ที่ปฏิบัติอยู่ถูกไหม ทำไมรู้สึกว่าตัวเองโกรธง่าย น้อยใจง่ายกว่าเก่าค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย seriest, 13 มิถุนายน 2010.

  1. lowprofile

    lowprofile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +6,023
    ผมเห้นบางท่านตอบไว้ดีแล้ว ๆ สาธุกับคำตอบบางคำตอบและคำถามที่ดีๆๆครับ
    ผมก้อเป้น โกรธง่าย ขึ้นแต่ทุกครั้งขอผมสังเกตุดู
    ผมจะรู้ตัวว่าโกรธแล้วนะ ๆๆ ไม่พอใจนะ และมีเหมือน
    การที่สติรู้ว่าอย่าทำไม่ดี คนเราก้อเท่านั้น เขากะเราก้อเหมือนๆๆกัน
    เกิดแบบนี้ประจำครับ ๆๆ แล้วผมก้อปล่อยวางไป
    แต่บางครั้งเกิดเร็วมาก ถึงรู้ก้อจะเอา จะยึดต่อไป (ไม่ดี)
    ผมว่าไม่น่าผิดหรอกครับ หากท่านไม่เห้นกิเลส
    ท่านจะหักกิเลสได้ ไง ใช้ปัญญาพิจารณามากๆๆน่าจะพบทางที่ถูกที่เหมาะสมครับ

    ของผมใช้แบบนี้ไม่ทราบว่าถูก-ผิดหรือไม่ ฝากท่านผู้รู้แนะนำด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2010
  2. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    บริกรรม คำว่า เมต ตา คู่กับลมหายใจครับ
     
  3. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    การบริกรรม เมตตาเพียงอย่างเดียวแด่ได้หลายอย่าง เช่น
    1 เป็นการฝึกสติ เตือนจิต อบรมจิตให้ตั้งอยู่ในความเมตตาตลอด
    2 เป็นเมตตาภาวนา ทำให้เท่าทันความโกรธสงบความโกรธ ขจัดความโกรธ
    3 ทำให้สงบและขจัดความกลัว
    4 เมื่อจิตมีเมตตาย่อมเป็นผู้มีศีลอัตโนมัติ
    5 เกิดความยินดีในการให้ทาน และอยากช่วยเหลือผู้อื่น
    6 จิตไม่ผูกอาฆาต เป็นมิตรกับทุกคน ไม่อัคติต่อใคร และมีอานิสงส์มากมายครับ ฯลฯ
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จะถูกก็ได้ ไม่ถูกก็ได้

    ลองแบบนี้สิ

    ปัญญาพิจารณามากๆ เพื่อ ล่วงทุกข์ ถึงขั้น พ้นเป็นสมุทเฉท

    สมาธินั้น เพื่อ ตัดกิเลส

    ทีนี้ก็พิจารณาดีๆว่า ตัดกิเลส กับ ล่วงทุกข์ นั้น ต่างกันอยู่ อย่างไร

    พอพิจารณาได้ จะได้ อุบาย ที่ทำให้พึ่งตนเองได้เพิ่ม

    * * * *

    การใช้ความคิด เกาะความคิดเดี่ยว(บริกรรม) เกาะความคิดสังกัป(หลักธรรม) ล้วนเป็นเรื่อง ทำสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2010
  5. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    รักใดไหนจะแท้ เท่าแม่รัก

    โทษใดหนัก..เท่าโทสะ...ร้ายมหันต์

    ทุกข์ขันธ์ห้า.. ทุกข์กว่า...สารพัน

    สุขใดนั้นเท่าสงบ...มิพบเลย

    อนุโมทนาครับ

    (ขอบคุณที่มา..ประฐมฌาณ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มิถุนายน 2010
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    แบตหมดไปส่งไม่ได้ มี2กรณี
    1 ไม่อยากไปส่ง จึงอ้างแบตหมด
    2 แบตหมดจริงๆ รถมันวิ่งไม่ได้
    มันเป็นสิ่งนอกตัวที่ควบคุมไม่ได้
    จึงไม่ควรยึดมั่น เพราะยึดไปย่อมจะทุกข์ทันที ทุกข์ที่ไม่ได้ดังใจ ดังหวัง

