การดูจิตที่ทำให้เกิดสัมมาสติได้นั้น ต้องทำหรือเจริญให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 30 เมษายน 2010.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมไม่ได้หมายความว่าจิตส่งนอกนั้นเป็นผลมาจากอะไรครับ ผมถามและบอกว่า ที่ว่าส่งออกนอกนั้น นอกไปจากตัณหาใช่ไหมครับ?(คือมีคนเขาบอกผมมาอย่างนั้นครับ)และมันคนละความหมายกับที่พี่ธรรมภูตว่าไว้เลยครับ เลยจะถามย้ำว่า ที่ว่าจิตส่งออกนอกนั้น นอกจากสิ่งใดกันแน่ครับ (นอกจากตัณหา หรือนอกจากจิต หรือนอกจากสติ) มีสามคำตอบครับ หากไม่ใช่คำตอบก็บอกคำตอบด้วยครับ
    การที่คนเรารู้ทั้งเหตุ และรู้ทั้งผลนั้นไม่ได้หมายถึง สติ หรือครับ แต่ปล่อยวางไม่ได้เพราะไม่มีความสมารถยับยั้ง ตัวที่ทำให้เกิดเหตุและผลนั้นได้คือ ตัณหา และอุปาทาน แบบนี้ผิดหรือถูครับ
    ขอบพระคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2010
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ลองฟัง วลี ของหลวงปู่พุธ ฐานิโย


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.956966/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณkengkenny ผมว่าก่อนอื่นเราต้องรู้จักสภาพจิตที่แท้จริงเสียก่อนนะ

    จิตนั้นมีสภาพรู้ คือมีหน้าที่รู้อยู่ที่รู้เท่านั้น อันเป็นปรกติของจิต(โลกุตรจิต)

    แต่จิตที่ยังอยู่ในโลกนี้นั้น ล้วนเป็นจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำ(ไม่ปรกติ) ชอบไปรู้อยู่ที่เรื่องราวต่างๆ

    เมื่อรู้อะไรแล้ว เป็นไม่ยึดมั่นถือมั่นเอาอารมณ์เรื่องราวนั้นๆมาเป็นของๆตน เป็นไม่มีใช่มั้ย?

    ฉะนั้นจิตในโลก(โลกียจิต) ล้วนชอบออกไปยึดเรื่องราวอารมณ์ต่างๆในโลกที่เกิดขึ้นกับตนเอง

    เราก็ได้คำตอบหนึ่งในสามข้อที่ถามมา คือเหตุเพราะจิตชอบส่งออกไปจากตนเอง

    คือไม่ยอมรู้อยู่ที่รู้ แต่ชอบออกไปรับรู้อยู่ที่เรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ๖

    รับเอาเรื่องราวต่างๆภายนอกตนเองคือจิต(ไม่รู้อยู่ที่รู้)เข้ามาเป็นของๆตนเองคือจิตใช่มั้ย?

    ที่จิตชอบส่งออกไปรับรู้เรื่องราวต่างๆภายนอกตนเอง(จิต)นั้น ล้วนเกิดจากตัณหา(ความทะยานยาก)ทั้งสิ้น

    เนื่องจากจิตขาดสติหรือเผลอสติไปชั่วคราวในขณะนั้น

    จึงทะยานยากออกไปหาอารมณ์ที่รัก ชอบ ชัง อื่นๆนอกตนเองคือจิตนั่นเองฯลฯ

    ส่วนการที่เรารู้เหตุ(ความทะยานยากของจิต) เราควรต้องละเหตุ(ความทะยานยากของจิต)นั้น

    และคำว่ารู้ทั้งผลนั้น ต้องขอถามว่าผลของอะไร?

    ผลของเหตุที่เกิดขึ้น ปรุงแต่งไปเรียบร้อยแล้ว(ขาดสติ)?

    หรือผลของการละเหตุที่รู้หละ ผลคือจิตสงบตั้งมั่นเพราะปล่อยวางอารมณ์ออกไปได้(มีสติ)?

    ใช่ครับเหตุและผลที่เกิดขึ้นนั้น เพราะตัณหาและอุปาทาน

    เราจึงต้องมาฝึกฝนอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ" เพื่อหัดการละเหตุแห่งทุกข์นั้น

    การฝึกฝนอบรมสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"นั้น

    เป็นการ"ดูจิต"ที่ตรงต่อคำสอนของพระพุทธองค์และพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนไว้

    การจะ"ดูจิต"นั้น เพื่อต้องการรู้จักจิต(รู้อยู่ที่รู้) เมื่อรู้จักจิตก็จะรู้จักตนเอง

    เมื่อรู้จักตนเอง ก็จะรู้จักเหตุแห่งทุกข์ คือการชอบส่งจิตออกจากตนของตนนั่นเอง.....

