วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    สวัสดีครับ ทุกท่าน
    ผมเป็นสมาชิกใหม่ของเวปพลังจิต ยินที่ได้รู้จักนะครับทุกท่าน (^^)
    ผมเป็นคนนึงที่เจอทุกข์มาเต็มๆ และเจอความไม่เที่ยงของคนเรามากับตัวเอง

    เลยเริ่มก้มหัวให้กับหนังสือธรรมะ ศึกษาและปฏิบัติมาได้เกือบปีครับ แต่เท่าที่จำได้ในตำรา ห้ามเด็ดขาดในการเสวนาธรรม ผมก็สงสัยเหลือเกินว่าทำไม ตอนนี้ีรู้แล้วครับว่าทำไม
    และรู้อีกคำคือ "สำรวมกาย วาจา ใจ" ขอบคุณครับ สติ สติ สติ.... รู้ได้เฉพาะตน
     
  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ไม่ได้เข้ามากี่วันนี่

    ทุกท่านคงสบายดีนะครับ


    วัน่นี้วันอาสาฬหบูชา



    สิ่งที่ครูท่านสอนมา คือ รับแต่กระแสความดีของผู้อื่น แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข


    ผม่จับแต่กระแสที่ดี่ของทุกท่าน แม้หลายอย่างไม่ลงตัว ลงรอย ลงใจ กันก็ตาม


    ขอให้มีสุข ในวันมงคลนี้ และตลอดไป สาธุ



    [MUSIC]http://www.oknation.net/blog/home/video_data/824/8824/video/7339/7339.mp3[/MUSIC]
     
  3. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ของทุกอย่างมีสองด้าน เมื่อรู้ว่ามีสองด้านก็จงใช้ประโยชน์กับด้านทั้งสองเถิด
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ผมขอยกตัวอย่างคุณโอม ขึ้นมา พูดอะไรให้ฟัง แล้วให้เอาไปคิดกัน คือ ทางนั้น ต้องมีเพียงหนึ่ง เราโต้แย้งก็เพื่อหาธรรมหนึ่งนั้น และ การเลือกเอาสิ่งดีต่อกันนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า เรามองแค่เจตนาของเขาว่าเขาคิดดีเท่านั้นพอ แต่เราต้องมองในเนื้อหา แล้วเปิดใจให้กว้าง ว่า ความจริงและความถูกต้องคืออะไร
    ไม่ใช่ ว่าปิดกั้นตัวเอง นี่ถ้าผมปิดตัวเอง ไม่เปิด ผมก็คงจะติดอยู่กับธรรมกาย ไม่มีวันนี้ได้

    ตัวอัตตา นั้นแหละ คือตัวทำให้ติด คือ อันนี้ของกู วิชชาของอาจารย์ของกู กูทำได้ ใครจะมาขัดแย้งกับวิชชาของกูไม่ได้ นี่กิเลสทั้งนัน มันมองไม่เห็น มันปิดกันอยู่

    ทางที่ถูกคือ เราต้องมองหลายๆ ทาง และในเมื่อ ธรรมของเราอธิบายไม่ได้ในคำถามที่เขาตั้งขึ้นมา เราก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ธรรมนั้น ไม่ตรงเสียแล้ว แล้วเขามีธรรมตรงมาบอก ทำไมเราต้องปิด นี่มันตัวโง่ของเรานี่หว่า ที่ปิดตัวเอง อัตตาตัวเองปิดกั้นธรรม

    นี่ให้กิเลสมันหัวเราะเยาะเอาว่า ไอ้โง่ มึงไม่พ้นกูหรอก แล้วพลอยด่า ไอ้ขันธ์ ว่ามันนี่แหละ อัตตามาก มันไม่เคยยอมใคร มันถือว่า มันมีปัญญา นี่ไอ้ขันธ์ ก็จะบอกว่า ก็ไม่ใช่เพราะธรรมอันถูกต้องหรอกหรือ ที่ทำให้ไอ้ขันธ์ นี้มีปัญญา ที่จะตีอวิชชา ให้แตกได้
    พอตีอวิชชาให้แตกได้ ไอ้ตัวอวิชชาที่ดองอยู่ในใจคนมันก็พูดว่า ไอ้ขันธ์นี่อัตตามาก มันไม่ยอมใคร คือ พูดง่ายๆ ว่า อวิชชามันปกป้องกิเลสไม่ให้ใครมาล่วงล้ำ ให้ดูตัวเองกันให้มาก
     
