ปัญญาอบรมสมาธิ ของหลวงตามหาบัว กับ หลวงพ่อพุธ ต่างกัน?????

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เตชพโล, 12 พฤษภาคม 2010.

  1. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ด้วยความเป็นห่วงท่านทั้งหลาย​


    กลัวจะเข้าใจผิด ในธรรม หลาย ๆ ประการ
    ทำให้อดวิตก วิจารณ์ ไม่ได้
    กลัวท่านทั้งหลายจะหลงทางได้...

    อย่างเช่นความหมายของ
    ปัญญาอบรมสมาธิ
    ในความหมายของหลวงพ่อพุธ
    กับหลวงตามหาบัว
    มีความหมายแตกต่างกัน

    และผมซึ่งเป็นนักปฏิบัติ
    และได้เห็นผลมาทั้งสองทาง
    จึงได้นำ เนื้อหาปัญญาอบรมสมาธิของ
    หลวงตามหาบัว มาโพสต์
    เพื่อความกระจ่างของท่านทั้งหลาย
     
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ปัญญาอบรมสมาธิ ของหลวงตามหาบัว
    ท่านให้ใช้ความคิดพิจารณา(วิปัสสนา)
    พิจารณาในธรรมที่เป็นปัจจุบัน นั้น ๆ
    พิจารณาโดยธรรม เพื่อให้จิตยอมรับต่อธรรม
    เมื่อจิตยอมรับต่อธรรมจิตย่อมสงบ
    การพิจารณาก็คือใช้สัญญา
    พิจารณาให้จิตยอมรับ
    เมื่อจิตยอมรับการพิจารณานั้น
    จิตจะสงบตัวลงไป
    เมื่อจิตสงบตัวลงไปจากการพิจารณา
    สัญญานั้นก็ไม่ใช่สัญญา แต่เป็นปัญญา
    เพราะสามารถทำให้จิตสงบตัวลงไปได้
    นี่หลวงตาท่านเรียกว่าปัญญาอบรมสมาธิ

    ส่วนปัญญาอบรมสมาธิของหลวงพ่อพุธ
    ท่านให้ใช้สติสัมปชัญญะตามรู้ความคิดของตน
    เมื่อมีสติสัมปชัญญะตามรู้ความคิดไปเรื่อย ๆ จิตจะสงบ
    ผลที่ได้คือความสงบเหมือนกัน
     
  3. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    เตช...หายหน้าไปหลายวันน่ะ มีเวลาแล้วหรือ นึกว่าจะไม่เข้ามาโพสเสียแล้ว
    เห็นโฆษณาปล่าวๆว่าจะไม่เข้ามา
    ........ไหนว่าจะเล่าเรื่องการปฏิบัติของตัวเอง ในกระทู้ก่อนหน้านู้น เรื่อง
    เก่ายังไม่เคลียร์เริ่มเรื่องใหม่แล้ว
    เรื่องทำสติให้เป็นสายน้ำเพื่อดูการปรุงแต่ง
    และที่สำคัญ...เรื่องที่นายบอกว่า มิจฉาสติเป็นอกุศลไม่เห็นอธิบายเลย
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ฮั่นแน่.....มีเจ้าหนี้ตามเจอแล้ว.
     
  5. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ฮันแนนนนนนนน
    อยู่นี่นี่เอง
    อิอิ
     
  6. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    สวัสดีครับ คุณเตชพโล


    ยินดีที่ได้มีโอกาสสนทนากับคุณอีก.


    ขออนุญาต นำการเจริญภาวนา ที่ หลวงพ่อพุธ ท่านสอนเอาไว้ในบทหนึ่งมาลงประกอบกระทู้น่ะครับ





    โอวาทธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    สมถะหรือวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการปฏิบัติ
    เพื่อจุดหมายเดียวกัน

    อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้เสียก่อน
    แล้วจึงค่อยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    เฮ้อ… อันนี่ถ้าสมมติว่าใครไม่สามารถทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี่ย
    จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็น สมาธิขั้นสมถะ เป็นอัปปนาสมาธิ
    เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ?

    เพราะฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติทั้งหลายก่อนว่า

    คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ

    การภาวนาพุทโธๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
    หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ

    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วย การใช้ความคิด หรือ กำหนดจิตรู้ตาม

    ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
    เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
    เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้

    อันนี้ การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่ กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่า ปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา

    แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้

    ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ

    พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
    คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้

    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด

    จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

    ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
    ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
    มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ
    พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ
    ตลอดคืนยันรุ่ง เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ

    ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
    โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
    จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
    อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว

    หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด

    หรือ บางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้
    การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
    ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ
    เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
    ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ

    ......................


    ผมเสนอว่า หลวงพ่อพุธ ท่านสอน ทั้ง

    1.การใช้ความคิด การน้อมจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ ท่านเรียกว่า วิธีการแห่งวิปัสสนา (น่าจะตรงกับ ปัญญาอบรมสมาธิ)

    และ

    2.การกำหนดจิตรู้ตาม ท่านใช้คำว่า การทำสติตามรู้ (น่าจะตรงกับ สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ใน สมาธิภาวนา๔ประเภท พระบาลีโรหิตัสวรรค จาก พระไตรปิฎฏ)


    ส่วน ที่ว่า ตกลงแล้ว2วข้อนี้ เป็นวิธีเดียวกันเลย หรือ ไม่ใช่วิธีเดียวกันเสียทีเดียว ก็ ฝากเพื่อนสมาชิกลองพิจารณากันดู น่ะครับ
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ตั้งคำถามไม่งามเลยครับ การตั้งคำถามอย่างนี้ และทีแบบนี้ไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่ก็ไม่น่าสงสัยเพราะ...คนเราเวลาใจมันคิดว่าต่างมองอะไรมันก็ต่างทั้งนั้นแหละ หากไม่มองลึกๆว่าบทสรุปแล้วพระอริยะสงฆ์เมตตาต่อใครและเพื่อประโยชน์อันใด อ่านแล้วความหมายมาลงที่สติ ผมชอบธรรมของหลวงปู่และหลวงตาครับ แต่ไม่ชอบชื่อกระทู้เท่าไหร่ครับ เพราะไม่ตรงประเด็นกับการนำเสนอความคิดเห็นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2010
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ยินดีครับ

    แล้วหากเป็นการปฏิบัติเช่นนี้ล่ะครับ

    นั่งสมาธิอยู่เกิดเวทนาขึ้นที่ขาจากการนั่งสมาธิ
    แล้วเราใช้ความคิดว่า
    ถ้าเวทนา เป็นเรา ทำไมก่อนหน้านี้ถึงไม่มีเวทนา
    แล้วทำไมเพิ่งมามีเวทนาขณะนี้ล่ะ
    และพิจารณาต่อว่า
    ถ้าเวทนานี้เป็นกาย
    ทำไมคนตายไปแล้ว
    เค้าเอาไปเผาทำไมถึงไม่มีอาการเจ็บปวดอะไรล่ะ
    พิจารณาถึงจุดนี้ปรากฎว่าจิตยอมรับความเป็นจริงต่อเหตุผลของธรรม
    จิตสงบรวมลง
    ความรู้สึกว่าร่างกายหายไปหมด เวทนากายก็หายไปด้วย

    เช่นนี้ล่ะครับความหมายของ
    ปัญญาอบรมสมาธิ ในหนังสือปัญญาอบรมสมาธิของหลวงตามหาบัวครับ

    แล้วเช่นนี้คุณจะยกเข้าประเภทไหนในสองประเภทที่คุณยกมากครับ
    1.ประเภทแรกน้อมจิตลงสู่ไตรลักษณ์ก็ไม่ใช่
    วิธีการนี้คือเห็นสภาวะธรรมใด ให้พิจารณาบอกจิต
    เป็นอนิจจังนะ หรือ เป็นทุกขังนะ หรือเป็นอนัตตานะ
    นี่คือวิธีน้อมจิตลงสู่ไตรลักษณ์
    ไม่ได้คิดอะไรมาก
    2.การตามดูความคิดโดยมีสติสัมปชัญญะ
    ก็คือตามดูไปเรื่อย ๆ ความคิดจะค่อยหดย่นเข้ามา
    ไม่คิดไปไกล ห้าทวีปเหมือนแต่ก่อน
    จนสุดท้ายหยุดคิด จิตรวมสงบ

