ปราถนาเป็นตัณหาหรือปล่าวจ้ะ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Armarmy, 8 พฤษภาคม 2010.

  1. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    ไม่มีอะไรนะจ้ะ เพียงแค่ อยากให้ผุ้รุ้มา ช่วยกันซักฟอกเรื่องนี้ให้ขาวแค่นั้นล่ะจ้ะ
    กรรมใดที่เคยล่วงเกินมาแต่อดีตจนปัจจุบัน ขอท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้านิพพานด้วยเทอญ
     
  2. Konbarb

    Konbarb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +206
    ผมไม่ใช่ผู้รู้ครับเป็นเพียงแค่ผู้แสวงหาตามหนทางที่ตนปรารถนา ถ้าเราเข้าใจความหมายของคำว่าตัณหา และมีส่วนประกอบสิ่งใดบ้าง สิ่งใดคือตัณหาสิ่งใดไม่ใช่ ความปรารถนาคืออะไร ใช้ไปในแนวทางไหน ปรารถนาทางโลกหรือปรารถนาทางธรรม ปรารถนาในสิ่งใดที่เป็นความปรารถนาที่เป็นตัณหา ปรารถนาในสิ่งใดที่เป็นไปเพื่อลด ละ เลิก ในกิเลสทั้งปวง เราจะรู้ได้ว่าสิ่งที่เราปรารถนานั้นเป็นตัณหาหรือไม่ ถ้าปรารถนาเพื่อสวย หล่อ รวย หน้าที่การงานดี มีคู่ครองที่ดี หรืออยากได้อยากมีอยากเป็นในสิ่งที่เป็นเรื่องทางโลก สิ่งเหล่านี้ย่อมเรียกได้ว่าเป็นความปรารถนาที่เป็นตัณหา แต่สิ่งที่เป็นความปรารถนาในทางธรรม เช่นปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นพระอัครสาวก ปรารถนาได้พบพระนิพพานในชาตินี้ หรือชาติหน้า เป็นความปรารถนาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นความปรารถนาที่ไม่ใช่ตัณหา เพราะเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นไม่ใช่เป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติไม่สิ้นสุด ปรารถนาที่เป็นตัณหาเมื่อสำเร็จแล้วย่อมเสื่อมลงแต่ปรารถนาทางธรรมเมื่อสำเร็จแล้วไม่มีวันเสื่อมลง ปรารถนาเป็นดั่งจุดที่เราได้กำหนดความมุ่งหมายลงไป เมื่อมีจุดมุ่งหมายย่อมเดินไปตามจุดม่งหมายนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ความปรารถนาเป็นตัณหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าปรารถนานั้นเป็นไปในทางใด
     
  3. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    คำว่า ปรารถนา หมายถึง สิ่งที่ต้องการ

    ในด้าน ของมิจฉาทิฐิ ปรารถนา ในความทะยานอยาก คือ ตัณหา
    แต่ถ้าในด้าน ของสัมมาทิฐิ ปรารถนา คือ ฉันทะ ความพอใจ จากศรัทธา ความเชี่อ
    (เพื่อตั้งอยู่ใน มรรคมีองค์ ๘ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤษภาคม 2010
  4. Attila 333

    Attila 333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +716
    ปรารถนาเป็นตัณหาเต็มๆ ขอรับ
     
  5. tao-tao

    tao-tao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +95
    ในความคิดของผมตัณหาน่าจะมีสองอย่างนะ
    1.ตัณหาที่เกิดแล้วนำบุญมาให้ 2.ตัณหาที่เกิดแล้วนำบาปมาให้
     
  6. tao-tao

    tao-tao Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +95
    ผมว่าตัณหาน่าจะมีสองอย่างนะ
    1.ตัณหาที่นำบุญมาให้ 2.ตัณหาที่นำบาปมาให้
    มากกว่านะครับต้องรอผู้รู้มาให้ความกระจ่างแจ้งอีกที่นะครับ
     