  5. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
  6. nut33

    nut33 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +44
  7. พระนารายณ์อวตาร

    พระนารายณ์อวตาร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0

    คุณขันธ์เพ้อเรื่องอะไรครับ ไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ว่า พี่ใบไม้นอกกำมือโดนห้ามเข้าเว็บนี้ตลอดชีพ แล้วเขาจะมาตอบคุณได้อย่างไร คุณมีอะไรไปถามเขาที่เว็บdhammajak.netครับ

    ไม่ใช่ไปท้าเขา ทั้งๆที่ก็รู้อยู่แล้วว่าพี่ใบไม้เข้ามาในเว็บพลังจิตแพ้มารนี้ไม่ได้แล้ว

    ผมจะไปขอความรู้จากพี่ใบไม้นอกกำมือมาให้เรื่องธรรมกาย รออ่านอีกสัปดาห์นะครับ เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยเข้าเว็บนี้ เพราะไม่มีผู้รู้ทางธรรมอยู่ มีแต่ผู้ไม่รู้ทางธรรม มั่วไปมั่วมาอยากอวดเก่งเท่านั้น
     
  8. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    หลายท่านเผยแพร่ธรรม อันนี้น่าอนุโมทนา , อีกหลายท่านโต้เถียงธรรม ประหนึ่งว่าตัวเอง
    คือผู้รู้ ตัวเองนั้นแตกฉาน ผู้แพ้นั้นหมดสุข ผู้ชนะได้สุขชั่วคราว แต่หารู้ไม่ว่าอัตตานั้นมีอยู่
    ทุกคนมีอัตตา ทุกคนมีความคิด มีเหตุผล ที่จะส่งเสริม ส่งเสริมตรงความคิดของตนเอง ว่าถูกต้อง ว่าสมควร ดังนั้นการโต้เถียงนี้ จะไม่มีวันหมดสิ้น แวะเข้ามาเตือน ด้วยหวังดี หากท่านจะไล่ ก็ไม่ต้องกระทำ เพราะยังไงข้อความสุดท้ายนี้ ถือเป็นลาี้
     
  9. ไอน์สไตน์

    ไอน์สไตน์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2007
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +79
    ธรรมทั้งหลายเนี่ย..........ถ้าท่านทั้งหลายลองเอาไปฏิบัติดูแล้วเห็นผลมันคงไม่มาเถียงกันหรอก ครับ
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,942
    ค่าพลัง:
    +1,253
    วันนี้กลับราชบุรี ก็ตามเคย นึกอยากฟังวิทยุจากธรรมกาย

    ก็เผอิญจริงๆ ผมเคยถามจากคุณๆ ทั้งหลายเกี่ยวกับการอธิบาย
    วิชชาธรรมกาย เทียบลงในโพธิปักขยิธรรม พวกท่านไม่ตอบสักคน

    แต่แปลก ในวิทยุกลับพูดตรงประเด็นทันทีที่หมุนปุ่มเปิด ก็พบว่า
    ต้องอนุโลมลงมาเป็นอาโลกสิณก่อน แล้วค่อยโน้มเข้าไปในข้อ
    โพธิปักขยิธรรม ( ไม่มีการพูดถึงการถอดกายอะไรเลย แต่มีการ
    ใช้คำว่า หยุด เท่านั้น -- มันคล้าย กลางของกลาง = หยุด )

    หลังจากนั้นก็อธิบายถึงปารมีเพื่อ เป็นพุทธ ปัจเจกพุทธ และ อนุพุทธ
    ก็อธิบายไปตามพระไตรปิฏก ก่อนจะยกว่า วิชชาธรรมกายเป็นปารมี

    ก็นะ ไม่ออกความเห็นละ ว่าชอบใจธรรมที่ฟังไหม

    แต่ก็ในฐานะที่ว่าได้ฟังมา ก็มีข่าวสารมาแจ้ง

    พระท่านให้หมั่นทำ ธรรมวิจัยยะ โดยการหมั่นเข้าไปที่วัดเพื่อรับวิชชาใหม่ๆ
    ที่อาจจะมีออกมา พวกท่านๆ ก็อย่าลืมเข้าไป ทำธรรมะวิจัยโดยการเข้า
    ไปรับฟังวิชชาใหม่ๆ แล้วเลือกเฝ้นไปทำ โดยให้ดูความพอใจที่จะมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  11. I'mTiM

