แดนนิพพานอยู่ตรงไหน? มาดูกันว่าเป็นอัตตาหรืออนัตตา?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย hongsanart, 10 กันยายน 2006.

  1. hongsanart

    hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    เจริญสุข สวัสดี สาธุชน คนอยากไปนิพพานทุกท่าน

    ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาบุญกับ คุณ seelerdk เป็นอย่างสูง ที่ได้ถามเรื่อง แดนนิพพานเข้ามา แม่ชีได้ตอบในกระทู้ถามไปแล้ว แต่มันยากต่อการอ่าน คิดว่าถ้านำมาทำใหม่ แล้วบรรจุไว้ตรงนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปบ้าง จึงขอนำมาอธิบายในหัวข้อตรงนี้ใหม่ โดยได้คุณหงสนาถช่วยจัดการให้อีกทีหนึ่ง...สาธุนะ

    เรื่องแดนนิพพานนั้น คนที่สอนก็ไม่เคยไปกัน คนที่เคยไปแล้ว ก็ตายกันไปหมด จึงมาสอนไม่ได้ ส่วนคนที่ไปแล้ว ยังไม่ตายพอมาสอน คนก็ไม่ฟังและไม่เชื่อ นอกจากว่าจะศรัทธาในตัวผู้สอน จึงจะพอเชื่อบ้าง

    เรื่องแดนนิพพานนั้น ต่างพูดกันไปสารพัด
    แม่ชีจะขอนำคำกล่าวของ พระผู้มีพระภาคเจ้า มากล่าวในที่นี้ก็แล้วกัน

    นิพพานัง ปะระมัง สุขัง.แดนนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
    นิพพานัง ปะระมัง สูญญัง. นิพพานนั้น สูญจากกิเลสทั้งปวง.


    แดนนิพพานนั้นมีอยู่ดังที่พระพุทธองค์ ทรงยืนยัน

    แดนนิพพานเป็นอัตตา กล่าวคือ มีความคงที่ของความสะอาด บริสุทธิ์ บริบูรณ์

    และแดนนิพพานก็เป็นอนัตตา คือ ไม่มีความยึดถือยึดมั่น ไม่มีตัวตน ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีพระสงฆ์ ไม่มีผู้หญิงหรือผู้ชาย มีสิ่งเดียวกันคือ ความบริบูรณ์ของความบริสุทธิ์สะอาด

    จะขอกล่าวถึงนรกสวรรค์ก่อนแล้วกัน แดนนรกหรือโลกของนรกนั้นมีอยู่ แล้วมันอยู่ที่ไหนกันล่ะ ?

    บางคนบอกว่า อยู่ในอกและในใจ นั่นเป็นคำกล่าวยกอุปมาอุปมัย

    แดนนรกหรือโลกนรกมีอยู่ในห้วงอวกาศ ถ้านักวิทยาศาสตร์สามารถผลิตยานอวกาศส่งออกไปได้ ก็จะเจอโลกนรกที่เหมือนกับโลกของเรานี่แหละ
    แต่โลกนรกนั้นอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก นักอวกาศจะมีชีวิตยืนยาวได้ถึง 9 ล้านปีเชียวหรือ? เพราะโลกนรกนั้นอยู่เชิงชายจักรวาล ไม่มีอุณหภูมิเพียงพอ ไม่มีอากาศที่สิ่งมีชีวิตจะดำรงคงอยู่ได้
    โลกนรกนั้นหมุนรอบตัวเองเหมือนกัน และในขณะเดียวกันก็หมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งกินเวลานานถึง 9 ล้านปี
    ด้านที่โดนดวงอาทิตย์ แค่เพียงแป๊บเดียว เรียกว่า แค่สายฟ้าแลบ นั้น ท่านเรียกว่า ขุมหรือแดน หรือด้านที่ 1 ซึ่งก็เหมือนกับประเทศไทยและอเมริกาที่มีเวลาต่างกันนั่นแหละ ด้านที่หันมาโดนดวงอาทิตย์ ก็จะกลายเป็นแดนที่ 2 หรือขุมหรือด้านหรือมุมที่ 2 ไป ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าขุมหรือมุมหรือด้านหรือ
    แดนที่ 1 นั่นแหละ ไปอย่างนี้เรื่อยๆจนรอบ

    แดนนรกหรือว่าโลกนรกนั้นหนาวเหน็บจนเจ็บเข้ากระดูก แทบจะแตกสลายกลายเป็นเสี่ยงๆ ทรมานมาก ใครที่เคยอยู่ในความหนาวจัดๆ มากๆ ก็คงจะเข้าใจ

    ส่วนโลกสวรรค์หรือแดนสวรรค์นั้น ก็อยู่ปะปนกับโลกมนุษย์เรานี่เอง เรียกว่าอยู่ใกล้กัน แต่คนละมิติ หรือคนละกาลเวลา

    ตอนเป็นมนุษย์ใครเคยทำบุญตักบาตร สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างเสนาสนะทั้งหลาย เมื่อตายไปก็จะได้ไป ถ้านึกได้และจำได้ ก็จะไปเสวยตามสถานที่ที่ตนเคยทำไว้

    การมีบริวารนั้นก็เช่นกัน คนที่ทำบุญไว้น้อยกว่า บรรดาศักดิ์น้อยกว่า ก็ย่อมต้องมาหามาสู่ผู้มีศักดาใหญ่กว่า เหมือนในโลกมนุษย์เรานี่แหละ

    เราจะเห็นได้ว่า หากผู้ที่ตายไปแล้ว มาเข้าฝัน มาให้เห็นได้นั้น ก็แสดงว่า
    ไม่ได้ถูกเหวี่ยงออกไปยังโลกนรก ถ้าไม่เคยเห็นเลย ไม่มาเข้าฝันเลย ก็หมายความว่า ไปที่ชอบที่ชอบแล้ว นั่นคือ โลกนรก

    พระพุทธองค์จึงทรงกล่าวว่า การได้กลับมาเป็นมนุษย์นั้นยาก เพราะต้องตกลงไปในนรกบ้าง เปรตบ้าง อสูรกายบ้าง สัตว์เดียรฉานบ้าง
    ฉะนั้นเทวดาก็คือ ผู้ที่ทำความดีไว้ก่อนตาย ตามกำลังบุญของตน

    รู้อย่างนี้แล้ว โลกของพระนิพพานนั้นอยู่ที่ไหนกัน ? ไม่ได้อยู่ในใจอย่างเดียวนะ แล้วอยู่ตรงไหน ?

    แดนนิพพานนั้นอยู่ใกล้ๆ กับคนเรามาก แค่ช้างกระดิกหู งูตวัดลิ้น เพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ก็ไปถึงได้

    แดนนิพพานนั้น ว่างเปล่าจากตัวตน แต่มีความสะอาดและบริสุทธิ์อยู่เสมอ เป็นอมตะ เปรียบเหมือนกับลม ที่คนเรามองไม่เห็นลม แต่รู้และสัมผัสได้ว่า มีลม ลมก็มีอยู่โดยธรรมชาติบนโลก แดนพระนิพพานก็มีอยู่โดยธรรมชาติเช่นกัน สามารถสัมผัสได้ ถ้าทำได้จริง คนทำได้จริงจึงรู้ว่าลมมีรูปร่างแบบใด สัมผัสได้อย่างไร ให้เข้าถึงลมได้......

    บางคนก็ไม่เชื่อ นั้นก็เพราะไม่ได้ทำ จึงไม่เห็น จึงไม่รู้ และถึงรู้ก็อธิบายไม่ได้
    จึงไม่เชื่อ โลกนี้มักมีคนโง่ มากกว่าคนฉลาด คนฉลาดถ้าฉลาดผิดก็เสร็จกันที ถ้ามีตัวหลงครอบงำ ก็เท่ากับนำทางให้เป็นมิจฉาทิฐิ

    อย่าเพิ่งเชื่อ แต่ให้ตรองตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่?
    ก็เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าสอนว่า อย่าเพิ่งเชื่อเรา แต่ให้ตรองดู

    โดยถ้วนถี่ ว่ามีเหตุ มีผลของความเป็นไปได้หรือไม่? อย่าเชื่อเพราะเป็นพระองค์ท่านพูด ก็เหมือนดังพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ก็ไม่ได้เป็นผู้เขียน คนนำมาสอนก็เกิดไม่ทันพระองค์ท่าน รวมทั้งมีการทำสังคายนา หรือแก้ไขกันบ่อยครั้ง และถึงแม้ว่าผู้สอนเกิดทัน จะเป็นเจตนาที่แท้จริง ของพระองค์ท่านหรือไม่?

    อย่ามัวลังเลและสงสัย ว่าคำสอนที่หลายคนนำมาสอนนั้นจะถูก หรือ ผิดเลย
    แต่ให้เราฟังธรรม รวมทั้งพิจารณาตามด้วยความเป็นกลางแห่งจิต อย่าเพิ่งคิดโอนเอียง ฟังเหตุและผล แยกแยะ วิเคราะห์ให้ได้
    ลงมือปฏิบัติตามดูจนสุดกำลัง ผลรับที่ได้ย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่ท่าน
    ดังคำกล่าวที่ว่า "เป็นปัจจัตตัง" คือรู้ได้เฉพาะตนในคนที่กระทำ
    และสามารถบอกกล่าวอารมณ์ให้คนเข้าใจได้ ก็เท่ากับว่า ท่านได้มีดวงตาเห็นธรรมและได้บรรลุธรรมแล้ว...


    และถ้าหากใครไม่เชื่อ ก็ตามใจ
    คนทำดี ย่อมได้รับผลดี คือมีความสุขตอบเสมอ คนทำชั่วก็ย่อมได้รับความชั่ว ที่เป็นความทุกข์โถมประดังทุกเมื่อ

    อธิบายมาเท่านี้ถ้าตรองตาม และเข้าใจ ถ้ามีคำอุทาน ว่า
    อ๋อ.......ออกมาเมื่อไหร่ นั่นแหละท่านบรรลุธรรมล่ะ


    สาธุ!!!! ขออนุโมทนาให้ผู้ได้อ่านและผู้ถามมา เข้าถึงธรรมและบรรลุธรรมตามกำลังปัญญาของท่านเทอญฯ

    ธรรมะสวัสดี

     
  2. rosey

    rosey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +1,345
    อ๋อ... เรื่องมันเป็นอย่างนี้นี่เอง...
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ.. เจ้าค่า...
    (bb-flower (bb-flower (bb-flower
     
  3. maliwal

    maliwal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +192
    สาธุ อนุโมทนามิเจ้าค่ะ


    ตามที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายมา หนูยังติดขัดที่ข้อความตรงนี้เจ้าค่ะ

    "แดนนิพพานเป็นอัตตา กล่าวคือ มีความคงที่ของความสะอาด บริสุทธิ์ บริบูรณ์"

    ความสะอาด ความบริสุทธิ์ เป็นอัตตา (มีตัวตน) หรือคะ
    การซักผ้าให้สะอาด เราจะซื้อความสะอาดมาเทใส่ผ้าได้หรือคะ
    แล้วตัวความสะอาด ความบริสุทธิ มันเป็นตัวอย่างไหนกัน

    ธรรมะช่างเป็นอะไรที่เข้าใจยากจริงๆ นะคะ บางทีหนูก็เหมือนจะเข้าใจ บางทีก็ไม่เข้าใจเท่าไหร่ มันเป็นเรื่องอจินไตยจริง ๆ ค่ะ
     
  4. ahantharik

    ahantharik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,595
    ค่าพลัง:
    +6,346
    อนุโมทนาสาธุครับ........ผมจะพยายามทำความดีเพื่อเป็นทุนพ้นจากภูมินรก
     
  5. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +494
    อัตตาอยู่ในอนัตตา
    แต่อนัตตาไม่อยู่ในอัตตา...
     
