บุญที่ถูกลืม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ricky, 30 กรกฎาคม 2010.

  1. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +682
    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td width="96%"> [​IMG]



    (พระ อาจารย์ไพศาล วิสาโล)

    "คุณนายแก้ว" เป็นเจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมาก เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนือง ๆ
    ใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหน ไม่เคยปฏิเสธ เธอปลื้มปิติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน
    แต่ เมื่อได้ทราบว่านักเรียนคนหนึ่ง ไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว
    เธอตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียน ทันที

    "สายใจ"พาป้าวัย ๗๐ และเพื่อนซึ่งมีขาพิการไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศ
    เช้าวันนั้นมี คนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ
    เมื่อได้เวลาพระฉัน ญาติโยมก็พากันกลับ
    สายใจพาหญิงชราและเพื่อนผู้พิการเดินกะย่อง กะแย่งฝ่าแดดกล้าไปยังถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป
    แต่ตลอดเส้นทางเกือบ ๓ กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย
    เหตุการณ์ ทำนองนี้มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทย

    "ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ" เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ

    ทำ ให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า
    คนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไร จึงมีพฤติกรรมแบบนี้กันมาก
    เหตุใดการนับถือพุทธศาสนา จึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่ทุกข์ยาก
    การ ทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ

    หากสังเกตจะพบ ว่าการทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น
    แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจน หรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก (ยกเว้นคนหรือสัตว์ที่ถือว่าเป็น "พวก+++" หรือ "ของ+++")

    แม้แต่เวลาไปทำบุญที่ วัด เราก็มักละเลยสามเณรและแม่ชี แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์

    นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมาย ก็เพราะหวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ

    ดังนั้นยิ่ง ทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น
    ผลคือจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง
    แน่นอนว่าประโยชน์ย่อมเกิดแก่ ผู้รับอยู่แล้ว เช่น หากถวายอาหาร อาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลังในการศึกษาปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น

    แต่ อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้นย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเจือด้วยความเห็นแก่ตัว ยิ่งถ้าทำบุญ 100 บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน
    บุญ ที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีกเพราะใช่หรือไม่ว่านี่เป็นการ "ค้ากำไรเกินควร"
    บุญ ที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม

    จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึด ติดถือมั่นในตัว+++ของ+++ ยิ่งลดได้มากเท่าไรก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุด

    แต่ หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน อยากได้เข้าตัวมาก ๆ แทนที่จะสละออกไป ก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพาน หรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ
    อัน ที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์
    อัน ที่จริงถ้ามองให้กว้างกว่าการทำบุญ ก็จะพบปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกัน นั่นคือคนไทยนิยมทำดีกับคนที่ถือว่าอยู่สูงกว่าตน แต่ไม่สนใจที่จะทำดีกับคนที่ถือว่าต่ำกว่าตน เช่น ทำดี กับเจ้านาย คนรวย ข้าราชการระดับสูง นักการเมือง

    ทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลเดียวกัน คือคนเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่เราได้ (หรือแม้เขาจะให้คุณได้ไม่มาก แต่ก็สามารถให้โทษได้ )
    ประโยชน์ในที่นี้ไม่จำต้องเป็นประโยชน์ทางวัตถุ อาจเป็นประโยชน์ทางจิตใจก็ได้ เช่น คำสรรเสริญ หรือการให้ความยอมรับ

    ประการ หลังคือ เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยขวนขวายช่วยเหลือฝรั่งที่ตกทุกข์ได้ยากอย่างเต็ม ที่ แต่กลับเมินเฉยหากคนที่เดือดร้อนนั้นเป็นพม่า มอญลาว เขมร หรือกะเหรี่ยง

    ใช่หรือไม่ว่าคำชื่นชมของพม่าหรือกะเหรี่ยง ความหมายกับเราน้อยกว่าคำสรรเสริญของฝรั่ง บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น

