ปวดคอ - ปวดไหล่

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Inner Smile, 7 พฤศจิกายน 2008.

  1. Inner Smile

    Inner Smile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    699
    ค่าพลัง:
    +451
    ปวดคอ - ปวดไหล่

    [​IMG][​IMG]จาก [​IMG]
    http://www.sukumvithospital.com/modules.php?name=News&file=article&sid=27

    ปวดคอ

    ลำคอเป็นอวัยวะที่ต้องแบกรับน้ำหนักของศีรษะไว้ทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเวลาเข้านอน ลำคอมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด จึงมักเป็นจุดอ่อนที่จะเกิดอันตรายกับกระดูกคอได้ง่าย
    สาเหตุของอาการปวดคอ
    สาเหตุของอาการปวดคอมักเกิดจากอริยาบถที่ผิดสุขลักษณะในชีวิตประจำวัน อาทิ


    1. นอนคว่ำเป็นประจำ นอนหมอนสูงเกินไป การสลัดคอ สลัดผม หรือใช้คอกับไหล่หนีบโทรศัพท์ เล่นดนตรีที่ จะต้องวางบนบ่าและใช้คอยันไว้
    2. งานที่ต้องเกร็งไหล่ทั้งสองข้าง หรือก้มๆ เงยๆ บ่อย เช่น เย็บผ้า พิมพ์ดีด ใช้คอมพิวเตอร์
    3. นั่งทำงานกับโต๊ะ เก้าอี้ที่ไม่ได้สัดส่วน
    4. การนั่งหลับ หรือนั่งสัปปะหงก
    5. อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของคอทันที เช่น รถชนท้าย ตกจักรยานยนต์ หกล้ม
    6. การเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ภาวะข้อเสื่อม โรครูมาตอยด์ เป็นต้น
    อาการปวดคอ

    1. ปวดเมื่อยต้นคอ คอเคล็ด เอี้ยวคอไม่ถนัด อาจเจ็บเป็นๆ ทายๆ อาจมีอาการตั้งแต่น้อยถึงมากได้
    2. ต่อมาจะมีอาการปวดร้าวลงบ่า ลงแขนและสบัก (สบักจม) มีอาการปวดร้าวที่ปลายแขนศอก บางทีมีอาการคล้ายข้อมือซ้น มืออ่อนแรง หยิบของมักตกบ่อยๆ หรือจับปากกาไม่ค่อยอยู่ อาจเจ็บโคนนิ้วหัวแม่มือ ชาที่นิ้วมือ ข้อมือและแขน
    3. ต่อมาจะเจ็บหัวไหล่เวลานอนตะแคง กล้ามเนื้อและหน้าอกข้างนั้นจะค่อยๆ ลีบลง ไหล่ติด ยกแขนหรือเกาหลังไม่ได้
    4. หากทิ้งไว้จนเป็นมากขึ้นจะปวดศีรษะข้างเดียว หรือปวดทั้งศีรษะ ลมออกหู หายใจไม่เต็มอิ่มอาจมีอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
    การรักษาและการป้องกัน

    1. การรักษาด้วยตนเอง
      • ใช้หมอนที่เหมาะสมหนุนบริเวณต้นคอ ไม่หนุนบริเวณศีรษะหรือใช้หมอนที่แข็งหรือสูงเกินไปจนทำให้ศีรษะกระดกขึ้น หมอนหนุนที่ถูกต้องจะรองบริเวณก้านคอ เมื่อนอนหงายกลางหมอนคอจะเป็นรูปสะพานโค้ง และคอจะขนานกับพื้นเวลานอนตะแคง หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้หมอนที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะลำคอ รูปศีรษะ และความหนาของลำตัวแต่ละคนไม่เท่ากัน
      • ไม่ควรนอนคว่ำเป็นประจำเพราะจะทำให้ลำคอบิดผิดท่าและเกิดปวดคอได้
      • ไม่ควรสลัดผมบ่อยๆ (ทรงผมที่ปรกหน้าอาจเป็นสาเหตุของโรคปวดคอได้)
      • ควรใช้โต๊ะทำงานและเก้าอี้ที่ได้สัดส่วนกัน ไม่ต้องก้ม ไม่ทำให้หลังโกง
      • การนั่งรถ ไม่ควรปรับพนักอิงให้เอนเกินไปเพราะลำคอต้องเกร็งอยู่ตลอดเวลา และควรมีที่หนุนที่รองรับ ก้านคอได้พอดี
      • หากทำงานที่ต้องก้มคอเป็นระยะนานๆ เช่น เย็บผ้า เขียนรูป อย่านั่งนานและพยายามเปลี่ยนท่าบ่อยๆ
    2. ใช้เครื่องพยุงคอ หรือใช้ม้วนผ้าขนหนูที่หนาและยาวพอที่จะพยุงรับน้ำหนักพันรอบคอไว้เพื่อจำกัดการ เคลื่อนไหวและลดน้ำหนักของศีรษะให้กดลำคอน้อยลง และใส่ให้นานพอให้อาการดีขึ้น
    3. ประคบร้อนหรือประคบเย็น ใช้ความร้อนหรือความเย็นประคบบริเวณที่ปวด 15 - 20 นาที แล้วทายาแก้ปวดและนวดเบาๆ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
    4. บริหารกล้ามเนื้อคอ เมื่ออาการทุเลา จึงเริ่มบริหารกล้ามเนื้อคอ (ตามรูป)
      การบริหารกล้ามเนื้อคอและไหล่เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และทุเลาอาการปวด
      การบริหารในท่านี้ควรเริ่มต้นทำที่หน้ากระจก โดยใช้แรงน้อยๆ ก่อน เพื่อให้หน้าตรง เมื่อชำนาญแล้วจึงสามารถบริหารได้ทุกที่ ไม่ว่าในรถหรือที่ทำงานโดยเพิ่มแรงมากขึ้น โดยบริหารวันละ 3 - 4 รอบ
    ท่าบริหารกล้ามเนื้อคอ
    <embed src="http://www.sukumvithospital.com/images/sukumvit/articles/exercise_neck.swf" quality="high" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" width="300" height="300">
    • ท่าที่ 1 ใช้กำปั้นยันหน้าผากเหมือนจะให้หงายไปข้างหลัง เกร็งศีรษะสู้กับแรงโดยรักษาระดับให้หน้าตรงอยู่เสมอ
    [​IMG]

