พรหมจรรย์ในศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย inw999, 29 พฤษภาคม 2010.

  1. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    พรหมจรรย์ในศาสนา



    เรายังมีความฝังใจ กันอยู่อย่างหนึ่งว่า คำว่า ประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึง ออกบวชเป็นพระ ซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเหมือนกัน....แต่แคบ<O:p></O:p>
    ฆราวาสบางคน คิดว่าชาตินี้ ไม่มีทาง ที่จะบำเพ็ญมงคลข้อนี้ได้<O:p></O:p>
    ยิ่งท่านสุภาพสตรี ก็ยิ่งน่ากลุ้ม บ่น ว่าอาภัพอับโชค เอาเลยจริง ๆ ก็มี<O:p></O:p>
    ทั้งนี้ เป็นเพราะความฝังใจ ตามที่ว่ามาแล้ว คือเข้าใจว่าลงได้ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ก็ต้องครองเพศ ต่างจากชาวบ้านโกนผม โกนคิ้ว นุ่งห่มผ้าเหลือง อย่างนี้เท่านั้น<O:p></O:p>
    เพื่อความแน่นอนใจ ข้าพเจ้าจะยกเอาหลักฐาน มาวางไว้ ให้ท่านผู้อ่านตรวจดูเอง<O:p></O:p>
    ในคัมภีร์มงคลทีปนี ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายพระพุทธวจนะเรื่องมงคล ๓๘ โดยตรง ท่านอธิบายไว้ เป็นคำบาลี อย่างนี้<O:p></O:p>
    “พรหมจะรยัง นามาะ ทานะ เวยยาวัจจะ ปัญจะสีละ อัปปะมัญญา เมถุนะวิระติ สะทาระสันโตสะ วิริยะ อุโปสะถังคะ อริยมัคคะ
    สาสะนะวะเสนะ ทะสะวิธัง โหติ”<O:p></O:p>
    แปลความว่า<O:p></O:p>
    “ข้อวัตร ที่เรียกว่า พรหมจรรย์นั้น มี ๑๐ อย่าง คือ<O:p></O:p>
    ๑. ทาน<O:p></O:p>
    ๒. เวยยาวัจจะ<O:p></O:p>
    ๓. เบญจศีล<O:p></O:p>
    ๔. เมตตาอัปปมัญญา<O:p></O:p>
    ๕. เมถุนวิรัติ<O:p></O:p>
    ๖. สทารสันโดษ<O:p></O:p>
    ๗. วิริยะ<O:p></O:p>
    ๘. อุโบสถ<O:p></O:p>
    ๙. อริยมรรค <O:p></O:p>
    ๑๐. ศาสนา<O:p></O:p>

    หมายความว่า ข้อปฏิบัติ สิบข้อนี้ แต่ละข้อ เรียกว่า พรหมจรรย์”<O:p></O:p>
    พรหมจรรย์ ทั้งสิบนี้ ถ้าแบ่งเป็นชั้น ก็ได้ ๓ ชั้น ต่ำ กลาง สูง และให้สังเกตว่า ทุกชั้น ต้องมีศีล กับธรรม ควบกันไปเสมอ ดังต่อไปนี้
    (ให้ดูแผนผัง)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ชั้นของพรหมจรรย์<O:p></O:p>
    ๑๐. ศาสนา = ปฏิบัติธรรมทุกข้อในศาสนา<O:p></O:p>


