รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    มีแต่ฌาณสมาบัติ ถึงฝึกมโนมยิทธิไม่ได้ผล ขอคำแนะนำด้านวิปัสสนาเพิ่มเติมด้วยครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำ ผมไม่ทราบหรอกว่าสภาวะที่พบใหม่นั้นมันคืออะไรเห็นท่านเจ้าของกระทู้แนะนำว่ามันเป็นอารมณ์ของอรูปฌาณงั้นเดี๋ยวผมขอกลับไปปฏิบัติทบทวนดูว่าจะเป็นอย่างเจ้าของกระทู้แนะนำไว้หรือเปล่านะครับ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อารมณ์อรูปฌาณอย่างที่ผมได้ถามมานั้น ผมไม่ทราบว่าเรียกเป็นบาลีว่าอะไรขั้นไหน ขอเรียกในที่นี้เพื่อความสะดวกก่อนล่ะกันว่าอรูปฌาณนะครับจริงๆแล้วการทำให้ถึงตรงนั้นยังได้แค่บางครั้งเท่านั้น แต่ก็จะพยายามเข้าไปอีกเรื่อยๆ ต้องรอโอกาสให้ร่างกาย จิตใจพร้อม ถึงจะทำได้ แต่ผมก็ไม่ได้หนักใจอะไร เพราะถือว่าเคยเข้าไปแล้ว จำอารมณ์ตอนนั้นได้แล้ว การหาทางเข้าไปอีกก็ไม่ยากนัก
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อก่อนหน้านี้ยังไม่ค่อยได้ฝึกด้านวิปัสสนามากนัก เพราะเน้นในเรื่องสมาธิก่อนเวลาฝึกมโนมยิทธิจึงมีปัญหาว่าไม่ได้ผล เพราะต้องมีการใช้วิปัสสนาควบคู่ไปด้วย หลังๆมาพิจารณา จึงเห็นว่า ตัวผมยังอ่อนในเรื่องวิปัสสนาอยู่ กิเลสความยึดมั่นในขันธ์ 5 ยังมีอยู่เต็มเปี่ยม ตอนอยู่ในฌาณมีอารมณ์นิ่งเพราะอำนาจของฌานยังกดทับกิเลสฝ่ายต่ำไว้ อย่างนี้นี่เองจึงฝึกมโนมยิทธิไม่ได้เสียทีจึงหันมาเน้นด้านวิปัสสนาให้มากขึ้นตามแนวทางที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้แนะนำไว้แล้ว อยากจะขอปรึกษาว่าวิธีที่ผมใช้อยู่จะมีความเหมาะสมหรือไม่ หรือมีสิ่งใดจะชี้แนะเพิ่มเติมก็ขอเรียนเชิญด้วยนะครับ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิธีการที่ผมใช้ในการเจริญด้านวิปัสสนานั้น เนื่องจากเรื่องฌาณก็ยังไม่คล่องมีได้และเสื่อมฌาณสลับกันไป ตามสภาพของจิตใจและร่างกายในขณะนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการทำสมาธิ ลองไล่กำลังของฌาณดูก่อน เริ่มตั้งแต่ 1 2 3 4 และอรูปฌาณไปเรื่อยๆ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เริ่ม 1 2 3 4 และอรูปฌาณ เป็นขาไป(ตอนนี้ใช้เวลานานหน่อย เพราะเป็นขาขึ้น ต้องใช้กำลังมากพอควรและยังไม่คล่องฌาณครับ)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถอยหลัง อรูปฌาณ มา 4 3 2 1 เป็นขากลับ(ตอนนี้ใช้เวลาไม่เท่าไหร่ แค่ลดกำลังของสมาธิลงเท่านั้น)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทำซ้ำอย่างนี้ ขาไป และถอยหลังลงมาเป็นขากลับ อยู่สัก 1 - 2 รอบหรือจนกว่าจะพอใจ ขั้นนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานถึงนานมาก เพราะผมก็ยังไม่คล่องฌาณคำว่าเป็นนวสียังห่างไกลมาก แค่พยายามจะทำให้ได้เท่านั้นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    หลังจากลองไล่ฌาณเล่นจนพอใจแล้ว จึงถอยสมาธิลงมาที่อุปจารสมาธิ (ไม่ทราบว่าเรียกถูกหรือเปล่า)ที่ต้องถอยออกมาเพราะว่าเวลาอยู่ในฌาณมันมีแต่ความนิ่ง คิดพิจารณาอะไรไม่ได้เลย พอมาอยู่ในสมาธิระดับที่พอจะคิดอะไรได้แล้ว จึงหันมาพิจารณาถึงความทุกข์ความไม่เที่ยงของชีวิต ตามแนวที่ท่านเจ้าของกระทู้แนะนำไว้ก่อนหน้านี้ก็ยังอยู่ในขั้นคิดพิจารณาไปเรื่อยๆ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทีนี้มาถึงเรื่องที่อยากเรียนถามครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.วิธีการเจริญด้านวิปัสสนา คือการเอากำลังของสมาธิเมื่อจิตนิ่งดีแล้ว มาคิดพิจารณา ไตร่ตรอง ให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงในเรื่องของทุกข์ ไตรลักษณ์และความไม่เที่ยงของชีวิต อย่างนั้นใช่ไหมครับ
    <O:p</O:p

    2.วิธีการเจริญวิปัสสนาอย่างที่ผมทำอยู่ตามที่เล่ามาตอนต้น คือไล่ฌานแต่ละระดับไปมาก่อน เพื่อให้กำลังใจอยู่ตัว แล้วถึงย้อนมาพิจารณาเรื่องของทุกข์ สามารถใช้การได้หรือไม่ครับ หรือว่าเจ้าของกระทู้เห็นควรว่าจะแนะนำเพิ่มเติมตรงจุดใด ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
    <O:p
    <O:p
    3.ในระหว่างอยู่ที่อุปจารสมาธิ (ระดับที่พอจะคิด พิจารณาเรื่องราวต่างๆได้) ตอนกำลังคิดพิจารณาเรื่องของทุกข์ต่างๆ ตามแนววิปัสสนา มักจะมีนิมิต (ที่ไม่พึงประสงค์) ต่างๆเข้ามารบกวน ให้ต้องคอยตัดทิ้งอยู่เรื่อยๆ ที่ผ่านมาเคยฝึกอานาปานสติก็ต้องคอยตัดนิมิตต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว เพราะต้องยึดลมหายใจเป็นหลักอย่างเดียว การตัดทิ้งนิมิตระหว่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจเท่าไหร่ แต่บางครั้งมีนิมิตเข้ามามาก (ทั้งภาพต่างๆ เสียงสวดมนต์ เสียงดนตรี กลิ่นหอม กลิ่นเหม็นเน่า ทุกรูปแบบ) จนน่ารำคาญ ต้องคอยตัดทิ้งไปอยู่เรื่อย ไม่เป็นอันคิดพิจารณาเรื่องวิปัสสนากันเลย หนักๆเข้า ผมรำคาญ ต้องใช้วิธีหนีเข้าไปในฌานเสียเลย เพราะนิ่ง เงียบ สงบดี พอหายรำคาญแล้ว จึงถอยออกมาพิจารณาด้านวิปัสสนาต่อ ทำให้การคิดพิจารณาเรื่องต่างๆ ไม่มีความต่อเนื่องเลยครับ บางที่อารมณ์พอจะได้อยู่แล้ว ต้องมาติดๆขัดๆเสียอีก
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นิมิตนี่เป็นเรื่องแปลก บางทีอยากให้มาเหลือเกิน ก็ไม่มาเลย แต่ทีนิมิตที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้อยากรู้อยากเห็นเลย ขยันมากันจริงๆ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผมจะจัดการกับนิมิตที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างไรครับ มีวิธีการควบคุมนิมิตที่ไม่พึงประสงค์บ้างหรือเปล่า เพื่อความราบรื่นของการพิจารณาด้านวิปัสสนาครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำเพื่อประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ ขอขอบคุณครับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2010
  2. ตถาตา.

    ตถาตา. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +30
    มันหลงแล้วครับ นิวรณ์5เกิด อุปกิเลส 10กำลังเล่นงาน ระวังติดฌาณนะครับ
    นิวรณ์ ๕

    อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
    ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
    ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
    ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
    ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
    เพียงใด
    อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
    ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
    มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
    ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
    อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
    กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
    นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
    ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
    อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
    ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
    เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
    ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
    ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
    ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
    หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
    เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
    จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
    ๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
    โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
    เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
    ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
    พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
    ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
    จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
    สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
    เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
    เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
    หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
    ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
    แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
    อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
    ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
    ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
    เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
    เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
    ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
    พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
    วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
    สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
    ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
    จนเสียผลฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2010
  3. budsayamasp

