คำขวัญพระราชทานเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 3 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <IFRAME src="http://www.palungjit.org/club/uploads/1_12-08-2006.swf" width=400 height=533></IFRAME>​





    <TABLE borderColor=#ffffff height=24 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=599 align=center border=0><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#42a5e4 height=14>คำขวัญพระราชทานเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=108 cellSpacing=0 cellPadding=5 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=2 height=148>
    [​IMG]



    </TD><TD width=578 height=148>
    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานคำขวัญ เนื่องในโอกาส

    วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2549

    โดยในงานวันแม่แห่งชาติปีนี้ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ได้จัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้น้อมรำลึก
    ในพระคุณของแม่ ซึ่งในปีนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี-
    นาถ พระราชทานคำขวัญ เนื่องในโอกาสวันแม่มีความว่า

    " รักในหลวงพร้อมใจ ใส่เสื้อเหลือง
    รักบ้านเมือง จงน้อมใจ ให้สร้างสรรค์
    ใส่สีเดียว แล้วใจเดียว กลมเกลียวกัน
    รักเช่นนั้น ชาติของตน จึงพ้นภัย "



    ที่มา : [​IMG]



    (ขอบคุณ..คุณอาดำด้วยจ๊ะสำหรับ mp3 เพลง "ทีฆยุกา มหาราชินี")






    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2006
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>"ทรงเป็นราชินีที่งามที่สุดในโลก" ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ผู้ถวายการรับใช้ส่วนพระองค์

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    [​IMG]

    นับแต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ทรงผ่านพิธีปฐมบรมราชาภิเษกแล้ว

    กาลครั้งนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ตามเสด็จฯ ทรงได้รับการสดุดีจากพระประมุข และผู้นำประเทศต่างๆ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยือน เป็นคำถวายพระเกียรติอย่างจริงใจ ว่า

    *ทรงมีพระบุคลิกภาพ และพระราชจริยวัตรอันงดงามยิ่ง*

    เป็นเรื่องที่ไม่ได้พูดกันลอยๆ มีประจักษ์พยานด้วยการลงหนังสือพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร อาทิ หนังสือพิมพ์สตาร์บุลเลติน แห่งฮอนโนลูลู สดุดีว่า "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถของไทย ทรงมีความงามประหนึ่งตุ๊กตาที่อาจชนะตำแหน่งราชินีแห่งราชินี หากมีการประกวดพระราชินีกันขึ้น"

    ในการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา และในงานเลี้ยงถวายพระกระยาหาร ณ โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ ในกรุงวอชิงตัน นักข่าวสังคมได้ถวายพระสมัญญาว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แห่งประเทศไทย ทรงเป็น "The Golden Girl" พระองค์ทรงชุดไหมสีทอง บนพระอังสา ทรงกลัดเข็มครุฑประดับเพชร ผู้ที่ไปร่วมในพิธีต่างสดุดีว่า "ทรงสิริโฉมโสภายิ่ง"

    ขณะที่หนังสือพิมพ์ดิโพลแมท ของสหรัฐอเมริกา ได้ยกคำกล่าวของประธานาธิบดีซูการ์โน แห่งอินโดนีเซีย ที่สดุดีว่า "ทรงเป็นพระราชินีสิริโสภาที่สุดในโลก"

    คำสดุดี ถวายพระเกียรติเหล่านี้ มิได้ปรากฏเฉพาะเมื่อ 50 ปีล่วงมาแล้ว แต่ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น ดังเช่น *ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี* ผู้ถวายการรับใช้ส่วนพระองค์ โดยเฉพาะในเรื่องฉลองพระองค์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทำหน้าที่มานานกว่า 8 ปีแล้ว เล่าให้ฟังถึงความประทับใจ ว่า

    "..ได้เห็นพระองค์ท่านมาตั้งแต่เด็กๆ ประทับใจพระองค์ท่านว่า ทรงแต่งพระองค์งามเสมอ แม้แต่ก่อนหน้านั้นก็จะเห็นจากรูปภาพสารคดีต่างๆ หรือกระทั่งภาพยนตร์ส่วนพระองค์ นับตั้งแต่ทรงเป็นพระคู่หมั้นและทรงอภิเษกสมรส สมเด็จพระนางเจ้าฯ จะทรงผ้าซิ่นไทยมาตลอด