    แล้วที่ผมยกมาจัดเข้าประเภทไหนที่คุณยกมาครับ
     
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ของหลวงตามหาบัว...ผมผ่านประสบการณ์มาแล้ว ผมพิจราณา จนจิตสงบ มันเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ตื้นตันน้ำตาไหล ว่ามันเป็นเช่นนี้นี่เอง คนเรานั้น ทะเลาะเบาะแว้ง ชิงดีชิงเด่น อิจฉาริษยากัน ก็เพราะเจ้ากาม ตัวนี้ตัวเดียวจริงๆ...เมื่อเราคิดขณะจิตสงบ เราจะเมตตาผู้คนไปหมด จิตมันเชื่อง มันหดตัวแบบเรารู้สึกได้เลยครับ อยากจะลงนอนแล้วปลงในสิ่งที่เราคิดได้จริงๆครับ ..เพราะเราเข้าใจผู้คนที่มาถูก กาม เล่นงาน
    (นานมาแล้วผมใช้ปัญญา พิจราณาแบบนี้ และทำได้ ใจเย็นได้เป็นสิบๆปีเชื่อไหมครับแค่พิจราณาครั้งเดียว)
    กรณีข้อ2 ของหลวงพ่อพุทธ การตามดูจิต จนหดสั้นนััน ..ความหมายก็คือดูต่อไปจนเห็นจิตนั่นเอง เพียงแต่ท่านไม่พูดขยายไปถึง (ดูจิตแบบมีสติสัมปชัญญะ) ดูที่ต้นเค้าของจิต รู้เฉย รู้เฉย ...เพราะมีสติ และพระไตรปิฏกเป็นแผนที่
    ผมเข้าใจเองว่าหลวงพ่อพุทธ ที่ท่านเทศน์ ท่านสื่อออกมา นี้เป็นประสบการณ์หรือ ธรรม ของท่าน ในขณะที่ท่านเทศน์ ท่านทรงสภาวะสมาธิจิตอยู่ตลอดเวลา ขณะเทศน์ แต่ผู้ฟังนั้นต่างกันออกไปกับท่าน คือมีทั้งผู้ทรงสภาวะสมาธิ กับ ผู้ไม่มีสภาวะนี้ จึงเกิดการตีความที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง อีกทั้งท่านเเทศน์มาไม่หมดตรงเนื้อหานี้ครับ (ตรงที่ตามดูจิตไปจนหดสั้น...ต่อจากตรงนี้ล่ะครับ อาจขยายได้อีกมากมายจนมาบรรจบลงตรงกันกับหลวงตาครับ...คือปัญญาอบรมสมาธิ ฯลฯ)ความเห็นส่วนตัวครับ
     
  11. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    หลวงพ่อพุธ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ พื้นฐานจิตของท่านภาวนาดีตั้งแต่เป็นเณร
    ภาวนาจนจิตรวมเป็นอัปณาสมาธิ ลมหายใจละเอียดจนเหมือนไม่มีลมหายใจ
    โดยที่ท่านเองก็แปลกใจ ไม่ทราบว่า... การภาวนาของตนเอง ถูกหรือผิดอย่างไร
    ท่านฯจึงไปกราบเรียนถามหลวงปู่เสาร์ และได้รับคำตอบว่า..ดีแล้ว สามเณรพุธ

    ต่อมา...หลวงพ่อพุธ ท่านฯภาวนาแล้วจิตไม่สงบเหมือนก่อน มีความคิดผุดขึ้นมา
    ท่านฯจึงไปกราบเรียนถามหลวงปู่เสาร์ และได้รับคำตอบว่า..
    หลวงปู่เอง ก็เคยเป็นเหมือนกับสามเณร ได้อุบายแก้ไขจากท่านอาจารย์มั่น
    ให้สามเณรตามดูความคิดที่ผุดขึ้นมา เพราะนั่นคือ พระธรรมมาแสดง
    ให้ตามดูตามรู้ นำมาน้อมพิจารณาธรรม เพื่อเจริญปัญญา