    ทีนี้มีปัญหาก็แก้ไปตามเหตุปัจจัย รถเมล์ทันไหม ไม่ทันแท็กซี่ แก้ปัญหาได้ไหม
    เลื่อนนัดได้ไหม มีปัญหาก็แก้กันไป ที่สำคัญคือไม่ทำกรรมชั่ว ด่า ทำร้าย ออกไป
     
  7. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    มีอยู่ 2 อย่างที่ทำให้เป็นแบบนี้ ..........

    1.คุณนั่งสมาธิอยู่แล้วรีบถอนจิตออกมาเร็วเกินไป ไม่ถอยออกจากสมาธิแบบค่อยเป็นค่อยไป ผลคือ ทะลุออกมากลางปล้อง ตอนเข้า เข้าทางประตู พอจะออก รีบออกเร็วเกินไป ไม่ค่อย ๆ ออกทางประตู แต่รีบออกโดยปีนหน้าต่าง จิตมันเลยค้าง... จะหงุดหงิดตลอดทุกเรื่อง คอยสังเกตดูตัวเอง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ผิดนิด ผิดหน่อย มักจะโมโห เป็นอย่างนี้ใช่ไหม.....?

    2.ติดอยู่กับความสงบในสมาธิ นอกเวลาสมาธิใจมันอยากอยู่เงียบ ๆ เหมือนนั่งสมาธิ แต่โลกความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้น เราต้องทำงานอย่างอื่นด้วย แต่ใจเรามันติดสงบ อยากอยู่สบาย ๆ อันนี้ต้องดูใจของเราให้ละเอียดจริง ๆ อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าติดสงบ.....พิจารณาดูให้ดี ๆ ว่าจริงหรือไม่ เมื่อพบกับสิ่งที่ขัดใจ หรือความผิดพลาดในการทำอะไร มันจะหงุดหงิด ไม่ได้ดังใจ เหมือนใครมาขัดใจอย่างนั้นแหละ....

    วิธีแก้ไข ให้ลืมตา กำหนดความรู้สึกตัว ด้วยกำลังของสติ มี สติรู้ตื่น อยู่กับตัวให้มากดูอารมณ์ของตัวเอง ให้อยู่ในความสงบ ไม่หงุดหงิด แบบเกาะติดไม่ให้ห่าง กำหนดให้สติมั่นคงเหมือนอยู่กับสมาธิที่รู้สึกตัวมาก ๆ ตามดูจิตของตัวเองอย่าให้มันเผลอ..... อารมณ์สมาธิจะทำให้ใจเรา นิ่มนวล สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ทีนี้ ความหงุดหงิดมันเข้ามาไม่ได้ เพราะเราคอยกำกับอยู่ไม่ห่าง ไม่ปล่อยว่างให้เข้ามาง่าย ๆ ........ไม่นานก็หายเป็นปกติ....

    ขอให้ค่อย ๆ เป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน ... ว่างเมื่อไร กำหนดจิตให้ว่าง มีสติกำกับอยู่ที่ลมหายใจ เข้า-ออก ไม่ให้จิตคิดออกนอกกาย อย่าให้คิดออกไปเกินกว่ากายนี้ กำหนดให้อยู่ในกายนี้ให้ได้ แบบสบาย ๆ ..............ขอให้สำเร็จครับ.
     
  8. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านบอกว่า ที่บางท่านเหมือนจะรู้สึกว่าพอมาเจริญสมาธิภาวนาแล้วโกรธง่ายขึ้น นั้น เพราะ มีสติเห็นความโกรธในใจได้ชัดขึ้น และ เห็นความโกรธได้เร็วขึ้น กว่าเดิม....