    budsayamasp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +278
    อาจารย์ไม่เข้ามาหลายวันแล้วนะคะ
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ canabichi ครับ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ทางออกที่ว่านี้ มีพื้นฐานจากการนั่งสมาธิและการศึกษาตำรา(หนังสือธรรมะ) ปฏิบัติอยู่หลายวิธี จนในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป ชีวิตถึงจุดที่เป็นทุกข์ และได้รับรู้สภาวะที่กดดันเกินกว่าจะรับได้ จิตใจจึงนึกถึงธรรมะที่เคยศึกษาและปฏิบัติมาในขณะนั้น ผมได้พิจารณาถึงหลักธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสรู้ คือหลัก อริยสัจ 4 คือ
    ทุกข์ หมายถึง ทุกข์จริงๆ
    สมุทัย หมายถึง เหตุให้เกิดทุกข์จริงๆ
    นิโรธ หมายถึง ทางดับทุกข์จริงๆ
    มรรค หมายถึง ไปให้ถึงทางดับทุกข์จริงๆ
    และเมื่อพิจารณาครบ ผมได้พิจารณา โลกธรรม 8 คือ
    มีลาภ มีเสื่อมลาภ
    มียศ มีเสื่อมยศ
    มียกย่อง มีนินทา
    มีทุกข์ มีสุข
    ทันใดนั้น ผมรู้สึกโล่ง สบาย อย่างบอกไม่ถูก จิตได้ยินเสียงเปิดประตูและไก่ขัน(เสียงไพเราะจับใจ) ดวงตาที่กำลังหลับอยู่ได้พบแสงสว่างมากๆ จมูกหายใจโล่งอย่างที่ไม่เคยรู้สึก กายเย็น พอลืมตาขึ้นมาเหมือนไม่ติดขัด ไม่สงสัย ไม่กังวลเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นไปบนโลก<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เป็นผลของวิปัสสนาญาณครับ แต่ว่าอารมณ์นี้ยังไม่เที่ยงนะครับ<o:p></o:p>
    คือยังไม่ใช่อารมณ์ของพระอริยเจ้า ถ้าเป็นอารมณ์ของพระอริยเจ้ามันจะอยู่ตลอดไปครับ<o:p></o:p>
    แต่อันนี้เป็นธรรมปิติของวิปัสสนาญาณ ซึ่งจะทรงตัวอยู่ระยะหนึ่ง แต่จะไม่อยู่ตลอดไป<o:p></o:p>
    ถ้าเรากลับไปคลุกกับกิเลส กับความเร่าร้อนทางจิตใจ อารมณ์นี้ก็จะเสื่อมลงไป<o:p></o:p>
    แต่หากเป็นพระอริยเจ้าแล้ว มันเย็นแค่ไหน เบา โล่ง โปร่งสบายแค่ไหน<o:p></o:p>
    อารมณ์นั้นจะประคองอยู่เองโดยอัตโนมัติ โดยแทบไม่ต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด<o:p></o:p>
    ได้ตลอดเวลา หรือเกือบตลอดเวลา อาจจะมีเคลื่อนบ้างแต่ก็แค่ไม่กี่ขณะจิต<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ให้เราจดจำอารมณ์นั้นเอาไว้ และจะต้องประคองอารมณ์นั้นเอาไว้ให้ได้ตลอดเวลาครับ<o:p></o:p>
    โดยให้เน้นไปที่วิปัสสนา หมั่นพิจารณาในอารมณ์เดิม ที่ทำให้เราเกิดธรรมปิติ<o:p></o:p>
    และหมั่นประคองเอาไว้ โดยเพิ่มระยะเวลาจนสามารถทรงจิตอยู่ในอารมณ์นั้นได้โดยไม่เคลื่อนตลอดไป<o:p></o:p>
    นั่นแหละครับคือ หลักชัยที่เราต้องไปให้ถึง<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    โดยให้เน้นเทียบจิตของเรากับอารมณ์ของสังโยชน์ทั้งสามประการ<o:p></o:p>
    ฝึกจิต ขัดเกลา ชำระล้างจิต ทุกๆวัน จนกระทั่งจิตของเรามีละเอียด ประณีต สะอาด สว่างบริสุทธิ์ สงบ จากสังโยชน์สามข้อแรกให้ได้<o:p></o:p>
    เมื่อนั้นแหละครับ อารมณ์ของการวาง คลาย เบา สบาย ชุ่มเย็น โล่ง แผ่ออก สว่างจากภายใน จะสามารถทรงอยู่ ประคองอยู่ได้ตลอดไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อารมณที่ใช้ในการทำลายสังโยชน์สามข้อแรก มีอยู่สามข้อ<o:p></o:p>
    1.การมีศีล5 บริสุทธิ์ อันเกิดจากหิริโอตัปปะ จากเมตตา จากฌาณ จากธรรมปีติที่ล่อเลี้ยงจิตใจ<o:p></o:p>
    จนจิตใจมีความชุ่มเย็น ละเอียด ประณีตมาก จนทำร้ายใคร เบียดเบียนใครไม่ลง<o:p></o:p>
    -สำหรับปุถุชน ยังมีอารมณ์ที่ฝืนใจในการทรงศีล5<o:p></o:p>
    แต่อารมณ์ของพระอริยเจ้านั้นกลับต้องฝืนใจในการละเมิดศีล5<o:p></o:p>
    หากเรามีอารมณ์นี้ประจำจิตอยู่เสมอ แปลว่าเริ่มเข้าใกล้ความดีแล้วครับ<o:p></o:p>
    -เราจะต้องเจริญจิตให้อยู่ในเมตตา อยู่ในธรมปีติ อยู่ในฌาณ ในกุศลจิต อยู่ให้ได้ตลอดเวลา<o:p></o:p>
    เพราะตราบใดที่เราทรงอยู่ในคุณธรรมเหล่านี้ จิตจะละเมิดศีล5ไม่ลงเองโดยอัตโนมัติ<o:p></o:p>
    -ดังนั้นให้เราประคองที่ใจ ที่จิตของเราให้ดี ให้อยู่ในกุศลเอาไว้เพียงจุดเดียว<o:p></o:p>
    ทั้งกาย วาจา ใจของเรา ก็จะมีความบริสุทธิ์โดยอัตโนมัติตามระดับของจิตเรา<o:p></o:p>
    เป็นการหันมาประคองที่ใจ เน้นมารักษาที่ใจของเราให้บริสุทธิ์เพียงจุดเดียว<o:p></o:p>
    ก็จะทำให้การปฏิบัติมีความง่าย มีความสบายมากขึ้นไปอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.ความเคารพนอบน้อม โอนอ่อน อ่อนโยน ละเอียด ประณีต ต่อคุณพระศรีรัตนตรัย ได้แก่คุณพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆเจ้า อย่างถึงที่สุด<o:p></o:p>
    เรามีความศรัทธา เคารพในพระรัตนตรัย อย่างถึงที่สุดแล้วหรือยัง<o:p></o:p>
    ยังลังเลสงสัยในการปฏิบัติ ผลของการปฏิบัติอีกไหม<o:p></o:p>
    -สิ่งทีเราเห็นจริงไม่จริง การเวียนว่ายตายเกิดมีจริงไหม กรรมกฏของกรรมมีจริงไหม<o:p></o:p>
    พระนิพพานมีสภาวะเป็นอย่างไร อภิญญาฤทธิ์เป็นเรื่องจริงไหม ทำได้จริงไหม<o:p></o:p>
    เราได้คุณธรรมขั้นนั้นขั้นนี้จริงไหม หรือว่าเราคิดไปเอง<o:p></o:p>
    คนอื่น คนนั้น คนนี้ เขาได้ขั้นนั้นขั้นนี้กันจริงไหม<o:p></o:p>
    แต่ว่าศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัยนี้ ก็ไม่ใช่ศรัทธาที่เกิดจากความงมงายเช่นกัน<o:p></o:p>
    ไม่ใช่การบังคับตัวเองให้หลับหูหลับตาเชื่อ<o:p></o:p>
    แต่ต้องเป็นศรัทธาแท้ ที่เกิดจากการได้พิสูจน์พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แล้วเท่านั้น<o:p></o:p>
    หากเราสงสัยในการเวียนว่ายตายเกิด ในกรรมกฏของกรรม เราก็ต้องฝึกให้ญาณทัศนะ ให้ได้ทิพยจักษุญาณ ให้ได้วิชชาสาม<o:p></o:p>
    เพื่อให้สามารถพิสูจน์ จนประจักษ์ แก่ดวงจิตของเราว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องที่ล่ำลือกันมา<o:p></o:p>
    หากเราสงสัยว่าอภิญญามีจริงไหม อิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศมีจริงไหม<o:p></o:p>
    เราก็ต้องฝึกจนประจักษ์แก้จิตของเราเช่นกันว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง ทำได้จริง พิสูจน์ได้จริง<o:p></o:p>
    เมื่อเราพิสูจน์พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ จนประจักษ์แจ้งแก่ดวงจิต สามารถเป็นสักขีพยานในสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งสอนได้แล้ว<o:p></o:p>
    เมื่อนั้นศรัทธาแท้ ที่จะปักแน่น มั่นคงตั้งตรงตั้งมั่น ไม่อาจจะคลอนแคลนได้ จึงจะเกิดขึ้นกับเรา<o:p></o:p>
    -ส่วนความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยนั้น เราสามารถทำเพิ่มได้โดย<o:p></o:p>
    ทุกครั้งที่เรากราบพระ ให้เราตั้งจิตว่า หากพระพุทธเจ้าทรงอยู่ต่อหน้าเราจริงๆ<o:p></o:p>
    เราจะกราบพระองค์ที่เบื้องพระบาทของพระองค์ ด้วยความเคารพนอบน้อม ประณีต นุ่มนวล เพียงใด<o:p></o:p>
    ทุกครั้งที่เรากราบพระ หรือนึกถึงพระ ให้เรากราบพระ และนึกถึงพระด้วยอารมณ์เช่นเดียวกัน<o:p></o:p>
    -และอีกอารมณ์นึงก็คือ พระอริยเจ้าทุกท่าน ทุกพระองค์ พึงเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส<o:p></o:p>
    คือเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า หากเราปรารถนาความเป็นพระอริยเจ้า<o:p></o:p>
    เราจะต้องรู้สึก ต้องเคารพ ต้องนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าเหมือนพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของเรา<o:p></o:p>
    หากยังไม่มีอารมณ์ ไม่มีความรู้สึกที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระบิดาของเรา ที่เรามีความเคารพสูงสุด<o:p></o:p>
    สังโยชน์ข้อที่สอง ก็ไม่อาจจะขาด สลาย ล้างออกไปจากดวงจิตของเราได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.ให้เราพิจารณาเอาไว้เสมอ ว่าเราอาจจะตายได้ตลอดเวลา<o:p></o:p>
    จะด้วยเหตุจากโรคภัยไข้เจ็บก็ดี อุบัติเหตุก็ดี ภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ดี หรือการตายตามธรรมชาติก็ดี<o:p></o:p>
    ก็ล้วนสามารถจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิตที่เรามีลมหายใจ<o:p></o:p>
    เราจะต้องไม่มีความกลัว ไม่มีความหวั่นไหวต่อความตาย<o:p></o:p>
    เพราะว่าชีวิตไม่เที่ยง ร่างกายไม่เที่ยง สภาพแวดล้อมไม่เที่ยง แต่ความตายเที่ยง<o:p></o:p>
    อารมณ์ใจนี้เป็นอารมณ์ใจที่มีความเบา สบาย โล่ง ไม่หดหู่ ไม่ตื่นตระหนก ไม่เคร่งครียด<o:p></o:p>
    เพราะว่าเรารู้ว่าเมื่อเราตาย ร่างกายมันตาย แต่จิตเราไม่ตาย จิตเราจะต้องเดินทางไปยังภพภูมิต่อไป<o:p></o:p>
    แต่เราจะมีสุคติภูมิเป็นที่ไป เพราะว่า เรามีศีล5อันเกิดจากเมตตา และเรามีความเคารพในพระรัตนตรัย<o:p></o:p>
    เมื่อเรามีความเคารพในพระรัตนตรัย เราก็ต้องตั้งใจว่า พระพุทธองค์ประทับอยู่บนพระนิพพาน ณขณะนี้ ถ้าเราตายเมื่อไหร่<o:p></o:p>
    เราจะไปอยู่กับพระองค์บนพระนิพพานเท่านั้น ที่อื่นไม่ไป<o:p></o:p>
    พระนิพพานจะมีสภาวะอย่างไร ถ้าเรารู้ก็ดี หรือถึงไม่รู้ก็ไม่เป็นไร<o:p></o:p>
    แต่ถ้าตายเมื่อไหร่เราจะไปอยู่กับพระพุทธเจ้าเท่านั้น เกาะพระรัตนตรัยเป็นสรณะยามที่ตาย<o:p></o:p>
    พระท่านอยู่ที่ไหน ตายแล้วเราก็ไปที่นั่น<o:p></o:p>
    หากเราพิจารณาเอาไว้แบบนี้ทุกขณะ เราจะเกิดความเบาสบาย ความโล่ง ความอิ่มใจ ความรู้สึกปลอดภัยว่าเรามีสุคติเป็นที่ไปอย่างแน่นอน ความไม่ประมาทต่อชีวิต<o:p></o:p>
    ความไม่ประมาทต่อชีวิต คือการที่เราเตรียมตัวว่าเมื่อตายแล้วเราจะไปที่ใด<o:p></o:p>
    เมื่อเราเห็นสมบัติกองโตวางอยู่บนปลายทางที่เรากำลังเดินไป เราย่อมไม่เกิดความหวาดกลัวในหนทางที่เราเดินฉันใด<o:p></o:p>
    เมื่อเราเห็นทิพยสมบัติ เทวสมบัติ พรหมสมบัติ อริยสมบัติรอคอยเราอยู่เมื่อยามตาย เราก็ย่อมปราศจากความกลัวตายเช่นกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเรามีอารมณ์สามข้อนี้ทรงตัว ไม่เคลื่อนไปจากจิตของเรา เราจะมีอารมณ์จิตที่ชุ่มเย็น โล่ง โปร่ง เบาสบาย อิ่มเอิบ เบิกบานใจ อยู่ทุกขณะจิต ไม่เคลื่อน ไม่เสื่อม ไม่หวั่นไหว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปฏิบัตินั้นเราไม่ต้องคอยคิดว่า เราถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ชั้นนี้ชั้นนั้น<o:p></o:p>
    ให้ดูที่สังโยชน์ ดูที่อารมณ์จิต ดูที่ความสบายใจของเราเป็นสำคัญ<o:p></o:p>
    ถ้าเราฝึกถึงขั้นที่เรามีความสุขใจ ความเบิกบานใจ ความยิ้มแย้มในจิตใจได้ตลอดเวลา<o:p></o:p>
    เมื่อนั้นแหละครับ เราเริ่มจะดีแล้วครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้มีอารมณ์จิตที่มีแต่ความสุขกายสุขใจ อิ่มเอิบกาย อิ่มเอิบใจ ได้ตลอดไป ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ได้ด้วยพระพุทธบารมีของพระพุทธองค์ด้วยเทอญ
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ olelovedog ครับ