    [​IMG]

    [​IMG]

    *สมเด็จฯ ทรงเป็นผู้เริ่มต้นการอนุรักษ์ผ้าไทย?*

    อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ในส่วนที่เกี่ยวกับผ้าไทยนั้นเมื่อปี 2498 ที่เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรตามภาคต่างๆ ของประเทศ ได้เสด็จฯไปยังจังหวัดนครพนม ทรงเห็นราษฎรนุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ มาเข้าเฝ้าฯ ท่านก็ชมว่าสวย จึงเริ่มให้ความสนพระทัยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    แล้วพอเสด็จฯเยือนต่างประเทศ โดยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จฯ ทรงมีพระราชดำริกับคุณหญิงอุไร ลือบำรุง ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ว่าสตรีไทยไม่มีแบบแผนของการแต่งกาย จึงได้พระราชทานชุดไทยพระราชนิยมเป็นแบบแผนที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบันในการแต่งกายของสตรีไทย ถึง 9 แบบด้วยกัน ว่าควรจะมีอะไรบ้าง ใช้กับพระราชพิธีหรือพิธีธรรมดา ในตอนกลางวันหรือกลางคืน ทรงใส่พระทัยกับเรื่องนี้และได้พระราชทานไว้ให้กับแผ่นดิน เป็นมรดกเป็นวัฒนธรรมของคนไทย

    [​IMG]

    [​IMG]

    *ราษฎรในชนบทสามารถขายผ้าและมีรายได้เพิ่มขึ้น*

    ค่ะ การส่งเสริมเรื่องผ้า ท่านทรงทำอย่างจริงจังเมื่อทรงก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพร่วม 30 ปีแล้ว เริ่มจากเมื่อเสด็จฯทรงเยี่ยมราษฎร และทรงเห็นว่าราษฎรต้องการอาชีพเสริม ทรงเล่าว่า "จริงๆ แล้วไม่ได้ทรงนึกถึงเรื่องอื่น ครั้งแรกที่เกิดศิลปาชีพ คือ ทรงนึกถึงว่าราษฎรไม่พอกินพอใช้ เพราะความยากจนของเขา" แต่จริงๆ แล้วผลที่ตามมาของศิลปาชีพมันมหาศาล

    หลังจากที่เขามีกินมีใช้เป็นอาชีพเสริมแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของเรา ซึ่งแต่เดิมมีแต่นับวันจะตายไปในตอนนั้น แต่ปัจจุบันนี้กลับฟื้นคืนมาหมด <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ไม่ใช่เฉพาะเรื่องผ้าเท่านั้น ศิลปะอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่างทอง ช่างถม แกะสลัก งานคร่ำ งานเครื่องเงินของชาวเขา ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าราษฎรที่สนใจศิลปะเหล่านี้เป็นคนสูงวัย ส่วนคนรุ่นใหมไม่มีใครสนใจแล้ว เพราะเขาไม่รู้ว่าจะทำไปขายให้ใคร และไม่รู้ว่าจะขายได้หรือเปล่า เงินทุนก็ไม่มี

    ทรงเห็นว่าผ้าไทยไม่ได้มีแต่ผ้าไหมไทย ยังมีอย่างอื่นอีกมาก เช่น ผ้าแพรวา ผ้าจก และศิลปะของการทอ การมัดย้อม มัดหมี่ มีเป็นอีก 10 ชนิด สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านให้ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ และท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ในกองราชเลขานุการฯ ไปหาข้อมูลงานพวกนี้

    ดังนั้น ทำให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้กลับมาพร้อมกับการแต่งพระองค์ของพระองค์ท่าน อาจจะเริ่มจากความโปรดโดยส่วนพระองค์และจากพระทัยที่รักความสวยงาม ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยเอาแต่ความสวยงามของพระองค์ท่าน แต่ทุกอย่างจะแฝงกุศโลบาย และทรงนึกถึงประชาชน



