วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    มาคุยกันต่อเรื่องวิธีคิดและกระบวนการคิดครับ

    2. วิธีคิดแบบปฎิจจสมุทบาท เป็นกระบวนวิธีคิดที่อิงเหตุเช่นนี้จึงมีผลเช่นนี้ติดตามกันมาเป็นลูกโซ่ เป็นวัฏฏจักร แต่ดั้งเดิมคนไทยผูกเป็นนิทานไว้ให้เด็กๆได้ รู้จักวิธีคิดนี้ จากในนิทานเรื่อง"ยายกับตาทำนาอยู่บนเขา ให้หลานเฝ้าถั่วงา.........." และในเพลงเด็ก "ที่ว่ากบเอยทำไมจึงร้อง " เป็นปริศนาธรรมและวิธีคิดที่อ้างอิงเรื่องผลที่ติดตาม เมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ จึงเสวยผลเช่นนี้ และผลที่สืบเนื่องมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น ตราบจน ที่เราจะกระทำเหตุให้วัฏฏะของมันจบรอบ จนเป็นโมฆะกรรม

    วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เราเกิดความยับยั้งชั่งใจในบาปและอกุศลกรรม เพราะกระบวนการคิดนี้จะทำให้เราเกิดปัญญามองเห็นผลสืบเนื่องของกรรมต่อไปไม่มีสิ้นสุด ว่าจะส่งผลร้ายกลับมาสู่ตัวเราเองและผู้อื่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    ถ้าลองนำกระบวนวิธีคิดแบบปฎิจจสมุทบาทนี้มาพิจารณาในเรื่องของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน เราจะมองเห็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ส่งผลสืบเนื่อง แม้แต่การกระทำเล็กๆน้อยของแต่ละคนที่ทำ สุดท้ายก็ส่งผลย้อนกลับมาสู่ทุกคนบนโลกใบนี้ ซึ่งวิธีการแก้ไขก็คือการช่วยกันสร้างการกระทำที่เป็นวัฏฏจักรในเชิงบวก กลับสู่ธรรมชาติ แม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็ช่วยกันทำ ช่วยกันสร้างค่านิยมที่ถูกต้อง สุดท้ายโลกนี้ก็จะดีขึ้นแม้จะทีละน้อยก็ยังดี

    ถ้าใช้วิธีการคิดแบบนี้ มาเปรียบเทียบกับ ภูมิความรู้ วิธีคิดแบบทุนนิยมตะวันตก เราจะค้นพบว่า ภูมิปัญญาของพระพุทธเจ้าท่านมีความละเอียดปราณีตลึกซึ้งกว่าอย่างเทียบไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหา เช่น ในด้านการเกษตร เมื่อ พืชผักมี มดแมลงรบกวน วิธีแก้ไขปัญหาง่ายๆ คือ "ใช้เงิน" ซื้อยาฆ่าแมลงมาฉีด แมลงตาย จบ!! ง่ายๆ ไม่ต้องคิด เห็นผลที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า ไม่ต้องใช้สติปัญญาคิดพิจารณาถึงความสอดคล้องกับธรรมชาติแต่อย่างไร มีผลให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาสิ้นสุดลง แต่ถ้าเอาปฏิจจสมุทบาทมาคิด ผลก็คือใช้ยาฆ่าแมลง เสียเงิน ผู้ใช้รับสารพิษสะสมไปด้วย ไปป่วยไปเจ็บในอนาคต เมื่อใช้ยาแมลงตายจริงแต่ ไส้เดือน นก จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชต่อดินก็ตายไปด้วย คนกินก็พลอยเจ็บพลอยตายผ่อนส่งไปด้วย ถ้ารู้จักคิดก็จะหาหนทางอื่นในการแก้ไขปัญหาแมลงรบกวนได้ อย่างเช่น การแก้ปัญหาด้วยการให้ แมลงเหล่านั้น ลองย้อนกลับมามองที่เหตุว่า ทำไมมดแมลงจึงเบียดเบียน พืชสวนของเรา คำตอบคือเพราะมันอดอยาก ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาก็คือ การให้ทานอาหารแก่มัน เช่นคนโบราณ จะเอาน้ำตาลโตนดมารดแมลง ๆก็ไปกินน้ำตาลแทนที่จะกินพืชผัก ส่วนนำตาลที่เหลือก็กลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดี ย้อนกลับมาเป็นอาหารของพืชรวมทั้งเป้นอาหารของจุลินทรีย์ที่ช่วยควบคุมแมลงอีกที่เป็นโทษเหล่านั้นอีกขั้นหนึ่ง ส่วนสมัยใหม่ เราก็สามารถใช้ EM มาแทนน้ำตาลโตนดโดยตรงได้รวมทั้งการใช้น้ำสมุนไพรอื่นๆ ซึ่งทำให้แมลงไม่รบกวนแล้ว ยังประหยัดเงินค่ายาฆ่าแมลง ไม่อันตรายต่อเกษตรกร และคนกิน แล้วพืชผลที่ได้ยังมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากเป็นพืชผักปลอดสารพิษด้วย

    ลองใช้กระบวนการคิดนี้สร้างวัฏฏจักรดีๆ ระบบ ความคิด โครงการดีๆสู่สังคมครับ จะไม่ขอเล่ามากเพราะจะเป็นการจำกัดจินตนาการและการคิดเชิงประยุกต์ของผู้อ่านครับ เพราะที่จริงแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่สิ้นสุดและช่วยให้สติปัญญาแตกฉานขึ้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2006
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    3. การคิดโดยการอาศัยธรรมชาติเป็นครู ทั้งครูทางธรรมและครูในการดำรงชีวิต "ธรรมชาติ "หมายถึง ธรรม(ความจริง) และชาตะ (การกำเนิด ) ทุกสรรพสิ่งล้วนก่อกำเนิดจากธรรมชาติ รวมทั้ง มนุษย์เองก็ก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นมนุษย์เองควรที่จะเรียนรู้จากธรรมชาติ ใช้อาศัยธรรมชาติเป็นครู รวมทั้งดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ชีวิตจึงจะมีความสุข

    จงนำเอาธรรมชาติมาเป็นครูในทางธรรม ดูง่ายๆก็ได้แก่ ใบไม้ใบหนึ่ง เริ่มผลิใบขึ้น ประดุจ ชีวิตที่กำเนิดมาแต่ละชีวิต และเริ่มเติบโตขึ้น ดังวัยเด็ก จนใบไม้นั้นผลิใบเต็มที่ ดังวัยหนุ่มสาว จากนั้นก็ค่อยๆเหี่ยว เฉาดังวัยชรา ตราบจนหลุดร่วงจากขั้วกิ่งตกสู่พื้นดินดังชีวิตที่ตายหลุดล่วงไปในที่สุด ธรรมชาติสอนสัจจธรรมให้เราอยู่ในทุกเวลานาที เพียงแต่เราเห็นและได้ยินเสียงจากธรรมชาติได้แค่ไหน เราเปิดหัวใจ สัมผัสธรรมมะที่บริสุทธ์เหล่านี้ได้เพียงไร

    สำหรับการดำเนินชีวิต ธรรมชาติเองก็สอนเราอยู่เสมอให้ดำรงชีวิตกันอยู่อย่างเกื้อกูล กัน
    ต้นไม้ให้ร่มเงา
    ให้อาหาร
    ให้ยารักษาโรค
    ให้เนื้อไม้ไว้ให้เราอยู่อาศัย
    ให้อากาศที่สะอาดบริสุทธ์ไว้ให้เราหายใจ
    ช่วยสร้างชั้นบรรยากาศไว้ปกป้องเราจากรังสีคอสมิค
    ช่วยซึมซับรักษาความชื้นและอุณหภูมิไว้ให้เราทุกคนเย็นสบาย
    ส่วนทั้งคนและสัตว์ก็ ขับถ่ายออกมาเป็นอาหารเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นไม้ ตราบจนตายลงก็สลายกลายเป็นดินเป็นปุ๋ยเป็นอาหาร ให้แก่ต้นไม้วนเวียนกันไปอย่างนี้เป้นวัฏฏจักรไป ธรรมชาติเป็นวัฏฏจักรที่เกื้อกูลกัน สมดุลกัน จึงจะเป็นปรกติสุข เมื่อไรที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบียดเบียนกัน ธรรมชาติย่อมเสียสมดุลของมัน กลไกธรรมชาติจึงต้องมีการปรับตัวตามกฏแห่งธรรมชาติ

    โลกที่สับสนวุ่นวายและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ สำคัญตนเองผิด คิดจะควบคุมธรรมชาติ เบียดเบียนเอาเปรียบสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ กิเลสของมนุษย์นั้นคิดแม้กระทั่งต้องการยึดครองแย่งชิงดาวดวงอื่น (ดวงจันทร์ และดาวอังคาร) ผลของความคิดผิดๆแบบนี้จึงส่งผลสะท้อนกลับมายังทุกสรรพชีวิตบนโลก พืชและสัตว์ หลายเผ่าพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ ไปอย่างน่าเสียดาย เพราะความละโมภโลภมากในความต้องการทรัพยากรของมนุษย์ ทั้งที่จริงเพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิดสักนิด เพิ่มจิตสำนึกสักหน่อย เราทุกคนบนโลกก็สามารถที่จะมีทรัพยากรบนโลกใช้กันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    ลองฝึกวิธีคิดแบบการมองธรรมชาติเป็นครูครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางธรรมครับ ผมเองยังไม่เจอสิ่งใดที่ผมรู้จักอยู่นอกสัจจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ว่า "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป "เลยครับ ทุกสิ่งเป็นครูสอนธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นครับ ว่าไม่ควรไปยึดไปติด ไปเป็นเจ้าเข้าเจ้าของมัน เพราะมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาครับ

    "มนุษย์ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้น เมื่อเปรีบยเทียบกับอนันตจักรวาลแล้ว มนุษย์เล็กและด้อยค่าราวกับผงธุลี หรือเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ สิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์นั้นยิ่งใหญ่ จนเป็นปรากฏการณ์ ที่สั่นสะเทือนจักรวาลทุกภพภูมิได้ ก็คือ"จิตใจ ที่เปลื้องสรรพกิเลสออกด้วยบารมีทั้งสามสิบทัศน์ จนบรรลุซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เองด้วยสัพพัญญูญาณอันพิสุทธ์"