    I'mTiM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +449
    ในหนังสือประวัติหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี มีข้อความว่า
    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อจรัญ ท่านได้ไปฝึกวิชาธรรมกาย ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ แต่ปฏิบัติได้เพียง 7 วัน ท่านก็เลิกเพราะเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ก็ไปปฏิบัติกรรมฐานสาย ยุบหนอ-พองหนอ ที่วัดมหาธาตุ สนามหลวง ท่านปฏิบัติได้ไม่กี่วันปรากฎว่าได้พบกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ มาปฏิบัตฺิกรรมฐานด้วย หลวงพ่อสดท่านบอกว่า โง่ให้ธรรมกายหลอกมาตลอดชีวิต ไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์ได้ ทั้งยังมีการเขียนจารึกไว้หลังภาพถ่ายของหลวงพ่อสดโดยลายมือของหลวงพ่อสดเอง และมอบให้กับวัดมหาธาตุ

    จากการที่ผมได้พิจารณาเอง วิชาธรรมกายนั้นเป็นวิชากสิณอย่างหนึ่ง คือ อาโลโกกสิณ ซึ่งถือเป็นวิชาสมถะกรรมฐาน ไม่ใช่วิชาวิปัสสนากรรมฐาน จึงไม่สามารถเข้านิพพานได้เพราะมัวแต่เพ่งดวงกสิณเพียงอย่างเดียว ไม่ยอมทิ้งดวงกสิณนั้น สืบเนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า วิปัสสนาเป็นสิ่งที่จะทำให้หมดอาสวะกิเลสได้

    แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อสด ท่านก็เข้านิพพานได้เนื่องจากหลวงพ่อจรัญท่านช่วยเหลืออยู่ด้านข้าง โดยบอกให้ท่านละทิ้งดวงแก้ว (อันนี้ฟังมาจากครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ ซึ่งผมก็ไม่รู้หรอกว่าหลวงพ่อจรัญท่านช่วยให้หลวงพ่อสดท่านเสร็จกิจหรือเปล่า)

    การทำบุญก็ให้รู้จักบุญ ไม่ใช่การเมาบุญ ทำบุญไม่ลืมหูลืมตา ทำบุญสุดชีวิต ผมถามจริงๆเถอะ ทำบุญสุดชีวิตแล้วลูก,เมีย,ผัวหรือกระทั่งพ่อ-แม่ จะเอาอะไรกิน ทำไมถึงสอนแต่ในแง่อานิสงค์ของทาน ทำไมไม่ให้ปัญญาด้วยล่ะ ไหนบอกว่าการให้ทานนั้นเป็นสิ่งดีสิ่งวิเศษ แต่ว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการให้ปัญญาในธรรมเสียยิ่งกว่าจะให้สัตว์โลกทั้งหลายหลงเมาบุญกันเสียขนาดนี้

    และผมถามจริงๆเถอะที่บอกว่านั่งกรรมฐานหรือสมาธิน่ะ ไม่ว่าจะฝึกธรรมกายหรือไม่ก็ตาม ช่วยตอบแบบไม่ต้องกางตำรากันได้มั้ยครับ เอาอารมณ์กรรมฐานล้วนๆมาตอบ ไม่ใช่เอาภาษาบาลีที่ประชาชนทั่วไปไม่รู้ไม่เข้าใจมาตอบกัน จะได้เป็นธรรมทานกับคนอื่นๆเค้าด้วย
    เพราะถ้าคุณๆท่านๆผู้รู้ทั้งหลายตอบเป็นภาษาชาวบ้าน โดยตอบจากจิตจริงๆ จากอารมณ์สมาธิจริงๆ จากที่เข้าถึงจริงๆ ไม่ใช่เข้าใจนะครับ เข้าถึงคือเข้าถึงธรรมนั้นๆจริงๆ ไม่ใช่อ่านจากตำราแล้วบอกว่าตัวรู้ นั่นแหละจึงจะหมายความว่าท่านรู้จริงๆ ทั้งยังจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆอีกมากขอบคุณครับ
     
