อยากจะทราบว่าการฝึก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย xza009, 23 สิงหาคม 2010.

  1. ศิษย์hitler

    ศิษย์hitler Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +77
    อยากได้อะไรดีๆอย่ามาบอร์ดนี้เดี๋ยวจะเขวเอานะ
    อิอิ
    ไปหาพระหาเจ้าเถอะ
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    6 วิธีสร้างสมาธิ เสริมพลังจิต
    (น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล / มติชน : ธรรมชาติบำบัด)​


    พลังสมาธิมีบทบาทช่วยบำบัดโรค มีข้อพิสูจน์มากมาย ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี มีสรรพวิธีประการต่างๆ ที่ช่วยให้คนเราเกิดสมาธิได้ดีขึ้น ถ้าเลือกใช้วิธีให้เหมาะสมกับตน พระ ดร.สิงห์ทน นราสโภ ได้แนะนำทางเลือกที่ช่วยให้เกิดสมาธิไว้ดังนี้ :

    "คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสมาธิเป็นวิธีที่ทำได้ยาก ต้องเป็นผู้ที่ต้องปลงแล้วเท่านั้นจึงจะทำได้ แต่ความจริงคนเราแต่ละคนก็ตามล้วนต้องมีสมาธิ แม้แต่การทำอะไร จะคิดอะไร ก็ต้องมีสมาธิ จึงจะไม่มีผิดพลาด การจะมีสุขภาพดีก็ต้องมีสติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นพระสูตรในการรักษาโรค เช่น โพชฌงค์เจ็ด ก็เริ่มด้วยสติ ซึ่งก็คือสติปัฏฐานสี่ มีบทสรุปที่สำคัญว่า "ไม่ยึดติดไม่แต่นิดเดียวว่า มีตัวของเราหรือมีตัวตน" ซึ่งต่างกับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อในความเป็นอัตตาตัวตน พระองค์ได้มาตรัสในอนัตตลักขณสูตร ได้บอกว่า ไม่มีอัตตา มีแต่ขันธ์ อายตนะ ดังนั้น ถ้าใครก็ตามสามารถทำลายอัตตา ทำลายตัวตน กิเลสก็ไม่มีที่อาศัย โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่มีที่อาศัยเช่นเดียวกัน คนเราที่ทุกข์ก็เพราะมีอัตตาสูง เมื่อมีตัวเราของเราสูง ก็ทำให้เกิดความทุกข์ เพราะเข้าใจว่ามันเป็นตัวเรา เป็นของเรา ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสสอนว่า ต้องทำให้เป็นสติปัฏฐาน เป็นกาย เวทนา จิต และธัมมานุปัสสนา"

    ตรงนี้ละครับ ถ้าได้ตีความให้ลึกซึ้ง นั่นน่าจะเป็นแผนที่เดินทางไปสู่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยการมีสติ เข้าถึงซึ่งการรับรู้ความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บด้วย จึงทำให้เกิดการรักษาโรคได้ด้วยพลังของสมาธิ

    ลองมาพิจารณาสรรพวิธีสำหรับการสร้างพลังสมาธิกัน
    ก่อนอื่นว่าด้วยวิธีอานาปานสติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่ามี 16 ขั้นตอน

    ขั้นตอนแรก หายใจเข้ายาวก็กำหนดรู้ หายใจออกยาวก็กำหนดรู้

    ขั้นตอนที่สอง หายใจเข้าสั้นก็กำหนดรู้ หายใจออกสั้นก็กำหนดรู้

    ขั้นตอนที่สาม ถึงแม้ลมหายใจจะสั้นและแผ่วก็กำหนดรู้ได้ว่ามั่นเริ่มตรงไหน เข้าไปและสิ้นสุดตรงไหน ออกจากไหนไปสิ้นสุดตรงไหน

    ขั้นตอนที่สี่ ลมหายใจเมื่อฝึกไปจะแผ่วลงๆ แล้ววูบไป เรียกว่าจิตตกภวังค์ ตรงนี้แหละถ้ามีอินทรีย์แก่กล้าพอสมควร ก็จะเข้าอัปปนาสมาธิ จนก้าวสู่ขั้นที่ไม่ยึดติดในตัวตน

    อย่างไรก็ดี พลังสมาธิจะได้มาไม่ใช่ง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใครไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อนตั้งแต่ยังสุขภาพแข็งแรง ครั้นรอให้เจ็บป่วยแล้วค่อยมาฝึกสมาธิ นั่นนับเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง เพราะยามที่คนเราเจ็บป่วย ย่อมต้องมีความเจ็บปวดไม่สบาย ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เวทนาเหล่านี้เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดสมาธิ จึงต้องอาศัยวิธีอื่น ๆ ต่อไป ดังนี้คือ