    *เรียนถามในส่วนของคุณหญิงได้เข้าไปทำหน้าที่อย่างไรบ้างในเรื่องฉลองพระองค์?*

    หลังจากที่คุณแม่ (ท่านผู้หญิงวิยะดา กฤดากรฯ) เสีย ซึ่งในช่วงนั้นจะมีคุณแม่ และท่านผู้หญิงทัดสมัย เศวตเศรณี ที่ดูแลเรื่องฉลองพระองค์ ของใช้ส่วนพระองค์ พอทั้งสองท่านเสียพร้อมกัน ท่านผู้หญิงฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ กับท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน เห็นว่าดิฉันน่าจะช่วยตรงนี้ได้ และยังมีคุณหญิงทิพยา ยังพัฒนา มาช่วยกันอีก จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งดิฉันก็ต้องไปเรียนรู้ที่จะทำ เพราะจะให้ไปรู้เท่าแม่คงเป็นไปไม่ได้ เรียกว่าอาศัยจากประสบการณ์ภายนอก

    [​IMG]

    [​IMG]

    *สมเด็จฯ ได้พระราชทานคำแนะนำอะไรหรือไม่?*

    พระองค์ท่านน่ารักมาก คือทำงานถวายเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะว่าทรงเป็นเจ้านายที่ประเสริฐ ท่านไม่ทรงจู้จี้ อะไรที่ไม่ทราบ ท่านก็ทรงแนะนำ เราก็อาศัยดูๆเอาด้วย

    ปัจจุบันนี้พระชนม์มากขึ้น เรื่องของแบบฉลองพระองค์ ก็ไม่ต้องลงไปในรายละเอียดมาก อาศัยที่ว่าพระราชกรณียกิจปีๆ หนึ่งทรงทำอะไรบ้าง เช่น ในงานพระราชพิธี ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา งานวันฉัตรมงคล ซึ่งมีหมายกำหนดการออกมาอยู่แล้ว ว่าจะใช้ในงานอะไรบ้าง เราก็ต้องดูว่างานอะไรที่ต้องใช้ชุดไทย อาจจะมีของเก่าบ้าง เราก็ตัดใหม่เสริมเข้าไปบ้าง

    ในส่วนของพระราชกรณียกิจก็ตายตัวอยู่แล้ว คือหนึ่งปีจะเสด็จแปรพระราชฐาน เช่น เสด็จฯภาคเหนือ ฉลองพระองค์ก็จะเน้นผ้าชาวเขา ซึ่งมีอยู่ในศูนย์ศิลปาชีพอยู่แล้ว หรือเสด็จฯภาคอีสาน ก็จะเป็นผ้าทางอีสาน ผ้าแพรวา ผ้าขิด ทางภาคใต้ก็จะมีสีสันหน่อย ถ้าอากาศร้อนก็ต้องเป็นผ้าที่เนื้อบาง ฉลองพระองค์ทรงกับที่ก็ต้องเป็นแบบสบายๆ จะเป็นผ้าไทยตลอดก็คงไม่ได้



    *เป็นผ้าของศิลปาชีพทั้งหมด?*

    ไม่ใช่ทั้งหมด มีบ้างที่โปรดผ้าไหมอย่างอื่นที่เบาๆ ช่างก็เป็นคนจัดหามา หรือบางทีไปเดินแล้วเห็นผ้าสวยๆ ก็จัดหามาถวาย หรือบางทีฝากช่างให้ไปหา ซึ่งที่ถวายงานรับใช้อยู่ตอนนี้ก็มี คุณธีระพันธ์ วรรณรัตน์, คุณพิจิตรา รักษจิตร, คุณนคร สัมพันธารักษ์, คุณไข่ (สมชาย แก้วทอง) และคุณยุทธพงษ์ มีพรหม