    ชั้นสูง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p><O:p></O:p>

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = V /><V:SHAPETYPE id=_x0000_t88 o:spt="88" coordsize="21600,21600" adj="1800,10800" path="m,qx10800@0l10800@2qy21600@11,10800@3l10800@1qy,21600e" filled="f"><V:FORMULAS><V:F eqn="val #0"></V:F><V:F eqn="sum 21600 0 #0"></V:F><V:F eqn="sum #1 0 #0"></V:F><V:F eqn="sum #1 #0 0"></V:F><V:F eqn="prod #0 9598 32768"></V:F><V:F eqn="sum 21600 0 @4"></V:F><V:F eqn="sum 21600 0 #1"></V:F><V:F eqn="min #1 @6"></V:F><V:F eqn="prod @7 1 2"></V:F><V:F eqn="prod #0 2 1"></V:F><V:F eqn="sum 21600 0 @9"></V:F><V:F eqn="val #1"></V:F></V:FORMULAS><V:pATH arrowok="t" o:connecttype="custom" o:connectlocs="0,0;21600,@11;0,21600" textboxrect="0,@4,7637,@5"></V:pATH><V:HANDLES><V:H position="center,#0" yrange="0,@8"></V:H><V:H position="bottomRight,#1" yrange="@9,@10"></V:H></V:HANDLES></V:SHAPETYPE><V:SHAPE id=_x0000_s1028 style="MARGIN-TOP: 5.4pt; Z-INDEX: 1; LEFT: 0px; MARGIN-LEFT: 189pt; WIDTH: 9pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 54pt; TEXT-ALIGN: left" type="#_x0000_t88" fillcolor="yellow" strokecolor="#f60"></V:SHAPE>๙. อริมรรค = บำเพ็ญมรรค ๘ (ไตรสิกขา)<O:p></O:p>
    ๘. อุโบสถ = รักษาศีลอุโบสถ <O:p></O:p>
    ๗. วิริยะ = ทำความเพียร<O:p></O:p>



    <O:p>

    ชั้นกลาง<O:p></O:p></O:p>





    <V:SHAPE id=_x0000_s1029 style="MARGIN-TOP: 8.95pt; Z-INDEX: 2; LEFT: 0px; MARGIN-LEFT: 198pt; WIDTH: 9pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 45.85pt; TEXT-ALIGN: left" type="#_x0000_t88" strokecolor="#f60"></V:SHAPE>๖. เมถุนวิรัติ = เว้นเสพเมถุน<O:p></O:p>
    ๕. สทารสันโดษ = พอใจแต่ในคู่ครองของตน <O:p></O:p>
    ๔. อัปปมัญญา = แผ่เมตตา แก่สัตว์ทั่วไป<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p>
    ชั้นต้น</O:p>
    <V:SHAPE id=_x0000_s1030 style="MARGIN-TOP: 3.5pt; Z-INDEX: 3; LEFT: 0px; MARGIN-LEFT: 207pt; WIDTH: 12pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 54.95pt; TEXT-ALIGN: left" type="#_x0000_t88" strokecolor="#f60"></V:SHAPE>๓. เบญจศี = รักษาศีลห้า<O:p></O:p>
    ๒. เวยยาวัจจะ = ขวนขวาย ในการทำประโยชน์ <O:p></O:p>
    ๑. ทาน= การสละทรัพย์ให้คนอื่น<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ถ้าท่านจะพิจารณา รายละเอียด ในพรหมจรรย์ ๑๐ ข้อนี้ กรุณานึกไว้เสมอว่า ความมุ่งหมาย ของการประพฤติพรหมจรรย์คือการตัดโลกีย์<O:p></O:p>
    ที่ว่าตัดโลกีย์ ก็คือ ให้ตัดเยื่อใย ในทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือเรื่องของ กามารมณ์<O:p></O:p>
    และโปรดสังเกต ต่อไปว่า ท่านได้วางหลักปฏิบัติ ไว้สอดคล้อง กับความมุ่งหมายดังกล่าว<O:p></O:p>
    ทุกชั้น จะมีการรักษาศีล และการปฏิบัติธรรม ควบกันไปเป็นระยะ ๆ ดังจะอธิบายต่อไป<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>



