คุณราชแสง หรือใครก็ได้ช่วยทีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย radian235, 12 พฤศจิกายน 2008.

  1. radian235

    radian235 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +17
    ผมเพิ่งสมัครสมาชิกวันนี้ คือผมมีปัญหาด้านการปฎิบัติ คือผมฝึกสมาธิก่อนนอนมาพักหลัง จะเกิดอาการกระตุก โยกหน้าโยกหลัง หมุนวนอยู่อย่างนี้เกือบชั่วโมง เซิรท์หาคำตอบทางกูเกิล พบคำตอบที่เว็บวัดแห่งหนึ่ง พระท่านบอกว่ามันเป็น อุพเพงคาปิติ เป็นลักษณะที่บ่งบอกลักษณะอาการในฌานที่ 2 พอดีเป็นเห็นคุณราชแสงโพสไว้ในกระทู้ อยากทราบว่าคุณราชแสงผ่านขั้นตอนอาการกระตุก เกร็ง ไปหรือยัง ช่วยหน่อยครับ ตันตึ๊บวนเวียนอยู่กับอาการกระตุก มาเกือบครึ่งปีแล้วครับ
    บอร์ดนี้ทิ้งเมล์ไว้ได้หรือเปล่าครับ จะได้เมล์ถามได้สะดวก ช่วยด้วยครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้ทำสมถะชนิดกระดุกกระดิกตัวแทน การนั่งหลับตาเฉยๆ ก่อนครับ

    อาการกระตุก เกิดจากตัวทิฏฐิเจตสิก ตัวความคิด หรือ ตัวมโนสังขาร
    มันทำงานไม่เลิก มันไม่ยอมสงบ จะไปข่มมันจะยิ่งทำไม่สงบ แถมกระ
    ตุกยิ่งน้อยนิดมหาศาล

    ลองไปเดินจงกรม แต่ไม่ต้องกำหนดขนาด รูป ท่า ในการเดินนะครับ
    ไม่งั้นก็เข้าทางเดิมอีก คือ ท่าทาง รูปทางเดิน มันจะเป็นตัวทำให้
    มโนสังขารมันทำงาน เท่ากับทำให้เกิดเชื้อ

    ให้เดินในสวนสาธารณะ ไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกำหนดท่าทาง
    อะไร เดินไปแบบปรกติ แล้วคอยดูความคิดเรามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง เวลา
    เจอผัสสะที่เข้ามากระทบแบบหลากหลาย ทำไปเรื่อยๆ เดินหลายๆ รอบ
    จนกว่า จิตจะเลิกไหลไปคิดเวลาเจอเหตุ

    เช่น เจอสาวก็คิดถึงแฟน เจอดอกไม้ก็คิดถึงแฟน เจอนกกระจอกก็คิด
    ถึงแมว เรื่อยๆ จิปาทะแล้วแต่ใจมันจะคิดจะฝุ้งไป

    พอรอบต่อๆ ไปก็ดูอีก อย่าจ้อง หรือ คอยจ้องดูว่ามันจะคิดอะไรนะครับ
    เพราะถ้าจ้องมันจะนิ่ง ตัวคิดจะไม่วิ่ง ที่ไม่วิ่งเพราะมันคิดจ้องอยู่

    รอบๆหลังๆ พอเริ่มล้าๆ แล้วลองสังเกตดูว่า เจอนกกระจอกมันจะเฉยๆลง
    ไม่คิด เจอลพัดใจจะรู้ในความไหวแต่จิตไม่ไหลไปคิดเรื่องอื่นอันมีเหตุ
    มาจากลมกระทบ ทำไปเรื่อยๆ จนจิตมันกระจายตัวออกจากอก หรือ จาก
    ส่วนศรีษะ ไปอยู่นอกๆ จับอยู่นอกๆ รู้สิ่งเคลื่อนไหวข้างนอก แต่ใจไม่ได้
    ไหลไปคิด เริ่มเกิดความคิดว่างๆ ทั้งๆที่มีปัจจัยกระทบ พอทำได้แบบนี้
    จิตใจมีสภาพได้แบบนี้ก็ลองกลับมาทำสมาธิดู แต่ห้ามนึกถึงอาการเก่า
    ที่กลัวว่าจะเป็นนะครับ ปฏิฆะสัญญาจะเป็นตัวนมสิการอาการปิติออกมา
    ให้รู้ ทำให้ติดอย่างเดิม ไปอยากหาย ไม่อยากเป็นเลย (วิภวตัณหา) เผลอ
    ทำจิตขึ้นวิถีเดิมเอาโดยไม่ตั้งใจ

