นิพพานสูญหรือไม่สูญ ?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 14 กันยายน 2008.

แท็ก: แก้ไข
  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    นิพพานสูญหรือไม่สูญ ?


    ปัญหาว่านิพพานคืออะไร นิพพานสูญหรือไม่สูญ คำตอบของปัญหาทั้งสองจะได้อธิปรายปนกันไป


    บางท่านอธิบายว่านิพพานคือจิตว่าง จิตว่างเมื่อใดเป็นนิพพานเมื่อนั้น ไถนาอยู่ทำจิตว่างเสียหน่อยก็เป็นนิพพาน จนดูเหมือนว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมากเกินไปเสียแล้ว สอนเพียง ๒ คำ คือ “จิตว่าง” ก็จบ บ้างก็ว่านิพพานแล้วเลยหายสาปสูญไปเลย ทำให้คนแย้งว่าถ้ายังงั้นก็ไม่เห็นเป็นเรื่องอะไร ไม่ไปนิพพานดีกว่า ทุกข์บ้างสุขบ้างก็ยังพอทน บ้างก็ว่านิพพานมีอยู่ เป็นอมตะด้วย มีความสุขอย่างเดียวตลอดกาล อันนี้ตรงกับที่กล่าวไว้หลายตอนในพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎกก็พูดไว้ทั้งสูญญัง และสุขขัง เป็นเหตุให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้น

    เพื่อเป็นการปูพื้นฐานเรื่องนิพพาน ควรจะเรียนเรื่องการเกิดเสียก่อนว่าคนเกิดมาอย่างไร

    เล่ม ๑๒ หน้า ๓๙๘
    “ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมกันแห่งปัจจัย ๓ ประการ ความเกิดแห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน

    ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน

    ดูกร ภิกษุทั้งหลายเมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการนี้ ความเกิดแห่งทารกจึงมี”
    ตอนนี้ควรตั้งปัญหาว่า “ทารกที่จะมาเกิด” นั้นคืออะไร เพราะถึงอย่างไรก็ไม่หมายถึงตัวเด็กแน่นอน

    เล่ม ๑๑ หน้า ๙๒
    “ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้ คือ

    สัตว์บางชนิดในโลกนี้ไม่รู้สึกตัวในการก้าวลงสู่ครรภ์ มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวสู่ครรภ์ข้อที่ ๑

    ยังมีอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๒

    ยังมีอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๓

    ยังมีอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๔
    นี่ก็เป็นปัญหาว่า “สัตว์” ที่ก้าวลงสู่ครรภ์มารดานั้น คืออะไร ในเบื้องแรกที่ก้าวลงสู่ครรภ์มารดานั้น “สัตว์” จะรู้สึกตัวได้อย่างไรในเมื่อการก่อรูปแต่แรกก็เป็นเพียงกลละเท่านั้น ยังไม่เกิดมีสมองและเส้นประสาท

    เล่ม ๑๕ หน้า ๒๘๖
    “อินทกยักษ์ทูลถามว่า (ถ้า)ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า **รูปหาใช่ชีพไม่**
    สัตว์นี้จะประสบร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อจะมาแต่ไหน สัตว์จะติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร”

    “พระ ผู้มีพระภาคตรัสว่า รูปนี้เป็นกลละก่อน จากกลละเป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆานะ จากฆานะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้นมี ผม ขน และเล็บ(เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์ นั้น”
    เห็นได้ว่า “สัตว์” นี้มาจากภายนอก ไม่ใช่เกิดขึ้นเองภายในรูปที่ก่อขึ้นในครรภ์ นักวิทยาศาสตร์มักจะกล่าวหรือเข้าใจว่า ที่เป็นตัวเรารู้สึกนึกคิดอยู่เวลานี้ ก็คือสมองนั่นเอง แต่เมื่อดูตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วก็ไม่ใช่ เพราะ “เรา” นั้นมีมาก่อนที่สิ่งในครรภ์จะก่อรูปเสียอีก

    เห็นได้ว่า ร่างกาย คือ นามรูปนี้เป็นแต่เพียงที่อาศัยชั่วคราว เป็นที่พักผ่านทางเท่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า “มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา” แต่คนผู้ไม่เข้าใจไปรับเอาร่างกายหรือนามรูปหรือขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวของตัวไว้เต็มที่ จึงเกิดทุกข์ เกิดเดือนร้อนต่างๆ อันเนื่องจากความทุกข์ของร่างกายนี้เป็นที่สุด ในการที่จะทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพาน ท่านจึงกล่าวว่า ตัดขันธ์ ๕ ได้ (ว่าราไม่เอาแล้ว เข็ดแล้ว) แยกตัวเองให้เห็นชัดว่าไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตก็จะเป็นอิสระ และเข้าถึงพระนิพพาน





    คราวนี้ เป็นวาระสมควรที่จะเริ่มอภิปรายนิพพานสูญหรือไม่สูญกันต่อไป

    ฝ่ายที่ยึดถือว่านิพพานสูญนั้น มักจะอ้างแต่ “นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” แต่ไม่ยอมเอ่ยถึง “นิพพานัง ปรมัง สุขขัง” โดยไม่ให้เหตุผลอะไรทั้งนั้น บางท่านก็โต้แย้งว่า

    ๑. การเข้านิพพานโดยมีอะไรอย่างหนึ่งไปเข้านั้น แสดงว่าสนับสนุนการมีอัตตา (คือ ตัวที่ไปเข้านิพพาน) แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อนัตตา ตัวไม่มี จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีตัวไปเข้านิพพาน ต้องสูญไปถึงจะถูก

    ๒. ที่ว่านิพพานเป็นสุขนั้นไม่ถูก เพราะความสุข ก็คือ กิเลสอย่างหนึ่ง

    ในการอภิปรายต่อไปนี้ จะกล่าวถึงด้านที่ว่า พระนิพพานไม่สูญอย่างเดียว เพราะถ้าพิสูจน์ได้ว่านิพพานไม่สูญแล้ว ฝ่ายนิพพานสูญก็ย่อมตกไป เป็นไปไม่ได้อยู่ดี แต่ก่อนจะอภิปราย จะต้องวางหลักที่ต้องระลึกเสียก่อน ดังนี้ คือหากกล่าวว่านิพพานสูญ ก็ต้องยอมรับว่าสถานที่ซึ่งเรียกว่านิพพานนั้นไม่มีอยู่ ทุกสิ่งอันตรธานไปหมด ความรู้สึกอย่างใด ๆ ก็ไม่มีด้วย เพราะเมื่อทุกสิ่งอันตรธานแล้ว จะมีความรู้สึกได้อย่างไร(รู้สึกสุข)

    เล่ม ๑๒ หน้า ๔๘๘ ทรงกล่าวกับพวกพรหม
    “นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ(ไม่เห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ)
    เป็นอนัตตะ(ไม่มีที่สุดหรือหายไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง”

    การมีรัศมีย่อมหมายถึงสถานที่อยู่ในตัว ถ้าสูญ อันตรธาน ก็จะมีอะไรไม่ได้
    รัศมีก็มีไม่ได้
    เล่ม ๑๒ หน้า ๓๔๙
    “นิพพานอันเป็นแดนเกษม”
    เล่ม ๑๕ หน้า ๔๓
    “เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี
    ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เขา(ย่อมไป)ในสำนักพระนิพพานด้วยยานนี้แหละ”
    เล่ม ๒๒ หน้า ๓๒๓
    “เพราะ เห็นภัยในการยึดถือซึ่งเป็นแดนเกิดของชาติและมรณะ ชนทั้งหลายจึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ดำเนินไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติและมรณะ ชนเหล่านั้นถึงแดนเกษมมีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ผ่านพ้นเวรและภัยล่วงทุกข์ทั้งปวง”
    ความนี้อธิบายลักษณะเกือบจะสมบูรณ์ คือ บ่งถึงสถานที่ซึ่งไปดำเนินอยู่ได้ บ่งถึงความรู้สึกในสถานที่นั้น และบ่งถึง “ดับสนิท”(ซึ่งอาจจะตรงกับ”สุญญัง”)ว่าดับจากเวรภัยและทุกข์ทั้งปวงแล้ว

    เล่ม ๒๓ หน้า ๑๗๘
    “ดูกร ปหาราทะ ฉันนั้นก็เหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มีได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น”
    ความนี้บ่งถึงนิพพานธาตุในฐานะสถานที่

    เล่ม ๒๕ หน้า ๗๒
    ทรง เปล่งพระอุทาน “ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้(สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์”
    นี่ก็เป็นพระพุทธดำรัสพรรณนาในเชิงเป็นสถานที่ เพราะถ้าว่างเปล่า อันตรธานก็ไม่ต้องพูดกันแล้วในเรื่องความมืดความสว่าง

    เล่ม ๒๕ หน้า ๑๔๓
    “ครั้นได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้วพึงถึงสถานที่ เป็นที่ไม่เห็นแห่งมัจจุราช
    เล่ม ๒๕ หน้า ๑๖๖
    “บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็นสถานที่ไม่มีตัณหา
    เล่ม ๒๕ หน้า ๑๗๕
    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปปัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”
    แม้ว่าข้อความอื่นๆ จะเข้าใจยาก เช่น อากาสานัญจายตนะ ซึ่งหมายถึงอรูปพรหมเป็นต้นแล้ว ทรงกล่าวถึงพระนิพพานโดยเรียกเป็นอายตนะ และทรงกล่าวว่ามีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี

