะอานาปานสตินั้น มีสิ่งประกอบ
    มาก เป็นยอดของกรรมฐานที่ผลิกไปได้ทั้งรูปฌาณ และอรูปฌาณ จึงเป็น แผน2 ที่ดี)
    ผลการลงสมาธิหรือเข้าสู่สภาวะฌาณ จะได้จากอันไหนก็แล้วแต่ ต้องมาทำ วิปัสสนา
    คือ ตามระลึกความยินดี ยินร้าย ที่เกิดจากผลของสมาธิที่ได้จากแผน 1 และ 2 เอาไว้ด้วย

    ก็จะเห็นว่า ความเกี่ยวโยงกันนั้น เป็นเรื่อง ของ อุบายในการฝึก
    ซึ่งมีการตั้งรับ(แผน1) สอดแทรก(แผน2) รุกเร้า(แผน3) เพื่อให้
    เดินสู่เป้าหมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...