    * * *

    การไปเดินจงกรมในสวน เป็นการทำให้จิตลืมสภาวะธรรมที่ติดไปก่อน จิตมันจด
    จำสภาวะธรรมปิตินั้นได้ แล้วตัวตัณหาชนิดวิภวเป็นตัวทำให้จิตเราเคลื่อนไปมี
    กุกกุจจะ(นิวรณ์)

    การไปเดินจงกรมในสวน จะเป็นการทำให้จิตจดจำสภาวะธรรมที่เบาๆ สบายๆ ได้
    ทำให้ตอนกลับมาปฏิบัติจิตจะนมสิการสภาวะธรรม เบาๆ สบายๆ ได้ ทำให้จิตมี
    ทางเลือกในการนมสิการธรรมได้มากกว่าเดิม และโดยส่วนมาก จิตมักจะไหลไป
    เกาะสุขมากกว่าสิ่งที่เป็นทุกข์ ตรงนี้จะต่างกับคนไม่ปฏิบัตินะครับ คนไม่ปฏิบัติ
    นี่จิตจะไหลไปเสพทุกข์สำคัญว่าสุข จะไม่เหมือนคนที่หันหน้าเข้าหาธรรม

    ยังไงลองดูนะครับ เดินในสวน ถ้าทำตอนเช้าๆ นี่ ร่างกายแข็งแรงอีกต่างหาก
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เห็นไหมว่า กาย มันไม่ใช่ของเรา ^-^
     
  4. radian235

    radian235 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบพระคุณ คุณนิวรณ์มากครับ

    คำแนะนำจะนำไปปฎิบัติครับ
     
  5. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ปัญหามันอยุ่ที่ รอยต่อระหว่าง สิ่งหนึ่ง กับอีกสิ่งหนึ่ง หากกำหนดได้ยังไม่มั่นคงหนักแน่น หรือ เพราะความมิเคยชิ้น เวลาดำเนินมาตรงรอยต่อ มันก็เลยโดนพัดวน เพราะจากกระแสหนึ่ง จะไปอีกอันหนึ่ง พูดแบบนี่ อาจจะงง เอาเป็นว่า เหมือนกับเรา กำลังขับแล่นเรือ
    หากเราผ่านห้วงน้ำ อันหนึ่ง พอไปถึงจุดหนึ่ง บริเวณนานน้ำนั้น มีกระแสน้ำที่เชี่ยวแรงกว่า
    ถ้ากำลังเครื่อง ของเรื่อเรา พอเพียงและมีความชำนาญ มันก็ตัดแล่นผ่านไปได้โดยไม่ลำบากนัก อธิบายอย่างนี้คงพอจะนึกภาพออก

    ส่วนวิธีการ อันที่จริง มันไม่ยากเย็นอะไรนัก อย่างแรก ต้องรู้ว่าอะไรคือปัญหาก่อน สิ่งที่เป็นปัญหา คือ การน้อมใจไปในสภาวะ เมื่อมีสภาพนั้นปรากฏ ความไม่น้อมใจไปในสภาพนั้น อาการและ อารมณ์ มันจะไม่เป็นไป พูดให้ง่ายกระชับเข้าอีกก็คือ ให้ สำรวมใจให้ลึกลง หรือ เป็นสมาธิ อุเบกขามั่นคงลึกลงไปกว่าเดิมอีก คือ ละเอียดลงไปอีกจนกว่าอาการหมุน ๆมันหยุด และ สงบนิ่งลงไป พอผ่านมันเข้าไปได้ สักครั้งสอง ครั้งก็จะรู้ว่ามันไม่ได้ยากนัก เหมือนเปลี่ยนข่องความถี่ ความถี่ระดับนี้ มันมีคลื่นแซกทำให้ ซัดซ่ายเราก็ปรับความถี่ไปหาความถี่ที่ละเอียดปราณีตกว่า ปัญหาก็จะพ้นไป

