เรื่อง ศาสนาพุทธ เกิดในไทยไม่ใช่อินเดีย บ้างครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย lagus, 18 ตุลาคม 2008.

  1. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ถ้า มีหลักฐานจากหลายๆที่ยืนยันเค้าจะเชื่อถือครับ แต่หลักฐานบางอย่างไม่ถึงยุค ที่กล่าวอ้าง เช่น ศิลาจารึกใน สมัย อยุธยา บอกถึงเรื่องสุโขทัย นักประวัติศาสตร์ จะจัดไว้ใน ลำดับ หลังๆ ที่จะนำมาพิจารณา

    หากมีความสอดคล้องกันก็น่าเชื่อถือครับ ทั้งนี้ดูจากหลักฐานที่มีจริงๆ และถึงในยุคนั้นๆ ก่อน เป็นหลัก

    แม้พระไตรปิฏก จะมีพวกอรรถกถา ที่พระท่านเขียนแทรกไว้ อันนี้อยู๋ในหลักฐานเอกสาร ชั้นหลัง แต่ คัมภีร์ ทางพุทธศาสนา ที่เขียนมาสมัยหลังๆ เช่นคัมภีร์อนาคตวงศ์ นี่ จะจัดอยู๋ในเอกสารที่หลังมากเพราะ การอ้างอิง และอายุ อ่อนเกินไป ทั้งยังสันนิษฐานว่้าเขียนขึ้นในสมัย หลัง ๆ อีกด้วย
     
  2. JK!

    JK! สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +2
    ภาษาบาลีจารึกด้วยอักขระ ขอม มอญ พม่า ล้านนา และล้านช้างครับ
    แต่โบราณกาลมาไม่เคยมีภาษาบาลีจารึกด้วยภาษาอื่น
    เทวะนาครีใช้บันทึกเฉพาะภาษาฮินดี สันสกฤต ภาษาอื่น ๆ ใน อินเดีย
    และในคัมภีร์ของทางฮินดูครับ

    เพิ่มเติมครับไม่มีการใช้ภาษาบาลีในประเทศอินเดียครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2009
  3. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    อาจารย์ผมขนาดจบด็อกเตอร์ ท่านยังเชื่อเลยว่า พระพุทธเจ้าเป็น"คนไท"
    ต้องทราบว่า ประเทศไทยเรานี้ ประกอบด้วยกลุ่มคนประมาณ"57ชาติพันธ์"
    ใน57ชาติพันธ์นี้ มีชาติพันธ์ไท เพียง1 เท่านั้น(คือเป็นคนไท เพียง หนึ่งชาติพันธ์)
    ทีนี้ประวัติศาสตร์นั้น อย่างเก่ง ก็มีหลักฐานราวๆ300-400ปีเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ครบและไม่ตรงกันระหว่างไทยลาวเขมร (น่าจะเกิดจากใครใหญ่ก็บันทึกเข้าข้างตัว)
    ดังนั้นไม่ต้องไปพูดถึง2500ปี ที่ไม่มีหลักฐานใดๆสาวถึงแน่ แต่ถึงมีก็ไม่ครบ ยืนยันไม่ได้แน่นอน
    แต่พิจารณาตามข้อมูลแล้ว ลัทธิฮินดูพราหมณ์เกิดก่อนที่อินเดีย พุทธจึงเกิดตาม ที่อินเดียเหมือนกัน
    ส่วนไทนั้น ตอนนั้น(2500ปี) เข้าใจว่า ยังนับถือภูติผี ภูเขาแม่น้ำอยู่เลยโยม ฮา
     
  4. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    465
    ค่าพลัง:
    +457
    ถ้ามันเกิดที่ไทยแล้วจะเป็นอย่างไรหละ หรือเกิดที่อินเดียแล้วจะเป็นอย่างไรหละ ก็แค่เราภูมิใจขึ้นมาอีกนิดนึงว่าพระพทธเจ้าเป็นคนไทย แล้วก็ปรุงแต่กันต่อไปเพิ่มพูลกิเลสกันต่อไป ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมาเลย ท่านจะเกิดที่ไหน ก็ช่างเหอะ เพราะอย่างไรท่านก็สอนเราไว้มากมาย ไม่ได้ต่างกันนักหรอก เป็นไทยเป็นอินเดีย ต่อให้ท่านเกิดในจีนด้วย ท่านก็ยังเป็นพระพุทธเจ้าที่เรารักและเคารพที่สุดมิใช่หรือ ขอให้พวกเรารู้แค่เพพียงว่าท่านเกิดในใจเราก็พอแล้ว กายปลอมๆของท่านจะเกิดที่ไหนก็ช่างเหอะ
     
  5. Kaiden

    Kaiden สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +2
    เป็นเรื่องที่แปลกนะครับ .. ผมฟังดูแล้วยังอดคิดไม่ได้เหมือนกันนะ
     
  6. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    อาจารย์ผมเป็นด๊อกเตอร์ แกยังเชื่อเลยว่าพระพุทธเจ้าเป็น"คนไท"
    คือปัจจุบัน ประเทศไทยมีชาติพันธ์น่าจะประมาณ57ชาติพันธ์
    "คนไท"คือ 1 ในชาติพันธ์ทั้ง 56ชาติพันธ์นั้น
    ทีนี้"คนไท"เมื่อ 2500 ปีเศษนั้น อยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ประวัติศาสตร์สืบหาไม่เจอ
    ประวัติศาสตร์ ไทย เขมร ลาว อยู่ราว300-500ปีที่ผ่านมาเอง และส่วนใหญ่จุดสำคัญๆก็ไม่ตรงกัน(ขึ้นอยู่กับใครใหญ่ ก็เขียนเข้าข้างตนเอง) แต่ที่สำคัญคือปะติปะต่อเรื่องราวได้ไม่ครบ มีขาดหายไป มีไม่ตรงกัน ไม่มีข้อมูลฯลฯ
    ดังนั้นจึงอย่าหวังว่าจะสืบค้นไปถึง2500ปีที่ผ่านมาได้
    นักวิจัยก็ใช้ข้อมูลต่างๆมาสนับสนุนงานวิจัยของตนเอง ซึ่งก็มีหลายงานวิจัย
    ถ้าอยากรู้ก็ปฏิบัติด้วยตนเอง ถ้ามีบุญก็คงรู้ด้วยญานหยั่งรู้เอง
    ส่วนตัวผมเชื่อว่า ฮินดูพราหมณ์ รามายานะ ฯลฯพวกนี้ เกิดก่อนพุทธที่อินเดีย
    พุทธเกิดทีหลังก็ที่อินเดีย(ตอนนั้นไม่มีใครรู้ว่าอาจเป็นคนไท ที่อยู่ที่นั่นมาก่อน)
    ดังนั้น ประวัติศาสตร์งานวิจัยของไทย จึงน่าจะมี 3 แนวทาง
    1 ไทอพยพมาจากจีน
    2 ไทอพยพมาจากอินเดีย
    3 ไทตั้งถิ่นเดิมที่บ้านเชียงอุดรฯนี่เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2009
  7. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ผิดครับ มีการใช้ภาษาบาลีในอินเดีย เสาหินอโศก ที่ตั้งที่พุทธคยา นั่นไง
    ใช้อักษร พราหมี ซึ่งเป็นภาษาราชการ มาเขียน ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาพูดแบบไม่ทางการ ในสมัยนั้น