    เล่ม ๒๕ หน้า ๔๒๙
    “นาม รูปของผู้นั้นแลเป็นของเท็จ เพราะนามรูปมีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา นิพพานมีความไม่สาปสูญเป็นธรรมดา พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้นโดยความเป็นจริง”
    เล่ม ๙ หน้า ๓๗๓
    ความเดิมมีว่า ภิกษุชื่อเกวัฏฏ์เที่ยวไปถามทั่วไปในปัญหาว่า “มหาภูตรูปทั้ง ๔
    ย่อมดับไม่เหลือในที่ไหน” เมื่อไม่มีใครตอบได้ก็ย้อนมาถามพระพุทธเจ้า ๆ ตรัสว่า ปัญหานี้ถามไม่ถูก
    ควรถามว่า “ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
    นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหนดังนี้”
    ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
    “ธรรมชาติที่รู้แจ้งไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้”

    “อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้”

    “นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้”

    “เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่เหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้”
    คำว่า “วิญญาณ” ในที่นี้น่าจะเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ เพราะรับกับความอื่นด้วย และความนี้แสดงถึงพระนิพพานในฐานะธรรมชาติอันหนึ่ง

    เมื่อสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ทรงกล่าวถึงพระนิพพานในฐานะสถานที่ไว้มากมาย แต่พระนิพพานนี้ยากที่จะอธิบายแก่มนุษย์ซึ่งมีความเข้าใจแต่การ เกิด แก่ ตาย จึงเป็นเรื่องที่คนมักจะถกเถียงกันบ่อยๆ

    เล่ม ๒๐ หน้า ๑๗๐
    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ

    - ไม่ปรากฏความเกิด ๑
    - ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑
    - เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑

    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการ นี้แลฯ”
    นักศึกษาธรรมส่วนใหญ่คงจะละเลยการศึกษาที่ถูกต้อง คือ กระโดดข้ามไปสงสัยเอาพระนิพพานเลยทีเดียว โดยที่ไม่ได้ศึกษาการเกิดเสียก่อน เท่ากับเรียนปริญญาเอกโดยไม่เรียนชั้นประถม ดังนั้นจึงเข้าใจพระนิพพานได้ยาก พระนิพพานไม่มีความแปรปรวน มีความเป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้จึงทรงตอบปัญหาว่า ภิกษุอรหันต์ผู้ทำกาละแล้ว “ดำรงอยู่” หรือ “ดำเนินไปในพระนิพพาน” หรือ “เข้าถึงอยู่”

    เล่ม ๑๗ หน้า ๕๙
    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อมจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง(หวั่นไหว)ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
    วิญญาณที่ว่าไม่มีที่ตั้งนี้ แทนที่จะสลายไป สาบสูญ อันตรธานไป กลับ "ดำรงอยู่" ใจความเช่นนี้ เราๆ ท่านๆ อาจจะเข้าใจยาก

    เล่ม ๑๓ หน้า ๒๓๘
    “ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน”
    เล่ม ๒๕ หน้า ๓๐
    “จิต ของเราถึงแล้วซึ่งนิพพาน อันปราศจากสังขาร”
    สรุปตามที่กล่าวมาแล้ว พระนิพพานมีอยู่ แต่เมื่อไม่เป็นภพ ท่านก็เรียกของท่านไปต่างๆ เช่น สถานที่บ้าง แดนบ้าง นิพพานธาตุบ้าง ธรรมชาติบ้าง ท่านกล่าวว่านิพพานไม่มีที่เปรียบเทียบ ดังนั้นจึงยากที่จะกล่าวถึงให้เข้าใจแจ่มแจ้งได้


    ได้กล่าวมาแล้วว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบรรยายนั้นเป็นความจริง เป็นของจริงที่มีอยู่ ที่ทรงเห็นมาด้วยพระองค์เอง มิฉะนั้นก็ไม่ทรงสอน ความข้อนี้นักศึกษามักจะไม่นำพากันเสียเลย จะเอาความนึกเห็น ความคิดของตนเป็นถูกอยู่ร่ำไป ในกรณีของนิพพานนี้ก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าย่อมต้องไปประสบ ไปสัมผัสมาเองแล้ว จึงสอน


    ** สมมติเอาว่า หลังปรินิพพานไปแล้ว เป็นการสูญ หายไป เป็นการอันตรธานไป พระพุทธเจ้าเวลาไปดูนิพพานก็ย่อมไม่เห็น เพราะไม่มีอะไรให้เห็น และเมื่อไม่มีอะไรให้เห็น ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าที่ไม่รู้ไม่เห็นนั้นคือนิพพาน ถ้านิพพานเป็นการสลาย เป็นการอันตรธาน พระพุทธเจ้าจะต้องทรงมีประสบการณ์ในการสลาย ในการอันตรธาน ในการไม่มีอยู่ต่อไปมาแล้ว และเมื่อสลายเสียแล้ว อันตรธานเสียแล้ว จะกลับมาเป็นพระพุทธเจ้าแล้วตรัสบอกว่านิพพานสูญได้อย่างไร ดังนั้น ที่ว่านิพพานสูญจึงไม่เป็นเรื่องไม่ถูกเกณฑ์อะไรทั้งนั้น **

    ตรงกันข้าม ในทางนิพพานไม่สูญกลับมีข้อพิสูจน์ กล่าวคือ ได้ทรงเห็นสถานที่หรือธรรมชาติ หรืออายตนะนั้นมาแล้ว ดังกล่าวข้างบน และนอกจากพระพุทธเจ้าแล้วพระอรหันต์องค์อื่นๆ ก็สัมผัสพระนิพพานมาแล้ว


    เล่ม ๒๕ หน้า ๒๕๖
    “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตธาตุอันไม่มีอุปธิด้วยนามกาย”
    เล่ม ๒๒ หน้า ๓๖๘
    ผู้ได้ฌานสามารถถูกต้องอมตธาตุด้วยนามกาย
    คือท่านพระมหาจุนทะสอนว่า ภิกษุผู้ประกอบธรรมควรสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน “ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าบุคคลที่ถูกต้องอมตธาตุด้วยกายเป็นอัจฉริยบุคคลหาได้ยากในโลก”
    เรื่องนิพพานเป็นสุขนี้ ในสมัยพุทธกาลก็เคยมีผู้สงสัยมาแล้ว

    เล่ม ๒๓ หน้า ๓๘๓
    ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร อาวุโสทั้งหลาย
    นิพพานนี้เป็นสุข” พอพูดอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า “ดูกรอาวุโสสารีบุตร
    นิพพานนี้ไม่มีเวทนาจะเป็นสุขได้อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ดูกร อาวุโส
    นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข”
    ในหน้า ๓๘๔ กล่าวต่อไปถึงภิกษุเข้าปฐมฌา แล้วสรุปว่า
    “ดูกร อาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้” แล้วท่านก็ไล่ไต่ไป คือ ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ จบด้วย “อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธเพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานโดยประการทั้ง ปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกร อาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้”
    พึงสังเกตว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าสุขในฌานก็ถือโดยปริยายได้ว่าคล้ายกับสุขในนิพพาน ข้อนี้แสดงว่าท่านพระสารีบุตรต้องเคยสัมผัสพระนิพพานมาแล้ว จึงอธิบายได้ว่าคล้ายๆ สุขในฌานนั่นแหละ(เพราะการได้ฌานจะต้องระงับเวทนาทั้งหลายเสียก่อนจึงจะ เป็นฌานได้)

    เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านได้สัมผัสสุขในนิพพานมาแล้ว คือ พิสูจน์มาแล้วว่าเป็นสุขจริง ข้อนี้ตรงกับหลักปฏิบัติของพระพุทธเจ้า คือ รู้จริง เห็นจริง ด้วยพระองค์เองแล้วจึงสอน

    สำหรับคำว่าสูญ หรือ ดับ หรือ ดับสนิท อันอาจเป็นเหตุให้เข้าใจว่านิพพานแล้วสูญไปนั้น ความจริงก็มีอธิบายความหมายไว้หลายแห่ง

    เล่ม ๑ หน้า ๓
    “เรากล่าวความขาดสูญ แห่ง ราคะ โทสะ โมหะ”
    ดังนั้นที่ว่าสูญอย่างยิ่งก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    เล่ม ๑๓ หน้า ๑๗๘
    “อาสวะ เหล่านั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา”
    ที่ถึงความไม่มี(ขาดสูญ)ก็คืออาสวะนั่นเอง

    เล่ม ๑๕ หน้า ๑๙
    “นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญา และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดในที่นั้น”
    เล่ม ๑๗ หน้า ๕๘
    “เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ ย่อม ขาดสูญ”
    และ หน้า ๒๑๐
    “ความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน”
    เล่ม ๒๕ หน้า ๕๖
    “เมื่อใดพราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้งสองประการ เมื่อนั้นกิเลส เครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์นั้นผู้รู้แจ้งย่อมถึงความสาปสูญไป”
    ท่านผู้ยืนยันว่านิพพานสูญตามนัย “นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” นั้น หากท่านจะได้ติดตามความหมายของคำว่า “สุญญัง” เสียสักหน่อย ก็จะทราบความหมายดังข้างต้นหรือคำอธิบายดังต่อไปนี้