    " สำรวมใจให้ ลึกละเอียดลง มั่นคงเป็นหนึ่งในองค์บริกรรม หรือ ลมหายใจ (ซึ่งแล้วแต่ใครใช้อะไร และ ไม่ตามอาการ "

    โชคดีครับ
     
  6. ราชแสง

    ราชแสง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +85
    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
    ผมผ่านช่วงนั้นไปได้แล้วครับ คือขาหายสั่นและกระตุก แต่ผมอธิบายไม่ถูกครับ ว่ายน้ำยังไม่แข็ง เดี๋ยวจะจมกันทั้งคู่ครับ เอาเป็นว่าผมนั่งให้บ่อยขึ้น ไม่สนใจว่ามันจะสั่นก็ปล่อยมันไป ดูลมหายใจอย่างเดียวครับ หรือจะนับลมหายใจแบบคุณ บดินทร์จ้า ก็ได้ครับ ผมก็ทำแบบนี้อยู่ ขอให้การปฎิบัติ ก้าวหน้าต่อไปนะครับ
    ส่วนผมตอนนี้นั่งดูความเงียบมาหลายวันแล้วครับ ทั้งที่ลมหายใจก็แผ่วเบา และสั้นมาก องค์์ภาวนา บางวันก็หาย บางวันก็ไม่หาย แต่ตอนที่หาย เหมือนเป็นตัวเราอีกคนหนึ่งที่คล่องแคล้ว ว่องไวทางความคิดมาก และก็จะรู้สึกว่าเงียบมากๆ ครับ
    ท่านใดพอจะชี้แนะ นำทางให้กระผมได้บ้างครับ ผมไปต่อไม่ถูกแล้วครับ
     
  7. radian235

    radian235 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบพระคุณ ทุกท่านครับ

    ขอบพระคุณทุกท่านครับ
     
  8. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....ปิติ อยู่ในขั้น อุปจารสมาธิ เฉียดฌาน..สนใจที่ ใจตัวเดียวเดี๋ยวขึ้นปฐมฌาน

    ....ฌาน2 สงบ หลายรายเข้าใจว่าหลับ เมื่อคล่องแล้วจึงผ่าน
     
  9. radian235

    radian235 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบพระคุณคุณพลรัฐครับ เตรียมลุยต่อเลยครับ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พยายาม ยกรูปที่กำลังหายใจ กำลังนั่งปฏิบัติขึ้นเป็นของถูกรู้ถูกดูไว้เนืองๆ
    ครับ ตรงนั้นจะทำให้จิตเราคุ้นเคยในการเห็นรูปปรมตถ์ หากเห็นได้ตามจริง
    เมื่อไหร่ จะเกิดทัศนะเห็นว่า กายไม่ใช่เราได้ทันที ... แต่ตรงนี้ยังไม่ถือว่า
    สำเร็จอะไรนะครับ ศาสนาอื่นเขาก็ทำได้ มันเป็นการ แยกรูปนาม อย่างง่ายๆ
    ให้ภาวนาไปเรื่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ หากแยกดูรูปกายเราปฏิบัติได้ดี ก็ต้องใช้
    กรรมฐานอสุภะมาเสริม ถ้าทำถูกก็จะเห็นกายสลายให้เห็น แต่กายสลายให้
    เห็นก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ต้องการอีก สิ่งที่ต้องเกิดคือ จิตเขาต้องเห็นว่ากายเรามี
    ไตรลักษณ์ด้วตัวจิตเขาเอง ไม่ใช่เราเห็น การเห็นกายเราสลายตรงนั้นจะเป็น
    เราเห็น ไม่ใช่จิตเห็น ต้องหมั่นทำเนืองๆ ถ้าถูกจริตจริง จิตจะเห็น
    ไตรลักษณ์ในกายเอง

