เพราะอะไรจินตนาการจึงสำคัญกว่าความรู้...............

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Por.f.R.P.Fenyman, 21 พฤศจิกายน 2008.

  1. Por.f.R.P.Fenyman

    Por.f.R.P.Fenyman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +17
    [​IMG]


    ศิลปะและวิทยาศาสตร์ เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน
    นี่เป็นความเชื่อลึกๆ อันหนึ่ง เป็นกำแพงศรัทธาที่นับวันก็ยิ่งก่อตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสอ่านความคิด สังเกตการทำงาน หรือพบปะพูดคุยกับศิลปิน และนักวิทยาศาสตร์ที่นับถือ
    เพราะรู้สึกว่าพวกเขาต่างได้แรงบันดาลใจจากสิ่งเดียวกัน คือความงดงามในธรรมชาติ
    ต่างกันเพียงแค่ – ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความงามด้วยอารมณ์ความรู้สึก แล้วถ่ายทอดออกมาเป็น “งานศิลปะ” ตามอารมณ์นั้น ในขณะที่อีกฝ่ายรับรู้ความงามด้วยการใช้เหตุผลวิเคราะห์ความเป็นไป แล้วถ่ายทอดออกมาเป็น “ความรู้” หรือทฤษฎี ตามกระบวนการใช้เหตุผล
    [​IMG]
    สมัยเรียนหนังสือ เพื่อนที่เป็นนักคณิตศาสตร์คนหนึ่ง เคยพยายามอธิบายความงามของ sine curve ในธรรมชาติให้ฟัง ขณะที่เราเดินเล่นด้วยกัน แล้วสังเกตเห็นสายไฟฟ้าเหนือหัวโค้งขึ้นลงเป็น sine curve
    แววตาของเขาตอนนั้น เป็นประกายไม่ต่างจากแววตาของอาจารย์วิชาดาราศาสตร์ ตอนอธิบายวิธีใช้กล้องดูดาว ที่อาจารย์เรียกเป็นลูก และไม่ต่างจากประกายในแววตาของเพื่อนจิตรกร ตอนระบายสีบนผืนผ้าใบ
    ศิลปะและวิทยาศาสตร์ อาจเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน เพราะในศาสตร์มีศิลป์ และในศิลป์มีศาสตร์
    และเพราะ “ความจริง” อาจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ “ความงาม” ดังวาทะอมตะของ จอห์น คีตส์ (John Keats) กวีชาวอังกฤษ:
    [​IMG]
    “ความงดงามคือความจริงสิ่งที่แท้
    ความจริงนั้นงามแน่แม้ไม่เห็น
    โลกสอนเจ้าเท่านี้ทุกเช้าเย็น
    และนั่นเป็นสิ่งเดียวที่ต้องรู้”
    (Beauty is truth, truth beauty, – that is all
    Ye know on earth, and all ye need to know.)
    นักวิทยาศาสตร์และศิลปิน อาจมีสิ่งที่เหมือนกัน มากกว่าความแตกต่างผิวเผินที่สื่อโดย “เส้นแบ่ง” ที่ซ่อนอยู่ภายใต้นิยามของคำสองคำนี้

    การศึกษาวิเคราะห์ความเหมือนเหล่านี้ อาจทำให้เราเข้าใจทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะดีขึ้น และก็น่าคิดกว่าการจำแนกแจกแจงความแตกต่างด้วย เพราะความต่างนั้นใครๆ ก็รู้อยู่แล้ว
    วันนี้เริ่มกันที่ “ความเป็นศิลปะ” อย่างหนึ่งในวิทยาศาสตร์ก่อน
    ……
    หนึ่งในวาทะอมตะของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือimagination is more important than knowledge
    ประโยคนี้ไม่ได้หมายความว่า กระบวนการทำงานของวิทยาศาสตร์นั้น ไม่สำคัญเท่ากับจินตนาการของมนุษย์ และไอน์สไตน์ก็ไม่ได้เสนอว่า ทุกคนควรใช้เวลาจินตนาการเพ้อฝันเรื่อยเปื่อย มากกว่าหาความรู้อย่างมีระบบแบบแผน
    ความเข้าใจผิดแบบนี้เกิดขึ้นง่าย ถ้าเราคิดว่า “จินตนาการ” และ “ความรู้” เป็นสองสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างกันเลย
    แต่ในความเป็นจริง จินตนาการและความรู้เกี่ยวโยงกันอย่างลึกซึ้งในวิทยาศาสตร์ ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ที่ยังไม่มีใครอธิบายได้ เช่น การทำงานของสมองมนุษย์ ล้วนเข้าใจดีว่า จินตนาการเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ ที่นำไปสู่ความรู้ และความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ
    เพราะแทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราจะค้นพบความรู้ใหม่โดยไม่อาศัยจินตนาการ เพราะสิ่งที่เราไม่รู้นั้น มีตัวแปรและความเป็นไปได้มากมายเป็นพันเป็นหมื่น เกินกว่่่าลำพังเหตุผล และกระบวนการค้นคว้าทดลองในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง จะรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ออกมาเป็น “ความรู้” ได้
    และที่ร้ายไปกว่านั้น โดยมากเรามักไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ความจริงที่เรายังไม่รู้นั้น มีหน้าตาขอบเขตอย่างไร เหมือนกับนักสำรวจที่กำลังเดินสำรวจถ้ำมืด ที่ไม่มีใครเคยเข้ามาก่อน
    ตราบใดที่นักสำรวจยังหาทางออกไม่เจอ เขาก็ไม่สามารถระบุอย่างแน่ชัดว่า ถ้ำนี้มีขนาดกว้างยาวเท่าไหร่ และไปโผล่ที่ไหน
    ต้องอาศัยการคาดเดาอย่างมีเหตุผล สัญชาติญาณ และจินตนาการ ผสมรวมกันในการตัดสินใจเลือกว่าจะเดินทางไหน ทุกครั้งที่เจอทางสองแพร่งหรือมากกว่า ท่ามกลางหลืบถ้ำอันสลับซับซ้อน
    ระหว่างสำรวจถ้ำ นักสำรวจบันทึกเส้นทางที่เขาใช้ลงในแผนที่ และทาสีหินไปเรื่อยๆ จนเจอทางออก
    นักสำรวจอาจเจอทางออกอีกทาง ที่ไม่เคยคาดคิดว่ามีอยู่ก็ได้
    (เหมือนยาไวอะกร้า (Viagra) ที่โด่งดัง เกิดขึ้นหลังจากที่นักวิจัยประสบความล้มเหลวในการคิดค้นยาชื่อซิลเด็นนาฟิล (sildennafil) ซึ่งตั้งใจผลิตเพื่อรักษาโรคหัวใจ แต่กลับพบว่ายานี้สามารถรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายได้)
    งานของนักสำรวจ ทำให้คนอื่นๆ สามารถมาเที่ยวชมถ้ำนี้ได้ โดยอาศัยแผนที่ และสีที่เขาทาไว้ตามหิน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะหลงทาง
    ……
    จอห์น ดูวี่ย์ (John Dewey) นักปรัชญาชาวอเมริกัน กล่าวว่า “การค้นพบในวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ทุกอย่าง เกิดจากจินตนาการที่แรงกล้ากว่าเดิม” (Every great advance in science has issued from a new audacity of imagination.)
    [​IMG]