  12. นาๆจิตตัง

    นาๆจิตตัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +412
    เคยเข้ามาอ่านในเรื่องกับ...ข้องกับ วิชชาธรรมกาย ในหลายๆ กระทู้..หลายๆมุมมอง
    ก็มีทั้งเห็นด้วย...ไม่เห็นด้วย ในเรื่องที่แตกต่างๆกัน...บ้างก็เอาเรื่องของครูบาอาจารย์ฯ
    ในข้อมูล...สื่อ..ที่ได้รับมากล่าวอ้างอิง.....ส่วนจะจริงเท็จแค่ไหนนั้นก็ไม่ได้มีส่วนร่วม
    ในการรู้เห็นนั้น ซึ่งบางองค์บางรูปท่านยังดำรงขันธ์อยู่.....ทั้งในสองส่วนหรือสองด้าน
    ตามที่ได้ยกกล่าวถึง กล่าวอ้างนั้น....และท่านก็เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม...และเป็น
    พระสงฆ์ (ถือว่าเป็น๑หรือตัวแทน ในพระรัตนตรัย) อาจจะเผอญไปประมาทพลาดพลั้งโดย
    ไม่รู้ตัวจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งได้โดยง่าย ทำให้เป็นบาปเป็นกรรม ซึ่งเข้าไปสู่การล่วงเกินหรือปรามาส
    ต่อ พระรัตนตรัยได้.....และก็จะเป็นเหตุหรือสร้างเหตุให้ผู้อ่าน ผู้หลงเข้ามาหรือจะเจาะจง.....
    ได้กระทำเหตุแห่งกรรมนั้น ซึ่งผู้ที่เข้ามาอ่านหรือเยี่ยมชม ควรพึงสังวรณ์ไว้ให้ดีด้วย...เพราะจะทำให้
    เป็นเหตุแห่งการเข้าถึงหรือบรรลุธรรมนั้นได้โดยยาก...และอาจทำให้เป็นทุกข์ เดือดเนื้อหรือร้อนใจฯได้
    ก็ต้องพึงใช้สติ.....ปัญญาใคร่ครวญไว้ให้ดีด้วย

    ซึ่งจะขอกล่าว....ในประเด็นของหัวกระทู้และจากเนื้อเรื่องบ้าง......ในแง่มุมมองของการสนทนาธรรมดังนี้
    ในความเข้าใจและตามที่ได้ประพฤติปฏิบัติ เจริญสมาธิภาวนา ทั้งในหลายๆ รูปแบบ สำนัก วิชชา ฯ
    (ฝึกมาหลายสำนัก วิชชา ครูบาอาจารย์....และบวชเป็นพระอยู่สายวัดป่าฯ ซึ่งก็ได้ยึดถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นหลัก) ทั้งในส่วนของวิชชาธรรมกายและวิชชาอื่นตามที่ได้กล่าวอ้างในกระทู้มานั้น พอจะขอเกริ่น กล่าว
    พอสังเขป เพื่อเสนอเป็นมุมมอง แง่คิด สำหรับไว้เผื่อพิจารณาและหวังว่า คงมีประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย
    และโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านหรือใคร่ครวญด้วย จะเป็นการดีที่สุด

    ก่อนอื่นวิสัย นิสัยแนวทางในการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีอยู่ ๔ อย่าง อันได้แก่ ๑. แบบสุกขวิปัสสโก
    ๒. เตวิชโช ๓. ฉฬภิญโญ ๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต ในที่นี้เมื่อกล่าวถึงวิชชาธรรมกายซึ่งเป็นบทเป็นบาทแห่ง
    การฝึกของ เตวิชโช ,ฉฬภิญโญ ,ปฏิสัมภิทัปปัตโต ในที่นี้จะขอยกกล่าวเว้นถึงในส่วนของแบบสุกขวิปัสสโก
    หรือกำหนดยุบหนอพองหนอออกไป เนื่องจากวิชชาที่จะกล่าวถึงเลยวิสัยในแบบของสุกขวิปัสสโกไป
    ซึ่งไม่สามารถหรือเน้นปฏิบัติทางด้านฤทธิ์ อภิญญาฯ (ยกเว้นบางบุคคลที่มีบุญบารมีมาทางด้านนี้แี้ละ
    ผู้ที่สนใจ)