    สวัสดีครับ ผมมีปัญหาในการฝึกสมาธิดังนี้ครับ
    เมื่อผมนั่งสมาธิไปได้สักระยะหนึ่งแล้วพอจิตเหมือนจะเริ่มสงบแต่ไม่รู้ทำไมทุกครั้งรู้สึกเหมือนว่าตัวเองหลับครับ แล้วก็หาคำตอบไม่ได้ว่านั่นเราหลับจริงหรือว่าเป็นอาการของสมาธิ
    รบกวนช่วยตอบด้วยครับผม

    เป็นอาการของสมาธิครับ จะคล้ายๆกึ่งหลับกึ่งตื่น จิตจะเบาโปร่งโล่งสบาย จิตจะมีสติอยู่บ้าง แต่บังคับอะไรไม่ได้
    ซึ่งเกิดจากการที่จิตของเรายังไม่ชินกับอารมณ์นี้ครับ แต่เราทำซ้ำเรื่อยๆ เดี้ยวก็จะรู้สึกว่าประคองได้ ควบคุมได้ มีสติมากขึ้นเองครับ
    ให้เราอธิษฐานปักหมุดเอาไว้ด้วยนะครับ ก่อนจะออกจากสมาธิ
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งอารมณ์นี้ได้ทุกครั้งทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกขณะจิต ที่ต้องการตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    ย้ำไปสามครั้ง

    ให้เน้นฝึกมโนมยิทธิและตัดเข้าพระนิพพานเลยนะครับ
    สังโยชน์สาม สังโยชน์สิบตัดซ้ำไปซ้ำมา ตัดร่างกาย ตัดขันธ์5 ให้ใจคลาย วาง เบา จากอารมณ์ที่เป็นห่วงที่อาลัยร่างกาย จากภาระทางกายทางใจ
    กราบพระให้ถึงพระทุกคืน ด้วยความนอบน้อมอย่างถึงที่สุด
    ตั้งใจมั่นว่า ตายเมื่อไหร่เรามีพระนิพพานเป็นที่ไปเพียงจุดเดียวเท่านั้น
    ที่อื่นใดนอกจากพระนิพพานเราไม่ปรารถนา
    ให้ขอบารมีพระท่าน ขอให้ได้สัมผัสอารมณ์พระนิพพาน ว่ามีความสุข ชุ่มเย็นประการใดด้วยเทอญ
    และสัมผัสอารมณ์แช่เอาไว้แบบนั้น จดจำเอาไว้ อธิษฐานปักหมุดในอารมณ์นั้นเอาไว้
    สัมผัสจนหลับไปทุกคืน ตายเมื่อไหร่ไปถึงพระนิพพานแน่นอนครับ
    ขัดเกลา จิต ทำกายเราให้เป็นพระวิสุทธิเทพให้ได้ ทรงภาพพระเอาไว้อย่าให้เคลื่อนไปจากจิต
    เมื่อเราได้เพชร และความเป็นเพชรมาแล้ว ก็ต้องรักษาเพชรนั้นเอาไว้ให้ได้ตลอดไปครับ

    ขอให้ระลึกถึงความดี มีพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ มรณานุสติ อุปสมานุสติกรรมฐาน ให้ตราตึง ให้เป็นสรณะเป็นที่พึ่ง ให้แนบแน่นกับดวงจิต ได้ทุกครั้งทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกชั่วขณะจิตตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ตอบคำถามที่มีคนส่งเข้ามาครับ

    การทำ การปฏิบัติเพราะเป็นพันธสัญญา การผูกมัด หรือกฏเกณฑ์ คือการบีบตัวเอง บังคับ ฝืนใจตัวเอง พอมากเข้าๆ ก็อารมณ์หนัก
    การปฏิบัติให้เน้นที่คุณภาพของใจ ไม่เน้นที่เวลาครับ
    สวดมนต์ด้วยใจสบาย เบิกบานมีความสุข สบาย ชุ่มเย็น เพียงครั้งเดียว
    มีค่ามีอานิสงค์สุงกว่าการสวดมนต์ที่ใจไม่สบาย ที่บีบคั้น ที่เร่งสวด ที่ขัดข้องใจนับร้อยนับพันครั้ง

    วิบากกายใช้เวลา และแก้ไขได้ไม่ง่าย แต่วิบากใจสามารถแก้ไขได้เพียงพลิกจิต ปรับจิตให้อยู่ในอารมณ์ในกำลังใจที่ถูกต้อง
    เมื่อวิบากใจหายไปแล้ว วิบากกายก็แทบไม่มีความหมาย หรือไม่ส่งผลกับใจ
    ใจเป็นใหญ่ แก้ที่ใจได้ ทุกอย่างก็แก้ได้
    แก้ที่กายได้ แต่ใจยังไม่แก้ เดี้ยวมันก็กลับมาใหม่
    เรามาถูกทางแล้ว แก้ที่ใจ แก้ใจให้สบาย ให้ผ่อนคลาย ให้มีรอยยิ้มมีความอิ่มใจ ความสุข ความชุ่มชื่น ความเบิกบาน
    ไม่ฝืนใจ ไม่บังคับใจ ไม่เร่งรัดใจ
    วิบากอื่นใดก็จักสลายหายไปได้อย่างรวดเร็ว

    ปีติและความดีใจไม่ใช่กิเลส เป็นสิ่งที่ควรรักษาเอาไว้
    แต่ความอยากเห็นอีก อยากได้ขั้นนั้นขั้นนี้คือกิเลสครับ
    ซึ่งจะทำให้เราไม่เห็นอีก จึงเครียด
    เราต้องตั้งใจว่า ความก้าวหน้าอยู่ที่ความสบายของใจ
    จะเห็นอะไรไม่สำคัญเท่า เห็นความสบายใจ เห็นรอยยิ้มในใจของเราเอง
    ตราบใดที่เรายังไม่เห็นตัวเองยิ้ม จะเห็นสิ่งอื่นใดก็ไม่มีความสำคัญ
    ที่ไม่สำคัญเพราะ ทำให้เรามีความสุข มีความสบายใจ มีความอิ่มใจไม่ได้

    ถ้าวันนี้เราเห็นตัวเองยิ้ม เห็นรอยยิ้ม ความสบายใจของเราเอง
    นั่นแหละครับคือความก้าวหน้า
    ถ้าวันนี้เรายิ้มมากกว่าเมื่อวาน นั่นแหละครับ คือเราก้าวหน้าขึ้นทุกวัน

    รักษาใจให้ยิ้ม ใจให้เบิกบาน ใจให้ชุ่มเย็น ใจให้อิ่มเอิบ ใจให้อยู่ในธรรมปีติ ในกุศลจิตเอาไว้เสมอ
    และให้เพิ่มขึ้นมากขึ้น ทุกวัน บอกตัวเองเอาไว้เสมอว่า
    วันนี้เราจะมีความสุขมากกว่าเมื่อวาน
    ทำไปเรื่อยๆ ความสุขก็จะเต็มใจของเรา พอความสุขเต็มใจของเรา
    จิตก็มีแต่กุศล ไม่มีที่ว่างให้กับอกุศลจะจรเข้ามา ก็จะเหลือเพียงแต่ความดี ความสุขในใจของเรา
    นั่นก็คือผลของการปฏิบัติที่สัมผัสได้ชัดเจน ประจักษ์แจ้งแก่ตัวเราเอง
     
  7. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ขอสอบถามความคิดเห็นหน่อยครับ
    หากผมจัดฝึกที่สวนลุม ช่วงวันเสาร์หรืออาทิตย์ จะสนใจมาฝึกกันไหมครับ
    แต่ว่าอาจจะมีเซอไพรส์หน่อยนะครับ สำหรับใครที่เคยมาฝึกและพบผมแล้วจะพอทราบดีครับ
     
  8. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    สำหรับผมแล้วดีมากๆคับ ผมจะได้ เข้ามาฝึกให้วนเีวียนอยู่กับพระนิพพานบ่อยๆ ครับ หลังจากที่ทำแต่งาน เจอแต่โลกี โมหะ โทษะ ราคะ กิเลสต่างๆลุมเล้า แล้วเหมือนกับว่าเรากำลัง ม้วนหลังลงคลองเพราะไม่ได้คลุกคลีอยู่กับ ผู้รู้ กับพระพุทธศาสนา ครับ แล้วถามกลับนะครับ ว่า จะมีใครมาบ้างคับ ทีมงาน ชุดเิดิมรึเปล่าคับ อีกอย่างนึง ผมก็อยากเป็นสตาร์ฟเหมือนกันนะถึงจะฝึกยังไม่ถึงไหนก็ตาม แต่อาจจะทำได้ไม่เต็มที่ครับ เพราะ อยู่ไกล และได้วันเดียวคือวันอาทิตย์ครับ เพราะวันเสาร์ต้องทำงานคับ
     
  9. ตถาตา.

    ตถาตา. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +30
    อยากฝึกครับ ขอถามหน่อยนะครับ ทุกท่านส่วนมากนั่งสมาธิตอนไหนกันครับ ช่วงเช้า หรือช่วงเย็นหรือ กลางคืน และคิดว่าช่วงไหนเหมาะที่สุดครับ ส่วนตัวอยากนั่งช่วงกลางคืนสักเที่ยงคืนขึ้นไปเพราะเห็นว่ามันเงียบดี แต่ใจมันบอกว่าไม่กลัวหรือ ผมนั่งคนเดียวที่บ้านครับไม่เคยไปนั่งเป็นหมู่คณะ แต่ก็ไม่ไปถึงไหนเพราะไม่มีคนสอนอาศัยอ่านจากหนังสือแล้วฝึกเอา อยากฝึกนั่งกลางป่าช้าบ้างแต่คงไม่ไหวเพราะกลัวจิตเตลิด จริงอยู่ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ใจเป็นใหญ่แต่มันก็ต้องเริ่มจาก 0 ก่อน ไม่อยางลองของสักเท่าไร
     
  10. vantana

    vantana Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +31
    อยากได้คำแนะนำคะ คือดิฉันเพิ่งฝึกนั่งสมาธิ แต่ดิฉันเป็นคนขี้กลัวคะ กลัวสารพัดคะกลัวเห็นนิมิต กลัวผี ดิฉันก็เลยตัดความกลัวโดยลืมตานั่งสมาธิ
    แรกๆก็ใช้เวลานานกว่าจิตจะสงบ มีอยู่ครั้งหนึ่งดิฉันนั่งดูลมหายใจเข้าออก และภาวนาพุทโธ ประมาณครึ่งชม. ตาเริ่มพร่ามัวและพื้นขยายใหญ่ขึ้น พอกลับมาดูลมหายใจ ปรากฎว่าลมหายใจหายไป และไม่มีความรู้สึกถึงกาย แต่ความที่นั่งลืมตาก็มองดูตัวเอง ก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ไม่รู้สึกว่ามีกาย ดิฉันตกใจกลัว เลยออกจากสมาธิ
    และอีกหลายครั้งต่อมาดิฉันก็ได้จิตสงบอีกเรื่อย ๆทิ้งคำภาวนาและมีอาการต่างๆ เช่น ขนลุกทั้งตัว ตัวลอยขึ้นลง บางครั้งใจวูบเหมือนตกจากที่สูง
    มาระยะหลังๆไม่มีอาการเหล่านี้ เพียงแต่ทิ้งคำภาวนา และจิตก็รวมวูบ กายใจโล่งสบาย และนิ่งอยู่ในสมาธิ ลมหายใจเบามาก และปัจจุบันก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ คือเวลาจิตสงบนิ่ง แล้วดิฉันไม่รู้จะทำอะไรต่อดี เลยอยากจะถามว่าลืมตาทำสมาธิจะก้าวหน้าไหมคะ
    แล้วตั้งแต่นั่งมาก็ไม่เคยมีนิมิต (จริงๆก็ไม่อยากให้มี) ดิฉันอยากจะได้คำแนะนำ ถ้าจิตสงบอย่างนี้แล้วควรจะทำต่ออย่างไรคะ
     
  11. LOCOMOTIVE

    LOCOMOTIVE สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +21
    กำจัดความง่วงยังไง

