มาฝึกอานาปานสติกันเถอะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cap5123, 4 พฤษภาคม 2009.

  1. cap5123

    cap5123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +85
    การทำสมาธิคืออะไร
    การทำสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพียงสิ่งเดียว
    การทำสมาธิมีกี่ประเภทแตกต่างกันอย่างไร
    การทำสมาธิมี ๒ ประเภท คือ

    ๑. สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิในทางที่ถูก คือ ต้องมีเจตนาในการทำสมาธิ เพื่อละความชั่วทางจิตใจ
    ออกไปชั่วขณะ และสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นการทำจิตใจให้บริสุทธิชั่วขณะ
    ๒. มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิในทางที่ผิดคือ มีเจตนาในการทำสมาธิ ด้วย โลภะ โทสะ และ โมหะ
    ได้แก่
    ๒.๑ โลภะ คือหวังผลต่างๆที่คิดว่าจะเกิดขึ้นจากการทำสมาธิ เช่น อยากได้อิทธิฤทธิ
    อยากเห็นสิ่งต่างๆ อยากได้กุศลมากๆ อยากเรียนเก่งเป็นต้น
    ๒.๒ โทสะ คือมีจิตคิดร้ายต่อผู้อื่น เช่น ทำพิธีกรรมไสยศาสตร์ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น
    ๒.๓ โมหะ คือความหลง เช่น การทำสมาธิที่ทำใจให้เฉยๆ ไม่รับรู้อารมณ์ใดทั้งหมด
    ไม่มีการรับรู้ตามสภาวะความ เป็นจริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น หรือเป็นการทำสมาธิด้วย
    ความงมงายปราศจากเหตุ และ ผล
    การทำมิจฉาสมาธิ เหล่านี้ เป็นการสร้างความชั่วให้เกิดขึ้น



    <CENTER>ทำไมจึงต้องทำสมาธิ
    </CENTER>๑. เพื่อละความชั่วในจิตใจออกไปชั่วขณะ ทำให้จิตใจมั่นคง สงบ เยือกเย็น แจ่มใส ไม่ฟุ้งซ่าน
    ๒. ทำให้ร่างกายคลายความตึงเครียด
    ๓. เป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา




    <CENTER>เราทำสมาธิให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
    </CENTER>การทำสมาธิมีอยู่หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ " อานาปานสติสมาธิ " หมายถึง การใช้ลมหายใจ
    เป็นอารมณ์ในการทำสมาธิ ได้แก่ การระลึกรู้ลมหายใจที่ผ่านเข้าออกที่บริเวณปลายจมูก
    ตรงจุดที่ลมกระทบเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

    ขั้นเตรียมตัวก่อนทำสมาธิ
    ๑. นั่งในท่าที่สบาย ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้พัก
    ๒. ละทิ้งความกังวลใดๆ ชั่วขณะ
    ๓. สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ
    ๔. ต้องมีความเชื่อว่าบุญบาปมีจริง เราทำกรรมอย่างไร ก็ได้รับผลอย่างนั้น
    ๔.๑ ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว
    ๔.๒ ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี
    ๔.๓ การที่เราได้รับทุกข์ทาง กาย และใจ เป็นเพราะเราได้ทำความชั่วมาแล้วในอดีตนั่นเอง
    ๕. ต้องมีความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ได้แก่
    ๕.๑ อดทนต่อความทุกข์ยากลำบากต่างๆ เช่น อากาศร้อน มีเสียงรบกวน ฯลฯ
    ๕.๒ อดทนต่อความทุกขเวทนาที่กำลังได้รับอยู่ เช่น ปวดศรีษะ หรือ มีอาการไม่สบายต่างๆ
    เป็นต้น
    ๕.๓ อดทนต่อความเย้ายวนด้วยกิเลสตัณหาเช่น อยากนอน อยากดูโทรทัศน์
    อยากสูบบุหรี่ มีจิตใจฟุ้งซ่าน และมีจิตใจเศร้าหมอง
    ๖. ต้องสร้าง อิทธิบาท๔ ให้เกิดขึ้น คือ
    ๖.๑ มีความ พอใจ ที่จะฝึกจิตของเราให้สงบ
    ๖.๒ มีความ พากเพียร ที่จะประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องสม่ำเสมอ
    ๖.๓ มี จิตใจจดจ่อ อยู่ในการระลึกรู้ลมหายใจเข้า - ออก แต่เพียงสิ่งเดียว ไม่ซัดส่ายไปทางใด
    ๖.๔ ก่อนที่จะประพฤติปฏิบัติจะต้องใช้ ปัญญา พิจารณากลั่นกรองด้วยเหตุด้วยผล อันถูกต้อง