  7. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    ในความ เห็นของข้าพเจ้าแล้ว การ ปราถนา นั้น มีตัณหา มาผสมอยุ่ด้วย แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
    ปราถนานั้น มีตัณหาประกอบเพราะเหตุที่ อยาก ดี ตรงนี้เป็นตัณหา แต่ การตั้งใจทำนั้น ไม่น่าเรียกว่าตัณหา เพราะการ ทำ ถ้าไม่มี กำลังใจในด้าน สัมมาทิฐิมาประกอบ ก็ไม่อาจทำให้ ความปราถนา สำเร็จลุล่วงไปได้ ถ้า ปราถนาอย่างเดียวไม่ลงมือ ทำ อันนี้ ข้าพเจ้าว่า เป็นตัณหา เต็มๆ เพราะ พูดภาษาไทย คือ ดีแต่อยาก นั่นเอง อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะจ้ะ ใครมีความรุ้ ดี ขอให้ช่วยกันมา ซักฟอกเรื่องนี้ต่อไปด้วยจ้ะ ขอบพระคุณนะจ้ะ
     
  8. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ปราถนาอะไรหรือ ควรระบุให้เจาะจง
    หากเป็นการลด ละ กิเลส เรียกว่าเป็น วิวัฏฏะคามินี เป็นไปในทางเพื่อหลุดพ้น
    ไม่ใช่ตัณหา

    ตัณหาที่อยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ความทะยายอยาก ที่เป็นปัจจัยก่ออุปาทาน ยึดมั่น ก่อให้เกิด ภพ ชาติต่อไป นั่นคือตัณหาแท้จริง
     
  9. Attila 333

    Attila 333 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +716
    ตัณหา คือความทะยานอยาก ถึงแม้นความทะยานอยากนั้นจะเป็นสัมมาทิฏฏิก็ตาม ไม่ว่าท่านอยากแล้วจะทำ หรือไม่ทำมันก็เป็นตัณหาอยู่ดีนั่นแหละครับ ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุอรหัตผล เหมือนอย่างที่พระท่านว่าเราอาศัยสิ่งสมมุติเป็นเครื่องนำพาเราไปเมื่อไปถึงฟากฝั่งแล้วก็ทิ้งสิ่งสมมุตินั้นเสีย ทิ้งทั้งสุขและทุกข์ ทิ้งทั้งบุญและบาป เหมือนกับเรือหรือแพที่เราอาศัยข้ามฝั่งไป เมื่อถึงฟากฝั่งแล้ว ก็ทิ้งเรือหรือแพนั้นเสียไม่แบกเรือหรือแพขึ้นไปด้วยแม้นฉันใด ธรรมก็ฉันนั้น เมื่อถึงที่สุดแล้วแม้นแต่ธรรมเราก็ทิ้ง.
     
  10. oamiamgod

    oamiamgod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +3,223
    ก่อนอื่นต้องดูว่าตัณหาแปลว่าอะไร

    ถ้าแปลว่า หาไปแล้วเกิดทางตัน เมื่อตันแล้วก็พบกับความทุกข์ ก็ต้องดูต่อไปว่าปรารถนาอะไร ถ้าปรารถนาพระโพธิญานผมว่า หาไปแล้วก็ตัน แต่ตันแล้วมีความสุข

    ฉะนั้นก็ต้องดูด้วยว่าคุณปรารถนาสิ่งใด ถ้าเข้าข่าย 3 อย่างนี้ก็เป็นตัณหา คือ

    1.
    กามตัณหา หมายถึง ความอยากได้ อยากมีในกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าใคร่ น่าพึงพอใจ

    2.
    ภวตัณหา หมายถึง ความอยากมี เช่น อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป อยากมีสภาพหนุ่มสาวตลอด รวมถึงอยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่ตนมีอยู่แล้วอยู่กับตนตลอดไป

    3.วิภวตัณหา หมายถึง ความอยากไม่มี ไม่เป็นในสิ่งหรือภาวะที่ตนไม่ต้องการ ความอยากที่จะขจัดหรือทำลายล้างสิ่งที่ตนไม่ต้องการ เช่น ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
     