    วิธีที่หนึ่ง ใช้คำว่า "โอม" คำนี้มาจากคำว่า "อุ" "อะ" "มะ" กล่าวคือ "อุ" ได้แก่ อุตตมธรรม คือธรรมะของพระพุทธเจ้า "อะ" คืออรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า "มะ" คือมหาสังฆะ คือพระสงฆ์ ให้ใช้วิธีหายใจยาวให้ท้องพองเต็มที่ แล้วเปล่งเสียง "โอม" ขณะที่เปล่งเสียงใช้จิตกำหนดที่ระหว่างคิ้ว ถ้าทำไปแล้วจะเห็นรังสีหรือออร่าของตัวเอง เป็นการตรวจสอบออร่าของตัวเองด้วย ถ้าเห็นสีม่วง สีคราม สีน้ำเงินแก่ สีเขียว ส้ม แดง ก็แสดงว่าสุขภาพไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเห็นเป็นสีเทา ก็แสดงได้ว่าตนกำลังเจ็บป่วยอยู่ หรือเป็นโรคอยู่แต่กำลังจะหาย แต่ถ้าเห็นเป็นสีดำแสดงว่าท่านอาจกำลังจะมีภัย หรือเจ้าตัวมีโรคทางใจ มีราคะ โทสะ โมหะ ก็จะมีสีดำเช่นกัน

    วิธีใช้เสียงโอม ให้เริ่มจากการใช้เสียงสูงก่อน ร้องให้ยาวที่สุด ตามด้วยเสียงโอมที่ต่ำลงทีละน้อย ต่ำลงๆ จนไม่อาจจะเปล่งได้ เสียงสั่นสะเทือนที่ถูกเปล่งจากสูงมาหาต่ำ จะสร้างช่วยกระตุ้นจักระต่างๆ ในตัว มีผลในการรักษาโรคภัยเจ็บ

    วิธีที่สอง เป็นวิธีของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ใช้สวดบทอิติปิโสว่าให้ได้ 9 จบชั่วอึดใจหนึ่ง คือใช้บทพุทธคุณบทเดียว คิดดูก็แล้วกันว่าใครที่ตามที่สามารถว่าถึง 9 จบภายในลมหายใจเดียว ย่อมทั้งท่องบทสวดนั้นได้คล่องมาก และต้องมีลมหายใจยาวมากด้วย เวลาสวดก็ใช้เสียงสูงกลางต่ำให้เพลินไป เวลาหัดแรกๆ ก็อาจไม่ถึง 9 จบ ก็ไม่เป็นไร นานๆ ก็ได้เอง

    วิธีที่สาม เป็นวิธีแบบโยคะ หรือปราณยาม คือ :

    - หายใจเข้ายาวๆ นับในใจ 5

    - จากนั้นอดกลั้นลมหายใจยาวเป็นสองเท่าของลมหายใจเข้า นับในใจ 10

    - แล้วหายใจออกนับในใจ 5

    - จากนั้นปล่อยให้ว่าง นับในใจอีก 5

    เริ่มหัดจาก 5, 10, 5, 5 แล้วเพิ่มเป็น 6, 12, 6, 6 ต่อไปเพิ่มเป็น 7, 14, 7, 7 จนถึง 10, 20, 10, 10 ด้วยการฝึกเช่นนี้ลมหายใจจะยาวขึ้นๆ เกิดการฟอกล้างลมปราณ สารพิษจากตัวด้วย แถมยังเป็นบาทฐานในการฝึกอานาปานสติภาวนาอีกต่างหาก

    วิธีที่สี่ เป็นวิธีของ น.พ.แอนดรูว์ ไวล์ เขียนใน Spontaneous Healing กล่าวถึงการกระตุ้นร่างกายให้รักษาตัวเอง โดยสนใจเป็นพิเศษทำอย่างไรให้เราเข้าสมาธิได้ ได้ใช้นักศึกษาทดลองวิธีต่างๆ แล้วสรุปว่า "ถ้าใครอยากจะเข้าสมาธิหรือเข้าฌานได้ จะต้องฝึกลมหายใจให้ยาว คือ 1 นาทีหายใจได้ 6 ครั้ง" ฝึกจนกระทั่งในภาวะปกติก็เป็นแบบนี้ ถ้าใครฝึกได้อย่างนี้ เมื่อไหร่จะเข้าฌานก็จะเข้าฌานได้ง่าย ให้เกิดปีติ เกิดสุขขึ้นในระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ หรือถ้าใครฝึกลมหายใจยาว แม้จะเข้าฌานยังไม่ได้ก็จะมีสุขภาพดี จะไม่มีโรคปวดหัว ไมเกรน นอนไม่หลับ ความดันสูง ความดันต่ำ หรือระบบย่อยอาหารทั้งหลาย

    วิธีที่ห้า เป็นวิธีที่โบราณจารย์ของไทยฝึกสอนกันมา คือให้ดำน้ำทำตะกรุด จะมีรูปแบบของตะกรุดแล้วแต่อาจารย์ท่านไหน จะแนะให้ลูกศิษย์เขียนตะกรุด โดยใช้ทีแรกเป็นแผ่นทองเหลือง ต่อมาให้สูงขึ้นเป็นเงิน เป็นนาก และเป็นทองคำ เมื่อเริ่มเขียนจรดเหล็กจานลง ก็ให้เขียนให้เสร็จแล้วก็ม้วนมาให้อาจารย์ดู อาจารย์เพียงแต่ดูก็จะรู้ว่าลูกศิษย์มีสมาธิขนาดไหน

    พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า คนตาย คนเข้าสมาธิ คนดำน้ำ และคนอยู่ในท้องแม่ อยู่ในสภาวะที่ไม่หายใจ แต่การจะทำได้ ไม่ใช่จู่ๆ ก็ทำได้ โดยพยายามอดลมหายใจเอง ถ้าร่างกายไม่พร้อม การอดกลั้นลักษณะนั้นก็เป็นการทรมานตัวเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นด้วย แต่ถ้าฝึกลมหายใจไปแต่ละขั้นตอน สุดท้ายก็ฝึกนั้นจะทำให้เรามีอินทรีย์แก่กล้า สามารถทำได้เอง เพราะมีความพร้อมที่เข้าสมาธิ จิตจะตกวูบเข้าสู่ฌานจิต

    วิธีที่หก คือการสวดมนต์ เป็นวิธีสำคัญมากที่คนไทยเรามีมาแต่โบราณ แท้จริงการสวดมนต์ให้ถูกต้องจะได้บุญถึง 10 ประการ การสวดให้ดีต้องสวดให้ออกเสียง ไม่ใช่สวดอ้อมแอ้ม สวดให้ดีต้องออกเสียง ยิ่งดังยิ่งดี เป็นพลัง vibration เป็นการสั่นสะเทือนแบบขัดเกลา การสวดมนต์จะช่วยให้ได้ประโยชน์ทั้งสามประการ โดยเฉพาะสวดไปๆ จะเกิดการขัดเกลา เกิดการน้อมรับ ซึมซับ ธรรมะซึมเข้าไปโดยไม่รู้ตัว มีตัวอย่างมากมายสวดไปแล้ว เกิดผุดรู้ ผุดเห็น สามารถบรรลุตามพลังบารมีที่ตัวได้บำเพ็ญมา เกิดการปฏิบัติตามมรรคแปดโดยไม่รู้ตัว

    เหล่านี้ท่านประมวลมาเป็นวิธีลัดไปสู่ฌานจิต ซึ่งเป็นจุดที่กายและจิตสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว และเกิดการบำบัดรักษาตนเองของผู้เจ็บป่วย

    ที่มา http://www.mongkoltemple.com/page02/articles031.html
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วิธีการปฏิบัติเจริญอานาปานสติภาวนาอย่างสัมพันธ์กับสติปัฏฐาน๔

    <!--coloro:white-->
    <!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->สาระประโยชน์และเทคนิคครอบคลุมพื้นฐานเบื้องต้นทั่วไป ,ทัศนคติวิธีปฏิบัติ และการอุทิศบุญกุศลจากการปฏิบัติแผ่เมตตาสร้างสิ่งดีงามให้กับตัวผู้ปฏิบัติเอง และสังคมรอบข้าง

    พื้นฐานการปฏิบัติตัวเองทั่วไป ก่อนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    เป็นการรักษาสมดุลย์ความพร้อมองค์รวมชีวิตประจำวัน
    การรับประทานอาหาร การนอน และทั่วไป
    การรับประทานอาหารอย่างพอดีพอเหมาะ ไม่อิ่ม ไม่หิวจนเกินไป
    เคี้ยวอาหารโดยละเอียด มีสติในการทานอาหารใช้เวลาพอเหมาะสม

    รักษาระยะห่างหลังทาน กับการทำสมาธิภาวนาให้พอเหมาะกับระบบย่อยอาหาร
    โดยแน่ใจว่ามีการย่อยสลายอาหารหมดแล้ว จึงเริ่มทำสมาธิ
    เพราะหากกำลังย่อยอยู่ธาตุไฟที่กำลังใช้อยู่กับการย่อยจะถูกดึงมายังส่วนบน
    ทำให้ท้องอืด ส่งผลเสียต่อระบบย่อยปกติของร่างกาย เกิดง่วงซึมได้.. เป็นต้น

    การนอนหลับ ใช้เวลานอนที่พอดีกับร่างกาย ไม่นอนน้อยเกินไป หรือมากเกินไป
    เมื่อรู้สึกตัวให้ตื่นอย่างมีสติ ไม่นอนต่อ

    รักษาดูแลความเป็นปกติของศีล๕ ค่อยๆปรับลำดับไปสู่ กุศลบท ๑๐ หรือสุจริต๓
    คือการรักษาความสุจริตของจิตใจ วาจา และการกระทำทางกาย

    ข้อเทคนิคพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับบางท่านซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติใหม่
    เมื่อเริ่มต้นฝึกอานาปานสติ สมาธิภาวนา


    ความตั้งใจใส่ใจในจุดกระทบลมหายใจเข้า-ออก อานาปานสติสมาธิ
    สติที่กำหนดสังเกตลมหายใจที่ผ่านมากระทบเข้า-ออก
    -เพ่งมากไปอาจตึงและมึนศีรษะ
    -หย่อนมากไปอาจฟุ้งไม่สงบ

    เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินวางจิตนั้นเป็นพื้นฐานเบื้องแรกที่สำคัญ
    พระพุทธองค์ได้ทรงอุปมาอุปมัย ไว้ว่า <!--coloro:green--><!--/coloro-->"ประดุจผู้ฉลาดที่มีนกกระจาบรักษากำไว้ในมือของตน"<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc-->หากกำมือหลวมไป นกกระจาบตัวนั้นก็คงหลุดมือไป เปรียบได้กับความย่อหย่อนไม่เอาใจใส่กรรมฐานที่มีลมหายใจเข้า-ออก เป็นบาทฐานให้สติระลึกรู้อยู่

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc-->หากกำมือบีบแน่นเกินไป นกกระจาบตัวนั้นคงตายหายใจไม่ออก เปรียบได้กับการเพ่งตั้งใจมากไปกับลมหายใจไม่เป็นธรรมชาติ เกิดภาวะเกร็ง เครียด จนอาจปวดตึงศรีษะหรือท้ายทอย

    การฝึกอานาปานสติ มิใช่การพยายามปรับลมหายใจให้เป็นรูปแบบใหม่
    แต่เป็นเพียงการศึกษากระบวนการธรรมชาติภายในตัวเองผ่านลมหายใจเข้าและออก
    เป็นลมหายใจที่มีอยู่แล้วตามปกติธรรมชาติของชีวิตมนุษย์

    จึงควรหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน ที่ได้จากการสังเกตตัวเอง
    จุดเหมาะสมพอดีนั้นของแต่ละท่านนั้น ประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองค้นหาเจอเป็นดีที่สุด

    ______________________________________


    และจุดโฟกัสของลมหายใจ ก็เช่นกันที่สามารถก่อให้ท่านมึนตึงศีรษะ จากการเพ่งได้
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc--> ควรเลือกจุดที่รู้สึกได้ชัดที่สุด ส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติก็จะมี
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc-->๑.ส่วนใดส่วนหนึ่งของโพรงจมูก
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc--> ๒.ปลายจมูก หรือ ๓.บริเวณจุดพื้นที่ผิวเหนือริมฝีปากกระทบลม
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc-->ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด ชัดเจนของแต่ละบุคคลไป ที่จะสังเกตโฟกัสที่จุดใด

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc-->ใหม่ๆ เมื่อใหร่ที่รู้สึกตึงจากการกำหนด อาจเกิดจากกำหนดจุดรับรู้ลมหายใจใกล้ หรือไกลจนเกินไป
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->........<!--colorc--><!--/colorc-->ดังนั้นควรหมั่นสังเกตุหาจุดที่พอดีเหมาะสมกับแต่ละท่าน
    __________________________________



    วิธีการฝึกอานาปานสติ สามารถศึกษาแนวทางได้จากพระสูตร http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch7.pdf

    จุดที่ต้องการจะเสริมความชัดเจนในแง่มุมต่างๆ คือ ความสัมพันธ์อานาปานสติ-สติปัฏฐาน๔
    แนบเนื่องดำเนินไปควบคู่กัน คือ อานาปานสติมีทั้งในส่วนของ สมถะและวิปัสสนา ควบคู่กันไป

    การเจริญอานาปานสติ คือ การมีสติอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ,มีลมหายใจเป็นราวเกาะของสติ
    เช่น การขึ้นบรรได หรือไต่ขึ้นภูเขา ก็ควรมีที่เกาะที่ยึดไว้

    เมื่อหายใจเข้า ก็รู้สึกถึงลมหายใจเข้า เมื่อหายใจออก ก็รู้สึกถึงลมหายใจออก สิ่งปรุงแต่งร่างกาย

    เมื่อลมหายใจสั้นก็รู้ชัดว่ากองลมหายใจสั้น เมื่อลมหายใจยาวก็รู้ชัดว่ากองลมหายใจยาว
    ทำไปเรื่อยๆ...พอดีใส่ใจกับสิ่งที่มี ปฏิบัติได้เท่าใด ก็พอใจเพียงเท่านั้น
    วางจิตเป็นกลาง ไม่เพ่งจดจ่อจนตึง ไม่ปล่อยสติไหลตามสิ่งต่างๆที่เข้ามาไม่เป็นสมาธิ

    เมื่อสติ สัมปชัญญะ ความรู้สึกในตามลมหายใจ คมชัดเจนขึ้น ย่อมประจักษ์สิ่งที่ละเอียดขึ้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ เวทนาทางกาย เวทนาทางใจ ที่เป็นความสุข ,ทุกข์ หรือเฉยๆ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->เวทนาชนิดหยาบที่เกิดขึ้นทั่วไป, เวทนาชนิดละเอียด ประณีตที่จิตเป็นรูปฌานที่มีปีติ สุข เป็นองค์ประกอบของภาวะจิตที่เป็นหนึ่ง( เอกกัคคตา)

    เมื่อเกิดความรู้สึก(เวทนา) ความนึกคิดอารมณ์ชนิดใดๆ เกิดขึ้น ก็ตามรู้ชัดในสภาพการณ์ขณะนั้น
    โดยรักษาความรู้สึกไว้เป็นปัจจุบันขณะไว้อย่างสม่ำเสมอ
    ทำไปเรื่อยๆ...พอดีใส่ใจกับสิ่งที่มี ปฏิบัติได้เท่าใด ก็พอใจเพียงเท่านั้น