    หากยังยินดี ที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าตนอีกด้วย แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ
    ทั้ง นี้เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใด ๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา

    การทำดีโดยหวังผลประโยชน์ หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติอยู่ ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วยเมตตากรุณาอย่างแท้จริง
    ในแง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อน
    ทั้ง ๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้ เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตากรุณา และลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี

    ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น ยิ่งให้ความสุขแก่เขา

    Credit: www.rassameetum.com</td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2010
  2. Peace in mind

    Peace in mind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +370
    เห็นจริงตามนี้ คนส่วนใหญ่ยังติดกับภาพการทำบุญด้วยกาย ใจอาจเป็นบาป เพราะทำบุญเพื่อหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เอาหน้า สร้างภาพ หรือ หวังผลบุญในภายภาคหน้า คิดแต่ทำเพื่อตัวเอง ไม่ได้คิดทำเพื่อคนอื่นเลย เราโชคดี ที่ได้เกิดท่ามกลางหมู่ญาติมิตรที่มีน้ำใจ ทำบุญเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ทำบุญเพราะมีใจเมตตาเป็นกุศลจิตอยู่เสมอ ไม่ว่างานเลี้ยงทำบุญวันเกิด วันตาย หากมีของกินเหลือเฟือ ก็จะแบ่งให้คนผ่านไปมาที่เค้าไม่รังเกียจ ไม่ค่อยมีอันจะกิน เห็นคนหาเช้ากินค่ำ ทำงานแถววัด ก่อสร้างเจดีย์ หลังคาโบสถ์ ร้อนก็ร้อน มีลูกเล็ก ๆ ต้องหอบหิ้วมาด้วย เราก็เห็นใจ วันนึงจะมีเงินเหลือสักเท่าไหร่ เอาน้ำขวดที่ทานเหลือเยอะไปแบ่งให้ เอากับข้าวที่เราเก็บกลับไปกินบ้านแบ่งให้ มีทั้งเป็ดพะโล้ ปลาเก๋าทอด ฯลฯ เห็นเค้ายิ้มดีใจ เราก็หัวใจพองโต ไม่ต้องเล่าให้ใครฟัง ก็เป็นสุขใจตั้งแต่ได้ให้แล้ว หากสังคมไทยสอนให้คน ใช้หัวใจรับรู้ความสุขได้ จนติดใจในสุขที่เกิดจากการให้ คนเราก็จะไม่เบียดเบียนกัน ต่างก็อยากหยิบยื่น ช่วยเหลือกัน ไม่ต้องมาสร้างค่านิยมใหม่ เรื่อง "จิตอาสา" เพราะจริง ๆ คนไทยแต่โบราณก็มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอยู่แล้ว หากเรามัวรอให้คนอื่นให้เราก่อน เมื่อไหร่จะมีคนให้เรา แต่ถ้าเราคิดจะให้ก่อน ก็มีแต่คนจะให้เรา เริ่มที่ตัวเราก่อน ส่วนใหญ่ที่เห็น มักเป็นผู้ใหญ่ ที่มีใจคอคับแคบ อาจจะเนื่องจากถือว่าทรัพย์ของเขากว่าจะหามาได้ลำบาก ลืมที่จะมีเมตตาจิต เพราะชีวิตเขาอาจจะลำบากมามากก็ได้ เราทำได้เท่าที่ทำไหว