    ข้าพเจ้าขอน้อมเศียรกราบแทบบาทกระทำมหาโมทนาต่อพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ในอดีต จนถึงองค์ปัจจุบัน ตลอดจนพระพุทธเจ้าที่จะพึงปรากฏต่อไปในอนาคตกาลภายภาคหน้า เพื่อรื้อขนมวลสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    4.การคิดจากคำสั่งสอนหลักในพระพุทธศาสนาที่ว่า "สุขหรือทุกข์อยู่ที่ใจ " ถ้าเราลองพิจารณาตรองดูให้ดีแล้ว แท้ที่จริง ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี แท้จริงก็คืออารมณ์ ความรู้สึก แต่คนเราไปเข้าใจผิดกันเองเป็นส่วนใหญ่ว่าความสุข คือการที่มีเงินเยอะๆบ้าง มีบ้านหลังใหญ่ๆบ้าง มีสิ่งของดีๆอย่างนั้นอย่างนี้บ้างจึงจะมีความสุข จึงต้องดิ้นรนขวนขวายทำงานเพื่อสนองความต้องการทางวัตถุ ตามความคิดแบบวัตถุนิยม ซึ่งที่จริงเป็นกิเลสล้วนๆที่ทำให้ใจเราปรุงแต่งไปว่า ถ้าได้ถ้ามีของอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะมีความสุข แต่ลองสังเกตุดู ว่าพอเราได้ของสิ่งนั้นมาจริงๆแล้วเราก็กลับรู้สึกเฉยๆ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น มันอยากได้มากๆจนคิดว่าถ้าได้แล้วมีแล้วมันจะวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ จากนั้นใจมันก็กลับไปอยากได้สิ่งใหม่ๆอย่างอื่นอีก ไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด ลองพิจารณาดูว่าสิ่งที่เราคิดว่าเป็นความสุขนั้น แท้จริงเป็นสุขหรือเป็นทุกข์กันแน่

    ถ้าอย่างนั้นแล้วสุขที่แท้จริงๆนั้นคืออะไร ?

    ผมขอตอบว่าความสุขที่แท้จริงของท่านนั้นคืออะไร ผมไม่รู้ รู้เพียงแต่ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นที่จริงแล้วอยู่ที่ใจ เปรียบได้ว่า "ไกลสุดขอบฟ้าใกล้แค่เพียงตา" รอเวลาที่ตัวท่านเองจะค้นเจอจากภายในจิตใจของท่านเอง แต่ถ้าท่านวิ่งค้นหาจากบุคคลภายนอก วัตถุภายนอก ยิ่งวิ่งหา ดิ้นรนหาก็ยิ่งไกล

    ความสุขของท่านอาจเป็น
    การได้ทำทาน
    การได้ทำความดี
    การได้ระลึกถึงความดี
    การได้ช่วยเหลือคนอื่น
    การรักษาศีล
    การสวดมนต์
    การให้
    การสงเคราะห์
    การทำสมาธิ
    การค้นพบกับความสงบภายใน
    การค้นพบกับจิตใจที่ดีงามของตนเอง
    การค้นพบจิตใจที่เป็นกุศลของท่านอื่น(จึงโมทนา)
    การพบแสงสว่างแห่งธรรม
    การเข้าถึงธรรม
    การรู้จักพอ
    การวางอุเบกขา

    สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้หัวใจเราเปี่ยมสุข อิ่มเอิบ ชุ่มเย็น เป็นกุศล อารมณ์ใจนี้จึงเป็นสุข

    ขอให้ท่านทั้งหลายพบกับความสุขเหล่านี้โดยเร็ว และช่วยกันเผื่อแผ่แบ่งปันความสุขเหล่านั้นยไปยังหัวใจทุกๆดวงเพราะความสุขแบบนี้ไม่มีวันหมดและยิ่งเราได้ให้ผู้อื่นมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งได้รับกลับมากขึ้นทวีคูณ....
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    5. แนวคิดในเรื่อง"จิตใจที่งดงาม" อย่างที่ผมได้ย้ำอยู่เสมอ ตั้งแต่ต้นของการเข้ามาโพส ความจริงแนวคิดนี้เป็นสัจจะธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวสอนเอาไว้ว่า
    "แท้ที่จริงนั้น จิตทุกๆดวงล้วนประภัสสร (ใส สะอาด บริสุทธ์ เป็นจิตใจที่งดงาม) แต่ถูกอุปกิเลศเข้าห่อหุ้มจิตใจ ทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เป็นอกุศล เป็นทุกข์ "
    ดังนั้นที่จริงแล้ว ความชั่วร้ายเลวทราม การเบียดเบียนกันของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น เกิดขึ้นจากเจ้าของดวงจิตทั้งหลายได้ลืมเลือนความงดงามภายในจิตใจของเราเองไป ความจริงความดีงาม ความงดงามของสรรพสัตว์ ล้วนอยู่ภายในจิตใจของทุกคนอยู่แล้วไม่ต้องไปค้นหาที่ไหน เพียงแต่เราเลือกที่จะอวดกิเลสความชั่วที่ห่อหุ้มจิตใจของเรา
    หรือเราเลือกที่จะให้แสงสว่างจากจิตใจที่งดงามของเราสว่างไสวสู่ภายนอกและต่อเทียนแสงสว่างแห่งความดีออกไปยังสังคมส่วนรวม

    พระพุทธเจ้าท่านเป็นสัพพรรณญูญาณผู้หยั่งรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างและท่านยังเป็นที่สุดแห่งท่านผู้มีความคิดในแง่บวกอีกด้วย ทุกดวงจิตของสรรพสัตว์ล้วนเป็นคนดี ทั้งสิ้นเพียงแต่ถูกกิเลสห่อหุ้มใจจึงทำให้ไม่เห็นธรรม ท่านจึงได้สะกิดให้ความดีในจิตใจของมวลสรรพสัตว์นั้นได้เผยออกมา ประดุจ แพทย์ผู้ลอกต้อออกจากดวงตาของผู้ป่วย ให้กลับมาเห็นโลกอย่างชัดเจน

    วิธีคิดแบบนี้ จะทำให้เราเข้าใจในเหตุผลของทุกคน และมองทุกคนทุกชีวิตในแง่บวกได้เสมอ
    เราจงมีจิตเป็นประภัสสร มีดวงใจที่งดงามเสมอ
    เราจงมีดวงตาที่มองเห็น ความดีงามของผู้อื่นเสมอ และกล่าวยกย่องในความดีของเขา เพราะจะยิ่งทำให้เป็นการส่งเสริม ขัดถูให้ความดีงามของเขาเปล่งประกายงดงามยิ่งขึ้น
    เราจะรักษาใจของเราให้สะอาด เหมือนการใส่น้ำสะอาด(ความดี คุณธรรม)ลงในแก้ว เราจะไม่ยอมให้น้ำเน่า น้ำครำ(ความชั่ว การนินทา ว่าร้าย ใจที่สกปรก)ลงมาผสมลงในจิตของเรา

    วิธีคิดแบบนี้ทำให้ใจเราสะอาดขึ้น
    มีความสุขขึ้น
    มองโลกในแง่ดีขึ้น
    ทำให้มีคนรักเรามากขึ้น
    ทำให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ความดียิ่งขึ้น
    และเห็นโลกในแง่มุมที่สวยงามมากขึ้นด้วย

    เราเลือกที่จะมองสิ่งสวยๆงามๆ ไม่ว่าจะเป็นคน ทิวทัศน์ สิ่งของ แต่ทำไมใจเรากลับจมอยู่กับ สิ่งชั่วร้ายและเลวร้ายของผู้อื่น แถมยังไปเพ่งโทษเขาอีกว่าเป็นเรื่องใหญ่โต เลวร้ายรุนแรง ทั้งที่จริงบางครั้งมันเป็นเรื่องเล็กน้อยมากๆ ลองให้ใจเราเห็นแต่ความดี ความตั้งใจดี กุศล ของผู้อื่นเถอะครับ สังคมจะดีขึ้นอย่างมากๆเลย

    เริ่มต้นด้วยการหาจิตใจที่งดงามของตัวเองให้พบครับ แล้วจึงหาจิตใจที่งดงามของบุคคลรอบข้างให้เจอและบอกกับตัวเขาเหล่านั้น เริ่มได้ทุกวันทุกเวลาครับ

    ขอโมทนากับจิตใจที่งดงามทุกๆดวงครับ
     
  5. วิปจิตัญญู

    วิปจิตัญญู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +850
    ไม่ขอพูดมากนะครับ เพราะ พิมพ์ไปต้งเยอะ แต่ ยost แล้ว มัน error หมดเลย - -'' นี่แหละหนา อนิจจัง เว็บก็ ไม่เที่ยง !!!!

    เอ้า Jmsr17@hotmail.com Add มา สนทนาธรรม และ ปูพื้นฐานรับ มโนยิทธิ และ ณาน8 กันครับ ผมแนะนำเอง พร้อมวิชา อื่นๆ ที่ภูมิธรรมอันน้อยนิดของผมพอจะ ถ่ายทอดได้
    ขอถวายความดีทั้งมวลเป็นพุทธบูชา ให้ พระพุทธ์องค์ และ ครูบาอาจารย์ทั้งมวล

    อนุโมทนากับ ทุกท่าน ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ไม่เป็นไรครับ ตั้งใจทำดีบางครั้งก็มีอุปสรรค ใครที่สนใจศึกษามโน กับคุณวิปจิตัญญู เชิญได้เลยนะครับ ผมขอโมทนาในความตั้งใจดีด้วยอย่างยิ่งครับ
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    6. แนวคิดในด้านจิตสำนึกความรับผิดชอบต่างมิติ (Multi Dimention Responsibility ) โดยทั่วไปแล้วเรามักจะได้รับการสอนเรื่องการทำหน้าที่รับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีบ้าง ลูกที่ดีบ้าง แต่ความเป็นจริงคนเรามีมิติและหัวโขนในหลายๆมิติพร้อมๆกันในคนเดียวด้วยกันทุกๆคน บางคนก็ทำหน้าที่ได้ดีในบางมิติเท่านั้นเพราะได้ลืมคิด ลืมนึกถึงมิติในด้านอื่นด้วย

    การทำหน้าที่ความรับผิดชอบในสมบูรณ์ในทุกๆด้าน อาจทำได้ยาก แต่ถ้าเรามาฉุกคิดและเริ่มทำมันให้ดีที่สุด ตามความสามารถ ตามปัญญาที่พึงมีพึงเป็นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายรวมทั้งตนเองได้อย่างมากแล้ว
    การใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาสำนึกความรับผิดชอบในมิติต่างๆนั้น จะทำให้เราได้มองเห็นลำดับความสำคัญของความรับผิดชอบได้ชัดเจนขึ้น

    หน้าที่ความรับผิดชอบใน

    มิติของจิตดวงหนึ่ง -พึงมีหน้าที่ที่จะทำจิตให้สะอาดผ่องแผ้ว ละวางกิเลส และมีพระนิพพานเป็นที่สุดแห่งหน้าที่