    ลองนำไปพิจารณาดูครับ เพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านจะเกิดขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย.....

    ;aa24
     
  4. กำจัด

    กำจัด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +15
    คุนธรรมภูติกล่าวถูกแล้ว ที่คุน kengkenny ไม่ทราบถึงตันหาที่ตนมีเพราะไม่รู้จิต
    ขาดสติ มีสติในสิ่งอื่นไม่ใช่ตัวของเรา
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อย่ามั่วครับ ตัณหากับจิตมันคนละอย่างกันครับ ผมทราบครับว่าเพราะตัณหา แต่ผมถามว่าออกจากสิ่งใด ไม่ได้ถามว่ามันออกไปเพราะอะไรครับ ผมถึงถามคุณไม่ได้รู้อะไรเลย จะมารู้เรื่องในสิ่งที่มันเป็นจริงได้ยังไง มันคนละเรื่องกับเพราะอะไรจิตถึงออกนอก ดูคำถามดีๆแล้วค่อยตอบ คุณไปฟังธรรมหลวงปู่พุธ หรือปฏิบัติมากๆดีกว่าครับ คำถามกับคำตอบมันจะได้ตรงกันกับสิ่งที่คุณเป็นหรือสิ่งที่คุณเจอครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2010
  6. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    ความเห็นของผม..........

    ขออนุญาตตอบครับ

    ตอบว่า....สติ...... พอแล้ว
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อย่างอื่นผมไม่ทราบนะครับ แต่ที่ผมถามก็เพื่อผมเองด้วยเช่นกันครับ ที่บอกว่า เราจะต้องมาทำความรู้จักสภาพจิตแท้จริงนั้นเสียก่อน ผมเลยเข้าใจแบบของผมว่า หากคนเราไม่รู้จักสติไม่มีสติ แล้วจะไปเข้าใจเรื่องสภาพจิตแท้จริงได้ยังไงกัน ที่ผ่านมามันจึงเป็นเรื่องสมควรแล้วที่ว่า ต้องเพียรสร้างสติ ดังนั้น ก่อนจะเข้าใจว่า จิตเป็นเช่นไรมีสภาพอย่างไรนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าสติตั้งแต่เริ่มต้นไปนั้น เป็นอย่างไร ก่อนหรือไม่ครับ หรือว่า รู้จักจิตเลย คือ รู้ว่าสภาพจิตแท้ๆนั้นเป็นอย่างไร แต่ไม่รู้ว่าสติเป็นอย่างไรมาก่อนเลย หรือรู้ว่าสติเป็นอย่างไรมาก่อนแล้วจึงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไร อย่างไหนครับที่ควรจะปฏิบัติให้มากๆครับ ส่วนอื่นๆที่ตอบมาขอขอบพระคุณพี่ธรรมภูตเป็นอย่างสูงครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ครับคุณkengkenny เป็นไปอย่างที่คุณเข้าใจ สติเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก

    ที่เราต้องสร้างสติให้เกิดขึ้นมีขึ้นที่จิตของตนให้สำเร็จ เมื่อจิตมีสติกำกับอย่างต่อเนื่องเนืองๆอยู่นั้น

    จิตย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงไปด้วยโดยลำดับ กับสภาพของตนเองได้ชัดเจนมากขึ้น โดยลำดับว่า

    ขณะที่จิตมีสติกำกับอยู่ ณ.ภายในจิตของตนเองนั้นเป็นเช่นใด อ่อนควรแก่การงานมากน้อยแค่ไหน

    ส่วนจิตที่ขาดสติหรือเผลอสติบ่อยๆ ล้วนเป็นจิตที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"มาก่อน

    ผมถึงได้เน้นนักเน้นหนาว่า สติที่เป็นธรรมที่อุปการะมากนั้น

    เราต้องเพียรพยายามสร้างสติให้มีขึ้นให้เกิดขึ้นจนเป็นปรกติของจิตตน(ปัจจัตตัง)

    เพื่อป้องกัน ธรรมทั้งหลายที่เป็นทั้งเหตุใกล้หรือเหตุไกลที่เกิดขึ้น ไม่ให้เข้ามากระเทือนถึงจิต

    จึงสรุปได้ว่า สติไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยที่ไม่เคยสั่งสมอบรมให้เกิดขึ้นมาก่อน

    ที่บอกว่ารู้ทันเหตุใกล้นั้น ล้วนเกิดจากสัญญาที่เคยตั้งเจตนาไว้ก่อนแล้วว่า

    ให้ระวัง กาย วาจา ใจ เมื่อมีอารมณ์อะไรที่เข้ามากระทบ เป็นการฝึกฝนเช่นกัน...