    จารึกพระเจ้าอโศก ถือเป็นหลักฐานที่สำคัญ นะครับ เพระาบอกเหตุกาณ์ได้แจ้ง
    อนุโมทนากับ สมเด็จพระเจ้าอโศกมหาราชด้วย สาธุ
     
  8. com16

    com16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2005
    โพสต์:
    454
    ค่าพลัง:
    +1,182
    เมื่อก่อนอ่านแล้วก็เชื่อตามนั้น แต่หลักฐานเหมือนยังไม่แข็งแรงพอที่จะแย้งหลักฐานปัจจุบันได้ ส่วนความรู้สึกที่หลายๆ คคห ใส่มา สู้ได้แน่นอนเพราะปัจจุบันเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ขนบธรรมเนียมประเพณีเลยจึงเจริญไปในทางนั้น แต่สู้เรื่องหลักฐานว่าพุทธศาสนาเกิดในประเทศอินเดียไม่ได้
     
  9. JK!

    JK! สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +2

    ครับ คนที่เอามาเปิดเผยคือ เซอร์ อเลคซานเดอร์ คันนิ่งแฮม
    พร้อมกับประกาศว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนอินเดีย
    แต่ที่น่าสังเกตุคือ ทำไม่ไม่มีหลักฐานที่เป็นภาษาบาลีอย่างอื่นเหลือแม้แต่ชิ้นเดียวในอินเดีย
    แต่กลับมีจารึกภาษาบาลีอยู่เกลื่อนสุวรรณภูมิ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา
    ทำไมมีเพียงจารึกพระเจ้าอโศกเท่านั้น ทำไมไม่เคยมีคนรู้จักภาษาบาลีเลยแม้แต่คนเดียวในอินเดีย
    แต่กลับมีใช้กันทั่วสุวรรณภูมิ ทำไมภาษาขะแมร์จึงมีคำหลายคำที่เป็นคำเดียวกับภาษาบาลีโดยไม่มีคำอื่นเลย
    คล้ายกับว่าภาษาดั้งเดิมของขะแมร์จะเป็นภาษาบาลีเสียเอง(แม้แต่คำจำนวนมากในภาษาลาวก็เป็นภาษาบาลีโดยที่ไม่มีคำอื่น)
    ทำไมการออกเสียงในภาษาล้านนาตรงตามเสียงภาษาบาลี และอักระล้านนาตรงกันกับภาษาบาลี
    ราวกับว่าภาษาดั้งเดิมของล้านนาเองก็เป็นบาลีมากกว่าการที่มารับอิทธิพลภาษาบาลีภายหลัง
    ทำไมพงศาวดารฉบับวันวลิต(พงศาวดารสยามที่เก่าแก่ที่สุดของสยาม)
    ระบุว่าชาวสยามสืบเชื้อสายมาจากวงศ์ของพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าได้วางหลักการปกครองบ้านเมือง หลักศาสนา และหลักการดำรงชีวิตของชาวสยามทั้งหมด
    ทำไมในพระไตรปิฏกพระสงฆ์ฉันข้าวเหนียว แต่ที่อินเดียไม่มี
    ทำไมในพระไตรปิฏกมี ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ๓ ฤดู แต่ในอินเดียไม่ใช่
    ทำไมช่วงออกพรรษาบ้านเราฝนตก แต่อินเดียหนาวสะบัด
    อย่าลืมว่าเราเพิ่งมาเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนอินเดียก็ตอนที่คันนิ่งแฮมประกาศในสมัยรัชกาลที่ ๕
    อันนี้ผมไม่ได้ให้เชื่อตามนะ แต่ให้ลองสังเกตุดูข้อผิดปกติของข้อสันนิษฐานของคันนิ่งแฮมดูนะครับ
    ฝรั่งก็ไม่ได้เก่งไปทั้งหมด อาจจะผิดก็ได้
    ส่วนใครจะบอกว่าพระพุทธเจ้าเกิดทีใหนไม่สำคัญคุณเป็นชาวพุทธที่ดีหรือยัง
    ผมว่าถ้าบอกอย่างนี้นอกประเด็นครับ
    เราถกกันเรื่องประวัติศาสตร์ศาสนา ไม่ได้ถกกันเรื่องหลักธรรมนะครับ
     
  10. beaw0415

    beaw0415 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณคะสำหรับความรู้ใหม่เมื่อก่อนไม่เคยสงสัยเรื่องนี้ พอมานึกดู ก็คิดเหมือนคุณปิยนาถเลยคะ
     
  11. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973

    เอาล่ะ ผมว่าคุณโดนกับดัก ทางวิชาการของเค้าแล้วหละ

    มีคนใช้ภาษาบาลี ครับ เพระาภาษาบาลี ต้องเข้าใจว่าเป็นภาษาพูด แน่นอน จริงแล้ว บาลี แปลว่าแบบแผน คำที่เรียกเดิมนั้น คือ ภาษามคธ และยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นภาษาที่ตายแล้ว แบบภาษาละติน เช่น คนทั่วไปเข้าใจกัน
    แม้แต่ภาษาอินเดียปัจจุบัน แบบทางการ คือภาษาฮินดี
    ก็ยังมีคำใกล้เคียงกันอยู่

