ทำไมพระพุทเจ้าจึงไม่ปลงผม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย neopsy, 14 มีนาคม 2005.

  1. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,105
    ค่าพลัง:
    +2,696
    คนที่กล่าวอ้างว่าไปเที่ยวเมืองพระนิพพานหรือพบพระพุทธเจ้ามาก็ช่วยชี้แนะซะหน่อยสิ
    ปล่อยให้ตาสีตาสาวิจารณ์กันอยู่ได้..หุหุ
    **
    เดี๋ยวจะบาปเอาซะเปล่าๆ (นินทา)
     
  2. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    <TABLE cellPadding=5 width=510 align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 align=center bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center background=../pics/blackbg.gif border=0><TBODY><TR><TD width=150 bgColor=#cccccc height=22>
    ปางตัดพระเมาลี​
    </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE> ประติมากรรมพุทธประวัติปางตัดพระเมาลี (มวยผม) วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนพระแท่นพระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลีไว้ พระหัตถ์ขวาทรงพระขันค์ทำอาการทรงตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหลัง

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center background=../pics/blackbg.gif border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=22>
    ความเป็นมาของปางตัดพระเมาลี​
    </TD></TR></TBODY></TABLE> เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าพระเมาลีไม่สมควรแก่เพศบรรพชิต จึงทรงตัดออกด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นพระเกศาก็ปรากฏยาวประมาณ ๒ องคุลี ม้วนกลมเป็นทักขิณาวัฏ (เวียนขวา) ทุกๆเส้น และคงอยู่อย่างนั้นตราบถึงดับขันธปรินิพพาน แล้วทรงจับพระเมาลีขว้างขึ้นไปบนอากาศ อธิฐานว่า "ถ้าจะได้ตรัสรู้ ก็ให้พระเมาลี จงตั้งอยู่ในอากาศ อย่าได้ตกลงมา แม้นมิได้ตรัสรู้สมความประสงค์ ขอให้พระเมาลีตกลงสู่พื้นพสุธา" พระเมาลีนั้นได้ประดิษฐานลอยอยู่บนอากาศสูงประมาณ ๑ โยชน์ ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) อัญเชิญพระเมาลีไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรคชั้นดาวดึงส์ ฆฏิการพรหมได้นำเครื่องอัฐบริขาร คือสิ่งจำเป็นสำหรับบรรพชิตมาน้อมถวาย แล้วอัญเชิญพระภูษาเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ไปบรรจุไว้ ณ ทุสเจดีย์ในพรหมโลก</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    แจ่มพอมั้ยพี่
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    ถูกต้องเลยค่ะ
     
  5. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,074
    ค่าพลัง:
    +638
    ช่ายยยยยเลยยยยยย
     
  6. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,105
    ค่าพลัง:
    +2,696
    ก็แค่นี้ล่ะ จะได้หายสงสัยกัน 55
     
  7. เอกะ

    เอกะ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    มิลินทปัญหา

    ดี้แล้วที่มีคนตั้งคำถามแบบหักมุมอย่างนี้ เพราะจะทำให้คนที่มีความศรัทธาและปัญญามาช่วยกันตอบ จะได้รู้ว่าพวกเราไม่ยอมให้ใครมาว่าพระพุทธศาสนาของเรา และอีกอย่างในครั้งของพระเจ้ามิลินท มีการตั้งคำถามที่แรงกว่านี้หลายเท่า ก็มีนาคเสนเป็นผู้ปดเปลื่องปัญหาให้ ทำให้พระเจ้ามิลินยอมและเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างหมดสงกะสัย
     
  8. undeath13

    undeath13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +1,830
    ตกลงมะมีมวยผมแบบที่นายช่างเขาปั้นสินะคับ
     
  9. ดาวลูกหมา

    ดาวลูกหมา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +2
    มะมีมั้ง
     
  10. ดาวหลงฟ้า

    ดาวหลงฟ้า บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    คุณรู้มั้ยหัวใจพุทธศาสนาคืออะไร
    1





    2








    3

    .....
     