  11. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    กำลังว่ายน้ำอยู่กลางทะเล ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ถามว่า ถ้ามีขอนไม้ให้เราไปเกาะ เพื่อพักและว่ายไปถึงฝั่ง

    เราจะเกาะไหม หรือเราจะทิ้งขอนไม้ ว่ายไปตัวเปล่า
     
  12. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    เป็นครับผม แต่ถ้าเป็นไปทางกุศลมันก็เป็นเจริญไปในทางที่ดี ไปในทางหลุดพ้นได้ครับ
    เพราะเป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิจจสมุปปบาท ตราบใดยังดับวงจรนี้ไม่ได้ มันก็ยังดำเนินอยู่เป็นปกติครับ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยครับ ให้กิเลสให้เกิดประโยชน์สิครับ
    เพราะวงจรกิเลส-กรรม-วิบาก มันไม่เคยหยุดครับผม ยกเว้นจะตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้ครับ

    ถ้าผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ ก็เป็นความอยากในทางที่ดี ในทางสงเคราะห์สัตว์โลก ก็เป็นกระบวนการที่นำสู่ความเจริญครับ ทางสู่ความเป็นมหาบุรุษ...
     
  13. b_wanlop

    b_wanlop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +1,888
    ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ

    ปราถนาหรือความอยากในการเจริญในทางธรรม ใช้ คำว่า ฉันทะ หรือเปล่าครับ

    อิทธบาทสี่ ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

    หากไม่มีฉันทะ คือ ความพอใจ ธรรมอีกสามข้อ คงจะเกิดขึ้นยาก

    ส่วนตัณหาใช้สำหรับ ความอยาก ที่มีกิเลศ เจือ

    ขอท่านผู้รู้ช่วยชี้แจงเพิ่มด้วยนะครับ

    โมทนา
     
  14. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    ตอบภาษาธรรมชาติแท้ท่าน อนุโมทนา ด้วยนะจ้ะ


    โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ กับภาษาธรรมชาติ
     
  15. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    สละสลวยจริงๆ ขอบพระคุณที่มาช่วยกันซักฟอกนะจ้ะ


    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  16. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    ขอบคุณจากใจที่สละเวลามานะจ้ะ


    ที่ถาม ว่า จะให้ ระบุ ก็ ข้าพเจ้าระบุ อย่างตรงตัวอยุ่แล้ว

    ปราถนา คือทุกสิ่ง ที่ หวัง หรือ ตั้งใจ จะแยกออกมา ว่าปราถนา ด้านไหน ผ้าจะขาวไหมจ้ะ ขอท่านได้โปรดกับพิจารณาในความเห็นนี้ด้วย
    ข้อความที่ตั้งมานี้ มิได้มีเจตนา อะไร ทำไปเพื่อ หวังให้เป็นประโยชน์แก่ผุ้ ที่ศึกษาอยุ่ทุกท่าน เพื่อความเข้าใจ ในเรื่อง ตัณหา คืออะไร อย่างชัดเจน ยิ่ง ขึ้น โมทนา ด้วยนะจ้ะ
     