    เมื่อนักวิทยาศาสตร์เกิดจินตนาการ เขาต้องสามารถ “โยง” จินตนาการนั้น ให้เชื่อมต่อกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ด้วยหลักเหตุผล เพื่อให้เกิดการค้นพบ เป็น “ความรู้” ขึ้นมาได้
    ไม่อย่างนั้นความรู้ก็จะไม่มีวันเกิดจากจินตนาการ เหมือนคนธรรมดาที่ถูกลูกแอปเปิ้ลตกใส่หัว ก็อาจจินตนาการว่านี่เป็นการลงโทษจากพระเจ้า เพราะไม่มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ กลศาสตร์ และไม่ได้กำลังคิดเรื่องแรงโน้มถ่วง เหมือนเซอร์ไอแซ็ค นิวตัน
    [​IMG]
    ถ้าเขียนเป็นสมการ อาจได้ประมาณนี้มั้ง
    ความบังเอิญ + ความรู้เดิม + จินตนาการ = การคาดเดาอย่างชาญฉลาด (intelligent guess) –> การค้นพบทางปัญญา (intellectual discovery)
    การค้นพบทางปัญญา + บทพิสูจน์จากการทดลอง หรือคณิตศาสตร์ = ความรู้ที่พิสูจน์ได้
    ฝรั่งเรียกการค้นพบทางปัญญาที่มีความบังเอิญเป็นองค์ประกอบที่เด่นที่สุดว่า “serendipity”
    imagination is more important than knowledge เพราะหากเราไร้จินตนาการ องค์ความรู้ของเราก็จะถูกแช่แข็ง หยุดนิ่งอยู่กับที่ตลอดไป เราจะไม่สามารถค้นพบสัจธรรมใหม่ๆ ในธรรมชาติ ที่จะช่วยเพิ่มพูนและปรับเปลี่ยนองค์ความรู้ของเรา ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และถ่องแท้กว่าเดิม
    ที่สำคัญที่สุดคือ นักวิทยาศาสตร์ที่ไร้จินตนาการ จะไม่สามารถคิดอย่าง “บูรณาการ” (integrated thinking) คือนำความรู้จากนอกสาขาวิชาของตน มาประยุกต์ใช้ หรือวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ในสาขาวิชาที่ตัวเองถนัด โดยเฉพาะระหว่างกลุ่ม “วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ” เช่น คณิตศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ และกลุ่ม “วิทยาศาสตร์สังคม” เช่น มนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการเมือง
    เพราะความรู้ และการค้นพบใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นในปัจจุบัน มักมาจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้เดิมแบบบูรณาการ เช่น ใช้ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์ มาตีความพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้เงินในเศรษฐศาสตร์ ใช้โมเดลทางฟิสิกส์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการวิวัฒนาการตามธรรมชาติระบบเครือข่าย มาอธิบายโครงสร้างสังคมเมืองยุคใหม่ ใช้ความรู้ด้านธรณีวิทยาและชีววิทยา มาอธิบายประวัติศาสตร์มนุษยชาติในระดับทวีป ฯลฯ
    จินตนาการจึงเปรียบเสมือน “หัวเทียน” จุดประกายให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในความพยายามที่จะหลอมรวมองค์ความรู้ด้านต่างๆ ของเรา เข้าเป็นองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    เมื่อผนวกกับฐานความรู้เดิม จินตนาการทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถ “คาดเดาอย่างชาญฉลาด” (intelligent guess) ได้ ซึ่งการคาดเดาเหล่านี้ เมื่อมีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นด้านทฤษฎีหรือจากการทดลอง ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นความรู้
    บทความต่อไปนี้ยกตัวอย่างของการคาดเดาอย่างชาญฉลาดในวิทยาศาสตร์ ได้อย่างน่าสนใจและน่าคิด:
    ……
    การคาดเดาอย่างชาญฉลาดเป็นแรงขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์จริงหรือ?
    (Is science driven by inspired guesswork?)
    เอียน แม็คยวน (Ian McEwan)
    บทพิสูจน์ ไม่ว่าจะในวิทยาศาสตร์หรือชีวิตจริง เป็นไอเดียที่ยืดหยุ่นได้ เพราะได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอนานานัปการ และความช่างคิดช่างฝันของมนุษย์
    ตราบเวลาหลายร้อยปี ปัญญาชนผู้ปราดเปรื่องที่นับถือคริสต์หลายคนใช้หลักเหตุผล “พิสูจน์” ว่าพระเจ้ามีจริง แม้พวกเขารู้ตัวดีว่าไม่สามารถยอมรับข้อสรุปอย่างอื่นได้ [เพราะเป็นความเชื่อสูงสุดในศาสนาคริสต์]
    [ในตำนานกรีก] เมื่อเพเนโลปี (Penelope) ไม่แน่ใจว่า ชายแปลกหน้าที่ปรากฏตัวในเมืองอิธาก้า (Ithaca) นั้น คือยูลิสซีส (Ulysses) สามีของเธอผู้หายสาบสูญไปนานจริงหรือไม่ เธอคิดค้นวิธีพิสูจน์ซึ่งอาศัยการสร้างเตียงที่ใช้ในคืนแต่งงาน วิธีนี้อาจทำให้คนส่วนใหญ่พอใจ แต่ไม่ใช่นักตรรกวิทยาส่วนใหญ่
    แม่คนหนึ่งที่ถูกศาลตัดสินผิดพลาด สั่งให้จำคุกในข้อหาฆาตกรรมลูกตัวเอง โดยศาลอาศัยความเห็นของแพทย์เด็กผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งเป็นพยานหลักฐาน ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลว่า ผู้พิพากษาศรัทธาเกินไปหรือไม่ ในบทพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโรคตายเฉียบพลันในเด็ก
    [​IMG]
    นักคณิตศาสตร์น้อยอายุ 10 ขวบทุกคนที่ตื่นเต้นดีใจกับบทพิสูจน์ว่ามุมสามเหลี่ยมบวกกันได้ 180 องศาเสมอ จะค้นพบก่อนเขาได้โกนหนวดครั้งแรกว่า ความข้อนี้ไม่เป็นจริงเสมอไปในเรขาคณิตระบบอื่น [เช่น มุมของสามเหลี่ยมมุมฉากที่วาดบนผิวของลูกบอล จะบวกกันได้ 270 องศาดังรูป]
    มีน้อยคนบนโลกนี้ที่รู้วิธีสาธิตว่า สองบวกสองเป็นสี่ในทุกๆ กรณี แต่เราเชื่อว่านั่นคือความจริง เว้นเสียแต่ว่าเราจะโชคร้ายที่อยู่ภายใต้ระบอบการเมืองที่บังคับให้เราเชื่อในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นิยายของจอร์จ ออร์เวลล์ สตาลิน เหมาเจ๋อตุง พอลพต และผู้นำอื่นๆ อีกมากมายแสดงให้เราเห็นว่า ผลลัพธ์อาจเท่ากับห้า
    การหาวิธีพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่า อะไรต่างๆ เป็นความจริงแท้แน่นอนนั้น เป็นเรื่องยากเย็นจนน่าแปลกใจ มันยากมากที่จะจำแนกแยกแยะสมมุติฐานของเราที่ติดตัวมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ การท้าทายภูมิปัญญาของผู้อาวุโส หรือประเพณีที่สืบทอดกันมานาน ก็เคยเป็นการกระทำที่อันตราย ในอดีต ไม่ค่อยมีใครกล้ายั่วยุทวยเทพ หรืออย่างน้อยก็ผู้แทนของพวกเขาบนโลก
    บางที นี่อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ยิ่งใหญ่กว่าล้อ หรือเกษตรกรรม: ระบบความคิดที่เราเรียกว่าวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีพัฒนาการอันเชื่องช้าแต่ประณีต มีการพิสูจน์หักล้าง (disproof) เป็นหัวใจ และการตรวจแก้ตัวเอง (self-correction) เป็นกระบวนการสำคัญ