    จะกำจัดความง่วงก่อนเริ่มทำและขณะทำกรรมฐานได้ยังไงครับ ขอบคุณครับ
     
  12. CHOTIYA

    CHOTIYA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +359
    เคยฝึกมโนมยิทธิมาตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังอยู่ ทำไมเราเห็นไม่เหมือนเขาวิมานพระอินทร์เขาเห็นเป็นศาลาทรงไทยธรรมดา เราเห็นเป็นจตุรมุขประดับด้วยรัตนมณีโชติช่วงใหญ่โตมหึมา แท่นศิลาอาสน์เขาเห็นกันเป็นก้อนหินธรรมดา เราเห็นเป็นแก้วอำพันปิดทองร่องชาดประดับอัญมณีแวววาว พระเกตุแก้วจุฬามณีเขาเห็นเป็นเจดีย์แก้วทรงโอคว่ำ เราเห็นเป็นพระบรมธาตุย่อมุมไม้สิบสองเป็นเพชรแสงสว่าเมลืองมลางไปไม่มีประมาณ พระเกศาธาตุเห็นเป็นแก้ว เราเห็นเป็นผมดำขลับฉัพพันธรังสีโชติช่วง ท้าวเวสสุวัณเขาเห็นเป็นยักษ์ เรากลับเห็นเป็นบุรุษกลางคนทรงชุดขาวพนมมืพาดพลองไว้บนแขน ทรงม้า นางฟ้าเขาเห็นนุ่งผ้าไม่ใส่เสื้อ เราเห็นแต่งกายหลายแบบแสนจะเรียบร้อยสวยงามฯลฯ ทำไมเห็นไม่เหมือนกะเขา เลยเข้ากลุ่มกะเขาไม่ได้ไปแย้งเขาหมด เลยทิ้ง มาเล่นสติมันสนุกไปอีกอย่าง ช่วยตอบที
     
  13. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ อุมาเทวี ครับ

    ขอถามค่ะ
    เคยฝึกแบบ ยุบหนอ พองหนอ มาก่อนนี้แล้ว แต่มีผู้แนะนำให้ใช้คำภาวนา พุท โธก็เลยเปลี่ยนคำภาวนา

    ตอนนี้สนใจอยากจะฝึก มโนมยิทธิ ก็เลยลองทำเองที่บ้าน

    ใช้คำภาวนา พุท โธ และจับภาพพระพุทธรูป ลืมตาและหลับตาสลับกันไป
    สักพักก็เกิดอาการ ตัวโยกไปมา แต่ก็ยังภาวนาอยู่ (ตัวโยกทั้ง ๆ ที่ลืมตา)
    ซึ่งเมื่อก่อนเคยเกิดอาการตัวโยกตอนที่หลับตา คำถามคือควรทำอย่างไรต่อไปคะ

    และอีกอย่างคือก่อนนอนก็จะนอนสมาธิไปด้วย แต่มีความรู้สึกว่าเหมือนตัวเองไม่ได้หลับเลยทั้งคืน รู้ตัวตลอด แต่ก็เหมือนว่าร่างกายเราได้ออกไปที่นั่นที่ตลอด บางคืนก็เหมือนไปเจออะไรร้าย ๆ บางคืนก็เหมือนตัวเองกลับไปเยี่ยมญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว บ่อยมาก
    พอตอนเช้ามาก็ไม่มีอะไร ไม่มีอาการเพลียเลย ปกติทุกครั้งแต่เหมือนไม่ได้ฝันนะคะ เสมือนจริงมาก ต่างจากเมื่อก่อนที่ไม่เคยภาวนาก่อนนอนก็จะรู้ว่าฝันค่ะ

    เพราะอะไรคะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ และตั้งใจจะไปฝึกมโนมยิทธิให้ได้ ขอคำแนะนำด้วยค่ะควรไปฝึกที่ใดดี

    ในส่วนของมโนมยิทธินั้น ให้เราลองไปฝึกที่ซอยสายลม หรือว่าศูนย์พุทธศรัทธาดูครับ
    การฝึกโดยไม่มีครูอาจารย์นำให้นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากครับ

    ตอนนี้ให้เราเน้นทรงภาพพระพุทธรูป ให้เห็นเป็นเพชร เห็นท่านแย้มยิ้ม ให้ใจของเรารู้สึกอิ่มเอิบยิ้มแย้มตามพระท่าน
    เวลาทรงภาพพระ ให้กายของเรามีความผ่อนคลาย ผ่อนคลายจากความรู้สึก จากอาการทางกาย
    ประสาทความรู้สึก ที่แขนที่ขา ที่ลำตัวท่อนล่าง ท่อนบนของเรา ให้ผ่อนคลาย ทำใจให้รู้สึกเบาจากน้ำหนัก จากความหนักของร่างกาย
    ให้ภาพพระที่เราทรงอยู่นึกให้เปลี่ยนจากสีทองเหลือง ค่อยๆกลายเป็นเนื้อสีขาว
    เมื่อภาพพระเปลี่ยนเป็นเนื้อสีขาว ใจเราจะรู้สึกสบายขึ้น ภาพพระท่านจะยิ้มแย้มมากขึ้น ลมหายใจจะไหลลื่นเบาสบาย ร่างกายจะผ่อนคลายมากขึ้น
    จากนั้นนึกให้ภาพพระเปลี่ยนจากเนื้อสีขาวนวล ให้เปลี่ยนเป็นเนื้อแก้ว
    มีความใสสว่าง สะอาด บริสุทธิ์ เกลี้ยงเกลาทั้งองค์พระ
    ลมหายใจ ร่างกาย จิตใจ มีความเบาสบาย ผ่อนคลาย มีความสุขมากขึ้น ใจเราก้ยิ้มแย้มมากขึ้น
    จากนั้นนึกให้ภาพพระเปลี่ยนเป็นเนื้อเพชร ใส ใสว่าง มีประกายละเอียดสว่างระยิบระยับไปทั่วทั้งองค์พระ
    เห้นภาพพระเป็นเนื้อเพชร กาย ใจ จิต ของเราก็ใสว่างเป็นเพชรดุจภาพพระ
    ใจของเราเอิบอิ่มเบิกบานแย้มยิ้ม ดั่งภาพพระที่เรามองเห็น
    ลมหายใจมีความเบา สบาย ราบรื่น สงบระงับ นิ่ง หยุด
    ร่างกายมีความผ่อนคลาย เบาจากความรู้สึกทางร่างกาย คล้ายกับร่างกายไมมีน้ำหนัก ไม่มีความรู้สึกทางร่างกายเหลืออยู่
    ใจ ปราศจากความคิด ปราศจากความวุ่นวาย ความฟุ้งซ่าน เหลือเพียงแต่ภาพพระในใจที่แย้มยิ้มของเรา
    จิต มีความสบาย สว่างเป็นเพชร เบาจากความรู้สึกของร่างกาย สะอาดบริสุทธิ์

    ประคองใจของเราเอาไว้กับภาพพระ เนื้อเพชร แย้มยิ้ม เอิบอิ่ม
    จากนั้นให้เราอธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้าสามารถระลึก นึกถึง ทรงภาพพระพุทธเจ้า ให้เป็นเพชร ด้วยอารมณืใจแบบนี้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    ประคองใจอยู่ในความสบาย อยู่ในความสุขจากการทรงภาพพระเป็นเพชร จากความผ่อนคลายจากร่างกาย จากความคิด

    ประคองใจเอาไว้แบบนี้ให้ได้ตลอดเวลา ให้ได้ทุกครั้งที่เราต้องการตลอดทั้งวัน
    ยิ่งสามารถทรงภาพพระได้นานเท่าไหร่ ได้เป็นระยะเวลามากเท่าไหร่ในหนึ่งวัน ก็ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น

    ขอให้สามารถเข้าถึงซึ่งอารมณ์สบาย ความผ่อนคลาย ความยิ้มแย้ม เบิกบาน ที่เกิดจากการทรงภาพพระเป็นเพชร ได้โดยง่าดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ได้ตลอดไปตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  14. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ รักในหลวง ครับ

    เดือน1แล้วครับที่ผมฝึกสมาธิไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไหร่เลยเฮะๆ
    ผมอยากจะถามว่า
    ปกติผมนั่งสมาธิวันละ10-15นาที มันน้อยไปหรือป่าวควรนั่งให้นานกว่านี้ดีไหมสัก1ช.ม.
    แล้วจับลม3ฐานอ่าเอาสติไปไว้ที่ฐานของลมทั้ง3 หรือ เอาสติไปไว้ที่ฐานเดียวเเล้วรอจิตนิ่งมันจึงจะครบ3ฐาน และทำสมาธิในห้องที่เเคบๆอากาศถ่ายเทไม่สะดวกปิดหน้าต่างด้วยมันมีผลต่อการทำสมาธิไม่ได้หรือไม่<!-- google_ad_section_end -->

    สมาธิ หากหวังจะก้าวหน้าจริงๆ ให้เน้นทำสบายๆ ประคองเอาไว้สบายๆ ตลอดเวลา ตลอดทั้งวันครับ
    โดยให้เราพิจารณาว่า ในหนึ่งวันเราหายใจตลอด24ชั่วโมง
    เราไปรู้มันเมื่อไหร่ จิตเราเป็นสมาธิเมื่อนั้น ถ้าไม่รู้ไม่ประคองสมาธิ เราก็หายใจทิ้งไปเปล่าๆไม่รู้กี่ครั้ง
    วันนึงมี24ชั่วโมง เราฝึกวันละ 10-15 นาที อีก23 ชั่วโมง 45 นาที จิตเราไม่อยู่ในสมาธิ
    แล้ว10-15 นาที จิตเรานิ่งเป็นเนื้อสมาธิจริงๆกี่นาที เท่ากับวันนึงเราได้ฝึกแค่กี่นาทีต่อวันครับ
    พอจะเห็นภาพไหมครับ
    เราต้องตั้งเป้าก่อนครับว่า เราปรารถนาอะไรจากสมาธิบ้าง
    ความสงบพักผ่อนตามโอกาส ญาณทัศนะ อภิญญา หรือมรรคผลนิพพาน
    หากเราปรารถนามรรคผลนิพพาน ต้องเล่นกันทั้งวันครับ

    แต่ก็ไม่ใช่ว่าคราวนี้เราเคร่งเครียด ตั้งใจทำมันทั้งวัน อย่างเอาจริงเอาจัง
    ไม่ได้เช่นกันครับ เพราะอารมณ์หนักไป บีบคั้นจิตใจเกินไป
    ให้เราตั้งใจว่า เราจะประคองใจของเรา ให้ลมหายใจมีความราบรื่น ไหลลื่น เบาสบาย ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    กายผ่อนคลาย อยู่ในอิริยาบถที่สบาย ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    จิต ประคองอยู่ในอารมรืที่สบาย พักผ่อนจากความคิด อยู่กับความนิ่ง ความสบายของลมหายใจ

    เราก็ทำสบายๆ ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องตั้งท่า ตั้งอิริยาบถ ทำได้ทุกอิริยาบถ
    แล้วการที่เราทำได้ทุกอิริยาบถ ก็เท่ากับเราทรงอยู่ในสติปัฏฐาน4 คือมีสติระลึกถึงลมหายใจได้ตลอดในทุกๆอิริยาบถ ทุกเวลา ทุกสถานที่ ตลอดทั้งวัน

    ในส่วนของลมหายใจนั้น ให้มาจับลมสบายตลอดสายเลยครับ
    คือให้เรานึก จินตนาการ ทำความรู้สึก ว่าลมหายใจของเราเป็นเส้นแพรวไหม สีขาว ใส สว่าง ที่พริ้วผ่านเข้ามา
    ด้วยความนุ่มนวล ด้วยความลื่นไหล ด้วยความเบาสบาย เข้ามาในร่างกายของเรา
    ตั้งแต่จมูก ผ่านลำคอ อก ท้อง แล้วก็พริ้วผ่านออกไป ไหลผ่านตลอดทุกส่วนในร่างกาย
    พริ้วเข้าพริ้วออก ต่อเนื่อง ลื่นไหล ไม่ติดขัด ไม่สิ้นสุด
    ลมหายใจจะมีความสบาย ร่างกายก็ผ่อนคลายเบาสบาย จิตใจก็ผ่อนคลาย เอิบอิ่ม ชุ่มเย็น เบาสบาย
    เราก็ทรงลมหายใจให้ไหลลื่นให้ได้ตลอดเวลา
    หรือหยุดไป นิ่งไป พักผ่อน ปราศจากความคิด สงบระงับ อยู่สม่ำเสมอ ตลอดเวลา