    แต่เดิม ก็ไม่ใช่ว่าไม่โกรธ(พระอนาคามีจึงหมดโกรธ) เพียงแต่โกรธแล้วมันรู้สึกตัวได้ช้า เพราะ จิตมันจะคลุกเคล้าเป็นเนื้อเดียวกับความโกรธไปเลย.... กว่าจะรู้ตัวว่ามีความโกรธในใจตน มันก็แสดงออกไปเป็นวจีกรรม มโนกรรม ที่รุนแรงไปแล้ว.

    แต่ พอมาเจริญสมาธิภาวนา จะเห็นโกรธได้ชัดขึ้น มันเลยทำให้ดูเหมือนว่า เจริญสมาธิภาวนาทำให้โกรธง่ายขึ้น.

    ดังนั้น ไม่ต้องกังวล ควรเร่งเจริญสมาธิภาวนาให้ยิ่งๆขึ้นไป...ขออนุโมทนาครับ
     
  9. ไร้ธรรม

    ไร้ธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +56
    เห็นด้วยกับผู้พันจุ้นในข้อ2 และวิธีแก้ไข แต่อยากเสนอแนะวิธีการฝึกจิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำและถ้าฝึกจิตถึงขั้นสงบ(สงบจริงๆนะ ไม่ใช่สงบเพียงชั่วครู่ ถ้าเป็นแบบนี้เรียกว่า สมาธืหลอกจิต)ถ้าฝึกจิตจนไม่สามารถกำหนดลมหายใจเข้าออกได้ นี้เรียกว่าจิตสงบให้รีบพิจารณากองทุกข์ของขันต์ 5 อย่าเพิ่งตกใจว่าลมหายใจไปไหน แล้วรีบพิจารณาลมหายใจก่อนหรือรีบถอนออกจากสมาธิก่อน แต่ก็ไม่เคยมีอาการเหมือนในข้อ 1 มีแต่มือ เท้า อ่อนแรง พูดเสียงแหบแห้ง พูดช้ามาก แต่ก็ไม่เหนี่อย หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
    อันนี้พูดเผื่อไว้สำหรับท่านที่กำลังฝึกจิตอยู่แล้วถ้ามีวันหนึ่งท่านมีอาการเหมือนดังข้างต้นจะได้เป็นแนวทางเพื่อดับกองทุกข์ต่อไป ในตำราไม่ได้บอกอาการหรือลักษณะของจิตสงบไว้ ทีนี้เมื่อท่านปฏิบัติถึงตรงนี้ก็จะเจอทางตัน เพราะไปตกใจก่อนที่จะพิจารณาเพื่อให้จิตเกิดปัญญา อันนี้เป็นการฝึกจิตเพื่อดับกองทุกข์
    ทีนี้จะพูดถึงฝึกจิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การฝึกจิตหรือการทำสมาธิ ไม่ได้ทำให้เรามีอารมณ์ร้อนหรือหงุดหงิดง่าย แต่กลับทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจ สุขุมขึ้น มีสติในการไตร่ตรองพิจารณาเพิ่มขึ้น มีความยับยั้งชั่งใจในสิ่งผิด
    ส่วนวิธีการฝึกนั้นก็เหมือนปกติทั่วไป เพียงแต่ขณะที่เราฝึกในวัด หรือในสถานที่ปฏิบัติธรรมต่างๆเราจะรู้สึกว่าปฏิบัติได้ดีกว่าที่บ้าน นี้เป็นการเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ท่านฝึกมายังไม่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างคล่องแคล่วเลย
    ขอให้ท่านระลึกสติอยู่เสมอว่าท่านกำลังพิจารณากองลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ยกเว้นขณะที่กำลังทำกิจกรรมหรือทำงานที่ต้องใช้ปัญญา อันนี้ต้องหยุดการบริกรรมภาวนาหันมาใช้สติเพื่อให้เกิดปัญญาในการแก้หาในกิจการงานนั้น ยกตัวอย่างเช่น