    มิติของความเป็นมนุษย์ -พึงมีศีลห้า มีมนุษยธรรม คุณธรรม มีเมตตาต่อเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย

    มิติของการเป็นส่วนหนึ่งของโลก -พึงดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรโลกอย่างรู้คุณค่า ช่วยดูแลรักษาและสร้างสมดุลธรรมชาติให้กลับคืนมา อยู่อย่างผีเสื้อ ผึ้ง อย่าอยู่แบบฝูงตั๊กแตน

    มิติในการเกิดมาในแผ่นดินไทยใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร -พึงมีความจงรักภักดีและรู้คุณท่าน คุณแผ่นดินเกิด มีจิตมุ่งหวังที่จะทำนุบำรุงชาติให้เจริญขึ้น รุ่งเรืองขึ้น เห็นกับประโยชน์สุขของชาติบ้านเมืองมาก่อนความสุขส่วนตัว

    มิติในการเกิดมาในพระพุทธศาสนา-พึงช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระสัทธรรมให้บริสุทธ์ คงอยู่ตราบ 5000ปี ช่วยกันสืบต่ออายุพระศาสนา

    มิติของการงานที่เราทำ - พึงทำงานทำหน้าที่นั้นๆด้วยความมีคุณธรรม สติปัญญา ปรับปรุงให้การงานก้าวหน้าและมีประโยชน์ต่อส่วนรวม

    มิติของการเป็นสมาชิกในครอบครัว - พึงสานความสามัคคี ความรัก ความหวังดี ความเอื้ออาทรให้แก่กัน มอบธรรมะให้มีในระดับเสมอกัน เป็นสัมมาทิษฐิเช่นเดียวกัน ระดับเดียวกัน สืบสกุลสัมมาทิษฐิไว้เพื่อเป็นการต่อสกุลที่มั่นคง และเป็นการช่วยต่ออายุพระศาสนา

    มิติของความเป็นปัจเจกชน -พึงปรับปรุงตนให้มีการพัฒนาการสูงขึ้นในทุกๆด้าน ทั้งด้านคุณธรรม กำลังจิต กำลังสมาธิ ความรู้ พลังปัญญา พลังความเชื่อมั่น พลังแห่งความคิดในแง่บวก สุขภาพ ภาพลักษณ์ ความอิสระด้านการเงิน ความมั่นคงในการงาน

    หลายๆท่านอาจมีมิติต่างๆมากกว่านี้ ก็ลองใช้ความคิดตริตรอง เหตุผล ตน กาล ประมาณ ดูว่าสิ่งใดมีประโยชน์ มีผล ก็พึงทำ พึงปฏิบัติ ถ้า คนไทยซัก 10 -20 % รวมทั้ง ผู้บริหารบ้านเมืองหรือองค์กรสำคัญๆของประเทศมีจิตสำนึกแบบนี้ประเทศชาติเจริญขึ้นในทุกๆด้านแน่นอนครับ
     
  8. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,168
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +29,753
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=56474


    ร่วมเจริญภาวนา โดยการนำของเหล่าอริยสาวกอาวุโส สายพระป่า

    เพื่ออฐิษฐานความสงบสุข 1-7 ธค
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    7. แนวคิดด้านการเพิ่มคุณค่าในทุกสิ่ง ( Valued Added ) เป็นการคิดในการเพิ่มคุณค่า และมูลค่าให้กับทั้ง สิ่งที่เป็นทั้งนามธรรมและ สิ่งที่เป็นรูปธรรม บุคคลที่มีวิธีคิดเชิงสร้างสรรค์และเป็นบวกแบบนี้ จัดเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อโลก ต่อประเทศชาติ และต่อองค์กรต่างๆที่บุคคลนั้นได้ทำงานอยู่

    การรู้จักคิดในการเพิ่มคุณค่า ควรเริ่มต้นที่ตนเองก่อน ลองคิดดูง่ายๆว่าตัวเราเองสามารถที่จะเพิ่มคุณค่าในตัวเองให้เพิ่มสูงขึ้นทางด้านใดได้บ้าง โดยควรให้น้ำหนักความสำคัญทางด้านคุณค่าทางจิตใจ (นามธรรม) ที่ให้ผลดีสืบเนื่องยาวนานกว่าคุณค่าทางด้านตัวตนภายนอก (รูปธรรม) ที่ไม่เที่ยง

    คุณค่าทางด้านจิตใจที่สูงขึ้นทำให้ เรานั้น เป็นที่รัก เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่เคารพนับถือ ของผู้อื่น และในขณะเดียวกันก็ทำให้ เรารู้สึกที่ดีกับตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง มีความมั่นใจเพิ่มสูงขึ้น ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย (ทุกสิ่งเกี่ยวเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลกัน)
    ดังนั้นคนเราควรตีมูลค่าของคุณค่าทางด้านจิตใจให้สูงกว่าคุณค่าทางวัตถุไว้เสมอครับ

    ตัวอย่างการเพิ่มคุณค่าตนเองทางด้านจิตใจ เช่น
    -ความตั้งใจปฏิบัติธรรมความดีขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างไม่ท้อถอย ไม่ยอมเสื่อมจากความดี
    -ความเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี
    -ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ
    -ความเป็นผู้มีสัจจะ ความจริงใจ
    -ความเป็นผู้มีใจสะอาด ไม่อิจฉา ริษยา นินทาว่าร้ายผู้อื่น
    -ความเป็นผู้พัฒนาตนเอง เปิดใจเรียนรู้และยอมรับสิ่งดีๆเข้าสู่ชีวิตด้วยปัญญาที่พิจารณาว่าสมควรแล้ว
    -การเพิ่มคุณค่าของตนเองที่สำคัญประการหนึ่งคือการมองเห็นคุณค่าของคนอื่นอยู่เสมอ
    -พัฒนาวิธีคิด เพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ และการมองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ
    -จงเป็นผู้มีรอยยิ้มและมิตรไมตรีต่อคนรอบข้างเสมอ ตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร

    ตัวอย่างการเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองทางด้านคุณสมบัติภายนอก
    -สร้างอุปนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้ กระหายที่จะพัฒนาตนเองเหมือนกับร่างกายกระหายอาหาร
    -เชื่อในเรื่อง การเรียนรู้ตลอดชีวิต และความเชื่อว่าเรานั้นไม่แก่เกินเรียน
    -หาโอกาสที่จะเรียน ทั้งเพื่อปรับวุฒิการศึกษา และการเรียนเพื่อการเพิ่มความรู้ ความชำนาญ
    -เพิ่มศักยภาพทางด้านร่างกาย ด้านสุขภาพ จาก
    สุขภาพอ่อนแออย่างปรากฏ
    สุขภาพอ่อนแออย่างแอบแฝง
    สุขภาพปรกติ
    สุขภาพดี
    สุขภาพดีระดับนักกีฬา
    สุขภาพดีระดับนักกีฬาอาชีพ
    -มีความฉลาดทางด้านการเงิน พัฒนาฐานะทางการเงินให้ดีขึ้นจาก
    ที่เป็นหนี้
    ปลดหนี้ (ลดค่าใช้จ่ายที่เป็นอบายมุข รายจ่ายที่ไม่จำเป็น ใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ)
    พอมีพอกิน (รู้จักความพอเพียง)
    หารายได้เพิ่ม (โดยสุจริต)
    เก็บออม
    สร้างสินทรัพย์และสร้างมูลค่าเพิ่มในทรัพย์สิน
    ให้สินทรัพย์สร้างรายได้ให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย
    สะสมความมั่งคั่ง
    อิสระภาพทางการเงิน
    เผื่อแผ่ความมั่งคั่งความสุข ตอบแทนต่อส่วนรวม
    -การพัฒนารูปลักษณ์ ภาพลักษณ์ของตนเองให้ดูดีเหมาะสมกับ วัย การงาน โดยไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป
    -ถ้ามีครอบครัว ก็จงสร้างครอบครัวที่มีความสุข ครอบครัวที่เป็นสัมมาทิษฐิ มีชื่อเสียงในด้านความดี คุณธรรม
    -ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และใส่หัวใจลงไปในงานทุกสิ่งที่ทำเสมอ

    ที่จริงยังมีการเพิ่มคุณค่าในตนเองในแง่มุมต่างๆอีกมากมายหลายอย่างครับ ลองไปคิด พิจารณากันดู

    ต่อไปผมขอยกตัวอย่างการเพิ่มคุณค่าในสิ่งต่างๆทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม รวมไปถึงการเพิ่มและการทำลายคุณค่าในสิ่งต่างๆโดยไม่มีการประเมินผลที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ( Uncalculated Factor)

    เคสแรก คืองานประเพณีต่างๆของไทย ไม่ว่าจะเป็นงานออกพรรษา งานลอยกะทง งานสงกรานต์ ประเพณีต่างๆเหล่านี้ สืบทอดความงดงาม ความอ่อนโยน ความอบอุ่น ความเอื้ออาทร แฝง สะท้อนอยู่ในวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านั้น การนำเอา อบายมุขทั้งเหล้า ทั้งการพนัน ทั้งเอาสาวโคโยตี้ มาแสดงอย่างไม่เหมาะสม ในงานประเพณี ในวัด อาจทำให้คนร่วมงานมากก็จริง แต่ส่งผลร้าย ต่อสังคม ประเพณีที่ดีงามของไทยเราอย่างไม่อาจจะประเมินได้ การข่มขืน การทะเลาะวิวาท กันทำร้ายกัน ฆ่ากัน อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ ไม่นับรวมถึงอนาคต ของหลายๆคนที่ต้องไปจบลงในสถานกักกัน และคุกตะราง โดยไม่จำเป็น ความเสียหายจากมูลค่าทางตัวเงินจากทรัพย์สินที่เสียหาย การสูญเสียประชากรในวัยทำงาน การสูญเสียเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ การสูญเสียหัวหน้าครอบครัว สมาชิกในครอบครัว และท้ายสุดคือการสูญเสียรายได้ในอนาคตของผู้ที่ตาย พิการ รวมทั้งติดคุก
    ส่วนมูลค่าทางการท่องเที่ยวก็ถูกทำลายด้วย การกระทำอันน่ารังเกียจเหล่านี้ โดยสามารถประมาณการณ์เป็นตัวเงินได้ว่า งานประเพณีและการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามย่อมสร้างมูลค่าเพิ่มได้ มากกว่า บาร์เบียร์ที่ระเกะระกะรกสายตา
    ทางต่างประเทศเองมีการตีมูลค่าของแบรนด์ต่างๆว่ามีมูลค่าเท่าไร ส่วนไทยเรานั้นมีสิ่งหนึ่งที่ มีมูลค่าสูงยิ่งทางการท่องเที่ยวจนกระทั่ง สิงคโปร์และจีนต้องทำวิจัยและนำไปส่งเสริมในประเทศของเขา สิ่งนั้น ก็คือ "รอยยิ้มและน้ำจิตน้ำใจแบบไทยๆ" นั้นเองครับ แต่คนไทยเราไม่เห็นคุณค่าและทำลายคุณค่าทางตัวตนและวัฒนธรรมของตนเองลงไปอย่างน่าเสียดายครับ

