ผมบังคับ ไออุ่นเหมือนไฟหุ้มรอบตัวผมได้ ผมม๊ะรู้ค๊าบบช่วยหน่อย ตอบที

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นายเมธี12, 26 มกราคม 2009.

  1. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    หลังจากวันที่ผมปฏิบัติ ประคองจิต ให้ได้ระดับนึงที่เหมือนกับ ญาณ
    รึเปล่าที่มันเหลือแต่หัวแล้วก็หมุนติ๊วๆๆ ตัวก็โยกแรงมากๆจนคอแทบหลุด อีกวันมาผมก็ตั้งกระทู้และก็มีหลายท่านเข้ามาตอบและก็บอกไม่ต้องไปสนใจอาการผมก็ไม่สนใจและ ให้จิตมอง ตามมอง ตามรู้
    ผมก็ตามมอง ตามรู้ว่าร่างกายเป็นไงอยู่ แล้วอาการโยกก็หายไป จะมีก็มีนิดเดียว นิดๆแบบว่า จะเริ่มโยก พอกำหนดจิตให้ตามรู้ ว่าร่างกายทำอะไร มันก็หายไป ทำไมคนอื่นเค้า ทำนานกว่าจะได้ผมทำแป๊ปเดียว เอากับมันสิน่า -.- และก็ ผ่านมาอีกวันผมก็ไม่ได้ นั่งสมาธิ เลย แต่ มันกลับ มีอะไรที่ อธิบายได้ยากมากๆ คือ ผม สามารถที่จะทำให้ไออุ่นๆนี้ร้อนขึ้นมาได้ หรือ ลดความร้อนลงให้อุ่นๆได้ แปลกจัง ทั้งที่ผม ฝึกวิปัสนา ไม่ได้ ฝึกมโนมยิทธิสักกะนิดเลย เพราะแค่กำหนดลมหายใจเข้าออก บริกรรมคำว่า พุท โธ และ คงสมาธิไว้ เท่านั้นเอง แล้ว ตกลง ผมจะไปทางไหนดี ทาง มโนมยิทธิ หรือว่า วิปัสนา ดีครับ แต่มันก็ทำให้รู้สึกดีเวลาที่มีไอร้อนผ่าวๆอยู่รอบๆกาย เวลาอากาศหนาวๆมานี้สบายเลยไม่ค่อยรู้สึกหนาวเลยจะหนาวก็นิดหน่อยแค่ลมเหมือนกันลมหายใจพัดผ่านเท่านั้น

    เดี๋ยวผมมานะคับ ไปทำธุระก่อน

    ขอบคุณทุกกระทู้ที่ตอบมานะครับ อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2009
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การที่เราไปรู้ทันกายเรา ไม่ใช่การไปรู้ทันกายขยับ แต่จิตเราไปรู้ทันตัณหาที่ละเอียด
    ที่มันผลักดัน เสมือนว่า กายมันหมุนเอง ที่มันหมุนเองก็เพราะจิตมันยินดีที่
    จะทำสมาธิในรูปแบบนั้น โดยมีการคาดหวังว่า ทำอย่างนี้จะได้ของดีอะไรสักอย่าง
    เราเลยปล่อยจิต จิตจึงทำได้เองเพราะมีอำนาจตัณหาครอง เพราะรักดี โดยมี
    ผู้สนองการทำกรรมดีนั้นคือ สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา

    แต่พอคุณเอา จิต มาระลึกดูกาย หากดูแบบเข้าไปจ้อง หรือ ประคอง ก็จะหมุน
    เร็วขึ้นแรงขึ้น เพราะมุมที่วางจิตเข้าไปดูมันไปเสริมเชื้อไฟตัณหาเข้า

    แต่พอคุณระลึกได้เองว่า ต้องดูกาย แบบนี้จะเกิดการทำงานที่เรียกว่า สติ ตาม
    พุทธศาสนา การเพ่ง จ้อง หรือ ประครองจึงหยุด การหมุนจึงหยุดทันที เพราะ
    สติที่เกิดตามแนวพุทธศานานั้นเป็น มหากุศลจิตเจตสิก เมื่อเกิดแล้ว จะมีหน้าที
    ทำลายอกุศลมูลจิต โมหะ และ โลภะ ที่เป็นตัวผลักดันการหมุนกายนั้นจึงขาดกระ
    เด็นหายไปต่อหน้าต่อตา