    การเรียนหนังสือ ถ้าอยู่ในชั้นเรียนจิตของท่านจะต้องกำหนดตามคำพูดของอาจารย์ผู้สอน ปัญญาของจิตจะต้องระลึกตามคำพูดของอาจารย์ ตั้งใจฟังแบบนี้จิตก็สามารถระลึกได้ถึง 70-80 ส่วนโดยฟังเพียงครั้งเดียว คำพูดของพ่อ แม่ก็ต้องน้อมนำมาปฏิบัตเช่นเดียวกัน หรือแม้แต่มิตรสหาย เราก็ต้องใช้จิตในการรับฟังและใช้ปัญญาในการแก้ไขหรือในการตอบคำถาม ว่าถูกผิดเป็นอย่างไร
    ส่วนการทำงานที่ไม่ต้องใช้ปัญญา เช่น เล่นกีฬา กวาดบ้าน ล้างจาน นั่ง นอน เดินขึ้นบ้าน นี้ให้ท่านใช้วิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยภาวนา พุทโธ..ก็ได้หรือยุบหนอ พองหนอ ก็ได้ แล้วแต่ความถนัด
    โดยส่วนตัวจะใช้การภาวนา พุทโธ..เป็นคำบริกรรมกำหนดลมหายใจเข้าออก ต่อเมื่อมีใครมาพูดคุยกับเราด้วยก็ให้หยุดบริกรรม แล้วหันมาใช้จิตและปัญญาแทน การอ่านหนังสือก็เช่นกันต้องกำหนดจิตให้อยู่ในตัวอักษรในแต่บรรทัดใช้ปัญญาของจิตระลึกถึงความหมายหรือข้อความในหนังสือนั้น
    ทีนี้มาถึงภาคปฏิบัต
    ๑.ก่อนนั่งสมาธิท่านเดินก่อน การเดินเป็นการทรมารสังขารให้อ่อนล้า สงบลง ท่านจะเดินวิธีไหนก็ได้แต่ต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา ถ้าอยากทราบผลเร็วว่าเป็นจริงหรือไม่ ให้ท่านเดินกำหนดลมหายใจเข้าออกก้าวขึ้นบรรไดโดยใช้เวลาสั้นที่สุด ถึงเร็วที่สุด โดยที่ไม่รู้สึกเหนี่อยหอบ หรือเหนี่อยน้อยกว่าการไม่กำหนดลมหายใจเลย นี้เป็นอานิสงฆ์ของการฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก ถ้าฝึกจนชำนาญก็สามารถย่อระยะทางได้ (ความจริงระยะทางย่อไม่ได้แต่ที่เราย่อได้คือเวลา เพราะเราใช้เวลาสั้นลงในการเดินทางโดยที่ไม่เหน็ดเหนื่อยเลย)พระในสมัยก่อนก็ใช้วิธีนี้ในการเดินทางไกลๆ
    ๒.เมื่อเดินแล้วให้เดินช้าลงกว่าปกติ ตอนนี้ท่านจะเริ่มสังเกตุอาการของสังขารเริ่มสงบลงแล้วทีนี้ก็นั่งสมาธิได้แล้ว
    ๓.ในระหว่างที่กำหนดลมหายใจเข้าออกนั้น ต้องกำหนด3สิ่งไว้เสมอเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติในขณะฝึกกำหนดลมหายใจตั้งต้นจนถึงขั้นพิจารณากองทุกข์ 3สิ่งนั้นคือ ๑.รู้สักแต่ว่ารู้ ๒.เห็นสักแต่ว่าเห็น ๓.ได้ยินสักแต่ได้ยิน ทั้ง3สิ่งนี้เป็นของไม่เที่ยงในขณะที่ท่านกำลังฝึกจิต นี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้สมาธิหลอกจิตจนได้ไปเที่ยว นรก สวรรค์ ไม่ยอมพิจารณากองทุกข์เพื่อดับภพ
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อ้างอิง...ข้อเขียนของ ไร้ธรรม

    ส่วนการทำงานที่ไม่ต้องใช้ปัญญา เช่น เล่นกีฬา กวาดบ้าน ล้างจาน นั่ง นอน เดินขึ้นบ้าน นี้ให้ท่านใช้วิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยภาวนา พุทโธ..ก็ได้หรือยุบหนอ พองหนอ ก็ได้ แล้วแต่ความถนัด ....