    ต้องเข้าใจว่าอินเดียเป็นประเทศที่กว้างมาก ลักษณะฤดูกาลเมื่อ 2500 ปีที่แล้ว และปัจจุบัน แต่ละพื้นที่ย่อม คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันไปบ้าง
    แต่สังเกตในคัมภีพระเวทของพราหมณ์ ที่เก่าแก่ก่อนพระไตรปิฏก ยังกล่าว ฤดูไว้แค่ 3 ฤดู ครับ และเมื่อพื้นที่กว้าง ย่อมมีหลายเผ่าพันธ์ และมีภาษาต่างกันไป ตามแต่ชนเผ่านั้นๆ


    เรื่องภาษาล้านนา เอามาจาก บาลีแน่นอน แต่ สมัยหนึ่ง ประมาณ สมเด็จพระเจ้า ติโลกราชมั้ง
    .... จำได้เลาๆ คัมภีร์ทางพุทธศาสนา และสำนักเรียน คันถธุระ เฟื่องฟูมาก และมีพระเถระหลายท่านแต่ง พระคาถา ปริตร หรือคัมภีร์ต่างๆเพิ่มเติมมาก ที่รู็จักกันดีคือ ชินปัญชร และ อุปปาตะสันติ
    การที่คุณคิดว่าราวกับว่าภาษาดั้งเดิมของล้านนา คือบาลี หรือมคธ นะใช่ แต่ ...
    เพราะเอามาจาก อินเดียต่างหาก

    ส่วนเรื่องอักษร พราหมินั้น เปนต้นกำเนิดของ อักษรเทวนาครีครับ พราหมิเก่ากว่า แต่ ทั้ง2 ตัว ต่าง เริ่มพัฒนา ในเวลาใกล้เคียงกัน และคนละพื้นที่ เท่าันั้นเอง และใช้ใน คนละแบบเท่านั้น


    เรื่องพงศาวดารวันวลิต นั่นคือ แนวคิด ของฝรั่งมองดูไทย แล้วบันทึก เค้าเข้า่ใจยังไงเค้าก็บันทึกยังงั้น
    สมัยก่อนคนไทย เป็นพุทธมามกะ เลยได้ชื่อว่า พุทธสาวก และ และตั้งชื่อพระเจ้าอยู่หัวว่า พระเจ้าทรงธรรมบ้าง หน่อพุทธางกูรบ้าง เค้าเลยเอาไปเขียนไง

    ข้าวเหนียวอินเดียมีครับ ยืนยัน 5555+ คนเคยไป ถ้าไปกินคงรู้
    เอ้อ เรื่องอาหาร มธุปายาส หุงด้วยนมวัว (ข้าวหุงด้วยนม หรือราดนม ) ในไทย แต่ก่อนไม่มีนะครับ เพิ่งมีเมื่อรู็ ้จักพระพุทธศาสนา

    เอ้าอีกเรื่องอันนี้ ชัวร์ ... เรื่องพระไตรปิฏก พระพุทธเจ้าพูดถึงเรื่องแม่น้ำคงคา ที่ล้างบาป
    ในไทยไม่มีนะครับ ไม่มีแม่น้ำในไทยชื่อคงคา ที่ล้างบาปได้ คัมภีร์พระเวท ไม่ได้เริ่มและเผยแพร่ในไทยด้วย 5555

    เรื่อง อีกเรื่อง คือเรื่อง แบ่งแคว้นของ สมัยนั้น 16 แคว้น ต่างบอกสถานที่ตั้ง ว่าติดกับอะไร ไว้ชัดแจ้ง ไม่มี ในไทยเช่นกัน

    เรื่องออกพรรษา ก็ปกตินี่นา ออกพรรษามันช่วง พย ธค อยู่แล้ว มันก็หนาวซิ ไทยก็หนาว อินเดียก็หนาว

    เอ๊ .......ใครสับสนกันแน่

    เคยมีคน ที่เค้าร่วม หาหลักฐานว่าพระุพุทธศาสนาเกิดที่ไทยนี่มาออกมาขอโทษ ทางเว็บไปแล้วรอบนึงนะ เพราะความเข้าใจผิด ศึกษาไปลึก ๆแล้ว ไม่ได้เกิดที่ไทยแน่นอน เลยมาขอขมา ปรามาสพระกันยกใหญ่ เคยผ่านตาอยู่ กระทู็้ ้นึง แล้วข่าวก็เงียบไป



    เอ้อ เอามาให้ดู เรื่องภาษาของอินเดีย แอบเอาของวิกิมา

    ภาษาราชการของอินเดีย
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ประเทศอินเดียมีภาษาพูดที่แตกต่างกันมากมาย ในกลุ่มคนต่าง ๆ กัน มีภาษาอย่างน้อย 30 ภาษา รวมถึงภาษาย่อยอีก 2,000 ภาษาด้วย. รัฐธรรมนูญอินเดียได้กำหนดให้ภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษ เป็นสองภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ยังได้กำหนดภาษาอื่น 22 ภาษาเป็น ภาษากำหนด (scheduled languages) ซึ่งเป็นภาษาที่รัฐต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สำหรบการปกครองได้ รวมถึงเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐ รวมถึงข้อสอบสำหรับการบรรจุข้าราชการ

    ตามที่ร่างไว้ ได้มีการยกเลิกฐานะของภาษาอังกฤษเป็น ภาษาราชการ (เทียบเท่ากับภาษาฮินดี) ในพ.ศ. 2508 ซึ่งหลังจากนั้น มีเจตนาให้ภาษาอังกฤษเป็น "ภาษาราชการเพิ่มเติม" (associate additional official language) ต่อไป จนกว่าจะมีคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตัดสินใจให้เปลี่ยนเป็นภาษาฮินดี ตามการทบทวนตามระยะเวลาปกติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีคำคัดค้านจากรัฐต่าง ๆ เช่น ทมิฬนาดู ซึ่งมีการเข้าถึงของภาษาฮินดีน้อยมาก จึงยังคงนิยมใช้ระบบ 2 ภาษา เนื่องจากมีอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอย่างรวดเร็ว และอิทธิพลทางเศรษฐกิจโลกมากมาย ภาษาอังกฤษจึงยังคงนิยมใช้ในการติดต่อกันในรัฐบาลและชีวิตประจำวัน และแผนที่จะทดแทนภาษาอังกฤษได้มีการยกเลิกไปโดยปริยาย
    เนื้อหา
    [ซ่อน]