    และบางคณะ บางหมู่...คณะของผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมก็ต่างกัน ซึ่งก็มีทั้งปราถนาพุทธภูมิ...สาวกภูมิ
    แนวทางในการบำเพ็ญเพียรบารมีก็ย่อมแตกต่าง ผิดแผกกันบ้างก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ของผู้ประพฤติธรรม
    ทั้งการสร้างบารมี อ่อนแก่ เข้มข้น ก็ย่อมต่างกันด้วย...ผู้ซึ่งปราถนาที่จะหลุดจะพ้นก็เน้นการประหัตประหาร
    กำจัดกิเลสกันให้หมดสิ้นก็ย่อมต้องต่างกับผู้หรือหมู่คณะ...ที่ปราถนามาสงเคราะห์โลกซึ่งก็ต้องกลับมาเวียนว่าย
    ตายเกิดอีก ก็.....นานาจิตตัง ตามถนัดชอบพอของผู้ตั้งความปราถนาในเหตุนั้นๆหรือแม้กระทั้งฝึกฝนหลักวิชชา
    เดียวกันก็ย่อมจะแตกต่างกัน ตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายอันนั้น......ดังกล่าว

    วิชชาธรรมกายตามที่ข้าพเจ้าได้ฝึกฝนและประพฤติปฏิบัตินั้น ก็จะยึดถือตามหลักมาตราฐานสากล
    ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อสด วัดปากน้ำที่ได้สอนไว้ ซึ่งก็อาจจะไม่เฉพาะเจาะจงหรือใช่สายตรง...หาก
    ผิดแผกไป...จากผู้รู้หรือสายตรงแล้วละก็ ขอกล่าวโทษข้าพเจ้าได้โดยตรงได้เต็มที่และข้าพเจ้าขอรับผิดชอบในเหตุ
    นั้นๆแต่เพียงผู้เดียว พอจะสรุปรวบรัด...ตัดตรง โดยเคร่าๆ ตามภูมิปัญญาของข้าพเจ้าได้ดังนี้........
    วิชชาธรรมกายนั้นก็เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งก็เป็นอาโลกกสิณแสงสว่างโดยใช้
    เป็นบาทเป็นฐานแห่งกำลังของสมาธิและควบคู่กับการใช้หลักของวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา
    วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ และการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ..อริยสัจสี่ ซึ่งก็เป็นการเดินวิชชา ทำวิชชา การเจริญสมาธิ
    ภาวนา.....พิจารณา เป็นไปตามกายต่างๆหรือกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ซึ่งมีภพภูมิแห่ง
    กายทิพย์ กายธรรม กายพรหมเป็นต้น รองรับ ในการเข้าสู่กายในกายนั้นเป็นชั้นไปๆพร้อมเวทนาในเวทนา จิตในจิต
    ธรรมในธรรม เมื่อพิจารณาควบคู่หรือเดินสติปัฏฐานพร้อม อริยสัจสี่ในการเข้าถึงไปด้วยกับกายนั้นแล้ว เมื่อหมุนหรือ
    เดินวิชชาแก่รอบ หรือสามารถเข้าถึงได้ ของการหยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง จนไม่เปลี่ยนแปลง ผกผันไปแล้วของจิตแลใจ
    ก็จะบรรลุเข้าสู่การเป็นพระอริยะเจ้าเป็นตามลำดับๆ ขั้นๆไป ทั้งพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและบรรลุถึงพระ
    อรหันตผลในที่สุด ส่วนผู้ที่ปราถนาพุทธภูมิการฝึกก็จะเข้มข้นขึ้นไปและเฉพาะต่างหากไป...ในที่นี้จะขอยกไม่กล่าวถึง
    เนื่องจากเป็นพุทธวิสัย วิถีของผู้ปราถนาพระโพธิญาณและเข้าสู่ขอบเขตของ ๑ ใน ๔ อจินไตย ที่พระสัมมา
    สัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้และมีไว้ในพระไตรปิฎก(สามารถหาหรือนำมาอ่าน ศึกษาเพิ่มเติมได้...เอง)