    อีกกรณีที่น่าสนใจคือ คุณค่าที่แท้จริงของวัดครับ ที่จริงวัดเป็นศูนย์กลางทางสังคม ศิลปะวัฒนธรรมและการเรียนรู้ของสังคมไทยมาแต่โบราณ แต่ปัจจุบัน วัดหลายๆแห่งถูกทำให้เสียคุณค่าจาก การเข้ามาหาผลประโยชน์ส่วนตัวของบุคคลหลายๆประเภท ผมขอไม่วิจารณ์ส่วนวัดที่ดีช่วยเพิ่มคุณค่าดีๆ คืนกลับสู่สังคมก็มากครับ

    ลองค่อยๆฝึกคิดดูครับ คุณอาจจะค้นพบคุณค่าอีกหลายๆ อย่าง ในหลายๆ สิ่งที่เราลืมไปครับ รวมทั้งคุณค่าในตนเองที่คุณคาดไม่ถึงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2006
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    8.มุมมองในชีวิตของการปกิบัติธรรม

    มีหลายคนเคยตั้งคำถามขึ้นในใจตนเองว่า "คนเราเกิดมาเพื่ออะไร และมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร"

    หลายๆคนบอกกับตัวเองว่า

    -เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม
    -เกิดมาเพื่อเสวยสุข เสพสุข ความสนุกสนาน
    -เกิดมาเพื่ออะไร ........ก็ไม่รู้เหมือนกัน
    -เกิดมาเพื่อการเรียนรู้
    -เกิดมาเพื่อการสร้างบารมี ไม่ว่าจะเพื่อพระนิพพานก็ดี หรือเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณก็ดี

    มุมมองในชีวิตถูกสะท้อนออกมาในคำตอบของแต่ละบุคคล และส่งผลต่อการมองโลก รวมทั้งการใช้ชีวิตดำเนินชีวิตของเขาเหล่านั้น

    ยามสุขทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่ดี ล้วนแต่วิเศษไปทั้งนั้น

    แต่.......เมื่อความทุกข์มาเยือน .....เมื่อนั้นล่ะจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ใจ และภูมิธรรมของบุคคลผู้นั้นว่า เห็นธรรมได้แค่ไหนระดับไหน

    แท้ที่จริงทุกคนเกิดมา ด้วยผลของกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี ก็ตาม กรรมชั่ว ก็ตาม มีกรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดเรื่องราวต่างๆกันไปในชีวิต ต้องมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ต้องรู้จักกับคนนั้น พรากจากคนนี้ คนนั้นดีกับเรา คนนี้กลับมาทำร้ายเรา

    เรื่องราวเหล่านี้ ....ทุกๆคนบนโลกล้วนต้องประสพพบเจอทั้งสิ้นครับ
    แต่ผุ้ที่มีภูมิธรรมสูง เข้าใจโลก เข้าใจชีวิต มีวิปัสนาญาณสูง จะรู้สึกทุกข์น้อยกว่าผู้ที่มีอวิชชา ความยึดมั่นถือมั่นสูงกว่าในเหตุการณ์ความทุกข์ที่มาประสพที่รุนแรงเท่าๆกัน
    เพราะมุมมองต่างกัน
    ความยึดมั่นถือมั่นในขันธุ์ห้ามากน้อยต่างกัน
    การเข้าถึงความเป็นธรรมดา เห็นความเป็นธรรมชาติ ได้ลึกซึ้งต่างกัน
    นั่นคือการปลดเปลื้องอวิชชาออกไปได้จนเบาบางได้ไม่เท่ากัน

    หลายครั้งที่การปฏิบัติธรรมเราได้เห็นความทุกข์ และจมอยู่ในทะเลทุกข์นั้น อย่างมองไม่เห็นฝั่ง (ทางออกแห่งทุกข์) คลื่นแห่งความทุกข์ถาโถมสู่ตัวเราลูกแล้วลูกเล่า เราก็ได้แต่บอกตัวเองว่ามันเป็นกรรมที่ส่งผลมาในปัจจุบันนี้ หวังในใจอยู่ลึกๆที่จะรอให้คลื่นลมสงบไปด้วยตัวของมันเอง เพราะเรามองว่าชีวิตเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม

    แต่วันหนึ่งเราได้เปลี่ยนมุมมองใหม่ เราสังเกตุคลื่นแห่งทุกข์ ว่ามันเคลื่อนที่อย่างไร ซัดท่าไหน เราจะหลบมันอย่างไร จะประคองตัวอย่างไร เราจึงเกิดปัญญา(ดับอวิชชา)ขึ้นมาได้ว่า ชีวิตก็คือการเรียนรู้ รู้ที่จะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ทุกข์ ประดุจ หยาดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน ใบบอนไม่เปียกเพราะไม่ซับน้ำฉันใด ใจเราก็ไม่ทุกข์เพราะไม่นำความทุกข์ไปปรุงแต่ง ฉันนั้นเช่นกัน ความทุกข์และผู้นำความทุกข์มาให้ล้วนเป็นครูสอนเราให้เรียนรู้

    เมื่อเห็นทุกข์ (จึงต้องการออกจากทุกข์ จึงค้นหาสัจจธรรม )จึงเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม จึงเห็นตถาคต (ความบริสุทธ์ แห่งจิตพระพุทธองค์ผู้ทรงปราศจากกิเลศ)

    เมื่อใจเรามีปัญญาเกิดขึ้น เห็นความทุกข์ เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร จึงเกิดศรัทธา ในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อการตัดสังโยชน์สิบให้สิ้นเชื้ออาสวะทั้งปวง เกิดวิริยะเพียรพยายามสร้างบารมีทั้งสามสิบทัศน์ให้เต็มบริบูรณ์ ใจจึงตั้งมั่นว่าชีวิตเรานับแต่นี้มุ่งมั่นในการสร้างบารมีให้เต็ม ไม่ว่าจะเพื่อพระนิพพานก็ดี หรือเพื่อพุทธภูมิวิสัยก็ดี นับแต่นั้นมา คลื่นความทุกข์ที่เคยถาโถมท่วมจิตท่วมใจ ก็กับกลายเป็นดั่งริ้วคลื่นที่ก้าวข้ามเอา(ทุกข์และอุปสรรค)ได้โดยง่ายไม่เกินกำลัง เพราะใจไม่ไปติด ไม่ไปยึด ไม่ไปรู้สึกว่าทุกข์ มองเห็นทุกข์เป็นอุปสรรคของธรรมดาในการสร้างในการบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์ เห็นทุกสิ่งเป็นธรรมดา เป็นนิจ เป็นอนิจจังไป ทุกสิ่ง ทุกคน ทุกเหตุการณ์ ภายใต้กฏไตรลักษณ์

    การออกจากทุกข์ได้ต้องใจสบาย ใจสะอาด ใจบริสุทธ์

    ขอให้ทุกท่านผ่านทุกข์ เห็นธรรม เข้าถึงความเป็นธรรมดาได้ทุกท่านด้วยเทอญ......
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    9. แนวคิดเรื่องเวลาแห่งชีวิต
    ที่จริงแล้วเราส่วนใหญ่ลืมคิดถึงมันมากกว่า เนื่องจากมัวไปคิดว่าจะใช้เวลาไปทำนั่นบ้าง นี่บ้าง จนลืมนึกถึง "เวลาแห่งชีวิต " ซึ่ง นับวันมีแต่ลดหดสั้นลงไปทุกวินาที เหมือนนาฬิกาทรายที่ค่อยๆไหลลงมาจนหมด

    ชีวิตเราทุกๆคนก็เช่นกัน เคลื่อนใกล้เข้าสู่ความตายในทุกขณะ นับตั้งแต่วินาทีแรกที่เราได้ลืมตาดูโลก

    พระพุทธเจ้าท่านจึงได้กล่าวเตือนสติ เราทั้งหลาย ในปัจจฉิมโอวาทว่า "จงอย่าได้ประมาท " เพราะที่จริงแล้วเราไม่รู้เลย(นอกจากท่านที่ได้ภูมิธรรม รู้วาระการตายของตนเอง) ว่า เรานั้นเราจะตายเมื่อไหร่ ตายวันไหน ตายอย่างไร รู้เพียงแต่ว่าเราต้องตายแน่นอน

    ดังนั้นเราจึงไม่ควรประมาทในเรื่อง"เวลาแห่งชีวิต" จงคิดไว้เสมอว่าชีวิตนี้ ของเราก็ดี คนอื่นก็ดี ทรัพย์สินทั้งหลายก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นของไม่เที่ยง ไม่จีรัง ยั่งยืน สิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยได้เพียงอย่างเดียว ก็คือความดี บุญกุศล ที่เราพึงพากเพียร สร้าง และบำเพ็ญในเจริญงอกงามยิ่งๆขึ้นไป

    ลองฝึกคิดดูว่าเราได้เสียเวลาอันมีค่าไปในสิ่งที่ไร้แก่นสารสาระมากเพียงไร เราพอที่จะปรับลดลงมาบ้างได้หรือไม่
    ลดเวลาที่เราใช้ไปในการนินทาว่าร้ายคนอื่นได้หรือไม่
    ลดเวลาที่เราใช้ไปเที่ยวไปดื่มกินเหล้าลงได้หรือไม่
    ลดเวลาที่เราใช้ไปเล่นอบายมุขต่างๆได้ไหม
    ลดเวลาที่เราไปใช้คิดเรื่องไม่ดีของคนอื่น

    จากนั้นนำเวลาที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นไปไปใช้

    ทำความดีให้มากขึ้น
    คิดในสิ่งที่ดีและสร้างสรรค์ให้เพิ่มขึ้น
    ใช้เวลาช่วยเหลือผู้คนที่ทุกข์ยากกว่าเรา
    พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในทุกๆด้าน
    ยกระดับความสามารถและสติปัญญา
    ยกระดับจิตใจและภูมิธรรมของตนให้สูงขึ้น
    และ ท้ายที่สุดคือ ใช้เวลาทุกนาทีอย่างมีค่าที่สุด
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอแค่ 9 ข้อนี้ก่อนครับลองไปปรับกระบวนการคิดและวิธีคิดของเราให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก่อประโยชน์ต่อตนและส่วนรวมเพิ่มขึ้นและที่สำคัญ เพื่อความเจริญในธรรมการทำดีให้ยิ่งๆขึ้นไปครับ