    คนจำนวนมากในโลก เพิ่งเริ่มลบล้างความเชื่องมงายในอิทธิฤทธิ์และอำนาจเหนือธรรมชาติ และหันมาสนับสนุนภารกิจทางความคิดอันกว้างขวาง ที่ทำงานด้วยการเพิ่มพูน โต้เถียง ขัดเกลา และเผชิญหน้าการท้าทายแบบถอนรากถอนโคนเป็นครั้งคราว เมื่อไม่ถึงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
    ไม่มีคัมภีร์ใดๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป – จริงๆ แล้ว สิ่งที่อาจนับเป็นการดูหมิ่นศาสนาอย่างหนึ่ง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ แน่นอน การสังเกตและบทพิสูจน์จากประสบการณ์หรือการทดลองนั้นสำคัญอย่างยิ่ง แต่วิทยาศาสตร์บางประเภทไม่มีอะไรมากไปกว่าอรรถาธิบายและการจัดหมวดหมู่ ไอเดียบางอย่างแพร่หลายเป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เพราะมันได้รับการพิสูจน์ แต่เพราะมันสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เรารู้แล้วในหลายสาขาวิชา หรือเพราะมันสามารถทำนายหรืออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ หรือเพราะมันเป็นสิ่งที่ผู้นำทางความคิดที่มีอำนาจอุปถัมภ์เชื่อมั่น – เป็นเรื่องธรรมดาที่วิทยาศาสตร์มีตัวอย่างมากมายเรื่องความบอบบางของธรรมชาติมนุษย์
    แต่ความทะเยอทะยานของคนหนุ่มสาว วิธีการโต้แย้ง และความตายที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ เป็นผู้กำกับดูแลอันทรงพลัง[ของวิทยาศาสตร์] นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวว่า วิทยาศาสตร์เดินได้ดัวยงานศพ
    วิทยาศาสตร์บางอย่างดูเป็นความจริงเพราะมีความสละสลวยงดงาม – ใช้สูตรที่ประหยัดเครื่องหมายถ้อยคำ แต่มีอำนาจอธิบายกว้างไกล แม้ทำความเดือดดาลให้กับสถาบันศาสนาคริสต์ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน (theory of natural selection)[​IMG] ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว อย่างน้อยก็ในบรรทัดฐานของแวดวงปัญญาชนสมัยวิคตอเรีย
    บทพิสูจน์ทฤษฎีนี้ของดาร์วินเต็มไปด้วยตัวอย่างที่เขาจัดวางลำดับอย่างละเอียดลออ ไอเดียที่ฟังดูไม่ซับซ้อนนี้สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้หลากหลายกรณีและสภาวะแวดล้อม นี่เป็นความจริงที่ประทับใจพระในคริสต์ศาสนานิกายแองกลิแคนหลายรูปที่ทำงานในชนบท ให้อุทิศเวลาว่างที่พวกเขามีเหลือหลาย ให้กับการศึกษาประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
    คำอธิบายของไอน์สไตน์ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาว่า แรงโน้มถ่วงเป็นผลลัพธ์จากส่วนโค้งของ “กาล-อวกาศ” (space-time curvature) ที่เกิดจากมวลและพลังงานที่อยู่ภายในของวัตถุนั้นๆ ไม่ใช่แรงลึกลับที่ดึงดูดวัตถุเข้าด้วยกัน ถูกนำ “ขึ้นหิ้งบูชา” บรรจุเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเรียนทั่วโลก ภายในไม่กี่ปีหลังจากที่เขาประกาศทฤษฎีนี้
    สตีเว่น ไวน์เบิร์ก (Steven Weinberg)
    เล่าว่า นับจากปี พ.ศ. 2462 เป็นต้นมา นักดาราศาสตร์หลายคณะพยายามทดสอบทฤษฎีนี้ ด้วยการวัดระดับความหักเหของแสงดาว ที่เกิดจากดวงอาทิตย์ช่วงสุริยุปราคา แต่โลกต้องรอการประดิษฐ์กล้องดูดาวที่วัดคลื่นวิทยุ ประมาณปี 2500 ก่อน จึงจะได้ค่าวัดที่เที่ยงตรงพอที่จะใช้เป็นบทพิสูจน์อย่างแท้จริง
    [​IMG]
    ในช่วงเวลา 40 ปี [ก่อนที่จะได้รับการพิสูจน์ด้วยข้อมูลว่าเป็นจริง] คนส่วนใหญ่เชื่อมั่นในทฤษฎีของไอน์สไตน์เพราะมันเป็น “ความงดงามที่มีเสน่ห์” ในคำกล่าวของไวน์เบิร์ก
    [​IMG]
    บทบาทของจินตนาการในวิทยาศาสตร์ ได้รับการกล่าวอย่างแพร่หลาย มีเรื่องเล่าจำนวนมากเกี่ยวกับสังหรณ์ใจที่กลายเป็นจริง ความสัมพันธ์ที่นึกออกทันควัน และเบาะแสที่ได้จากเหตุการณ์ปกติ (คงไม่มีใครลืมว่าเคคูเล่ (Kekulé) ค้นพบโครงสร้างของเบนซินด้วยแรงบันดาลใจจากงูกินหางที่เขาเห็นในฝัน) และชัยชนะของความงดงามเหนือความจริง ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
    [​IMG]
    เจมส์ วัตสัน (James Watson) [หนึ่งในทีมผู้ค้นพบดีเอ็นเอ] เล่าว่า เมื่อโรซาลิน แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) ยืนมองโมเดลสุดท้ายของโมเลกุลดีเอ็นเอที่สร้างขึ้นตามทฤษฎี เธอ “ยอมรับว่า โครงสร้างนี้สวยงามเกินกว่าจะไม่เป็นจริงได้”
    อย่างไรก็ตาม พวกเราชาวบ้านส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่เชื่อในสิ่งที่พวกเขาพิสูจน์ไม่ได้ อย่างน้อยที่สุด พวกเราก็เรียกร้องให้พวกเขาใช้เกณฑ์การพิสูจน์หลักฐาน ที่สูงกว่านักวิจารณ์วรรณกรรม นักข่าว หรือนักบวช
    จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สาธารณชนให้ความสนใจมากมายกับคำตอบของนักวิทยาศาสตร์ ต่อคำถามว่า “อะไรที่คุณเชื่อว่าเป็นจริง แม้คุณจะพิสูจน์ไม่ได้?” ที่ตั้งโดยจอห์น บร็อคแมน (John Brockman) เจ้าของเว็บไซด์ The Edge
    [​IMG]
    ดูเหมือนเราจะเจอข้อขัดแย้ง (paradox) ที่น่าคิด: ปัญญาชนที่เดิมพันความน่าเชื่อถือทางวิชาการของตนบนบทพิสูจน์อันเคร่งครัด กำลังต่อคิวประกาศความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้ของเขา ความแคลงใจมิใช่เพื่อนรักของวิทยาศาสตร์หรอกหรือ?
    เหล่าชายหญิงที่ตำหนิพวกเราว่ายึดติดในความเชื่องมงายที่ไม่สามารถทดสอบได้ซ้ำๆ ในห้องทดลอง กำลังคุกเข่าลงประกาศศรัทธาของพวกเขา
    แต่ข้อขัดแย้งนี้จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นข้อขัดแย้งอะไรเลย เพราะธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั้นเป็นอย่างที่นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ลีออง เลเดอร์แมน (Leon Lederman) ว่าไว้: “การเชื่ออะไรสักอย่าง ทั้งๆ ที่รู้ว่าเรา(ยัง)ไม่สามารถพิสูจน์มันได้นั้น คือหัวใจของฟิสิกส์”
    ความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ในสิ่งที่พวกเขาพิสูจน์ไม่ได้นั้น ไม่ได้เป็นข้อต่อต้านวิทยาศาสตร์ ความเชื่อเหล่านี้เป็นเพียงการรำพึงรำพันของนักวิทยาศาสตร์อาชีพ ในยามที่พวกเขาว่างจากงาน ความคิดเหล่านี้ ซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาหลากหลาย แสดงให้เห็นสปิริตสูงสุดของจิตสำนึกทางวิทยาศาสตร์ – การคาดเดาอย่างมีเหตุผลที่เปี่ยมไปด้วยความใจกว้าง สร้างสรรค์ และกระตุ้นต่อมคิด
    คำตอบของนักวิทยาศาสตร์หลายคนแสดงให้เห็นว่า พวกเขาเพลิดเพลินกับความกระหายใฝ่รู้ พิศวงหลงใหลในโลกของสิ่งมีชีวิต และปราศจากชีวิต บางที บทกวีอาจเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกนี้ที่สุด
    ลักษณะอีกอย่างของคำตอบที่น่าสนใจคือ สิ่งที่ อี.โอ. วิลสัน (E.O. Wilson)
    [​IMG]