    * 1 ภาษาราชการ (รัฐบาลกลาง)
    * 2 ภาษาราชการอื่น ๆ ของอินเดีย
    * 3 ภาษาอื่น ๆ ที่นิยมพูดในอินเดีย
    * 4 บทความอื่น
    * 5 แหล่งข้อมูลอื่น
    ภาษาราชการ (รัฐบาลกลาง)

    1. ภาษาฮินดี
    2. ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการเพิ่มเติม)

    ภาษาราชการอื่น ๆ ของอินเดีย

    1. ภาษากอนกานี (Konkani, ภาษาราชการของกัว)
    2. ภาษากันนาดา (Kannada, ภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ)
    3. ภาษาคุชราต (Gujarati, ภาษาราชการของดาดราและนครหเวลี ดามันและดีอู และคุชราต)
    4. ภาษาแคชเมียร์ (Kashmiri)
    5. ภาษาโดกรี (Dogri, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
    6. ภาษาเตลูกู (Telugu, ภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ)
    7. ภาษาทมิฬ (Tamil, ภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑูและพอนดิเชอร์รี)
    8. ภาษาเนปาลี (Nepali, ภาษาราชการของรัฐสิกขิม)
    9. ภาษาเบงกาลี (Bengali ภาษาราชการของรัฐตรีปุระและรัฐเบงกอลตะวันตก)
    10. ภาษาโบโด (Bodo, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
    11. ภาษาปัญจาบ (Punjabi, ภาษาราชการของ รัฐปัญจาบ)
    12. ภาษามราฐี (Marathi, ภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระ)
    13. ภาษามาลายาลัม (Malayalam, ภาษาราชการของรัฐเกรละและลักษทวีป)
    14. ภาษามณีปุริ (ภาษาเมเธ) (Manipuri, Meithei, ภาษาราชการของรัฐมณีปุระ)
    15. ภาษาไมถิลี (Maithili, ภาษาราชการของรัฐพิหาร)
    16. ภาษาสันตาลี (Santali)
    17. ภาษาสันสกฤต (Sanskrit)
    18. ภาษาสินธี (Sindhi)
    19. ภาษาอัสสัม (Assamese, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
    20. ภาษาอูรดู (Urdu, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
    21. ภาษาโอริยา (Oriya, ภาษาราชการของรัฐโอริสสา)
    22. ภาษาฮินดี (Hindi, ภาษาราชการของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ รัฐพิหาร รัฐฉัตติสครห์ กรุงเดลี รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐฌาร์ขันท์ รัฐมัธยประเทศ รัฐราชสถาน รัฐอุตตรประเทศ และรัฐอุตตรขันท์)

    ภาษาอื่น ๆ ที่นิยมพูดในอินเดีย

    (มีคนพูดมากกว่า 5 ล้านคน แต่ไม่มีฐานะทางราชการ)

    1. ภาษาโคนที (Gondi, ชนเผ่ากอนด์ Gond)
    2. ภาษากาเนาจี (Kanauji, ภาษาของรัฐอุตตรประเทศ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
    3. ภาษาคุตชี (Kutchi, ภาษาของคุตช์)
    4. ภาษาฉัตติสครห์ (Chhattisgarhi, ภาษาของรัฐฉัตติสครห์ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
    5. ภาษาตูลู (Tulu, พูดโดยชาวตูเล Tule ของรัฐกรณาฏกะและรัฐเกรละ)
    6. ภาษาบุนเดลี (Bundeli, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
    7. ภาษาโภชปุรี (Bhojpuri, ภาษาของพิหาร มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
    8. ภาษาภิล (Bhili, ชนเผ่าภิล Bhil)


    ******************************************************
    ...................................................................................................
    9. ภาษามคธี (Magadhi, หรือ ภาษามคธ ภาษาของรัฐพิหารตอนใต้ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)***************************
    ...................................................................................................
    ******************************************************
    10. ภาษามาร์วารี (Marwari, ภาษาของรัฐราชสถาน มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
    11. ภาษาหริยนวี (Haryanvi, ภาษาของรัฐหรยาณา มักถือว่าประเภทย่อยของ ภาษาฮินดี)
    12. ภาษาอวาธี (Awadhi, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
    13. ภาษาฮินดูสตานี (Hindustani, การผสมระหว่างภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ส่วนใหญ่พูดในตอนเหนือของอินเดีย)


    ************************ ระวังศรัทธา มากเกินลืม ปัญญานะครับ
    พิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 สิงหาคม 2009
  12. Ultra Seven

    Ultra Seven สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    น่าสนใจดีครับ
     
  13. JK!

    JK! สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +2
    ตรงนี้ขอโทษทีครับรีบร้อนไปพิมพ์ผิด คือผมหมายถึงฝนตกช่วงเข้าพรรษาน่ะครับ
    มันเป็นข้อสงสัยที่ว่าทำไมเข้าพรรษาเราตรงหน้าฝนพอดี แต่ทำไมที่อินเดียไม่
    เหตุผมที่คุณ "นายเม" กล่าวมาก็มีน่ารับฟัง

    ความจริงผมก็อาจจะต้องทบทวนความเห็นของตัวเองเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
    แต่ขอบอกนะครับว่าข้อสงสัยเรื่องนี้ผมเยอะพอสมควร
    แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ค่อยออก มันจะเกิดข้อสงสัยขึ้นเวลาเอาพระไตรปิฏกขึ้นมาอ่าน

    เอาเป็นว่าคราวหน้าผมเกิดข้อสงสัยเรื่องนี้อีกผมคงต้องมาแลกเปลี่ยนความเห็นกับคุณ "นายเม" อีกครั้ง