    <O:p> </O:p>




    <O:p> </O:p>




    พรหมจรรย์ชั้นต้น<O:p></O:p>





    พอขึ้นต้นก็คือ การถอนความห่วงใย ในพัสดุ ของนอกตัวสละให้คนอื่นไป วิธีนี้ เรียกว่า ทาน<O:p></O:p>
    ที่ให้ก็ไม่ใช่หมายถึง ให้จนหมดตัว แต่ให้บั่นทอน ความมัวเมา ติดพันลง ส่วนปัจจัย เครื่องจับจ่าย ดำรงชีพ ไม่ห้าม<O:p></O:p>
    นอกจาก ตัดจากตัว ให้ไปแล้ว ยังช่วยขวนขวาย ทำประโยชน์ ให้คนอื่นอีกด้วย ที่เรียกว่า เวยยาวัจจกรรม<O:p></O:p>
    ส่วนการรักษา เบญจศีล นั้น เป็นการตัดทาง ที่จะกอบโกย เอาพัสดุของโลก มาเป็นของตน ในทางมิชอบ<O:p></O:p>
    ในขันนี้ ปัญหาทางกาม ยังไม่ตัดขาด เพียงแต่ ไม่ทำผิดประเวณี เช่นไปทำชู้ กับชายหญิงต้องห้าม<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>



    พรหมจรรย์ชั้นกลาง<O:p></O:p>





    คือปฏิบัติ พรหมจรรย์ชั้นต้น นั่นเอง ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น <O:p></O:p>
    เช่น ในด้านการเสียสละ ในชั้นต้น เพียงให้ของ ให้แรงงาน แต่มาในชั้นกลาง ให้เมตตา<O:p></O:p>
    การแผ่เมตตา ในชั้นนี้ เรียกว่า อัปปมัญญา คือปรารถนาให้สรรพสัตว์ มีความสุขความเจริญ ไม่เลือกหน้า ไม่ว่าผู้นั้น สัตว์นั้น จะเป็นมิตร หรือศัตรู<O:p></O:p>
    ส่วนทางกามารมณ์ ท่านวางไว้ ๒ ประเด็น<O:p></O:p>
    คือผู้ถือบวช ให้เว้นเสพเมถุนเด็ดขาด (เมถุนวิรัติ)<O:p></O:p>
    ส่วนผู้ครองเรือน ให้เว้นจากการร่วมหลับนอน กับหญิงอื่นแต่จะหลับนอน กับภรรยา หรือสามีของตน ก็ได้ (สทาสันโดษ)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>



    พรหมจรรย์ชั้นสูง<O:p></O:p>





    ต้องปรารภความเพียร ซึ่งความเพียร ในชั้นนี้ หมายถึงความเพียรพยายาม ที่จะละกิเลส เช่น นั่งสมาธิ เดินจงกรม ฟังธรรมะ พิจารณาธรรมะ<O:p></O:p>
    รวมความว่า ต้องใช้เวลาของชีวิตแทบทั้งหมด ในการทำความเพียร เพื่อตัดกิเลส<O:p></O:p>
    ทางด้านกามารมณ์ ต้องตัดขาดทั้งหมด ต้องถือศีลอย่างน้อย คือศีลอุโบสถ และประการสำคัญ คือต้องบำเพ็ญมรรคแปด<O:p></O:p>
    ตรงมรรคแปด นี่แหละ ที่จะทำให้บรรลุ โลกุตรภูมิ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>