    เรียกว่า “การหลอมรวม” (consilience) เส้นแบ่งเขตระหว่างวิชาเฉพาะด้านต่างๆ เริ่มแตกสลายลง เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่าพวกเขาต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ หรือกระบวนการจากสาขาวิชาอื่น ที่ใกล้เคียงกันหรือเป็นประโยชน์ต่อสาขาของตัวเอง
    ความปรารถนาสูงสุดใน “ยุคแห่งเหตุผล” (Age of Reason หรือ Age of Enlightenment คือศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของวิทยาศาสตร์หลายแขนง) คือการมีองค์ความรู้รวมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น เขยิบเข้ามาใกล้อีกนิดเมื่อนักชีววิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ นำความรู้ของกันและกันมาประยุกต์ใช้ นักวิทยาศาสตร์สมอง (neuro-scientist) ต้องการนักคณิตศาสตร์ ในขณะที่นักชีววิทยาโมเลกุล ล่วงล้ำเข้าไปในอาณาเขตที่ไม่เคยถูกตีกรอบอย่างชัดเจน ของนักเคมีและนักฟิสิกส์ แม้กระทั่งนักดาราศาสตร์ก็ยังใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการในการทำงาน และแน่นอน ทุกคนต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำการคำนวณที่ซับซ้อน
    ในการสื่อสารกับเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ต่างสาขา นักวิทยาศาสตร์จำต้องทิ้งศัพท์แสงเฉพาะด้านของพวกเขา และหันมาพูดภาษาที่ทุกคนเข้าใจ