    เราภาวนาก็เพื่อเจริญสติ เพื่อให้เห็นสภาวะ ปัจจัย เหตุ และ ผล ของสิ่งที่เป็นไป
    ในเรา เราไม่ได้ภาวนาเจริญสติเพื่อจะหมนให้ได้อย่าลูกข่างและเอาความรู้นั้นไป
    ใช้ เรามาเอาปัญญาตรงที่เห็นการทำงานของพวกมหากุศลจิต ว่าเกิดอย่างไร มี
    อย่างไรจึงถูก ทำอย่างไรมหากุศลจิตจึงเกิดขึ้น เราจงใจสร้างมหากุศลจิตชนิด
    ต่างๆได้ไหม แล้วมหากุศลจิตทั้งหลายอะไรคือเหตุปัจจัยให้เกิด ก็จะสรุปลงมา
    ที่ สติ ที่มันเกิดเองโดยเราไม่ได้จงใจให้เกิด แต่เนื่องเราเคยฝึกอบรมจิตในการ
    ตามรู้ตามดูไว้ จิตจึงอบรมได้ และทำเอง เมื่อจิตทำเองก็จะเห็นว่า เราจะหลุด
    ออกจากการปรุงแต่งทั้งปวง ทั้งฝ่ายกุศล(สมถะ) และผ่านอกุศล(ไหลตามกิเลส)

    ทีนี้ เรื่องจะทำ สมถะ ต่อไปให้ได้อภิญญาทอดจิตถอดฝักออกมา กับ เรื่องจะทำ
    วิปัสสนาเจริญสติเข้าตรงตามแนวพุทธศาสนา ก็เป็นเรื่องที่คุณจะตัดสินใจเองโดย
    ดูจากจริตของตัวเอง ว่าควรเดินอ้อมๆ รักดีมาก่อน หรือ ว่าจะกล้าๆ ละวางแล้ว
    หันมาเจริญปัญญาไปตรงๆ

    แต่ผมบอกอีกครั้งนะว่า ถึงแม้จะมาตั้งใจเดินปัญญาตรงๆ แต่จริตเรามีอย่างไร จิต
    เขาก็จะดึงไปทำของเก่าที่เคยทำไว้ดีแล้วได้เอง ซึ่งทำอะไรได้นั้นจะดูจาก เมื่อผล
    สมถะปรากฏจะไม่ตื่นเต้นยินดีเพราะติดสงสัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2009
  3. mouy1331

    mouy1331 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +15
    ขออนุโมทนาคะ...เห็นด้วยและเข้าใจไปในทางเดียวกับคุณ..นิวรณ์(เมื่อก่อนก็เคยสงสัย)
     
  4. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    ขอร่วมแจมครับ

    คือผมสนับสนุนให้เจริญสติต่อไป ตามรู้กาย ตามรู้ใจ ...และขอย้ำว่า อาการไออุ่นที่รู้สึกได้นั้น เป็นเรื่องธรรมดาครับ

    บ้างก็เรียกว่า อาการของปีติ เมื่อจิตพอมีสมาธิ ...ในทางชี่กง(การฝึกสมถะแบบหนึ่ง ที่คล้ายวิชารำมวยไทเก๊ก) เมื่อมีสมาธิเพียงเล็กน้อย โดยเราเพ่ง(เป็นการเพ่ง ไม่ใช่การมีสติที่ถูกแบบเจริญสติครับ) ก็จะมีผลให้เกิดชี่ (หรือที่บางคนเรื่องว่า ปราณตามแบบโยคะ หรือเลือดลมเดิน ตามภาษาชาวบ้าน)

    จริงๆ มันมีผลดีต่อร่างกายบ้าง ในแง่กระตุ้นให้เลือดเดินดี และมีพลัง ซึ่งจะไปช่วยบำบัดโรคต่างๆ ได้ ...ถ้าเคยได้ฟังมาบ้าง ก็จะเข้าใจได้ว่า มันสอดคล้องกับพระภิกษุที่ปฏิบัติแนวสมถะก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น อาจหายป่วยหรือทุเลาอาการเจ็บป่วยได้