    *ฉลองพระองค์บางพระองค์ต้องไปหาที่ต่างประเทศไหม?*

    ไม่มี ส่วนใหญ่ไม่ต้องไปถึงต่างประเทศ เพราะในเมืองไทยมีทุกอย่าง ส่วนเรื่องช่างฉลองพระองค์ต่างประเทศ ต้องมีแน่นอน อย่างเช่นฉลองพระองค์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน คืนวันเลี้ยงพระกระยาหารค่ำพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างประเทศ ที่เสด็จฯมาร่วมงานครองราชย์ 60 ปี ฉลองพระองค์สีน้ำตาลที่ทรง เป็นผลงานของช่างวาเลนติโน่ทำถวาย

    เหตุผลที่ใช้ช่างต่างประเทศ ก็ตั้งแต่ครั้งเสด็จฯเยือนต่างประเทศครั้งแรก ปี 2502 ที่โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ "ปิแอร์ บัลแมงก์" เป็นคนทำถวาย ทรงมีดำริว่าการจะทำให้ผ้าไทยเราแพร่หลายออกไปโดยใช้ช่างคนไทยอย่างเดียว คงเป็นไปไม่ได้ ต้องให้ช่างต่างประเทศที่อยู่ในระดับเวทีโลกให้เขาได้สัมผัส ได้รู้จัก ถ้าพระองค์ท่านทำให้เขาได้มาสัมผัส ได้มาตัด เขาก็จะเริ่มสนใจ

    อีกอย่างหนึ่งคือ การเสด็จฯเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อ 50 ปีมาแล้ว แบบแผนการแต่งกายการเสด็จฯที่เป็นทางการ ต้องทรงพระมาลาต้องมีถุงพระหัตถ์ ของเหล่านี้ต้องอาศัยช่างต่างประเทศ เพราะเขาจะรู้ธรรมเนียมแบบแผนว่าควรจะฉลองพระองค์อย่างไร ก็ทรงใช้บัลแมงก์ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งก็ได้ผล เพราะบัลแมงก์ไปแนะนำให้คนอื่นได้รู้จักผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

    ปัจจุบันทรงใช้ช่างดิออร์ กับวาเลนติโน่ และมิสซิสฮานาเอะ โมริ ทำให้ผ้าไทยได้ไปอยู่บนเวทีโลก



    *ทราบว่าช่างต่างประเทศเหล่านี้ต้องมาเฝ้าฯที่สกลนครทุกปี*

    จะมาทุกปี เพื่อมาดูผ้าไทยและหาแรงบันดาลใจนำของเหล่านี้ไปใช้ในการออกแบบ



    *มีอยู่พักหนึ่งที่ทรงพระมาลาหลายแบบมาก*

    เพราะสมัยก่อนทรงงานเยอะกว่าสมัยนี้มาก เมื่อ 30-40 ปีก่อน ต้องเสด็จฯไปทุกภูมิภาคของประเทศ ทรงเหมือนกับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ต้องระวังแดด สมัยก่อนไม่ได้มีครีมกันแดดด้วยซ้ำ จะเห็นในภาพข่าวทรงพระกลดตลอด แต่การไปเยี่ยมราษฎรจะทรงจด ทรงรับสั่ง จึงคิดว่าพระมาลาเป็นสิ่งที่จะช่วยเกี่ยวกับแดดได้ ก็จำเป็นต้องทรงพระมาลา



    *พระมาลามีช่างเฉพาะ?*

    ไม่มีค่ะ มีพระมาลาหลายแบบ แบบเป็นงอบก็มี ทรงเห็นชาวนาใส่ก็เอามาใส่ นำมาประยุกต์ดู หรือแบบมุสลิมก็ไปถามคนมุสลิมว่าโพกกันอย่างไรแล้วท่านผู้หญิงทัดสมัยทำถวาย ท่านพยายามที่จะนึกถึงใจของราษฎร เห็นว่าเขาใช้อะไรในชีวิตประจำวันก็จะทรงอย่างไร นำมาประยุกต์มาดัดแปลง อย่างผ้าไทยนี่ท่านเอามาทรง เพราะมีดำริว่าราษฎรจะได้ดีใจที่ใช้ผ้าของเขา