  6. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    อยู่ที่นี่ครับ

    ไปดูว่าอริยบุคคลที่ไปถึงฝั่งพระนิพพานแล้ว กล่าวไว้ว่าอย่างไร
    http://www.geocities.com/pranipan/

    แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกท่านในเวปนั้นเป็นพระอริยบุคคลนะครับ
    มีอยู่บ้างที่ไม่ถึงอะไรเลย เชิญพิจารณาเอาตามสบายครับ
     
  7. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,168
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +29,752
    ปลาอยู่ในน้ำ ไม่เห็นน้ำ
     
  8. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    ทำไมทุกท่านที่ปฏิบัติธรรม แสวงหาความหลุดพ้นจากกิเลส ชอบถามเรื่องนิพพานกัน
    ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติญาณทัสสนะ ควรที่จะทำให้เกิดขึ้น ในตน ทำให้เจริญในตน พอสมบูรณ์พร้อมแล้วทุกอย่างก็จะทราบเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง ธรรมะนั้นท่านกล่าวใว้ว่า ธรรมนั้นเป็นปัจจัตตัง สัณทิฏฐิโก วิญญูหิ ผู้รู้รู้ได้เฉพาะตน
    ตราบใดที่ท่านทั้งหลายยังยึดติดแต่กับคำอธิบาย อาการแห่งธรรมของผู้อื่นแล้ว ท่านก็ยังสงสัย อยู่เรื่อยไป ถามเรื่อยไป ธรรมะทั้งปวงท่านให้ค้นหาในกายจิตตน แต่ทำไมยังไปค้นคว้า ภายนอกตนกัน พระพุทธเจ้าท่านกตรัสรู้ธรรม อันไม่กำเริบ จากกายใจท่านเอง ท่านไม่ได้ค้นคว้าจากภายนอกแต่ใดๆเลย
     
  9. hongsanart

    hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    เจริญธรรมผู้ที่สงสัยนิพพานทั้งหลาย...

    ที่บอกว่า นิพพานคงที่ของความบริสุทธิ์ สะอาดสะอ้าน ปราศจากธุลี ...และที่หนูบอกว่า เปรียบเหมือน เอาน้ำยามาใส่ให้ผ้าขาว แล้วเราเห็นว่าผ้าขาวที่คงทนนั้นใช่ไหม? อุปมาอุปมัยคือยกตัวอย่างหรือชี้ให้ ดูว่าคล้ายกัน

    แต่ไม่เหมือนกัน เพราะความสะอาดของนิพพานนั้นมันละเอียดมากกว่า การเห็นผ้าขาวนะ

    แดนนิพพานนั้นมีอยู่ คือมีแดนนิพพานจริง มีรูปของความขาวสะอาด ไม่เจือด้วยธุลีจึงไม่มีเชื้อให้หลงเหลือ ในการมาก่อเกิดเป็นวัฏฏสงสาร
    คือไม่มีการกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ที่มีกายหยาบและก็ไม่เป็นเทวดาหรือพรหมด้วย(เทวดาและพรหมคือผู้ประเสริฐ ที่พัฒนาจิตได้ในระดับตามขั้นต่างๆ
    ตามกำลังของแต่ละบุคคล) เพราะเทวดาหรือพรหมนั้นยังมีเชื้อ ที่จะก่อเกิดมาเป็นมนุษย์ผู้มีกายหยาบอีก

    ผู้ง่ายๆก็คือ ยังมีตัณหาอยู่แต่น้อยกว่าปุถุชนคนทั่วไป
    หนูเอ้ย...อย่าสงสัยให้มันวุ่นวายเลย สงสัยมากจะทำให้คิดเลยเถิดเกินยับยั้ง ระวังจะพลั้งเผลอปาก พลั้งใจและคิดอะไรๆ เกินความพอดี
    จนความดีจริงๆหายไปนะ...


    แต่ก่อนนั้นแม่ชีก็สับสนเหมือนกัน มันอะไรกันนะ...ยังเคยเถียงองค์ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนมาเสียด้วยซ้ำ แต่ยับยั้งทัน

    มาคิดว่า...ผู้สอนธรรมคือพระพุทธเจ้า ก็ดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว ผู้สืบทอดธรรมก็นำมากล่าวสอน คนเขียนหนังสือพระธรรมก็คนละคนกัน
    แก้ไขกันมาเรื่อยๆ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคเข้ากับสมัย ผู้สอนมีเจตนาในการสอนแบบใด คนฟังเข้าใจว่าอย่างไร? และคนสอนต่อๆมาเข้าใจแบบไหน?
    รวมทั้งคนฟังเข้าใจว่าอย่างไร?


    บางอย่างมันก็เพี้ยนจากจุดมุ่งหมายของผู้สอนคนแรกเหมือนกัน ตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปถามที่ไหน? คงไม่นั่งเทียนถามแน่นอน อาศัยที่ว่าหมั่นดู หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ แยกแยะ และพิจารณา รวมทั้งสอบถามครูอาจารย์บ้างบางหน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

    สุดท้ายธรรมบางอย่างก็เห็นเอง เกิดขึ้นกับตัวเองทีละอย่างๆ พอไปอ่านในพระไตรปิฎกหรือที่ครูบาอาจารย์ที่ชำนาญในความเป็นกลาง ก็ถึงบางอ้อเลย

    อย่างว่าแหละ ความสงสัยเป็นที่มาของการพัฒนาสติปัญญา แต่ว่าถ้าสงสัยมากเกินไป เกินความพอดี ชีวิตนี้ก็อาจจะไม่เจอกับสิ่งที่ดีๆเลยนะ
    อ่านแล้วก็ไม่ต้องคิดมากเกินความพอดี แต่ก็ต้องคิดนะ ไม่ใช่ไม่คิดเลย โง่กันพอดี

    เอาเป็นว่า เคลียร์ใจให้ว่าง วางกายให้ถูก พูดอะไรให้จำได้อย่าพูดเหลวใหล อย่าแช่ง อย่าด่าใคร อย่าพยาบาท อาฆาตใคร ประกอบอาชีพสุจริต
    อย่าคิดโกงใครแต่ต้องทำอาชีพที่ทำอยู่ให้ได้ผลกำไร อย่างผู้มีคุณธรรม อย่าเสพกามฯให้มั่ว กลัวเอดส์บ้าง ระวังอย่าให้ร่างกายได้รับสารพิษจากสิ่งเสพติด
    ทำได้อย่างนี้ ก็กินได้นอนหลับ ตื่นก็เป็นสุข หลับก็ไม่ฝันร้าย โรคภัยทางกายก็มากล้ำกรายน้อย โรคทางใจก็ไม่เข้าหา


    ทำได้อย่างนี้ ท่านเรียกว่า นิพพานชั่วคราว คือสุขเป็นครั้งคราว ถ้าทำได้บ่อยๆ เกิดบ่อยๆ เป็นบ่อยๆ เมื่อตาย นิพพานชั่วคราวที่สั่งสมไว้
    ก็จะกลายเป็น นิพพานถาวรทันที ต้องทำได้จริงๆนะ ไม่ใช่ทำเล่นๆ เพื่อให้คนอื่นชม ดูใจ และวัดใจตัวเองเถอะ ความสบายใจ สุขใจเกิดขึ้นที่เรา เรารู้ดี คนอื่นจะรู้แทนเราได้อย่างไร?

    สงสัยเกินไป "จิตติดไฟแดงหมดนะ"
    แต่ถ้าไม่สงสัยเลย "จะเก่งเกินไปละมั้ง?" อ้าว...คิดเอาเองแล้วกัน

    ธรรมะสวัสดี สาธุ!!!!
     
  10. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    วันนี้ได้สนทนาธรรมหลวงพ่อรูปหนึ่งท่านบอกว่า ทางสายกลางเดินนั้น ให้เดินให้เป็น ไม่ได้เดินตามตัวอักษร ไปนิพพานไม่ได้ไปด้วยอักษรหรือตำรา หรือฟังกล่าวคนอื่นมา ตนที่ฝึกดีแล้วอย่างสมบูรณ์เท่านั้น ถึงจะได้ทราบว่านิพพาน หรือวิมุตติภาวะคืออะไร ไปอย่างไร ความสงสัย ความอยากรู้ ความรู้สึกว่าตนเองขาดแคลน จะปิดกั้นภาวะที่จริงแท้ ปิดทางแห่งความเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง

    บุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นเห็นเราตถาคต บุคคลใดเห็นตถาคต บุคคลนั้นหลุดพ้นจากทุกขืทั้งปวง
     
  11. hongsanart

    hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    เจริญธรรม...

    เรื่องแดนนิพพานนั้นหลายคนมักสงสัยว่าอยู่ที่ไหน?

    มันก็เหมือนกับคำถามที่ว่า "นรก สวรรค์ อยู่ตรงไหน?"

    จะเปรียบเทียบให้ฟังว่า เราไม่เคยไปอเมริกา หรือประเทศต่างๆเลย เราก็ย่อมจะไม่รู้ว่าประเทศเหล่านั้นอยู่ตรงไหนและเป็นอย่างไร?

    ดูแผนที่และแม้แต่ดูทิวทัศน์จากหนังสือ หรือทีวีแล้วก็ยังไม่เห็นภาพเท่าไหร่ จึงต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเล เพื่อจะได้ไปเห็นของจริงๆกับตา รวมทั้งอารมณ์ที่เกิดในตอนนั้น เพราะคนเรามักเอาตาที่เห็น จมูกที่ได้กลิ่น ลิ้นที่ได้ลิ้มรส
    กายที่ได้สัมผัส หูที่ได้ยินเป็นหลักใหญ่

    แดนนิพพาน หรือนรก สวรรค์นั้นมันก็เหมือนกัน คนที่ได้ไปเท่านั้นจึงจะรู้ จึงจะเข้าใจ แต่ว่าจะมีใครไหมที่ได้กลับมาบอก?

    เพราะว่าแดนเหล่านั้นมันไม่มีรูปที่ตาเนื้อเห็นได้ บางครั้งก็ไม่สามารถอธิบายได้ละเอียดเพราะสภาวะจิตของแต่ละคนไม่เท่ากัน มันจึงเป็นปัจจัตตังที่รู้เห็น รับอารมณ์ได้เฉพาะคน

    อย่างที่พระท่านบอกนั่นแหละ นิพพานไม่ได้ไปเพราะการอ่านตำราหรือ ไม่ได้ไปเพราะตัวอักษร แต่ไปได้ด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่น ถือมั่นกับสภาวะใดๆ แต่ต้องทำอย่างเต็มที่ เต็มกำลังเพื่อจะได้ไป แต่ไม่ใช่ทำเพราะอยากไป หรืออยากได้

    ดีจังที่หลายคนหันมาสนใจธรรมะกันมากขึ้น ก็ต้องขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่พยายามสอบถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความกระจ่าง

    อยากจะฝากข้อคิดไว้สักนิดว่า สงสัยและถามได้ แต่จะต้องทำ คือ ปรับจิตและพัฒนาจิตตามไปด้วย อย่าเพียงแค่สงสัย จนมันบั่นทอนจิตใจ
    จนเกิดความรำคาญใจไป เพราะคำอธิบายของหลายๆคนมันวกวนจน เราเวียนหัวกับคำตอบนั้นเอง สุดท้ายก็จะทำให้เราหน่ายกับธรรมะไป

    ธรรมะสวัสดี สาธุ!!!!
     