    หลังจากนั้นก็จะรู้แล้วว่ากายไม่มี มีแต่จิต ก็ยกจิตขึ้นดูต่อไป ตรงนี้ต้องไป
    ดูจิตบรรพ เช่นดูจิตมีโมหะ โลภะ โทษะ หรืออะไรก็ได้ จิตว่างอยู่ก็ดูได้
    ถ้าสมาธิดี มีฌาณก็ให้ดู เวทนาบรรพ(ในสติปัฏฐาน4) ก็จะค่อยเห็นมีจิตใจ
    ตั้งมั่น พอที่จะทำการดูธรรมในหมวดสุดท้ายของสติปัฏฐาน4 ได้ต่อไป

    อนุโมทนาครับ
     
  11. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ลองใช้วิปัสนากรรมฐานควบคู่ดูครับจะได้ไม่เบื่อ พิจารณาตัวเราตั้งแต่หัวจดเท้าไล่ขึ้นไล่ลงจนภาพกายเราเกิดในกาย แล้วโน้มนำเข้าสู่ไตรลักษณ์
    คำแปลสังเวคปริกิตตนปาฐ
    พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง<O:p></O:p>
    และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ พวกเราเมื่อสดับฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็ทุกข์ ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ<O:p></O:p>
    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป<O:p></O:p>
    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา<O:p></O:p>
    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา<O:p></O:p>
    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร<O:p></O:p>
    ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ<O:p></O:p>
    เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้เอง จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก <O:p></O:p>
    อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไป ในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้ พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว โดยความเกิด โดยความแก่ และความตาย โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย<O:p></O:p>
    ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้<O:p></O:p>
    เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้นเป็นสรณะ ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง ขอให้ความปฏิบัตินั้นของเราทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
    หรือจะพิจารณาอาการ 32หรืออสุภะ ก็ได้ครับ
     
  12. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    เคยกระตุกเหมือนกัน คือมันกระเพื่อมอยู่ข้างในอะคะ จากนั้นก็ค่อย ๆ เอนตัวลงนอนเผื่อมันจะหาย แต่ก็จับสติตามไปด้วย นอนหนอ ยืดขาหนอ ฯลฯ จากนั้นพอนอนได้เต็มที่แล้ว มันยิ่งกระเพื่อมใหญ่ จนมันกระตุกไปทั้งตัว รู้หนอ มันก็ไม่หาย เลยกลับมานั่งใหม่ สวดมนต์ (แต่ก็พยายามให้สติตามดูมันไปด้วย) แล้วมันก็ค่อย ๆ เบาไปจางไป แต่มันยังกระเพื่อมที่ลิ้นปี่ แม้จะไม่ได้ปฏิบัติแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร

    กับเคยวื๊ดเข้าไปครั้งหนึ่ง ไม่รู้เป็นอะไรเหมือนกัน คือเข้าไปแล้ว รู้สึกมันเงียบ มันไม่บริกรรมเอง เหมือนเคว้งคว้างอะ แต่ติดคำบริกรรมเลยบริกรรมต่อ มันเหมือนคลายออกมาอะคะ

    กับอีกหลายครั้ง เวลานั่งแล้ว เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น (เปรียบเหมือนตอนตื่นแล้ว ยังตื่นไม่เต็มที่น่ะค่ะ) เขาจะพูดจะสอน บางทีเขาก็โต้กันแบบว่า พอถาม เหตุผลคำตอบก็จะบอกมา แต่ไม่ได้ทุกครั้งนะคะ เป็นบางวัน ช่วงนี้ถี่หน่อย

    บางทีนั่ง ๆ แล้วเหมือนรู้อยู่แต่ข้างใน เหมือนมีเปลือกอย่างไงไม่รู้อะคะ บอกไม่ถูก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  13. Baby_par

    Baby_par เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    2,743
    ค่าพลัง:
    +3,265
    ท่าจะมันส์เนาะ หมุนติ้วๆ