  11. thayanfa

    thayanfa สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
    ถึง potisad

    potisad<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_60829", true); </SCRIPT>
    ขอจงลงไปยังขุมนรกภูมิ ด้วยวาจาสามหาว พระพุทธเจ้า "ไว้กระผมเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ ให้ท่านหมอบคลานกราบกรานแทบเบื้องยุคลบาทเข้ามาทูลถาม"

    แบบนี้ควรแล้วหรือ ทำมาอวดอางความรู้ ศาสนาจะเสื่อมเพราะคนอย่างท่าน บัวเหล่าไหนก็ไม่สมควรจะมาเปรียบ กับคนแบบนี้

    ท่านผู้ตั้งกระทู้ ถามด้วยความสงสัย เราผู้อ่าน หรือ ใครที่มีความรู้ก็บอกเค้าไปแค่นั้น เค้าไม่ได้เกิดมาแล้วรู้ทุกอย่าง ถ้าเค้ารู้แล้ว เค้าจะตั้งกระทู้ถามให้คนมีปัญญาน้อยนิดเท่าหางอึ่งอย่างท่านพูดด้ยวาจาอันต่ำทรามอย่างนั้นหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2010
  12. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ข้าพเจ้านับถือท่านผู้นี้ ไม่ทราบว่าท่านเป็นผู้ใด? แต่คำพูดของท่านบ่งบอกถึงความเป็นผู้ที่มี"จิต"ที่เข้าถึงแก่นธรรมของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ขออนุโมทนา
    ส่วนท่านpotisad ท่านลองใช้ปัญญาตรองดูเถิดว่า ท่านสมควรใช้คำพูดเช่นนี้หรือไม่?
     
  13. thayanfa

    thayanfa สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +2
    ข้าพเจ้าแค่เป็นคนที่อยากจะปกป้องศาสนาเท่านั้น แก่นแท้ของพระธรรมยากนักที่จะหยั่งถึง แต่คงไม่เหนือเกินความพยายาม เพราะพระศาสดาของเรานั้นได้พิสูจแล้ว ข้าพเจ้าเองเป็นผู้มีปัญญาน้อย และเคยสงสัยในพระองค์เช่นกัน ว่าเหตุใดรูปที่ข้าพเห็น หรือสื่อต่างๆ เหตุใดพระองจึงมิปลงเกษาเหมือนภิกษุท่านอื่น ตรองดูแล้วข้าพเจ้ามีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรค้นหาจนพบแก่นแท้ของสัจธรรม ทรงบรรลุ และทรงเผยแพร่ พระธรรมคำสอนต่างๆ เพื่อที่จะให้ชาวโลกได้ประจัก สำหรับผู้ตั้งกระทู้ ปลงเกษา ไม่ปลงเกษา จะสำคัญอะไรกับหลักธรรมคำสอนที่มีมายาวนาน ข้าพเจ้าคิดว่าพระองค์น่าจะทรงต้องการให้เราทุกคนรับรู้ถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ มากกว่าสนใจในรูปลักษณ์ภายนอกของพระองค์ จงตรองดูเถิด...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2010
  14. kamoochi

    kamoochi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +326
    แล้วจะสงสัยอีกไหมครับว่า ท่านไว้จอนหรือไม่ หรือว่าท่านไว้หนวดหรือไม่ ท่านบรรลุธรรมหรือไม่ สงสัยไปเรื่อยๆก็ดีครับ วนเวียนดี
     
  15. ปริยัติ

    ปริยัติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +68
    ขอนะครับ

    ..ขอนะครับ..(แพ้กิเลสอีกแล้ว)....ไอ้ปัญญาอ่อน...
     
  16. Army56

    Army56 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,098
    ค่าพลัง:
    +1,862
    จริงๆ ไม่ควรโกรธ เขาหรอกครับ

    สัจธรรมย่อมมีเหตุผล หากเราตอบไม่ได้ก็ควรนำคำถามนั้นไปคิดหรือถามผู้รู้ต่อไป



    แต่ที่รู้มาก็คือ สมัยก่อน ไม่โกนคิ้ว

    พระภิกษุเริ่มให้โกนคิ้ว ในรัชสมัย ร.๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2010
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    แท้จริงแล้ว พระพุทธเจ้ามีพระเศียรโล้น

    <!-- Main -->
    [SIZE=-1]จากภาพในจิตรกรรมฝาผนังทั่วไป และพระพุทธรูป ที่แสดงว่าพระพุทธองค์มีพระเมาลีที่ยาวและม้วนอยู่นั้น
    แต่ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมีพระเศียรโล้น ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