    ภัยพิบัติได้บังเกิดขึ้นแล้วในเวลานี้ เพียงแต่เราได้มองเห็นและตระหนักรู้ถึงภัยและผลแห่งภัยนั้นเองได้หรือไม่

    -ภัยพิบัติแห่งสังขารที่ก้าวไปสู่ ความเสื่อมความตาย อันมีเป็นปรกติไม่อาจเลี่ยงได้ ทำได้แต่สะสมบุญ ปฏิบัติธรรมเพื่อยกระดับภพภูมิในการเกิดใหม่ให้ถึงพระนิพพานในที่สุด
    -ภัยพิบัติแห่งความเสื่อมในศีลธรรม ที่จะฉุดดึงดวงจิตให้ลงสู่อบายภูมิมี นรกภูมิเป็นต้น
    -ภัยพิบัติจากความแตกสามัคคี ทั้งการแตกแยกทางความคิด การยุแยงจากศัตตรูภายนอกและการเสี้ยมแทงจากภายใน ในหลายสถาบันหลัก
    -ภัยพิบัติจากธรรมชาติ อันมีผลมาจากปรากฏการณ์โลกร้อน ซึ่ง ณ บัดนี้ได้เกิดผลกระทบขึ้นแล้วทั่วโลก และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในทุกๆปี ปีนี้เราจะได้เจอกับความแห้งแล้ง และปัญหาไฟป่า อย่างไม่เคยพบมาก่อน เตรียมรับมือกันไว้
    --ภัยพิบัติจากน้ำใจและน้ำมืออันโหดเหี้ยมของมนุษย์ด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดโรคระบาดแปลกๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจากห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ในทุกภูมิภาคทั่วโลก การก่อสงครามนิวเคลียร์ ที่กำลังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

    พัฒนาตนเองให้พร้อมมากที่สุด ครับ ทั้งจิตวิวัฒน์ และกายวิวัฒน์

    แล้วจากนั้นไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นก็ตาม เราก็จะสามารถ ปรับตัวปรับใจให้รับได้และปลอดภัยในทุกสถานการณ์ครับ
     
  13. tony2002

    tony2002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2006
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +178
    สวัสดีครับ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครับ

    วันนี้มารายงานการปฏิบัติสมาธิและมีข้อสงสัยอยากจะถามคุณคณานันท์ช่วยอนุเคราะห์ให้ผมด้วยนะครับ แต่ก่อนอื่น ผมขอเล่าถึงอาการที่เกิดกับผมตอนนั่งสมาธิก่อนครับ

    หลังจากอ่านกระทู้นี้เมื่อสาม-สี่อาทิตย์ก่อนผมก็เริ่มกลับมาทำสมาธิอีกครั้งหนึ่งหลังจากไม่ได้ปฏิบัติอีกเลยในสมัยที่กำลังย่างเข้าวัยรุ่น โดยจะนั่งสมาธิก่อนเข้านอน ประมาณห้าทุ่มเที่ยงคืนเป็นประจำเกือบทุกคืน

    วันแรกๆที่รับรู้ถึงลมหายใจละเอียด(ลมสบาย)ผมตกใจมากเลย อาการอย่างกับว่าเราไม่ได้หายใจ(ไม่มีลมปะทะที่โผรงจมูกแต่จริงๆแล้วมี)แต่สังเกตุการหายใจได้จากพ่องและยุบของหน้าท้องครับ และมีอาการขนลุกคล้ายเวลาผมตกใจแต่อาการดังกล่าวจะเกิดอยู่นานกว่าตอนตกใจครับ ทำลมสบายได้สักพักผมออกจากสมาธิ

    วันต่อมาเมื่อจับลมสบายได้แล้วก็มีอาการขนลุกตามมาอีกแล้วที่นี้รู้สึกว่าปวดที่หัวเขามากๆเลยครับ ผมก็ภาวนาว่า ปวดหัวเข่าหน่อ....ปวดหัวเข่าหน่อ...สักพักอาการปวดก็ค่อยๆหายไปเองอย่างน่าแปลกใจจนไม่รู้สึกปวดอีกผมก็กลับมาจับอยู่ที่ลมหายใจ พุธ...โธ พุธ...โธ สักครู่ต่อมามีความรู้สึกว่าจะวูบลงไปคล้ายจะเป็นลมแต่ไม่ใช่ ต่อมาจะรู้สึกคล้ายๆกับว่าตัวเราจะเบาขึ้น..เบาขึ้นๆ เหมือนมีแรงดึงดูดจากด้านบนมาที่ตัวผม ผมจับอารมณ์นี้อยู่พอประมาณก็ออกค่อยๆถอนออกจากสมาธิ เป็นอย่างนี้อยู่หลายวันครับ

    พอย่างเข้าอาทิตย์ที่สาม ช่วงหนึ่งรู้สึกว่าตัวเองวูบลงแล้วก็เหมือนกับว่าพื้นที่ตัวเองนั่งอยู่หายไปแล้วตัวผมก็ลอยค้างอยู่อย่างนั้น(ผมตกใจมากเลยเพราะขณะนั้นจับลมหายใจสบายได้แต่รู้สึกว่าหายใจถี่มาก ผมก็มาเพ่งที่ลมหายใจ อาการดังกล่าวก้ค่อยๆคายไปครับ

    วันถัดมา ผมทำสมาธิไปได้สักพักก็เห็นภาพพระธาตุดอยสุเทพคล้ายๆภาพสไลท์ที่เลื่อนลางในมุมมองที่ผมเคยยืนถ่ายรูป จากนั้นผมกำหนดให้เห็นตนเองไปนั่งกราบพระธาตุฯ ใจอยากจะกำหนดให้มีดอกบัวอยู่ในมือเพื่อที่จะได้นำไปบูชาพระธาตุฯ จนแล้วจนรอดก็ไม่มีดอกบัวสักที เป็นอย่างนี้อยู่สามสี่วันได้ครับ บางครั้งก็มีภาพหลวงพ่อโตท่านปรากฏขึ้นมาเป็นภาพที่ท่านกำลังนั่งขัดสมาธิและกำมือทบกับอยู่กลางหน้าอกซึ่งเป็นภาพที่เลื่อนลางเช่นกันครับ

    คืนต่อๆมานั่งสมาธิอีกทีนี้มีภาพหลวงลุงที่ผมเคารพรักและนับถือซึ่งผมคิดในใจอยู่เสมอว่าสักวันหนึ่งจะกลับไปกราบท่านให้ได้(ตอนนี้ท่านมรณะภาพไปแล้วครับ) ภาพพระสัจกัจจาย หลวงพ่อสรรเพรช(พระประธานในอุโบสถวัดที่อยู่เคยอยู่ตอนเรียน ม.3-ปว.ช.) หลวงพ่อโต ปรากฏสลับกันไปมาอยู่อย่างนี้เสมอรวมถึงพระธาตุดอยสุเทพด้วยครับ คร่าวนี้พอภาพพระธาตุฯปรากฏขึ้นมาผมก็อธิษฐานให้มีดอกบัวอยู่ในมือที่นี้ในมือก็มีดอกบัวอยู่สามดอกครับ ผมก็นำดอกบัวไปวางบูชาหน้าพระธาตุฯ

    แต่เมื่อสองสามวันมานี้ผมเริ่มเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งกำลังยืนแบกกลดสะพายบาตรและถุงย่ามหันหลังให้บางครั้งก็ยืนหันหน้าให้ในใจผมคิดว่าพระรูปนั้นน่าจะเป็นพระสีวลี และสองวันมานี้ผมเข้าสมาธิได้ไม่ดีนัก(ในความเข้าใจของผมจากการปฏิบัติที่ผ่านมา)บางครั้งแค่เสียงจิ้งจกร้องผมก็ตกใจได้ง่ายๆ ซึ่งแต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นครับ

    ผมอยากจะเรียนถามว่าภาพพระธาตุฯ หลวงพ่อโต และอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้บ่งบอกถึงอะไรหรือเปล่าครับ โดยเฉพาะพระสีวลีที่ผมเห็นนะครับ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับผมในขณะทำสมาธินี้เกิดจากการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเปล่าครับ ผมขอความอนุเคราะห์จากคุณคณานันท์ด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2006
  14. cochiga

    cochiga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +228
    พี่คณานันท์คะ เกือบๆเดือนแล้วที่โคชิกะไม่ค่อยได้นั่งทำสมาธิ พอมาทำแล้วรู้สึกว่าคุมจิตให้อยู่กับการภาวนาไม่ได้เลยฟุ้งจนลืมกำหนดทุกที บางทีตื่นกลางดึกแล้วรู้ตัวว่ากำลังคิดฟุ้งอยู่ทำให้รู้สึกเหมือนเราหลับแต่จิตมันคิดฟุ้งตลอด (เป็นไปได้ไม๊คะ) อย่างนี้เท่ากับเราต้องเริ่มใหม่ไม๊คะ (วันที่12-19 พ.ย.นี้ โคชิกะจะไปเข้าคอร์ส วิปัสสนาค่ะ ได้ไปฝึกเป็นเรื่องเป็นราวกับเขาเสียที)

    ขออนุโมทนาสาธุที่พี่คณานันท์ให้ความรู้เรื่องต่างๆในกระทู้นี้นะคะ
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ก่อนอื่นต้องกราบขอบคุณหลายๆท่านที่คอยติดตามอ่านและให้กำลังใจในการโพสสิ่งดีๆและการปฏิบัติในกระทู้นี้ มาตลอด

    ในขณะเดียวกันก็ต้องกราบขอโทษที่ผมหายไปหลายวันเนื่องจากติดภาระกิจครับผม

    ขออนุญาตตอบคุณ Tony 2002 ก่อนนะครับ

    1. ผมขอกราบโมทนากับคุณในความตั้งใจกลับมาทำสมาธิปฏิบัตฺธรรมให้ถึงซึ่งความดีครับ หลังจากที่ว่างเว้นหรือห่างหายไปนาน พยายามทำให้เป็นกิจวัฒน์ของชีวิตเรา เช่นเดียวกับ
    การกินอาหาร เพียงแต่ต่างกันเป็น การเสวยธรรมปิติอันเป็นอาหารของใจ
    การนอน เพียงแต่ต่างกันเป็น การพัก การสงบของจิต
    การอาบน้ำ เพียงแต่ต่างกันเป็น การชำระล้างใจของเราให้สะอาด บริสุทธ์ครับ
    การออกกำลังกาย เพียงแต่ต่างกันเป็น การเสริมสร้างพลังจิต ตบะเดชะของจิตให้มีความเข้มแข็งตั้งมั่น
    ทำการสวดมนต์ทำสมาธิแล้ว จึงนอนหลับไปในสมาธิในฌานเลยได้ก็ยิ่งดีครับ เพราะเท่ากับเวลาทั้งคืนที่เรานอนหลับจนตื่นนั้น เท่ากับเป็นเวลาในการทำสมาธิทั้งคืนครับ

