เข้าใจ เข้าถึง ในศีล ๕

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 29 มีนาคม 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    [​IMG]
    [SIZE=+1][SIZE=+1]พระพุทธชินสีห์ [/SIZE][/SIZE][SIZE=+1][SIZE=+1]วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ [/SIZE]
    [/SIZE]



    อย่างไรที่เรียกว่าศีลขาด


    --------------------------------------------------------------------------------

    .......จากเรื่อง " กุรุธรรม " นั้น ปรากฏชัดว่า ชาวกุรุ เป็นผู้มีความตั้งใจในการรักษาศีลอย่างดียิ่ง

    แต่ ทว่า น่าเสียดายความภาคภูมิใจในศีลของพวกเขา กลับถูกริดรอนไปเพราะขาดความมั่นใจใน การจะวินิจฉัยว่า การกระทำของตนนั้นเป็นการผิดศีล ศีลขาดหรือไม่ จึงก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ พึงพอใจในศีลของตน

    แม้เราเองก็เช่นกัน แต่ละอย่างก้าวของชีวิตที่ดำเนินไปหลายครั้งหลายครา เราคงพบว่าได้ เบียดเบียนชีวิตอื่นโดยมิได้ตั้งใจ เราอาจต้องทำไปเพราะภาระหน้าที่ หรือแม้จะมีเหตุผลอื่นๆ อีก มากมาย แต่เราก็คงยังรู้สึกไม่สบายใจอยู่นั่นเอง ด้วยสงสัยว่าการกระทำของเราผิดศีลหรือไม่ และ สำหรับบางคนอาจเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ซึ่งไม่ควรเป็นเช่นนั้นเลย

    ดังนั้น ในการรักษาศีล เราจึงควรศึกษาทำความเข้าใจในเรื่ององค์วินิจฉัยศีล ซึ่งเป็นหลักใน การวินิจฉัยว่า ศีลขาดหรือไม่

    องค์วินิจฉัยศีล

    การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

    ๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
    ๒. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
    ๓. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
    ๔. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
    ๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

    การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

    ๑. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๒. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๓. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
    ๔. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
    ๕. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

    การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

    ๑. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
    ๒. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
    ๓. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
    ๔. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน

    การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

    ๑. เรื่องนั้นไม่จริง
    ๒. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
    ๓. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
    ๔. คนฟังเข้าใจความหมายตามที่พูดนั้น

    การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

    ๑. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
    ๒. มีจิตคิดจะดื่ม
    ๓. พยายามดื่ม
    ๔. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป

    .......จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการ กระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด

    ตัวอย่าง เช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตายโดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้ เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ ๕ ของการฆ่าสัตว์

    ส่วนการกระทำใดๆ ที่แม้จะไม่ครบองค์วินิจฉัยศีล เช่น การฆ่ามีองค์ ๕ แต่ทำไปแค่องค์ ๔ อย่างนี้เรียกว่าศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็จะเรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย ตามลำดับ

    นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ ยังได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การละเมิดศีลแต่ละข้อจะมี โทษมากหรือน้อย นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้

    การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ

    ๑. คุณ การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์ที่มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ที่ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น

    ๒. ขนาดกาย สำหรับสัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมาก กว่าการฆ่าสัตว์เล็ก

    ๓. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย

    ๔. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่น การฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว

    การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ

    ๑. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
    ๒. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
    ๓. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

    การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ

    ๑. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
    ๒. ความแรงของกิเลส
    ๓. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

    การพูดเท็จ มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ

    ๑. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
    ๒. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
    ๓. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น

    - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า " ไม่มี " เพราะไม่อยากให้ของๆ ตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก

    - บรรพชิต พูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน " รู้เห็น " ในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็น มีโทษมาก

    การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ


    ๑. อกุศลจิต หรือกิเลสในการดื่ม
    ๒. ปริมาณที่ดื่ม
    ๓. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา

    ........ อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นศีลขาด ศีลทะลุ ศีลต่าง หรือ ศีลพร้อย ก็ล้วนแต่เป็นการทำลายคุณภาพใจให้เสื่อมลง หรือที่เราเรียกว่าบาปนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมืดมน มากขึ้นด้วย

    เราจึงควร ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อัน จะนำมาซึ่งการรักษาคุณภาพใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด สุขสบาย ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง

    จากหนังสือ.....