    1. เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าพระเมาลีไม่สมควรแก่เพศบรรพชิต จึงทรงตัดออกด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นพระเกศาก็ปรากฏยาวประมาณ ๒ องคุลี ม้วนกลมเป็นทักขิณาวัฏ (เวียนขวา) ทุกๆเส้น และคงอยู่อย่างนั้นตราบถึงดับขันธปรินิพพาน

    2. พระปัจจวัคคีย์ เมื่อตีตนออกจากพระพุทธเจ้าเพราะเห็นว่าพระองค์ไปฉันอาหารนั้น ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าว่า "สมณะโล้น" ในทำนองผิดหวัง จึงตีตนออกมา

    3. พระนันทะซึ่งมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกับพระพุทธเจ้ามากที่สุด ได้ครองจีวรยาวเท่าพระพุทธเจ้า เดินมาแต่ไกล ภิกษุทั้งหลายเห็นก็คิดว่าเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเตรียมที่จะถวายนมัสการ เมื่อเดินมาถึงแล้วพบว่าไม่ใช่ จึงเกิดการติเตียนกันขึ้น สุดท้ายพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ห้ามภิกษุตัดจีวรยาวเท่าจีวรพระสุคต
    เรื่องนี้จึงแสดงว่า พระพุทธองค์มีพระเศียร์โล้นเหมือนกับพระนันทะ

    4. พระเจ้าอชาตศัตรู ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่ชีวกัมพวัน อารามของหมอชีวก ไม่ทราบว่าใครคือพระพุทธองค์ท่ามกลางภิกษุ 500 นั้น จึงเรียนถามว่าไหนคือพระพุทธองค์ ได้รับคำตอบว่าพระพุทธองค์อยู่ท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
    กรณีนี้ แสดงว่าพระพุทธองค์มีพระเศียร์โล้นเสมอเหมือนพระสาวกรูปอื่นๆ

    5. สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงคลุมอวัยวะพร้อมด้วยพระเศียร ประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ฯ พระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระเศียรเพราะเสียงเท้าของสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ พราหมณ์กล่าวว่า "นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ"

    6. พราหมณ์ด่าพราหมณีว่า "เธอเอาแต่สรรเสริญคุณของสมณะโล้นนั้นไปทุกที่ ฉันจักข่มพระศาสดาของเธอด้วยวาทะของฉันเดี๋ยวนี้แหละ" พราหมณ์ได้ออกจากบ้านไปวัดพระเวฬุวันด้วยใจที่เดือดดาลงุ่นง่าน เมื่อไปถึงก็ไม่ถวายบังคมพระบรมศาสดา

    7. ฆฏิการะจึงออกอุบายชวนโชติปาละไปอาบน้ำยังท่าน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอารามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พออาบน้ำชำระกายเป็นที่เย็นกายเย็นใจแล้ว ฆฏิการะก็กล่าวชวนโชติปาละว่า "โชติปาละไปเถอะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน พระอารามของพระองค์ท่านอยู่ที่ตรงนี้เอง" โชติปาละกล่าวตอบว่า "อย่าเลย เราไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการที่จะได้เห็นสมณะโล้น สู้ไปเที่ยวยังจะสนุกเสียกว่า"

    8. องคุลีมาล วิ่งไล่ตามพระพุทธเจ้าไม่ทัน จึงตะโกนบอกพระพุทธเจ้าว่า "สมณะโล้นหยุดก่อน"



    น่าจะยังมีหลักฐานอีกมากมาย ก็ลองช่วยๆกันดูน่ะครับ[/SIZE]<!-- End main-->

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="50%" colSpan=3>[SIZE=-1]Create Date : 13 กันยายน 2552[/SIZE]</TD></TR><TR><TD width="50%">[SIZE=-1]Last Update : 13 กันยายน 2552 12:21:56 น. [/SIZE]</TD><TD></TD><TD align=right>[SIZE=-1]5 comments[/SIZE] </TD></TR><TR><TD>[SIZE=-1]Counter :<SCRIPT src="http://fastwebcounter.com/secure.php?s= bloggang1981524 "></SCRIPT> Pageviews. [/SIZE]</TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ไปหามาให้ดูเพราะจำได้ว่าเคยมีคนพูดถึงประเด็นนี้ รู้สึกว่าจะเป็นท่านเสถียรพงศ์ วรรณปก
    คนที่ตั้งกระทู้นี้ตั้งใจจะให้คนที่อ่านกระทู้รู้สึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง
    มีเจตนาที่ชั่วมาก
     