    เล่ม ๓๐ หน้า ๓๕
    คำว่า “ดับแล้ว” ความว่า ชื่อว่า ดับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับ
    ราคะ โทสะ.......ฯลฯ.......ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง
    ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงฯ
    เล่ม ๓๑ หน้า ๑๘๓
    คำว่า “สุญญัง” ความว่า เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใครๆ
    เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม บางแห่งท่านกล่าวว่าเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง
    ซึ่งเห็นได้ว่าไม่หมายถึงหายไป อันตรธานไป
    โดยยึดหลักไว้ให้มั่นคงว่า พระธรรมของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ขัดกันเอง ดังนั้น “นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” กับ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” ก็ต้องเป็นไปได้ทั้งสองอย่างในขณะเดียวกัน และบางทีหลักฐานที่ใช้อธิบายคำทั้งสองนี้ อาจจะดูได้จาก

    เล่ม ๓๑ หน้า ๔๕๕
    กล่าวว่า ความดับแห่งเบ็ญจขันธ์ เป็นนิพพาน เป็นสุข
    หน้า ๔๕๖
    “ความดับแห่งเบ็ญจขันธ์ เป็นนิพพาน เป็นสูญอย่างยิ่ง “
    หน้า ๔๕๗
    “ความดับแห่งเบ็ญจขันธ์ เป็นนิพพาน ไม่มีความเสื่อมไป”
    แปลกลับมาได้ว่า ที่เป็นสุขก็ดี เป็นสูญก็ดี คือความดับแห่งเบ็ญจขันธ์ เป็นอิสระ เป็นสุข มีความว่างจากกิเลสต่างๆ และมีความเป็นอมตะ ไม่เสื่อมไป ดังนี้ ความก็รับกับที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่าง



    คราวนี้ขอตอบปัญหา ๒ ข้อ คือ

    ข้อ ๑. พระพุทธเจ้าสอนว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน การมีสิ่งไปเข้านิพพานแสดงว่าเป็นตัวตน เป็นการค้านกับคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงไม่น่าเป็นได้

    คำตอบมีว่า ความเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าสอนว่า ทุกสิ่งไม่มีตัวตนนั้น รับมาผิด พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนดังนั้นเลย ต้นเหตุใหญ่ที่มาเข้าใจกันว่าไม่มีตัวตนนั้น มักอ้างมาจากที่ตรัสว่าสัสตะทิฐิ คือความเที่ยงในตัวตนของตนนั้นเป็นมิจฉาทิฐิ แต่ท่านเหล่านั้นไม่ยกเอาอุเฉททิฐิคือไม่เที่ยงในตัวตนของตนมาควบ ว่าอันนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่าเป็นมิจฉาทิฐิเหมือนกัน ซึ่งในเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็ควรจะมีความงงงวยว่า เอ...อะไรกันนี่ มีตันตนเที่ยงก็ผิด ไม่มีตัวตนไม่เที่ยงก็ผิด มันควรจะถูกเข้าสักอย่างจึงจะควร

    นี่เป็นด้วยเราอ่านตำรากันมาไม่ดีนั่นเอง ทิฐิหรือความคิดเห็นความยึดมั่นทั้งหมดมี ๖๒ อย่างตามตำรา พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นมิจฉาทิฐิทั้งหมดไม่มีเหลือหรอ ใจความที่แท้จริงก็คือว่า การมีทิฐินั่นเองที่เป็นการผิด การยึดมั่นในสิ่งนั้นเอง (ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือไม่ถูก) เป็นสิ่งที่ผิด (มิจฉาทิฐิ) นักศึกษามัวไปวิจัยสัสสตทิฐิเอย อุจเฉททิฐิอะไรกันเสียมากมายโดยเปล่าประโยชน์ ขึ้นชื่อว่าทิฐิแล้วอย่าไปยึดถือ ท่านว่าอย่างนั้นต่างหาก (ความจริงอะไรๆ ก็ไม่ยึดถือ แม้แต่พระนิพพานก็ไม่ทรงให้ยึดถือให้ “สักแต่ว่ารู้” เท่านั้น

    เมื่อเรากำจัดความเข้าใจเรื่อง อัตตา – อนัตตา อันอ้างมาจากทิฐิต่างๆ เสียแล้ว เราก็ยังมีอนัตตาอีกประการหนึ่ง คือ อนัตตาในพระไตรลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วย
    - อนิจจัง
    - ทุกขัง
    - อนัตตา
    อนัตตาในพระไตรลักษณ์นี้แหละที่ทรงให้พิจารณาไว้เสมอ เช่น รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา หมายถึงว่า ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา บังคับไม่ได้ สลายไปในที่สุด ไม่มีวันสิ้นสุด ฯลฯ

    คำว่า “ไม่มี ตัวตน” ตามที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นความหมายของ อนัตตานั้น ต่างกับ “ไม่ใช่ตัวตนของเรา” อย่างลิบลับ ตัวตนจะไม่มีได้อย่างไรในเมื่อเราก็เห็นได้โทนโท่ว่ามันมีอยู่ แต่ที่ว่าตัวตนไม่ใช่ของเรานี้เป็นของถูก เนื่องจากร่างกายนี้เป็นของโลกสร้างมา เราเป็นผู้เข้ามาอาศัยเวลาร่างกายตายแล้วเราก็เอาไปด้วยไม่ได้ ร่างกายก็เน่าของมันไปตามเรื่อง

    ด้วยเหตุที่คนทั้งหลายมองไม่เห็นข้อนี้ ไปยึดว่าร่างกายนี้แหละคือเราเสียร่ำไป อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์นั้นเกิดเพราะความรัก และพระพุทธเจ้าท่านบอกว่าคนเราแหละรักตัวเป็นอันดับหนึ่ง สรุปแล้ว รักตัวมากเท่าใดก็ทุกข์มากเท่านั้น ท่านจึงสอนนักหนาให้พิจารณาพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

    เรื่องนี้มีคนไปเถียงกับพระพุทธเจ้าว่า ตามธรรมดาต้นไม้หรือพืชจะมีผลได้ก็ต้องอาศัยพื้นดินเป็นหลัก คนเราทำอะไรก็ต้องอาศัยร่างกายเป็นพื้นฐาน คือ กายนี้แหละย่อมเป็นของเรา จึงจะใช้ทำอะไรๆ ได้ พระพุทธเจ้าทรงโต้ว่า สิ่งใดเป็นของเรา เราย่อมมีอำนาจเหนือสิ่งนั้น ถ้าร่างกายเป็นของเราก็ลองสั่งไม่ให้มันแก่ดูซี ได้ไหม พ่อคนนั้นก็เลยจนแต้มไป

    ที่กล่าวว่าอนัตตาที่พระพุทธเจ้าให้พิจารณา คือ อนัตตาในพระไตรลักษณ์ต่างหาก ไม่ใช่เป็นความคิดเห็นที่พูดเอาตามชอบใจ กล่าวโดยหลัก หากพิจารณาเห็นจริง ก็จะเกิดความหมดความอาลัยในร่างกาย (ขันธ์ ๕) เมื่อไม่อยากได้ร่างกายตัณหาที่ทำให้อยากเกิดก็หมด เป็นนิพพาน แต่ทั้งนี้ก็ควรอิงหลักฐานตามหลักครูใหญ่ท่านสอนไว้ คือ พูดอะไรอย่าพูดลอยๆ ให้พูดอิงอรรถอิงธรรมอิงหลักฐาน

    ในเล่ม ๑๗ มีหลายตอนที่ท่านซักไซ้ไล่เลียงพระสาวกในด้านการพิจารณา ซึ่งปรากฏว่าเป็นการไล่ตามพระไตรลักษณ์นั่นเอง ขอยกหน้า ๕๓ มาเพียงตัวอย่างเดียว
    “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร โสณะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

    คฤหบดีบุตรชื่อโสณะทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า (อนิจจัง)

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า

    ส. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า (ทุกขัง)

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะพิจารณาสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นของเรา นั่นตัวตนของเรา

    ส. ข้อนั้นไม่ควรเลยพระเจ้าข้า” (อนัตตา)
    ต่อจากนั้นท่านก็ไล่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไปตามลำดับ เสร็จแล้วทรงสรุปว่า
    “ดูกร โสณะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง.....(สัญญา สังขาร วิญญาณ)

    “ดูกร โสณะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    เห็นได้ว่า เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นอนัตตาแล้วจึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น อนัตตาในพระไตรลักษณ์นี้เองจึงเป็นธรรมที่ทรงให้พิจารณาอยู่ตลอดเวลา มิใช่อนัตตามีตัวตนหรือไม่มีตัวตน ซึ่งด้วยตัวของมันเองแล้วไม่ได้ทำให้เกิดความเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเลย จะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ช่างเถิด อย่าไปเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเราเข้าเป็นใช้ได้