  12. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    บุคคลที่รู้เห็น เข้าถึงอย่างแจ่มแจ้งในธรรมอันไม่ปรุงแต่งแล้ว คืออสังขตธรรม ส่วนใหญ่ท่านจะบอกว่าไม่รู้อะไรเลย นอกจากรู้ว่าปัจจุบันต้องทำอะไร ให้เป็นประโยชน์ต่อสรรพสัตว์
    ท่านทั้งหลายเอ๋ย การรู้ธรรม เข้าถึงธรรมอันละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ไม่ใช่ การคาดเดา หรือ การคิดนึกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นิพพานแบบสั้นๆ แบบยาวๆ แบบถาวรหรือชั่วคราว ทั้งหมดนี้ยังเป็นความหลงผิด เห็นผิดอยู่
    ใครก็ตามที่ได้สัมผัสธรรมอันไม่ปรุงแต่งแล้ว แม้ชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม หรือนานก็ตาม ก็ถือได้ว่าบุคคลผู้นั้น ได้ความรู้อันยิ่งยวด หมดความสงสัยธรรมทั้งปวง ตัดขาดแล้วจากทั้งสามภูมิ มีแต่ความรู้ตื่น เบิกบานด้วยธรรม จิตไม่คลาดเคลื่อนจากเนื้อนาบุญอันแท้จริง ตั้งมั่นในธรรมอันเอกคือภาวะที่เหนือบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เหนือคำว่านิพพาน และอนิพพาน
    จิตที่ยังสามารถบอกสภาวะได้ว่านั้คือนิพพาน นั่ไม่ใช่นิพพาน บุคคลนั้นยังตกอยู่ใต้ภาวะของการปรุงแต่ง ความยึดมั่นถือมั่น

    หลวงพ่อท่านสอนเสมอๆว่า ลูกเอ๋ยเจ้าจงอย่าหวังอะไรเลยในความหลุดพ้น ในนิพพาน มันไม่มีหรอก มันมีแต่รู้ ตื่น เบิกบาน ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งทั้งปวง หาตนเองให้เจอ แล้วก็จะพบสันติสุขเอง หาเนื้อแท้ให้เจอ แล้วเจ้าจะอยู่เหนือโลก ที่เรียกว่าโลกอุดร ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครยิ่งกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2006
  13. hongsanart

    hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    เจริญธรรม...

    หลายคนอยากถาม แต่ไม่กล้าถาม...เพราะกลัวจะโดนว่า..."ถามอะไรบ้าๆ"

    เอาอย่างนี้แล้วกัน ในเว็ปห้องนี้ ใช้ชื่อว่า "ถามมาสิจ๊ะ...แม่ชียินดีตอบจ้า"
    ถามมาเถอะ ถามในนี้ก็ได้ แม่ชีเข้าใจ เวลาที่เราสงสัย ไม่รู้จะถามใคร?
    พอได้คำตอบก็ยังไม่ค่อยกระจ่าง จะถามอีกก็ไม่กล้า เลยไม่รู้ว่า สิ่งที่ตนสงสัยนั้นมันผิดจากคนอื่นหรือไม่?

    อย่างเรื่องนิพพานนี้แหละ แม่ชีเชื่อว่าหลายคนยังสงสัย เพราะแต่ก่อนเวลาไปวัด หรือฟังพระสอน ท่านก็จะบอกว่า "นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ" ให้ได้เข้าถึงนิพพาน เรียกว่า ให้จิตยึดมั่นนิพพานไว้เสมอ จะถึงนิพพานเมื่อไหร่ก็ช่าง แต่ให้จิตยึดเกาะและตั้งมั่น นิพพาน

    หลายคนก็ยึดอย่างนั้นมาตลอด มีเรื่องมาเล่าให้ฟังแล้วกัน...

    มีคุณป้าคนหนึ่ง เข้าวัดเข้าวาตลอด เวลาถวายทานเสร็จพระท่านจะกล่าว "นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ" ทุกครั้ง คุณป้าก็จะสาธุ!!! น้อมรับนิพพานตลอด

    วันหนึ่งคุณป้าเข้าไปในโบสถ์ นั่งหน้าพระประธานใหญ่ แล้วก็กล่าวออกไปว่า "ข้าแต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกช้างขอเข้าถึงและไปนิพพานเจ้าค่ะ"
    ทันใดนั้นมีเสียงตอบออกมาจากพระประทานใหญ่ว่า "จริงหรือ?" คุณป้าตื่นเต้นมากที่พระประธานพูดได้ จึงตอบไปว่า

    "จริงเจ้าค่ะ" พระประธานตอบ "ดี...นั้นไปนิพพานเดี๋ยวนี้เลยนะ" พอคุณป้าได้ยินว่า ไปนิพพานเดี๋ยวนี้ก็ตกใจ ตอบกลับไปอย่างตะกุกตะกักว่า

    "เดี๋ยวก่อนเจ้าค่ะ ขอให้ลูกช้างได้กลับไปถาม ลูกหลานก่อนว่า จะให้ลูกช้างไปนิพพานเดี๋ยวนี้ไหม?" ว่าแล้วคุณป้าก็รีบจ้ำอ้าวออกจากโบสถ์ไปทันที

    หลังจากนั้นมาคุณป้า ไม่เหยียบย่างเข้ามาวัดนี้และวัดไหนอีกเลย และไม่เคยพูดว่าจะไปนิพพานอีกด้วย

    ส่วนเสียงที่พูดมานั้น ไม่ใช่เสียงใครหรอกจ้า เป็นเสียงเด็กวัดที่แกล้งลองคุณป้าว่า จะไปนิพพานจริงไหม? สุดท้ายคุณป้าก็กลัวนิพพานเสียนี่

    แหม!!!! แล้วบอกกันจังว่า อยากไปนิพพานกัน คุณโยมทั้งหลายที่อยากไปนิพพาน ลองถามตัวเองก่อนสิว่า "กลัวนิพพานกันหรือเปล่า?"

    เพราะเราเคยได้รับการฟังมาว่า นิพพานต้องตาย สุดท้ายคนก็กลัวตายมากกว่าจะไปนิพพานเสียนี่....

    จบดีกว่า ขอบคุณที่ใช้บริการ

    ธรรมะสวัสดี สาธุ!!!!!
     
  14. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    <CENTER>ครูที่ดี </CENTER> ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้งไม่เข้าใจในพระ นิพพาน ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น ถ้าขืน สั่งสอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน ควรจะสั่งสอนแต่เพียงทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติ เป็นต้นว่า สอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้กุศลกรรมบถ ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้จัก ก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพอสมควร อยู่แล้ว ส่วนความสุขในโลกุตตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง ต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๑0 ศีลพระปาติโมกข์เสียก่อนจึงชื่อว่า เข้าใกล้ทาง มีโอกาสที่จะได้จะถึงโลกุตตรนิพพานโดยแท้ แม้ผู้ที่จะเจริญทางพระนิพพานนั้น ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครู ว่ารู้แจ้งทางพระนิพพานจริง จึงไปอยู่เล่าเรียน ถ้าไปอยู่ เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้ไม่แจ้ง ก็จะไม่สำเร็จ โลกุตตรนิพพานได้ เพราะว่าทางแห่งโลกุตตรนิพพานนี้ เล่าเรียนได้ด้วยยากยิ่งนัก ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามสุข อันเป็นข้าศึกแก่พระนิพพานโดยมาก ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะ ผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนา แก่ข้าฯ อานนท์ด้วยประการดังนี้ ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลาย จงทราบด้วยผลญาณแห่งตน ดังแสดงมานี้เถิด.
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลทั้งหลาย ผู้ปรารถนาซึ่งพระนิพพาน ควรแสวงหาซึ่งครูที่ดีที่อยู่เป็นสุข สำราญมิได้ประมาท เพราะพระนิพพานไม่เหมือนของสิ่งอื่น อันของสิ่งอื่นนั้นเมื่อผิดไปแล้วก็มีทางแก้ตัวได้ หรือไม่สู้ เป็นอะไรนัก เพราะไม่ละเอียดสุขุมมาก ส่วนพระนิพพาน นี้ละเอียดสุขุมที่สุด ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ เป็นนักหนา ทำให้หลงโลกหลงทางห่างจากความสุข ทำให้ เสียประโยชน์เพราะอาจารย์ ถ้าได้อาจารย์ที่ถูกที่ดี ก็จะได้ รับผลที่ถูกที่ดี ถ้าได้อาจารย์ที่ไม่รู้ไม่ดีไม่ถูกไม่ต้อง ก็จะได้ รับผลที่ผิดเป็นทุกข์ พาให้หลงโลกหลงทาง พาให้เวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นกาลนาน เปรียบเหมือนผู้จะ พาเราไปในที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง แต่ผู้นั้นไม่รู้จักตำบลนั้น แม้เราเองก็ไม่รู้ เมื่อกระนั้น ไฉนเขาจึงจะพาเราไปให้ถึง ตำบลนั้นได้เล่า ข้ออุปมานี้ฉันใด อาจารย์ผู้ไม่รู้พระนิพพาน และจะพาเราไปพระนิพพานนั้น ก็จะพาเราหลงโลกหลงทาง ไป ๆ มา ๆ ตาย ๆ เกิด ๆ อยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่อาจจะถึง พระนิพพานได้ เหมือนคนที่ไม่รู้จักตำบลที่จะไปและเป็น ผู้พาไป ก็ไม่อาจจะถึงได้ มีอุปไมยฉันนั้น ผู้คบครูอาจารย์ ที่ไม่รู้ดีและได้ผลที่ไม่ดี มีในโลกมิใช่น้อย เหมือนดัง พระองคุลิมาลเถระไปเรียนวิชาในสำนักครูผู้มีทิฏฐิอันผิด ได้รับผลที่ผิด คือเป็นมหาโจรฆ่าคนล้มตายเสียนับด้วยพัน หากเราตถาคตรู้เห็นมีความสงสารเวทนามาข้องในข่าย สยัมภูญาณ จึงได้ไปโปรดทรมานให้ละเสียซึ่งพยศอันร้าย เป็นการลำบากมิใช่น้อย ถ้าไม่ได้พระตถาคตแล้ว พระ องคุลิมาลก็จักได้เสวยทุกข์อยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นชาติเป็น อันมาก
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครู สั่งสอนท่านผู้อื่นในทางพระนิพพานเลย ต่างว่าจะสั่งสอนเขา จะสั่งสอนว่ากระไรเพราะตัวไม่รู้ เปรียบเหมือนบุคคลไม่เคย เป็นช่างเขียนหรือช่างต่างๆมาก่อน แล้วและอยากเป็น ครูสั่งสอนเขา จะบอกแก่เขาว่ากระไร เพราะตัวเองก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจจะเอาอะไรไปบอกไปสอนเขา จะเอาแต่คำพูด เป็นครูทำตัวอย่างให้เขาเห็นเช่นนั้นไม่ได้ จะให้เขาเล่าเรียน อย่างไร เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยตาให้รู้ด้วยใจ เขาจะทำตามอย่างไรได้ ตัวผู้เป็นครูนั้นแลต้องทำก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรเป็นครูสอนเขา ถ้าขืนเป็นครูก็จะพาเขา หลงโลกหลงทาง เป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัวนักหนาทีเดียว พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลผู้จะสอน พระนิพพานนั้นต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระ- นิพพานมีอยู่ในที่นั้น ๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ ต้อง รู้ให้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจาว่านิพพาน ๆ ด้วยปาก แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้นไม่ควรเชื่อถือเลย ต้องให้รู้แจ้งชัด ในใจก่อน จึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่านผู้อื่นต่อไป จะเป็นเด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพาน แล้ว ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์และควรนับถือเป็นครูเป็น อาจารย์ได้ แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์สักปานใดก็ตาม ถ้า ไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย
    ดูกรอานนท์ ถ้าอยากได้สุขอันใด ก็ควรรู้จักสุข อันนั้นก่อนจึงจะได้ เมื่ออยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ควร รู้จักสุขในพระนิพพาน อยากได้สุขในมนุษย์และสวรรค์ ก็ให้ รู้จักสุขในมนุษย์และสวรรค์นั้นเสียก่อนจึงจะได้ ถ้าไม่รู้จัก สุขอันใด ก็ไม่อาจยังความสุขอันนั้นให้เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือน ทุกข์ในนรก อันทุกข์ในนรกนั้น จะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือผู้ที่ไม่รู้ก็ตกนรก เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้ ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้ แต่มิใช่ว่าทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้แต่ การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจาก ทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรกตราบใด ก็ยังไม่พ้น จากนรกอยู่ตราบนั้น ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ ทางออกจากนรกได้แล้วปรารถนาจะพ้นจากนรกก็พ้นได้ เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้ ต้องรู้จักแจ้งชัดว่านรกอยู่ ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ และควรรู้จักทาง ออกจากนรกให้แจ้งชัด ทางออกจากนรกนั้นก็คือ ศีล ๕ ศีล ๑0 ศีลพระปาติโมกข์นั่นเอง เมื่อรู้แล้วอยากจะออก ให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้พ้นก็พ้นไม่ได้ ผู้ที่รู้กับ ผู้ที่ไม่รู้ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน ส่วนความสุข ในมนุษย์สวรรค์และพระนิพพานนั้นต้องรู้จึงจะได้ ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจไม่ได้เลย มีอาการต่างกันอย่างนี้. ดูกรอานนท์ เมื่ออยากรู้จักนรกและสวรรค์และพระนิพพานก็ให้รู้เสีย ในเวลา ที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออยากพ้นทุกข์ในนรก ก็รีบออก ให้พ้นเสียแต่เมื่อยังไม่ตาย เมื่ออยากได้สุขในมนุษย์หรือ ในสวรรค์หรือในนิพพาน ก็ให้รีบขวนขวายหาสุขเหล่านั้น ไว้แต่เมื่อยังไม่ตาย จะถือว่าตายแล้วจึงพ้นทุกข์ในนรก ตายแล้วจึงจะไปสวรรค์ไปพระนิพพานดังนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้ เสียประโยชน์เปล่า อย่าเข้าใจว่า เมื่อมีชีวิตอยู่สุขอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปแล้วมีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความรู้ที่เข้าใจ ผิดโดยแท้ เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ได้รับทุกข์ฉันใด แม้ เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับทุกข์ฉันนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุข ฉันใด เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับความสุขฉันนั้น ไม่ต้องสงสัย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ยังไม่รู้ไม่เห็นซึ่งความทุกข์และความสุขมี สภาวะดังนี้ เมื่อตายไปแล้วจะซ้ำร้ายยิ่งนัก จะมีทางรู้ทาง เห็นด้วยอาการอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้.
     