    ขั้นตอนในการฝึก อานาปานสติสมาธิ
    ๑. นั่งหลับตา
    ๒. ละอารมณ์ต่างๆ ออกไปชั่วขณะ
    ๓. มีเจตนาที่ละความชั่วออกไปจากจิตใจของเรา เพราะเรามีความเชื่อด้วยเหตุด้วยผลว่า
    เหตุดี - ผลดีก็ตามมา
    เหตุชั่ว - ผลชั่วก็ตามมา
    ๔. พยายามที่จะสร้างสติในการระลึกรู้ลมหายใจ เข้า - ออก ที่บริเวณปลายจมูก ที่จุดของ
    ลมกระทบ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น อาจใช้การภาวนาช่วย คือ
    หายใจเข้า ภาวนา " พุทธ "
    หายใจออก ภาวนา " โธ "
    ๕. พยายามรักษาสติ คือ การระลึกรู้ธรรมชาติของลมหายใจ เข้า - ออก ที่จุดลมกระทบ อยู่
    ตลอดเวลา
    ๖. เมื่อจิตมีความสงบเกิดขึ้นแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
    ๖.๑ ระวังอย่าเผลอสติ พยายามระลึกรู้ธรรมชาติของลมหายใจ เข้า - ออก ให้มีความ
    มั่นคงยิ่งขึ้น อย่าให้จิตใจซัดส่าย ไปที่ใด
    ๖.๒ สร้างคุณสมบัติ คือ อินทรีย์ ๕ ให้มีความสม่ำเสมอกัน ไม่ให้ตัวใดยิ่งหย่อนกว่ากัน ได้แก่
    ก. ศรัทธา คือ ความเชื่อด้วยเหตุและผลว่า กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง
    ข. ความเพียรชอบ ๔ ประการ คือ
    ๑. เพียรละความชั่วในจิตใจออกให้หมด โดยละความฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล
    หรือ ความสงสัยลังเลออกไป
    ๒. เพียรสร้างคุณงามความดี ให้เกิดขึ้นในจิตใจคือ สร้างสติในการระลึกรู้ลมหายใจ
    เข้า - ออก ที่จุดของลมกระทบเท่านั้น
    ๓. เพียรรักษาความดี ที่สร้างไว้ ไม่ให้เสื่อมสลายไป คือ รักษาสติในการระลึกรู้ลม
    หายใจ เข้า - ออก ให้สม่ำเสมอ
    ๔. เพียรป้องกันไม่ให้จิตใจของเราตกไปในทางที่ชั่ว คือ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล
    เข้ามาสู่จิตใจได้อีก
    ค. สติ คือ การระลึกรู้ความจริงของธรรมชาติ ได้แก่ ธรรมชาติของลมหายใจที่ผ่าน
    เข้า - ออก ที่จุดของลมกระทบ
    ง. ความตั้งใจมั่น ที่จะระลึกรู้แต่ลมหายใจ เข้า - ออก ที่จุดของลมกระทบ เพียงอย่าง
    เดียวเท่านั้น
    จ. ปัญญา คือรู้ว่า การฝึกจิตให้มีความสงบเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องสร้างที่ " เหตุ "
    ไม่ใช่ต้องการ " ผล "
    ๗. เมื่อจิตมีความสงบเกิดขึ้นเต็มที่ พึงระลึกรู้ว่าความสงบนี้เป็น " ผล "
    ที่เกิดจาก " เหตุ " คือ ศรัทธา ความเพียร สติ ความตั้งใจมั่น และ ปัญญา
    ซึ่งเราสร้างให้เกิดขึ้น
    เพราะฉะนั้นเราควรเตือนตัวเองโดยสม่ำเสมอว่าสิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุ
    เหตุดี ผลดีก็ตามมา
    เหตุชั่ว ผลชั่วก็ตามมา
    นั่นคือ
    กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง
    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ดังนั้น เราควรพิจารณาตนเองโดยสม่ำเสมอ และไม่ตั้งอยู่ในความประมาทในเรื่องของกรรม
    ที่จะไม่กระทำความชั่ว ทั้งทางกาย วาจา และ ใจ ไปตลอดชีวิตของเรา
    ๘. เมื่อจะออกจากสมาธิ ให้ปฏิบัติดังนี้
    ๘.๑ ค่อยๆลดความสงบในจิตใจลงมา
    ๘.๒ สูดลมหายใจ เข้า - ออก ให้แรงขึ้น
    ๘.๓ ค่อยๆสังเกตความสงบในจิตใจของเราที่ลดลงมา ความตั้งมั่นจะค่อยๆหายไป
    ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ จะเข้ามาสู่จิตใจของเรามากขึ้น
    ๘.๔ เมื่อความสงบลดลงมาอยู่ในสภาวะปรกติแล้วจึงค่อยลืมตาขึ้น ถอยออกจากสมาธิ
    เราจะทำสมาธิเมื่อใดบ้าง
    การทำสมาธิ ต้องทำให้สม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน หลังตื่นนอนตอนเช้าและก่อนนอน หรือ
    ในขณะที่มีเวลาว่าง ครั้งแรก อาจใช้เวลาประมาณ ๑๕ - ๓0 นาที ต่อไป ค่อยๆ เพิ่มขึ้น
    เป็น ๑ ชั่วโมง หรือตามความเหมาะสม
    หมายเหตุ: การทำอานาปานสติสมาธิในเทปนี้ ไม่สามารถทำความสงบได้ถึง " ฌาน " ได้
    ความสงบอย่างมากก็ได้เพียง " ขณิกสมาธิ " แต่ถึงแม้จะเป็นเพียง " ขณิกสมาธิ " แต่ก็มี
    ประโยชน์อย่างมากถ้าสามารถทำได้ถูกต้องและเป็นสัมมาสมาธิ เนื่องจากผู้ที่จะสามารถทำ
    " ฌาน "ได้นั้นมีน้อยมากในปัจจุบันนี้ เพราะจะต้องเป็นผู้ที่มี "ปฏิสนธิจิต" ด้วย มหากุศลวิบากจิต
    ที่ประกอบด้วย "ปัญญา" ( ติเหตุกบุคคล )หรือ มหากุศลวิบากจิตที่เป็นญานสัมปยุตต ๔ ดวง
    ดวงใดดวงหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่คนในปัจจุบัน จะมี " ปฏิสนธิจิต" ด้วย มหากุศลจิตวิบากจิต ที่ไม่
    ประกอบด้วย "ปัญญา" ( ทวิเหตุกบุคคล ) หรือ มหากุศลวิบากจิตที่เป็นญานวิปยุตต ๔ ดวง
    ดวงใดดวงหนึ่ง ซึ่งจะไม่สามารถทำ "ฌาน" ให้เกิดขึ้นได้เลยในชาตินี้ เพราะปฏิสนธิด้วย
    มหากุศลจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ดังนั้นอานาปานสติสมาธินี้จึงมีประโยชน์มากสำหรับคน
    ในปัจจุบันนี้....ความจริงแล้ว อานาปานสติสมาธิ นั้นสามารถทำความสงบได้ตั้งแต่ ปฐมฌาน
    จนถึง ปัญจมฌาน แต่วิธีการฝึกที่อยู่ในเทปนี้ ไม่สามารถทำให้ ถึงฌานได้ เพราะถ้าจะให้ถึง
    ฌานนั้นจะต้องมีการเพ่ง นิมิต แต่วิธีการในเทปนี้ไม่มีนิมิตอะไร ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้จิตเกิดสมาธิ
    ได้โดยง่าย ดังนั้นจึงทำความสงบได้อย่างมากแค่ ขณิกสมาธิ สำหรับอานาปานสติสมาธิที่มี
    การเพ่งนิมิตและทำให้ถึงฌานได้นั้น ถ้าท่านอยากศึกษา ก็ขอให้ศึกษาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
    เอาเถิด........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2009
  2. chonatad