    ข้อ ๒. การมีสุขในพระนิพพานเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

    คำตอบสำหรับข้อนี้มีว่า ความเข้าใจว่าความสุขเป็นกิเลสนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความรู้ของเราเองใน เรื่องความสุขมีน้อยเกินไป จึงเหมาเอาเองว่าความสุขจะต้องเป็นกิเลสทั้งนั้น

    คำว่ากิเลสแปลว่าเครื่องเศร้าหมอง และสำหรับคนทั่วๆ ไปนั้นมักจะทำความพยายามหาอะไรต่ออะไรมาให้ตัวเอง เมื่อได้มาก็เกิดเป็นความสุข แต่จะมีใครคิดถึงความสุขอีกอย่างหนึ่งหรือไม่ว่า การเสียสละออกไปก็ทำให้เกิดความสุขได้ เช่น เราได้ช่วยให้ผู้อื่นคลายความทุกข์ได้ ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราให้เงินขอทานแล้วเขาดีใจจนน้ำตาไหลว่าวันนี้เขารอดตายแล้ว เราก็ย่อมเกิดความสุข หรือการมีอารมณ์สงบ สบาย ชุ่มชื่น สงัด ร่มเย็น เช่นนี้ก็มีความสุขได้โดยไม่ต้องไขว่คว้าอะไรเข้าบำรุงตัวเลย ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าหากใคร่ครวญกันให้ถี่ ถ้วนจริงๆ ในเรื่องความสุขแล้ว ความสุขจะมีได้หลายอย่างต่างๆ กัน

    เรื่องนี้ คนในสมัยโบราณที่เราคิดว่า โง่ จนต้องเขียนเรื่องสวรรค์ – นรก มาหลอกให้กลัวนั้นท่านได้คิดกันมาแล้ว

    เล่ม ๒๐ หน้า ๙๐ (พระพุทธดำรัส)
    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขของคฤหัสถ์ ๑ สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ”
    ต่อไป ท่านยังมีจำแนกไว้อีกหลายคู่ ดังจะแสดงโดยย่อต่อไปนี้ (อย่างหลังเป็นเลิศทุกข้อ)
    - กามสุข ๑ เนกขัมมสุข ๑
    - สุขเจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑
    - สุขมีอาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑
    - สุขอิงอามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑
    - สุขของปุถุชน ๑ สุขของพระอริยเจ้า ๑
    - กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑
    - สุขอันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ ๑ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑
    - สุขเกิดแต่ความยินดี ๑ สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑
    - สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ สุขที่ถึงสมาธิ ๑
    - สุขเกิดแต่ฌานที่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑
    - สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑
    - สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑
    เพียงแค่นี้ เราจะเห็นได้ว่าตัวเราเองนั่นแหละที่มีความรู้ในเรื่อง “สุข” ไม่เพียงพอ จึงเหมาเอาอย่างรวม ๆ ว่า ขึ้นชื่อว่าสุขแล้วย่อมเป็นกิเลสทั้งหมด ความจริงความสุขอย่างที่เราเข้าใจว่าเป็นกิเลสนั้น ก็คือที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า “กามสุข” นั่นเอง เรามักจะไม่เข้าใจถึงความสุขอย่างอื่น เข้าใจเอาว่ามีแต่กามสุขอย่างเดียว

    ความสุขในฌาณ คือสมาบัติ ๘ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า เป็นความสุขของพระนิพพานโดยปริยายนั่นเอง สุขเช่นนี้คนที่ไม่เคยปฏิบัติ หรือปฏิบัติอธิจิตในไตรสิกขาแต่ยังไม่ได้ผล จะไม่มีทางเข้าใจได้ตรงกับที่ตรัสไว้อย่างสม่ำเสมอว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าปฏิบัติแล้วจึงจะเข้าใจได้ เช่นเดียวกับคนทั่วไปกำลังปฏิบัติในการสัมผัสกามสุข ย่อมเข้าใจได้ว่ากามสุขนั้นสุขอย่างไร


    เล่ม ๑๓ หน้า ๑๖๔ ทรงกล่าวกับท่านอุทายีว่า

    “ดูกร อุทายี กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูป เสียง.....โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ ชอบใจ เป็นสิ่งน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด กามคุณห้านี้แล อุทายี ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ เรากล่าวว่ากามสุข ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะอันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัว แต่สุขนั้น

    “ดูกร อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาณ.....(ถึงจตุตถฌาณ).....ฌาณทั้ง ๔ นี้ เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่การออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่ความสุขนั้น ดังนี้” ในอันดับต่อไปตรัสว่า อย่าอาลัยในฌาณ ๔ ให้ก้าวขึ้นไปถึงอรูปฌาณ ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ


    ก็เป็นอันแจ่มแจ้งว่า ความสุขมี ๒ ประเภท ความสุขในกามคุณ ๕ เรียกว่า กามสุขเราเข้าใจ และรู้ว่าเป็นกิเลส แต่เมื่อท่านกล่าวถึงสุขในนิพพาน เราก็เอากามสุขนี้เข้าไปจับ จึงสรุปว่าเป็นไปไม่ได้เพราะเป็นกิเลส ซึ่งความจริงแล้วสุขในนิพพานคือสุขจากการทิ้งกามคุณ ๕ ทิ้งกิเลส สุขชนิดนี้ปุถุชน โดยเฉพาะพวกนักปริยัติคืออ่านแต่ตำราไม่ปฏิบัติอธิจิตให้เกิดญาณทัสสนะเสียก่อน แล้วความเข้าใจแจ่มแจ้งก็ไม่เกิด เกิดทัสสนะอันน่าเกลียดว่าตนเองถูก พระพุทธเจ้า(ในพระไตรปิฎก)ผิด



    รวบรวมข้อมูลมาอีกทีนะครับ มิใช่กระผมคิดเอง ขอท่านผู้มีปัญญาพิจารณาให้จงถี่ถ้วนเถิด อย่างน้อยก็ฟังข้อมูลทุกฝ่ายทุกด้านก็อาจจะทำให้เรามีโลกทัศน์กว้างขวางยิ่งขึ้น ขอให้อ่านอย่างปล่อยวางความยึดถือในทิฏฐิใด ๆ ว่านิพพานเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ลงเสียก่อน ความที่อ่านก็จะแจ้งใจท่านได้...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2008
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=560>


    </PRE>

    ๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๗ มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน.
    </PRE>