    ศีล....เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม

    พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก ป.ธ. ๙

    ขอขอบคุณ
    http://www.baddevil.net/forum/index.php?topic=128.0


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 พฤษภาคม 2012
  2. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    <table width="544" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="732"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">การรักษาศีล

    อันศีลที่บริสุทธิ์นั้นต้อง ไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย

    ศีลที่เป็นท่อนนั้นคือ ศีลขาด เหมือน อย่างผ้าที่เป็นผืนเดียวแล้วก็ขาดออกจากกันเป็นสองผืน ดั่งนี้เรียกว่าขาด ศีลที่ขาดนั้นคือศีลที่ได้ละเมิดออกไปอย่างเต็มที่จนบรรลุถึงที่สุด ดั่งเช่นข้อปาณาติบาตินั้น ฆ่าสัตว์ตั้งต้นแต่มีอกุศลเจตนาที่จะฆ่า แล้วก็ทำการฆ่า แล้วสัตว์นั้นตายด้วยอกุศลเจตนานั้น แปลว่าครบองค์

    ยกตัวอย่างเช่นศีลข้อ ๑ นี้ ที่ท่านแสดงไว้มีองค์ ๕ คือ

    ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒. ปาณสญฺญิตา ตนรู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๔. ตชฺโชวายาโม ความเพียรที่เกิดจากเจตนานั้น
    ๕. เตน มรณํ สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น

    ดั่งนี้เรียกว่าศีลขาด

    ทีนี้หากสัตว์นั้นไม่ตายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม แต่ว่าได้มีจิตคิดจะฆ่า ได้มีความเพียรที่จะฆ่า น้อยหรือมากก็ตาม แต่ว่าสัตว์ไม่ตาย ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง คือ เหมือนอย่างผ้าที่ขาดเป็นช่องเล็กช่องใหญ่ แต่ว่าไม่ถึงกับขาดเป็น ๒ ท่อน แต่ว่าเป็นช่องๆ ทะลุเป็นช่องๆ ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง

    คราวนี้หากว่ามีจิตคิดจะฆ่าและไม่ถึงกับได้ประกอบความเพียรออกไป คิดงุ่นง่านอยู่ในใจละเมินอยู่ในใจ ไม่ถึงกับจะทำออกไป ดั่งนี้เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย เหมือนอย่างผ้าที่ไม่ขาดเป็นท่อน ไม่ทะลุเป็นช่อง แต่ว่าเปรอะเปื้อนด่างพร้อย ไม่เป็นผ้าที่สะอาด

    ฉะนั้นแม้มีจิตงุ่นง่านคิดที่จะฆ่าอยู่ดั่งนี้ ก็เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย คือถ้าคิดว่าจะฆ่าอย่างแรง

    ถ้าหากว่าไม่ถึงคิดว่าจะฆ่า แต่จิตเดือดร้อนคิดที่จะทำร้าย ก็แปลว่าไม่ถึงกับด่างทีเดียว แต่ว่าพร้อย ก็เป็นอันว่าไม่บริสุทธิ์

    : ลักษณะพุทธศาสนา ๑๙ กันยายน ๒๕๒๖
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4662&sid=dc1b0bc136cf0cd5c4d618402087bf3f

    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" valign="bottom" height="40">
    </td></tr></tbody></table>
     
  3. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕


    ผู้รักษาศีลข้อที่ ๑ คือไม่ฆ่าสัตว์ตัวชีวิต (ไม่ทำปาณาติบาต) ย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๒๓ ประการ คือ