    ส่วนที่ว่าการให้ทาน...เมาบุญ....แบบไม่ลืมหูลืมตานั้น (แปลว่าสตินั้นยังดีเยี่ยมอยู่...เพราะหูกับตายังไม่ถูกลืมเลย....
    พูดเล่น..!.กลัวว่าจะเคร่งเครียดกัน...จนเกินไป) คิดว่าท่านคงหมายถึงวัด....สถานที่หนึ่ง....เอาเป็นว่าเข้าใจที่กล่าว!
    บารมีทั้ง ๑๐ ทัศ ทานบารมี ก็มีแบบทั้ง บารมี อุปบารมี ปรมัตบารมี ตามความเข้าใจแล้วนั้น เขาปราถนาออก
    แนวโพธิญาณหรือพุทธภูมิ ย่อมต้องผิดแปลกจาก ผู้ที่ปราถนาสาวกภูมิเป็นเรื่องปกติธรรมดา (ข้าพเจ้าก็เข้าเคล้า
    ที่ท่านกล่าวว่า..นั้นแหละ) ......ส่วนเรื่องของ ธรรมทาน , อภัยทาน ฯ ก็สำคัญเหมือนกัน...ซึ่งก็ถือว่า เป็นทานบารมี
    เหมือนกัน...อันที่จริงก็เป็นเครื่องบ่งบอกจิตแลใจในตัวของแต่ละบุคคลได้ดีอีกด้วย....ในการประพฤติปฏิบัติธรรม
    " ผู้ให้ก็ต้องย่อมเป็นที่รัก "

    ส่วนที่ว่าวิชชาธรรมกายไม่ได้มาจากวัดธรรมกายนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า...เขาฝึกฝนหรือเริ่มปฏิบัติ เจริญสมาธิ ภาวนา...
    พระกรรมฐานมาจากวัดหรือพระอาจารย์องค์ใด ! ( ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายก็คือคือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    เป็นมหาปูชนียาจารย์....เหมือนกันหมด).......ธรรมะก็คือธรรมะ...เป็นสัจธรรมหลักสากลที่ทุกคนสามารถ
    ประพฤติปฏิบัติและเข้าถึงได้ ไม่ว่ายากดี มีหรือจน สูง ต่ำ ดำขาว เชื้อชาติ ชนชาติใด ขึ้นชื่อว่าธรรม....ธรรมะของ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะสายตรง สายอ้อม...คนละสายหรือจะสาย....เสมอก็ช่าง ย่อมมีผลเสมอกันกับผู้ประพฤติ
    ปฏิบัติในอันจะบรรลุหรือเข้าถึงได้ ต่างแต่ความสามารถ.....ที่ได้บำเพ็ญเพียร บารมีมาเท่านั้น...กิเลสหมดเหมือนกัน
    ที่ไม่หมด...ก็เพราะความยึดถือ ยึดมั่นถือมั่น สุดท้ายก็ไม่มีอะไร.....และไม่มีอะไรจะมี

    สุดท้ายนี้หากประมาทพลาดพลั้งหรือล่วงเกินผู้ใดเข้าก็ขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


    อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
    ชนะตนนั้นแหละ เป็นดี
    (ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.)

    อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ.
    ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า.
    (ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2008
  13. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ส่วนที่ว่าการให้ทาน...เมาบุญ....แบบไม่ลืมหูลืมตานั้น (แปลว่าสตินั้นยังดีเยี่ยมอยู่...เพราะหูกับตายังไม่ถูกลืมเลย....
    พูดเล่น..!.กลัวว่าจะเคร่งเครียดกัน...จนเกินไป) คิดว่าท่านคงหมายถึงวัด....สถานที่หนึ่ง....เอาเป็นว่าเข้าใจที่กล่าว!
    บารมีทั้ง ๑๐ ทัศ ทานบารมี ก็มีแบบทั้ง บารมี อุปบารมี ปรมัตบารมี ตามความเข้าใจแล้วนั้น เขาปราถนาออก
    แนวโพธิญาณหรือพุทธภูมิ ย่อมต้องผิดแปลกจาก ผู้ที่ปราถนาสาวกภูมิเป็นเรื่องปกติธรรมดา (ข้าพเจ้าก็เข้าเคล้า
    ที่ท่านกล่าวว่า..นั้นแหละ) ......ส่วนเรื่องของ ธรรมทาน , อภัยทาน ฯ ก็สำคัญเหมือนกัน...ซึ่งก็ถือว่า เป็นทานบารมี
    เหมือนกัน...อันที่จริงก็เป็นเครื่องบ่งบอกจิตแลใจในตัวของแต่ละบุคคลได้ดีอีกด้วย....ในการประพฤติปฏิบัติธรรม
    " ผู้ให้ก็ต้องย่อมเป็นที่รัก "
    >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>.