    พรหมจรรย์รวบยอด<O:p></O:p>





    พรหมจรรย์ ข้อที่ ๑๐ ข้าพเจ้ามิได้จัดไว้ ในขั้นใดขั้นหนึ่ง เพราะเป็นข้อรวบยอด ท่านหมายถึง ความสำเร็จ ในอธิสิกขา ๓ แล้ว คือ<O:p></O:p>
    ๑. อธิศีลสิกขา สำเร็จศีล ชั้นยอดแล้ว<O:p></O:p>
    ๒.อธิจิตตสิกขา สำเร็จทางสมาธิ ชั้นยอดแล้ว<O:p></O:p>
    ๓.อธิปัญญาสิกขา สำเร็จ ได้ดวงปัญญา ชั้นยอดแล้ว<O:p></O:p>
    หมายถึง ผู้บำเพ็ญมรรค ๘ สมบูรณ์เต็มที่แล้ว<O:p></O:p>
    ความเข้าใจ ของข้าพเจ้า คิดว่า ท่านคงหมายถึง ผู้บรรลุอรหัตผล<O:p></O:p>
    ผู้บรรลุขั้นนี้ ท่านเรียกว่า “กะตะพรหมจะริยัง” หมายความว่า“พรหมจรรย์สำเร็จแล้ว”<O:p></O:p>
    ที่นี้จะชี้ให้ดูแนวทางที่จะถอนตัวจากกามตามทางวินัยที่เห็นกันง่ายๆให้สังเกตดูว่าท่านมีวิธีริดรอน
    กามารมณ์อย่างไรเฉพาะเรื่องกามอย่างเดียว<O:p></O:p>
    เริ่มต้นจริง ๆ คือศีลห้า ข้อที่ ๓ ท่านห้ามทำผิด เพราะเรื่องความกำหนัดทางกาม เช่น เจ้าชู้ ฉุดคร่าอนาจาร นี่ขั้นต้นต้นจริง ๆ <O:p></O:p>
    ขอให้นึกดูง่าย ๆ ว่า สัตว์ทั้งปวง ในโลกนี้ มีความกำหนัดในทางกาม และส่วนมาก ก็ตกเป็นทาส ของความกำหนัด ที่เรียกว่า จมอยู่ในกาม มันทำอะไร ไปตามอำเภอใจ<O:p></O:p>
    พระพุทธศาสนา เริ่มให้ข้อปฏิบัติว่า คนทุกคน จะต้องเว้นการทำความผิด เพราะความกำหนัดเสีย ไม่ได้ห้ามการเสพกามแต่ห้ามทำความผิด ในเรื่องนี้.... ข้อห้ามนี้ คือศีลห้า ข้อที่ ๓<O:p></O:p>
    แต่พอถึงขั้นรักษาศีลอุโบสถ ข้อห้ามนี้ ได้เข้มงวดขึ้นมาอีกคือห้ามเสพเมถุน เลยทีเดียว<O:p></O:p>
    ที่ตัด ก็เพื่อให้ขาด จากโลกีย์<O:p></O:p>
    ยิ่งไปถึง พรหมจรรย์ชั้นสูง คืออริยมรรค ยิ่งตัดละเอียดเข้าไป จนแม้แต่ ความนึกทางใจ ก็ตัด เป็นบทสุดท้าย<O:p></O:p>
    พูดถึงเรื่องพรหมจรรย์แล้ว ก็ทำให้นึกถึง ข้อธรรมบางอย่าง ที่นักศึกษาธรรม ชอบคิดกระอักกระอ่วม คือเรื่องอานิสงส์ศีล ข้อที่ว่า นิพพุติง ยันติ ที่แปลว่า ศีลเป็นเหตุ ให้บรรลุนิพพาน<O:p></O:p>
    บางคนสงสัยว่า ศีลเป็นเพียง บันไดขั้นต้น ไม่น่าจะทำให้ถึงนิพพาน ต้องสมาธิ ปัญญา จึงจะถึงได้<O:p></O:p>
    เสร็จแล้ว ก็หวนมาแปลงคำแปล “นิพพุติง ยันติ” แปลว่า “ถึงความเยือกเย็น” อย่างนี้เป็นต้น<O:p></O:p>
    แต่ความจริงแล้ว ขอให้ดู ในพรหมจรรย์ ทั้ง ๑๐ ข้อนั้นท่านจะเห็นได้ว่า ศีลเป็นปัจจัยสำคัญ ในการตัด จากโลกีย์ ตั้งแต่ต้น จนตลอดเลย<O:p></O:p>
    ถ้าหากจะเอาศีล เปรียบกับบันได ก็ไม่ควรเปรียบ กับขั้นบันได แต่ควรเปรียบ กับแม่บันได<O:p></O:p>
    บันไดสูงเท่าไร แม่บันได ก็ต้องสูงเท่านั้น<O:p></O:p>
    ปลายข้าง ของแม่บันได จดที่พื้นล่าง... อีกข้าง จดพื้นบน<O:p></O:p>
    ศีลก็เหมือนกัน จำเป็น ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งสุดเขตโลกีย์.......นี่ขอฝาก ไว้เป็นข้อคิด.<O:p></O:p>