    พอหมุนติ้วๆ จากที่เราเคยเอาสมาธิไปจับตรงลม ตรงภาวนาก้เอาไปจับตรงหมุนแทนนะเอย

    ก้เลยหมุนติ้วๆต่อไป >.<

    บุ๋มๆๆๆ พูดอะไรไม่รู้เรื่องแฮะเรา

    ผิดถูกขออภัยด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันก็ใกล้เคียงหมุนติ้วๆ นะ แต่ยังไม่ชัดเจน ไม่อาจฟันธง

    ตรงที่คุณแว็ดเห็นมันกระเพื่อมที่ลิ้นปี่ ถ้าเป็นการทำสมาธิแบบลืมตาอยู่ ก็
    อาจจะเป็นอาการที่เรียกว่า เห็นทุกข์มันเสียดแทงจิต คือ จิตใจมันมีธรรม
    ชาติชอบแส่ส่าย มันชอบปรุง แต่เพราะสติที่ฝึกได้ไวจึงไปเห็นเข้า ไปเเห็น
    ว่ามันจะปรุงการคิด การฝัน การไหล กิเลสจะเกิด ตัณหาเสียดแทงจิต แต่สติ
    ไวพอที่จะเห็น มันเลยยังไม่ทันรู้ว่ามันจะปรุงอะไร สติเกิดก่อน มันเลยดับ เห็น
    สายดับ ไม่ได้เห็นมันเกิดอารมณ์ปรุงอะไรให้รู้แบบเต็มๆ ตรงนี้บางคนก็เรียก
    ติ้วๆ บางคยก็เรียกมันตะลุมบอน บางคนก็เห็นว่ามันเหนียวๆ หนืดๆ จิตมัน
    อยากทำอะไรสักอย่างแต่มันทำไม่ได้ เพราะสติที่เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นก่อน ทำให้
    เจตกสิกอกุศลไม่สามารถเกิดร่วมกับดวงจิตที่มีสติเจตสิกได้ จึงเห็นสายดับ
    เป็นการเห็นแบบ ภังคญาณ ที่เลย อุทัพยญาณ แต่มันจะเป็น ญาณ หรือไม่
    ขึ้นกับว่า การเห็นไตรลักษณ์นั้นเห็นด้วจิตเขาเห็นเอง หรือ เราช่วยขบคิด

    ถ้าทำสมาธิหลับตา จะเห็นว่ามันกระพริบ มันวับๆ

    ถ้าทำสมาธิมีฌาณ จะเกิดนิมิตเห็นแสงดับเป็นดวงๆ แต่หลายคนทีเดียวที่
    เกิดทิฏฐิแทรก คิดว่าเห็นดวงจิต ก็จะคลาดไป

    พอเห็นวับๆแบบนี้ได้ถูกต้อง อีกสักครู่ก็จะต้องเหนื่อย โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้
    ทำฌาณ ทำสมาธิมามาก จิตจะหมดกำลังในการดู ตรงนี้จิตก็จะรวมเอง รวม
    เข้าไปในฌาณชั่วขณะจิต ไม่นานเหมือนพวกทำฌาณ แล้วจะออกมารู้ มาดู
    ต่อทันที ตรงนี้จะเกิดความสว่างในจิตในใจในกาย เหมือนคนพึ่งตื่นนอน มันจะ
    สดชื่น การรวมแบบนี้จะยังไม่ใช่การบรรรลุ ถ้ามันรวมได้ 2-3 ขณะจิต โดย
    มีสติตลอด ไม่รู้สึกว่าวูบดับ จะตื่นและเห็นรู้สึกตลอด ก็ต้องดูกันต่อไปใน
    สังโยชน์ที่ถูกทำลาย ถ้าไม่มี ยังฝุ้งได้ กิเลสยังปรากฏ ก็ภาวนาต่อไป