    ความราบรื่นของลมหายใจ สภาวะของร่างกาย สภาวะของจิตใจ อารมณ์ใจณขณะนั้น ความถ่ายเทของอากาศ สภาพแวดล้อมของเราก็ล้วนมีผลกับสมาธิเช่นกัน
    ดังนั้นเราควรจะจัด สภาพแวดล้อมทั้งหมด ปัจจัยทั้งหมด ให้เหมาะสมกับการเจริญสมาธิของเรา
    ถ้าเรามีความชำนาญในการทรงสมาธิแล้ว ปัจจัยเหล่านี้ก็จะส่งผลน้อยลงๆ ตามความชินในอารมณ์สมาธิของเรา
    แต่ในขั้นต้น เราควรจัดสภาพแวดล้อมให้ดีพอสมควร
    ความถ่ายเทของอากาศมีผลแน่นอน เพราะถ้าไม่มีอากาศที่พัดไปพัดมา ก็ขาดออกซิเจน
    การหายใจของเราก็จะติดขัดตามไปด้วย หรือหากอากาศมีความสกปรก มีเชื้อโรค หรือเป็นพิษ
    อากาศที่ไม่ถ่ายเท ก็มีพิษของสารคาร์บอนไดออกไซด์ที่ค้าง
    การฝึกสมาธิ ตามป่าตามเขา จึงง่ายกว่า เพราะว่าอากาศมีความบริสุทธิ์ คลื่นจิต หรือสภาพแวดล้อมมีความบริสุทธิ์
    จิตก็สงบระงับได้ง่าย

    ลองนำไปปรับใช้ดูตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสมครับ

    ขอให้สามารถประคองลมสบาย ลมหายใจที่มีความเบาสบาย ลื่นไหล พริ้วไหว ต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด กายผ่อนคลาย ใจผ่อนคลาย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่ต้องการ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยบารมีของพระพุทธองค์ด้วยเทอญ
     
  15. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ ชวนพิชฌ์ ครับ

    ลองไปฝึกที่บ้านซอยสายลมดูครับ
    มีฝึกมโนมยิทธิ ทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน
    ส่วนการฝึกในกลุ่มของเรา หากมีเมื่อไหร่ ผมจะเอามาลงให้เรื่อยๆครับ

    [​IMG]


    นั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีรถไฟฟ้าซอยอารีย์ จากนั้นก็เดินไป หรือต่อรถแท็กซี่ ไปก็ได้ครับ
    ลองดูครับ
     
  16. CHOTIYA

    CHOTIYA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +359
    ไม่ได้จินตนาการ เวลาครูนำให้ไปดูอะไรภาพมันก็ปรากฏให้เห็นปั๊บเลย
     
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Dharmma T-<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:place>PO</st1:place> ครับ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    ขอตั้งคำถามนะครับ

    ตอนนี้ผมเริ่มปฏิบัติต่อรู้สึกว่าเป็นสมาธิเร็วขึ้น ผมใช้อานาปาณสติ กำหนดลมหายใจพุท-โธได้สักพัก รู้สึกหวืบครับแล้วก็รู้สึกว่ามันช่างสบายจังครับ รู้สึกว่าตัวหายไป ลมหายใจก็เบามาก นั่งไปเรื่อยๆ เหมือนว่าจะหลับ ครับ แล้วซักพักพอประคองจิตกลับมาได้ คราวนี้รู้สึกว่าจิตเราไม่สนใจอะไรรอบข้างเลยครับ เสียงก็ไม่สนใจ อยู่อย่างนั้น คราวนี้ผมก็มาคิดว่าอยากลองเจริญวิปัสนาดูครับ แต่ก็ไม่รู้จะใช้อะไรมาพิจารณา (อยากให้คุณ Xorce ช่วยแนะนำครับ) แต่ตอนนั้นผมลองพิจารณาไตรลักษณ์ โดยพิจารณา ในการที่ผมเริ่มมานั่งอยู่ตรงนี้(เป็นการเกิดขึ้น) พอนั่งอยู่ก็เป็น(ตั้งอยู่) แล้วพอเราลุกขึ้นก็เป็น(ดับไป ) พิจารณาอย่างนี้ ครับพอออกจากสมาธิก็รู้สึกหดหู่ครับแต่ป็นไม่นานความหดหู่ก็หายไป

    1.
    ผมควรพิจารณาหรือยังครับแล้วควรพิจารณาเรื่องอะไร<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เวลาพิจารณาเราพิจารณาธรรมะได้หลากหลายรูปแบบ จับได้หลายอย่างครับ<o:p></o:p>
    แต่เรามาดูดีกว่าว่า อารมณ์ที่ควรจะต้องเกิดขึ้นหลังการพิจารณาเป็นอย่างไร<o:p></o:p>
    เมื่อพิจารณาแล้ว ใจของเราจะเกิดความแช่มชื่น เบิกบาน ชุ่มชื่นชุ่มเย็น <o:p></o:p>
    อิ่มเอิบใจ จิตเบา คลาย คลายจากการจับ การดึงรั้งสิ่งต่างๆเอาไว้กับจิต <o:p></o:p>
    จิตสว่างไสว สะอาดจากความหม่นหมองของจิต<o:p></o:p>
    จิตวาง เห็นว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อมันเป็นเรื่องธรรมดา เราก็ไม่ควรจะหนักใจกับมัน<o:p></o:p>
    จิตไม่ฝืน ไม่ค้าน ไม่ต้านกระแสโลก แต่ลอยเบา สบาย อยู่เหนือกระแสโลก<o:p></o:p>
    สภาพความเป็นไปของโลกเป็นอย่างไร เราเข้าใจ เราไม่ฝืน <o:p></o:p>
    แต่เราทำตัวเองให้ลอย เบา เหนือขึ้นมาจนพ้นจากมัน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ไม่ใช่พิจารณาไปแล้ว โอ้โห โลกใบนี้มันช่างหดหู่ มันเซ็งมันน่าเบื่อ โลกมันแย่อะไรขนาดนี้ อยากไปให้พ้นๆจากโลกนี้ซะที<o:p></o:p>
    อันนี้เป็นอารมณ์ที่ผิดครับ<o:p></o:p>
    ถ้ายิ่งพิจารณายิ่งหดหู่แปลว่าไปผิดทางแน่นอนครับ<o:p></o:p>
    ไม่งั้นพระอรหันต์ท่านไม่หดหู่ สุดๆเลยหรอครับ<o:p></o:p>
    แต่ผมเห็นพระอรหันต์ ท่านยิ้มแย้ม ท่านเบิกบาน ท่านมีความสุข ท่านหัวเราะ สบายใจทุกๆท่าน ทุกๆพระองค์ครับ<o:p></o:p>
    แม้แต่พระพุทธรูปยังยิ้มทุกองค์เลยครับ<o:p></o:p>
    ถ้าเราเริ่มจับวิปัสสนา แล้วเริ่มยิ้มไม่ออก เริ่มยิ้มแห้งๆ ใจไม่ยิ้ม แปลว่าเริ่มผิดทิศทางแล้วครับ<o:p></o:p>
    ต้องพิจารณาแล้วใจสบายครับ<o:p></o:p>
    แล้วเวลาเราจะพิจารณาอะไรก็ตามเราต้องมีจุดลงด้วยครับ<o:p></o:p>
    จุดลงก็คือ เราเห็นว่ามันเกิดดับ เกิดดับ แล้วแปลว่าอะไรครับ<o:p></o:p>
    ให้เราลงว่า <o:p></o:p>
    ร่างกายนี้มีความไม่เที่ยงเป็นของธรรมดา ซักวันเราจะต้องตาย ถ้าตายเมื่อไหร่ เราจะไปพระนิพพานเท่านั้น<o:p></o:p>
    พอพิจารณาเสร็จแล้วให้ลงแบบนี้ครับ<o:p></o:p>

    2.
    สมาธิตอนนี้รู้สึกว่าเป็นเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ทราบว่าเป็นฌานหรือยังครับไม่แน่ใจ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เป็นแล้วแน่นอนครับ ลมหายใจเบาสบาย จนดับไป ร่างกายเบาสบาย ผ่อนคลายจนคล้ายไม่รู้สึกถึงน้ำหนักของร่างกาย <o:p></o:p>
    ใจปราศจากความคิดนิ่งสงบ จิต สงบระงับ ประคองอยู่ในความสบาย ความแช่มชื่นของใจ จิตตั้งมั่น รวมตัวเป็นหนึ่ง จิตเห็นจิตของเราได้ชัดเจน<o:p></o:p>

    3.
    ก่อนหน้านี้รู้สึกว่าตัวมันหวิวๆอยู่ทั้งวันเลยครับรู้สึกสบาย ขนาดนอนแกว่งขาอยู่บ้านยังสบายเลยครับ เป็นอยู่ได้3-4วัน พอไปเที่ยวปีใหม่กลับมามันก็หายครับ อาการอย่างนี้เรียกว่า ทรงฌานหรือเปล่าครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เรียกว่าทรงฌาณ และซักพักจิตก็คลายจากฌาณครับ<o:p></o:p>
    4.ถ้าสมมุติว่าคนที่ทรงฌานอยู่ทั้งวันแล้วเกิดโดนรถชนตาย จะได้ไปเกิดเป็นพรหมหรือเปล่าครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ใช่ครับ ถ้าเราตั้งใจเพิ่มอีก ว่า ความเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เราไม่ปรารถนา<o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ใด ตายแล้วเราจะไปที่นั่นเท่านั้น<o:p></o:p>
    ตายเมื่อไหร่จะไปพระนิพพานเท่านั้น ตายขณะนั้นตอนที่ใจตั้งมั่นจริงๆ ถึงแน่นอนครับ<o:p></o:p>

    5.
    ตั้งแต่ฝึกมาเคยเกิดปิติตัวสั่นแค่ครั้งเดียวเองครับผมปกติหรือเปล่าครับ ช่วงหลังมานี้ไม่เคยเกิดเลยครับจะมีก็แต่เห็นภาพอะไรก็ไม่รู้เหมือนว่าแหวกเข้าไปมองน่ะครับ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ปีติ ไม่เกิดถูกแล้วครับ ถ้าจิตใครประคองอยู่ในฌาณ สม่ำเสมอ จะไม่เกิดปีติครับ<o:p></o:p>
    เพราะปีติจะเกิดมากๆในขั้นของอุปจารสมาธิ ถ้าไม่เกิดปีติอีก แปลว่าจิตเราเลยอุปจารสมาธิไปแล้วครับ<o:p></o:p>