    เมื่อความรู้สึก(เวทนา)ที่แนบเนื่องกันกับความนึกคิดอารมณ์(จิต)ชนิดต่างๆ
    แยกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น จากความคุ้นเคย จากการปฏิบัติประการณ์ตรงกับจิตที่เนื่องด้วยเวทนา

    เมื่อเกิดความนึกคิดอารมณ์(จิต)ชนิดต่างๆ ก็ให้รู้ชัด รู้รอบในความเกิด ความดับ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->การดูจิตดูอารมณ์ ดูความรู้สึก นึกคิด จิตเป็นหนึ่ง แผ่กว้าง เป็นฌาน, จิตมีนิวรณ์ ,มีจิตอื่นภายในแทรกขึ้นไม่เป็นหนึ่ง ..เป็นต้น

    โดยรู้ว่าขณะนี้มีอารมณ์ของจิตชนิดใดเกิดขึ้นภายในจิตใจเรา สักแต่รู้ ..เป็นต้น
    พิจารณาดูความสืบเนื่องของจิตภายใน
    สาเหตุให้เกิดจากภายใน ภายนอก
    เจริญไว้สม่ำเสมอต่อเนื่อง

    รักษาดำเนินเป็นปัจจุบันขณะไว้อย่างสม่ำเสมอ
    สักแต่รู้ สักแต่เห็น ละการแทรกแซงสภาวธรรมไม่นำสิ่งที่เห็นที่รู้มาปรุงแต่ง

    <!--coloro:darkblue--><!--/coloro-->กาย เวทนา จิต และธรรม ระลึกรู้เพียงสภาวธรรมปัจจุบัน
    สักแต่รู้ สักแต่เห็น ละการแทรกแซง ละความปรุงแต่งสภาพธรรมที่ปรากฏ
    การเห็น-รู้ สภาพธรรมโดยผ่านจากความคิดที่อาศัยสมองเป็นการรู้โดยสมมุติบัญญัติ

    การตัดผ่านสภาพการเห็นสภาพธรรมโดยสมมุติสู่ปรมัตถธรรม พึงละการใช้ความคิด ละปรุงแต่งต่อสภาพธรรมนั้นๆ "ละคิด หยุดคิด จึงรู้(โดยปรมัตถ์)"
    การสลายตัวการยืนยัน(ตัวรู้) ปล่อยวางการให้ค่าความสำคัญในความเห็น บทบาทในตัวตน
    ไม่ก่อสภาพความยินดี ยินร้าย ใดๆ...เป็น วิถีทางเจริญมรรค พอกพูนเจริญคุณธรรม<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    หมวดธรรม สภาพธรรมที่ครอบคลุมนามรูป สามารถอาศัยอานาปานสติเป็นบาทฐานเจริญต่อเนื่องพิจารณา
    สภาพนิวรณ์๕ ,สภาพธรรมของจิตที่ไม่เป็นฌาน จิตที่เป็นรูปฌาน ธรรมารมณ์...
    หรือ อุปาทานขันธ์ทั้ง๕
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น,ขันธ์ หมายถึง กอง ที่มีความเป็นกลุ่มเป็นก้อน

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความถือมั่นยึดมั่นในสภาพรูป ร่างกาย วัตถุ สมบัติที่เรามี สิ่งที่คิดว่าเป็นเรา สิ่งของของเรา
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความถือมั่นยึดมั่นในเวทนาความรู้สึกถึงความสุข ความทุกข์ หรืออารมณ์เฉยๆ ติดสุข ติดทุกข์ ,ติดสุข มักมองไม่ค่อยเห็นอนิจจัง ติดทุกข์มากไปอาจมองไม่เห็นสมุหทัย(สาเหตุของทุกข์ชนิดนั้นๆ) ,ติดอารมณ์เฉยๆ มากไปก็ไม่ค่อยดีอวิชชาครอบงำ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความถือมั่นยึดมั่นในสัญญา ความทรงจำสมองที่ชีวิตผันผ่านทั้งปวง สิ่งที่ได้รับ ความเป็นนั่น ไม่เป็นนี่
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ยึดมั่นในสิ่งที่เคยเป็นต่างๆ ที่ผ่านมา ,ความทรงจำเป็นสุข-เจ็บปวด ในอดีตที่ยึดมั่นสัญญามักก่อให้เกิดเวทนา และเวทนาก็ก่อให้เป็นสัญญาได้เช่นกัน
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความถือมั่นยึดมั่นในสังขารความปรุงแต่ง ที่ประกอบเป็นร่างกาย สิ่งต่างๆ ปรุงแต่งอารมณ์ เจตสิก สิ่งต่างๆที่ปรารภคาดหวังปรุงแต่งไปยังอนาคต
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความถือมั่นในความรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความถือมั่นยึดมั่น มักเกิดพร้อมตัวตน(อัตตา)ว่าขณะประสบสิ่งนั้นๆ ไม่แปรปรวน เที่ยงแท้ ถือมั่นอยู่ขณะนั้นๆ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->เมื่อเกิดอัตตาดังกล่าวมักมีกิเลสก่อตัวตามจากอัตตายึดติด เช่น ความหลง ความอยาก ความขุ่นเคืองใจ โทสะ ความมีมานะถือตัวตน ย่อมมีโทษยังให้เศร้าหมองก่อเกิดกิเลส ..เป็นต้น เหล่านี้เป็นทุกข์