  15. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    <CENTER>คนหลง</CENTER> ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ใดมิได้ทำบุญให้ทาน รักษาศีลเป็นต้น ไว้สำหรับตัวเสียก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง บุคคลผู้ใดอยากได้ความสุขแต่มิได้ กระทำตนให้ได้รับความสุขไว้ก่อน ตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เข้าใจเสียว่า ตายไปแล้วภายหน้าจึงจะได้รับความสุขเช่นนี้ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง บุคคลผู้ใดอยากให้ตนพ้นทุกข์ แต่ไม่ได้ กระทำตนให้พ้นทุกข์เสียตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เข้าใจเสียว่า ตายไปแล้วจึงจะพ้นทุกข์ ดังนี้ผู้นั้นก็เป็นคนหลง บุคคล ผู้ใดที่ทำความเข้าใจว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้เป็นอย่างหนึ่ง ตายไปแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้นั้นก็เป็นคนหลง บุคคลผู้ใดเข้าใจเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้เป็นก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้ว ภายหน้าหากจะรู้ จะเห็น จะได้ จะเป็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลง บุคคลผู้ใดเข้าใจ เสียว่า เมื่อยังเป็นคนยังมีชีวิตอยู่นี้สุขก็ช่างเถิด ตายไปแล้ว จะได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง บุคคลผู้ใดถือเสียว่า เมื่อยังมี ชีวิตอยู่นี้ทุกข์ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้วจะได้สุข ผู้นั้น ก็เป็นคนหลง บุคคลถือเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ จะทุกข์ก็ดี จะสุขก็ดี จะชั่วก็ดี ก็ช่างเถิด ตายไปแล้วจะไป เป็นอะไรก็ช่างเถิด ใครจะตามไปรู้ไปเห็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายปรารถนาอยากพ้นทุกข์ หรือ ปรารถนาอยากให้สุขประเภทใด ก็ควรให้ได้ให้ถึงเสียแต่ ในชาตินี้ ถ้าถือเอาภายหน้าเป็นประมาณแล้ว ชื่อว่าเป็น คนหลงสิ้นทั้งนั้น แม้ความสุขอย่างสูงคือพระนิพพาน ผู้ปรารถนาก็พึงรีบขวนขวายให้ได้ให้ถึงเสียแต่เมื่อยังเป็น คนมีชีวิตอยู่นี้. ดูกรอานนท์ อันว่าความสุขในพระนิพพาน นั้นมี ๒ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความว่า เมื่อยัง เป็นคน มีชีวิตอยู่ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้นได้ชื่อว่า พระนิพพานดิบ เมื่อตายไปแล้วได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้น ชื่อว่าพระนิพพานสุก พระนิพพานมี ๒ ประเภทเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลงไม่นับเข้า ในที่นี้ พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ให้เห็น ให้ได้ให้ถึงไว้เสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตายไปก็จะได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้วเห็นแล้วพยายามจะให้ได้ให้ถึง ก็แสนยากแสนลำบากยิ่งนักหนา ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพาน มีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนหลง ส่วนพระนิพพานดิบนั้นจะจัดเอาความสุขอย่างละเอียด เหมือนอย่างพระนิพพานสุกนั้นไม่ได้ แต่ก็เป็นความสุข อย่างละเอียดสุขุมหาสิ่งเปรียบมิได้อยู่แล้ว แต่หากยังมี กลิ่นรสแห่งทุกข์กระทบถูกต้องอยู่ จึงไม่ละเอียดเหมือน พระนิพพานสุก เพราะพระนิพพานสุกไม่มีกลิ่นรสแห่งทุกข์ จะมากล้ำกรายปราศจากสรรพสิ่งทั้งปวง แต่พระนิพพานดิบ นั้นต้องให้ได้ไว้ก่อนตาย ดูกรอานนท์ อันว่าพระนิพพาน นั้นพึงให้ดูอย่างแผ่นพระธรณีมีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ ตัวเรามีลักษณะอาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้นก็ได้ชื่อว่า ถึงพระนิพพานดิบ ถ้าทำไม่ได้ แต่พูดว่าอยากได้ จะพูด มากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะได้จะถึงเลย ถ้า ปรารถนาจะถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตทำใจของตน ให้เป็นเหมือนแผ่นดินเสียก่อน ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วยง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจะได้ จะเข้าใจว่าปรารถนา เอาด้วยปากก็คงจะได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไปใช้ไม่ได้ ต้องทำตัวทำใจให้เป็นเหมือนแผ่นดินให้จงได้ ลักษณะของ แผ่นดินนั้น คนและสัตว์ทั้งหลายจะทำร้ายทำดี กล่าวร้าย กล่าวดีประการใด มหาปฐพีนั้นก็มิได้รู้โกรธรู้เคืองที่ว่า ทำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่าเอื้อเฟื้อ อาลัยว่าใจของตน ให้ระลึกอยู่ว่า ตัวมาอาศัยอยู่ไปชั่วคราว เท่านั้น เขาจะนึกจะคิดอะไรก็อย่าตามเขาไป ให้เข้าใจอยู่ว่า เราอยู่ไปคอยวันตายเท่านั้น ประโยชน์อะไรกับวัตถุข้าวของ และตัวตนอันเป็นของภายนอก แต่ใจซึ่งเป็นของภายใน และเป็นของสำคัญ ก็ยังต้องให้ปล่อยให้วาง อย่าถือเอาว่า เป็นของของตัว กล่าวไว้แต่พอให้เข้าใจเพียงเท่านี้โดยสังเขป ดูกรอานนท์ คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละ ความโลภความโกรธความหลง ปลงเสียซึ่งการร้ายและการดี ที่บุคคลนำมากล่าว มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ อย่ายินดี อย่ายินร้าย แม้ ปัจจัยเครื่องบริโภค เป็นต้นว่าอาหารการกิน ผ้าผ่อน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ที่นอน เภสัชสำหรับแก้โรค ก็ให้ละ ความโลภความหลงในปัจจัย เหล่านั้นเสีย ให้มีความ มักน้อยในปัจจัย แต่มิใช่ว่าจะห้ามเสียว่าไม่ให้กินมิให้ นุ่งห่ม ไม่ให้อาศัยในสถานที่ ไม่ให้กินหยูกกินยา เช่นนั้น ก็หามิได้ คือให้ละความโลเลในปัจจัยเท่านั้น คือว่าเมื่อ ได้อย่างดีอย่างประณีต ก็ให้บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วย ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างนี้แหละจึงจะได้ชื่อว่าปล่อยวางใจเสียได้ ถ้ายังเลือกปัจจัยอยู่ คือปล่อยให้ความโลภความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำ เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่าถือจิตถือใจอยู่ ยังไม่ถึงพระนิพพาน ได้เลย ถ้าละความโลภ ความโกรธ ความหลงในปัจจัยนั้น ได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดินเป็นอันถึง พระนิพพานได้โดยแท้ มีคำสอดเข้ามาในที่นี้ว่า เหตุไฉน จึงมิให้ถือใจ เมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้น จะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ ๆ ที่จะเป็นอยู่ ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะมีใจนี้เอง ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่ เข้าใจว่า ใจนั้นเป็นของของตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจของเราแท้ ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่อย่าให้ตายก็คงจะ ได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว อันที่แท้จิตใจนั้นเป็นลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา โลกเขาตั้งแต่ง ไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพา เอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตใจนั้นก็หมดไป ใครจะ เกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของ มีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้น ได้แล้วก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่า จิตใจของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาป การอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข สวรรค์และพระนิพพาน ถือเอาไว้ให้ถึงที่สุดเพียงพระนิพพานเท่านั้น ถ้าถึงพระ นิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้แก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้ มีคำแก้ไว้ ดังนี้
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายที่หลง ขึ้นไปบังเกิดในอรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น ก็ล้วน แต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้น ให้หมดทุกข์นั้นเอง ไม่รู้จักวางจิตวิญญาณอันตนเข้ามาอาศัย อยู่กับด้วยลมของโลก ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว และ เข้าใจว่า พระนิพพานมีอยู่ในเบื้องบนนั้น ตัวก็นึกเข้าใจ เอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้วก็เลย พาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่อันไม่มีรูป ตามที่จิตตนนึกไว้นั้น ดูกรอานนท์ ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในอรูปพรหมแล้วจะได้ถึง โลกุตตรนิพพานนั้นช้านานยิ่งนัก เพราะว่าอายุของ อรูปพรหมนั้นยืนนัก จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงเชื่อว่านิพพานโลกีย์ ต่างกันแต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น ถ้าหากดับวิญญาณก็เป็นพระนิพพานโลกุตตรได้ ส่วน ความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐ เลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน แต่นิพพานโลกีย์เป็นนิพพาน ที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้ว ยังต้องมี เกิดแก่เจ็บตาย ร้ายและดี คุณและโทษ สุขและทุกข์ยังมีอยู่ เต็มที่ เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพาน พรหมไม่มีเลย ย่อมมุ่งต่อโลกุตตรนิพพานด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่รู้จักปล่อยวางวิญญาณจึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม ส่วนโลกุตตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมี ที่ใด ความเกิดแก่เจ็บตายก็มีอยู่ในที่นั้น โลกุตตรนิพพาน ปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิดไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บไม่มีตาย มีแต่ความสุขสบาย ปราศจากอามิส หาความสุขอันใด จะมาเปรียบด้วยนิพพานไม่มี พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล
     