    *ฉลองพระองค์ตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปมากหรือไม่?*

    การแต่งพระองค์ของสมเด็จฯ มีหลักการง่ายๆ ต้องสมพระเกียรติ สมฐานะ สวยงาม เมื่อเสด็จฯไปเป็นประธานของงาน ต้องแต่งอย่างไร เน้นความเรียบร้อย ดูโก้ เหมาะสม พระชนมายุมากขึ้นสีสันหรือว่าแบบอาจจะต้องให้เหมาะขึ้นด้วย จะให้เป็นแฟชั่นไปหมด คงไม่ได้

    ปัจจุบันการแต่งพระองค์ของท่าน ไม่ใช่แต่งตามแฟชั่น เพราะไม่ใช่ดารา ไม่ใช่เรื่องของการตามแฟชั่น แต่เป็นเรื่องของการถูกกาละเทศะ เพราะพระองค์ท่านเองนั้นทรงนำแฟชั่นมาตลอดอยู่แล้ว 50 ปี ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี ทรงแต่งอะไร คนก็ตาม

    ที่ต้องแต่งพระองค์เพราะท่านให้เกียรติราษฎรที่เดินเท้ากันมาไกล มาเฝ้าฯ มาดูพระองค์ท่าน เพราะฉะนั้นจะให้ท่านโทรมๆ ก็คงไม่ได้ เขาอุตส่าห์มารอรับท่าน



    *มีโปรดสีอะไรเป็นพิเศษ?*

    สีม่วง สีออกโทนฟ้า และทรงสีอ่อนก็งาม แต่ถ้าชุดไทยก็จะเป็นสีเข้มๆ



    *เกี่ยวกับฉลองพระบาทต้องมีการสั่งตัดพิเศษ*

    ต้องตัดเป็นพิเศษอยู่แล้ว แต่ว่าปัจจุบันนี้มีปัญหาที่พระปิฐิกัณฐกัฐิ และทรงล้มเมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ข้อพระบาท ช่วงนี้ก็ต้องทรงฉลองพระบาทเตี้ย สมัยก่อนรองพระบาทมีสีต่างๆ เข้ากับฉลองพระองค์ ซื้อบ้าง ตัดบ้าง แต่ปัจจุบันต้องทรงส้นเตี้ย แต่ก็ยังโปรดส้นสูง ยังปรารภอยู่ว่ายังอยากทรงฉลองพระบาทสูง แต่พระสุขภาพไม่ค่อยอำนวย



    *ฉลองพระองค์ที่ทรงไม่ใช้แล้ว ทำอย่างไร?*

    ฉลองพระองค์ปัจจุบันทั้งหมดอยู่ที่วังสวนจิตรลดา บางชิ้นบางองค์ที่เป็นงานฝีมือมากๆ รุ่นเก่าๆ อย่างของบัลแมงก์ หรือของช่างไทยบางคน ก็เก็บไว้เตรียมทำพิพิธภัณฑ์ถวาย เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับผ้าทั้งหมด เข้าใจว่าจะเสร็จปี 2550

    ส่วนฉลองพระองค์ทั่วๆ ไป ก็มีทยอยส่งไปที่ร้านที่สภานายิกาเวลามีงานกาชาด มีประชาชนซื้อไปบูชา บางทีก็พระราชทานคุณข้าหลวง



    *พิพิธภัณฑ์ผ้าเป็นอย่างไร?*

    ก็จะเป็นเรื่องผ้า มีท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ (ทีขะระ) อาจารย์สมิทธิ (ศิริภัทร) และม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ (กฤดากร) เป็นผู้รับผิดชอบ จะเก็บผ้าโบราณตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ อยุธยา เป็นที่สำหรับค้นคว้าลายผ้า แล้วก็งานของศิลปาชีพ เป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ขณะเดียวกันก็จะมีฉลองพระองค์จัดแสดงไว้ด้วย คือจะเก็บเป็นเรื่องเป็นราว เพราะไหนๆ ก็ได้ศึกษากันมาแล้ว

    พิพิธภัณฑ์นี้จะอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่หอรัษฎากรพิพัฒน์เก่า