    แต่ทิ้งข้อสงสัยอีกเรื่องหนึ่งหน่อยเถอะครับ
    สังเวชนียสถานที่อินเดียที่ก่อนหน้านั้นคนอินเดียอ้างว่าเป็นศาสนสถานของฮินดูนั้น
    ทำไม่ไม่มีลักษณะศิลปกรรมเชิงพุทธเลย จนกระทั่งคันนิ่งแฮมมาประกาศว่านี่เป็นสังเวชนียสถาน

    สองสถานที่ที่อ้างว่าเป็นวิหารของพระพุทธเจ้ามาก่อน(ไม่เคยไปหรอกนะครับดูจากสารคดี)
    ทำไมมันเป็นโขดหินและหน้าผาหินโดยตลอด ไม่มีส่วนที่เป็นต้นไม้ปกคลุมเลย

    ยิ่งส่วนที่เป็นโพธิบัลลังค์นั้นผมเห็นแล้วยอมเชื่อไม่ได้เลย
    มันเป็นที่สามารถแร่เนื้อมาตากทำเนื้อแห้ง เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียวได้เลย

    ผมว่าให้คนซักสองร้อยห้าสิบคน ห้าร้อยคน หรือซักพันห้าร้อยคนไปอยู่ที่นั่น
    กลางวันคงเกรียมแดดกลางคืนคงหนาวตาย

    ผมนึกภาพตอนที่พระพุทธองค์เทศนาแล้วมีคนจำนวนมากไปเบียดเสียดกันอยู่
    ถ้าคนเราต้องถูกแดดเผา หรือนั่งอยู่อย่างหนาวเหน็บทรมาน
    จะมีสมาธิฟังธรรมเทศนาได้อย่างไร

    อันนี้ไม่รวมเทวดาอีกเป็นล้านที่ไปอยู่แถวนั้นนะครับ เพราะหนึ่งปรมณูเทวดาอยู่ได้ ๘ องค์

    นี่เป็นแค่ข้อสงสัยนะครับไม่ใช่ข้อโต้แย้ง
    เอาไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันสนุก ๆ คนเราเห็นต่างกันได้
    แต่คงไม่ใช่เป็นความขัดแย้งนะครับ คุยกันเชิงวิชาการ ไม่ก็คุยกันเอาสนุก
    เชื่อว่าในประเด็นนี้เราคงต้องแลกเปลี่ยนกันหลายรอบเลยล่ะครับ
    กว่าที่จะหาอะไรที่มันลงตัวได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2009
  14. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ......

    เรื่องฤดูกาล

    "ประเทศซีกโลกเขตร้อนนั้นแบ่งฤดูออกเป็น 3 ฤดู แต่ที่ประเทศอินเดียมี การแบ่งฤดูกาลในประเทศอินเดียมีความแตกต่างจากการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทย เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศไม่เหมือนกัน และนอกจากนี้ในประเทศอินเดียเองยังมีการแบ่งฤดูที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่และลักษณะ ภูมิอากาศอีกด้วย ฤดูในประเทศอินเดียว่า มีการแบ่ง ๒ แบบ
    แบบแรก เป็นการแบ่งฤดูตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินเดียทางภาคตะวันออกและภาคใต้ คือ แบ่งออกเป็น ๓ ฤดู ฤดูละ ๔ เดือน ได้แก่ ๑. เหมนฺต (เหมันต์) = ฤดูหนาว ๒. คิมฺหาน (คิมหันต์) = ฤดูร้อน ๓. วสฺสาน (วัสสานะ) = ฤดูฝน
    ส่วนแบบ ที่ ๒ เป็นการแบ่งฤดูตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินเดียทางภาคเหนือ คือ แบ่งออกเป็น ๖ ฤดู ฤดูละ ๒ เดือน ได้แก่ ๑. เหมนฺต (เหมันต์) = ฤดูหนาว ๒. สิสิร (สิสิระ) = ฤดูหมอกหรือน้ำค้าง ๓. วสนฺต (วสันต์) = ฤดูใบไม้ผลิ ๔. คิมฺหาน (คิมหันต์) = ฤดูร้อน ๕. วสฺสาน (วัสสานะ) = ฤดูฝน ๖. สรท (สารท) = ฤดูใบไม้ร่วง

    จะเห็นได้ว่าการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทยนั้นคล้ายคลึงกับการแบ่งฤดูกาลในประเทศ อินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ซึ่งอยู่ในเขตมรสุม คือ มี ๓ ฤดู ดังนั้น หากจะนำคำเรียกชื่อฤดูในภาษาบาลีสันสกฤตมาเทียบใช้แทนคำเรียกชื่อฤดูในภาษา ไทย ก็สามารถเทียบใช้ได้ดังนี้
    เหมันต์ = ฤดูหนาว คิมหันต์ = ฤดูร้อน วัสสานะ = ฤดูฝน"

    เอามาจาก

    Sanamchandra Palace Library Blog
     
  15. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    สาธารณรัฐอินเดียมีพื้นที่ 3,267,533 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่ใหญ่อันดับ 7 ของโลก ใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ6 เท่า สาธารณรัฐอินเดียตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางเหนือติดกับจีน เนปาลและภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและมีอาณาเขตล้อมรอบบังคลาเทศ

    ........ ภูมิอากาศ อินเดียมี 3 ฤดูกาล คือ
    ........1. ฤดูหนาว: เดือนพฤศจิกายน - เดือนมีนาคม 5 - 25 องศาเซลเซียส
    ........2. ฤดูร้อน : เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน 25 - 38 องศาเซลเซียส
    ........3. ฤดูฝน : เดือนกรกฎาคม - เดือนตุลาคม 25 - 30 องศาเซลเซียส เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล สภาพภูมิอากาศในเขตต่างๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคใต้ จึงมีลักษณะแตกต่างกันมากในฤดูเดียวกัน