    โดยย่อ ดังนี้...
    </PRE>


    </PRE>

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นประทีป ส่องโลกให้สว่างไสวเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระมหา-
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td>ตั้งอยู่ในผล. บทว่า เอสาพุทฺธาน วนฺทนา ความว่า การกระทำให้ประจักษ์แก่ตนซึ่งโลกุตรธรรม อันเป็นสรีรธรรมของพระศาสดาและเป็นอริยภาวะของพระอริยสาวกทั้งหลายอันใด อันนั้นเป็นการถวายบังคมคือความน้อมไปในพระคุณตามความเป็นจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวก-พุทธะทั้งหลาย. พระเถรีได้ประกาศความที่พระศาสดาเป็นผู้มีอุปการะมากแก่โลก แม้ด้วยคาถาสุดท้ายว่า พหูนํ วต อตฺถาย เป็นต้น แต่โดยความ. คำที่ไม่จำแนกไว้ในที่นี้รู้ได้ง่ายทั้งนั้น. บางคราว พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี พระองค์เองก็ประทับอยู่ ณ สำนักภิกษุณีกรุงเวสาลี ในเวลาเช้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาต เสวยภัตตาหารแล้ว ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติตามเวลาที่กำหนดไว้ในสถานที่พักกลางวันของพระองค์ออกจากผลสมาบัติพิจารณาการปฏิบัติของพระองค์เกิดโสมนัสรำพึงถึงอายุสัง-ขารของพระองค์อยู่ ก็ทรงรู้ว่าอายุสังขารเหล่านั้นสิ้นแล้ว ทรงดำริอย่างนี้ว่าถ้ากระไร จำเราจะไปพระวิหารขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วอำลาพระเถระทั้งหลาย และเพื่อนสพรหมจารีทุกรูป ซึ่งเป็นที่เจริญใจของตน พึงมาปรินิพพานเสียในที่นี้นี่แหละ ภิกษุณี ๕๐๐ รูป ผู้เป็นบริวารของพระนางก็ได้มีความปริวิตกเหมือนพระเถรี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า<SUP>๑</SUP> ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นประทีป ส่องโลกให้สว่างไสวเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระมหา-๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๗ มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน.[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​
    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> -->
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    โคตมีภิกษุณี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้า อยู่ใน สำนักนางภิกษุณีในพระบุรีอันรื่นรมย์นั้น พร้อมด้วย ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึงพ้นจากกิเลสแล้ว พระมหาปชา- บดีโคตมีนั้น อยู่ในที่สงัดตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า การ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกก็ดี ของพระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะก็ดี เรา จะไม่ได้เห็น จำเราที่พระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่ ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้วนิพพาน ก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหรือคู่พระอัคร- สาวก พระมหากัสสป พระนันทะ พระอานนท์ และ พระราหุล พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้น เหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึก เช่นนี้เหมือนกัน ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลอง ทิพย์ บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพที่สิงอยู่ในสำนัก ภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น พร่ำเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร หลังน้ำตาแล้วในที่นั้น ภิกษุณีทุก ๆ รูป พร้อมด้วย ทวยเทพเหล่านั้นเข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบ ศีรษะแทบพระบาทแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พวกเราถูกหยดน้ำคือวิมุตติรดแล้วในสำนักพระภิกษุณี นั้นมาด้วยกัน อยู่ในที่ลับ แผ่นดินนั้นก็ไหวหวั่นสั่น สะเทือน กลองทิพย์ ก็บันลือลั่นขึ้นเอง และเราได้ยิน เสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมีจะต้องมีเหตุอะไรเกิด ขึ้นแน่ ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัส
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> โคตมีภิกษุณี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้า อยู่ใน สำนักนางภิกษุณีในพระบุรีอันรื่นรมย์นั้น พร้อมด้วย ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึงพ้นจากกิเลสแล้ว พระมหาปชา- บดีโคตมีนั้น อยู่ในที่สงัดตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า การ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกก็ดี ของพระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะก็ดี เรา จะไม่ได้เห็น จำเราที่พระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่ ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้วนิพพาน ก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหรือคู่พระอัคร- สาวก พระมหากัสสป พระนันทะ พระอานนท์ และ พระราหุล พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้น เหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึก เช่นนี้เหมือนกัน ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลอง ทิพย์ บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพที่สิงอยู่ในสำนัก ภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น พร่ำเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร หลังน้ำตาแล้วในที่นั้น ภิกษุณีทุก ๆ รูป พร้อมด้วย ทวยเทพเหล่านั้นเข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบ ศีรษะแทบพระบาทแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พวกเราถูกหยดน้ำคือวิมุตติรดแล้วในสำนักพระภิกษุณี นั้นมาด้วยกัน อยู่ในที่ลับ แผ่นดินนั้นก็ไหวหวั่นสั่น สะเทือน กลองทิพย์ ก็บันลือลั่นขึ้นเอง และเราได้ยิน เสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมีจะต้องมีเหตุอะไรเกิด ขึ้นแน่ ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัส[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    บอกถึงเหตุตามที่ตนปริวิตกแล้วทุกประการ ลำดับนั้น พระภิกษุณีทุก ๆ รูป ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนปริวิตก แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจ การนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ- อนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อม ด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยม พร้อมกับพระแม่พระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไป พร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมี ได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพานเราจักว่า อะไรเล่า แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไปพร้อมกับ ภิกษุณีทั้งหมด ในครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี ภิกษุณี ได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักภิกษุณีว่า จงอดโทษแก่เราเถิด การเห็น สำนักภิกษุณีของเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการประกอบ ด้วยสัตว์และสังขาร อันไม่เป็นที่รักไม่มีการพลัด พรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์ กล่าวว่า เป็นอสังขตสถาน พระโอรสของพระสุคต ทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนาง นั้นเป็นผู้โศกกำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย สำนักนางภิกษุณีนี้ จะว่าง เปล่า เว้นภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่
    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=560>


    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>หน้าที่ 246

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> บอกถึงเหตุตามที่ตนปริวิตกแล้วทุกประการ ลำดับนั้น พระภิกษุณีทุก ๆ รูป ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนปริวิตก แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจ การนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ- อนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อม ด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยม พร้อมกับพระแม่พระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไป พร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมี ได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพานเราจักว่า อะไรเล่า แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไปพร้อมกับ ภิกษุณีทั้งหมด ในครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี ภิกษุณี ได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักภิกษุณีว่า จงอดโทษแก่เราเถิด การเห็น สำนักภิกษุณีของเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการประกอบ ด้วยสัตว์และสังขาร อันไม่เป็นที่รักไม่มีการพลัด พรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์ กล่าวว่า เป็นอสังขตสถาน พระโอรสของพระสุคต ทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนาง นั้นเป็นผู้โศกกำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย สำนักนางภิกษุณีนี้ จะว่าง เปล่า เว้นภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​
    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> -->
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏใน เวลาสว่างฉะนั้น พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน พร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไป สู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น อุบาสิกา ทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเห็นพระโคตมีภิกษุณีนั้น กำลัง เสด็จไปตามถนน ได้พากันออกจากเรือนหมอบลงแทบ เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเลื่อมใสในพระแม่- เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ให้เป็นคน อนาถาเสียแล้ว พระแม่เจ้ายังไม่สมควรที่จะปรินิพ- พาน อุบาสิกาเหล่านั้นถูกความอยากให้ท่านอยู่บีบคั้น แล้วเพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละเสียซึ่งความโศกพระ เถรีจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า อย่าร่องไห้ไปเลยลูก เอ๋ย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความทุกข์ เราก็กำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เราก็ เว้นขาดแล้ว ความดับทุกข์เราก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทั้ง มรรคเราก็ได้อบรมดีแล้ว. พระศาสดาเราก็ได้บำรุง แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ได้ทำเสร็จแล้ว ภาระอันหนักเราก็ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปในภพ เราก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจากเรือนบวชไม่มี เรือน เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็บรรลุแล้ว โดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างก็หมดไป. พระพุทธเจ้า และพระสัทธรรมของพระองค์มิได้บกพร่อง ยังดำรง อยู่ตราบใด กาลเวลาที่เรานิพพานก็ดำรงอยู่ตราบนั้น
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏใน เวลาสว่างฉะนั้น พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน พร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไป สู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น อุบาสิกา ทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเห็นพระโคตมีภิกษุณีนั้น กำลัง เสด็จไปตามถนน ได้พากันออกจากเรือนหมอบลงแทบ เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเลื่อมใสในพระแม่- เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ให้เป็นคน อนาถาเสียแล้ว พระแม่เจ้ายังไม่สมควรที่จะปรินิพ- พาน อุบาสิกาเหล่านั้นถูกความอยากให้ท่านอยู่บีบคั้น แล้วเพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละเสียซึ่งความโศกพระ เถรีจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า อย่าร่องไห้ไปเลยลูก เอ๋ย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความทุกข์ เราก็กำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เราก็ เว้นขาดแล้ว ความดับทุกข์เราก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทั้ง มรรคเราก็ได้อบรมดีแล้ว. พระศาสดาเราก็ได้บำรุง แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ได้ทำเสร็จแล้ว ภาระอันหนักเราก็ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปในภพ เราก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจากเรือนบวชไม่มี เรือน เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็บรรลุแล้ว โดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างก็หมดไป. พระพุทธเจ้า และพระสัทธรรมของพระองค์มิได้บกพร่อง ยังดำรง อยู่ตราบใด กาลเวลาที่เรานิพพานก็ดำรงอยู่ตราบนั้น[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงเราเลย พระโกณฑัญญะ พระอานนท์และพระนันทะเป็นต้นก็ยังอยู่ พระราหุล พุทธชิโนรสก็ยังอยู่ พระสงฆ์ก็อยู่ร่วมกันเป็นสุข พวก เดียรถีย์ก็หายโง่ หายตระด้างแล้ว.
    </PRE>

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=560>

    ลูกเอ๋ย ยศของพระผู้เป็นวงศ์ของพระเจ้าโอก- กากราช ถูกย่องว่า ย้ำยีผู้เป็นมาร กาลเวลาสำหรับ การนิพพาน เป็นสมบัติของเรามิใช่หรือ.
    </PRE>


    ลูกเอ๋ย ความปรารถนาอันใดของเรา มีมาเป็น เวลาช้านาน ความปรารถนาอันนั้น ก็สำเร็จแก่เรา ในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะลั่นกลองอานันทเภรี [ตี กลองแสดงความยินดี] น้ำตาของท่านทั้งหลายจะมี ประโยชน์อะไรเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมีความเอ็นดู ทั้งมีความกตัญญูในเราไซร้ ขอให้ท่านทุกคน จงทำ ความเพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิด พระสัมพุทธเจ้าอันเราทูลอ้อนวอน จึงได้ประทาน บรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราร่าเริง ฉัน ใด ท่านทั้งหลายจึงเจริญรอยตามซึ่งความร่าเริงนั้น ฉันนั้นเถิด ครั้นพระเถรีพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านี้แล้ว เสด็จนำหน้า ภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า
    </PRE>



    </PRE>


    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=560>

    ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเป็นพระมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีร- เจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระ
    </PRE>
    </TD><TD vAlign=top width=100>