  18. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สาเหตุที่มีบัญญัติพระธรรมวินัย
    โครงสร้างในคัมภีร์มหาวรรค <SUP></SUP>


    เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรคนี้ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ถึงหลักรัฐศาสตร์ หลักเศรษฐศาสตร์ หลักนิติศาสตร์แนวพุทธได้เป็นอย่างดี
    คัมภีร์มหาวรรค เป็นพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ และเล่มที่ ๕ จากที่เป็นพระวินัยทั้งหมด ๘ เล่ม
    มหาวรรค คือ หมวดใหญ่ หรือหมวดสำคัญ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติที่สำคัญเกี่ยวกับ มารยาท ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่เรียกว่า อภิสมาจาริกาสิกขา ไม่ได้เป็นพระบัญญัติที่มาในพระปาฏิโมกข์โดยตรง สงฆ์จึงไม่ต้องยกขึ้นมาแสดงในทุกกึ่งเดือน เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อทีทรงอนุญาต แต่มีบ้างในบางกรณีที่เป็นข้อห้าม หากภิกษุล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตาม ก็ทรงปรับอาบัติทุกกฎบ้าง ถุลลัจจัยบ้าง
    การแบ่งเนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค
    คัมภีร์มหาวรรค แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ
    คัมภีร์มหาวรรค ภาค ๑ เป็นพระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ขันธกะ (ตอน) ได้ ๔ ขันธกะ คือ
    ๑. มหาขันธกะ ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ และ ทรงแสดงสามุกกังสิกเทศนา ทรงแสดงข้อกำหนดในการอุปสมบท การลงอุกเขปนียกรรมพระภิกษุเพราะไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ เป็นต้น
    ๒. อุโปสถขันธกะ ว่าด้วย อุโบสถ เหตุเกิดอุโบสถ ข้อกำหนดในการทำอุโบสถ การทำบุพกรณ์ บุพกิจ การสวดปาฏิโมกข์ย่อ การที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์สมมติสมานสังวาสสีมา เป็นต้น
    ๓. วัสสูปนายิกขันธกะ ว่าด้วยการเข้าพรรษา การอนุญาตให้อยู่จำพรรษา สถานที่จำพรรษา การเดินทางด้วยสัตตาหกรณียะ เรื่องการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติ เป็นต้น
    ๔. ปวารณาขันธกะ ตอนว่าด้วยปวารณา เริ่มด้วยประเภทแห่งวันปวารณา อาการทำปวารณา วิธีปวารณาแบบต่างๆ ตอนนี้แสดงถึงหลักรัฐศาสตร์เชิงพุทธได้อย่างชัดเจนมาก และเป็นเรื่องที่ควรศึกษาวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง หลักรัฐศาสตร์แบบนี้ไม่มีสอนในรัฐศาสตร์ของทางโลก