    ที่ผมอธิบายนั้น เพื่อให้ไม่ต้องกังวล เพราะมันไม่มีอันตราย (แถมมีประโยชน์) ...และมันไม่ใช่เรื่อง ทรงเจ้าเข้าผี หรืออภินิหาร หรือถือเป็นเรื่องมาร ผี มาก่อกวน การเจริญกรรมฐาน

    ผมเคยได้ยินว่า มีบางคนไม่เข้าใจ ก็มัวแต่กังวลและพยายามแก้ไข(ไออุ่นที่ว่า) ...ยิ่งไปสนใจมาก(เพ่งมากขึ้น) ชี่ยิ่งแรง เกิดความร้อนเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งตกใจ ...ยิ่งไปกันใหญ่ :)


    รู้แล้วก็ปล่อยไป และอาจเป็นการบอกได้คร่าวๆ ว่า เราอาจเพลอไปเพ่ง ร่างกายเสียแล้ว

    นอกจากนี้ อาการของชี่ก็มีต่างๆ กัน เช่น อาจรู้สึกชา หรือเหมือนมีมดไต่ หรือเหมือนถูกเข็มแทง ฯลฯ ก็ให้รู้แล้วไม่ต้องไปใส่ใจครับ
     
  5. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ
    คนที่ฝึกชี่กง ทำให้การเจ็บป่วยไม่สบายลดน้อยลงนะครับ ลดการใช้ยาได้ด้วยครับ
    มือเท้าจะอุ่น ศรีษะโปร่งเย็น อันนี้อาการขั้นต้นนะครับ ขั้นสูงๆอาการน่าจะเปลี่ยนครับ รู้สึกอาการอย่างหนึ่งจะเปลี่ยนสภาพการรับรู้ทางกายไปเหมือนมือนะครับ
    การรักษาส่วนใหญ่เขาจะมีอาจารย์สอนหรือตำราที่บอกรายละเอียดขั้นตอนการรักษาแต่ล่ะโรคไว้นะครับ ชี่กงจะไม่ค่อยส่งผลกระทบเวลาที่โกรธครับ
    รู้สึกอาการอย่างหนึ่งของกสิณไฟคือคนใจร้อนจะส่งผลเวลาที่โกรธ คนใจเย็นอาจไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อยนะครับ
     
  6. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    มีบางท่านที่เหมือนผม เค้าเคยบวชอยู่ในกลุ่มที่บวชให้ในหลวงพร้อมๆกัน80กว่ารูป มีท่านนึง ไอความเย็นของเขาเช่นเดียวกับผมเลยแต่ผมเป็นความร้อน แต่เค้าเป็นความเย็นเวลาเค้านั่งสมาธิ จะรู้สึกเย็นเหมือนมีไอเย็นรอบกาย
    คนที่เป็นอย่างนี้ล่ะคับ อธิบายได้รึเปล่าครับ ผมเคยเจอกับเค้ามาแล้ว พูดคุยกันด้วย
    ผมเป็นไอความร้อน เค้าเป็นไอความเย็น มันชักจะยังไงๆอยู่นา
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อธิบายว่ามีมานะครับ..เหมือนผมเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2009
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ร้อน กับ เย็น คือ ธาตุไฟทั้งคู่ครับ สรุปดื้อๆ คือ เหมือนกัน

    * * * *

    ในแง่วิทยาศาตร์ ความหนาแน่น หรือ ความกดอากาสมีผลต่อจุดเดือด
    ทำให้น้ำเดือดที่ 100 องศา C ที่พื้นผิวโลก แต่เมื่อนำน้ำเข้าสู่สภาวะ
    ไร้แรงดึงดูด หรือ สุญญกาศ น้ำจะเดือดที่ 0 องศา C เลยกว่านั้นถึงจะ
    เปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง แต่น้ำแข็งก็ยังมีความร้อนแฝงที่จะกลายเป็นไออยู่ดี
    สรุปคือ มีธาตุไฟทั้งขึ้นทั้งล่อง คำว่า "เย็น" จึงเป็นเพียงกามคุณ5 และ
    สัญญาที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงชนิดหนึ่ง ความเป็นจริงมันมี
    แต่ร้อน เย็นนั้นเอาไว้สำหรับเย็นอย่างยิ่ง สุขอย่างยิ่ง
     
  9. ่jinny95

    ่jinny95 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +1
    โยกเย้ก ๆ ^-^
     