    [​IMG]

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ความตื่นเต้นของวิทยาศาสตร์อยู่ที่การได้ล่วงรู้ว่าธรรมชาติทำงานอย่างที่มันทำอยู่ได้อย่างไร แล้วก็จะรู้สึกทึ่งไปทุกๆครั้งที่ได้รับรู้การออกแบบอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เราบอกไม่ได้ว่ามันเป็นอย่างไร รู้เพียงว่าความความเหมาะเจาะลงตัวเหล่านั้นมันช่างดูงดงามยิ่งนัก

    ดอย์น ฟาร์เมอร์เคยพูดไว้ว่า “สำหรับเขาในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว แรงจูงใจอย่างใหญ่หลวงที่มีเสมอมาคือการพยายามที่จะเข้าใจจักรวาลที่รายล้อมรอบตัวเขา และในฐานะศาสนิกชนแล้วพระเจ้าก็คือธรรมชาติ การเข้าใจธรรมชาติจะยิ่งทำให้เขาเข้าใกล้กับพระเจ้ามากยิ่งขึ้น”
    ถึงแม้การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะตั้งอยู่บนสมมติฐานและการออกแบบการทดลองที่รัดกุม แต่บ่อยครั้งที่การค้นพบที่สำคัญๆล้วนเกิดขึ้นอย่างบังเอิญ ความแตกต่างมีเพียงแค่ความบังเอิญที่ว่านั้นจะเกิดเป็นความรู้ได้ก็ต่อเมื่อถูกมองผ่านสายตาที่ได้ฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว

    หลุยส์ ปลาสเตอร์ถึงกับเคยกล่าวไว้ว่า “Chance favors the prepared mind” การค้นพบใดใดจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ผลจากความบังเอิญ หากอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่งไม่ได้มีความรู้ที่ถูกฝึกฝนมาอย่างชำนาญแล้ว การค้นพบว่ากลุ่มโคโลนีของแบคทีเรียถูกยับยั้งโดยการเจริญเติบโตของเชื้อราก็จะเป็นเพียงแค่เด็กคนหนึ่งที่มองเห็นขนมปังขึ้นราแล้วโยนมันทิ้งไป
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2008
  2. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    เพราะจินตนาการชักนำให้ความรู้บังเกิด จินตนาการจึงมีค่ามากกว่าความรู้ เพราะจินตนาการคือกุญแจไขให้เราเข้าไปพบความรู้
     
  3. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    จินตนาการ...พาให้ค้นหา ความจริงที่ยังไม่พบ

    จินตนาการ + สัจจะความจริงที่รู้ = สมาธิพิจารณา
    สมาธิพิจารณา x เวลา = ปัญญาในตัว