    หลวงพ่อพุธ ท่านฯเคยไปนั่งร่วมปลุกเสกงานพุทธาภิเภกที่วัดอโศฯ
    ร่วมกับพ่อแม่ครูจารย์หลายท่าน เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง หลวงปู่ท่อน หลวงปู่หลวง ฯลฯ
    พ่อแม่ครูจารย์ทุกองค์ท่านฯนั่งสมาธิตัวตรงไม่ขยับเขยื้อนตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง
    ทั้งๆ ที่สังขารของแต่ละองค์ล่วงเลยชราภาพ
    แต่จิตใจขององค์ท่านนั้น มันแยกออกจากร่างกายเป็นคนละส่วน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2010
  12. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ทีนี้ดูปัญญาอบรมสมาธิอีกแบบนะครับ
    ผมเดินจงกรมอยู่เดินยังไงจิตก็ไม่สงบ
    จิตมันคอยแต่ฟุ้งซ่านเรื่องที่รู้สึกเราถูกเอาเปรียบ
    จะบริกรรมพุทโธ หรือ ดูลมหายใจ ก็ไม่สงบ ยังฟุ้งซ่าน

    ผมเลยตัดสินใจเปลี่ยนวิธี
    ลองค้นดูด้วยความคิด ค้นหาอุบายวิธีที่จะทำให้จิตสงบ
    เพราะตอนนี้จิตฟุ้งซ่านมาก

    คิดว่าเออ...เราถูกเอาเปรียบก็ถือว่าให้ทานเค้า
    จิตก็ยังคงฟุ้งซ่าน

    คิดเรื่องเล่านี้ไม่มีแก่นสารอะไรหรอก
    เป็นอนัตตาทั้งนั้น จิตก็ยังฟุ้งซ่านเหมือนเดิม

    แต่พอจิตจะยอมจำนนด้วยเหตุผลเป็นอย่างนี้ครับ
    ได้อุบายขึ้นมาว่า
    "ประชาธิปไตยนี่ ไม่ได้หมายความว่า
    ทุกคนจะต้องได้อะไรเท่า ๆ กัน
    บางคนอาจได้น้อย บางคนอาจได้มาก
    บางคนอาจเสียมาก บางคนอาจเสียน้อย
    แต่ต้องมีคนที่เสียสละ อาจได้น้อยกว่าคนอื่น อาจเสียมากกว่าคนอื่น
    ต้องมีคนที่เสียสละ โลกถึงจะมีความสงบสุขอยู่ได้
    การเสียสละ เป็นธรรมะของผู้นำ"

    พอได้อุบายนี้ปรากฎว่าจิตรวมสงบลง
    ยืนนิ่งสงบในทันที

    นี่ครับปัญญาอบรมสมาธิอีกอย่าง
    ทั้งที่ยังฟุ้งซ่านอยู่นี่ล่ะครับ

    บางครั้งผมมีอุบายอย่างนี้นะ
    เอ้า...บริกรรมแล้วจิตไม่สงบไม่เป็นไร
    ไม่สงบเอ้าค้น...คิดค้นหาอุบายให้จิตสงบได้ด้วยปัญญา

    นี่ครับปัญญาอบรมสมาธิ
    ด้วยความคิดที่เป็นสัญญานี่ล่ะครับ
    เมื่อสัญญานี้ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้
    สัญญานี้ก็คือปัญญา

    ผมไม่มีเจตนานำครูบาอาจารย์มาเสนอในทางเสียหายนะครับ
    เพียงนำเสนอในแง่แตกต่างกัน

    การปฏิบัติธรรมนี่มีหลากหลายครับ
    เข้าในวงปฏิบัตจริงก็ต้องมีหลากหลายวิธีการ
    ไม่อย่างนั้นไม่ทันกิเลส

    ลงได้ขึ้นปฏิบัติจริงแล้ว
    ไม่ได้ไปหน้าเดียวหรอกครับ
    กิเลสมันเข้ามาทุกทางนั่นแหละ...
     
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ใจเย็น ๆ ครับ
    ตอนนี้ขี่ม้าเลียบค่ายซะก่อน

    ตอนบุกนี่ผมไม่บอกหรอก
    จะเอาให้ค่ายแตกเลยเทียว...