  16. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    <CENTER>ปล่อยวาง</CENTER> ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ปรารถนา พระนิพพาน แต่ยังปล่อยวางใจไม่ได้ ยังอาลัยถึงความสุขอยู่ คิดว่าพระนิพพานอยู่ในที่นี้ จะเอาจิตแห่งตนไปเป็นสุขในที่ แห่งนั้น ครั้นจักปล่อยวางใจเสียก็กลัวว่าจะไม่มีอันใดนำไป ให้เป็นสุข ถือใจอาลัยสุข เหตุนั้นจึงมิได้พ้นนิพพาน พรหม ดูกรอานนท์ เราตถาคตแสดงว่าให้ปลงใจให้วางใจนั้น เราชี้ข้อสำคัญที่สุดมาแสดง เพื่อให้รู้ให้เข้าใจได้ง่าย การ วางใจปลงใจนั้น คือ วางสุขวางทุกข์ วางบาปบุญคุณโทษ วางโลภ โกรธ หลง วางลาภยศ นินทาสรรเสริญหมด ทั้งสิ้นเหมือนดังไม่มีหัวใจ จึงชื่อว่าทำให้เหมือนแผ่นดิน ถ้ายังทำไม่ได้ อย่าหวังว่าจะได้โลกุตตรนิพพานเลย ถ้า ทำตัวให้เหมือนแผ่นดินได้ในกาลใด พึงหวังเถิดซึ่งโลกุตตร นิพพานคงได้คงถึงในกาลนั้นโดยไม่ต้องสงสัย พระนิพพาน เป็นของได้ด้วยยากยิ่งนัก แสนคนจะได้แต่ละคนก็ทั้งยาก ดูกรอานนท์ ผู้มิได้ทำอริยมรรคปฏิปทาให้เต็มที่ ยังเป็น ปุถุชนหนาไปด้วยกิเลสหาปัญญามิได้ และจะวางใจทำตัว ให้เป็นเหมือนแผ่นดินนั้น ไม่อาจทำได้เลย เหตุที่เขาวางใจ ไม่ได้ เขายังถือตัวถือใจอยู่ว่าเป็นของของตัวแท้ จึงต้อง ทรมานทนทุกข์อยู่ในโลก เวียนว่ายตายเกิดแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดูกรอานนท์ ผู้ที่วางใจทำตัวให้เป็นเหมือน แผ่นดินได้นั้น มีแต่บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ และเป็นสัตบุรุษ จำพวกเดียวทั้งนั้น เพราะท่านไม่ถือตนถือตัว ท่านวางใจ ให้เป็นเหมือนแผ่นดินได้ ท่านจึงได้ถึงพระนิพพาน ส่วน ผู้ที่ถือตัวถือใจปล่อยวางมิได้นั้น แต่ล้วนเป็นคนโง่คนเขลา สิ้นทั้งนั้น บุคคลที่เป็นสัตบุรุษท่านเห็นแจ้งชัดซึ่งอนัตตา ท่านถือใจของท่านไว้ก็เพียงแต่ให้รู้บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ และไม่ใช่ประโยชน์ รู้ศีลทานการกุศลและอกุศล รู้ทางสุข ทางทุกข์ในมนุษย์ สวรรค์และพระนิพพานเท่านั้น ครั้นถึง ที่สุดท่านก็ปล่อยวางเสียตามสภาวะแห่งอนัตตา ส่วนคน โง่เขลานั้น ถือตนถือตัว ถือว่าร่างกายเป็นอัตตาตัวตน จึงปล่อยวางมิได้ ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลที่ถือใจนั้น ย่อมเป็นคนมักโลภ มักโกรธ มักหลง บุคคลจำพวกใดที่ ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น จะเป็นนักบวชก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ก็หาความสุขมิได้ เบื้องหน้าเมื่อตายไป ก็หาความสุขในมนุษย์หรือสวรรค์ มิได้เลย ย่อมมีอบายเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าโดยแท้ ดูกร อานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพาน จง วางเสียซึ่งใจอย่าอาลัยความสุข การวางใจก็คือการวางสุข วางทุกข์ และบาปบุญคุณโทษร้ายดี ซึ่งเป็นของสำหรับ โลกนี้เสียให้สิ้น สิ่งเหล่านี้สร้างไว้สำหรับโลกนี้เท่านั้น เมื่อต้องการพระนิพพานแล้วต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้ สิ้นทั้งนั้น จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุข อย่างยิ่ง เป็นความสุขอันหาส่วนเปรียบมิได้ ดูกรอานนท์ เมื่อจะถือเอาความสุขในพระนิพพานแล้ว ก็ให้วางใจใน โลกีย์นี้เสียให้หมดสิ้น อันว่าความสุขในโลกีย์ก็มีอยู่แต่ ในอินทรีย์ทั้ง ๖ นี้เท่านั้น ในอินทรีย์ทั้ง๖ นั้น มีใจไว้ เป็นเจ้า เอาประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น เป็นกามคุณทั้ง ๕ ประสาททั้ง ๕ นี้เองเป็นผู้แต่งความสุข ให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทตานั้นเขาได้เห็นได้ดูรูป วัตถุสิ่งของอันดีงามต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่เจ้าพระยา จิตตราช ประสาทหูนั้นเมื่อเขาได้ยินได้ฟังศัพท์สำเนียง เสียงที่ไพเราะเป็นที่ชื่นชมทั้งปวง ก็นำความสุขสนุกสนาน ไปให้เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทจมูกนั้นเมื่อเขาได้จูบชม ดมกลิ่นสุคันธรสของหอมต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่ เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทลิ้นนั้นเมื่อเขาบริโภคอาหาร อันโอชารสวิเศษต่างๆ ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้แก่ เจ้าพระยาจิตตราช ประสาทกายนั้น เมื่อเขาได้ถูกต้อง ฟูกเบาะเมาะหมอน นุ่งห่มประดับประดาเครื่องกกุธภัณฑ์ อันสวยงามและบริโภคกามคุณ ก็นำความสุขสนุกสนานไป ให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช เจ้าพระยาจิตตราชนั้น ก็คือใจ นั้นเอง ส่วนใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้คอยรับความสุขสนุกสนาน อย่างเดียวเท่านั้น ส่วนประสาททั้ง ๕ เป็นผู้นำความสุข ไปให้แก่ใจ ประสาททั้ง ๕ จึงชื่อว่ากามคุณ ส่วนความสุข ในโลกนี้ มีแต่กามคุณทั้ง ๕นี้เท่านั้น จึงเป็นเจ้าประเทศราช ในบ้านน้อยเมืองใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวโลก ก็มีแต่ กามคุณทั้ง ๕ เท่านั้น ดูกรอานนท์ ผู้ที่จะนำตนไปมีสุข ในพระนิพพาน ต้องวางเสียซึ่งความสุขในโลกีย์ ถ้าวางไม่ได้ ก็ไม่ได้ความสุขในพระนิพพานเลย ถ้าวางสุขในโลกีย์มิได้ ก็ไม่พ้นทุกข์ ด้วยความสุขในโลกีย์เป็นความสุขที่เจืออยู่ ด้วยทุกข์ ครั้นเมื่อถือเอาสุขก็คือถือเอาทุกข์นั้นเอง ครั้น ไม่วางสุขก็คือไม่วางทุกข์นั้นเอง จะเข้าใจว่าเราจะถือเอา แต่สุข ทุกข์ไม่ต้องการดังนี้ไม่ได้เลย เพราะสุขทุกข์เป็น ของเนื่องอยู่ด้วยกัน ถ้าไม่วางสุขเสียก็เป็นอันไม่พ้นทุกข์ ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ที่จะรู้ว่าสุขทุกข์ติดกันอยู่นั้น หายากยิ่งนัก มีแต่เราตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้ เท่านั้น บุคคลทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้นทำ ความเข้าใจว่า สุขก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้น เราถือเอาสุขเราก็ได้สุข เราไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มี ดังนี้ เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่าสุขกับทุกข์ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์ เมื่อผู้ใดอยากพ้นทุกข์ให้วางสุขเสียก็เป็นอันละทุกข์วางทุกข์ ด้วยเหมือนกัน ใครเล่าจะมีความสามารถพรากสุขทุกข์ ออกจากกันได้ แม้เราตถาคตก็ไม่มีวิเศษที่จะพรากจาก กันได้ ถ้าหากเราตถาคตพรากสุขและทุกข์ออกจากกันได้ เราจะปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานทำไม เราจะถือเอาแต่ สุขอย่างเดียว เสวยแต่ความสุขอยู่ในโลกเท่านี้ ก็เป็นอัน สุขสบายพออยู่แล้ว นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุข โดยส่วนเดียว ไม่มีทางที่จะพึงได้ เราจึงวางสุขเสีย ครั้น วางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวางก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จพระนิพพาน พ้นจากกองทุกข์ ด้วยประการ ดังนี้ ดูกรอานนท์ อันสุขในโลกีย์นั้น ถ้าตรึกตรองให้ แน่นอนแล้ว ก็เป็นกองทุกข์นั้นเอง มันเกิดมาเป็นมิตร ติดกันอยู่ ไม่มีผู้ใดจะพรากออกจากกันได้ เราตถาคต กลัวทุกข์เป็นอย่างยิ่ง หาทางชนะทุกข์มิได้ จึงปรารถนา เข้าพระนิพพาน เพราะเหตุกลัวทุกข์นั้นอย่างเดียว พระ พุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา สืบต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ กุศลธรรมและ อกุศลธรรมนั้น ได้แก่กองกิเลส ๑,๕๐๐ นั้นเอง อัพยากฤต ธรรมนั้นคือองค์พระนิพพาน ครั้นพ้นจากกองกุศลธรรม และอกุศลธรรมนั้นแล้ว จึงเป็นองค์แห่ง พระอรหันต์ และ พระนิพพานโดยแท้ ถ้ายังไม่พ้นจากกุศลและอกุศลธรรม ตราบใด ก็ยังไม่เป็นอัพยากฤตตราบนั้น คือยังไม่เป็น องค์พระอรหันต์ ยังไม่เป็นองค์พระนิพพานได้ ดูกรอานนท์ กุศลนั้นได้แก่กองสุข อกุศลนั้นได้แก่กองทุกข์ กองสุขและ กองทุกข์นั้น หากเป็นของเกิดติดเนื่องอยู่ด้วยกันไม่มีใคร จะพรากให้แตกออกจากกันได้ ครั้นถือเอากุศลคือกองสุขแล้ว ส่วนอกุศลคือกองทุกข์นั้น แม้ไม่ถือเอาก็เป็นอันได้อยู่เอง ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลต้องการพระนิพพาน ก็ให้วางเสีย ซึ่งความสุขนั้นก่อน ความสุขในโลกีย์นั้นเองชื่อว่ากุศล จึง จะถึงพระนิพพาน ถ้าหากว่าไม่มีความสามารถ คือไม่อาจ ทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ก็ให้ยึดเอากุศลนั้นไว้ก่อน พอให้ ได้ความสุขในมนุษย์และสวรรค์ แต่จะให้พ้นทุกข์นั้นไม่ได้ ถ้าเมื่อรู้อยู่ว่า ตนจะพ้นทุกข์ไม่ได้ ก็ให้ยึดเอากุศลนั้นไว้ เป็นสะพานสำหรับไต่ไปสู่ความสุข ถ้ารู้ว่าตนยังไม่พ้นทุกข์ ซ้ำมาวางกุศลเสียก็ยิ่งซ้ำร้าย เพราะเมื่อวางกุศลเสียแล้ว ตนก็จะเข้าไปหากองกุศล คือ กองบาปเท่านั้น เมื่อตก เข้าไปในกองอกุศล อกุศลนั้นก็จะนำตัวไปทนทุกขเวทนา ในอบายภูมิทั้ง ๔ หาความสุขในโลกมิได้เลย เพราะเหตุนั้น เมื่อตนยังไม่ถึงพระนิพพาน ก็ให้บำเพ็ญบุญกุศลไว้ พอจะ ได้อาศัยเป็นสุขสบายไปในชาตินี้และชาติหน้า ภนฺเต ข้าแต่ พระอริยกัสสปะ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้.
     