    ข้อนี้สงสัยมานานแล้ว ก็สรุปไม่ได้ พอดีมาเจออีก ก็เลยต้องขอถามเจ้าของข้อเขียนนี้ อย่าคิดว่าเป็นการล่วงเกิน นะครับ.....

    การเล่นกีฬา กวาดบ้าน ล้างจาน .....อาการต่าง ๆ นี้ เรากำหนดลมหายใจเข้าออก โดยภาวนา พุทโธ หรือ ยุบหนอ พองหนอ ก็ได้....

    ขอถามนะครับว่า ขณะที่กำลังเคลื่อนไหว แล้วขณะเดียวกันก็ กำหนดลมหายใจเข้าออก และภาวนา พุทโธ ฯ ไปด้วยในเวลาเดียวกันเลย ใช่ไหมครับ?......ถ้าใช่ จิตมันมิต้อง กระโดดไป-มา เพื่อไปรับรู้การเคลื่อนไหว รับรู้ลมหายใจ และ รับรู้คำภาวนา ด้วย มันทำงานพร้อมกัน 3 อย่างในเวลาเดียวกันเลยใช่ไหมครับ... หรือ ว่าผมเข้าใจผิด คุณใช้วิธีการอย่างไร...? เผื่อจะได้เข้าใจใหม่........
     
  11. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    สาธูค่ะ
    พอดีเข้ามาเห็น

    การเล่นกีฬา กวาดบ้าน ล้างจาน ฯลฯ อิริยาบถย่อยต่างๆ ในชีวิตประจำวัน กิน เดิน จาม เอนตัวนอน ฯลฯ สามารถกำหนดการเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่ากายานุปัสสนาได้ หากการเคลื่อนไหวนั้นชัดเจนดี .. และสามารถกลับมากำหนดลมหายใจได้เช่นกันถ้าเกิดจิตกลับมาชัดเชนอยู่กับลมหายใจ ซึ่งเป็นกายลม (การกำหนดลมหายใจ เป็นทั้ง กาย เวทนา จิต ธรรม เพียงใช้ลมเป็นที่เกาะ แต่จิตหากไปชัดกับเวทนา จิต ธรรม จิตก็สามารถไปอยู่กับ เวทนา จิต ธรรม ได้เช่นกัน) เรียกว่า อะไรชัดขึ้นมาในจิต ก็กำหนดส่วนนั้นไปได้ทันที

    ถ้าใช่ จิตมิต้องกระโดดกลับไปมาหรือ ??
    ตอบว่าใช่ค่ะ แต่รวดเร็วมากจนคนส่วนใหญ่ยากที่จะจับทัน การจะทันจิตได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราถึงต้องเอา กาย เวทนา จิต ธรรม ฐานทั้งสี่นี้มาเป็นหลักให้จิตเกาะ เรียกว่าฐานไหนชัด ก็เอาฐานนั้นทันที เพื่อไม่ให้จิตวิ่งออกนอกตัวไปกับการคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่งชาติภพไม่หยุดหย่อน

    จิตมีความไวกว่าแสง รวดเร็วมาก และสิ่งที่จะทันจิตได้ก็มีแต่ตัวจิตเอง การเอาฐานสี่มาให้จิตเกาะ ก็เพื่อจะดักมันไว้เพื่อให้ทันเห็นการทำงานที่รวดเร็วของมัน ทันการปรุงแต่งของมัน ทั้งดีทั้งชั่ว และความนึกคิดอันไม่มีที่สิ้นสุด