  17. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    กรณีนี้เป็นเรื่องของสมมติบัญญัติ ซึ่งปัจจุบันมักนิยามคำว่าตัณหาสั้นๆว่าคือความอยาก เช่นอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรืออยากไม่เป็น นักการศาสนาในปัจจุบันมักขยายความนิยามที่กว้างอยู่แล้วนี้ออกไปอีกจนทุกอย่างที่มีความต้องการอยู่เบื้องหลังกลายเป็นตัณหาไปหมด หากพิจารณาตามนี้ก็จะเห็นว่า แม้แต่เรื่องของกุศลกรรมต่างๆแม้แต่มรรคผลนิพพานก็กลายเป็นตัณหาไปด้วย แต่ว่าความอยากหรือความต้องการทุกอย่างเป็นตัณหาจริงหรือ ซึ่งเมื่อพิจารณาให้รอบคอบก็ต้องบอกว่าไม่ถูกต้อง เช่นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เมื่อจะไปโปรดสัตว์ก็ต้องมีดำริก่อน และตั้งความประสงค์ที่จะไปโปรดสัตว์ มิใช่กระทำโดยไม่มีความต้องการ หรือเวลาที่พระพุทธองค์ต้องการปลีกวิเวกเพื่อหาความสุขในสัญญาเวทยนิโรธ ก็ต้องมีความต้องการที่จะทำก่อน ซึ่งก็เป็นกลไกแบบเดียวกับกันที่ปุถุชนเราทำกันคือ มีดำริ แล้วก็ต้องการทำ จากนั้นก็ลงมือทำ แต่พระอริยเจ้าท่านไร้ซึ่งกิเลสและตัณหาแล้ว ทางพระจึงไม่เรียกความต้องการแบบนี้ว่าตัณหา เพราะความปรารถนาของพระอริยเจ้าไม่มีแรงขับจากกิเลส จึงไม่เรียกว่าตัณหา
    ทำไมนักปราชญ์ในอดีตมักให้คำนิยามของธรรมต่างๆแบบสั้น ทั้งนี้ก็เพราะสมัยก่อนปฏิบัติมาก เถียงกันน้อย ปัญญาจึงมาก การสอนสั่งใดๆก็ทำได้ง่าย เพียงประโยคสั้นๆหรือแค่ฟังหัวข้อธรรมก็เข้าใจจนแทงตลอดเป็นพระอรหันต์กันแล้ว แต่ปัจจุบันปฏิบัติกันน้อย เถียงกันมาก ปัญญาจึงคับแคบ หลักธรรมง่ายๆจึงกลายเป็นของยากไปหมด ดังนั้นแทนที่จะขยายขอบเขตนิยามของตัณหาแบบนักการศาสนาในปัจจุบันทำกัน เราต้องจำกัดขอบเขตนิยามของตัณหาให้แคบลงมาเพื่อให้ต้องตามหลักธรรมต่างหาก นั่นคือตัณหาคือ ความอยากที่มีแรงขับจากกิเลสเบื้องต่ำ ซึ่งมีต้นตอจากอวิชชาและอกุศลเป็นต้นเหตุ

    ดังนั้นความอยากที่มีกุศลจิตเป็นต้นตอจึงไม่นับว่าเป็นตัณหา เช่นอยากบรรลุมรรคผลนิพพาน อยากนั่งสมาธิ อยากรักษาศีล แต่บางครั้งความอยากที่มีกุศลจิตเป็นพื้นฐานก็เจือด้วยโมหะจริต เช่นทำบุญเพราะอยากไปเกิดในสวรรค์ การยินดีไปเกิดในภพแม้เช่นสวรรค์ก็ยังเป็นโมหะจริตอยู่ เพราะการไม่เกิดต่างหากที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ เพราะเหตุนี้หลายๆกรณี เหล่านักปราชญ์บัณฑิตท่านจึงชี้ว่าเป็นเรื่องตัณหาด้วย เพราะกุศลจิตไม่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง ถ้ากุศลจิตบริสุทธิ์คือปรารถนาเพื่อมรรคผลนิพพานย่อมไม่ใช่ตัณหาอย่างแน่นอน

    ส่วนทางปรมัตถ์ ตัณหาจะเป็นดวงสีดำ เป็นอกุศลธรรมซึ่งแยกแยะออกจากกุศลธรรมได้อย่างชัดเจน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2010
  18. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    ถ้าเรามาตีกรอบให้แคบลงมาแล้วมานจะมีอยุ่จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ แยกแยะชัดเจนว่าการปราถนาในทางกุศลไม่เข้าในตัณหาปราถนาในทางที่เป็นอกุศลนี้เป็นตัณหา นี่เป็นตัวตัณหาที่มองได้โดยหยาบเห็นง่าย แต่จุดตรงที่ว่า อารมณ์ของใจจะมีอยุ่จุดหนึ่งก็คือ อยากทำดี ตัวนี้จัดเป็นอารมณ์ตัณหารึปล่าวจ้ะ เพราะเหตุที่ว่า พอเราทำไปแล้วสักพักจะมีอาการ ติดดี เคยสังเกตุไหมจ้ะอารมณ์อยากได้แต่ดี ข้อนี้ ขอเชิญท่านผุ้ปฏิบัติมาช่วยกันสะสางเพื่อประโยชน์ ของผุ้ที่ยังสงสัยต่อไปน้ะจะขอบพระคุณอย่างสูงจ้ะ