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->การสลายความยึดมั่นถือมั่น ตัวตน เป็นการดำเนินผ่านด้วยประสบการณ์ตรงของการเจริญอานาปานสติ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->โดยพิจารณาความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืน อนิจจังของสภาพธรรมต่างๆ ลมหายใจ(รูป) หรือนาม คือ ความรู้สึกที่เกิด , สัญญาที่มี, สังขารที่ปรุงแต่ง หรือความรับรู้ที่ปรากฏทวารสัมผัสทั้ง๖
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->พิจารณาสิ่งที่ปรากฏดังกล่าวที่เกิดเฉพาะหน้าปัจจุบัน
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->สิ่งใดเกิดก็พิจารณาสิ่งนั้น เกิดขึ้น-ดับสลายไป ที่เวียนวนเกิด-ดับสลาย ทั้งนามรูป

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->เมื่อพิจารณาก็จะเห็นโทษภัยไปพร้อมกัน คุณก็ย่อมไม่หาโอกาส ไม่พยายาม เสาะแสวงหาสร้างให้ตัวตนของคุณเองไว้ยังที่ใด ให้หนัก ให้เป็นทุกข์
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ความไม่พยายามสร้างตัวตน ทั้งในทางโลก และทางธรรม เห็นช่องเห็นโทษภัยของโลกธรรมทั้ง๘ ที่เกิดแก่จิตใจ เป็นหนทางออก จากสาเหตุ(สมุหทัย)คือความอยาก แรงดึงดูด และผลักไสปฏิเสธภาวะที่ไม่ยินดี ความยึดมั่นถือมั่นตัวตน

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->การพยายามดับสลายตัวตนเสมอ ไม่สร้างเหตุใหม่ก่อทุกข์ด้วยการไม่รับ-ไม่ปฏิเสธเหตุปัจจัยอดีตที่ไหลต่อเนื่อง
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ผลปัจจุบันเป็นเหตุในอดีตเป็นสิ่งที่ได้สร้างไว้แล้ว พร้อมรับผลของกรรม และไม่สร้างเหตุใหม่ต่อเนื่องในทางให้เกิดทุกข์เกิดโทษ

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->การถอนคืน การสละคืนกิเลสความถือมั่นยึดมั่น ล้วนเกิดจากการเห็นสัจจะในความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ไม่จีรังยั่งยืนซึ่งเป็นคุณลักษณะของธรรมชาตินามและรูป สืบให้เกิดความคลายกำหนัดที่กิเลสยึดมั่นถือมั่น เพียรเผา เพียรดับ(นิโรธ)ความเป็นสาเหตุแห่งทุกข์
    ด้วยความเพียรเผากิเลสภายใน ดำเนินไปภายในขอบเขตสติ สัปชัญญะ สมาธิ ปัญญา
    ______________________________


    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ไม่ว่าอย่างใด การเจริญอานาปานสติควรใช้เวลาประมาณ ๓๐-๔๐ นาทีเป็นอย่างน้อย
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc--> โดยเริ่มจากวันละหนนึงแล้วค่อยเพิ่มตามโอกาสตามกำลัง และเมื่อดำเนินต่อเนื่องกันไปขอบเขตความคมชัดของสติ สมาธิ ปัญญา ก็จะขยายออกสู่ชีวิตประจำวัน
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ดำรงรักษาความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ทางวาจา การกระทำไว้เสมอ..

    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->การอุทิศบุญกุศลจากการปฏิบัติ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->บุญกุศล ที่เกิดจากการปฏิบัติก็ก่อผลที่ดีต่อตัวคุณเองซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc-->ก่อนออกจากภาวนา อธิษฐานอุทิศให้แก่บุพการี บรรพบุรุษในลักษณะเจาะจง
    <!--coloro:white--><!--/coloro-->......<!--colorc--><!--/colorc--> รวมทั้งไม่เจาะจงไปยังเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข

    อ้างอิงจาก ธรรมศาลา :: อ่าน - อานาปานสติ สมาธิภาวนา
     
  4. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739

    ผมก็ได้อะไรดี ๆ จาก เว็บนี้แหละ ไม่เห็นจะเขวเลย / เลือกซิครับ

    เห็นด้วยกับข้อเขียนที่เป็นความคิดเห็นของคน ควรเลือกอ่าน

    อีกอย่าถ้าเรามั่นใจว่าข้อเขียนไหนไม่ถูกต้องเราต้องช่วยกันแก้หรือโต้แย้ง เพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าใจผิด

    แต่ในส่วนของธรรมแท้ ๆ ที่เขาเอาใส่ใว้ในเว็บนี้ก็มาก มีตั้งแต่ประไตรปิฏก คำเทศนาของครูบาอาจารย์ ฯลฯ รวไปถึง link ไปสู่เว็บธรรมมะอื่น ๆ ถ้าเรารู้จักเลือปเฟ้น ก็จะได้ประโยช์อย่างมากครับ
     
  5. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    ครับ
    สุดยอดคาถาของพุทธคือ3บทนี้นะ ไปท่องให้ได้ก่อน แล้วจะสอนต่อให้ว่าทำอย่างไร
    บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

    อิ ติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.


    บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

    สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.


    บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

    สุปะฏิ ปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย
    อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.


    คำแปล บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

    บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ


    อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
    อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส )
    สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
    วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
    สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี )
    โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
    อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
    สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
    พุ ทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
    ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

    บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

    สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
    สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
    อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
    เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด )
    โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

    บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
    อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
    ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
    สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
    ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
    จัต ตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
    อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
    ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
    ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
    อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
    อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

    อันนี้ ผม ท่องได้หมดแล้ว ครับ ผมท่องตั้งแต่เด็ก ๆ

    คือมีอยู่วันหนึ่งบ้านผมเลี้ยงกุลมาร แต่ผมก็ฝันถึง เค้า ตอนแรกผมถามว่า ทำยังไงให้เห็นผี เค้าบอกให้นั่งสมาธิ แต่ผมก็อยากจะลองพิสูตร์ แล้วต่อมา ผมก็อยากจะช่วยคนที่แบบว่า ไม่ได้ ไปเกิดอะครับ อย่างเช่นพวกที่ เสียชีวิต ก่อนที่จะหมดอายุ ไข อะไรประมาณนี้อะ อยากจะคุยกับเค้า อยากจะถามเค้าไรอย่างงี้ว่าเป็น อย่างไรบ้าง พอจะช่วยได้ไหม อะไรประมาณนี้อะคับ

    เผลอแปปเดียว เต็มเลย มะคืน แอบไปนอน ฮ่า ๆ

    ^^
     
  6. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    เอ่อ คือ ผม แทบไม่ีมีเวลา เลยอะครับ

    คือไปไหนมาไหนไม่ค่อยจะได้ ก็คือ

    ต้องช่วยพ่อแม่ ทำงาน บ้าน และ เฝ้า บ้าน ด้วย เพราะไม่มีใคร มาเฝ้า

    หน้าที่ก็ต้องตกมาเป็นผม วัน ๆผมแทบยังไม่ได้เข้าวัดเลย แต่ ใน ใจก็อยากจะเข้า

    ก็เลย มา ทำจิตให้สงบโดยการทำสมาธิเนียละ แล้วก็ให้พวกพี่ แนะ นำซะหน่อย

    ไว้ผมอาจจะโตอีกนิด ก็อาจจะ พอมีเวลา บ้าง อะไร แบบนี้ อะครับ ^-^

    อาจจะอ่านยากนิดนึ่ง เพราะ ผม เขียน เข้าใจออก จะยาก ๆหน่อย
     
  7. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    ผมเรียน สายอาชีพ ปวช .3 ครับ ช่วงนี้ฝึกงาน ไม่ค่อยมีเวลา ซะเท่าไร แต่วันนี้ผมหยุดงานครับ ผม
     
  8. pk010209

    pk010209 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    973
    ค่าพลัง:
    +2,634
    จิตเป็นสมาธิปฏิบัติที่ไหนก็ได้ทั้งนั้นละ ไม่จำเป็นจะต้องไปที่วัด ที่บ้านก็ได้ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้หมด แต่ก็แล้วแต่ถ้าแบบไหนถูกกับจริตก็ทำไปนะน้อง
     
  9. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    ขอบคุณครับพี่

    ผมจะนำไปใช้
     
  10. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    ผมก็แค่ต้องการใคร ซะคนนึ่ง มาแนะ นำ ผม ไม่ได้ แกล้งโง่ซะหน่อย

    - - แค่ผมไม่รู้ว่าจะเริ่ม ยัง ไง ดี หรือ แบบไหนดี
     
  11. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    ผมเริ่มท่องคาถาชินบัญชร

    แต่ว่า ชอบหลับทุกทีเ้ลยอะ มันมีทางแก้ป่ะ

    รู้สึกเหมือนมีพวกมารมาก่อกวนเลยอะ
     
  12. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    - - พี่ จ.ข.ก.ท อย่าอยากได้เลยครับปฏิบัติไปเรื่อย เชื่อผมเถอะ ทำไปเรื่อยๆ ขอเเค่ให้มีความพยายาม พี่อายุ 18 หรอ .... อายุมากเเล้วนะเนี่ย
     
  13. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    พลังจิต เกือบทุกอย่าว ล้วน มาจาก สมาธิ ทั้งนั้นเเหละครับ ถ้าจะเริ่มให้ กำหนดลมหายใจไปเลยครับ
     
  14. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    กำ เอา น่าน ผม ก็ิอายุ ยังน้อย ผมก็พูดกับพวกพี่ ๆดีเป็นธรรมดา อยู่แล้ว