    คัมภีร์มหาวรรค ภาค ๒ เป็นพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๖ ขันธกะ ต่อจากเล่มที่ ๔ โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
    ๑. จัมมขันธกะ ตอนว่าด้วยหนัง ทรงอนุญาตให้พระโสณโกฬิวิสะที่ออกบวช บำเพ็ญเพียรจนเท้าแตก เป็นเหตุให้ทรงอนุญาตให้พระสามารถใช้รองเท้าได้ และทรงแสดงถึงรองเท้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ และรองเท้าทีทรงห้าม และเรื่องที่ทรงประทานพร ๕ ประการให้กับพระมหากัจจายนะ ปูชนียบุคคลแห่งแคว้นอวันตีที่ได้กราบทูลขอ
    ๒. เภสัชชขันธกะ ว่าด้วยยารักษาโรค กล่าวถึงเรื่ออาพาธที่มักเกิดขึ้นในฤดูสารท เรื่องทรงอนุญาตเภสัช ๕ เรื่องเครื่องยาสมุนไพรต่างๆ เรื่องวิธีการรักษาโรค เรื่องน้ำอัฏฐบาน เรื่องมหาปเทสสี่ ซึ่งเป็นหลักตัดสินของเคี้ยวว่าควรฉันหรือไม่ควรฉันอย่างไร และเรื่องของกาลิก ๔ เป็นต้น
    ๓. กฐินขันธกะ ว่าด้วยกฐิน เริ่มตั้งแต่สาเหตุจากภิกษุชาวปาฐา ๓๐ รูป เป็นเหตุให้พระองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุจำพรรษากรานกฐิน เรื่องอานิสงส์กฐิน เรื่องการเดาะกฐิน เรื่องปลิโพธ เป็นต้น
    ๔. จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร เรื่องหมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นหมอประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นต้นเหตุทึ่ทรงอนุญาตคหบดีจีวร เรื่องนางวิสาขาถวายผ้าอาบน้ำฝน เรื่องมาติการเพื่อการเกิดขึ้นแห่งจีวร ๘ ประการ เป็นต้น
    ๕. จัมเปยยขันธกะ ว่าด้วยภิกษุชาวกรุงจัมปา เรื่องกรรม ๔ ประเภท เรื่องฑีฆาวุกุมาร เรื่องสงฆ์ ๕ ประเภท เรื่องนิคคหกรรม และความเห็นที่ขัดแย้งกันในการระงับนิคคหกรรม เป็นต้น
    ๖. โกสัมพิกขันธกะ ว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพีทีทะเลาะวิวาทกัน เริ่มต้นจากน้ำในห้องน้ำเพียงนิดเดียว ลุกลามใหญ่โตจนสงฆ์แตกเป็นสองฝ่าย เรื่องเหตุแห่งความแตกแยก ๑๘ ประการ ซึ่งมีประโยชน์มากเพราะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์บ้านเมืองของไทยเราในขณะนี้ จบลงด้วยเรื่องพระอุบาลีได้กราบทูลกับพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับบุคคลที่ควรถูกตำหนิโดยศีล และผู้ควรยกย่องในพระธรรมวินัยนี้
    เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรคนี้ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ถึงหลักรัฐศาสตร์ หลักเศรษฐศาสตร์ หลักนิติศาสตร์แนวพุทธได้เป็นอย่างดี เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจและสามารถนำหลักการมาใช้กับเหตุการณ์บ้านเมืองของเราในทุกวันนี้ไดเป็นอย่างดี ฝากให้ไปศึกษารายละเอียด และวิเคราะห์เนื้อหาในประเด็นต่างๆ แล้วมาร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน


    หมวดหมู่: ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา คำสำคัญ: คัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฎก รัฐศาสตร์
     
  19. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ความหมายและโครงสร้างของพระวินัยปิฎก <SUP></SUP>


    พระวินัยปิฎก เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา เป็นแบบแผนวิถีชีวิตของพระภิกษุทั้งหลาย

    พระวินัยปิฎก


    พระวินัย ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนที่เป็นกฎ ระเบียบ ข้อห้าม และข้อบังคับ ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบประจำสำหรับภิกษุสงฆ์ ดุจกฎหมายอันเป็นระเบียบของบ้านเมือง เมื่อมีเหตุการณ์อันภิกษุสงฆ์ประพฤติไม่สมควร ก็ทรงบัญญัติเพื่อความสำรวมระวังต่อไป และปรับโทษแก่ผู้ล่วงละเมิด แต่จะไม่ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า จะบัญญัติก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่สมควรเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงทรงบัญญัติห้ามกระทำนั้น ๆ อีก ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ระเบียบสำหรับ กำกับความประพฤติ ให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน , ประมวลสิกขาบทของพระสงฆ์ทั้งส่วนอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร , ถ้าพูดถึงพระวินัย มักหมายถึงพระวินัยปิฎก[1][๑]
    พระวินัยปิฎกมีความสำคัญมาก โดยเหตุที่ว่า พระวินัยเป็นเกราะป้องกันมิให้สาวกทำความเสื่อมเสียแก่พระศาสนา อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย ผลสุดท้าย พระศาสนาก็เสื่อม แต่ถ้าหากว่าพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด หมู่สงฆ์ก็ย่อมจะบริสุทธิ์งดงามด้วยความมีระเบียบ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะของผู้ที่พบเห็น และจะส่งผลให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา เป็นเหตุให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมั่นคงถาวรตลอดไป