    6.
    ผมควรฝึกอย่างไรต่อไปครับ อยากฝึกแบบมโนมยิทธิเหมือนกันครับไม่รู้ว่ามีคอร์สฝึกในช่วงนี้หรือเปล่าครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิสัยแบบคุณนี้ต้องทำให้ได้ทุกอย่างครับ ให้จับให้เป็นทีละอย่าง<o:p></o:p>
    -จับลมสบาย จับอานาปานสติให้ ลมหายใจหยุด เบาจากกาย จิตหยุด ตั้งมั่น เป็นหนึ่ง แบบที่ทำได้แล้วให้คล่อง<o:p></o:p>
    -แล้วหันมาเจริญเมตตาอัปปมาณฌาณ แผ่ความรู้สึกชุ่มเย็นที่เกิดจากสมาธิให้กระจายส่องสว่าง เบิกบาน ชุ่มเย็น อิ่มเอิบ ไปยังทั้งจักรวาล<o:p></o:p>
    -แล้วก็ลองต่อกสิณภาพพระ กับมโนมยิทธิ<o:p></o:p>
    -พอได้ก็ทำอรูปเพิ่ม ให้ครบหลักสูตร<o:p></o:p>
    จากนั้นค่อยเจริญวิปัสสนาญาณด้วยกำลังของมโนมยิทธิ บวกกับอรูปครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตตอนนี้จับมโนมยิทธินิดเดียวก็ได้แล้วครับ ต้องลองหาเวลาไปฝึกดูที่ซอยสายลม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนตอนนี้ที่สวนลุมหากจะมีสอนอาจจะมีอาทิตย์ต้นเดือนของกุมภาพันธ์ครับ<o:p></o:p>
    โดยหากจะมีการฝึกผมจะเป็นคนสอนเองครับ<o:p></o:p>
    แต่มาฝึกครั้งแรกจะต้องทำใจนิดนึงครับ เพราะผมอาจจะไม่เป็นอย่างที่คาดคิดในแง่ของภาพลักษณ์<o:p></o:p>
    ถ้าคนเริ่มรับตรงจุดนี้ได้ ผมอาจจะเริ่มเปิดสอนทุกอาทิตย์ หรือเดือนละสองครั้งครับ<o:p></o:p>
    วิปัสสนาให้จับสังโยชน์สามข้อแรกเป็นหลัก ลองพิจารณาตามที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านแนะนำดูครับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้สามารถสำเร็จตามอธิษฐานที่ได้เคยตั้งจิตเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นพุทธภูมิก็ดี หรือสาวกภูมิก็ดี ได้ตามความปรารถนาด้วยพระบารมีของพระพุทธองค์ด้วยเทอญ
     
  18. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ makoto12 ครับ

    เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อคืนก่อน จิตผมตก คิดเรื่องไม่ดีทำเรื่องไม่ดี มารเลยมาครอบงำหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ ความรู้สึกตอนนั้น รู้สึกถูกทับอยู่แน่น ผมพยายามร้องเรียกให้คนมาช่วยก็ไม่มีเสียงไม่มีใครได้ยิน อ้าปากแต่เสียงไม่ออก ขยับตัวก็ไม่ได้ ไม่ได้หายใจ แรงก็มีแต่ต้านไม่ได้พอฝืนแล้วมันก็เ้ด้งกลับมาอยู่ที่เดิม ในใจไม่รู้สึกกลัวเลย นึกถึงพระ พระท่านก็เปร่งประกายสว่างมากสีขาวนวลๆสีทองหลังจากนั้นผมก็เผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาจำเหตุการได้หมด แต่เหตุการ แบบนี้มันทำให้ผมเกิดความสงสัยขึ้นฝังจิตฝังใจ ทำอย่างไรมันก็ยังกลับมาสงสัยในเรื่องนี้ เพราะเป็นมาครั้งที่3แล้ว ครั้งที่1ครั้งที่2กลัวมากจนไม่กล้านอนห้องตัวเองและไม่ได้นึกถึงพระเลย ครั้งนี้ครั้งที่3ไม่กลัวเลยแม้แต่นิดเดียว

    อาการแบบนี้บางที่ ส่วนมากเขาจะเรียกว่า ผีอำ ครับ
    ลักษณะคล้ายๆแบบนี้ เกิดจากโดนเจ้ากรรมนายเวร หรืออะไรบางอย่างมาแกล้งเราครับ

    ช่วงหลังมันมีอะไรๆมากขึ้นด้วยครับ ในแง่ของการทวงกรรม
    ตั้งแต่ที่เฮติแผ่นดินไหวน่ะครับ พักนี้ค่อนข้างพอสมควร ต้องยึดพระเอาไว้ให้แน่น
    อย่าให้จิตของเราคลาดไปเป็นมิจฉาทิษฐิได้ครับ
    เรามาถึงจุดนี้แล้วตอนนี้ก็คงไม่กลับไปเป็นแบบเก่าครับ
    แต่ถ้าเผลอ มากๆ วิบากมันก็จะเข้ามาแทรกได้ครับ

    ก่อนนอนนะครับ
    ให้เดินจิตแบบนี้
    1.สวดมนต์ไหว้พระตามปกติ เวลาสวด หรือไหว้พระ ให้ทรงภาพพระให้เป็นเพชร ใครได้มโนมยิทธิให้ขึ้นไปข้างบนได้เลยครับ
    2.ขอบารมีพระ แยกอาทิสมานกายของเราออกไปเป็นจำนวนมาก ขอให้ไปทำสิ่งต่างๆตามที่พระท่านมีพุทธประสงค์
    3.ขอให้กายทิพย์ของเราได้ไปพักผ่อนข้างบน ในวิมานของเราเอง มีพระท่านคุ้มครองอยู่
    4.ขออาราธนาบารมีจากทุกๆท่านทุกๆพระองค์บนพระนิพพาน ให้เมตตามาปกป้องคุ้มครองเรา ให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง
    เราเห็นภาพพระวิสุทธิเทพ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์มากมายมหาศาล เสด้จมาห้อมล้อมรอบร่างกายของเรา มีสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าพระองค์เป้นที่สุด ประทับอยู่เหนือร่างของเรา
    มีกำแพงแก้วเจ็ดชั้น ห้อมล้อมทุกทิศทุกทาง มียันต์เกราะเพชรห่อหุ้มร่างเราเอาไว้
    นึกคาถาอะไรออกขออาราธนามาใช้ให้หมดเลยครับ
    เอาปลอดภัยแบบสุดๆ
    5.ใครมีโรคภัยไข้เจ็บก็ขอให้ท่านเมตตาสงเคราะหืให้หายจากโรคนั้นๆ
    6.กำหนดจิต ซักฟอกร่างกายของเราให้เป็นเพชร เห็นอาการ32เป็นเพชร
    ผ่อนคลายความรู้สึกในร่างกาย กล้ามเนื้อ แขนขา ลำตัว ศรีษะทั้งหมด ผ่อนคลายให้เบาสบาย จากน้ำหนัก
    พอร่างกายของเราเบาแล้ว ผ่อนคลายความรู้สึกทางใจให้เบาให้สบาย พักผ่อนจากความคิด จิตสงบ นิ่ง ตั้งมั่น
    7.แผ่เมตตาควบอารมณ์พระนิพพาน ปรารถนาให้ทุกๆดวงจิต ทุกๆสรรพชีวิต มีพระนิพพานเป็นที่สุดได้โดยเร็ว
    หากเราตายคืนนี้เราก็จะไปพระนิพพานเหมือนกัน ที่อื่นไม่ไป
    แล้วก็แผ่เมตตาให้เย็น ให้เบาสบาย อิ่มเอิบ ส่องสว่างเป็นเพชรออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    หากจิตของเราเย็นสบายจากเมตตาอย่างถึงที่สุด ประกอบกับผ่อนคลายจากร่างกาย และขอบารมีพระให้เราได้ออกมาเป็นมโนเต็มกำลัง
    พอจิตเย็น สว่าง อิ่มเอิบถึงที่สุดจากเมตตา เราก็จะออกมาเป็นมโนเต็มกำลังเอง
    โดยจะ
    รู้สึกว่าเบา สบาย ลอยขึ้นๆ จนหลุดออกมา หรือรู้สึกตัวอีกทีก็ออกมาแล้ว

    ถ้าทำแบบนี้ครบ อย่างน้อยข้อ4 ทำได้ตลอด อาการที่เกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นอีกครับ

    ตอนนี้ผมเริ่มกลับมาอารมณ์หนักอีกแล้วคับ ~~; ต้องกลั้นหายใจหรือ อัดลมมันจะช่วยได้สักพัก แต่ก็ไม่ลืมที่จะดูลมและคำภาวะนา นึกได้ก็ภาวนา เลย

    จิตเราเลยจุดนี้ไปแล้วครับ จริงๆให้ขึ้นไปข้างบนก่อนได้เลย แล้วทำสมาธิจากอารมณ์ข้างบน
    จิตจะดิ่งสงบ ตั้งมั่น เบาสบาย ชุ่มเย็น รวมตัวได้เร็วมากครับ
    และอย่าลืมเมตตาครับ ถ้าเลิกทำเมื่อไหร่ อารมณ์หนักแน่นอนต้องพยายามทรงเมตตาเอาไว้ให้ได้ตลอด
    ถ้าอารมณ์หนัก ก็จะทำให้เมตตาแผ่ไม่ออก หรือถ้าแผ่เมตตาไม่ออกอารมณ์ก็จะหนัก

    กับตอนนี้ได้วิธีใหม่แล้วครับ
    หากอารมณ์หนัก ให้เรานั่งหาที่พิงสบายๆ หรือนอนไปเลย
    แล้วทำความรู้สึกว่าเราผ่อนคลายกล้ามเนื้อผ่อนคลายร่างกาย ให้เบาสบาย
    ไล่ทุกส่วนตั้งแต่ ศรีษะ จรดเท้า ให้กล้ามเนื้อทุกมัด เส้นเอ็น ข้อกระดูก ผ่อนคลาย ให้เบา ให้สบายทั้งหมด
    ลมหายใจก็จะราบรื่น ไหลเวียน พริ้วผ่าน ได้ต่อเนื่อง ลื่นไหลเบาสบาย
    จิตก็จะคลายจากอารมณ์หนัก คราวนี้เราก็แผ่เมตตาออกไปเลยครับ
    อารมณ์หนักทั้งหมดก็จะสลายหายไปทันที

    สำหรับผมแล้วดีมากๆคับ ผมจะได้ เข้ามาฝึกให้วนเีวียนอยู่กับพระนิพพานบ่อยๆ ครับ หลังจากที่ทำแต่งาน เจอแต่โลกี โมหะ โทษะ ราคะ กิเลสต่างๆลุมเล้า แล้วเหมือนกับว่าเรากำลัง ม้วนหลังลงคลองเพราะไม่ได้คลุกคลีอยู่กับ ผู้รู้ กับพระพุทธศาสนา ครับ แล้วถามกลับนะครับ ว่า จะมีใครมาบ้างคับ ทีมงาน ชุดเิดิมรึเปล่าคับ อีกอย่างนึง ผมก็อยากเป็นสตาร์ฟเหมือนกันนะถึงจะฝึกยังไม่ถึงไหนก็ตาม แต่อาจจะทำได้ไม่เต็มที่ครับ เพราะ อยู่ไกล และได้วันเดียวคือวันอาทิตย์ครับ เพราะวันเสาร์ต้องทำงานคับ

    จะพยายามให้เป็นวันอาทิตย์ครับ ส่วนทีมงานยังไม่แน่ครับ แต่จะพยายามให้คนใหม่ๆเข้ามามีบทบาท
    เพราะผมจะเริ่มลุยสอนสมาธิกำลังอยากได้ทีมงานเพิ่มเลยครับ
    งานของกลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติจะได้ไปได้เร็วขึ้นครับ
    คุณmakoto ก็มีศักยภาพที่จะเป็นครูได้ แต่ต้องทำตัวเราให้แน่นในสัมมาทิษฐิ ในพระรัตนตรัย ในอารมณ์เมตตา ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกครับ
    อีกหน่อยสอนได้แน่ครับ แต่อดใจไว้ก่อน อีกนิดนึงครับ

    กับจริงๆแล้ว การฝึกเป็นหมู่คณะย่อมดีกว่าการฝึกคนดียวครับ
    เพราะมีกิเลสบางตัว เช่น มานะทิษฐิซึ่งหากเราเจอเข้าแล้ว
    ยากที่เราจะรู้ตัวเองครับ ต้องให้คนรอบข้างบอกเราเท่านั้น
    ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ฝึกโดยไม่มีกัลยาณมิตรอยู่ด้วย จะตายตรงนี้ได้ง่ายครับ
    เช่น หลงว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว หากไม่มีใครมาบอกก็จบครับ
    หรือกลายเป็นทิจฉาทิษฐิ ตีความธรรมะของพระพุทธเจ้าผิด แล้วไม่มีใครมาบอกก็จบเช่นกันครับ
    เพราะถ้ามันหลงว่าตัวเองบรรลุไปแล้วเนี่ย ยากที่จะยอมรับว่าฉันยังไม่บรรลุ