    แต่ถ้ากับเพื่อนก็อีกเรื่องนึง

    อะน่ะ แล้วพวกพี่ฝึกฝนกัน อย่างไร บ้าง ละ
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ให้กลั้นลมหายใจ ท่องคาถาในใจให้จบบทในอึดใจเดียว
     
  16. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    อ้างอิง:
    <table style="width: 553px; height: 146px;" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ xza009 [​IMG]
    ผมเริ่ม ท่องคาถาชินบัญชร

    แต่ว่า ชอบหลับทุกทีเ้ลยอะ มันมีทางแก้ป่ะ

    รู้สึกเหมือนมีพวกมารมาก่อกวนเลยอะ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;">
    ฉัน อุตส่าห์เล่าให้เธอฟัง ว่าฉันเคยมี"ครู" ไม่เห็นเธอถามถึงครูฉันสักคำ กลับไปพูดถึงการท่องคาถาซะ..งั้น เธอช่างเป็นคู่สนทนาที่ดีเสียจริง ว่าแต่ว่าเธอท่องคาถานี้ไปเพื่ออะไรเหรอ? "ครู"ของฉันเคยบอกฉันว่า"ไม่มีใครที่จะเป็นข้าของนายสองคนได้" เธอรู้ความหมายไหมล่ะ? ถ้าเธออยากทำสมาธิ เธอก็ไม่มีวันได้สมาธิ เธอไม่ต้องคิดอยากทำสมาธิ เพียงเธอเจริญสติรู้อยู่กับปัจจุบันให้ได้ตลอดสายเท่านั้น ผลนั้นก็จะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาเองในที่สุด ที่ฉันบอกเธอแบบนี้เพราะครูสอนฉันมาแบบนี้ ไม่ใช่เป็นการอวดรู้แต่อย่างใด ความจริงเธออาจจะรู้ดีอยู่แล้วนะ ฉันว่าน่าจะเป็นแบบนั้นมากกว่า:cool::cool: </td> </tr> </tbody></table>

    ขอบคุณ คับ สำหรับการแนะ นำ เป็น อย่างดี คือว่า ต้องขอประทานโทษหน่อยละกัน

    นอกเรื่องไปนิ๊ด นึ่ง อะเค ครับ ขอบคุณมาก ๆสำหรับ คำแนะ นำ

    แล้วพี่ได้ฝึกอะไรอยู่บ้างหรือเปล่าครับ คือวันนี้ผมลองไปสวดมนต์ดู รู้สึกว่า มันสบายใจแบบแปลก ๆ อะ ครับ ก็คือว่าดีอะ แต่เมื่อย ขาไปนิด นึ่ง แต่ก็ผมก็ไม่ค่อยสนใจ เพราะว่า สติผมอยู่กับการสวดมนต์ อิติปิโสอะครับ แล้วก็หลาย ๆเลยอะ

    อะเค มาก สำหรับ คำแนะ นำทุกท่าน มีไรก็ช่วย แนะ นำ กัน บ้าง นะครับ ผมเปิดรับ ละจะ ลองปฏิบัติ ตาม คำ แนะนำของพวกพี่ดูละกัน นะ

    วันนี้ผมต้องขอตัวละกัน ฝันดีนะครับ ขอโทษที ยาวไปนิ๊ดนึ่ง
     
  17. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ไม่ได้ฝึกแบบนี้นะ แต่แวะมาแปะเฉยๆ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=tR7g64x01sU"]YouTube - Ascension การฝึกวิชาหูทิพย์ และตาทิพย์ 4 of 5[/ame]
     
  18. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    อะเค ครับ และขอบคุณสำหรับที่แปะ ไว้ ไม่ทราบว่าชื่อ อะไรกันมั่งเหรอครับ

    ผมคงแนะนำตัวไปแล้วนะ
     
  19. xza009

    xza009 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    ความคิดเห็นเยอะมาก แล้ว ผม จะเอาอันไหนไปใช้นะเนีย

    ถ้าเอาไปใช้หมด คง จะ ไม่ได้ไหว

    คง จะต้องเลือกใช้อันที่พอเหมาะกะเราซะแล้ว

    แต่ก็ขอขอบคุณทุกความเห็นนะครับ

    พวก พี่ ๆ
     
  20. อาชาไนย

    อาชาไนย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +70
    อ่านหนังสือพระไตรปิฏกฉบับประชาชน หรือหมวดพระสูตร เพื่อทำความเข้าใจหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง บางทีครูบาอาจารย์สอนเราผิดหรือคลาดเคลื่อนได้ หลังจากนั้นศึกษาเรืองแนวทางสมาธิ แบบที่ตัวเองชอบหรือถนัด
    หาพี่เลี้ยงที่เก่งๆเป็นที่ปรึกษา สมาธิเป็นสิ่งทีดีมากๆ แต่มันก้อมีผลเสียด้วยถ้าใช้ไม่ถูก ทุกอย่างมีสองด้าน ต้องค่อยๆพิจารณาและหาเหตุผลนำทาง ศึกษาหลักที่ถูกต้องจากตำราและผู้รู้จริงประกอบกัน
    เบื้องต้นเห็นด้วยที่สวดมนต์..นั่งสมาธิง่ายๆ ไปก่อน ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...