    chonatad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +372
    การนั่งสมาธิแบบ อานาปานสติ มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล และในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงสำเร็จพระอรหันต์ด้วยวิธีการนี้ รวมถึงพระอรหันต์อีกหลายๆพระองค์ เช่น พระองค์คุลีมาร ก็สำเร็จด้วยวิธีการนี้ และได้ออกเผยแพร่ธรรม

    ลมหายใจเป็นสิ่งที่พิเศษ ตรงที่เราสามารถควบคุมได้ จะให้ช้า เร็ว หยุดหายใจ อย่างไรก็ได้ หรือ จะไม่ทำอะไรเลย มันก็จะทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ การดูลมจึงเป็นการทำสมาธิที่ดี วิธีหนึ่ง เพราะ ไม่ต้องมีคำบริกรรมใดๆ ไม่ต้องยึดติดกับรูปภาพ หรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ดูลมหายใจเพียงอย่างเดียว สามารถปฎิบัติได้ ทุกชาติ ทุกศาสนา เป็นวิปัสสนากรรมฐานที่เป็น สากล และจะทำให้เข้าถึงธรรมชาติได้ดีกว่า และจะขจัดกิเลสได้ดี วิธีการนี้ก็พิเศษตรงนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าวิธีการอื่นจะไม่ดี ทุกวิธีก็มีดีไปคนละแบบ ตัวเองก็พึ่งไปปฎิบัติมา และได้ลองวิธีการ แบบอานาปานสติโดยดูความรู้สึกที่ปลายจมูก และลมที่ผ่านโพรงจมูก อันนี้เป็นสัมมาสมาธิ..และก็มีการสอนทำ วิปัสสนากรรมฐาน โดยสังเกตุความรู้สึกต่างๆ ทั่วร่างกายตั้งแต่ บนศรีษะ ถึง ปลายเท้า ไม่ว่าจะเป็นความรุ้สึกที่ดี เบาสบาย หรือ หนัก แน่น ทึก ก็ให้รักษาใจให้เป็น อุเบกขา หัดทำบ่อยๆจะทำให้ทุกๆส่วนของร่างกายเบาสบายไปทั้งตัวเอง แต่ต้องใช้เวลา อย่ารีบเร่ง ที่สำคัญ ต้องทำใจให้เป็น อุเบกขา และอีกอย่างนึงก็คือ ให้นึกถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทุกสิ่ง เกิดดับ ทุกสิ่งอย่างเป็น อนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง นี่เป็นวิธีการฝึกก็ประมาณนี้ แต่มีวิธีการฝึกที่ลึกซึ้งกว่านี้ ต้องไปฝึกด้วยตนเองจึงจะเข้าใจในการปฎิบัติที่ถูกต้อง..

    ได้ไปลองฝึกมาแล้ว 10 วัน ณ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน "ธรรมกาญจนา" ก็รู้สึกว่าถูกจริตดีครับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราก็อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับลมหายใจ และก็ตั้งใจว่าจะนั่งให้ได้วันละ 1-2 ช.ม.ทุกวัน เป็นเวลา 1 ปี และการไปปฎิบัติครั้งนี้ก็ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวเองมาก ได้พบสิ่งแปลกๆ ผู้ปฎิบัติหลายๆท่านก็มีความเปลี่ยนแปลง..4วันแรกนั้นคิดถึงบ้านเหมือนกัน แต่ก็ด้วยใจสู้เป็นไงเป็นกัน ทำให้อยู่จนครบ เพราะการฝึกนั้นเข้มงวด ต้องใช้ขันติอย่างสูง แต่ก็เชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้เราสามารถขจัดกิเลสในจิตใจได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าวิธีการอื่น แต่ก็ต้องลองไปปฎิบัติดูก่อนแล้วถึงจะรุ้ถึงความพิเศษของวิธีการนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2009
  3. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,568
    โมทนาครับ อานาปานสติ เป็นฝึกขึ้นแรกที่ง่ายที่สุด และเกิดสมาธิ สติ ได้ง่ายที่สุด
     
  4. uncle jing

    uncle jing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +219
    [FONT=&quot]อนุโมทนา สาธุ[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]อานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานร่วมที่มีทั้งในกรรมฐานสี่สิบและมหาสติปัฏฐานสี่[/FONT]