    ........สถานที่สำคัญตามภาคต่างๆของอินเดีย
    อินเดียตอนเหนือ
    ........• เดลีเก่า หอสูงกุตุปมีนาร์ พระราชวังหลวง (Red fort)และมัสยิดจามา เป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
    ........• เดลีใหม่ เป็นเมืองทันสมัย อังกฤษสร้างขึ้นเป็นที่ทำการของรัฐมีสิ่งก่อสร้างงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมยุค อาณานิคม โดยเฉพาะ India gate สร้างเลียนแบบประตูชัยของปารีส เพื่อระลึกถึงทหารที่สละชีพในสงครามครั้งที่ 1
    ........• เมืองอัคระ เป็นที่ตั้งของทัชมาฮาล หนึ่งในมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกหนึ่งในอนุสรณ์สถานแห่งความรัก ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา สร้างโดยกษัตริย์ชาร์ จาฮาน เพื่อเป็นสุสานฝั่งพระศพ พระนางมุมตัส มาฮาล พระมเหสีของพระองค์ สร้างโดยหินอ่อนสีขาว ใช้เวลาสร้างนาน 17 ปีอินเดียตะวันตก
    ........• เมืองชัยปุระ ได้ชื่อว่า นรกสีชม-พู เนื่องจากมหาราชารามสิงค์ ได้สั่งให้ประชาชนในเขตเมืองทาบ้านด้วยสีชมพูทั้งเมือง เพื่อถวายการต้อนรับการเสด็จประภาสของมกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักร สินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองได้แก่ ทองเหลือง เครื่องประดับ ผ้าทอ กระดาษสา เครื่องหนังจากอูฐ
    ........• เมืองมุมไบ ได้ชื่อว่าเป็น Gate way of India ศูนย์กลางการพานิชย์และอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย สิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ อุตสาหกรรมภาพยนตร์

    อินเดียตะวันออก
    ........• เมืองกัลกัตตา เมืองหลวงเก่าของอินเดีย เป็นพิพิทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในเอเชีย The India Museum
    ........• เมืองดาจิริง ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นแหล่งปลูกชาที่มีชื่อเสียงของโลก เส้นทางรถไฟที่มีชื่อเสียงเป็นเส้นทางสายสำคัญของอินเดียไปยังเมืองที่มี ชื่อว่า Darjeeling Himalayan Railways หรือ Toys Train เป็นเส้นทางที่น่าประทับใจ ด้วยทิวทัศน์ที่งดงามของไร่ชาและป่าสน
    ........• เมืองพุทธคยา อีกหนึงสังเวชนียสถาน เป็นที่ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ที่มีอายุกว่า 2,500 ปี มีมหาวิหารศรีมหาโพธิ์ และมีพระพุทธบาทในบริเวณใกล้กันอีกด้วยอินเดียตอนใต้
    ........• เมืองบังกาลอร์ ได้รับการขนานนามว่า Silioon Valley of India เนื่องจากเป็นเมืองที่ทันสมัยและล้ำเลิศทางด้าน IT อีกทั้งมีอากาศดี เย็นสบายตลอดทั้งปี
    ........• เมืองเจนไน เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า และการคมนาคมทางบกและทางอากาศ
    ........• เมืองไมซอร์ มีจุดชมวิวที่งดงาม บนยอดเขา Chamundi Hill บนยอกเขาเป็นที่ตั้งขิงวิหารฮินดูชื่อ Sri Chamundeswari Temple และสวนสวยที่ชื่อว่า Brindaram Garden โดดเด่นด้วยน้ำพุ และการจัดสวนสไตล์โมกุล

    ..... .. .ประชากร
    ........อินเดีย มีประชากรประมาณ 1,100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม อินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตย ไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชาชนมีสิทธิในการนับถือศาสนาใดก็ได้ มีผู้นับถือศาสนาฮินดู 82.6% มุสลิม 11.7% คริสต์ 2.4% ซิกซ์ 2.0% พุทธ 0.8% และเชน 0.4% วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลความเชื่อศรัทธาจากศาสนาฮินดูเป็นส่วน ใหญ่ และประชากรที่มิได้นับถือศาสนาฮินดูก็มีวิถีชีวิตภายใต้ศรัทธาของตนอย่าง เคร่งครัด คนอินเดียค่อนข้างคบหาคนต่างชาติด้วยความระมัดระวัง และมีความเป็นชาตินิยมสูง ปัจจุบันอินเดียมีประชากรมาก คนอินเดียจึงเป็นคนที่มีความพยายามสูง มีความอดทนฉลาดในการต่อรองช่ำชองในธุรกิจค้าขาย

    ..... .. .ภาษา ภาษา ที่ใช้ในราชการคือภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษในอินเดียมีภาษาท้องถิ่นที่ใช้ติดต่อกันถึง 1,652 ภาษา แต่รัฐธรรมนูญอินเดียรับรองภาษาท้องถิ่นเพียง 17 ภาษาเท่านั้น

    ........การปกครอง
    ..... .. .อินเดีย เป็นประเทศที่เก่าแก่ยาวนาน ดังนั้นสภาพสังคมเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันจึงเป็นการผสมผสานระหว่างของ เก่าและใหม่ อินเดียเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู พุทธ และมุสลิม หลังจากได้รับเอกราชในปีค.ศ. 1947 อินเดียได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้โครงสร้างสาธารณรัฐ ปัจจุบันอินเดียมี 28 รัฐ และดินแดนสหภาพ 7 เขต โดยมีกรุงนิวเดลีเป็นเมืองหลวง ภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษใช้แพร่หลายทั่วไปในอินเดีย ปัจจุบันอินเดียมีประชากรกว่าพันล้านคน โดยอาศัยในกรุงนิวเดลีประมาณ 10 ล้านคน