    คุยกันสนุก ๆ นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2010
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ส่วนเรื่องครูบาอาจารย์ทุกองค์ผมยกไว้เหนือเศียรเกล้านะครับ
    ไม่เคยลบหลู่องค์ท่าน กราบขอขมาองค์ท่านทุกครั้งที่โพสต์เรื่องนี้

    แต่ที่โพสต์ก็เพื่อนำเสนอในบางแง่แค่นั้นครับ

    และที่สำคัญที่ยกความแตกต่างก็คือ
    ปัญญาอบรมสมาธิในแง่ของหลวงตาที่ผมยกมานี้
    เพื่อให้เห็นว่า เป็นการฝึกการปฏิบัติ
    เพื่อให้เราหัดคิดค้นอุบายปัญญาขึ้นมาเป็นของตน
    เมื่ออุบายนั้นเป็นจำเพาะเรา
    ปัญญานั้นก็เป็นสมบัติของเราโดยสมบูรณ์ครับ...

    ส่วนการพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์
    นี่ไม่ง่ายนะครับ นักปฏิบัติท่านนั้น
    ต้องรู้ต้องเห็นต้องรู้จักว่า
    อ๋อนี้รูปนะ นี้เวทนานะ นี้สังขารนะ นี้วิญญาณนะ นี้สัญญานะ
    ต้องรู้ได้ชัดนะครับว่าเป็นอะไร นักปฏิบัติรู้ไม่ได้ง่าย ๆ นะครับ
    เมื่อรู้แล้วถึงจะสามารถพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ได้ครับ

    ทั้งการพิจารณลงสู่ไตรลักษณ์หรือการตามดูความคิด
    บางทีก็ทำไม่ได้ หรือ ทำให้จิตสงบลงไม่ได้
    เมื่อไม่ได้ก็ต้องหาอุบายวิธีการอื่นได้ครับ

    นี่ล่ะครับนักปฏิบัติอย่าติดในวิธีการครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2010
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    หลวงตามหาบัว กล่าวถึงหลวงพ่อพุธครับ
    อ้างอิง : หนังสือชาติสุดท้าย(หน้า 76)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2010
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่รู้ว่าความหมายของเจ้าของกระทู้เพียงต้องการที่จะเสนอว่า หลวงปู่ทั้งสองท่านนั้น.....ในด้านปัญญาอบรมสมาธิในส่วนของวิธีการอาจไม่เหมื่อนกันหรือเปล่าครับ......

    สำหรับผม...ผมเห็นว่าถูกทั้งสองท่าน.....ในความจริง..การปฏิบัติจะว่าตายตัวก็ตายตัวนะ....จะว่าไม่ตายตัวก็ไม่ตายตัว......วิธีการไม่ตายตัว...แต่สถาวะการปฏิบัติมักตายตัว....

    อย่างหลวงพ่อพุธท่าน....ปกตินั้นท่านสอนหลายรูปแบบนะ.....ไม่ว่าจะด้านสติหรือด้านสมาธิ.....ความจริงไม่อยากเอามาแยกนะ....คือจะว่าอันเดียวกันก็ใช่.....ไม่รู้จะแยกกันไปทำไม....เพราะถึงการฝึกสมาธิ....ก็ต้องใช้สติ...เพราะสติเป็นเหตุแห่งสมาธิอยู่ดี.....ไม่ว่าวิธีใหน......

    สำหรับผม....ถึงแม้ว่าพระท่านจะสอนอย่างไรจะเรียกอย่างไรเนื้อแท้นั้นไม่ต่าง......ถ้าหลวงพ่อพุธ เรียกว่าสติตามรู้ เป็นการเจริญปัญญาอบรมสมาธิ......แล้วถ้าผมจะเรียกว่าแบบที่หลวงพ่อพุธท่านเป็นสมาธิอบรมปัญญาก็ได้เช่นกัน......เพราะอะไร...เพราะถ้าพูดถึงการปฏิบัตินั้น.....การตามรู้ตามดูย่อมทำให้เกิดสติ....สติที่กระทำได้ทำให้เกิดความสงบ....แม้แต่ขนิกสมาธิ...พระพุทธเจ้าท่านก็บัญญัติให้เรียกว่าสมาธิ.....ถ้าจะมองการตามรู้ตามดูนั้น.....มันก็มีกำลังสมาธิไปในตัวอยู่ดี....ถ้าท่านจะเรียกว่าเป็นสมาธิอบรมปัญญาก็ไม่เห็นว่ามันจะไปผิดอะไรตรงใหน....