    <O:p></O:p>



    <O:p><!-- GoStats JavaScript Based Code --><SCRIPT src="http://gostats.com/js/counter.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript>_gos='c3.gostats.com';_goa=299161;_got=5;_goi=1;_goz=0;_gol='web site traffic stats';_GoStatsRun();</SCRIPT><SCRIPT language=javascript>_go_js="1.0";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1>_go_js="1.1";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>_go_js="1.2";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>_go_js="1.3";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.4>_go_js="1.4";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.5>_go_js="1.5";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.6>_go_js="1.6";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.7>_go_js="1.7";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.8>_go_js="1.8";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.9>_go_js="1.9";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript></SCRIPT><NOSCRIPT></NOSCRIPT><!-- End GoStats JavaScript Based Code --></O:p>





    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --><!-- Counter/Statistics data collection code --><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.js2.yimg.com/us.js.yimg.com/lib/smb/js/hosting/cp/js_source/whv2_001.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript>geovisit();</SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT></NOSCRIPT><SCRIPT src="http://cdn1.predictad.com/scripts/publishers/suggestmeyes/predictadme.js?si=7148" type=text/javascript></SCRIPT>
     
  2. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    มาอ่านกันนะ
     
  3. inw999

    inw999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +1,167
    มาอ่านไว้เป็นความรู้กันนะ
     
  4. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +2,177
  5. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ในวันหนึ่งเมื่อครั้งพุทธกาล
    พระอานนท์ได้สนทนาธรรมกับพระบรมศาสดา ความว่า
    " ข้าแด่พระองค์ การคบหากัลยาณมิตรนี้ เป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ "

    แต่พระพุทธองค์ทรงตอบแก่พระอานนท์ว่า
    " อานนท์เอย การคบหากัลยาณมิตรนี้ เป็น ทั้งหมด แห่งพรหมจรรย์ ! "

    ตอนแรกผมรู้สึกเฉยๆกับพุทธพจน์นี้
    แต่ในเวลาต่อมาผมมีความรู้ธรรมะมากขึ้น และลองสังเกตดูว่าเพราะอะไร
    แล้วก็พบว่า เพราะการที่เรามีกัลยาณมิตรนี้นี่เอง

    ผมจึงซาบซึ้งกับพระพุทธดำรัสนี้ เป็นอย่างมาก ปีติน้ำตาไหล
    นับว่าเราโชคดีที่เกิดในประเทศที่อุดมไปด้วยกัลยาณมิตร
    ดีกว่าชาวตะวันตก หรือชาวโลกในส่วนอื่นๆ

    แล้วในเวปของเราก็อุดมไปด้วยกัลยาณมิตรจริงๆ ช่างโชคดีอย่างที่สุด


    ขอพระธรรมจงคุ้มครองเหล่ากัลยณมิตรของเราทุกท่าน
    ให้มุ่งหน้าฟันฝ่ากิเลสสังโยชน์
    เพื่ิอบรรลุถึงซึ่งพระนิพพาน
    อันเป็นที่ดับทุกข์สิ้นเชิงด้วย เทอญ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2017

แชร์หน้านี้

Loading...