    กระทู้นี้ข้าพเจ้าตั้งมาเพื่อประโยชน์แก่ผุ้ที่ยังศึกษาเช่นเดียวกัน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับครูบาอาจารย์ หรือ ไม่มีเจตนาเผยแพร่ อวดอ้างอะไร ด้วยประการทั้งปวง กรรมใดจะพึงเกิดข้าพเจ้าขอน้อมรับไว้แต่ผู้เดียว สมัยนี้ พระมักสอนกันว่า ตัณหา คืออยากนู่นอยากนี่ ซึ่งจริงๆ แล้วนั่นเป็น เพียงอารมณ์โดยหยาบในด้านความละเอียดนี้จึงต้องขอชักชวนท่านที่มีความรุ้มาช่วยกันทำเรื่องให้ขาวด้วยนะจ้ะ สาธุ สาธุ สาธู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2010
  19. บุตรพระแม่อนุตตรธรรม

    บุตรพระแม่อนุตตรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    548
    ค่าพลัง:
    +428
  20. Nothing Eternal

    Nothing Eternal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +654
    ตัณหา มี ๓ แบบ

    ๑. กามตัณหา (อยากได้วัตถุที่เนื่องด้วยกามคุณ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส)
    ๒. ภวตัณหา (ความอยากมี อยากเป็น หรืออยากให้สิ่งที่มีคงอยู่ตลอดไป)
    ๓. วิภวตัณหา (ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรือไม่อยากให้สิ่งนั้นสูููููููููููููููญสลายไป)

    เมื่อรู้ความหมายของตัณหาแล้ว ก็เอาไปเปรียบเทียบกับ "ปรารถนา" ของท่านดู
    ว่าตรงกับสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ถ้าตรง คือ ใช่

    ส่วน "ธรรมฉันทะ" คือ ความยินดีในธรรม ก็คือ ความปรารถนาในสิ่งที่เป็นกุศล

    แต่หลายคน มักเข้าใจตัว "ธรรมฉันทะ" สับสน เพราะเอากิเลส ตัณหา ส่วนตัวมาปน
    เช่น อยากได้พระราคาแพง แต่ไม่มีเงินซื้อ ก็โขมยเงินเมีย เมียเดือดร้อนที่เงินหายไป
    อย่างนี้จะอ้างว่า ต้องการพระ เป็น "ธรรมฉันทะ" นำมาเป็น "พุทธานุสติ" นี่แค่ข้ออ้าง
    เพราะการทำให้ได้มานั้น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อย่างนี้เป็นโทษ

    หรือบางคน ได้ยินมาว่าคนนั้นคนนี้นั่งสมาธิแล้วมีฤทธิ์มีเดช อยากได้ฤทธิ์ได้เดชมั่ง
    เลยไปนั่งสมาธิบ้าง ด้วยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตนจะได้มี ได้เป็นอย่างเขาบ้าง
    อันนี้ก็ไม่ใช่ ธรรมฉันทะ เพราะชูธงกิเลสเป็นตัวตั้งเลย ว่าฉัน "อยาก"
    ถึงจะได้ผลบ้าง แต่ก็จะยังช้ากว่าผู้ที่ปฏิบัติโดยไม่ตั้งธง "อยาก" ไว้

    "ธรรมฉันทะ" ต้องเป็นไปในทางที่ทำแล้วเกิดความแจ่มใส ไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่น
    ทำแล้วมีความก้าวหน้าในธรรม คือ ทางตัดกิเลส จึงจะเป็นธรรมฉันทะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...