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  4. โอซารัน

    โอซารัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +91
    ขอบคุนครับ
     
  5. ~[N]~[N]~

    ~[N]~[N]~ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +1
    เอ่ออันนี้ใครรู้แล้ว ขออภัยด้วยนะคับ จินตนาการนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญๆมากกสำหรับมนุษย์ หลายคนอาจจะนึกม่ายถึงว่าสำคันขนาดไหน สาเหตุที่มนุษย์ไต่เต้าขึ้นมาเป็นสุดยอดของห่วงโซ่อาหาร ได้ ทั้งๆที่ม่ายมีฟันแหลมคมเหมือนจระเข้ ม่ายได้ตัวใหญ่เหมือนช้าง ไม่ได้มีพละกำลังเหมือนสัตว์ อื่นๆแต่มนุษย์ก็ยังอยุ่เหนือสัตว์อื่นๆได้นั่นก็เพราะ มนุษย์นั่นมีในสิ่งที่สัตว์ม่ายค่อยมีหรือมีน้อยนั่นก็คือ สติปัญญา และจิตนการในด้านความคิดเป็นหลักครับ มนุษย์นั่นได้ใช้จิตนาการเหล่านั้นนึกถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และทำให้เป็นไปได้ หรือใช้จินตาการเหล่านั้นพัฒนาให้ตัวเองเอาชีวิตรอดได้ เช่น มนุษย์รู้ว่าไม่มีแรงพอที่จะล่า สิงโตเพราะมนุษย์ไม่มีเขี้ยวเล็บที่แหลมคม มนุษย์จึงคิดหาวิธีที่จะเอาตัวรอดด้วยการทำให้ตัวเองมีสิ่งที่แหลมคม เช่นไม้ที่นำมาเหลา และอื่นๆ ลองคิดดูเล่นๆนะคับถ้าวันหนึงเกิดสัตว์มีจินตนาการบ้างหรือมีมากกว่ามนุษย์ จะเปงไงคับ ^^นึกสภาพสิคับ สัตว์ถืออาวุธ สร้างบ้านๆ เดินเข้ามาในเมือง ต่อนะคับ นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ทุกอย่างอ่า คับใช้จิตนาการทั้งนั้น เช่นโทมัส อัลวา เอดิสัน ก่อนจะประดิษฐ์สิ่งของต่างๆได้ เค้าก็จินตนาการมาก่อนทั้งนั้นอ่าคับและก็ลงมือทำ สำหรับผมนะคับจิตนาการที่ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แระก็เปงสิ่งที่เลวร้ายที่สุดด้วย ถ้าจินตนาการของเราไปทางที่ดี ๆจะเกิดสิ่งดีๆแต่ถ้า เราจินตนาการในสิ่งที่ไม่ดี แล้วสร้างมันขึ้นมาก็คงจะ ม่ายดีเรยใช่มั้ยคับ *ถ้าใครที่เป็นกำลังเป็นพ่อแม่ คนขอแนะนำให้ฝึกจินตนาการลูกเยอะๆนะคับ เพราะเด็กที่มีจินตนาการเยอะจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กปกติหลายเท่า สังเกตประเทศที่มีจินตนาการเยอะนะคับ ตอนนี้ ก็จะมี ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกาและอื่นๆคับ ซึ่งประเทศเหล่านี้อย่างที่เราทราบ เทคโนโลยีทันสมัยมากๆ แต่อันนี้ผมสังเกตนะคับเด็กที่มีจินตนาการ มากจะชอบคิดนอกกรอบกันคับ ซึ่งเด็กที่คิดนอกกรอบส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการเรียนอ่าคับแต่ก้มีส่วนดีมากกว่า ที่จิงผมว่าคนส่วนใหญ่ก็มีจินตนาการในด้านการสร้างสรรค์เยอะนะคับ แต่ไม่ค่อยลงมือกัน บางอย่างเราอาจคิดว่ามันเป็นแค่ความคิด จินตนาการที่ไร้สาระ แต่ใครจะไปรุ้อ่าคับว่ามันอาจจะทำได้จิงก็ได้ถ้า เราตั้งใจ ที่จะทำคับ
     
  6. คะแนนชีวิต

    คะแนนชีวิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +78
    January 10th, 2006

    กลอนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของ นาโอมี ชีฮับ นาย (2)

    ซอย
    โดย นาโอมี ชีฮับ นาย
    เมื่อคนหนึ่งถึงคราล่วงอาสัญ
    ซอยเขาพลันสั้นหดดูถดถอย
    หน้าต่างมิดปิดไฟไร้ร่องรอย
    มะเดื่อคล้อยนิ่มลงให้นกกา
    ถ้าเรายืนอย่างสงบยามพลบค่ำ
    ปราศถ้อยคำใดใดไร้ภาษา
    ความนิ่งนำโน้มน้าวชาวประชา
    พร้อมใจมายืนอยู่เป็นหมู่เดียว
    นกหางยาวเบื้องบนยึดต้นไม้
    ริ้วรอยฟ้าชลาศัยใครแลเหลียว
    ฟ้าซ่อมฟ้าทาสีคุ้งวงรุ้งเรียว
    คลายขดเกลียวคลี่ขอบฟ้าทาม่วงทอง
    ทุกสิ่งมีทั้งเวลา-สถานะที่
    คงจะดีถ้าดุจดังคนทั้งผอง
    บางคนเป็นเช่นนั้นตามครรลอง
    คึกคะนองสดชื่นยามตื่นนอน

    คนอื่นอยู่ในโลกสองโลกใหญ่
    โลกของผู้จากไปให้สังหรณ์
    และโลกที่จำได้ให้อาวรณ์
    เขาต้องนอนสองครั้งดังต้องมนต์
    ครั้งแรกแด่ผู้จากไปไม่หวนกลับ
    อีกครั้งให้ตนหลับน่าสับสน
    ฝันซ้อนฝันโรมรันฝันชอบกล
    ตื่นมาบนอีกหนึ่งฝันทุกวันวาร
    พวกเขาเดินซอยสั้นในฝันแรก
    ผ่านทางแยกมากมายหลายสถาน
    กู่ร้องเรียกชื่อคนอย่างทนทาน
    แล้วก็ขานตอบรับกับตัวเอง
     
  7. คะแนนชีวิต

    คะแนนชีวิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +78
    Streets

    by Naomi Shihab Nye
    A man leaves the world
    and the streets he lived on
    grow a little shorter.One more window dark
    in this city, the figs on his branches
    will soften for birds.
    If we stand quietly enough evenings
    there grows a whole company of us
    standing quietly together.
    overhead loud grackles are claiming their trees
    and the sky which sews and sews, tirelessly sewing,
    drops her purple hem.
    Each thing in its time, in its place,
    it would be nice to think the same about people.
    Some people do. They sleep completely,
    waking refreshed. Others live in two worlds,
    the lost and remembered.
    They sleep twice, once for the one who is gone,
    once for themselves. They dream thickly,
    dream double, they wake from a dream
    into another one, they walk the short streets
    calling out names, and then they answer.
     
  8. นักบุญภาคอีสาน

    นักบุญภาคอีสาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2008
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +334
    สาธุอนุโมทนา..............ถือเป็นสูตรในการหาความจริง ในโลกจริงๆ
     
  9. tapana

    tapana สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    จิตที่ฝึกดีแล้ว สำคัญที่สุด มีพลังที่สุด จินตนาการยังมีถูกมีผิด
     
  10. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446

    ดนตรี ศิลปะ บทกวี ความฝันและจินตนาการ ฯลฯ ล้วนคิดออกมาผ่านสมองซีกขวา
    ส่วน คิดเรื่องตรรกะ เหตุผล การคำนวณ ฯลฯ มาจากสมองซีกซ้าย

    เเต่
    จินตนาการที่ไร้เหตุผลคือความเพ้อเจ้อ เหตุผลที่ไร้จินตนาการคือการย่ำอยู่กับที่
    ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่จะต้องใช้ความคิดจากสมองทั้งสองส่วนไปด้วยกัน