    ๑. วิธีตั้งพระบัญญัติ
    พระวินัยนั้น ไม่ได้ทรงวางไว้ล่วงหน้า ค่อยมีมาโดยลำดับตามเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า นิทานบ้าง ปกรณ์บ้าง นิทานและปกรณ์นี้ เรียกว่ามูลแห่งพระบัญญัติ ซึ่งเป็นข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้แล้ว แม้ไม่เป็นไปโดยสะดวก ก็ไม่ทรงถอนเสียทีเดียว ทรงดัดแปลงเพิ่มเติมทีหลัง เรียกว่า อนุบัญญัติ “ในสมัยปฐมโพธิกาลนั้น ยังไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัย ต่อพ้นปฐมโพธิกาลแล้ว เข้าเขตมัชฌิมโพธิกาล นับแต่ได้ตรัสรู้พ้น ๒๐ พรรษาล่วงแล้ว จึงทรงบัญญัติพระวินัยขึ้น”[1][๒] ซึ่งเมื่อสรุปแล้ว ขั้นตอนในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้านั้น ทรงมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
    ๑. เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ตรัสสั่งประชุมสงฆ์
    ๒. ตรัสถามภิกษุผู้ก่อเหตุให้ทูลรับ
    ๓. ชี้โทษแห่งการประพฤติผิด และแสดงอานิสงส์แห่งการสำรวม
    ๔. วางโทษคือปรับอาบัติไว้หนักบ้าง เบาบ้าง ตามควรแก่กรณี
    ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า แต่จะทรงบัญญัติเมื่อเหตุการณ์ไม่เหมาะสมนั้น ๆ เกิดขึ้นแล้ว และเหตุการณ์นั้น ๆ เป็นที่ตำหนิติเตียนในบรรดาหมู่สงฆ์เอง และในหมู่ประชาชนทั่วไป
    . การสืบทอดพระวินัยปิฎก
    พระวินัยปิฎกนี้ ในอรรถกถา[1][๓]ท่านกล่าวว่า มีอาจารย์นำสืบกันมาตามลำดับ ตั้งต้นแต่พระอุบาลีเถระได้เล่าเรียนต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในขณะที่พระองค์ยังไม่ปรินิพพาน และได้อบรมสั่งสอนภิกษุสืบต่อมาเป็นอันมาก และก็ได้สืบต่อ ๆ กันมาโดยระบบ มุขปาฐะ หรือ ท่องจำ (Oral Tradition) มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล มีการนำสืบกันมาตามลำดับอาจารย์ พระเถรานุเถระในปางก่อนเริ่มมาตั้งแต่พระอุบาลีเป็นต้นมา เป็นผู้ทรงจำพระวินัยไว้ได้อย่างครบถ้วน แล้วต่อมาพระมหากัสสปเถระได้เป็นประธานในการจัดทำปฐมสังคายนารวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ และพระเถรานุเถระรุ่นต่อ ๆ มา ก็ได้ทรงจำและทำการสังคายนาไว้รวบรวมไว้สืบต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย ด้วยการทำสังคายนา โดย การทำสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ได้จัดทำในชมพูทวีป คือ ภายในประเทศอินเดีย เมื่อถัดจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ พระเถระทั้งหลายมีพระมหินท์เป็นต้น ก็ได้นำเอาพระวินัยมายังประเทศลังกา และได้มีพระเถรานุเถระทั้งหลายมีพระอริฏฐเถระเป็นต้น เรียนจากสำนักของพระมหินท์แล้ว และได้นำสืบต่อ ๆ กันมาจนถึงคราวสังคายนาครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน กระทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเลชนบท หรือที่เรียกกันว่า มลัยชนบท ก็ได้มีการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะเห็นว่า ถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นกจากนั้น พระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนือง ๆ ทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ มีคำกล่าวว่า ในการจารึกครั้งนี้มีการจารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย[1][๔] จากการที่พระสาวกและพระเถระทั้งหลายในอดีตได้ทรงจำและถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ทำให้คำสอนของพระพุทธองค์ยังมีปรากฎมาจนตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้
    ๓. โครงสร้างของพระวินัยปิฎก