    การเก็บรักษาของพวกนี้ อย่างที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เมื่อก่อนเราไม่รู้เทคนิค เอาไฟส่อง แล้วก็วางผ้าทิ้งไว้อย่างนั้น ซึ่งจริงๆ ทำไม่ได้ เพราะจะทำให้ผ้ากรอบ ครั้งนี้เราจึงจะจัดทำเป็นแบบสากล มีการสับเปลี่ยนชิ้นผ้าทุกๆ กี่เดือน ต้องคำนึงถึงไฟว่าต้องใช้แบบไหนจึงจะทำให้ผ้าไม่เสีย เพราะผ้าบางชิ้นอายุเป็นร้อยปี เก็บไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 ตอนนี้เริ่มเอาออกมาทำบัญชี เพราะพับไว้ก็มีแต่จะเสียหาย



    *ปกติผ้าเหล่านี้ใช้ทำอะไร?*

    เป็นผ้าทรงต่างๆ และใช้ในพิธีเช่น เป็นผ้าปูลาดพระบาท หรือผ้าทรงกราบและฉลองพระองค์ ฯลฯ ผ้าเหล่านี้ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ เป็นมรดกของชาติ



    *มีทรงฉลองพระองค์ซ้ำบ้างหรือไม่?*

    มี บ่อยด้วย ทั้งฉลองพระองค์ที่เสด็จออกงาน และฉลองพระองค์อยู่กับที่ ซ้ำบ่อยมาก



    *ต้องตัดใหม่บ่อยครั้ง?*

    ไม่บ่อย เพราเรารู้ล่วงหน้าว่าแต่ละเดือนในหนึ่งปีมีงานอะไรบ้าง ก็เตรียมตามนั้น



    *ปีหนึ่งประมาณ 30 ชุด

    เป็นเรื่องธรรมดาปกติของคน ไม่ใช่ว่าจะต้องมีกะเกณฑ์ ปีนี้อาจจะไม่ได้ตัดก็ได้ เพราะปีที่แล้วยังไม่ได้ทรง ปีนี้ตัดใหม่มา แต่โปรดที่จะใช้ของปีที่แล้ว ก็มี ไม่ใช่ว่าจะต้องของใหม่ตลอด



    *ปกติทรงฉลองพระองค์แบบไหน?*

    เวลาประทับอยู่กับที่จะฉลองพระองค์แพร ส่วนใหญ่จะ 2 ชิ้น ข้างในเป็นพระกรสั้น องค์นอกก็คลุม ทรงสนับเพลา นั่นโปรดทรงที่สบายๆ



    *งานผ้าไทยไม่เฉพาะของศิลปาชีพเวลานี้ถือว่าพัฒนาที่สุดแล้ว?*

    ไม่ต้องห่วง อยู่ตัวแล้ว ได้รับความนิยมจนเป็นที่แพร่หลายแล้ว ก็เป็นความหวังของพวกเราว่าต่อไปจะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ยุคนี้เรียกว่าเป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมไทย โชคดีที่เรามีสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทั้งสองพระองค์ ทรงทุ่มเทเกี่ยวกับเรื่องความเป็นไทยมา

    ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาคนไทยห่างเหินและลืมความเป็นชาติของตัวเองเยอะมาก แต่ทุกวันนี้ดีขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกว่าความรักชาติยังน้อยอยู่ ของเหล่านี้เราต้องช่วยกัน ไม่ใช่ว่าให้ท่านทำฝ่ายเดียว

    50 ปีที่ผ่านมาถือว่าพระองค์ท่านทรงทำสำเร็จ


    ที่มา : มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01100849&day=2006/08/10
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2006
  3. rosey

    rosey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +1,345
    ขอน้อมถวายพระพรชัยมงคล ..
    ทรงเจริญพระชนน์เปรมปรี ฑีฆายุกามหาราชินี..
    สาธุ สาธุ สาธุ
    (bb-flower (bb-flower (bb-flower
     