  10. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    เรื่องไอเย็น หรือความรู้สึกว่าเย็น ผมเห็นว่า เกิดได้สองกรณีครับ

    1. ในคนที่เป็นคนใจเย็น(จิตใจเย็น) เวลาฝึกชี่กง ก็มีที่เกิดไอเย็น(ที่คนรอบข้างสัมผัสได้) ...ผมคิดว่า เป็นเพียงสนามพลัง(ทางจิต) เช่นเดียวกับเวลาที่เราอยู่ใกล้คนใจดี มีเมตตา เราก็จะรู้สึกอบอุ่น สบายใจ ปลอดภัยได้ ...คนจิตใจเย็น สงบ ก็ส่งผลให้เรารู้สึกเย็น(ใจ) และอาจเย็นไปถึงทางกายด้วยก็ได้

    2. ในการฝึกชี่กง สำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพคือขี้หนาว มีปัญหาเย็นแขน เย็นขา เพราะมีความไม่สมดุล หรือเลือดลมไม่ดี ...เวลาฝึกชี่กง ร่างกายมีการรวบรวมชี่(ในระหว่างที่ฝึก) ก็จะไปไล่ไอเย็นออกมา(ชี่ที่ไม่ดี ในกรณีนี้) ออกมา ...เคยคุยกับคนที่มีโรคเรื้อรัง เวลาฝึกชี่กงไประยะหนึ่ง ...ชี่มีมากเพียงพอ ...ก็เกิดป่วย รู้สึกหนาวมาก ห่มผ้าก็ไม่อุ่น ...หนาวอยู่หลายวัน และก็ฝึกชี่กงต่อไป ...สุดท้ายก็หายหนาว(ขับไอเย็นออกมาหมด) และสุขภาพดีขึ้นมาก


    สรุปคือ มันเป็นอาการที่เกิดได้ ...อย่าไปสงสัยให้มันฟุ้งซ่านไปเลยครับ ...เจริญสติต่อไป ..อะไรจะเกิด มันก็เกิดไปตามเหตุปัจจัยทางสุขภาพ ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน


    ผมของเสริมว่า อาการของจิตที่เพ่งร่างกาย(ปีติของสมถะ) อาจมีผลให้รู้สึกร้อน หรือรู้สึกเย็น หรืออาการชา อาการเจ็บ ฯลฯ ...ถ้าผมมองแบบชี่กง ก็คือการรักษาอาการของโรคที่แต่ละคนมีอยู่ไม่เหมือนกัน ...ในคนที่เคยบาดเจ็บในส่วนต่างๆ เวลาฝึกชี่กงสักระยะหนึ่ง ก็จะเกิดเจ็บ ที่ตำแหน่งที่เคยบาดเจ็บได้ ...เป็นเรื่องดี คือ เกิดการเอาโรคเก่าขึ้นมารักษา ...ในการรักษาจะมีอาการสะท้อนออกมาด้วย


    ในทางแพทย์แผนจีน การรักษาที่ถูกต้องจะต้องไล่สิ่งที่ไม่ดีออกจากร่างกาย แล้วจึงบำรุงสิ่งที่ดีเข้าไป ...การรักษาโรคต่างๆ จะมีอาการของโรคนั้นๆ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า กำลังรักษาโรคนั้นๆ อยู่ครับ ...ในบางกรณี ถ้าคนป่วยไม่เข้าใจ แล้วไปกินยาฝรั่งเพื่อแก้อาการป่วย เช่น ยาแก้ปวด ...การรักษา(ต้นเหตุของโรค)ก็จะหยุดลง

    และเท่าที่เคยได้ยินมา โรคที่ซ่อนอยู่ จะมีผลอีกครั้งเมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพอ่อนแอ ...โรคเหล่านี้ ก็จะกำเริบขึ้นมาอีก ...และการรักษาในช่วงอายุมาก ก็จะไม่ค่อยได้ผล เพราะถ้าใช้การตีโรคออกมา ร่างกายของคนสูงอายุก็มักจะทนไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2009
  11. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันครับว่าอยู่ที่จับอารมณ์ด้วยมัยนะครับ
    จับที่ท้องน้อยส่วนใหญ่น่าจะร้อนนะครับ จับลมที่อยู่ภายในส่วนใหญ่น่าจะเย็นนะครับ
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สาธุ ดีที่เห็น สติไวขึ้นแล้ว