    พระวินัยปิฎก เป็นหนึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎก มี ๘ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๑ - ๘ มีอักษรย่อคัมภีร์ว่า อา. ปา. ม. จุ. ป. ซึ่งมีโครงสร้างดังต่อไปนี้
    . โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นบาลี
    หมายถึงพระพุทธพจน์ หรือข้อความที่มาในพระไตรปิฎก จัดแบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกชื่อย่อว่า อา ,ปา, ม, จุ, ป, บ้าง ปา, ปา, ม, จุ , ป, บ้าง คือ
    อา = อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิ ก คำว่า ปา หมายถึงปาราชิก
    ปา = คือ ปาจิตตีย์ ม = คือ มหาวรรค
    จุ = คือ จุลวรรค ป = คือ ปริวาร
    สมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ จัดแบ่งพระวินัยออกเป็น ๓ หมวดด้วยกัน คือ
    ๑. สุตตวิภังค์ : รวมมหาวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์เข้าด้วยกัน
    ๒. ขันธกะ : รวมมหาวรรคและจูฬวรรคเข้าด้วยกัน
    ๓. ปริวาร : ปริวาร
    ในประเทศไทยนั้น ได้จัดแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็น ๘ เล่ม ดังนี้ คือ
    เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ เนื้อหาในเล่มนี้ ว่าด้วยสิกขาบทหรือศีลของภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ที่มาในพระปาฏิโมกข์ ในเล่มนี้แบ่งออกเป็น ๗ กัณฑ์ รวมพระบัญญัติ มี ๑๙ สิกขาบท
    เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งได้เป็น ๔ และในตอนท้าย มีอธิกรณสมถะ วิธีตัดสินอธิกรณ์อีก ๗ ข้อ
    เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทหรือศีลของภิกษุณี ๓๑๑ สิกขาบท ที่มาในพระปาฏิโมกข์ แต่เนื้อหาในเล่มนี้จะแสดงเฉพาะที่ไม่ซ้ำกับของภิกษุเพียง ๑๓๐ สิกขาบท แยกออกเป็น ๖ กัณฑ์ เนื้อหาในแต่ละสิกขาบท คือ ตอนต้นแสดงถึงเรื่องที่ภิกษุณีประพฤติเสื่อมเสีย เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติ ตอนปลายแสดงถึงวิธีต่าง ๆ ว่าทำอย่างไรเป็นอาบัติ อย่างไรเป็นอนาบัติ ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ๆ เป็นต้น
    เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ พระไตรปิฎกตั้งแต่เล่มที่ ๔ - ๘ แสดงถึงเรื่องสิกขาบทที่มานอกพระปาฏิโมกข์ อันเป็นขนบธรรมเนียมระเบียบวิธีการของภิกษุ จัดเป็นหมวด ๆ เรียกว่า ขันธกะ ในเล่มที่ ๔ นี้มีจำนวนขันธกะ ๔ ขันธกะ
    เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ ต่อจากมหาวรรคภาค ๑ ในเล่มนี้มีอยู่ ๖ ขันธกะ คือ จัมมขันธกะ เภสัชชขันธกะ กฐินขันธกะ จีวรขันธกะ จัมเปยยขันธกะ โกสัมพิกขันธกะ
    เล่มที่ ๖ จูฬวรรค ภาค ๑ ชื่ด จุลวรรค แปลว่า วรรคน้อย มีเนื้อความไม่ยืดยาวเหมือนมหาวรรค ในเล่มนี้ มี ๔ ขันธกะ คือ กรรมขันธกะ ปริวาสิกขันธกะ สมุจจยขันธกะ สมถขันธกะ
    เล่มที่ ๗ จูฬวรรค ภาค ๒ ในเล่มนี้แบ่งออกเป็น ๘ ขันธกะ คือ ว่าด้วยอภิสมาจาร ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ ว่าด้วยเรื่องทำสังฆเภทของพระเทวทัตต์ ว่าด้วยธรรมเนียมของภิกษุ ว่าด้วยความอัศจรรย์ในพระธรรมวินัย กล่าวถึงประวัติพระนางมหาปชาบดีโคตมี ว่าด้วยปฐมสังคายนา และว่าด้วยทุติยสังคายนา