    ..... .. .อินเดียโดยสรุป
    ..... .. .o เมืองหลวง: New Delhi
    ..... .. .o ได้รับเอกราช: 15 สิงหาคม 1947
    ..... .. .o ประชากร: 1.027 billion (2001)
    ..... .. .o พื้นที่: 3.3 ล้าน sq km (2001)
    ..... .. .o เงินตรา : เหรียญรูปีของอินเดีย (หนึ่งเหรียญรูปีของอินเดีย =100 ไปรซะ )
    ..... .. .o รายได้รวมของชาติ: 1,100 พันล้านดอลล่าร์
    ..... .. .o รายได้รวมของเมืองหลวง: 384 พันล้านดอลล่าร์ (1997)
    ..... .. .o การปกครอง: ระบบประชาธิปไตย แบ่งเป็น 28 รัฐ และรัฐย่อย 7 รัฐ
    ..... .. .o ภาษาเป็นทางการ: หลักๆ คือ อังกฤษกับฮินดี และภาษาหลักอื่นๆ อีก 15 ภาษา (รวมภาษาหลัก 17 ภาษา) และภาษาท้องถิ่นอีก 844 ภาษา
    ..... .. .o นกประจำชาติ: นกยูงอินเดีย
    ..... .. .o สัตว์ประจำชาติ: เสือ
    ..... .. .o ดอกไม้ประจำชาติ: ดอกบัว
    ..... .. .o ผู้ได้รับโนเบลสาขาต่างๆ ตั้งแต่ปี 1913 – 2004: จำนวน 7 คน

    ........ประเพณีที่ควรถือปฏิบัติ
    ..... .. .• การเข้าชมศาสนสถานของฮินดูและซิกข์ไม่อนุญาตให้ใส่รองเท้า เว้นแต่ถุงเท้า บางแห่งจะมีถุงไว้หุ้มรองเท้า สนนราคาไม่แพง
    ..... .. .• ภายในโบสถ์และวิหารใบอนุญาตให้ถ่ายภาพนอกจากได้รับอนุญาต
    ..... .. .• เมื่อจำเป็นต้องใช้มือเปิบอาหารควรล้างให้สะอาดและใช้มือขวาเท่านั้น
    ..... .. .• อย่านั่งหันฝ่าเท้าไปที่ที่ผู้อื่นเด็ดขาด เพราะถือว่าไม่ให้ความเคารพ
    ..... .. .• หญิงควรแต่งการมิดชิด ไม่ควรสวมเสื้อแขนกุดหรือกระโปรงสั้น
    ..... .. .• การให้เกียรติสตีถือเป็นวัฒนธรรมที่ดีอย่างหนึ่ง จะไม่แตะต้องสตรีในที่สาธารณะ
    ..... .. .• สตรีต่างชาติ หากถูกจ้องมองจากชายชาวอินเดีย ไม่ควรตกใจ ไม่ควรโต้ตอบให้อยู่เฉยไว้ เพราะส่วนมากแล้ว พวกเขาจะมองเนื่องจากความแตกต่าง ทำให้รู้สึกแปลกตา

    ........อาหารประจำชาติอินเดีย
    ........เนื่อง จากความเชื่อของชาวฮินดูนั้น นับถือวัวเป็นเทพเจ้า ดังนั้นจึงไม่นำเนื้อวัวมาเป็นอาหาร เนื้อสัตว์ที่ขายทั่วไปตามร้านอาหารและภัตตาคารจึงมีไก่และแพะอาหารที่มี ชื่อเสียงของอินเดียมีการปรุงรสด้วยเครื่องเทศ
    กลิ่นฉุน เครื่องแกงของอินเดียที่ขาดไม่ได้ก็คือมัสซาร่าเป็นเครื่องเทศแห้งป่นอาหาร ทางใต้มักใส่กะทิในการปรุง ส่วนทางเหนือใช้เนย น้ำแกงของเขาจะดูเป็นสีเหลืงจัดจากหญ้าฝรั้นหรือขมิ้น อาหารที่มีชื่อเสียงที่หลายคนคุ้นเคยเช่น ไก่ทานคูรี (ไก่หมักด้วยเครื่องปรุงแล้วอบหรือย่าง) ข้าวหมกไก่ หรือข้าวหมกแพะ

    ........อาหารหลัก นานและอาปาตี เป็นแป้งแผ่นหนากว่าโรตี นำไปปิ้งในเตาคานคู จนแป้งข้างนอกพองกรอบรับประทานกับแกงต่าง ๆเป็นที่นิยมทางภาคเหนือ ส่วนทางภาคใต้ทานข้าวเป็นหลักข้าวที่มีชื่อเสียงของอินเดียคือข้าวทัสมาตี เป็นใหญ่กว่าข้าวหอมมะลิของไทย

    ........คน อินเดียส่วนมากเป็นมังสวิรัติ อาหารประเภทผักผลไม้จึงหาซื้อได้ง่ายกล้วยคล้ายของไทยที่สำคัญ คนอินเดียนิยมมากคือนมและน้ำผลไม้ โดยเฉพาะชานมรสชาดหอมหวน โด่งดังไปทั่วโลก อาหารมังสวิรัติของอินเดียมีชื่อเสียงอร่อยไม่แพ้อาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ หาง่ายและราคาถูก อาหารของพวกเขามักเสริฟมากับถาดทองเหลืองใบใหญ่ ใช้มือเปิบอาหารรับประทานรวมกันทั้งครอบครัว น้ำหรือเครื่องดื่มจะดื่มหลังจากรับประทานอาหาร ไม่ดื่มระหว่างรับประทานอาหาร

    ........อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา 1 บาท = 1 รูปี (สามารถนำเงินไทยไปแลกเป็นเงินรูปีได้)

    ที่มา
     
  16. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ประเทศซีกโลกเขตร้อนนั้นแบ่งฤดูออกเป็น 3 ฤดู แต่ที่ประเทศอินเดียมี การแบ่งฤดูกาลในประเทศอินเดียมีความแตกต่างจากการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทย เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศไม่เหมือนกัน และนอกจากนี้ในประเทศอินเดียเองยังมีการแบ่งฤดูที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่และลักษณะ ภูมิอากาศอีกด้วย ฤดูในประเทศอินเดียว่า มีการแบ่ง ๒ แบบ
    แบบแรก เป็นการแบ่งฤดูตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินเดียทางภาคตะวันออกและภาคใต้ คือ แบ่งออกเป็น ๓ ฤดู ฤดูละ ๔ เดือน ได้แก่ ๑. เหมนฺต (เหมันต์) = ฤดูหนาว ๒. คิมฺหาน (คิมหันต์) = ฤดูร้อน ๓. วสฺสาน (วัสสานะ) = ฤดูฝน
    ส่วนแบบ ที่ ๒ เป็นการแบ่งฤดูตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินเดียทางภาคเหนือ คือ แบ่งออกเป็น ๖ ฤดู ฤดูละ ๒ เดือน ได้แก่ ๑. เหมนฺต (เหมันต์) = ฤดูหนาว ๒. สิสิร (สิสิระ) = ฤดูหมอกหรือน้ำค้าง ๓. วสนฺต (วสันต์) = ฤดูใบไม้ผลิ ๔. คิมฺหาน (คิมหันต์) = ฤดูร้อน ๕. วสฺสาน (วัสสานะ) = ฤดูฝน ๖. สรท (สารท) = ฤดูใบไม้ร่วง