    แต่ทั้งนี้ แม้ผู้ที่มีจินตนาการและเหตุผลไปพร้อม ๆ กันอย่างสมดุลแล้ว ก็ใช่ว่าจะเพียงพอสำหรับความสำเร็จ เพราะจุดเริ่มต้นของการคิด เราสามารถเริ่มได้จากทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

    - ถ้าเริ่มคิดจากซีกซ้าย จะมองเห็นแต่ข้อจำกัด

    - ถ้าเริ่มคิดจากซีก ขวา จะมองเห็นโอกาส

    ยกตัวอย่างกรณีเช่น พี่น้องตระกูล ไรท์ คิดที่จะบิน[SIZE=-1] เเละเริ่มคิดด้วยสมองซีกขวา จินตนาการถึงฟากฟ้ากว้างที่พวกเขาล่องลอยอยู่ ก่อนที่จะใช้สมองซีกซ้าย หาหนทางทำให้ความฝันที่อัดแน่นในสมองซีกขวาเป็นจริง
    จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าเราไม่ใช้จินตนาการหรือความคิดจากสมองส่วนขวาเเล้วในวันนี้พวกเราอาจจะไม่มีเครื่องบินหรือเพื่งจะเริ่มมีเครื่องบินใช้กันก็เป็นได้ เหตุนี้จึงทำให้ไอสไตน์พูดว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้นั้นเราไปเรียนเอาได้ เเต่จินตนาการไม่ใครจะสอนหรือจะให้เราได้เลย


    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากกับการประสบความสำเร็จในชีวิตมนุษย์ หรือเเม้เเต่ตัวคุณเองที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ถ้าคุณเป็นคนที่มีฝันเเต่ยังขาดความรู้คุณควรไปหาความรู้เเล้วมันจะผลักดันชีวิตคุณให้ดีขึ้นอย่างเเน่นอน เเต่ถ้าคุณมีความรู้มากเเล้วเเต่ยังขาดฝันขอให้คุณตระหนักถึงเรื่องนี้เเล้วพยายามคิดจินตนาการเพื่อเป็นการฝึกสมองซีกขวาของคุณเเละชีวิตคุณก็จะดีขึ้นเช่นกัน
    [/SIZE]
     
  11. Aekkapat

    Aekkapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +318
    จินตนาการคือการสร้างสรรค์หรือพัฒนา มีแต่ความรู้แต่ขาดการสร้างสรรค์หรือพัฒนาจะไปต่อไม่ได้

    อีกอย่างจินตนาการสามารถกำเนิดหรือสร้างความรู้ใหม่ ๆ ได้ด้วย ฉะนั้นจินตนาการจึงมีความสำคัญอย่างที่สุดสิ่งนึง

    สิ่งที่ต้องควบคู่ไปกับจินตนาการนั่นคือความถูกต้อง ถ้าคิดจินตนาการไปในสิ่งไม่ดีหรือจินตนาการที่ขาดการใช้สติปัญญา ปัญหาที่จะตามมานั้นวุ่นวายแน่นอน

    จินตนาการ+สติแห่งความถูกต้อง จะกลายเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดแต่ประโยชน์ยิ่ง ไร้ซึ่งโทษใด ๆ แต่ถึงจะมีโทษ โทษนั่นก็จะไม่มีผลกระทบขนาดส่งผลร้ายแรง
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    จินตนาการ...
    ช่วยเปิดเผย ความรู้ดั้งเดิม ที่ถูกกดทับไว้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  13. ศิลปินชนบท

    ศิลปินชนบท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    773
    ค่าพลัง:
    +1,678
    ศิลปะคือการบันทึกสิ่งที่เห็นลงบนสิ่งที่ว่างเปล่า

    ....ซินยุนบก.....
     
  14. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ศิลปินชนบท<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3366366", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    ศิลปะคือการบันทึกสิ่งที่เห็นลงบนสิ่งที่ว่างเปล่า
    เอ... เราว่านั่นมันกล้องถ่ายรูปไม่ใช่เหรอ

    ....ซินยุนบก.....
    ศิลปินเกาหลี ย้ายมาอยู่แถวนี้แล้วเหรอท่าน



    ศาสตร์เป็นโครงสร้าง ว่าด้วยหลักการ มุ่งหาสูตรสำเร็จ ความมั่นคงแน่นอน

    ศิลป์เป็นความกลมกลืน ว่าด้วยความยืดหยุ่น มุ่งหาความสงบสันติ เป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์


    ปราชญ์หลายท่านเห็นพ้องกันว่า นิยามโดยรวมของศิลปะ คือ การเลียนแบบความเป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่เสแสร้งดัดจริต ไร้เงื่อนไข
    คำว่าเลียนแบบธรรมชาติ จึงไม่ใช่การเขียนรูปธรรมชาติ แต่เป็นการแสดงออกอย่างที่เป็นธรรมชาติของตัวศิลปินเอง

    งานศิลปะหรือผลงานของศิลปิน จึงเป็นการถ่ายทอดออกมาจากอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และตัวตนของศิลปิน ด้วยการถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นธรรมชาติตรงไปตรงมา
    ส่วนเทคนิคการสื่อสารก็แล้วแต่ศิลปินแต่ละท่านถนัดและเห็นเหมาะสมกับงาน

    งานศิลปะแท้จริงจึงไม่ได้ออกมาจากรับรู้สิ่งที่เห็น แต่ออกมาจากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดภายใน

    สรุปอย่างง่าย ไร้แรงบันดาลใจในเรื่องอารมณ์การสร้างงาน ก็ไม่นับเป็นงานศิลปะ
    เขียนด้วยความวิจิตรพิศดารสักเพียงไหน แต่ไม่กอปรด้วยแรงบันดาลใจ ก็เป็นเพียงรูปที่ถูกเขียนขึ้น มิใช่งานศิลปะ
     
  15. thontho

    thontho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +612
    จินตนาการคือ การคิดนอกกรอบ ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆไปเรื่อยๆไงล่ะ มิฉนั้นมันก็ไม่ไปไหน รู้เท่าเดิมตลอดไป........55555
     