    เล่มที่ ๘ ปริวาร ในเล่มนี้ว่าด้วยข้อปลีกย่อย อธิบายเรื่องราวในมหาวิภังค์ มหาวรรค และจุลวรรค ใน ๗ เล่มข้างต้นให้พิสดารขึ้น เช่น ตั้งเป็นคำถามคำตอบ วินิจฉัยอาบัติ อนาบัติ อาบัติทั่วไปสำหรับภิกษุ และภิกษุณี อาบัติที่ไม่ทั่วไปทั้ง ๒ ฝ่าย และตอนท้ายเล่มยังมีปัญหาวินัยที่ผูกไว้เป็นคำกวีเรียกว่า เสทโมจนคาถา (คาถาเหงื่อแตก) คือ เป็นปัญหาที่ลึกลับซับซ้อน คิดแก้กันจนเหงื่อไหล พร้อมทั้งมีคำเฉลยของปัญหาเหล่านั้น
    , โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นอรรถกถา
    โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นอรรถกถา หมายถึง ปกรณ์หรือคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้รจนาขึ้นเพื่ออธิบายความในพระวินัยปิฎกให้มีความแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาพระวินัย จะได้สามารถเข้าใจถึงพระวินัยได้ชัดเจนมากขึ้น และสามารถนำไปสั่งสอนบุคคลอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อรรถกถาดังต่อไปนี้เป็นอรรถกถาพระวินัยปิฎก ซึ่งเป็นภาษาสิงหลโบราณ
    ๓. โครงสร้างพระวินัยปิฎกชั้นฎีกา
    หมายถึงปกรณ์หรือคัมภีร์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายได้รจนาแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นหลังอรรถกถา คำว่า ฎีกา แปลว่า วาจาเป็นเครื่องกำหนด เล็งนัย เฉพาะคำพูด ความมุ่งหมายของฎีกา คือ การกำหนดคำอธิบายในอรรถกถา ที่ยากให้เข้าใจง่ายขึ้น ในคัมภีร์อรรถกถา มีการอธิบายพระไตรปิฎก ในแง่มุมต่างๆ ประกอบด้วยความคิด ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม สังคม ฯลฯ ของท้องถิ่น
    ส่วนคัมภีร์ฎีกาจะเน้นเฉพาะข้อความที่ยาก หรือไม่ชัดเจนมากกว่าแง่อื่น บางที่ใช้คำว่า ลีนัตถปกาสนา หรือ ลีนัตถปกาสินีนำหน้า คำว่า ฎีกา ซึ่งแปลว่า การประกาศ หรือเปิดเผยเนื้อความที่ซ่อนเร้น บางแห่งใช้ลีนัตถโชติกา นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้แบบเดียวกัน เช่น คัณฐี แปลว่า ปม เงื่อนงำ หมายถึงคัมภีร์ ที่ชี้ปมหรือเงื่อนงำที่สำคัญ คัมภีร์ที่ต่อท้ายด้วยคำนี้ เช่น จูฬคัณฐี เป็นต้น อีกคำหนึ่งที่ควรกล่าวถึง คือ คำว่า ทีปนี เป็นคำลงท้าย แปลว่าการอธิบายให้แจ่มแจ้ง เหล่านี้ล้วนจัดอยู่ในประเภทเดียวกันทั้งสิ้น


    <HR SIZE=1 width="33%">

    [1][๑]พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต) , พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์, (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๓ ), หน้า ๒๗๔.
    [1][๒]เสนาะ ผดุงฉัตร , ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก, (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๑ ),หน้า ๒.
    [1][๓] มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ภาค ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาคและอรรถกถา, (กรุงเทพฯ : เฉลิมชาญการพิมพ์, ๒๕๓๐) , หน้า ๖๐ - ๑๗๐.
    [1][๔] เสนาะ ผดุงฉัตร, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก , (กทม : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙), หน้า ๕๖.
     
  20. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    อ่านคำตอบของท่านแล้ว รู้สึกว่าท่านเข้าใจลึกซึ้งดีจริงๆ ข้าพเจ้าขอรบกวนถามท่านว่า "บุคคลที่ศึกษาพระธรรมมากๆ รอบรู้็ทุกเรื่องราวเป็นอย่างดี จิตมีโอกาสฟุ้งซ่านและ"บ้า"ได้ไหม"? ต้องขอรบกวนตอบด้วย ข้าพเจ้าอยากรู้
     

แชร์หน้านี้

Loading...