  17. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    <CENTER>จิตกับตัณหา</CENTER> ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ เราตถาคตจะแสดงใน ข้ออันเป็นที่สุดแต่โดยย่อ ๆ พอให้เข้าใจง่าย ที่สุดนั้นก็คือ จิตกับตัณหา จิตนั้นจำแนกออกไป เรียกว่ากองกุศลคือ กองสุข ตัณหานั้นจำแนกออกไป เรียกว่ากองอกุศลคือ กองทุกข์ ต้นเหง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้น ก็คือจิตและตัณหา นี้เอง จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้ เกิดเห็นตาม จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหาก็ให้ เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไปเท่านั้น ดูกรอานนท์ แต่เบื้องต้น เมื่อเราตถาคต ยังไม่รู้แจ้งว่าสุขและทุกข์อยู่ติดด้วยกัน เราก็ถือเอากุศลจิตอันเดียวหมายจักให้เป็นสุขอยู่ทุกเมื่อ ส่วนทุกข์จะไม่ให้มา ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลจิตเรื่อยไป เมื่อ ได้สุขเท่าใด ทุกข์ก็พลอยเกิดมีเท่านั้น ครั้นภายหลัง เรา พิจารณาด้วยญาณจักษุปัญญา และเห็นแจ้งชัดว่าสุขและทุกข์ ติดอยู่ด้วยกัน ครั้นรู้แจ้งแล้วก็ตรึกตรองหาอุบาย ที่จะกำจัด สุขและทุกข์ให้พรากออกจากกัน มันแสนยากแสนลำบาก เหลือกำลัง จนสิ้นปัญญาหาทางไปทางมาไม่ได้เราตถาคต จึงวางเสียซึ่งสุข คืนให้แก่ทุกข์ คือวางใจให้แก่ตัณหา ครั้น เราวางใจไว้ให้แก่ตัณหาแล้ว ความสุขในพระนิพพานก็เลย เข้ามารับเราให้ถึงนิพพานดิบในขณะนั้น พร้อมกับวางใจ ไว้ให้แก่ตัณหา ดูกรอานนท์ เมื่อวางใจได้ จึงเป็นอัพยากฤต จึงเรียกชื่อว่าถือเอาอัพยากฤตเป็นอารมณ์ เป็นองค์พระ อรหันต์ คือได้เข้าตั้งอยู่ในพระนิพพานด้วยอาการดังนี้.
    ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ สืบต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าอรหันต์นั้น จะได้มีจำเพาะแต่เราตถาคตพระองค์เดียวก็หามิได้ ย่อมมี เป็นของสำหรับโลก สำหรับไว้โปรดสัตว์โลกทั่วไป ไม่ใช่ ของเราตถาคตและของผู้หนึ่งผู้ใดเลย ดูกรอานนท์ เรา ตถาคตเป็นผู้ไกลจากกิเลสแล้ว จึงได้มาซึ่งพระอรหันต์ บุคคลผู้ใดปราศจากกิเลสแล้ว บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้ได้พระ อรหันต์เสมอกันทุกคน บุคคลผู้ใดที่ยังไม่ปราศจากกิเลส ถึงแม้จะอ้อนวอนเราตถาคตว่า อรหันต์ อรหันต์ ดังนี้ จนถึงวันตาย ก็ไม่อาจได้ซึ่งพระอรหันต์เลย เป็นแต่กล่าว ด้วยปากเปล่า ๆ เท่านั้น และมาเข้าใจว่า การละกิเลสได้ หรือไม่ได้นั้นไม่เป็นประมาณ เมื่อได้อ้อนวอนหาซึ่งองค์ พระอรหันต์เจ้าด้วยปากด้วยใจแล้ว พระอรหันต์เจ้าก็จะ นำเราให้เข้าสู่พระนิพพาน เข้าใจเสียอย่างนี้ได้ชื่อว่าเป็น คนหลงแท้ แม้เมื่อตนยังไม่พ้นลามกมลทินแห่งกิเลส แล้ว ไปอ้อนวอนพระอรหันต์ที่หมดมลทินกิเลส ให้มาตั้งอยู่ใน ตัวตนอันแปดเปื้อนด้วยลามกมลทินแห่งกิเลส จะมีทางได้ มาแต่ไหน เปรียบเหมือนดังมีสระอยู่สระหนึ่ง เต็มไปด้วย ของเน่าของเหม็นสารพัดทั้งปวง เป็นสระมีน้ำเน่าเหม็นสาบ เหม็นคาวน่าเกลียดยิ่งนัก และมีบุรุษคนหนึ่งตกอยู่ในสระ นั้น หากว่าบุรุษคนนั้นร้องเรียกให้อานนท์ลงไปอยู่ในสระ น้ำเน่ากับเขาด้วย อานนท์จะไปอยู่ด้วยกับเขาหรือ ดูกร อานนท์ เราจะบอกให้สิ้นเชิง ถ้าอานนท์ลงไปอยู่ในสระกับ บุรุษผู้แปดเปื้อนด้วยน้ำเน่าได้ ดังนั้นองค์พระอรหันตเจ้า ก็อาจไปตั้งอยู่กับบุคคลผู้แปดเปื้อนด้วยกิเลสได้เหมือนกัน ถ้าอานนท์ลงไปอยู่ด้วยกับบุรุษแปดเปื้อนไม่ได้ องค์พระ อรหันตเจ้าก็ไม่อาจตั้งอยู่กับบุคคลผู้แปดเปื้อนด้วยกิเลส ได้เหมือนกันเช่นนั้น ดูกรอานนท์ ท่านจะลงไปอยู่ด้วย กับบุรุษแปดเปื้อนได้หรือไม่ มีพุทธฎีกาตรัสถาม ฉะนี้ ข้าฯ อานนท์จึงกราบทูลว่าลงไปอยู่ด้วยไม่ได้ ถ้าท่าน ไม่ลงไป บุรุษผู้นั้นก็กล่าววิงวอนท่านอยู่ร่ำไปจะสำเร็จ หรือไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์ไม่ลงไปบุรุษ ผู้นั้นก็ทำอะไรแก่ข้าพระองค์ไม่ได้ ความปรารถนาก็ไม่สำเร็จ เป็นแต่วิงวอนอยู่เปล่า ๆ เท่านั้นเอง ดูกรอานนท์ ข้ออุปมา นี้ฉันใด บุรุษผู้จมอยู่ในน้ำนั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้ ไม่ปราศจากมลทินลามกแห่งกิเลส พระอรหันต์นั้นเปรียบ เหมือนตัวของอานนท์ อานนท์ไม่ลงไปอยู่ด้วยกับบุรุษ แปดเปื้อนฉันใด พระอรหันต์ท่านก็ไม่ไปอยู่กับบุคคลผู้ แปดเปื้อนด้วยกิเลสฉันนั้น แม้จะวิงวอนด้วยปากด้วยใจ สักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ พระอรหันต์ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็น ผู้พ้นทุกข์แล้ว ท่านไม่น้อมเข้าไปหาบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเลย ครั้นบุคคลผู้ใดปรารถนาความสุขแล้ว จงน้อมตัวเข้าไป หาท่าน ท่านก็โปรดให้ได้ความสุข ทุกคนจะเข้าใจว่า พระอรหันต์ท่านเลือกหน้าเลือกบุคคล จะติเตียนอย่างนั้น ไม่ควร ถ้าผู้ใดพ้นจากกิเลสกามและพัสดุกามได้แล้ว ชื่อว่า น้อมตัวเข้าไปหาท่านๆ ก็โปรดนำเข้าสู่พระนิพพาน เสวย สุขอยู่ด้วยท่าน ไม่เลือกหน้าบุคคลเลย แต่ผู้จมอยู่ด้วย กิเลสกาม ละกิเลสไม่ได้ ชื่อว่าไม่น้อมตัวเข้าไปหาท่านเอง ดูกรอานนท์ ถึงตัวเราตถาคต ก็ต้องน้อมตัวเข้าไปหาท่าน ท่านจึงโปรดให้ตถาคตนี้ ได้เป็นครูแก่โลก ดังนี้ เพราะว่า พระอรหันต์ท่านเป็นผู้ดี และจักให้ท่านเข้าไปคบหาคนชั่ว นั้นเป็นไปไม่ได้ และผิดธรรมเนียมด้วย สมควรแต่ผู้ เลวทรามต่ำช้า จะเข้าไปท่านผู้ดี ผู้สูงศักดิ์โดยส่วนเดียว ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ ข้าฯอานนท์ ดังนี้แล.
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา สืบไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ใดปรารถนา ซึ่งพระอรหันต์ ก็พึงยกตัวและห้ามใจให้ห่างไกลจากกอง กิเลส เพราะพระอรหันต์ท่านเป็นผู้ไกลจากกิเลส จะ บริกรรมแต่ด้วยปากด้วยใจว่า อรหันต์ๆ แล้วเข้าใจว่า ตนได้พระอรหันต์ เห็นว่าเป็นบุญเป็นกุศล จะได้ความสุข ในมนุษย์และสวรรค์และพระนิพพาน จะทำความเข้าใจ อย่างนี้ไม่สมควรพระนามชื่อว่าพระอรหันต์นี้ เราบอกไว้ ให้รู้ว่าผู้ไกลจากกิเลสจะถือเอาแต่พระนามว่าอรหันต์ๆ แล้วเข้าใจว่าตนได้สำเร็จเช่นนี้ไม่ควร เพราะคำที่ว่าอรหันต์ ใครๆ ก็กล่าวได้ จะมิเป็นพระอรหันต์ก็คือเราตถาคตนี้เอง เหตุที่เรา ปราศจากกิเลสละกิเลสสิ้นแล้ว เราจึงได้ถึงที่สุดแห่งพระ อรหันต์ องค์อรหันต์กับเราตถาคตก็หากเป็นอันเดียวกัน จะร้องเรียกพระอรหันต์ว่า เป็นตถาคตก็ไม่ผิด หรือจะ ร้องเรียกเราตถาคตเป็นพระอรหันต์ก็ไม่ผิด ผู้ใดละกิเลสได้ สิ้นเชิงแล้ว ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าถึงที่สุดแห่งพระอรหันต์สิ้นด้วยกัน จะถือพระอรหันต์เป็นเราตถาคตองค์เดียวหามิได้ จงเข้าใจ องค์แห่งพระอรหันต์ ดังเราตถาคตแสดงมานี้เถิด ข้าแต่ พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล.
     