  16. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    แบบไม่ซีเรียสนักก็

    จินตนาการ ไม่ใช่การเพ้อฝัน หากแต่เป็นการแสดงออกโดยสัญชาติญาณทางความคิดที่ตกผลึกมาได้ในระดับหนึ่งของแต่ละคนไป แล้วนำมาประกอบร่างสร้างจินตนาการขึ้นมา อาจด้วยปัจจัยประกอบอื่นๆอีกเช่น อั๊ยยะ!... (สิ่งแวดล้อม) อึ่ม!... (ภาวะทางอารมณ์) หรา!... (ตรรรกะ) ส่วนการนำจินตนาการมาทำให้เป็นจริงหรือใกล้เคียงจริงได้ก็ขึ้นกับกรอบความรู้ที่มีอยู่ในมือคนๆนั้นนั่นเอง
     
  17. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    จินตนาการคือ สีสรรหรือก็คือการสร้างสรรค์ปรุงแต่งด้วยสติรู้ ที่ปรุงแต่งเกินจากการปรุงแต่งที่เป็นปกติของใจ ก็มีสองแบบคือ จินตนาการที่รู้ทัน กับจินตนาการที่รู้ไม่ทัน

    จิตนาการที่รู้ทันคือ คอนโทรได้
    จิตนาการที่รู้ไม่ทันคือ หลงไปกับความคิดของใจหรือหลวไปกับสัญญาต่างๆ
     
  18. สตธศร

    สตธศร Namo Amithapho

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,537
    ศิลปคือการสร้างสรรค์ ทำแล้วก็ให้เกิดผลอย่างไร สร้างสรรค์ หรือทำลาย
     
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ความรู้ทั้งหลายเกิดจากจินตนาการ

    อันนำไปสู่นวัฒกรรม ทางรูปธรรม และนามธรรม

    จินตนาการ หมายถึงการทำงานของจิต ไม่ใช่สมอง

    จิตที่มีพัตนาการ ย่อมแสดงพลังของมันออกมาตามเหตุปัจจัย เกื้อหนุน

    จิตนาการแท้จริงก็คือกระบวนการทำงานของจิตอย่างหนึ่ง เมื่อจิตเป็นพลังงาน จิตเป็นนาม จิตย่อมรู้แจ้งในนาม หรือพลังงานดีที่สุดเพราะเป็นสิ่งเดียวกันแค่ทำหน้าที่ต่างกัน

    วิทยาศาสตร์ทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เล็กที่สุดได้คือ อะตอม ,เซล นิวเครียส เป็นต้น แต่ยังมีสิ่งที่เล็กว่าสิ่งเหล่านี้ที่เราไม่สามารถหาเครื่องมือในการมองเห็นธรรมชาติของมัน

    พลังงานก็เช่นกัน มันยังมีพลังงานที่เล็กมากที่เราจับต้องมันไม่ได้

    ในระบบจักรวาล ย่อมต้องมีพลังงานของจักรวาลที่เป็นตัวควบคุมเสถียรภาพ อย่าคิดแค่ว่า โลกเราจะมีแรงของโลกและจากดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อเราเท่านั้น ในห้วงอวกาศ ที่ไม่มีแรงดึงดูดใดๆที่เรียกว่าสูญญากาศ ที่เป็นช่องว่าง แท้จริง ช่องว่างเหล่านั้น มันกำลังเคลื่อนไปด้วยพลังของระบบที่เราไม่สามารถวัดเป็นพลังขับเคลื่อนได้ ใน๘ระเดียวกันแสงมืด dark light ในหลุมดำก็เป็นแรงปฏิกริยาตรงกันข้าม ที่ดึงดูดพลังงานและวัตถุทุกอย่างให้เคลื่อนไปตามกำลังของมันเพื่อรักษาสมดุลย์แห่งจักรวาล

    ที่สุดแล้วไม่มีอะไรให้ยึดติด มันมีแค่สะสารและพลังงานเท่านั้นเองคือความเป็นจักรวาล ครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2014
  20. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    จากกระทู้..ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ

    1 จินตนาการ ก็คือส่วนหนึ่งของความคิด ที่สามารถปรุงแต่งได้อย่างไม่จบสิ้นไม่มีประมาณ เพื่ออะไรก็เพื่อตอบสนองความอยากของตน เช่น ความอยากรู้อยากเห็นอยากมีอยากได้อยากเป็น อยากพ้นจากทุกข์บางอย่าง อยากมีความสุขเพิ่มขึ้น เป็นต้น
    2 ความรู้ ก็คือผลจากธาตุรู้เข้าไปสัมผัสรับทราบเข้าใจกับสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้อาจจะมองได้หลายแบบเช่น ความรู้ของไม่เที่ยง กับความรู้ของเที่ยง
    3 จินตนาการและความรู้ พอรู้และมีสะสมไปมากๆเข้าจะเกิดความเข้าใจว่า โลกนี้มีแต่ของไม่เที่ยง โลกเต็มไปด้วยทุกข์ และอยากจะหนีหรือพ้นทุกข์ไปได้อย่างไร
    4 พอผ่านข้อ 1-3 มามากๆเข้าก็จะเข้ามาสู่ระบบพ้นทุกข์ค้นพบวิธี ก็คือจะมีปรากฏอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าและตั้งพระศานาขึ้นมาสอนวิธีพ้นทุกข์อย่างถาวรขึ้นมา ตามทางของ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ที่พระองค์ค้นพบหลักความจริงนี้เมตตาสอนและรื้อสัตว์โลกเข้าสู่พระนิพพานได้เป็นอันมาก เป็นระบบเป็นช่วงๆแบบนี้สืบต่อไปตามเหตุปัจจัย
    5 สรุปคือ จินตนาการและความรู้ ในโลกก็จะทำเกิดการเปลี่ยนแปลงและหลักวิชามากมายในโลกจนถึงที่สุด ก็จะพบกับหลักความจริงที่จะทำให้พ้นทุกข์ความวุ่นวายในโลกไปได้ตามหลักธรรมวินัยคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้นเอง (ใครที่ติดในความรู้ทางโลกก็จะเสียเวลามากทุกข์มากไปตามนั้น ส่วนใครที่รู้และอยากพ้นทุกข์ไปไวๆก็จะรีบเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนนั้นเอง)

    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...