    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--</b></p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงเราเลย พระโกณฑัญญะ พระอานนท์และพระนันทะเป็นต้นก็ยังอยู่ พระราหุล พุทธชิโนรสก็ยังอยู่ พระสงฆ์ก็อยู่ร่วมกันเป็นสุข พวก เดียรถีย์ก็หายโง่ หายตระด้างแล้ว. ลูกเอ๋ย ยศของพระผู้เป็นวงศ์ของพระเจ้าโอก- กากราช ถูกย่องว่า ย้ำยีผู้เป็นมาร กาลเวลาสำหรับ การนิพพาน เป็นสมบัติของเรามิใช่หรือ. ลูกเอ๋ย ความปรารถนาอันใดของเรา มีมาเป็น เวลาช้านาน ความปรารถนาอันนั้น ก็สำเร็จแก่เรา ในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะลั่นกลองอานันทเภรี [ตี กลองแสดงความยินดี] น้ำตาของท่านทั้งหลายจะมี ประโยชน์อะไรเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมีความเอ็นดู ทั้งมีความกตัญญูในเราไซร้ ขอให้ท่านทุกคน จงทำ ความเพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิด พระสัมพุทธเจ้าอันเราทูลอ้อนวอน จึงได้ประทาน บรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราร่าเริง ฉัน ใด ท่านทั้งหลายจึงเจริญรอยตามซึ่งความร่าเริงนั้น ฉันนั้นเถิด ครั้นพระเถรีพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านี้แล้ว เสด็จนำหน้า ภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเป็นพระมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีร- เจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระ[คำวิจารณ์][โหวต]
    </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    โลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข อันเกิดจาก พระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อม ฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว พระองค์อันหม่อนฉันให้ ดูดดื่มน้ำมัน อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ ส่วน หม่อมฉัน พระองค์ก็โปรดให้ดูดดื่มน้ำมันคือธรรมอัน สงบอย่างยิ่งแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิ ได้ทรงเป็นหนี้หม่อมฉัน เพราะการรักษาไว้ซึ่งพันธะ อันสตรีทั้งหลายผู้อยากได้บุตรวอนขออยู่ ก็ย่อมจะได้ บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดาของพระนราธิบดีมี พระเจ้ามันธาตุราชเป็นต้น ขอว่าเป็นมารดาในห้วง มหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อนฉันผู้จมดิ่ง อยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ อันพระองค์ให้ข้ามสาครคือ ภพแล้ว พระนามว่ามเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้ ง่าย พระนามว่าพระพุทธมารดา สตรีทั้งหลายได้ยาก อย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพระพุทธ- มารดานั้นหม่อมฉันได้แล้ว ความปรารถนาไม่ว่าน้อย ใหญ่ของหม่อนฉันทั้งหมดนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญ แล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้ นิพพาน ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตแก่หม่อมฉันเถิด ขอได้
    </PRE>
    </TD><TD vAlign=top width=100></B>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</b></p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> โลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข อันเกิดจาก พระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อม ฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว พระองค์อันหม่อนฉันให้ ดูดดื่มน้ำมัน อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ ส่วน หม่อมฉัน พระองค์ก็โปรดให้ดูดดื่มน้ำมันคือธรรมอัน สงบอย่างยิ่งแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิ ได้ทรงเป็นหนี้หม่อมฉัน เพราะการรักษาไว้ซึ่งพันธะ อันสตรีทั้งหลายผู้อยากได้บุตรวอนขออยู่ ก็ย่อมจะได้ บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดาของพระนราธิบดีมี พระเจ้ามันธาตุราชเป็นต้น ขอว่าเป็นมารดาในห้วง มหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อนฉันผู้จมดิ่ง อยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ อันพระองค์ให้ข้ามสาครคือ ภพแล้ว พระนามว่ามเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้ ง่าย พระนามว่าพระพุทธมารดา สตรีทั้งหลายได้ยาก อย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพระพุทธ- มารดานั้นหม่อมฉันได้แล้ว ความปรารถนาไม่ว่าน้อย ใหญ่ของหม่อนฉันทั้งหมดนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญ แล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้ นิพพาน ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตแก่หม่อมฉันเถิด ขอได้[คำวิจารณ์][โหวต]
    </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    โปรดทรงเหยียดออกซึ่งพระยุคลบาท อันเกลื่อน กล่นไปด้วยลายจักร และธงอันละเอียดอ่อนเหมือน กับดอกบัวเถิด หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคล- บาทนั้น จะขอทำความรักเยี่ยงโอรสแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรง แสดงพระวรกาย ทำพระสรีระที่สุกปลั่งดังกองทอง ให้เป็นเหตุปรากฏ หม่อมฉันจึงจะเข้าสู่ปรินิพพาน พระเจ้าข้า.
    </PRE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></B></B>
    </PRE>***********************************************************
    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=560>

    ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้นผู้มี ความเคารพรักในพุทธศาสนา ได้สดับประพฤติเหตุ ของพระเถรี ก็พากันเข้าไปหา นมัสการแทบบาทมูล เอากรข้อนอุระประเทศร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสง- สาร เต็มกลั้นด้วยความโศกเศร้า ก็ล้มลงที่พื้นพสุธา ดุจเถาวัลย์รากขาดฉะนั้น พากันรำพันว่า ข้าแต่พระ
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> ลุกจากที่นั่งนั้นมา พระธีรเจ้าผู้นำเลิศของโลกพร้อม ด้วยหมู่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จไปส่งพระมาตุจฉาจน ถึงซุ้มประตู. ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณี ทั้งหมด ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระ ศาสดาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ ของโลกกราบทูลว่า นี้เป็น การถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน การได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็น ครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของ พระองค์ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เลิศของโลก การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่ สัมผัสพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่งละเอียดอ่อนดี วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน. พระศาสดาตรัสว่า ประโยชน์อะไรของเธอ ด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่า ยินดีเป็นของต่ำทราม. พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วย ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสำนักของภิกษุณีของตนแล้ว นั่ง พับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ. ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้นผู้มี ความเคารพรักในพุทธศาสนา ได้สดับประพฤติเหตุ ของพระเถรี ก็พากันเข้าไปหา นมัสการแทบบาทมูล เอากรข้อนอุระประเทศร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสง- สาร เต็มกลั้นด้วยความโศกเศร้า ก็ล้มลงที่พื้นพสุธา ดุจเถาวัลย์รากขาดฉะนั้น พากันรำพันว่า ข้าแต่พระ[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    แม่เจ้า ผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย พระแม่ เจ้าอย่าละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไปสู่นิพพานเลย ข้าพเจ้า ทุกคนขอซบเกล้าอ้อนวอน. พระมหาปชาบดีเถรีลูบ ศีรษะของอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้า ของอุบาสิกาเหล่านั้นกล่าวดังนี้ว่า ลูกเอ๋ย ความโศก สลด ซึ่งตกอยู่ในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย สังขตธรรม ทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง การพลัดพรากกันเป็นที่สุด หวั่น ไหวไปมา. ต่อแต่นั้น พระเถรี ก็สละอุบาสิกา เหล่านั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญา- ณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญ- ญานาสัญญายตนฌานตามลำดับแล้ว พระปชาบดี โคตมีเถรีก็เข้าฌานทั้งหลายใดยปฏิโลมแล้ว ก็เข้า ปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถ- ฌานนั้นแล้วก็ดับ เหมือนเปลวประทีปที่ปราศจากเชื้อ แล้วดับไปฉะนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ ตกลงจากนภากาศ กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวย- เทพพากันคร่ำครวญ และฝนดอกไม้ก็ตกจากอากาศ ลงยังพื้นแผ่นดิน แม้ขุนเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่น ไหวเหมอนนักฟ้อนรำในท่ามกลางเวทีฟ้อนรำ ฉะนั้น สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองเพราะความโศก ทวยเทพ นาค อสูรและพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นใน ทันใดนั้นเองว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือน อย่างพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ ถึงความย่อยยับไป
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> แม่เจ้า ผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย พระแม่ เจ้าอย่าละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไปสู่นิพพานเลย ข้าพเจ้า ทุกคนขอซบเกล้าอ้อนวอน. พระมหาปชาบดีเถรีลูบ ศีรษะของอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้า ของอุบาสิกาเหล่านั้นกล่าวดังนี้ว่า ลูกเอ๋ย ความโศก สลด ซึ่งตกอยู่ในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย สังขตธรรม ทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง การพลัดพรากกันเป็นที่สุด หวั่น ไหวไปมา. ต่อแต่นั้น พระเถรี ก็สละอุบาสิกา เหล่านั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญา- ณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญ- ญานาสัญญายตนฌานตามลำดับแล้ว พระปชาบดี โคตมีเถรีก็เข้าฌานทั้งหลายใดยปฏิโลมแล้ว ก็เข้า ปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถ- ฌานนั้นแล้วก็ดับ เหมือนเปลวประทีปที่ปราศจากเชื้อ แล้วดับไปฉะนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ ตกลงจากนภากาศ กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวย- เทพพากันคร่ำครวญ และฝนดอกไม้ก็ตกจากอากาศ ลงยังพื้นแผ่นดิน แม้ขุนเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่น ไหวเหมอนนักฟ้อนรำในท่ามกลางเวทีฟ้อนรำ ฉะนั้น สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองเพราะความโศก ทวยเทพ นาค อสูรและพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นใน ทันใดนั้นเองว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือน อย่างพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ ถึงความย่อยยับไป[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    แล้ว และพระเถรีทั้งหลาย ผู้ทำตามคำสอนของพระ ศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ก็ พากันปรินิพพาน เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อฉะนั้น โอ้ ความพบกัน ก็มีความพลัดพรากกันเป็นที่สุด โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่ไม่เที่ยง โอ้ ชีวิต มีความหายสูญเป็นที่สุด ความพิไรรำพัน ได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
    </PRE>