    2.ส่วนการที่คุณจับลมหายใจละเอียดได้เร็วนั้นเป็นสิ่งที่ดี ครับอย่าได้ไปตกอกตกใจ เพราะสามารถอธิบายได้ว่าที่ตกใจนั้นเนื่องจากความกลัวการไม่หายใจจากอุปทาน เรื่องการกลัวความตาย(ไม่หายใจเดี๊ยวจะตายหรือเปล่า)ครับ ให้ใช้สติบอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ของการที่จิตใจเราสงบเป็นสมาธิ ร่างกายสงบระงับจึงทำงานน้อยลง เมื่อทำงานน้อยลง จึงต้องการอากาศในการเผาผลาญสันดาปพลังงานน้อยลงไปด้วย สมาธิเราปฏิบัติที่จิต ดูจิต ต่อไปเราจะไม่สนใจและวางอุเบกขาในร่างกาย เมื่อเราพิจารณาได้ดังนี้แล้วเราก็จะหมดความกลัว เพราะรากเหง้าแห่งความกลัวก็คือความไม่รู้ครับ

    คำแนะนำ ข้อนี้ก็คือ ไม่ต้องไปกลัว ไม่ต้องไปตกใจครับ เข้าสมาธิให้ถึงลมสบายทันที (วสี ความชำนาญในการเข้าฌาน) ไม่ต้องไปตั้งท่ามาก จากนั้น สัมผัสจากความสุขจากความสงบระงับนั้นให้นานที่สุดจนจิตเรารู้สึกพอใจไม่จำเป็นต้องไปกำหนดเวลา ให้เข้าในอารมณ์นี้จนจิตรู้สึกอิ่ม รู้สึกพอ จึงค่อยออกจากสมาธิครับ

    3. วันต่อมาเกิดอาการขนลุกนั้น อาการขนลุกก็คืออาการที่ปรากฏทางกายของปิติ ทั้งห้าประการครับ วิธีการในการจัการกับปิติก็คือ การกำหนดรู้(บอกกับจิตเราเองในขณะที่เกิดปิติว่า นี่คือปิติ) แล้วจึงอธิฐานกำกับว่าขอให้เราเช้าถึงพระปิตินี้ได้ทุกครั้งทุกเวลาที่ต้องการ จากนั้นจึงปล่อยวางจากปิติ กำหนดความสนใจที่จิตเหมือนเดิม

    ส่วนอาการปวดหัวเข่าอย่างมากนั้นเกิดขึ้น จากขันธมาร (มารอันเกิดจากร่างกายขันธ์ห้า) มาขัดขวางการทำความดีที่ยิ่งๆขึ้นไป ของคุณเอง ส่วนที่คุณจัดการโดยการกำหนดจิตภาวนาว่าปวดหนอๆ นั้นแล้วอาการดังกล่าวหายไปนั้น คุณทำได้ถูกแล้ว และจากที่ผมได้พิจารณาดูคุณมีอานิสงค์ วาสนาบารมีในการปฏิบัติธรรมรวมทั้งการทำสมาธิมาในอดีตครับ นับว่าก้าวหน้าได้เร็ว

    ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ เมื่ออาการปวดหายไปให้ใช้วิปัสสนาญาณมากำกับว่า "ร่างกายนั้นเป็นปัจจัย เป็นเหตุแห่งทุกข์เราจะปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราก็ดี ของผู้อื่นก็ดี เพราะร่ากายนี้มีความเสื่อม การป่วย และความตายไปในที่สุด"

    4.อาการวูบหาย เป็นอาการของจิตดิ่งลึกสู่ฌานที่ลึกขึ้นละเอียดขึ้นครับ ไม่ต้องตกใจ สิ่งที่ควรทำคือ การกำหนดรู้และเฝ้าดูอาการของจิตครับ ส่วนการที่คุณย้อนกลับไปจับลมละเอียดใหม่นั้นแล้วอาการดังกล่าวหายไป เกิดจากการที่คุณถอยจิตสู่ฌานที่หยาบขึ้นอารมณ์ฌานลึกๆที่ได้จึงคลายตัวครับ
    คำแนะนำคือ ในอารมณ์ฌานที่ลึกสงบระดับนี้ เราปล่อยทั้งคำภาวนา และการจับลมหายใจแล้วครับ จิตจับอยู่กับความสงบเป็นเอกัตคตาเดียวนิ่งอยู่ครับ

    5.การที่คุณมีนิมิตรเห็น พระธาตุดอยสุเทพ ก็ดี หลวงพ่อโตก็ดี พระสรรเพชรก็ดี พระสังฆกัจจายก็ดี พระศีวลีก็ดี นั้นเป็นนิมิตรที่ดี คือประกอบไปด้วย พระพุทธนิมิตร พระสังฆนิมิตร ให้สังเกตุจิตเราในสมาธิขณะนั้นว่าเรามีความปิติ ความสุข ความอิ่มเอิบใจหรือไม่ การปรากฏนิมิตรที่กล่าวมา เป็นเหตุที่คุณมีวาสนาบารมีผูกพันกับท่านเหล่านั้นมาในอดีต ท่านจึงได้มาปรากฏให้เห็นในสมาธิจิต ว่าท่านมีเมตตาดูแลคุ้มครองคุณอยู่ ส่วนการที่แยกกายอีกกายออกไปไหว้พระธาตุพร้อมกับอธิฐานขอให้ดอกบัวปรากฏได้นั้น เป็นมโนมยิทธิในระดับนึงแล้วครับ ถ้าเป็นไปได้ หาโอกาสไปฝึกวิชามโนมยิทธิเต็มรูปแบบ ไหว้ครูเป็นกิจจะลักษณะที่วัดท่าซุง หรือที่บ้านสายลมก็ได้ครับ

    ข้อแนะนำ คือให้ระวังอารมณ์ใจที่จะมาหลอกให้เราหลงว่า เราเก่ง เราวิเศษกว่าคนอื่น ที่จริงมีผู้ที่เก่งกว่า ดีกว่าเราอีกมากมายมหาศาลครับ เพราะจุดนี้เป็นอันตรายอย่างมากต่อนักปฏิบัติครับ มาติดกันตรงจุดนี้กันนักต่อนักครับ จนถือว่าเป็นจุดหักเหของนักปฏิบัติเลยก็ว่าได้ ขอให้ผ่านไปให้ได้เพื่อความดีที่สูงขึ้น คุณธรรมที่สูงขึ้น ให้คิดว่าในเมื่อเรามีสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครองเราก็ยิ่งต้องรักษาความดีไว้ อย่าให้ดีแตก ให้ตั้งมั่นในสัมมาทิษฐิและถ่อมตนไว้เสมอครับ

    สรุปแล้วคุณนับว่าก้าวหน้าในการกลับมาปฏิบัติธรรมครับ ขอให้รักษาความดีตลอดไป ถ้ามีอะไรสงสัยก็โพสมาถามกันใหม่ได้ครับ ท่านอื่นๆก็เช่นกันนะครับ ไม่ต้องเกรงใจกัน เป็นการเอื้อเฟื้อกันในธรรมเพื่อความดีของทุกๆท่าน ครับ
     
  16. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ตอบน้อง cochiga ครับ

    อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการฟุ้งครับ จิตมันจะอร่อย เพลิดเพลินไปในอารมณ์คิดครับ (พี่เองก็เป็น เวลาคิดเรื่องงาน)

    วิธีแก้เบื้องต้นง่ายๆก็คือ เทคนิคการขีดวงกลมให้ความคิดครับ

    ด้วยการลองจำกัดตนเองให้คิดถึงแต่เรื่องดีๆ สิ่งดีๆ จะของตัวเองก็ได้ ความดีของผู้อื่นก็ได้ พูดง่ายๆก็คือ เราจะคิดไปแต่ในสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งใดที่เป็นเรื่องชั่วเรื่องอกุศลเราจะไม่ไปคิด (โดยเฉพาะ เรื่องการนินทาว่าร้าย เรื่องGossip ทั้งหลาย)

    ต่อมาคือการขีดวงจำกัดด้วยเวลาครับ
    ก่อนนอน เรากำหนดเลยว่าเราจะเลิกคิด หยุดคิด ปิดสวิทซ์ความคิด บอกตัวเองว่าเราจะปล่อยวางจากความคิดทั้งหลาย บอกซ้ำๆซัก 5-10 ครั้ง แล้วนอนครับ จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าเราคิดฟุ้งซ่านก่อนนอนแล้วจะมีผลให้จิตเราทำงานต่อโดยเราไม่รู้ตัว มีผลให้ตื่นขึ้นมากลางดึกหรือมีอาการนอนไม่หลับครับ ไม่ดีต่อสุขภาพครับ ควรหลับให้สนิทและหลับลึกครับ

    ส่วนการทำสมาธินั้น ให้ย้อนกลับมาฝึกล้างลมหยาบด้วยการอัดลมหายใจ ตามที่พี่โพสไว้ในตอนต้น จนเราได้ลมหายใจที่ละเอียด จิตสงบครับผม

    ส่วนการตั้งใจไปฝึกวิปัสสนาเป็นเวลาแปดวันนั้น พี่ขอโมทนาด้วยครับ เพราะจะทำให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัตฺธรรมครับ (ว่าแต่พี่มาตอบช้าเกินไปหรือเปล่า)

    อย่างไรก็ตามขอให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติ ทุกคนทุกท่านนะครับ ขอเป็นกำลังใจในการทำความดีของทุกคนครับ
     
  17. tony2002

    tony2002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2006
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +178
    สวัสดีทุกๆท่านครับ ขออนุโมทนาสาธุบุญแด่ทุกๆท่านที่เจริญในธรรมนะครับ