    ๑. บริบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ คือร่างกายไม่พิกลพิการ
    ๒. มีกายสูงและสมส่วน
    ๓. สมบูรณ์ด้วยความคล่องแคล่ว
    ๔. เป็นผู้มีเท้าประดิษฐานลงด้วยดี
    ๕. เป็นผู้สดใสรุ่งเรือง
    ๖. เป็นคนสะอาด
    ๗. เป็นคนอ่อนโยน
    ๘. เป็นคนมีความสุข
    ๙. เป็นคนแกล้วกล้า
    ๑๐. เป็นคนมีกำลังมาก
    ๑๑. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
    ๑๒. มีบริษัทบริวารมิได้พลัดพรากจากตน
    ๑๓. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัว
    ๑๔. ข้าศึกศัตรูทำร้ายมิได้
    ๑๕. ไม่ตายด้วยความเพียรของผู้อื่น
    ๑๖. มีบริวารหาที่สุดมิได้
    ๑๗. รูปสวย
    ๑๘. ทรวดทรงสมส่วน
    ๑๙. ป่วยไข้น้อย
    ๒๐. ไม่มีเรื่องเสียใจ
    ๒๑. เป็นที่รักของชาวโลก
    ๒๒. มิได้พลัดพรากจากผู้หรือสิ่งที่รักและชอบใจ
    ๒๓. มีอายุยืน
    รักษาศีลข้อ ๑ คือไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีคุณานิสงส์ ล้วนแต่น่าพอใจ ล้วนแต่ทำให้สุขใจ

    ผู้รักษาศีลข้อที่ ๒ คือข้อไม่ลักทรัพย์(อทินนาทาน) ผู้รักษาย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๑๑ ประการ ดังนี้
    ๑. มีทรัพย์มาก
    ๒. มีข้าวของและอาหารเพียงพอ
    ๓. ได้โภคทรัพย์ไม่สิ้นสุด
    ๔. โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ย่อมได้
    ๕. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืน
    ๖. หาสิ่งที่ปรารถนาได้อย่างรวดเร็ว
    ๗. สมบัติไม่กระจัดกระจายด้วย ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือญาติฉ้อโกง
    ๘. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง
    ๙. ได้โลกุตตรทรัพย์
    ๑๐. ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
    ๑๑. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข

    ผู้รักษาศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่เว้นจากการประพฤติผิดในการ (ไม่ทำชู้กับคู่ครองของผู้อื่น) ได้รับอานิสงส์ผลถึง ๒๐ ประการ (ปรมตฺถโชติกา) คือ
    ๑. ไม่มีข้าศึกศัตรู
    ๒. เป็นที่รักแห่งชนทั่วไป
    ๓. หาข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ อาศัยได้ง่าย
    ๔. หลับก็เป็นสุข
    ๕. ตื่นก็เป็นสุข
    ๖. พ้นภัยในอบาย
    ๗. ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
    ๘. ไม่โกรธง่าย
    ๙. ทำอะไรก็ทำได้ โดยเรียบร้อย
    ๑๐. ทำอะไรก็ทำโดยเปิดเผย
    ๑๑. คอไม่ตก (คือมี สง่า)
    ๑๒. หน้าไม่ก้ม (คือมีอำนาจ)
    ๑๓. มีแต่เพื่อนรัก
    ๑๔. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
    ๑๕. มีลักษณะบริบูรณ์
    ๑๖. ไม่มีใครรังเกียจ
    ๑๗. ขวนขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย หากินง่าย
    ๑๘. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
    ๑๙. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร ๆ
    ๒๐. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก


    ผู้รักษาศีลข้อที่ ๔ คือเว้นจาการพูดปด พูดหลอกลวงปลิ้นปล้อน ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๔ ประการ (ปรมตฺถโชติกา)
    ๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
    ๒. มีวาจาไพเราะสละสลวย
    ๓. มีไรฟันอันเสมอชิตบริสุทธิ์
    ๔. ไม่อ้วนเกินไป
    ๕. ไม่ผอมเกินไป
    ๖. ไม่ต่ำเกินไป
    ๗. ไม่สูงเกินไป
    ๘. ได้แต่สัมผัสอันเป็นสุข
    ๙. ปากหอมเหมือนดอกบัว
    ๑๐. มีบริวารล้วนแต่ขยันขันแข็ง
    ๑๑. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อได้
    ๑๒.ลิ้นบางแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
    ๑๓. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
    ๑๔. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้