    ในลำดับนั้นเทวดาและพรหม ต่างก็ทำความ ประพฤติตามโลกธรรมตามสมควรแก่กาลแล้ว เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้เป็นยอดฤษี พระ องค์ที่ ๗.
    </PRE>

    ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอา- นนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า อานนท์ เธอจงไปประกาศ ให้ภิกษุทั้งหลาย ทราบถึงการนิพพานของพระมารดา เวลานั้น ท่านพระอานนท์ผู้ร่าเริง ก็ไร้ความร่าเริงมี ดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงร้องไห้ว่า ขอภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งอยู่ใน ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ จงมาประชุมกัน ภิกษุณีผู้ทำพระสรีระสุดท้ายของ พระมุนีให้เติบโตด้วยน้ำมัน มีนามว่าพระปชาบดี โคตมีเถรีนิพพานถึงความสงบเหมือนดวงดาวทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยฉะนั้น พระเถรีตั้งบัญญัติทำให้ รู้กันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธมารดา นิพพานแล้วใน ที่ใด ถึงคนมี ๕ ตาก็แลไม่เห็น ในที่นั้นพระผู้มีพระ
    </PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--</p>
    <table width='90 %' border=0 cellpadding=0><tr><td> แล้ว และพระเถรีทั้งหลาย ผู้ทำตามคำสอนของพระ ศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ก็ พากันปรินิพพาน เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อฉะนั้น โอ้ ความพบกัน ก็มีความพลัดพรากกันเป็นที่สุด โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่ไม่เที่ยง โอ้ ชีวิต มีความหายสูญเป็นที่สุด ความพิไรรำพัน ได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ในลำดับนั้นเทวดาและพรหม ต่างก็ทำความ ประพฤติตามโลกธรรมตามสมควรแก่กาลแล้ว เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้เป็นยอดฤษี พระ องค์ที่ ๗. ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอา- นนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า อานนท์ เธอจงไปประกาศ ให้ภิกษุทั้งหลาย ทราบถึงการนิพพานของพระมารดา เวลานั้น ท่านพระอานนท์ผู้ร่าเริง ก็ไร้ความร่าเริงมี ดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงร้องไห้ว่า ขอภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งอยู่ใน ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ จงมาประชุมกัน ภิกษุณีผู้ทำพระสรีระสุดท้ายของ พระมุนีให้เติบโตด้วยน้ำมัน มีนามว่าพระปชาบดี โคตมีเถรีนิพพานถึงความสงบเหมือนดวงดาวทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยฉะนั้น พระเถรีตั้งบัญญัติทำให้ รู้กันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธมารดา นิพพานแล้วใน ที่ใด ถึงคนมี ๕ ตาก็แลไม่เห็น ในที่นั้นพระผู้มีพระ[คำวิจารณ์][โหวต] </td></tr><tr><td></td></tr><tr><td></td></tr></table>​

    <hr noshade color="#CCCCCC" align="right" width="60%" size="1"> --><CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2><HR color=#ebebeb noShade SIZE=1></TD></TR><TR><TD width=560>

    ภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้นำ ทรงเห็นได้ ขอพระโอรสของ พระสุคตผู้มีความเชื่อในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของ พระมหามุนี จงทำสักการะแด่พระพุทธมารดาเถิด
    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=5400115
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2008
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
    พระนินพานสูญสิ้นจากกิเลส ครับ
    แต่มีสภาพไม่สูญ
     
  4. BASLOVE555+

    BASLOVE555+ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +6
    ขอสรุปสั้นๆได้ไหมครับ

    ขอสรุปสั้นๆได้ไหมครับ
     
  5. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +578
    ผมคนพาลผู้โง่เขลาไม่เหตุผลใดที่เป็นสมมติเดาล้วนๆผมว่า นฤพาน คือ สภาวะที่จิตที่ปราศจากอาสวกิเลสโดยเด็ดขาดสมบูรณ์ และมีสติครบถ้วน ...
     
  6. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    ถาม... คุณสมถะ
    ถ้านิพพานไม่สูญ สูญแต่กิเลส สูญแต่ขันธ์ ๕
    แล้วอะไรไปอยู่ในนิพพานเหรอ พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันตสาวกเคยกล่าวไว้บ้างมั้ย
    มีอ้างอิงอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาจารย์บ้างมั้ย
    ขอความรู้ ขอความรู้

    ปล. ท่าทางคุณสมถะจะเป็นผู้รู้มิใช่น้อยนะเนี่ย
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สุขที่สุด สุขอันไร้อามิส ^-^
     
  8. คนอีสาน

    คนอีสาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +283
    นิพพาน คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์
     
  9. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    หากมีชีวิตอมตะ ไม่มีวันดับอยู่ไปตลอดกาล คุณคิดว่าคุณชอบหรือไม่หละครับ

    ก็คงชอบนะ สำหรับคนที่จิตใจยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา

    แต่สำหรับคนอริยบุคคล ระดับพระอรหัน หมดสิ้นก็เลส ไร้ซึ่งตัณหา คือความอยาก

    ท่านจะอมตะ ไปเพื่อสิ่งใดอีกเล่า . . .

    คงมีแต่คนที่จิตไกล้หมดกิเลส ตัณหาเท่านั้น ที่พอจะเข้าใจ

    ส่วนผมเองก็ไม่อยากได้หรอกครับ ความอมตะ ไม่ดับ ตลอดกาล ไม่รู้จะอยู่ไปตลอดกาลทำไม . . .
     
  10. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    นิพพานัง ปรมัง สูญญัง
    พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ว่างจากกิเลส ตันหา อุปาทาน

    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    พระนิพพานเป็นแดนที่มีความสุขอย่างยิ่ง เป็นแดนเอกันตบรมสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2008
  11. อย่ากด อนุโมทนา

    อย่ากด อนุโมทนา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +3
    ผมเชื่อว่าความสุขอย่างยิ่ง คือการไม่ต้องเกิดอีกต่อไป เพราะถ้ามีการเกิดก็ต้องมีทุกข์อยู่ เพราะแม้แต่พระอรหัน ก็ยังต้องทุกข์ เพราะสังขาร
    ก็อะไรหละ คือเหตุแห่งทุกข์ ไม่ไช่เทวทูตทั้ง4หรอกหรือ
     
  12. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ขอเรียนทุกท่าน ถือว่าเป็นการพูดคุยกันนะครับ อย่าเพิ่งถือผิดถูกกัน ถ้าท่านวางใจเช่นนี้ได้ ผมก็จะขอคุยด้วย ดังนี้


    นิพพานไม่สูญ กิเลสสูญ ถามว่าแล้วที่ว่าไม่สูญนั้นคืออะไร ท่านกล่าวว่า เบญจขันธ์เป็นของสูญ เป็นสังขตธรรม แต่อสังขตธรรม เป็นธรรมขันธ์ เป็นสภาพไม่สูญ แต่ไม่ใช่อะไรที่กล่าวกันในชั้นเบญจขันธ์(สังขตธรรม) และจะนำความรู้ในขั้นเบญจขันธ์ไปอธิบายธรรมขันธ์(อสังขตธรรม)ก็ไม่ได้ เรียกว่าคนละระดับ คนละชั้นภูมิกัน


    ถ้าเราเข้าใจตรงกันให้ลงกันก่อนได้ความว่า เราบำเพ็ญทำความเพียรเพื่อการหมดกิเลส เมื่อเราหมดกิเลสได้จริงแล้ว ยกภูมิธรรมเข้าสู่สภาวะโลกุตตรภูมิแล้ว จิตไม่เกาะเกี่ยวอยู่ในโลกียภูมิแล้ว ถึงแม้ยังครองเบญจขันธ์อยู่ แต่ก็อยู่ในระดับธรรมขันธ์ที่เป็นส่วนโลกุตตระ ดังนั้นสภาวะนี้ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเอาความคิด นึก ตรึก ตรอง ในขั้นเบญจขันธ์มาตีความในระดับธรรมขันธ์คือโลกุตตรภูมิแล้ว ดังนั้นผู้ใดเข้าถึงสภาวธรรมเช่นนี้ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรมได้แล้วรู้เห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงแล้วนั่นเอง


    สรุป สำหรับปุถุชนผู้ต้องการรู้เห็นสภาวะโลกุตตรธรรมนั้น ท่านกล่าวว่าต้องเข้าถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ เป็นอสังขตธรรม เพราะเมื่อ กาย ใจ จิต วิญญาณ ของเราเข้าถึงธรรมกายรู้ญาณทัสสนะของธรรมกายสามารถช่วยให้เราเข้าถึงสภาวะโลกุตตรภูมิได้ การคิดนึกตรึกตรองธรรมะในขั้นโลกุตตรภูมิไปตามตัวอักษรหรือพยายามตีความหมายออกไปโดยไม่เข้าถึง เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ความรู้ที่ได้จากการพิจารณาเช่นนี้เป็นความเข้าใจเขวออกจากสภาวธรรมของโลกุตตรภูมิตามที่เป็นจริงไปได้นั่นเอง ดังนั้นเราต้องเข้าถึงสื่อหรือเครื่องมือในการไปพิสูจน์โลกุตตรภูมิให้จงได้ นั่นคือ ต้องเข้าถึง ธรรมกาย