    จะเห็นว่า ความร้อนเย็นนั้นมีในกาย แต่ละที่ไม่จำเป็น
    ต้องเป็นเหมือนกัน


    * * * *

    เหตุผลทางวิทยาศาตร์

    - หมอจึงเลือกวัดอุณหภูมิเฉพาะที่ เฉพาะโรค เฉพาะวัย
     
  13. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    เคยเห็นคนที่รักษาผู้ป่วยด้วยมือของเค้าเองที่มีมืออุณหภูมิร้อนๆแบบจีนโบราณ เดี๋ยวจะไปหาคลิ๊บมาให้

    ส่วนกรณีของผมอาจจะต่างกันเพราะผมมีทั่วร่างเลยคับ จะร้อนมากโดยเฉพาะหน้าอกเหมือนเป็นต้นกำเหนิดพลังยังไงยังงั้น
     
  14. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    คลิปที่ว่า ในวิชาชี่กงก็ใช้ส่งพลังผ่านทางฝ่ามืออย่างนั้นแหละครับ ...ใช้รักษาโรคได้ในระดับหนึ่ง

    ไม่ต้องสงสัยหรอกครับ เป็นเรื่องธรรมดา สำหรับผู้ที่ฝึกชี่กง ใครๆ ก็ทำได้ทั้งนั้น (ส่วนจะได้ผลมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับสมาธิ ความชำนาญ และพลังชี่ของคนๆ นั้น)

    ส่วนที่รู้สีกร้อนหรืออุ่นรอบตัว ก็ชี่เดินทั้งตัว ...ไม่มีอะไรแปลกหรอกครับ ...บางคนคิดมาก อย่างที่เล่าให้ฟังแล้ว ...เพราะในใจลึกๆ อยากจะมีฤทธิ์อะไรให้เหนือมนุษย์ ...จริงๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าทำถูกวิธีมันก็เกิด

    จะมีปัญหาเฉพาะคนที่บังเอิญเกิดสภาวะอย่างนี้ แล้วไม่มีความรู้ที่อธิบายสาเหตุ ...จะรู้สึกสับสน หรืออาจถึงขั้นกลัว หรืออาจหลงคิดไปว่า มีเจ้ามาเข้าทรงหรือตัวเองมีฤทธิ์เทพ (เพราะมันส่งเสริมอัตตา ที่อยากเป็นคนพิเศษ)

    สรุปว่า เกิดอะไรก็ให้ รู้ว่า เป็นเรื่องธรรมดา ...มันเกิดก็ตามรู้ แล้วก็เจริญสติต่อไปครับ ...ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นหรอก :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2009
  15. นายเมธี12

    นายเมธี12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +540
    แล้วถ้าในพุทธศาสนา จริตผมก็เป็นไฟ หน่ะสิคับ
     
  16. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ
    หาข้อมูลเจอมาครับ

    ธาตุกัมมัฏฐาน 4 (กรรมฐานคือธาตุ, กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์
    กำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เป็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่แต่ละอย่างไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา - meditation on the elements; meditation subject
    consisting of elements)
    1. ปฐวีธาตุ (the earth-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ภายในตัวก็มี
    ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด
    พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
    กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
    อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
    2. อาโปธาตุ (the water-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ภายในตัวก็มี
    ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด
    พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
    น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว
    ที่มีลักษณะเอิบอาบเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้.
    3. เตโชธาตุ (the fire-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน
    ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด
    พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น
    ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่ยังอาหารให้ย่อย
    หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะร้อนเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
    4. วาโยธาตุ (the air-element) คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง
    ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายในสำหรับกำหนด
    พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน
    ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมซ่านไปตามตัว ลมหายใจ
    หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะพัดผันไปเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
    ตัวอย่างธาตุที่แสดงข้างต้นนี้ ในปฐวีธาตุมี 19 อย่าง ในอาโปธาตุมี 12 อย่าง
    เติมมัตถลุงค์ คือมันสมอง เข้าเป็นข้อสุดท้ายในปฐวีธาตุ รวมเป็น 32 เรียกว่า อาการ
    32 หรือ ทวัตติงสาการ.
    ธาตุกัมมัฏฐานนี้ เรียกอย่างอื่นว่า ธาตุมนสิการ (การพิจารณาธาตุ -
    contemplation on the elements) บ้าง จตุธาตุววัฏฐาน (การกำหนดธาตุสี่ -
    determining of the four elements) บ้าง เมื่อพิจารณากำหนดธาตุ 4 ด้วยสติสัมปชัญญะ
    มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปในกาย ตระหนักว่ากายนี้ก็สักว่ากาย
    มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ดังนี้ จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานส่วนหนึ่ง