    ดังนั้นผู้ที่รู้ถึงความน่ากลัวของมานะทิษฐิ อย่างถ่องแท้แล้ว จะพยายามทำให้ตัวเองอยู่ใกล้กัลยาณมิตรเข้าไว้ครับ

    เคยมีเรื่องสนุกๆ ที่ผมเคยคุยกันกับเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกันครับ
    เขาบอกว่า โอย เขาเคยเกิดมาเป็นทุกอย่างแล้ว แม้แต่พระโสดาบันก็เคยเป็น
    เพื่อนเขาก็ถามว่า พระโสดาบันเคยเป็นด้วยหรอครับ
    เขาก็บอกว่า เคยสิ เป็นอยู่ตั้ง2อาทิตย์
    เพื่อนเขาก็พูดว่า อ้อ ตอนนี้หายเป็นแล้วใช่ไหมครับ
    เขาก็บอกว่า ตอนนี้หายเป็นแล้ว เป็นอยู่ได้แค่แปปเดียว

    คือเขาหลงว่าบรรลุไปแล้วครับ ใจมันโล่งเบาสบาย ชุ่มเย็น สว่างอย่างไม่น่าเชื่อ
    จนผ่านไป2อาทิตย์ มีกัลยาณมิตรมาเคาะใจเขา เลยหลุดจากอาการหลงมาได้

    เพื่อนเขาก็บอกว่า โอยผมหนักกว่า ผมเคยเป็นมาสามครั้งแล้ว จนตอนนี้เลิกเป็นแล้ว
    ตัวเพื่อนเขาเองก็เคยมีหลงแบบนี้เช่นกันครับ
    เวลามันหลงทีนะครับ โคตรเหมือนจริงเลยครับ ใจมันเย็นเบาสบายบอกไม่ถูก
    แล้วไม่ต้องตั้งใจจะทรงสมาธินะครับ มันจะเย็นค้างตลอดไป ฌาณญาณแจ่มใส แม่นทุกอย่าง
    ดีว่าเพื่อนเขาก็นึกถึงที่หลวงพ่อท่านสอนเอาไว้ครับ
    ถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้ว อารมณ์มันจะไม่เสื่อม
    เพื่อนเขาก็เลยไปดูหนัง ฟังเพลงเต็มที่ จนมันเสื่อม ความเย็นหายไป จึงรู้ว่า
    โอ้ ว่าแล้ว มันยังไม่ได้อะไรจริงๆด้วย
    คำสอนหลวงพ่อช่วยเอาไว้ครับ
    เราต้องไม่ประมาทโดยการเช็ค โดยการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ตรวจสอบจิตอย่าง ที่ทำอยู่นี้ก็ดีแล้วครับ
    เมื่อเจอจุดบกพร่องในใจของเรา ให้เราคลาย สลาย ล้างออกไปให้ได้ ด้วยอารมณ์ของเมตตา ของอรูป ของวิปัสสนาญาณ
    ทำเอาไว้เสมอๆ จนกว่าจะเหลือเพียงแต่ความดี เหลือเพียงแต่กุศลในใจของเรา

    ขอให้ทุกๆดวงจิตตั้งใจปฏิบัติธรรม และถึงมรรคถึงผล ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาตรัสสอนเอาไว้ดีแล้วได้โดยเร็วด้วยเทอญ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010
  19. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ NICKAZ ครับ

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->ขอขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาแนะนำ ผมไม่ทราบหรอกว่าสภาวะที่พบใหม่นั้นมันคืออะไรเห็นท่านเจ้าของกระทู้แนะนำว่ามันเป็นอารมณ์ของอรูปฌาณงั้นเดี๋ยวผมขอกลับไปปฏิบัติทบทวนดูว่าจะเป็นอย่างเจ้าของกระทู้แนะนำไว้หรือเปล่านะครับ
    <O:p</O:p
    อารมณ์อรูปฌาณอย่างที่ผมได้ถามมานั้น ผมไม่ทราบว่าเรียกเป็นบาลีว่าอะไรขั้นไหน ขอเรียกในที่นี้เพื่อความสะดวกก่อนล่ะกันว่าอรูปฌาณนะครับจริงๆแล้วการทำให้ถึงตรงนั้นยังได้แค่บางครั้งเท่านั้น แต่ก็จะพยายามเข้าไปอีกเรื่อยๆ ต้องรอโอกาสให้ร่างกาย จิตใจพร้อม ถึงจะทำได้ แต่ผมก็ไม่ได้หนักใจอะไร เพราะถือว่าเคยเข้าไปแล้ว จำอารมณ์ตอนนั้นได้แล้ว การหาทางเข้าไปอีกก็ไม่ยากนัก

    ตอนนี้ให้เข้าใจว่าเป็นอรูปฌาณ ก็พอแล้วครับ
    <O:p</O:pจริงๆ อารมณ์ของอรูปฌาณ แต่ละขั้นเหมือนกัน ต่างกันเพียงแต่สิ่งที่ถูกสลายหายไปกลายเป็นความว่าง
    คร่าวๆก็
    ขั้นแรก คือ การสลายความยึดจิด ในวัตถุ ใน่รางกาย ในทุกสรรพสิ่ง ให้เหลือแต่ความเวิ้งว้าง ว่างเปล่า สีขาว
    ขั้นสุดท้าย คือ การสลายความทรงจำ สัญญา การหมายรู้ทั้งหมด ว่างจากความทรงจำสัญญาทั้งหมด ถูกล้างออกไป
    <O:p</O:p
    เมื่อก่อนหน้านี้ยังไม่ค่อยได้ฝึกด้านวิปัสสนามากนัก เพราะเน้นในเรื่องสมาธิก่อนเวลาฝึกมโนมยิทธิจึงมีปัญหาว่าไม่ได้ผล เพราะต้องมีการใช้วิปัสสนาควบคู่ไปด้วย หลังๆมาพิจารณา จึงเห็นว่า ตัวผมยังอ่อนในเรื่องวิปัสสนาอยู่ กิเลสความยึดมั่นในขันธ์ 5 ยังมีอยู่เต็มเปี่ยม ตอนอยู่ในฌาณมีอารมณ์นิ่งเพราะอำนาจของฌานยังกดทับกิเลสฝ่ายต่ำไว้ อย่างนี้นี่เองจึงฝึกมโนมยิทธิไม่ได้เสียทีจึงหันมาเน้นด้านวิปัสสนาให้มากขึ้นตามแนวทางที่ท่านเจ้าของกระทู้ได้แนะนำไว้แล้ว อยากจะขอปรึกษาว่าวิธีที่ผมใช้อยู่จะมีความเหมาะสมหรือไม่ หรือมีสิ่งใดจะชี้แนะเพิ่มเติมก็ขอเรียนเชิญด้วยนะครับ

    ฝึกไม่ได้นี่คือ ไปฝึกที่ซอยสายลม ก็ยังไม่ได้ หรือว่าฝึกเองแล้วไม่ได้ครับ
    และการฝึกมโนมยิทธินั้น หากเราเข้าสมาธิลึกไป คือ จิต ดิ่งลึก รวมตัว ร่างกายหายไปเลย
    ก็ฝึกไม่ได้เช่นกันครับ
    ต้องอารมณ์ช่วงอุปจารสมาธิ อารมณ์เบาสบาย แช่มชื่น สว่างไสว ยังคิดได้ ยังรู้สึกตัว ขยับร่างกายได้
    <O:p</O:p
    วิธีการที่ผมใช้ในการเจริญด้านวิปัสสนานั้น เนื่องจากเรื่องฌาณก็ยังไม่คล่องมีได้และเสื่อมฌาณสลับกันไป ตามสภาพของจิตใจและร่างกายในขณะนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการทำสมาธิ ลองไล่กำลังของฌาณดูก่อน เริ่มตั้งแต่ 1 2 3 4 และอรูปฌาณไปเรื่อยๆ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เริ่ม 1 2 3 4 และอรูปฌาณ เป็นขาไป(ตอนนี้ใช้เวลานานหน่อย เพราะเป็นขาขึ้น ต้องใช้กำลังมากพอควรและยังไม่คล่องฌาณครับ)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถอยหลัง อรูปฌาณ มา 4 3 2 1 เป็นขากลับ(ตอนนี้ใช้เวลาไม่เท่าไหร่ แค่ลดกำลังของสมาธิลงเท่านั้น)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทำซ้ำอย่างนี้ ขาไป และถอยหลังลงมาเป็นขากลับ อยู่สัก 1 - 2 รอบหรือจนกว่าจะพอใจ ขั้นนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานถึงนานมาก เพราะผมก็ยังไม่คล่องฌาณคำว่าเป็นนวสียังห่างไกลมาก แค่พยายามจะทำให้ได้เท่านั้นเอง

    เราต้องอธิษฐานปักหมุดในแต่ละขั้นเลยครับ เพื่อเป็นการกำหนดจุดลงบนแผนที่ เวลาเดินทางกลับไปที่เดิมเราจะได้ทำได้เร็ว คล่องยิ่งกว่าเดิม
    เข้าฌาณ1 แล้วก่อนจะไปฌาณ2 ให้อธิษฐานว่า
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งฌาณ1 อารมณ์ใจนี้ๆ จดจำอารมณ์เอาไว้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    อธิษฐานไว้สามครั้ง
    แล้วไปฌาณ2 อธิษฐาน ซ้ำอีกสามครั้ง
    3 4 อรูป อธิฐานย้ำทุกขั้นตอน
    แล้วจดจำอารมณ์ให้ได้ วิธีเข้าฌาณ คือการนึกถึงอารมณืของฌาณ
    นึกถึงอารมณ์นั้นได้เมื่อไหร่จิตจะเป็นฌาณทันที
    ดังนั้นต้องจดจำให้ได้ครับ กินส้ม จนเราจำรสชาติของส้มได้อย่างไร
    ก็เข้าฌาณ จนเราจดจำรสชาติอันอร่อย เย็น ของฌาณให้ได้อย่างนั้น

    หลังจากลองไล่ฌาณเล่นจนพอใจแล้ว จึงถอยสมาธิลงมาที่อุปจารสมาธิ (ไม่ทราบว่าเรียกถูกหรือเปล่า)ที่ต้องถอยออกมาเพราะว่าเวลาอยู่ในฌาณมันมีแต่ความนิ่ง คิดพิจารณาอะไรไม่ได้เลย พอมาอยู่ในสมาธิระดับที่พอจะคิดอะไรได้แล้ว จึงหันมาพิจารณาถึงความทุกข์ความไม่เที่ยงของชีวิต ตามแนวที่ท่านเจ้าของกระทู้แนะนำไว้ก่อนหน้านี้ก็ยังอยู่ในขั้นคิดพิจารณาไปเรื่อยๆ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทีนี้มาถึงเรื่องที่อยากเรียนถามครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.วิธีการเจริญด้านวิปัสสนา คือการเอากำลังของสมาธิเมื่อจิตนิ่งดีแล้ว มาคิดพิจารณา ไตร่ตรอง ให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงในเรื่องของทุกข์ ไตรลักษณ์และความไม่เที่ยงของชีวิต อย่างนั้นใช่ไหมครับ
    <O:p</O:p
    ใช่ครับ หรือจะจับสังโยชน์ 10 อาการ32ของร่างกาย ธาตุ4 หรืออะไรก็ได้ครับ กรรมฐาน40กอง วิปัสสนาได้หมด
    ให้ทำเพิ่มว่า หาจุดลงให้ได้ครับ
    เพราะเราพิจารณาว่า ไม่เที่ยง เหมือนกับเราบอกว่า บ้านหลังนี้มันไม่ดี มันไม่คงทน เดี้ยวก็ต้องพังทลายไป
    แต่เราไม่ให้ทางออกกับตัวเอง
    ทางออกก็คือ ในเมื่อมันไม่เที่ยงต่างๆนาๆ
    เราก็อย่าเกิดมาชาติหน้าเพื่อมาเจอมันอีกสิ
    ตั้งใจเอาไว้เลยครับ พิจารณาลงตอยจบว่า เราตาย เมื่อไหร่จะไปอยู่กับพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานเท่านั้น
    ที่อื่นไม่ยอมไป เป็นมนุษย์ ไม่เอา เทวดาไม่เอา พรหมก็ไม่เอา ยังมีทุกข์ทั้งนั้น
    ตายเมื่อไหร่เราจะไปพระนิพพานเพียงจุดเดียวเท่านั้น
    ตั้งใจมั่น เอาไว้เลย