    เนื่อแท้คืออย่างไรก็ตาม.....ปัญญาไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่มีความสงบที่เรียกว่าสมาธิ.......เมื่อมีสติ สติรวมเป็นกำลังเกิดเป็นสมาธิ...เมื่อมีสมาธิความตั่งมั้นแห่งจิตเกิดขึ้น...จึงควรแก่การงาน....เพื่อเจริญปัญญา......หลักมันก็มีอยู่แค่นี้.....

    เหตุก็คือว่าในใจนั้นยังติดในคำ...ติดในทิฏฐิว่าดีว่าเลวกว่า.....จึงเป็นเหตุเกิดซึ่งความเปรียบเทียบแล้วก็เบียดเบียน......ผมว่าเป็นเรื่องไม่เป็นสาระเลย.....ต้นเหตุมันก็คือ คำว่า วิปัสสนา กับ สมถะ นั่นหละ.....เผ้อฝันไปว่า เจริญสติคือวิปัสสนา เจริญสมาธิคือสมถะ แล้วเราทำแบบเจริญสติคือเราทำวิปัสสนาดีกว่าทำสมาธิที่เรียกว่าสมถะหนะ...ไม่มีอะไร........แค่นั้น........

    หลวงปู่ชาจึงว่า สองคำ จะเหมือนก็ว่าเหมือน จะแตกต่างก็แตกต่าง ....เหมือน สมถะเป็นเด็ก แล้ววิปัสสนาคือเด็กนั้นเจริญเป็นผู้ใหญ่......ถามว่าเด็กคนนั้นไม่ใช่ผู้ใหญ่ใช่ไม?...บางคนก็ว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่....บางคนก็ว่า เป็นคนเดียวกับผู้ใหญ่....นั่นหนะ......งั้นก็ควรที่จะถามใหม่ว่า....มีบ้างไมที่เกิดออกจากท้องแม่มาโตเลย.....มีไม.....เป็นผู้ใหญ่เลย...แบบไม่ต้องเด็กหนะ......มีไม?......หลวงปู่ท่านบอกว่าเรื่องถกเถียงกันเรื่องวิปัสสนากับสมถะเรื่องไร้สาระ....ผมเห็นตามด้วยกับท่าน.....

    มองไปเป็นเรื่องของกิเลส.....บางครั้ง.....ฉันเจริญปัญญาอบรมสมาธิ......พวกเธอสมาธิอบรมปัญญา....ฉันดีกว่าเธอ...ฉันเลิศกว่า...ฉันประเสริฐกว่าเธอ.....ไร้สาระ.....

    สำหรับผม....ผมว่าอันเดียวกันนั่นหละ.....มันแล้วแต่คนจะเรียก......ทางที่ดีไม่เรียกมันเลย..เรียกได้เพื่อรู้...ไม่ใช่เรียกได้เพื่อยึดแล้วก็กอดไว้...ทางที่ดีทำไปเลยดีที่สุด.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2010
  17. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    สาธุ ท่านphanudet




    สาธุ




    สาธุ





    สาธุ

    การยึดติต คือ ปัญหาที่แท้จริง

    การยึดติต เกิดจาก ความเข้าใจผิด

    ความเข้าใจผิด เกิดจาก การที่เอาแต่ฟังคำสอนรุ่นหลังพุทธกาลโดยไม่ย้อนไปเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก หรือ ปักใจเชื่อตามอาจารย์ของตนโดยไม่เปิดใจรับฟังผู้อื่น

    การติดสมถะ มีอยู่จริง เป็นไปได้จริง แต่ ถ้าฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ก็จะสามารถแก้ไขได้(เช่น กรณีของหลวงตามหาบัว)....แต่ อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นปัญหาเฉพาะส่วนบุคคล ไม่ทำให้เกิดการเบียดเบียนกัน