    * * *

    บางคนตอนเห็นจิตวับๆ อาจจะมีการเห็นนิมิตร่วม พยายามรู้ทันว่านิมิตเกิด
    มันจะพาเราหลงไปดู อย่าไปชอบใจกับการเห็นนิมิต อยู่ที่เห็นมันดับไปมีประ
    โยชน์กว่า หากปล่อยจิตไปเกาดนิมิต จะดู จะเนิ่นช้า แล้วเกิดราคะแทรก ทำ
    ให้ออกมาแล้วมีโอกาสติดวิปัสสนูกิเลสทั้ง 10 พยายามดุว่าเราลืมกายลืมใจ
    ไหม หรือว่า เกิดขอบเกิดเขต(อัตตา)ขึ้นมา

    ตรงการเห็นว่ามีขอบเขต เห็นกรอบ ตรงนั้นคือเห็นอัตตา บางครั้งเป็นการเห็น
    อวิชชาที่หุ้ม หากไม่ให้นิวรร์สงสัย หรือ อุธัจจะ(อยากรู้ว่าเป็นอะไรเพื่อเอามา
    สอนธรรม) ไม่ปล่อยให้ปัญญามันนำสมาธิ ก็จะเข้าสู่สภาวะเจโตวิมุตติได้ จะเหมือน
    การแหวกอะไรสักอย่างออกมา ตอนนั้นต้องดูดีๆ โดยไม่จงใจดู จะเห็นสิ่งที่เรียก
    ว่า ว่างอย่างยิ่ง

    แต่ถ้ามันเหมือนจะแหวกแล้ว แต่เราเกิดนิวรณ์เสียก่อน มันก็จะเหมือนขาดการเห็น
    อะไรสักอย่าง มันจวนๆ แต่ไม่รู้ว่าต้องเห็นอะไร ก็ให้รู้สึกไปว่า ยังเห็นทุกข์สัจจ
    ไม่อิ่มครับ(ปัญญาวิมุตติ) ไม่ต้องสงสัยกว่านั้น ให้ภาวนาต่อไป.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2008
  15. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    มันไม่ใช่แค่รู้สึกกระเพื่อมที่ลิ้นปี่เท่านั้นนะคะ เคยตอนนอน ๆ บริกรรมพองยุบ ที่ลิ้นปี่มันรู้สึกว่ามันหมุนน่ะค่ะ

    กับเคยรู้สึกดับวูบไปโดยไม่รู้ตัว ตอนนั้นเจ็บที่ลิ้นปี่มาก บริกรรมได้แต่รู้หนอ แต่ก็ตามดูที่ลิ้นปี่ปกตินะคะ แต่มันดับไปตอนไหนไม่รู้ มารู้อีกที รู้สึกเสียววาบที่ลิ้นปี่ เห็นสีขาวสว่าง นวล กว้างกระจาย กว้างมากค่ะ มานึกถึงตอนนั้น ว่าตัวเราก็แค่นี้ ทำไมมันกว้างจัง ค่อย ๆ ขยาย ไม่มีรูปลักษณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตามดูเฉย ๆ จากนั้นบริกรรมรู้หนอ ๆ จนมารู้สึกทางร่างกายน่ะค่ะ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันแปลกตรงที่เจ็บลิ้นปี่นะครับ น่าจะมีการเอาจิตไปเกาะอะไรสักอย่างที่เป็นกาย

    แต่ถ้าเกาะแล้วทำให้จิตรวมได้ แถมยังรู้ เห็น และบริกรรมรู้หนอได้ ก็ไม่น่าเป็นห่วง
    เพราะไม่ใช่อาการเกาะรูปปรมัตถ์จนสัญญาดับ เวทนาดับ เป็นพรหมลูกฝัก พรหมลูก
    ฟักนั้นจะทำได้หากเราเอาจิตเกาะรูปปรมัตถ์อย่างใดอย่างหนึ่งแค่รูปเดียว มันจะทำให้
    รูปขันธ์อื่นหมดกำลัง สัญญาขันธ์หมดกำลัง เวทนาหมดอาหาร มันเลยวูบ แต่วูบแบบ
    นี้จะไม่มีสติอยู่ แต่เท่าที่คุณพูดคุณยังชี้ว่าเห็น และบริกรรมจนกลับคืนมา ก็สบาย
    ใจหน่อยว่าไม่ได้เผลอไปทำพรหลูกฟัก อสัญญีสัตตาเข้า