    ซึ่งเป็นการเตรียมกายเตรียมใจให้พร้อม ที่จะมานั่งปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา"พุทโธ"ให้ได้ผล

    ซึ่งเป็นการดูจิตแบบที่เข้าถึงจิตที่แท้จริง ปฏิบัติสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้นที่จิตของตน

    ในองค์แห่งสมาธิที่จะเกิดขึ้นได้นั้น สัมมาสมาธิ ต้องมีสัมมาวายามะ สัมมาสติเป็นองค์ประกอบด้วยจึงเกิดขึ้นได้ครับ...

    ;aa24
     
  9. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อ้าวว เค้ายังไม่จับส่งกลับ รพ.เหรอฮะ
    ว้าา แย่จัง
     
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    รู้อะไรแล้วรู้ไม่จริงนั่นแหละน่ากลัว เพราะมันไม่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้แม้กับตนและผู้อื่น มีแต่ผลเสีย และคนที่เสียมากที่สุดก็คือ ตนเองเพราะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรให้รู้จริง และหากคนแบบนี้มีมากๆ มันก็จะเป็นอย่างที่เห็นอย่างที่พบกันอยู่ทุกวัน หลากหลายสีสันและเต็มไปด้วยความโง่งมงาย เพราะไม่พิจารณา ขาดการพิจารณา หรือว่าง่ายๆ คือ โง่ให้เขาหลอกนั่นเอง จริงไหมครับ
     
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
  12. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อ๊ะ ไม่อาววว
    ไม่ยุ่งเรื่องการเมือง
    อิอิ
     
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ข้อความดีๆ...มารต้องมีเป็นธรรมดา มาสาธุกับท่าน ธรรมภูติ ครับ
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เพราะไม่รู้จักจิตที่แท้จริงนั่นเอง เมื่อรู้จักของที่แท้จริงแล้ว ย่อมทำให้รู้จักของเท็จเทียมไปด้วยว่า
    จิตสังขารเกิด-ดับไปตามอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่งจิตในขณะนั้นๆ

    เมื่อรู้จักจิตผิดไปจากความเป็นจริงที่เป็นอยู่
    ก็จะเข้าใจผิดๆไปว่า จิตกับสตินั้นไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันเลย
    และเข้าใจผิดเลยเถิดไปว่า ตัวสติที่เรียกว่าการระลึกนั้น เกิดขึ้นเองได้ลอยๆ
    โดยไม่ต้องมีจิตเป็นผู้ระลึกรู้ก็ได้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยใช่มั้ย?

    การจะระลึกอะไรขึ้นมาได้สักอย่างหนึ่งนั้น
    เราต้องอาศัยปัจจัยประกอบขึ้นมาสองปัจจัยด้วยกันคือ ตัวจิตผู้รู้และสิ่งที่ถูกจิตรู้

    เมื่อสองปัจจัยดังกล่าวมากระทบกัน ตัวจิตผู้รู้นั่นเองแหละ ย่อมระลึกรู้ได้ว่า
    เมื่อสิ่งที่ถูกจิตรู้ปรากฏขึ้นในช่องทางใดช่องทางหนึ่ง (๖ ช่องทาง)
    ที่จิตผู้รู้ได้อาศัยช่องทางเหล่านั้นในการรับรู้เข้ามา
    จะทำให้จิตผู้รู้เกิดอาการหวั่นไหวไม่ตั้งมั่น เป็นไปตามสิ่งที่ถูกจิตรู้เหล่านั้น

    เมื่อจิตผู้รู้หมั่นระลึกรู้หรือที่เรียกว่ามีสติกำกับจิตผู้รู้อยู่ตลอดเวลา
    สิ่งที่ถูกจิตรู้เหล่านั้น ก็ไม่อาจจะทำให้จิตผู้รู้หวั่นไหวไม่สงบตั้งมั่นไปได้
    เนื่องจากจิตผู้รู้ได้มีการฝึกฝนอบรมตนเองให้มีสติคอยกำกับอยู่ ณ.ภายในจิตผู้รู้นั่นเอง
    จนกระทั่งจิตผู้รู้ มีฐานที่ตั้งของสติไว้คอยระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา
    จึงทำให้จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่ถูกจิตรู้ อีกต่อไป...

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...