    ณ ปัจจุบัน "การติดเหยียดสมถะ" เป็นปัญหาที่น่ากังวลกว่า "การติดสมถะ" ครับ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  18. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677



    ปัญหาน่าจะอยู่ที่ว่า

    ที่ หลวงตามหาบัวท่านสอน ไม่มีwordingที่ว่า "น้อมจิตลงสู่ไตรลักษณ์"



    จากบทธรรมนี้ ที่ หลวงตามหาบัวท่านสอน ไม่มีwordingที่ว่า "น้อมจิตลงสู่ไตรลักษณ์"จริง....

    แต่ ผมมองว่า การใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผลนั้น ก็มีนัยยะของ การพิจารณาไตรลักษณ์อยู่ในนั้น(น่าจะตรงกับ โยนิโสมนสิการ ในพระไตรปิฎก).

    จึง อาจจะกล่าวได้ว่า

    โดยwording(พยัญชนะ) แล้ว เหมือนหลวงพ่อพุธ ท่านอาจจะกล่าวไม่ตรงกันเป๊ะ100%กับ หลวงตามหาบัว ... แต่ มีmeaning(อรรถ)ความหมาย ไปในทิศทางเดียวกัน ครับ.

    ผมจึงเห็นด้วยกับท่านphanudet ครับ

    ................


    อย่างไรก็ตาม ผมเป็นผู้ที่มีความเชื่อส่วนตนว่า

    พระพุทธพจน์ตลอดจนคำกล่าวของพระสาวกองค์สำคัญ(เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์) ที่ปรากฏในพระสูตร ยังคงมีความบริสุทธิ์ในระดับสูงมาก

    และ

    เห็นว่า ไม่ว่าคำสอนของอาจารย์ท่านใด(แม้นแต่อาจารย์ที่ผมเคารพมากที่สุด)ก็ไม่สมบูรณ์รอบครอบรัดกุมเท่า พระพุทธพจน์ตลอดจนคำกล่าวของพระสาวกองค์สำคัญ(เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์) ที่ปรากฏในพระสูตร

    ดังนั้น ผมจึงขออนุญาต นำพระสูตร ที่แสดง สมถะ(สมาธิ)อันเป็นผลสืบเนื่องจากกระบวนการทางวิปัสสนา(ปัญญา)มาลงประกอบ


    ..............................................


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

    ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

    วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ



    พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

    ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


    พระสูตรนี้ กล่าวถึง
    วิปัสสนา(ปัญญา) ที่นำไปสู่ สมถะ(สมาธิ)...


    พระสูตรนี้ กล่าวถึง
    การที่จิตพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ด้วยวิปัสสนา จึงปล่อยวางธรรมทั้งปวง
    และ เพราะปล่อยวางธรรมทั้งปวง จิตจึงไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว คือ สมถะ

    เพราะ เห็น จึง วาง
    เพราะ วาง จึง สงบ


    ถ้าจิตปล่อยวางธรรมทั้งปวง... ความสงบ จะเป็นของที่มาเอง


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>



    ปล...

    ยินดีที่ได้สนทนา และ ขออภัยที่ตอบช้าเพราะมัวแต่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเรื่องวิกฤตการณ์การเมืองไทย
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ฝึกพิจารณาปัญญาอบรมเพื่อให้เกิดสมาธิ

    ฝึกสมาธิเพื่อให้มีกำลังปัญญาไว้พิจารณา

    สติ สมาธิ ปัญญาล้วนเป็นอัญญะมัญญะปัจจัยซึ่งกันและกัน

    ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เกื้อกูลกันไป ตลอดเวลาที่ปฏิบัติอยู่...

    ;aa24
     
  20. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    แตกต่าง ไม่ได้หมายความว่าดีกว่า เลวกว่า ประเสริฐกว่า นี่ครับ
    แต่ในโพสต์รู้สึกจะเจตนาใช้คำเหล่านี้มาก

    ถ้ากิเลสมอง ก็มองเราสูง เขาต่ำ

    ถ้าธรรมมอง ก็มองเสมอกันไป เพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย...
     

แชร์หน้านี้

Loading...