    ยังไงตามดูอาการจุกลิ้นปี่ไว้หน่อย ว่ามีวลบากคาหลังจากออกสมาธิไหม ถ้ามีก็ต้อง
    สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นการทำสมาธิที่ไม่ใช่ สมาธิในโพชฌงค์ เพราะมันเกิดวิบาก ผล
    ของสมาธิที่ผิดไปจากสุข กล่าวอีกอย่างหนึ่ง หากมีการเจตนาทำ ก็ต้องมีผลวิบาก
    ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ออกจากสมาธิ หรือ ฌาณ หรือ ทำวิปัสสนาล้วนๆก็ดี อาการแน่น
    หน้าอกนั้นจะเป็นวิบากที่เห็นง่ายที่สุด ถ้าปรากฏแปลว่าเผลอเจตนาสร้างภพอะไร
    สักอย่างเข้าแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่ต้องแก้นะครับ ให้ดูเฉยๆ รู้ไปว่าได้รับวิบาก แล้ว
    จะค่อยๆเห็นเหตุที่มาเอง อย่าไปลำคาญอาการแน่นหน้าอก จะยิ่งทำให้เราแน่นยิ่ง
    ขึ้น แต่บางคนก็เกิดอาการแน่นที่สมอง ที่หว่างคิ้ว อันนี้ก็เหมือนกัน แต่ต่างอินทรีย์
    กันเลยเห็นคนละที่ แต่เป็นวิบากที่เกิดจากเจตนาสร้างภพชาติเหมือนกัน ให้รู้ ดูเฉยๆ
    หากรู้ได้จนเห็นทุกขสัจจ สมุทัยจะละไปเอง

    * * * *

    แต่ถ้าคุณแว็ดมั่นใจว่าที่ทำนะถูกต้องอยู่ ตรงเห็นสว่าง ไร้ขอบเขต อย่าดึงกลับ
    ครับ อย่าภาวนาเห็นหนอ ให้เฉยๆ ไว้ จะเห็นอะไรที่ปราณีตกว่า ถ้าดึงกลับมา
    จะคลาดการเห็นธรรมบางอย่าง เป็นการรู้สึกนะครับ ไม่ใช่เห็นรูปอะไร
     
  17. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    สำหรับคุณ ราชแสง

    สิ่งที่ว่าเงียบ ให้ลองพิจารณาดูว่า มันสงัดสุดๆหรือยัง
    หากสุดแล้ว มันมีอาการทางใจ อารมณ์ อย่างไร
    หากไม่เข้าใจ ให้ หันกลับมาดูที่ฐานจิต

    ทำให้ สุดน ที่ทำอยุ่นั้นละเอียดดี ถูกแล้วครับ
    เจริญธรรมครับ
     
  18. ชาวพุทธครับ

    ชาวพุทธครับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2007
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +59
    คุณใช้กรรมฐานบทใหนในการทำสมาธิ ก็ต่อบทนั้น ยกจิตไว้ที่ใหนก็อยู่จุดนั้น
    ไม่ต้องสนใจอาการแห่งปิติ เมื่อสมาธิทรงตัวได้ในระดับหนึ่งอาการเหล่านั้นก็จะหายไป อย่าไปสนใจถ้าอาการเหล่านั้นหายไป เพราะจะทำให้เราหลุดจากสมาธิขั้นที่สูงกว่าลงมา พยายามทรงจิตให้อยู่ ณ ฐานที่ตั้งของจิตก็พอ แต่พอสมาธิแนบแน่นขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องพยายามเพราะมันก็จะเป็นไปตามครรลองของมันเอง

    หวังว่าคำแนะนำอันไม่น่าเชื่อถือนี้คงเป็นประโยชน์กับคุณบ้างสักเล็กน้อยนะครับ^-^

    อารมณ์ดีทำให้หน้าตาผ่องใส;aa36
     
  19. ราชแสง

    ราชแสง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +85
    ขอขอบพระคุณทุกท่านที่แนะนำเป็นอย่างสูงครับ
    ผมจะนำไปปฎิบัติให้เกิดผล ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...