    ผู้รักษาศีล ๕
    คือเว้นจากการเสพสุราเมรัย สารเสพย์ติดทุกชนิด ย่อมได้รับอานิสงส์ ๓๕ ประการ (ปรมตฺถโชติการ)
    ๑. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
    ๒. มีสติตั้งมั่งทุกเมื่อ
    ๓. ไม่เป็นบ้า
    ๔. มีความรู้มาก
    ๕. ไม่หวั่นไหว (ผู้ใดชวนในทางผิดไม่ร่วมมือด้วย)
    ๖. ไม่งุนงง ไม่เซอะ
    ๗. ไม่ใบ้
    ๘. ไม่มัวเมา
    ๙. ไม่ประมาท
    ๑๐. ไม่หลงใหล
    ๑๑. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
    ๑๒. ไม่มีความรำคาญ
    ๑๓. ไม่มีใครริษยา
    ๑๔. มีความขวนขวายน้อย
    ๑๕. มีแต่ความสุข
    ๑๖. มีอต่คนนับถือยำเกรง
    ๑๗. พูดแต่คำสัตย์
    ๑๘. ไม่ส่อเสียดใคร ไม่มีใครส่อเสียด
    ๑๙. ไม่พูดหยาบกับใคร ไม่มีใครพูดหยาบด้วย
    ๒๐. ไม่พูดเล่นโปรยประโยชน์
    ๒๑. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
    ๒๒. มีความกตัญญู
    ๒๓. มีกตเวที
    ๒๔. ไม่ตระหนี่
    ๒๕. รู้เฉลี่ยเจือจาน
    ๒๖. มีศีลบริสุทธิ์
    ๒๗. ซื่อตรง
    ๒๘. ไม่โกรธใคร
    ๒๙. มีใจละอายแก่บาป
    ๓๐. รู้จักกลัวบาป
    ๓๑. มีความเห็นถูกทาง
    ๓๒. มีปัญญามาก
    ๓๓. มีธัมโมชปัญญา (มีปัญญารสอันเกิดแต่ธรรม)
    ๓๔. เป็นปราชญ์ มีญาณคติ (เป็นคลังแห่งปัญญา)
    ๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้ในสิ่งอันเป็นโทษ

    ขอขอบคุณ
    http://www.kanlayanatam.com/sara/sara5.htm
     
  4. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    <center>การสร้างบุญบารมี</center> <center> [​IMG]ทาน [​IMG]ศีล [​IMG]ภาวนา </center>
    โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    "ศีล" นั้นแปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับคือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวกันก็ยังจัดแบ่งออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)

    คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

    การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเองก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้ คือ

    ๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

    ๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้ว รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาที่มี ศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

    ฉะนั้นในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมบารมีในบารมี ๑๐ ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง ๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อ ๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งล้วนแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆน้อยๆหากไม่มีอกุลกรรมอื่น มาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น

    อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ กล่าวคือ

    ๑. ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมีพลานามัยที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันควร

    ๒.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่น้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบกับช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆเช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

    ๓.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลในข้อนี้ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบกับรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดาก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

    ๔.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผลชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้ฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

    ๕.ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๕ ด้วย การไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม

    อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆ ขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้นจะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีใน ชั้นกลาง ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สงสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงสุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุดเป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล

    [​IMG]





     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 เมษายน 2009
  5. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    โมทนา สาธุการ.........ดังๆๆๆๆๆ........ครับ

    สา........ธุ..........ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง.......เป็นอนันต์......ตลอดอนันตกาล.........พระนิพพาน ย่อมรออยู่เบื้องหน้า.......ไม่ผิดเลย.......

    ย่อมถึงพร้อมด้วย....มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และ นิพพานสมบัติ.....โดยแท้

    ปรารถนาสิ่งใด ย่อมสำเร็จโดยชอบ.......ทั้ง พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ และ สาวกภูมิ.........ย่อมเข้าถึง อภิญญา 6 วิโมกข์ 8 ปฏิสัมภิทา 4........และ รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ.....สุข ความไม่มีโรค กำลังแห่งกาย กำลังแห่งสติปัญญา อันสมบูรณ์พร้อม.........ย่อมบังเกิดแก่ผู้ที่ได้เผยแพร่ "ธรรมทาน" และ ได้อนุโมทนาใน "ธรรมทาน" นี้ นั้นแล.....