  18. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    <CENTER>ผู้รู้มากถือตัวไกลพระนิพพาน</CENTER> ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ สิ่งที่ทำให้สัตว์โลกเวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ทรมานทุกข์ในนรกและกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้สิ้นสุดนี้ มิใช่สิ่งอื่นคือตัว กิเลสและตัณหาล่อลวงให้ดวงจิตของสัตว์ทั้งหลายมิให้พ้น ทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร และมิได้ถึงพระนิพพานได้ ถ้าผู้ใด มิได้รู้กองแห่งกิเลสแล้ว ผู้นั้นก็จะประสบภัยได้รับทุกข์ใน อบายภูมิทั้ง ๔ มิได้มีเวลาสิ้นสุด ดูกรอานนท์ จงจับตัว ตัณหาให้ได้ ถ้าจับได้แล้ว เมื่อตัวต้องทุกข์ก็จะเห็นได้ว่า ตัวเป็นอนัตตา เมื่อจับไม่ได้ก็เห็นตัวเป็นอนัตตาไม่ได้ บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นสานุศิษย์แห่งพระตถาคตนี้ ก็มี ความประสงค์ด้วยพระนิพพาน การที่จะรู้ว่าดีหรือชั่ว กว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสินด้วยว่า พระนิพพาน เป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ผู้นั้นก็เป็นผู้ดียิ่งกว่าผู้ยังหนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหา ผู้ใดตั้งอยู่ ในนิจศีล คือศีล ๕ ผู้นั้นยังหนาอยู่ด้วยกิเลส แต่ได้ชื่อว่า เป็นผู้บางจากกิเลสได้ชั้นหนึ่ง ถ้าตั้งอยู่ในอุโบสถศีล คือ ศีล ๘ ได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๒ ชั้น ถ้ามาตั้งอยู่ใน ทศศีล คือศีล ๑๐ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๓ ชั้น ผู้เข้ามาตั้งอยู่ในศีลพระปาติโมกข์คือศีล ๒๒๗ ผู้นั้นก็ได้ ชื่อว่า บางจากกิเลสได้ ๔ ชั้น ผลอานิสงส์ก็มีเป็นลำดับ ขึ้นไปตามศีลนั้น ผู้ที่มีศีลน้อยอานิสงส์ก็น้อย ผู้ที่มีศีลมาก อานิสงส์ก็มากขึ้นไปตามส่วนของศีล บุคคลที่มิได้ตั้งอยู่ใน ศีล ๕ ถึงจะมีความรู้ความฉลาดมากมายสักเท่าใดก็ดี ก็ไม่ควรจะกล่าวคำประมาทแก่ผู้ที่มีศีล ๕ ผู้ที่มีศีล ๕ ก็ควร ยินดีแต่เพียงชั้นศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาท แก่ผู้ที่มีศีล ๘ ผู้ที่มีศีล ๘ ก็ควรยินดีแต่เพียงศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาทในท่านที่มีศีล ๑๐ ผู้ที่มีศีล ๑๐ ก็ควรยินดีอยู่ในชั้นศีลของตน ไม่ควรจะกล่าวคำประมาท ในท่านที่มีศีลพระปาติโมกข์ ถ้าแลขืนกล่าวโทษติเตียน ท่านที่มีศีลยิ่งกว่าตน ชื่อว่าเป็นคนหลง เป็นคนห่างจาก ทางสุขในมนุษย์ และสวรรค์ และพระนิพพานแท้ ดูกร อานนท์ บุคคลผู้ไม่มีศีลปราศจากการรักษาศีล ไม่ควรกล่าว ซึ่งคำประมาทแก่ท่านผู้มีศีล ตัวตั้งอยู่ภายนอกศีลแล้ว มาเข้าใจว่า ตัวเป็นผู้ดีกว่าท่านผู้มีศีล แล้วกล่าวคำสบ ประมาทดูหมิ่นในท่านผู้มีศีล บุคคลจำพวกนั้นชื่อว่าเป็น เจ้ามิจฉาทิฏฐิใหญ่ ชื่อว่าเป็นคนหลงทาง เป็นผู้ห่างจาก ความสุขในมนุษย์และสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ ภายนอกศีลนั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในกิเลส ยังเป็นผู้ หนาแน่นอยู่ด้วยกิเลส แม้จะเป็นผู้มีความรู้ความฉลาด มากมายสักปานใดก็ตาม ก็ไม่ควรถือตัวเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล เหตุว่าผู้ที่ไม่มีศีลนั้นยังห่างจากพระนิพพานมาก ผู้ที่มีศีล ชื่อว่าใกล้ต่อ พระนิพพานอยู่แล้ว ถึงจะไม่รู้อะไร มีเพียง ศีลเท่านั้น ก็ยังดีกว่าผู้ไม่มีศีลอยู่นั่นเอง เพราะท่านเป็น ผู้บางจากกิเลส บุคคลผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แม้จะเป็น ผู้รู้มากแตกฉานในข้ออรรถและข้อธรรม ประการใดก็ตาม ก็ควรจะทำความเคารพยำเกรงในท่านที่มีศีล จึงจะถูกต้อง ตามคลองธรรมที่เป็นทางแห่งพระนิพพาน ถ้าให้ผู้มีศีล เคารพยำเกรงในผู้ที่ไม่มีศีลและเป็นผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เป็นความผิดห่างจากทางพระนิพพานยิ่งนัก ดูกรอานนท์ จะถือเอาความรู้และความไม่รู้เป็นประมาณทีเดียวไม่ได้ ต้องถือเอาการละกิเลสได้เป็นประมาณ เพราะว่าผู้จะถึง พระนิพพานต้องอาศัยการละกิเลสโดยส่วนเดียว เมื่อละ กิเลสได้แล้ว แม้ไม่มีความรู้มาก รู้แต่เพียงการละกิเลสได้ เท่านั้น ก็อาจถึงพระนิพพานได้ ดูกรอานนท์ การที่จะได้ ประสบสุขเพราะละกิเลสต่างหาก ผู้ที่มีความรู้แต่มิได้ละเสีย ซึ่งกิเลส ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ผู้มีความรู้นั้น แม้จะรู้มาก แสนพระคัมภีร์ หรือมีความรู้หาที่สุดมิได้ก็ตาม ก็รู้อยู่เปล่าๆ จะเอาประโยชน์อันใดอันหนึ่งไม่ได้ และจะให้เป็นบุญเป็น กุศล และได้เสวยความสุขเพราะความรู้นั้นไม่มี เราตถาคต ไม่สรรเสริญผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีศีล ผู้มีความรู้น้อย แต่เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล เราสรรเสริญและนับถือผู้นั้นว่าเป็น คนดี ถ้าผู้ใดนับถือผู้ที่มีกิเลสว่าดีกว่าผู้ไม่มีกิเลส บุคคล ผู้นั้นชื่อว่าถือศีลเอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูง เป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ผิดทางแห่งพระนิพพาน เป็นคนมิจฉาทิฏฐิ การที่นับถือบุคคลผู้หนาไปด้วยกิเลส ว่าดีกว่าผู้บางเบาจากกิเลส เราตถาคตไม่สรรเสริญเลย บุคคลจำพวกที่บางเบาจากกิเลส ใกล้ต่อพระนิพพาน เรา ตถาคตสรรเสริญและอนุญาตให้เคารพนับถือ การที่ทำบุญ ทำทาน ทำกุศล ปรารถนาเพื่อจะให้บุญ กุศล นั้น พาตน เข้าสู่พระนิพพาน ถ้าไม่รู้ว่าบำเพ็ญบุญกุศลเพื่อให้ช่วย ระงับดับกิเลส ก็เป็นอันบำเพ็ญเสียเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคน หลงโลกหลงทางแห่งพระนิพพาน ถึงรู้มากสักเท่าใดก็ตาม ถ้ายังละกิเลสไม่ได้ก็รู้เสียเปล่าๆ เราตถาคตตั้งศาสนาไว้ ไม่ได้หวังเพื่อให้บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญหาประโยชน์ อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์จะให้บุคคลบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้ระงับกิเลสตัณหาเท่านั้น การบำเพ็ญภาวนา เมื่อไม่คิดว่าจะให้ระงับดับกิเลสตัณหาแห่งตน ก็ได้ชื่อว่า เป็นคนหลงโลกหลงทางส่วนกุศลที่เกิดจากการบำเพ็ญ ภาวนานั้นจะว่าไม่ได้ไม่มีเช่นนั้นก็ไม่ปฏิเสธ อันที่จริง ก็หาก เป็นบุญเป็นกุศลโดยแท้ แต่ว่าเป็นทางหลงจากพระนิพพาน เท่านั้น การกระทำความเพียรบำเพ็ญภาวนา ทำบุญทำ กุศลอย่างใดอย่างหนึ่งมากน้อยเท่าใดก็ตาม ก็ให้รู้ว่าบำเพ็ญ บุญกุศลและเจริญภาวนา เพื่อระงับดับกิเลสตัณหาของตน ให้น้อยลง ให้พ้นจากกองกิเลสนั้น เช่นนี้ชื่อว่าเดินถูกทาง พระนิพพานแท้ ดูกรอานนท์ จงพากันประพฤติตามคำสอน ที่เราแสดงไว้นี้ ถ้าผู้ใดมิได้ประพฤติตาม ก็พึงเข้าใจว่า ผู้นั้นเป็นคนนอกพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงต่อไปอีกว่า ดูกรอานนท์ เรา ตถาคตบัญญัติศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์ไว้ หลายประเภทนั้น ก็เพราะอยากให้สัตว์ยกตนออกจากกอง กิเลส ดูกรอานนท์ บุคคลผู้บำเพ็ญศีลมากน้อยประเภทใด ประเภทหนึ่ง ก็เพื่อให้รู้ซึ่งการละกิเลส และยกตนให้พ้นจาก กิเลส เมื่อไม่รู้เช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลง ส่วนผลอานิสงส์ ที่ได้บำเพ็ญศีลนั้น เราตถาคตได้กล่าวอยู่ว่ามีผลอานิสงส์ จริง
     