    เรื่องนิพพานเราพิจารณา โดย ๓ นัย ดังนี้

    สภาวะนิพพาน ก็คือ การหมดกิเลสเครื่องร้อยรัดในวัฏฏะ โลกุตตรธรรม สังขตธรรม วิสังขารธรรม

    ผู้ทรงสภาวะนิพพาน อันได้แก่ ธรรมกาย อันเป็นธรรมขันธ์

    อายตนะนิพพาน ได้แก่ อมตธาตุ อสังขตสถาน นิพพานบุรี คือที่อยู่ของผู้ได้มรรคผลนิพพาน โลกุตตรภูมิ


    โดยส่วนมาก นักปราชญ์ที่ปฏิเสธเรื่องนิพพานไม่สูญ แต่มักกล่าวว่านิพพานสูญหรือไม่มีตัวไม่มีตนอีกต่อไปหลังพระอรหันต์ปรินิพพานนั้นจะให้ความหมายนิพพานเฉพาะนัยแห่งสภาวนิพพาน คือ การหมดกิเลสเครื่องร้อยรัดในวัฏฏะ เหมือนไฟดับ ไฟคือกิเลส ไฟดับคือกิเลสดับ ไม่ได้แปลว่านิพพานสูญ แปลได้เพียงกินความว่า กิเลสสูญ


    ทีนี้ถ้าเราไม่มีวิธีพิสูจน์ว่านิพพานไม่สูญ เราก็จะจนอยู่เพียงความคิดการพิจารณา ตีความหมายไปได้เพียงสภาวะนิพพาน แต่ความจริงแล้วพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันปรินิพพานแล้วไม่สูญ ยังทรงสถิตอยู่ในอายตนะนิพพาน ในส่วนของโลกุตตรภูมิ พิสูจน์ได้ด้วยการเข้าถึงธรรมกาย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต ตถาคตคือธรรมกาย เราสามารถเห็นพระพุทธเจ้าในนิพพานได้จริง ขอแต่ว่าอย่านำความเห็นในชั้นโลกียภูมิมาขบคิดในเรื่องโลกุตตรภูมิ ท่านต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นให้เข้าถึงสื่อหรือเครื่องมือที่จะไปรู้เห็นในส่วนของโกตตรภูมิให้ได้เเสียก่อนแล้วท่านจะทราบเองว่า โลกุตตรภูมินั้นเป็นเช่นไร สื่อที่ว่านั้นคือ ท่านต้องเข้าถึง ธรรมกาย
     
  13. theliger

    theliger เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +219
    ผมไม่รู้อ่ะครับ
    แต่พระอาจารย์สายผมบอกไม่สูญ
    บอกเรื่องอจินไตยไม่ควรคิด
    มุ่งปฏิบัติดีกว่าครับ
     
  14. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    ไม่ทราบอ่ะครับ เพราะผมยังไม่เคยไป
     
  15. เทพธรรมสมาบัติ๙มรรคา

    เทพธรรมสมาบัติ๙มรรคา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +30
    เห็นด้วยครับ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต แต่ถ้าใครยังไม่เห็นธรรมแต่อยากเห็นนิพพานผมมีคำถามให้ไปคิดถ้าคิดได้ท่านก็จะรู้ได้ว่านิพานเป็นยังไง คือเรารู้กันอยู่แล้วว่าสัตว์ทั้งหลายใน 31 ภูมิ จะต้องประกอบด้วยขันธ์อย่างน้อย 1 ขันธ์ภายในขันธ์5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่คำนิยามนิพพานมีอยู่ว่า ปราศจากรูปนามขันธ์ 5 ก็ลองคิดดูสิว่าถ้าจิตไม่ได้อาศัยหรือประกอบไปด้วยขันธ์เหล่านี้แล้วจะอยู่ได้อย่างไรถ้าคิดออกนั้นและ นิพพาน
     
  16. armoasis

    armoasis สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    อืมม.....แล้วท่านที่อยู่ ณ แดนนิพพานท่านทำอะไรกันเหรอครับ??
    สงสัยเฉย ๆ ครับ
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ยินดีที่ได้รู้จักครับ ผมอยู่ในเว็ปพันธุ์ทิพย์ ตั้งกระทู้มามากกว่า ๓๐๐ กระทู้ เคยถูกยึดล็อกอินแค่ครั้งเดียว แต่ก็ได้กลับมาในชื่อเดิม คือ สมถะ ก็ใช้ชื่อนี้มาตลอด แต่ก็มีชื่ออื่นๆ ด้วยนะครับ แต่ตอนนี้มีใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเดียวในพันธุ์ทิพย์

    อันที่จริงผมเองศึกษาและปฏิบัติวิชชาธรรมกายมาพอสมควร เรื่องนิพพานตามหลักการไปดูไปรู้ไปเห็นนั้นเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง เพราะคำตอบอยู่ที่การปฏิบัติให้เข้าถึงนั่นเอง ซึ่งมีผู้พิสูจน์และได้เข้าถึงธรรมกายจนกระทั่งไปดูไปรู้ไปเห็นอายตนะนิพพานมากมายแล้ว ซึ่งผมและทางคณะยินดีฝึกและบอกวิธีปฏิบัติให้กับผู้สนใจมาโดยตลอด แปลว่า เราพิสูจน์สิ่งที่เราเขียนบอกเล่าได้ในภาคปฏิบัติทั้งหมด ไม่ใช่แค่เอาความเห็นมานั่งคุยกัน แต่เราสามารถฝึกให้ท่านไปพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง


    ดังนั้นการปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมกายสามารถตอบโจทย์ในระดับโลกุตตรธรรมได้มากอักโขเป็นเอนกอนันตังจริงๆ ครับ


    สำหรับกระทู้ที่ท่านแนะนำผมจะลองเข้าไปอ่านดูนะครับ...
     
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

    ขอบคุณครับที่ได้แสดงความเห็นเข้ามาแบบเชื้อเชิญผม ถ้าคิดอย่างคุณซึ่งผมก็กล่าวไว้แล้วว่า อย่าเอาอะไรๆ ที่เป็นโลกียะมาขบคิดด้วยสมองไปคิดในเรื่องของนิพพานเลยครับ ผมเองนำข้อมูลในพระไตรปิฎกมาแสดงแล้ว แต่ถ้าจะมานั่งทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นต่างกัน ไม่มีประโยชน์ดอกครับ ความเห็นเป็นเรื่องของ มานะทิฏฐิ ไม่ใช่เรื่องที่จะจบลงได้


    นิพพานนะถ้าไม่เข้าใจได้ เพราะเกินกว่าที่จะใช้สามัญทิฏฐิคิดก็ถือว่า ฟังข้อมูลเอาไว้ประดับปัญญาเถิดครับ

    คำว่า สุข แบบเทพ นั่นมันเป็นเรื่องของกิเลส เอาล่ะครับ ถ้าท่านมาแนวนี้ ผมคงต้องยอมแพ้แล้วล่ะครับ เพราะผมไม่ถนัดพูดภาษาแบบท่าน เชิญท่านชนะเถิดครับ เพราะผมไม่มีเจตนาจะเปลี่ยนความคิดของใคร


    ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอ เป็นความรู้ในพระไตรปิฎก ถ้าท่านจะมีความเห็นต่างออกไป ก็สุดแต่ท่านเถิด ถ้าท่านต้องการวิวาทะ ผมเองก็ขอยอมแพ้ล่ะ...ขอรับ
     
  19. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26

    อ้าว อ้าว อย่าเพิ่งไปก่อน ท่านบัณฑิต
    พอเพิ่งเข้ามาอ่านกระทู้ อยากถามขอความรู้ต่ออีกสักหน่อยนะ นะ

    แหม่ พออ่านคำตอบของคุณสมถะแล้ว ก็พอเข้าใจบ้างแล้ว
    แต่นึกอยากถามอีกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย
    ท่านไปทำอะไรกันในนิพพาน ซึ่งน่าจะมีความสำคัญต่อการรื้อสังสารวัฏฏ์

    ก็พอดีมีคนถามและคนตอบแล้ว ตามที่อ้างอิงข้างบนนั้น

    แต่ lokemesa อยากฟังคำตอบของคุณสมถะมากกว่า
    เพราะสัมผัสว่าภูมิธรรมของท่านจะมิใช่น้อยเอาการอยู่
    ขอคุณสมถะอนุเคราะห์เป็นธรรมทานเถิด
     
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นั่นเรียกว่า เวทนา เฉย ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ครับ ถ้ามีโอกาสลองพิจารณารูปนาม จนอวิชชามันแหวกดู เผื่อมีโอกาสสัมผัส "นิพพาน" ครับ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...