    ขอขอบคุณ คุณคณานันท์เป็นอย่างมากเลยครับที่กรุณาอนุเคราะห์ผม ตามข้อความที่ว่า
    "ข้อแนะนำ คือให้ระวังอารมณ์ใจที่จะมาหลอกให้เราหลงว่า เราเก่ง เราวิเศษกว่าคนอื่น ที่จริงมีผู้ที่เก่งกว่า ดีกว่าเราอีกมากมายมหาศาลครับ เพราะจุดนี้เป็นอันตรายอย่างมากต่อนักปฏิบัติครับ มาติดกันตรงจุดนี้กันนักต่อนักครับ จนถือว่าเป็นจุดหักเหของนักปฏิบัติเลยก็ว่าได้ ขอให้ผ่านไปให้ได้เพื่อความดีที่สูงขึ้น คุณธรรมที่สูงขึ้น ให้คิดว่าในเมื่อเรามีสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครองเราก็ยิ่งต้องรักษาความดีไว้ อย่าให้ดีแตก ให้ตั้งมั่นในสัมมาทิษฐิและถ่อมตนไว้เสมอครับ"
    อันนี้ผมกลัวมากๆเลยครับ เพราะผมยังไม่สามารถแยกได้ว่าอันใดเท็จอันใดจริง และความอยากของตัวเรามักจะพาให้คิดเข้าข้างตัวเองอยู่เรื่อยๆเลย ผมคงต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนให้มากๆ ต่อเหตุการณ์แต่ละครั้งที่เกิดขึ้นในการทำสมาธิ

    ผมสังเกตดูพักนี้ผมพักผ่อนน้อยการทำสมาธิก็ได้ไม่ค่อยดี การพักผ่อนไม่เพียงพอน่าจะมีผลต่อการทำสมาธิด้วยใช่ไหมครับ
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    การพักผ่อนน้อยต้องจำแนกลงไปอีกครับว่า

    อ่อนเพลีย แต่ใจสบาย ใจสงบอยากพักจิตหรือไม่ ถ้าแบบนี้กลับทำให้จิตรวมตัวเข้าสู่สมาธิได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น และให้ถือโอกาส เข้าไปพักจิต และพักกายในอารมณ์ฌานได้เลย จะยิ่งทำให้ได้ฌานลึกขึ้น รวมทั้งร่างกายมีการฟื้นตัวจากการอ่อนเพลีย ( Recovery)ได้เร็วขึ้นครับ ที่ว่าแบบนี้เพราะผมเคยทดลองมาแล้ว ตอนเดินขึ้นถ้ำวัวแดงที่ค่อนข้างสูง ระหว่างหยุดพักกลางทางร่างกายเราเหนื่อยแต่ใจเราสบาย ก็รีบเข้าฌาน จับลมสบายเลย ก็พบว่ายิ่งเข้าสมาธิได้ง่ายขึ้นลึกขึ้น เพราะร่างกายมันเหนื่อยจนหมดแรงที่จะคิดอะไรแล้ว จิตมันเลยหยุดนิ่งเป็นฌานได้ง่าย และนี่เป็นอีกเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควร นั่งสมาธิสลับกับการเดินจงกรม

    ส่วนข้อที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ ในกรณีที่พักผ่อนน้อย แล้วมีความเครียด ด้วย คิดมากด้วย อาจจะเรื่องการงานก็ดี หรือเรื่องที่มากระทบใจก็ดี กรณีนี้ ควรเว้นการทำสมาธิไปก่อน เพราะอันตรายของนักปฏิบัติอีกอย่างก็คือ อารมณ์ใจที่หนัก อารมณ์เครียด เพราะพอมาพิจารณาในวิปัสนาญาณแล้วจะกลับทำให้เกิดอารมณ์เครียดหนักขึ้นไปอีกจน อาจเกิดสัญญาวิปลาสได้ กรณีนี้แนะนำให้พักผ่อน คลายอารมณ์ใจให้สบาย โดยเฉพาะด้วยการกลับสู่ธรรมชาติเช่น ดูต้นไม้ ดูนก ดูปลา เล่นกับแมว กับหมา ให้ใจสบายซะก่อน เหมือนสายพิณที่เราต้องปรับตั้ง อย่าให้ตึงไปจนขาด จนร่างกายจิตใจฟื้นตัวเต็มที่ ค่อยมานั่งสมาธิใหม่

    ส่วนการแยก นิมิตรว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง ก็คือ

    "นิมิตรใดที่เกิดขึ้นในสมาธิ เราจงดู จงสังเกตุ เหมือนเป็นเรื่องราวของคนอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของเรา (ดูด้วยใจที่เป็นอุเบกขา) อย่าได้ไปปรุงแต่ง เหมือนเป็นเรื่องที่บอกให้ทราบ บอกให้รู้ จากนั้น เรามาใช้ปัญญามาพิจารณาว่า ถ้าเรื่องที่รู้ เรื่องที่เห็น ยิ่งทำให้เราดีขึ้น เจริญขึ้นทางด้านธรรมมะ"
    กล่าวคือ

    ทำให้เรามีจิตใจอ่อนโยนขึ้น
    มีเมตตามากขึ้น
    มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ เพิ่มขึ้น
    มีวิปัสนาญาณสูงขึ้น
    มีกิเลสลดน้อยลง
    จิตใจบริสุทธ์ขึ้น

    สิ่งที่รู้ที่เห็นเป็นของจริง

    แต่ถ้า
    สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น กลับยิ่งทำให้

    -เกิดมานะ แบบมิจฉาทิษฐิว่า เราเก่งกว่า ครูบาอาจารย์ เก่งกว่า พระพุทธเจ้า
    -รู้สึกว่าทุกคนต้องมา กราบมาไหว้เรา รู้หรือไม่ว่าเราเป็นใคร
    -อยากครองโลก อยากเป็นจ้าวโลก โดยไม่ได้รู้ว่าเราจะทำประโยชน์อะไรให้โลกนี้บ้าง
    -รู้สึกว่าเราบรรลุธรรมไปแล้ว ขั้นนั้น ขั้นนี้ เราเป็นผู้วิเศษไปแล้ว

    เหล่านี้อย่าเพิ่งไปเชื่อ นิมิตรเหล่านี้เด็ดขาด เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ต่อการปฏิบัติ เป็นวิปัสนูปกิเลสบ้าง เป็นมิจฉาทิษฐิบ้าง จึงขอให้ทุกๆท่านหมั่นใคร่ครวญติติงตัวเองด้วย ปัญญาและเหตุผลตามหลัก ตามธรรม หาทางปรับปรุงตนให้ดีขึ้น

    และอีกประการหนึ่ง ห้ามไปติเตียน ว่าร้าย ผู้อื่นด้านการปฏิบัติเด็ดขาด
    โดยใช้เหตุผลผิดๆเข้าข้างตนเองว่า
    -หวังดีนะที่เตือนบ้าง
    -อยากช่วยเช็คอารมณ์
    -ช่วยทดสอบอารมณ์ให้เพื่อนนักปฏิบัติบ้าง

    พยายามอย่าทำครับ ดูแต่เฉพาะใจของเราก็พอ
    หาว่ามีความสกปรก สิ่งปนเปื้อนอะไรในจิตของเราบ้าง
    แล้วค่อยๆขจัดมันออกไปบ้าง ทีละเล็ก ทีละน้อย
    แล้วจึงเติมน้ำดีน้ำสะอาดเพื่อมาไล่น้ำเสีย
    ด้วยการคิดแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นกุศล

    ส่วนเรื่องของคนอื่น เราดูแต่
    สิ่งที่ดีของเขา
    สิ่งใดเป็นประโยชน์เราก็นำมาปฏิบัติ เป็นครู
    และยกย่องส่งเสริมให้กำลังใจในความดีของผู้อื่น
    เหมือนช่วยรดน้ำแก่ต้นไม้แห่งความดีในจิตใจของทุกคนในสังคมให้งอกงาม ครับ

    ขอกราบโมทนาในความสนใจและตั้งใจในการปฏิบัติในความดีของคุณ โทนี่ด้วยครับ
     
  19. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้ขอคุยกันเรื่องจุดหักเหของชีวิตครับ

    เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้ไปที่บ้าน อมตะของคุณ วิกรม กรมดิษฐ์ ผู้เขียนหนัง "ผมจะเป็นคนดี" และประธานมูลนิธิอมตะ ผมได้มีโอกาสได้พูดคุยกับท่านเจ้าของบ้าน รวมทั้งได้ ชม เรือนไทย หอพระ ที่ท่านเจ้าของบ้านมีความเข้าใจใน สัญญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ได้อย่างลึกซึ้งครับ ก่อนกลับคุณวิกรม ได้ให้หนังสือ ผมจะเป็นคนดี กับผม

    หลังจากอ่านจนจบแล้วก็ ได้เกิดความคิดขึ้นหลายอย่างครับ ชีวิตของคนเราต้องเจออุปสรรคในชีวิตมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไป ตามกรรม บางท่านก็เจอกับมรสุมกระหน่ำชีวิตอย่างรุนแรงจนเกินที่ผู้อื่นจะจินตนาการถึงและเข้าใจได้ แต่สิ่งที่ทำให้ชีวิตของเจ้าของชีวิตไม่อับปางลงไปได้ ก็ด้วยเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ "ความดี"ครับ ที่เปรียบเหมือน เข็มทิศนำทางชีวิตออกจากมรสุมแห่งอุปสรรคทั้งปวง กลับมายืนหยัด สร้างชีวิตให้รุ่งเรืองงดงามขึ้นใหม่ได้

    สำหรับท่านที่พบเจอกับอุปสรรคในชีวิตจนท้อแท้ รู้สึกว่าตัวเองเจอมาหนักแล้ว ลองหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านดูครับ แล้วคุณจะรู้สึกว่าชีวิตของคุณยังโชคดีกว่า เจออุปสรรคน้อยกว่าท่านเจ้าของหนังสือนี้อีกมากครับ

    ที่สำคัญก็คือนอกจากจะพลิกกลับมาชนะชีวิตทางโลกอย่างสูงแล้ว ยังหันกลับมาทางธรรม ช่วยสร้างคุณประโยชน์คืนให้กับสังคมอีกด้วยครับ

    บางคนเมื่อเจอกับจุดหักเหในชีวิต ก็กลับประชดชีวิต ทำลายชีวิต ทำลายอนาคตของตนเองและผู้อื่น

    ส่วนผู้ที่ตั้งมั่นในคุณธรรมและความดี กลับใช้จุดหักเหนั้นให้เป็นโอกาส ให้เป็นแรงผลักดันตนเองขึ้นสู่ความดี ความเจริญ ไม่ว่าด้านใด ด้านหนึ่ง หรือในทุกด้านครับ
     
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ต่อมาเรามาคุยกันในเรื่องธรรมมะปฏิบัติกันเพื่อ ความก้าวหน้าในธรรมครับ

    จุดสะดุดหรือข้อติดขัดในการปฏิบัติ

    ผมจะขออนุญาตแนะนำจากประสบการณ์จริงที่ผมได้ประสบมาด้วยตัวเองและจากที่ได้พบเห็นมาในการแนะนำการปฏิบัติของหลายๆท่านนะครับ โดยจะขอเริ่มตั้งแต่ เบื้องต้นไปจนถึงในระดับสูงครับ