    สา.....ธุ
     
  6. patcha2001

    patcha2001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +174
    เข้าใจ เข้าถึง ในศีล5

    กัลยาณ.มิตร ย่อมแนะนำและชักจูงให้กระทำสิ่งที่ดี

    ยกกระทู้ดีๆ...........แสดงความคิดดีๆ...........

    มาแบ่งปันกัน........


    ร่วมด้วย.....ช่วยกัน.....สร้างเสริมสังคมไทย....

    ให้น่าอยู่.....ปุถุชนพึงถือศีล5.....Enough....


    (good):z13:love::VO;aa22;aa20;aa42wel lcome_;hi2thaxx({)({)({)({)({)
     
  7. ฉีเทียนต้าเซิ่น

    ฉีเทียนต้าเซิ่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +21
    พวกนี้จัดอยู่ในศีลข้อใดบ้างครับ
    1 ขาย - เสพ ยาเสพติด
    2 เล่นการพนัน
    3 คอรัปชั่น คนโกงคนอื่น
    4 หมิ่นเบื้องสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  8. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    หวัดดีจ้า1หวัดดีจ้า1หวัดดีจ้า1หวัดดีจ้า1หวัดดีจ้า1
     
  9. bridge

    bridge เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,252
    ค่าพลัง:
    +1,814
    สุดยอดคะ ขออนุญาติ โพสท์ตัวบนสุดไปเผยแพร่แก่เพื่อนใน fc นะคะ
     
  10. bridge

    bridge เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,252
    ค่าพลัง:
    +1,814
    นักศึกษาชอบบ่นว่าอาจารย์ไม่สอนศีลธรรม
    เลยเอาไปแปะไว้ที่ facebook เลยหละกันจะได้ทั่วถึง
     
  11. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,027
    [​IMG]

    กราบโมทนา สาธุ ท่านผู้มีใจบุญใจกุศล เสียสละเวลาหาบทความ นำบทความที่ดี มีสาระประโยชน์ ให้ผู้อ่านได้ศึกษา อันก่อให้เกิดปัญญาในการพิจารณา เมื่อปัญญาพิจารณาแล้ว จิตจะเป็นผู้กำหนด เป็นผู้เลือกความถูกต้อง ถือว่าเป็น จาคะ คือการให้และการให้นั้น ให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อีกทั้ง ถือว่าการให้นั้น เป็นธรรมทาน เป็นบุญใหญ่ สมดั่งพระธรรมคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพยดา ปรากฏใน ตัณหาวรรค ธรรมบท ว่า “การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง ผู้ใดให้ธรรมะเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย“ ขอโมทนาสาธุ
     
  12. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    อนุโมทนา สาธุ กับเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่เสียสละเวลาทำกระทู้ดีๆ ให้สมาชิกเว็ปพลังจิตได้ศึกษาธรรมะกัน


    [​IMG]



    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม 7)

    ผลบุญจากธรรมทาน ซึ่งชนะทานทั้งปวง
    เพราะสร้างปัญญาให้เกิด

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. การให้ธรรมเป็นทาน คือ การให้เขาอ่านหรือฟัง หรือดูแล้วเกิดปัญญา เป็นการเพิ่มปัญญาบารมีให้กับตนเองด้วยและกับผู้อื่นด้วย จักทำให้มีปัญญาตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ เข้าถึงพระนิพพานเร็วเข้า

    ๒. อย่าลืมเราให้ทานอันใด เราย่อมได้ทานอันนั้นตอบสนอง จักหวังผลหรือไม่หวังผลตอบแทนก็ตาม แต่กฎของกรรมก็เที่ยงอยู่อย่างนี้แหละ

    ๓. อนึ่ง แม้เรื่องภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เจ้าเขียนนั้น การเขียนบรรยายธรรมไว้ใต้ภาพ ก็อย่าให้ย่อมากไปจนเสียใจความของธรรมะ ความใดควรยาวก็ให้ยาวเข้าไว้ ความใดควรสั้นก็สั้นตามนั้น ต้องให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจในธรรมปฏิบัติได้เป็นสำคัญ นั่นแหละจึงจักมีอานิสงส์ที่สมบูรณ์


    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    มาดันกระทู้ดีๆมีสาระค่ะ
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้นะคะ
     
  14. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    update ครับ .......................
     

แชร์หน้านี้

Loading...