    การเจริญสติ ต่างจากการทำสมาธิแต่อย่างเดียว การทำสมาธิอย่างเดียวเป็นการกำหนดจิตให้เป็นหนึ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วค่อยนำสมาธินั้นมาใช้งานทีหลัง ส่วนการเจริญสติ หากทำได้ต่อเนื่อง จะเกิดสมาธิกับสภาวะปัจจุบันอย่างรวดเร็วมาก เรียกว่าใช้งานได้ทันทีค่ะ

    ดิฉันเคยเกิดสมาธิอย่างมหาศาลหลายครั้ง ขณะเจริญสติอย่างต่อเนื่องในกรรมฐาน แม้นในอิริยาบถทั่วไป เรียกว่า ร่างกายจะเจ็บอะไรก็รู้หมด แต่จิตไม่เจ็บ (แยกกันได้จริงๆ ไม่ใช่แค่คิดเอา แต่ถ้าสมาธิยังไม่รวมก็ต้องสติล้วนๆ ไปก่อน ทนเอา) จิตจะคิดอะไร จิตที่ตามดูก็รู้หมด ดังนั้นจึงสามารถเลือกพิจารณาความคิดที่เป็นธรรมได้ ส่วนความคิดที่ฟุ้งซ่านก็ไม่สร้างเหตุปัจจัยต่อ .. หูก็แทบได้ยินทุกอย่าง จมูกก็ดีมาก ทั้งหูทั้งจมูก เรียกว่าบางครั้งก็รับรู้มิติอื่นได้เลย แต่เป็นหูในตาใน ..

    การเจริญสตินั้นมีอานิสงส์มาก เรียกว่าตัดภพตัดภูมิไปมากมาย เพราะไม่สร้างเหตุปัจจัยของภพภูมิใหม่ สติเป็นตัวหนุน ทั้ง สมาธิและปัญญา
    แต่การทำสมาธิเพียงอย่างเดียว ถ้าขาดสติก็หลงได้ ถ้าเป็นคนมีสติปัญญาดี คนพวกนี้ ไปทำสมถะมีฤทธิ์มีเดชขึ้นมา ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะมีสติปัญญาตามรู้ตามเข้าใจโลกธรรมได้

    ({)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2010
  12. ไร้ธรรม

    ไร้ธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +56
    ต้องขอขอบพระคูณคุณเต้าเจี้ยวที่ช่วยตอบผู้พันจุ่นแทน และก็ขออนุโมทนาสาธุในทางธรรมด้วยครับ ขอให้คุณเต้าเจี้ยวปฏิบัตจนพิจารณากองทูกข์ให้ได้นะครับ ไม่ต้องตั้งความหวังไว้ที่จิตนะครับ กำหนดจิตไปเรื่อยๆ ถึงเวลาได้ที่จิตมันจะสงบเอง ถึงตอนนั้นคุณเต้าเจี้ยวก็จะรู้ด้วยตัวของคุณเอง
     
  13. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อนุโมทนา เต้าเจี้ยว และ ไร้ธรรม........ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ.
     
  14. vergo shaka

    vergo shaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +835
    พยายาม ต่อไปครับ ดีแล้วละ อย่างน้อยจิตก็ละเอียดเห็นความโกรธ และนิสัยที่ไม่ดีของตัวเอง
    บางคนยังจับความรู้สึกตัวเองไม่ทันเลย ที่สำคัญเมื่อรู้แล้วก็แก้ไขให้ดีขึ้นครับผม
    เราเองบางครั้งยังตามรู้อารมณ์ตัวเองไม่ทันเลย บางครั้งต้องให้คนเตือนว่าทำไม่ถูกนะ
    พอมาคิดทีหลังก็เห็นจริงอย่างเขาว่า....แสดงว่าสติเราตามไม่ทันอารมณ์ปัจจุบันของเรา
    ฝึกฝนไปเรื่อยๆครับ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...