  4. wanidass

    wanidass เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +194
    อาศิรวาท

    พระหัตถ์ทรงโอบอุ้มค้มครองชาติ
    พระทัยห่วงปวงราษฎร์ผู้ทุกข์เข็ญ
    พระบาททรงเสด็จไปคลายลำเค็ญ
    พระทรงเป็นเช่นทิพย์ธาร
     
  5. wanidass

    wanidass เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +194
    พระทรงเป็นเช่นทิพย์ธารชโลมใจ

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
     
  6. kai_toung47

    kai_toung47 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +48
    มวลประชาแซ่ซ้องสรรเสริญ ขอพระองค์ทรงพระเกษมสําราญ ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาวประชาตลอดชั่วกาลนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
     
  7. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>โลกสดุดี"ควีนสิริกิติ์"

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ลิขสิทธิ์ภาพ : มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>งานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการเสด็จฯมารวมกันของกษัตริย์ พระประมุข และพระราชวงศ์ต่างประเทศจากทั่วโลกที่เมืองไทยแล้ว

    ในด้านหนึ่งถือเป็นการร่วมชุมนุมและรวมตัวกันของสมเด็จพระราชินี ราชินีของกษัตริย์ พระประมุข และพระราชวงศ์ต่างประเทศทั่วโลกอีกด้วย

    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงงานถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยถวายการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ พระประมุข และพระราชวงศ์จากต่างประเทศ รวมทั้งทรงดูแลความเรียบร้อยของงานพระราชพิธีทั้งหลาย และงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่แสนงดงาม ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร จนได้รับคำชมจากพระประมุขประเทศต่างๆ ที่เสด็จฯมาร่วมงานในครั้งนี้

    ตลอดระยะเวลาแห่งการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงงานถวาย โดยมิย่อท้อแม้งานจะหนักหนาสักเพียงไหน ก็ทรงตามรอยพระบาทเสมอมา ไม่ว่าที่เสด็จพระราชดำเนินไปนั้นจะเป็นภูมิภาคไหนของประเทศไทย ไม่ทรงละเว้นแม้เขาสูง ห้วย ละหาน ลำธารในป่าลึก

    พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ที่ทรงปฏิบัติ ทำให้ทรงเป็นที่รักของพสกนิกร และทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นที่รักยิ่งในแผ่นดินไทย

    อย่างไรก็ดี หากย้อนเวลากลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มิได้ทรงเป็นเพียงที่รักในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังทรงเป็นที่รักของมิตรสหายต่างประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศที่ได้รู้จัก ได้สัมผัสพระองค์ท่าน

    ประการหนึ่ง เห็นได้จากเหรียญ และรางวัลเทิดพระเกียรติต่างๆ ที่องค์กรต่างประเทศ ทั้งจากสหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวาย เนื่องจากทรงได้รับการยกย่องในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก อาทิ ทรงได้รับเหรียญซีเรส จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯถวายในฐานะที่ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้น และทรงเป็นผู้ให้ที่ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง รางวัลเหรียญทองโบโรพุทโธ จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทูลเกล้าฯถวายในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอนุรักษ์และพัฒนางานศิลปหัตถกรรม เหรียญทองเกียรติยศด้านสิ่งแวดล้อม จากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

    ทั้งยังรางวัลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เช่น รางวัลด้านมนุษยธรรม จากสถาบันเอเซียโซไซตี้ รางวัลความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โดยศูนย์ศึกษาการอพยพ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐนิวยอร์ก รางวัลมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์เด็กในสหรัฐอเมริกา รางวัลเกียรติยศพิเศษ ยูนิเซฟ โดยกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ทูลเกล้าฯถวายในฐานะที่ทรงอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจจนทำให้แม่และเด็กนับล้านคนได้รับการบริการขั้นพื้นฐาน และรางวัลแห่งความเป็นเลิศในฐานะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพัฒนาสตรีไทย โดยกองทุนพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ

    ทรงได้รับรางวัล "WOMAN OF THE YEAR" จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา

    พระเนตรที่เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระสุรเสียงอันนุ่มนวล ไพเราะ และรอยพระสรวลที่งดงาม อันเป็นพระราชจริยาวัตรของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น ไม่เฉพาะประทับแน่นในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างประเทศเองก็ยังตะลึงแซ่ซ้องสรรเสริญไปทุกแห่งที่ได้เสด็จพระราชดำเนิน เช่น ที่ได้เล่าไว้ในพระราชประวัติ ซึ่งเขียนโดย ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์

    ยกมาเป็นตัวอย่าง ดังเช่น หนังสือพิมพ์นอย เออิลลุล เตรียทต์ ของเยอรมนีประจำวันที่ 3 กันยายน 2503 สดุดีสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่า

    "ข้าพเจ้าเคยรู้จักสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้เลอโฉมมาเป็นเวลา 10 ปี แต่วันนี้ข้าพเจ้าเพิ่งได้ทราบว่า "สิริกิติ์" หมายถึงความงดงามสง่า"

    หนังสือพิมพ์ในลอนดอน พาดหัวข่าวว่า "แม้แต่กลางฝนๆ ก็งามไปด้วยสิริกิติ์"

    ส่วนหนังสือพิมพ์ในกรุงปารีส พาดหัวข่าวว่า "ปารีสรักสิริกิติ์-พระราชินีผู้ทรงยิ้ม" อีกฉบับหนึ่งเขียนสดุดีว่า "ประเทศไทยใช้อาวุธคือความงามของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ"

    หนังสือพิมพ์ในประเทศอิตาลี พาดหัวข่าวว่า "พระองค์ (ราชินี) มีพระชนม์ 28 แต่ดูเหมือนน้อยกว่านั้น 10 พรรษา"

    อีกฉบับหนึ่งเขียนไว้อย่างน่าทึ่งว่า ดาราฮอลลีวู้ดสมควรยิ่งที่จะเข้าโรงเรียนสิริกิติ์ เพื่อฝึกยิ้มอย่างธรรมชาติ พระองค์ท่านทรงยิ้มเรียบร้อยละมุมละไม ไม่ปรากฏความเหนื่อยหน่ายแม้แต่น้อย"...

    หนังสือพิมพ์สตาร์ บุลเลติน แห่งฮอลโนลูลู รัฐฮาวาย เสนอข่าวว่า "การเสด็จฯ เยือนครั้งนี้ ทำให้ชาวฮาวายอิได้ประสบพบสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความงามและทรงเสน่ห์ ประทับใจชาวเกาะฮาวายอิ"

    50 ปีนับแต่ทรงราชาภิเษกสมรส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงแบ่งเบาภารกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดมา นอกจากถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังทรงเป็นเช่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งว่า "เป็นที่ปรึกษาที่ดีเยี่ยม"

    บทบาทที่ทรงดำเนินมาตลอดตั้งแต่รับพระราชภาระราชินีแห่งสยาม ปรากฏและประทับอยู่ในใจพสกนิกร ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น

    แต่ทรงเป็นหนึ่งในทำเนียบราชินีโลก ที่ทรงงานอย่างไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ดังพระราชดำรัสของพระองค์

    "...โลกมนุษย์เรานี้ มีทางเดียวที่จะยืนยาวต่อไปโดยไม่เกิดกลียุค ก็ด้วยการรู้จักให้ หรือการแผ่เมตตาต่อบุคคลที่มีความทุกข์ยากมากกว่าเรา ถ้าไม่มีการแผ่เมตตาหรือการให้กันแล้ว โลกนี้จะไปไม่รอด คงจะถึงซึ่งวิกฤตอย่างแน่นอน เพราะมนุษย์วันนี้ยุ่งกับการหาผลประโยชน์ใส่ตน จนไม่มีเวลาจะนึกถึงคนอื่น..."

    การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" ซึ่งมีความหมายว่า "พระบรมราชินี ผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน" นั้น เป็นจริงอย่างที่สุดแล้ว

    *ทรงเป็นทั้ง "พระบรมราชินี ผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน" และ "นางแก้ว" แห่งราชจักรีวงศ์*


    ที่มา : มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01110849&day=2006/08/11
     

แชร์หน้านี้

Loading...