  19. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    แต่ว่ามีอานิสงส์น้อยและผิดจากทางพระนิพพาน ถ้า เข้าใจว่าการรักษาศีล เพื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส รักษา ศีล ๕ ได้แล้ว จะเพียรพยายามรักษาศีล ๘ ศีล๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เป็นลำดับไป เพื่อจะยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับ เมื่อเราตั้งอยู่ในศีล ประเภทใด ก็ตั้งใจรักษาโดยเต็มความสามารถ รู้ดังนี้จึงมี ผลอานิสงส์มาก ไม่เป็นคนหลง และตรงต่อทางพระนิพพาน โดยแท้ ดูกรอานนท์ กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นศิษย์แห่งเราตถาคตนี้ก็หวังเพื่อความระงับดับกิเลส ไม่อยากเกิดในโลกสืบต่อไป เพราะกิเลสนั้นเป็นเชื้อสาย สืบโลก ดลบันดาลใจให้ยินดีไปในทางโลก ครั้นเกิดมาแล้ว ก็ให้เจ็บไข้ แก่ ตาย และให้ ต้องพลัดพรากจากกัน ให้รัก ให้ชัง ให้อด ให้ตี ให้ด่า ให้อยาก ให้ทุกข์ ให้ยากเข็ญใจ อาการกิริยาแห่งกิเลสเป็นเช่นนี้ เราตถาคตจึงทรงอนุญาต ให้บวช เพื่อความระงับดับกิเลส ไม่ให้เกิดมีเป็นเชื้อสาย สืบโลกต่อไป เมื่อรู้อย่างนี้แล้วตั้งใจรักษาศีลเพื่อให้ดับกิเลส และตรึกตรองหาอุบายเพื่อทำลายกิเลสอันเป็นต้นเค้าให้ ขาดสูญ การรักษาศีลพระปาติโมกข์ก็ดี การรักษาข้อวัตร ในธุดงค์ ๑๓ นั้นก็ดี ก็เป็นอันประมวลลงในศีลนั้นทุกอย่าง มิใช่ว่าจะรักษามากมายหลายสิ่งหลายอย่าง จนสิ้นจนหมด หามิได้ เมื่อเรารู้ว่ารักษาศีลเพื่อระงับดับกิเลส ไม่ได้รักษา เพื่ออย่างอื่นแล้ว แม้จะรักษาแต่เล็กแต่น้อยโดยเอกเทศ ไม่ครบตามจำนวนในพระปาติโมกข์ ในจำนวนแห่งธุดงควัตร ก็ได้ชื่อว่าเป็นรักษาครบทุกอย่าง เพราะจับต้นจับเค้ารากเหง้า แห่งกิเลสได้แล้ว เปรียบดังบุรุษตัดต้นไม้ ถ้าตัดเหง้าตัด รากแก้วขาดแล้ว กิ่งก้านสาขาแม้ไม่ต้องตัดก็ตายเอง ถ้า ไปตัดรอนแต่กิ่งก้านสาขารากเหง้าไม่ได้ตัด ต้นไม้นั้น ก็อาจงอกงามขึ้นได้อีก ดูกรอานนท์ บุคคลที่บวชใน พระศาสนานี้ ก็เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดต้นไม้ ฉะนั้น การบวชมิใช่ว่ามุ่งประโยชน์อย่างอื่น บวชเพื่อระงับดับกิเลส เท่านั้น ถ้าไม่หวังเพื่อความดับกิเลสแล้ว ไม่ต้องบวชดีกว่า การที่บวชโดยที่ไม่ได้มุ่งเพื่อการดับกิเลส แม้จะมีความรู้ วิเศษสักปานใด ก็ได้ชื่อว่ารู้เปล่าๆ แต่ว่าการที่เป็นผู้มี ความรู้ความฉลาดนั้น เรามิได้ติว่า ไม่รู้ไม่ดี ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ก็คงเป็นอันรู้อันดี เป็นบุญเป็นกุศลอยู่นั่นเอง แต่ว่าเป็นความรู้ที่ผิดจากทางพระนิพพาน ดูกรอานนท์ เราตถาคตเทศนาไว้โดยเอนกปริยายนั้น ก็เพื่อจะให้หมู่ ปุถุชนคนเขลาเห็นเป็นอัศจรรย์ และเพื่อให้ได้รับความเชื่อ ความเลื่อมใส เมื่อพาลชนทั้งหลายไม่เห็นเป็นอัศจรรย์แล้ว ก็จะไม่มีความเชื่อความเลื่อมใสในคุณของพระตถาคต ถ้า กล่าวแต่น้อยพอเป็นสังเขปก็ไม่เข้าใจ ไม่เหมือนผู้ที่มีบุญ มีวาสนาแม้จะกล่าวแต่เพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้มากมาย หลายอย่างหลายนัย ธรรมชาติผู้ที่มีปัญญาแท้ ไม่ต้อง กล่าวอะไรเลย ก็รู้ได้ด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ต้องให้กล่าว เป็นการลำบาก เราตถาคตได้รับความลำบากเพราะพาล ปุถุชนเท่านั้น ว่ากล่าวสั่งสอนแต่เพียงเล็กน้อยก็ไม่เข้าใจ เพราะเขาถือว่าเขาดีเสียแล้ว แท้ที่จริงความรู้ของเหล่า พาลชนจะรู้ดีไปสักเท่าไร ก็ดีอยู่แต่เพียงมีลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น ถ้าลมอัสสาสะปัสสาสะขาดแล้ว ก็มีแต่ เน่าเป็นเหยื่อหนอนนอนกลิ้งเหนือแผ่นดินจะหาสาระสิ่งใด ไม่มีเลย มีแต่เครื่องอสุจิเต็มไปสิ้นทั้งนั้น จะถือแต่ว่าตัวมี ความรู้ความดี เมื่อมีความรู้ความดีแล้วจะไม่ตายหรือ จะมี ความรู้มากรู้มายเท่าใดก็คงไม่พ้นตายไปได้ จะมีความรู้ดี วิเศษไปเท่าไร รู้ไปรู้อยู่บนแผ่นดินจะรู้จะดีให้พ้นแผ่นดิน ไปไม่ได้ เมื่อลมยังมีก็อยู่เหนือแผ่นดิน เมื่อลมออกแล้ว ก็คงอยู่เหนือแผ่นดินนั้นเอง จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ และจะมาถือตัวถือตนอยู่นั้น จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ และจะมาถือตัวถือตนอยู่นั้น เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน ของเน่าของเหม็นมีอยู่เต็มตัวก็ไม่รู้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าตัวรู้ดี ถือเนื้อถือตัวอยู่ เราตถาคตเบื่อหน่ายความรู้ความดีของ พาลปุถุชนมากนัก ดูกรอานนท์ ธรรมดาบุคคลผู้ที่เป็น นักปราชญ์มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมไม่ถือเนื้อถือตัวว่าเรารู้ดี อย่างนั้นอย่างนี้ ท่านจะมีความรู้มากมายเท่าไร ก็มิได้ ถือเนื้อถือตัวเหมือนอย่างพาลปุถุชน พวกพาลปุถุชน ที่เขาห่างไกลจากพระนิพพานก็เพราะเหตุที่เขาถือเนื้อ ถือตัว การถือเนื้อถือตัวมีมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ห่างไกลจาก พระนิพพานมากเท่านั้น เหตุว่าประตูเมืองพระนิพพานนั้น แคบนักหนา ผมเส้นเดียวผ่าออกเป็น ๓ เสี้ยว เอาแต่ เสี้ยวเดียวไปแยงเข้าที่ประตูนิพพาน ก็ยังคับแคบเข้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะ ถือว่าตัวรู้ดีเป็นผู้ใหญ่เป็นผู้สูงศักดิ์กว่าผู้อื่น ยิ่งถือตนถือตัว ขึ้นเท่าใดก็ยิ่งให้คับประตูพระนิพพานเข้าเท่านั้น จึงว่า พาลปุถุชนทั้งหลายเป็นผู้ห่างไกลจากพระนิพพาน ด้วยเหตุ ที่เขามัวถือเนื้อถือตัวว่าตัวรู้ดีอยู่ ดูกรอานนท์ บุคคลที่เข้า มาบวชเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแล้ว ยังปล่อยให้ตน ได้รับความทุกข์อยู่ ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นพาลปุถุชนคือ เป็นคนโง่เขลาผู้ที่ไร้ปัญญาเช่นนั้น จะเรียกว่าเป็นศิษย์ ของพระตถาคตยังไม่ได้ เมื่อบวชแล้วประพฤติตัวให้เป็นสุข อยู่ทุกเมื่อนั่นแลจึงจะเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแท้ เรา ตถาคตหวังเพื่อความสุขจึงได้ออกบวช เมื่อบวชแล้วมาทำ ตนของตนให้เป็นทุกข์ บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญาหาที่เปรียบมิได้ ถ้าบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว ไม่ทำ ตัวให้เป็นทุกข์เลย บุคคลผู้ไม่มีปัญญาจึงทำตัวให้เป็นทุกข์ ไม่เฉพาะแต่นักบวชจำพวกเดียว แม้คฤหัสถ์ถ้าหาปัญญา มิได้ก็ได้รับความทุกข์ยากลำบากเหมือนกัน ปราชญ์ผู้ปรีชา เมื่อออกบวชแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นแจ้งซึ่งมีศีลและ ข้อวัตรที่หนักและเบาแล้ว ท่านไม่ต้องรักษามากมาย หลายอย่างหลายประการนัก เลือกรักษาแต่เล็กแต่น้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสุขใจ ผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญานั้น ย่อมรักษามากมายหลายอย่างต่างๆนานา เพราะเหตุที่ ต้องรักษามากเกินไปจึงเป็นทุกข์ ผู้ที่มีปัญญาแล้วย่อมเลือก รักษาแต่สิ่งที่จริงที่แท้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ย่อมนำมา ซึ่งความสุข เปรียบเหมือนบุคคลผู้ฉลาด ไปตัดไม้ในป่า มาทำกิจอย่างหนึ่ง เมื่อตัดได้แล้วก็ถากเปลือกและกระพี้ ทิ้งเสีย เหลือไว้แต่ที่ต้องการแล้ววัดตัดเอาแต่พอแก่การงาน ของตัวเท่านั้น ไม่ต้องลำบากแก่การแบกการหาม ส่วนบุคคล ผู้ที่ไม่ฉลาด ไม่รู้เท่าต่อการงานที่จะพึงทำ เมื่อไปตัดไม้ ได้แล้ว จะถากเอาแต่ที่ต้องการก็กลัวจะเสีย เพราะตัว ไม่เข้าใจการงานต้องแบกมาทั้งเปลือกทั้งกระพี้ทั้งส่วนยาว ได้รับความเหน็ดเหนื่อยหนักอย่างทวีคูณ ก็เพราะความที่ ตัวเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ดูกรอานนท์ การรักษา แก้วไม่ดีไม่มีราคา แม้จะรักษามากมายหลายพันดวงก็สู้ ผู้ที่รักษาแก้วที่ดีมีราคาดวงเดียวไม่ได้ แก้วที่ไม่ดีไม่มีราคา จะขายก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไร้ประโยชน์ ตกลงต้องรักษาไป เปล่าๆ ส่วนแก้วที่มีราคานั้น จะขายก็ได้เงินมาก หากจะ เก็บไว้ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตน และการเรียนมนต์และเรียน คาถาที่ดีที่ขลังบทเดียวไม่ได้ เมื่อรู้ประโยชน์แห่งศีลและ ข้อวัตรแล้วก็ไม่ต้องรักษามาก เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจก็รักษา พร่ำเพรื่อไปจนไม่มีเขตแดน จึงต้องได้รับความลำบาก เหมือนผู้ที่ไม่รู้การงาน ต้องแบกเอาไม้ทั้งเปลือกทั้งกระพี้ ทั้งส่วนยาวไปเปล่าๆ ฉะนั้น ผู้ปรีชาท่านรักษาวินัยและ ข้อวัตรไม่มาก แต่หากได้รับอานิสงส์เพียงพอเหมือนอย่าง ผู้รักษาแก้วดีดวงเดียว หรือผู้ที่เรียนมนต์และคาถาที่ขลัง บทเดียวเท่านั้น ก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้เต็มที่ฉะนั้น
     
  20. ฐตธนวัฒฆ์

    ฐตธนวัฒฆ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +745
    อ่านต่อได้ที่นี่ครับ...ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้บรรลุธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม รู้แจ้งแทงตลอดในธรรม ตามที่ท่านปรารถนาครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    คิริมานนทสูตร

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=56466<!-- / message --><!-- edit note -->
    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...