    <!--[if !supportLineBreakNewLine]--> <!--[endif]-->
    [FONT=&quot]อานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่สำคัญที่สุดในกรรมฐานสี่สิบ[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]อานาปานสติกรรมฐาน เป็นพื้นฐานของกรรมฐานสี่สิบทุกกอง[/FONT]
    [FONT=&quot]เช่น กสิณสิบก็ต้องเริ่มต้นที่อานาปานสติกรรมฐานก่อน[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]อานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่หลวงปู่มั่นใช้สอนหมู่ศิษย์ (คู่กับคำภาวนา พุทโธ)<o></o>[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]อานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ผู้ปฏิบัติสามารถทำความสงบได้ถึงฌานสี่[/FONT]
    [FONT=&quot]และในปัจจุบันมีผู้ที่สามารถทรงฌานได้ด้วยอานาปานสติกรรมฐานเป็นจำนวนมาก[/FONT]
    <o></o>
    [FONT=&quot]และผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่ามีผู้ที่บรรลุถึงความเป็นอริยบุคคลด้วยการใช้อานาปานสติกรรมฐานเป็นฐานของวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมาก[/FONT]
     
  5. pawang

    pawang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +193
    อานาปานสติครูบาอาจารย์ท่านเคยบอกไว้ว่าเป็นมงกุฏกรรมฐาน พระพุทธองค์เมื่อครั้งยังเป็นพระราชกุมารอยู่ก็ทรงอานาปาในปฐมฌาณ
    อานาปาเป็นกรรมฐานที่ละเอียดผู้ที่จะฝึกให้สำเร็จได้ควรมีสติที่ละเอียดตามไปด้วย
    พระพุทธเจ้าท่านสั่งสมบารมีมาถึง 4 อสงไชยแสนมหากัปป์ ชาติสุดท้ายก็ได้ฝึกสมาธิกับพระดาบสอีกสองท่านจนสำเร็จอรูปฌาณมาหมดแล้ว ดังนั้นการที่พระองค์จะบรรลุมรรคผลในราตรีเดียวนั้นด้วยอานาปานสติจึงไม่ควรที่สงสัยแต่ประการใด

    ถ้าหากผู้ที่เริ่มฝึกใหม่สมาธิยังไม่ทันเป็นแล้วจะฝีกดูแต่ลมเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอารมณ์อื่นมากำกับด้วยย่อมเป็นโมหะสมาธิได้ง่ายแต่เพราะยังเข้าใจผิดอยู่จึงทึกทักว่าตัวเองบรรลุสมาธิขั้นนั้นขั้นนี้ (โมหะสมาธิก็คือเมื่อจิตสงบแล้วจิตจะตกภวังค์คล้ายกับนอนหลับ บางคนจะหลงว่าตัวเองบรรลุฌาณสี่หรืออรูปฌาณได้ เพราะมีอาการบางอย่างคล้ายๆกันเช่นหูไม่ได้ยินเสียง และนั่งสมาธิได้นาน แต่ข้อสังเกตุคือโมหะสมาธิจะไม่รู้เลยว่าจิตของตนเองอยู่ที่ไหนเป็นอย่างไรมืดมิดเหมือนอยู่ในถ้ำ)เพราะสมาธิที่ถูกต้องต้องมีสติบริบูรณ์
    ฉะนั้นนักภาวนาควรฝึกสติเป็นอันดับแรก
    ท่านยังเคยบอกว่าคนที่ทำงานหรือฆราวาสมีผัสสะแรงตลอดทั้งวันถ้าเจริญอานาปานสติตอนค่ำจิตจะเป็นโมหะได้ง่าย ควรหาคำบริกรรมหรืออย่างอื่นมากำกับไม่ให้จิตเคลิ้มได้ง่าย ครับเช่น พุทโธ หรือ การนับลมหายใจเป็นคู่ก็ได้แล้วแต่จะหาอุบายมาครับ
     
  6. chonatad

    chonatad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +372
  7. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    กรรมฐานนี้ดี เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา
     
  8. vantana

    vantana Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +31
    สงกรานต์ปีนี้ จะเข้าคอร์สอบรมสมาธิวิปัสนากรรมฐาน แบบอานาปานสติ 10 วัน คะที่ศูนย์ธรรมกมลา ปราจีนฯ สมัครไว้แล้วคะ
     
  9. suko

    suko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +333
    ที่เขียน หรือพูดมา ทั้งหมด ใช่เลย อนุโมทนาด้วยครับ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...