    จะเห็นได้ว่าการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทยนั้นคล้ายคลึงกับการแบ่งฤดูกาลในประเทศ อินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ซึ่งอยู่ในเขตมรสุม คือ มี ๓ ฤดู ดังนั้น หากจะนำคำเรียกชื่อฤดูในภาษาบาลีสันสกฤตมาเทียบใช้แทนคำเรียกชื่อฤดูในภาษา ไทย ก็สามารถเทียบใช้ได้ดังนี้
    เหมันต์ = ฤดูหนาว คิมหันต์ = ฤดูร้อน วัสสานะ = ฤดูฝน
    ข้อมูลจาก :
     
  17. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ประเทศซีกโลกเขตร้อนนั้นแบ่งฤดูออกเป็น 3 ฤดู แต่ที่ประเทศอินเดียมี การแบ่งฤดูกาลในประเทศอินเดียมีความแตกต่างจากการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทย เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศไม่เหมือนกัน และนอกจากนี้ในประเทศอินเดียเองยังมีการแบ่งฤดูที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่และลักษณะ ภูมิอากาศอีกด้วย ฤดูในประเทศอินเดียว่า มีการแบ่ง ๒ แบบ
    แบบแรก เป็นการแบ่งฤดูตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินเดียทางภาคตะวันออกและภาคใต้ คือ แบ่งออกเป็น ๓ ฤดู ฤดูละ ๔ เดือน ได้แก่ ๑. เหมนฺต (เหมันต์) = ฤดูหนาว ๒. คิมฺหาน (คิมหันต์) = ฤดูร้อน ๓. วสฺสาน (วัสสานะ) = ฤดูฝน
    ส่วนแบบ ที่ ๒ เป็นการแบ่งฤดูตามลักษณะภูมิอากาศของประเทศอินเดียทางภาคเหนือ คือ แบ่งออกเป็น ๖ ฤดู ฤดูละ ๒ เดือน ได้แก่ ๑. เหมนฺต (เหมันต์) = ฤดูหนาว ๒. สิสิร (สิสิระ) = ฤดูหมอกหรือน้ำค้าง ๓. วสนฺต (วสันต์) = ฤดูใบไม้ผลิ ๔. คิมฺหาน (คิมหันต์) = ฤดูร้อน ๕. วสฺสาน (วัสสานะ) = ฤดูฝน ๖. สรท (สารท) = ฤดูใบไม้ร่วง

    จะเห็นได้ว่าการแบ่งฤดูกาลในประเทศไทยนั้นคล้ายคลึงกับการแบ่งฤดูกาลในประเทศ อินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ซึ่งอยู่ในเขตมรสุม คือ มี ๓ ฤดู ดังนั้น หากจะนำคำเรียกชื่อฤดูในภาษาบาลีสันสกฤตมาเทียบใช้แทนคำเรียกชื่อฤดูในภาษา ไทย ก็สามารถเทียบใช้ได้ดังนี้
    เหมันต์ = ฤดูหนาว คิมหันต์ = ฤดูร้อน วัสสานะ = ฤดูฝน
    ข้อมูลจาก :
     
  18. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    เรื่อง พุทธศิลป์ โพธิบัลลังค์ อย่าลืมว่าอินเดียโดนล้างศาสนาพุทธนานแล้ว


    ประเพณีแรกนาขวัญซึ่งให้ ราชา กษัตริย์มาแรกนา เช่นไทย คงหดหายไปแล้ว ถึงไม่ปรากฎ
    แต่อาจจะมีในรัฐสิกขิม เหล่าไทอาหม

    ส่วนประเพณีชายขอหญิงนี่ก็เหมือนกัน
    อย่าลืมว่า ศาสนาพราหมณ์ปรับตัวเกือบตลอดเกิดลัทธิหลายอย่างตลอด เวลา
    เรื่อง ชายขอหญิงคงจะโดน ศาสนาพรามหณ์เปลี่ยนด้วย เพระาเค้าถือว่าเค้าเป็นผู้สื่อกับเทวะได้
    และ ประเทศอินเดียกว้างมาก มีหลายความเชื่อ เราจะรู็ได้ยังไงว่า ประเพณีที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่เคยมีอยู๋ในอินเดีย
    อาจเคยแต่หดหายลงไป เมื่อกาลเวลามันผ่านไป ก็ได้
    ใครจะรู็้ ้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 สิงหาคม 2009
  19. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    คุณจะกล้าเชื่อหรือไม่ว่า
    จากหลักฐานใหม่
    ยืนยันว่าพระพุทธเจ้ามิได้ ปรินิพพาน ในอินเดีย
    ตามที่นักสำรวจฝรั่งบันทึกไว้
    แล้วสิ่งที่ค้นพบใหม่นี้ยืนยันว่า
    พระองค์ปรินิพพานที่ไหน...??
    ประเทศไทย คือ แผ่นดินที่อุปัฏฐากพระพุทธองค์
    มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจริงหรือ...?
    หากอ่านหนังสือเล่มนี้
    คุณอาจกล้าพอที่จะเชื่อ

    ความลับพระพุทธเจ้า

    http://www.megguru.com/book_detail.php?navi=2&id=6
     
  20. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    เซ็งจิต โพสเต็มๆ ดันไม่ขึ้นให้ ....กรรม

    เวลาของอินเดีย ช่วงพรรษาตรงใกล้เคียงกับไทยนะจ๊ะ ๆ

    ระวัง มารศาสนาปลอมตัวเน้อ เอาประวัติศาสตร์ปลอมๆ มาประกาศ
     

แชร์หน้านี้

Loading...