    ธาตุลมกับธาตุไฟรู้สึกจะจับความรู้สึกได้ ธาตุดินกับธาตุน้ำไม่รู้เหมือนกันนะครับว่าดูอย่างไร งงเหมือนกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2009
  17. Jintasak

    Jintasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,920
    ผมเข้าใจว่า ไม่มีจริตเป็นไฟ

    ที่เพ่งแล้วร้อน ในขณะที่ บางคนเพ่งแล้วเย็น บางคนเพ่งแล้วชา บางคนเพ่งแล้วสั่น ฯลฯ ...ก็เป็นอาการของปีติ ...ไม่เกี่ยวกับจริตหรอกครับ

    ที่ผมอธิบายด้วยทฤษฎีแพทย์แผนจีน(และชี่กง) เพราะผมเห็นว่า พอจะช่วยให้หายสงสัยได้ ว่าทำไมปีติจึงเกิดขึ้นได้

    ในความจริงแล้ว ร่างกายคนเราเมื่อเพ่ง(ทำสมถะ) ไม่ว่าด้วยการฝึกของชี่กง สมถะแบบพุทธ แบบฤาษีหรือแบบอื่นๆ ก็มีผลให้เกิดปีติ(แบบต่างๆ) ได้เท่าๆ กันแหละครับ ...เพราะมันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่เมื่อจิตนิ่ง(แบบเพ่ง ...ไม่ใช่การเจริญสติ) จะเกิดผลอย่างที่ว่า


    ทำสมถะด้วยชื่อวิชาอะไร ก็มีผลเหมือนกันครับ ...อย่าไปสับสนกับชื่อเรียก เป็นวิชาต่างๆ กัน


    ทั้งหมดนั้นน่าจะทำให้คลายความสงสัยได้แล้ว ...ส่วนเรื่องเพ่งแล้วร้อน ก็ปกติครับ ...ทั่วไปร่างกายคนเรามีความร้อนอยู่แล้ว ...ในเวลาปกติก็มี แต่เราไม่ได้สนใจและไม่ได้สังเกตุ ...เวลาทำสมถะแล้วจิตนิ่ง ก็เลย ไวต่อความรู้สึกต่างๆ (แม้เพียงเล็กน้อย) จึงรู้สึกร้อนกว่าเวลาไม่ทำสมถะ ...เช่น เวลาคุณเอามือสัมผัสท้องหรือต้นคอ มันก็อุ่นอยู่แล้ว แต่เราก็ไม่เคยสนใจ(รู้สึกว่าคออุ่น) ...ก็เท่านั้น


    นอกจากนี้ ถ้าจะคิดว่า เป็นความชำนาญสำหรับฝึกกสิณไฟ ก็ไม่น่าใช่ ...ปกติตำราแนะนำเรื่องกสิณ จะใช้หลักว่า ถ้าเพ่งกสิณไฟ แล้วสร้างภาพในจินตนาการเป็นเปลวไฟได้เร็ว ก็จะบอกว่า เคยฝึกมาในชาติก่อนๆ (ประมาณว่า สั่งสมมา ...ก็เป็นการเพิ่มอัตตา มานะเท่านั้นเอง)

    เท่าที่ทราบ การเจริญสติ หรือสติปัฎฐาน จะต้องเป็นการระลึกรู้สิ่งที่เราเข้าใจ(เชื่อหรือยึดถือ) ว่าเป็นตัวเรา เพื่อว่า เราจะพัฒนาจนเกิดมหาสติ ที่เห็นชัดในที่สุดว่า สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นตัวเรา มันไม่จริง

    การเพ่งกสิณทั้งหลาย หรือการเพ่งสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่กายและใจ (ที่เราเชื่อว่า เป็นตัวเรา) จะไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน (ไม่ใช่วิปัสสนา อย่างแน่นอน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2009

แชร์หน้านี้

Loading...