    • ท่าที่ 2 ใช้กำปั้นด้านนิ้วมือกดลงด้านหลังในบริเวณที่ทุยของศีรษะ เกร็งศีรษะสู้โดยรักษาระดับให้หน้าตรงอยู่เสมอ
    [​IMG]

    • ท่าที่ 3 กำมือและเอาสันมือยันเหนือกกหู (บริเวณทัดดอกไม้) และเกร็งศีรษะสู้ทีละข้าง โดยรักษาระดับศีรษะให้ตั้งตรงอยู่เสมอ
    [​IMG]

    • ท่าที่ 4 ใช้สันมือบริเวณฐานของหัวแม่มือยันขากรรไกรทีละข้าง แล้วเกร็งหน้าสู้ ไม่ให้หน้าหมุนไป
    [​IMG]

    ท่าบริหารกล้ามเนื้อไหล่
    อุปกรณ์ที่ใช้ คือ โต๊ะและเก้าอี้แบบมีพนักพิง และน้ำหนักถ่วง (เริ่มจากน้ำหนักน้อยๆ ก่อน)
    การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มบริหาร นั่งตัวตรงหลังพิงพนักเต็มที่ แขนทั้งสองข้างวางบนโต๊ะ ผูกน้ำหนักถ่วงที่ข้อมือทั้งสองข้าง ในการบริหารแต่ละท่ายกขึ้นนับสิบแล้วพักหนึ่งครั้งโดยค่อยๆ เพิ่มจำนวนครั้งจนถึงสิบครั้งทุกท่า แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักที่ข้อมือมากขึ้น ทำซ้ำจนได้พอสมควรจึงเพิ่มน้ำหนักขึ้นไปอีก
    <embed src="http://www.sukumvithospital.com/images/sukumvit/articles/exercise_shoulder.swf" quality="high" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" type="application/x-shockwave-flash" width="300" height="300">
    • ท่าที่ 1 : ท่ายกกล้ามเนื้อบ่าด้านบน
    [​IMG]
    นำแขนวางบนโต๊ะ แล้วยกบ่าขึ้นไปหาใบหูคล้ายยักไหล่ แล้วเกร็งไว้นับ 1 - 10 แล้วทำซ้ำ
    • ท่าที่ 2 : ท่าแบะไหล่ไปข้างหลัง
    [​IMG]
    ยกแขนจากโต๊ะเล็กน้อย ดึงสบักเข้าหากันโดยดึงหัวไหล่แบะไปข้างหลังแล้วเกร็ง นับ 1 - 10 แล้วทำซ้ำ
    • ท่าที่ 3 : ท่าถองศอกไปข้างหลัง
    [​IMG]
    ยกแขนขึ้นจากโต๊ะ ถองศอกไปข้างหลังเกร็งไว้ นับ 1 - 10 แล้วทำซ้ำ
    • ท่าที่ 4 : ท่ายกแขนไปข้างหน้า
    [​IMG]
    นั่งตัวตรง หลังพิงเก้าอี้ เหยียดแขนยกตรงขึ้นไปจนแขนด้านในชิดใบหูเกร็งไว้ นับ 1 - 10 แล้วทำซ้ำ
    • ท่าที่ 5 : ท่ากางแขนออกจากตัว
    [​IMG]
    หงายผ่ามือกางแขนออกขนานกับพื้น ยกแขนเหยียดตรงขึ้นไปจนแขนชิดใบหู โดยหันผ่ามือเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1 - 10 แล้วทำซ้ำ
    • ท่าที่ 6 : ท่าบริหารหน้าอก (ท่าขว้างของ)
    [​IMG]
    วางแขนทั้งสองข้างบนโต๊ะ ยกแขนข้างหนึ่งขึ้นคล้ายหยิบของขึ้นขว้าง เหยียดแขนตรง ค่อยๆ ยกเฉียงขึ้นจนสูง เกร็งไว้ นับ 1 - 10 แล้วยกแขนอีกข้างหนึ่งทำซ้ำ
    [​IMG] ?คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด ภาพโปสเตอร์การบริหารกล้ามเนื้อคอและไหล่
     
  2. SUN LIGHT

    SUN LIGHT สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2008
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอบคุณครับ
     
  3. devbara

    devbara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +5,400
    ขอบคุณมากๆเลย มีอีกขออีกนะ อยากได้ท่าบริหาร ไม่ว่าจะเป็นโยคะ ซี่กง หรืออะไรก็ได้ เยี่ยมเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...