ช่วยใครได้ก็ช่วย ไม่คิดจะติติงใคร เพราะใครทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น มีอะไร ๆ ที่มันน่าจะดีกว่านี้ แต่คนเราก็ยังยึดติดกับอะไรบางอย่าง จนไม่ยอมเปลี่ยน อย่างเช่น การวางพวงหรีดในงานศพ ดอกไม้มากมาย เน่าแห้ง แล้วก็ต้องนำไปทิ้ง แค่นั้น แต่เคยเห็นบางคนนำต้นไม้เป็นกระถาง มาวางให้ ติดป้ายชื่อไว้อาลัยตามธรรมเนียม เสร็จงานเจ้าภาพก็ถวายต้นไม้ให้วัด เจ้าภาพก็ได้ทำบุญถวายต้นไม้ให้วัดได้อีก ช่างน่านับถือในความคิด แต่คนบางคนก็ยังมองว่าเพี้ยน เอามาทำไม...เออ.. มีพวงหรีดบางรายเป็นหนังสือ ใส่มาเต็มกระจาดทีเดียว พอเสร็จงาน เจ้าภาพก็นำหนังสือไปแจกจ่าย ให้เด็ก ๆ และห้องสมุดที่ขาดแคลนต่อ นี่ก็น่านับถือมากในการทำสิ่งที่สร้างสรรเช่นนี้ ได้บุญต่อไปอีกหลายทอด แต่เราเห็นมีกี่รายกันล่ะ แล้วประเพณีนิยม ในการวางดอกไม้พวงหรีดมากมายนั้น ยังควรทำอยู่เพื่อ...? เราจะคิดอย่างมีเมตตาต่อธรรมชาติได้ไหม เราจะสร้างขยะที่มีทั้งพลาสติก ลวด ฯลฯ พันดอกไม้ อีกทั้งซากดอกไม้จริง ดอกไม้ปลอม กันเพื่ออะไร.. หากเป็นการแสดงการระลึกถึงผู้วายชนม์ เรามาร่วมพิธีและร่วมทำบุญไม่เพียงพอหรือ...มีอีกหลายเรื่องที่คนเราไม่ทำ ทั้ง ๆ ที่ทำได้ เรื่องของน้ำใจ บางทีก็พูดยาก คนกรุงอาจขี้ระแวง จนหลงลืมอะไรไปหลายอย่าง ค่าที่ให้แก่วัตถุ มันมากเกินค่าที่ให้แก่จิตใจ แต่ใครทำแล้วดีแล้ว ก็ทำกันต่อไป น้ำใจ ยิ่งให้ ยิ่งมี หัวใจเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข แค่เราหยิบยื่น ความปรารถนาดี รอยยิ้ม ความรัก เมตตา ให้กันเรื่อย ๆ น้อย ๆ แต่เนิ่นนาน บ้านเมืองก็คงจะไม่ร้อนรุ่ม อย่างที่ผ่านมา บางทีความไม่พอในสมบัติ มันอาจมีสาเหตุมาจาก การขาดความสุขในหัวใจ คิดว่าวัตถุที่สะสมไ้ว้ จะสร้างความสุขให้ได้ จึงแก่งแย่งตักตวง โดยลืมเรื่องความสุขจาก "การให้" ไปเสียสนิท คงต้องพึ่ง "ปัญญา" และ "สติ" กันให้หนักขึ้น จะได้ไม่ลืมว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่ง "สมมุติ" แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ได้ ตายแล้วเอาติดตัวไปไม่ได้ จิตใจคนเรานี่สิ เป็นของแท้ สั่งสมบุญไว้ ก็ย่อมเป็นบุญ กุศลจิตติดตัวข้ามภพข้ามชาติ เลิกวัดกันที่ความรู้เสียที มาให้ค่ากับการปฏิบัติกันดีกว่า
     
  3. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +682
    ผมอยากให้เหล่าพุทธศาสนิกชนพึงเห็นความสำคัญของผู้คนที่ได้รับความลำบากด้วย มิใช่อยากแต่จะทำบุญกับพระดังๆเพราะจะได้บุญเยอะ ถ้าทำอย่างนั้นไปโดยความคิดของผมเอง ผมคิดว่าบุญนั้นๆที่ท่านได้รับคงจะไม่บริสุทธิ์สักเท่าไหร่ เพราะว่าอยากได้บุญเยอะ พูดง่ายๆก้อคือว่ามันก้อยังคงติดอยู่ที่กิเลส ที่มีชื่อว่าความโลภนั่นล่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...