    1. จุดแรกสำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มฝึกสมาธิ ก็คือ อารมณ์ฟุ้ง จิตคิดไปเรื่อย ของมัน ไปเรื่องนี้ ต่อเรื่องนั้น
    อุบายในการแก้คือ ขีด วงกลมให้ความคิด ตีกรอบให้คิดแต่สิ่งที่เป็นกุศล จากนั้นใช้เทคนิค อัดลมหายใจเพื่อล้างลมหยาบจนเหลือลมละเอียด ย้ายจิตมาจับอยู่กับลมหายใจละเอียด ในอานาปาณสติ ก็จะก้าวเข้าสู่สมาธิที่สูงขึ้นได้

    2. เมื่อจิตเป็นสมาธิ กลับมาติด เรื่องปวดเมื่อยร่างกาย (ขันธมาร) บ้าง มดแมลงไต่ตอม ตามตัวตามหน้า ตัวพอง ตัวขยาย ตัวลอย ขนลุก เหล่านี้เป็นปิติห้าประการ บางคนอาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง บางคนเกิดครบทุกอย่าง บางคนไม่เกิดขึ้นเลย
    สำหรับคนที่เพิ่งเคยทำสมาธิ ยังไม่มีประสบการณ์เหล่านี้ จะรู้สึกรำคาญบ้าง ตื่นเต้นบ้าง กลัวบ้าง ตกใจบ้าง จนทำให้ไม่สามารถเข้าสู่สมาธิที่สูงขึ้นได้

    อุบายแก้ไข ทำได้โดย การกำหนดรู้ด้วยสติว่า ขณะนี้อาการที่เกิดขึ้นคืออาการของปิติ เราทำสมาธิเพื่อดูจิต เราไม่สนใจอาการทางกาย แล้วปล่อยวางเสียไม่ต้องไปสนใจ อาการต่างๆจะหายไป จิตจะเข้าสู่สมาธิที่สูงขึ้นได้

    3.เมื่อได้วิชามโนมยิทธิ หรือญาณ ต่างๆแล้วเกิดความสงสัย(วิจิกิจฉา) ว่า จริงหรือไม่จริง บ้าง คิดไปเองหรือเปล่าบ้าง ทำให้ความดีที่ได้เสียไป ที่เรียกกันว่า "มโนหาย" เพราะเมื่อสงสัยเสียแล้ว ไม่มั่นใจเสียแล้ว คราวนี้สิ่งที่ดูก็จะผิดพลาด

    อุบายการแก้ไข คือใช้ปัญญาไตร่ตรอง แยกแยะว่า
    "ความคิดเกิดขึ้นจากเราคิด แต่ญาณทัศนะจะมี อาการผุดรู้ปรากฏขึ้นเองในจิตโดยที่เราไม่ต้องคิด " นี้เป็นประการที่หนึ่ง
    อีกประการคือ
    ทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของท่านเจ้าของวิชชา นั่นคือพระพุทธเจ้าว่า ท่านต้องการให้นำวิชามโนมยิทธินี้มาใช้เพื่อ
    -พิสูจน์เรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน ว่ามีจริงหนึ่ง มีสภาพใดหนึ่ง
    -เห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อการเบื่อเกิด
    -เห็นเหตุของกรรมในอดีตชาติ และผลของกรรมที่ส่งผลต่อเนื่องมาไม่สิ้นสุด
    -เพื่อให้หมดสงสัยในธรรมทั้งปวง(เปลื้องอวิชชาลงได้)
    -ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อทำให้ง่ายในการบรรลุธรรม สิ้นกิเลส เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยง่าย

    ดังนั้นถ้าเราใช้วิชาไปดูนั่นดูนี่บ้าง เพื่อให้ผู้อื่นรู้สึกว่าเราเก่งบ้าง ให้ผู้อื่นสรรเสริญบ้าง วิชชาย่อมหายไปเสื่อมไปเพราะจิตเราไปประกอบด้วยกิเลสละเอียดเสียแล้วนั่นเอง

    ให้กำหนดว่าเราจะใช้วิชานี้เพื่อการตัดกิเลสหนึ่ง
    เพื่อประโยชน์ส่วนรวม อันมีชาติ พระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้ง
    เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น ตามปฏิปทาสาธารณะประโยชน์ โดยใจเราเป็นอุเบกขา ไม่ยินดียินร้าย ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

    ถ้าวางจิตได้ดังนี้วิชามโนมยิทธิจะยิ่งก้าวหน้าขึ้นครับ


    4.เมื่อการปฏิบัติก้าวหน้าขึ้นสู่ภาควิปัสนาญาณที่เข้มข้นขึ้น จะมี อารมณ์ใจที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ กล่าวคือ

    -อารมณ์ใจหนักเกินไป เครียดเกินไป ถ้าตึงเกินไปจนขาด จะทำให้สัญญาวิปลาสได้ ต้องรู้จักผ่อนจิตให้เบา ผ่อนอารมณ์ให้เบา ผ่อนอิริยาบทบ้าง จะช่วยได้ ที่สำคัญ เรียนรู้เรื่อง "ลมสบาย"และการวางจิตในอารมณ์ที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น อย่าลืมว่าเราปฏิบัติธรรมเพื่อความสุข จิตเป็นสุข ไม่ใช่ปฏิบัติให้ทุกข์ครับ

    -อารมณ์ธรรมมะหลั่งไหล ช่วงที่ก้าวหน้ามากๆ นั้นใจเราจะสุขอย่างมาก อย่างไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต และจะมีความอยากเล่า อยากถ่ายทอด อยากให้ผู้อื่น โดยทั่วไปอารมณ์นี้ไม่เป็นพิษภัยกับใคร แต่จะมามีผลกระทบถ้า ไปบอกไปเล่าให้กับผู้ที่ไม่เข้าใจในธรรม ซึ่งจะมีผลตามมาคือ
    -เขาปรามาสเป็นโทษกับเขา
    -เขามาว่าเรา แล้วเราอารมณ์ตีกลับ
    วิธีแก้คือ เลือกผู้ที่เราจะสนทนาด้วยหนึ่ง
    มีสติกำกับการพูด การสอน การแนะนำ พิจารณาก่อนว่าควรไม่ควรแล้วจึงทำ

    -อารมณ์ริษยาที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อเห็นคนอื่นเก่งกว่าดีกว่า ก้าวหน้ากว่า เกิดไปหมั่นไส้เขาโดยไม่มีสาเหตุ ตรงนี้อันตรายสุดๆเลย โดยให้ลองดูกรณีของพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง ท่านเริ่มสร้างบารมีมาพร้อมๆกับพระพุทธเจ้า แต่เกิดไปริษยาพระพุทธเจ้าและโกรธอาฆาตในชาติที่เป็นพ่อค้าถาดทองคำ ส่งผลให้บั้นปลายท่านต้องลงอเวจีมหานรก ทั้งๆที่สร้างบารมีมาก็ไม่น้อย
    สังเกตุตัวเราดูว่า เห็นผู้อื่นทำความดีเราหมั่นไส้เขาแล้วหาเหตุว่าเขาอย่างนั้นอย่างนี้หรือไม่ นี้เป็นขั้นแรกของอารมณ์ชั่ว ขั้นต่อมาเห็นเขาดี ทำดีเราไปจ้องทำลาย ถ้าอย่างนี้นรกแค่เอื้อมครับ
    วิธีแก้ไขคือ การอธิฐานให้จิตใจเราเป็นสัมมาทิษฐิไว้เสมอ หนึ่ง
    ฝึกมองแต่คุณความดีของท่านผู้อื่นไว้เป็นครูเราเสมอหนึ่ง
    โมทนาบุญ มีจิตยินดีในกุศลความดีของผู้อื่นไว้เสมอหนึ่ง
    คิดว่ามีคนดีเกิดขึ้นหนึ่งคน มีความดีเกิดขึ้นหนึ่งครั้ง โลกก็จะดีขึ้นอีกพันเท่า

    -อารมณ์เกลียด ได้แก่ การรังเกียจนั่นบ้าง นี่บ้าง เป็นอคติที่เกิดขึ้นจนทำให้ความตั้งมั่นในคุณธรรมสั่นคลอนลงไป
    วิธีแก้คือ วางจิตให้สะอาด ปราศจาก อคติทั้งปวงอันได้แก่
    ความรัก
    ความเกลียด
    ความกลัว
    ความเกรง
    ให้ยึดมั่นเอาธรรมเป็นใหญ่ คุณธรรมเป็นใหญ่

    5.ฝึกจิตสูงขึ้นไปจนกิเลสเบาบาง ปรากฏว่ามี พระพุทธเจ้าบ้าง เทวดาบ้างมาบอกว่า เราบรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้ ให้ระวังอย่างยิ่งตั้งแต่แรกครับ ส่วนใหญ่เจอเกือบทุกคน เป็นวิปัสนูปกิเลส แน่นอนครับ
    วิธีแก้ก็คือว่า อย่าไปสนใจว่าเราจะต้องบรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้ ทำเหตุให้ดี ผลเกิดเอง สิ้นสังโยชน์ที่เราตัดละได้ขั้นใด ก็ขั้นนั้นครับ ญาณทั้งหลายก็ดี ภูมิธรรมทั้งหลายก็ดีไม่มีรอยต่อแบบขั้นบรรไดครับ เรียบเนียน ลื่นไหล บางทีเราเข้าญาณไปจากญาณหนึ่งไปถึงญาณสี่เมื่อไหร่ไม่รู้ตัวก็มีครับเพราะจิตเราตั้งมั่นอยู่ในองค์ญาณ การบรรลุธรรมก็เช่นกันครับ เราตั้งมั่นอยู่ในสัมมาปฏิบัติจะบรรลุธรรมเมื่อไหร่ขั้นไหนไม่สำคัญครับ สำคัญว่าเมื่อเราละจากร่างกายนี้แล้วเราไปนิพพานครับ การบรลุธรรมของเราใครจะรู้ไม่รู้ เพียงใดไม่สำคัญ อย่าลืมว่าเราปฏิบัติเพื่อพระนิพพานครับไม่ได้ทำเพื่ออวดใครหรือให้ใครยกย่อง คิดได้อย่างนี้ไม่เกิดวิปัสนูปกิเลสแน่ครับ

    ก็เป็นเบื้องต้นในการสังเกตุอารมณ์ใจและการปฏิบัติให้ก้าวผ่าน ข้อสอบที่มักจะพบเจอกันในการปฏิบัติครับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ
    ขอให้รุ่งเรืองในธรรมทุกท่านครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...