    2.วิธีการเจริญวิปัสสนาอย่างที่ผมทำอยู่ตามที่เล่ามาตอนต้น คือไล่ฌานแต่ละระดับไปมาก่อน เพื่อให้กำลังใจอยู่ตัว แล้วถึงย้อนมาพิจารณาเรื่องของทุกข์ สามารถใช้การได้หรือไม่ครับ หรือว่าเจ้าของกระทู้เห็นควรว่าจะแนะนำเพิ่มเติมตรงจุดใด ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

    <O:pถูกต้องแล้วครับ ตามขั้นตอนเป้ะๆครับ เป็นวิธีการเดินจิตที่ครูบาอาจารย์ท่านถ่ายทอดสืบต่อกันมาครับ
    <O:p

    3.ในระหว่างอยู่ที่อุปจารสมาธิ (ระดับที่พอจะคิด พิจารณาเรื่องราวต่างๆได้) ตอนกำลังคิดพิจารณาเรื่องของทุกข์ต่างๆ ตามแนววิปัสสนา มักจะมีนิมิต (ที่ไม่พึงประสงค์) ต่างๆเข้ามารบกวน ให้ต้องคอยตัดทิ้งอยู่เรื่อยๆ ที่ผ่านมาเคยฝึกอานาปานสติก็ต้องคอยตัดนิมิตต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว เพราะต้องยึดลมหายใจเป็นหลักอย่างเดียว การตัดทิ้งนิมิตระหว่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจเท่าไหร่ แต่บางครั้งมีนิมิตเข้ามามาก (ทั้งภาพต่างๆ เสียงสวดมนต์ เสียงดนตรี กลิ่นหอม กลิ่นเหม็นเน่า ทุกรูปแบบ) จนน่ารำคาญ ต้องคอยตัดทิ้งไปอยู่เรื่อย ไม่เป็นอันคิดพิจารณาเรื่องวิปัสสนากันเลย หนักๆเข้า ผมรำคาญ ต้องใช้วิธีหนีเข้าไปในฌานเสียเลย เพราะนิ่ง เงียบ สงบดี พอหายรำคาญแล้ว จึงถอยออกมาพิจารณาด้านวิปัสสนาต่อ ทำให้การคิดพิจารณาเรื่องต่างๆ ไม่มีความต่อเนื่องเลยครับ บางที่อารมณ์พอจะได้อยู่แล้ว ต้องมาติดๆขัดๆเสียอีก

    จริงๆก็ถูกแล้วครับ หมาถึงว่า พอพิจารณาไปซักพักจนจิตเริ่มซ่าน ก็กลับเข้าฌาณจนจิตนิ่ง แล้วค่อยถอยออกมาพิจารณาต่อ ทำสลับไปสลับมา แบบนี้เรื่อยๆครับ
    <O:p</O:p
    นิมิตนี่เป็นเรื่องแปลก บางทีอยากให้มาเหลือเกิน ก็ไม่มาเลย แต่ทีนิมิตที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้อยากรู้อยากเห็นเลย ขยันมากันจริงๆ
    <O:p</O:p
    ผมจะจัดการกับนิมิตที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างไรครับ มีวิธีการควบคุมนิมิตที่ไม่พึงประสงค์บ้างหรือเปล่า เพื่อความราบรื่นของการพิจารณาด้านวิปัสสนาครับ

    มีครับ คือ กำหนดนิมิตร่วมกับการวิปัสสนาไปเลย เช่น
    เราพิจารณาร่างกาย เราก็นึกภาพร่างกายของเรา แล้วก็ดูมันเข้าไปในอาการ32
    นึกภาพไล่ดูไปเลยทั้งปอดตับไตไส้พุง สมอง น้ำเลือด น้ำเหลือง
    พิจารณาไตรลักษณ์ เราก็เห็นความเกิดขึ้น ดูว่าร่างกายเรามันเกิดเป็นเด็กทารกเป็นยังไง
    แล้วก็เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ มันก็ตั้งอยู่ได้พักนึง
    แล้วมันก็ดับไป คือมันแก่จนตาย พังทลายแตกสลายไปจนเป็นกระดูก เป็นเถ้าถ่าน
    เห็นภาพตามทีละขั้นๆ จนกระทั่ง ร่างกายแตกสลายหายไป กลายเป็นผุยผง กลายเป็นความว่างเวิ้งว้างว่างเปล่า สีขาว
    ปราศจากร่างกาย ปราศจากวัตถุธาตุทุกอย่าง ต้องพังทลาย แตกสลายกลายเป็นผุยผงไปหมด ไม่มีอะไรเหลือ ไม่เหลือสิ่งใด
    ไม่มีอะไรที่น่าปรารถนาในสังสารวัฏนี้
    ตายเมื่อไหร่เราจะไปพระนิพพานเพียงจุดเดียวเท่านั้น

    หรือทรงภาพพระพุทธรูป เนื้อเพชร แย้มยิ้ม ควบคู่ไปกับการพิจารณา

    เท่านี้นิมิตอื่นก็จะไม่เข้ามารบกวน
    <O:p</O:p

    คุณขาดแค่มโนมยิทธิครับ หากได้เมื่อไหร่ ตัดอารมณ์ซ้ำๆด้วยอรูปแล้วมุ่งไปพระนิพพาน
    ก็ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดแล้วครับ
    หาเวลาไปฝึกให้ได้ครับ
    เวลาเราพิจารณาวิปัสสนาเสร็จ หากได้มโนมยิทธิแล้ว ให้ลงจบการวิปัสสนาด้วยมโนมยิทธิ จะครบถ้วนบริบูรณ์ครับ
    ถ้าพิจารณา แต่ไม่ลงว่าตายเมื่อไหรจะไปพระนิพพานเท่านั้น
    มันก็เหมือน ทำการบ้านแล้วไม่ยอมส่งครับ มันก็ยังไม่ได้คะแนน
    เพราะเราพิจารณามามากมาย รู้ไหมครับว่าเพื่ออะไร
    เพื่อจุดเดียว คือเพื่อให้เราไม่อยากเกิด เพื่อให้มุ่งพระนิพพานเท่านั้น
    ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่เที่ยงๆ แต่เราไม่หาทางออกให้ตัวเอง ว่า ไม่เที่ยงแล้วจะเอาไงต่อ
    มันก็เลยไม่ครบวงจร

    รู้หลักแล้วนะครับ จับที่ตัวปลายเลยครับ

    ขอให้สามารถเจริญจิตเข้าถึงซึ่งอารมณ์พระนิพพาน ได้ด้วยกำลังของมโนมยิทธิ อรูป และวิปัสสนาญาณ ได้โดยง่ายดาย ได้โดยฉับพลันทันใด ได้ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  20. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    การติดฌาณ

    การติดฌาณ เกิดจากสังโยชน์ข้อ 6.รูปราคะ กับ7.อรูปราคะ
    การติดฌาณก็คือ การที่คิดว่า ฌาณ 4 อรูปฌาณ 4 คือพระนิพพาน คือที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
    พอเข้าฌาณ หรือ อรูปฌาณได้ มันว่างเวิ้งว้างว่างเปล่า ก็หลงว่าเป็นพระนิพพาน
    หากเราได้ฌาณก็ดี อรูปฌาณก็ดี คล่องแคล่ว เข้าออกได้ดั่งใจ
    แต่เรามองว่าเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่จุดหมาย เราก็จะไม่ติดในมัน
    เหมือนเรานั่งรถไฟฟ้ากลับบ้านของเรา เราก็คิดว่ารถไฟฟ้าเป็นเครื่องมือ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เรากลับถึงบ้าน
    แต่เราก็ไม่ได้ติดรถไฟฟ้า ใช่ว่าเราจะไปยึดเอารถไฟฟ้ามาเป็นบ้านเรา
    พอเราถึงบ้านของเราแล้ว รถไฟฟ้าเราก็ไม่เอา เราก็ไม่แบกรถไฟฟ้ากลับมาบ้านด้วย
    คราวนี้ลองคิดว่า มีบางคนที่อื่นนะครับ บอกว่าเราไม่ใช้รถไฟฟ้า เพราะกลัวติดรถไฟฟ้า
    ก็เลยเดินกลับบ้าน ใครจะถึงบ้านเร็วกว่ากันครับ
    แน่นอนคนที่ได้รูปฌาณ อรูปฌาณ ย่อมมาถึงบ้านพระนิพพาน ได้เร็วกว่าหลายเท่านัก
    จริงๆแล้ว หากไม่ใช้ฌาณ เข้าช่วย จะไปไม่ถึงพระนิพพานเลย

    กับเรามองอีกมุมนึงว่า เราติดฌาณให้ตายยังไง ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่ได้ฌาณ หรือคนที่ติดสิ่งที่แย่กว่าฌาณ
    สิ่งที่มีคุณธรรมต่ำกว่าฌาณได้แก่อะไรบ้าง อกุศล ความชั่วทุกรูปแบบ กามคุณ5 กามราคะ ความพอใจในกามคุณ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นเทวดา
    เรายังติดสิ่งเหล่านี้อยู่ไหม ถ้าเราเลิกติดสิ่งเหล่านี้ได้เมื่อไหร่ ค่อยมาเลิกติดฌาณเมื่อนั้น

    ติดฌาณ อย่างแย่สุดเกิดเป็นพรหม ถ้าไม่ติดฌาณ แย่สุดอาจจะเกิดในอบายภูมิได้
    แล้วผู้ที่ละสังโยชน์ข้อ 6 กับ7 ได้จริงๆ ก็คือพระอรหันต์
    ผู้ที่บอกว่า ไม่ติดฌาณได้โดยสมบูรณ์จริงๆ ก็ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น
    แล้วไม่ติดฌาณเพราะ อะไร ก็เพราะได้อารมณ์พระนิพพาน หันมาพอใจอารมณ์พระนิพพานแทน
    ติดความเป็นมนุษย์ดีกว่า ติดในอบายภูมิ
    ติดในความเป็นเทวดาดีกว่า ติดในความเป็นมนุษย์
    ติดในความเป็นพรหมดีกว่า ติดในความเป็นเทวดา
    ไม่ติดอะไรเลย พอใจในอารมณ์พระนิพพานเพียงจุดเดียว ดีกว่าติดความเป็นพรหม
    ดังนั้นจนกว่าเราจะได้อารมณ์พระนิพพาน ควรจะยึดฌาณเอาไว้เป็นเครื่องมือ
    อย่าไปกลัวติดฌาณ เพราะตราบใดที่เรายังไม่ได้อารมณ์พระนิพพาน การติดฌาณก็ย่อมดีกว่าติดอย่างอื่น
    เพราะแย่สุดก็เป็นพรหม ไม่ต่ำกว่านั้น
    แต่ถ้ายังไม่ได้อารมณ์พระนิพพาน ติดฌาณก็ไม่ติด ติดเป็นเทวดาก็ไม่ติด ติดความเป็นมนุษย์ก็ไม่ติด คราวนี้สุ่มเกิดในอบายภูมิ ตามบุญตามกรรมเลย

    เรามองรถไฟฟ้าเป็นเพียงพาหนะ ไม่เอามันกลับมาบ้านด้วยฉันใด
    เราก็มองฌาณเป็นเพียงเครื่องมือ เป็นพาหนะ ไม่เอามันไปพระนิพพานด้วยฉันนั้น
    แต่ถ้ามันยังไม่ถึงบ้านฉันใด ก็ต้องใช้มันต่อไป เพราะถ้าเลิกใช้แล้วมันจะไปไม่ถึงพระนิพพานเอาได้

    ถ้าเราไม่หลงฌาณขนาดว่า ฌาณนี่สุดยอดคือพระนิพพาน หรือเข้าฌาณได้นี่คือบรรลุธรรมแล้ว
    ก็ควรติดมันไปจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์นั่นแหละครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...