    เห็นด้วยทีเดียวครับ
    หากเราไม่ได้ตั้งความปรารถนาในการเกิดมาในแต่ละครั้งของเราไว้

    มีชีวิตไปตามกระแสโลกแล้วทำบุญเผื่อเหนียวเอาไว้ เผื่อว่าโลกหลังความตายเกิดมีจริงๆก็ยังพอมีบุญกุศลอยู่บ้าง เอาแค่ปีละครั้งสองครั้งตามวันสำคัญก็พอ

    แต่ถ้ามีเป้าหมายในการเกิดว่า อยากจะบรรลุธรรมหมดกิเลสเข้านิพพานหละก็

    จะมาทำอิดออดอยู่ทำบุญวันเกิดปีละหน มันคงไม่ใช่

    หากปรารถนาเป็นพระปัจเจกหรือพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว

    ไม่ต้องพูดถึง คนธรรมดาสามัญไม่มีวันเข้าใจในการทำบุญในแต่ละครั้งของเขาอย่างแน่นอน ไม่เข้าใจยังไม่พอบางครั้งมันแก่กล้าจนออกมาเป็นคำพูด

    อย่างที่จะได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่าทำไปทำไมเยอะแยะ โง่งมงาย อะไรทำนองนี้

    ก็ได้แต่สงสารคนพูดว่า ไม่รู้อะไรเลย แล้วยังอาศัยความไม่รู้มาสร้างกรรมให้ตัวเองอีก
     
  14. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เห็นนิมิตนอกตัวกับนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร
    (นิตยสารธรรมกาย เล่มที่ ๔๐)



    ถาม : เห็นนิมิตนอกตัวกับเห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันอย่างไร?
    ตอบ :
    เห็นนิมิตนอกตัวกับเห็นนิมิตในตัว แตกต่างกันมากสำหรับผลการปฏิบัติ ยกตัวอย่างให้ฟัง หลวงปู่มั่นท่านนั่งเห็นนิมิตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใสแจ่มในเบื้องต้น ท่านเห็นอยู่ข้างนอก ทีนี้ท่านก็ตามนิมิตไปเรื่อย จะเห็นอดีตก็ได้ เห็นอนาคตก็ได้ บางทีก็แม่นบางทีก็ถูก บางทีก็ผิด ถูกค่อนข้างมากเหมือนกัน ไป ๆ ก็เห็นอดีตของตนเองก็ได้



    หลวงพ่อบอกว่า เอ ! เห็นอย่างนี้อยู่ตั้ง ๓-๔ เดือน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเรื่องอะไรกันนี่ สรุปแล้วหลวงพ่อก็ทราบว่า นิมิตนอกตัวถูกหลอกได้โดยง่าย และมิได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ หลวงพ่อหรือหลวงปู่มั่นจึงเพ่งนิมิตเข้าไปในตัว ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” จะขอยกตัวอย่างให้ฟัง ท่านก็สอนศิษยานุศิษย์ ถ้าเห็นนิมิตนอกตัวให้พิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปตามนิมิตนั้น ตามไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีการกำจัดกิเลสสักที แต่นิมิตในตัว (ได้เห็นในประวัติของท่าน ซึ่งหลายท่านคงได้อ่านประวัติแล้ว) ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” มีชาวป่าชาวเขาที่ท่านได้เคยไปพักห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านเดินจงกรม ดูดวงใส ชาวป่าชาวเขาสังเกต เอ ! ท่านดูอะไรหนอ เลยมาถามท่าน “ตุ๊เจ้า ดูอันหยัง เดินหาอันหยัง” ท่านบอกว่า “เดินหาดวงพุทโธ” ชาวเขาถามท่านว่า ตัวเขาอยากจะช่วยตุ๊เจ้าหาบ้างได้ไหม? ท่านบอกว่า “ได้ซิ หาเถิด ดวงพุทโธนี้พระพุทธเจ้าประทานมาให้แต่บางทีมันก็หาย ต้องเดินหา”



    อุบายของท่านลึก แต่ว่าหาได้นะ หาได้ก็เป็นของตัวเอง คนป่าคนเขาก็หา ลองทำดูว่าทำอย่างไร ท่านก็ว่าพุทโธ สอนไป พวกเจ้าเหล่านั้นไปเดินก็หาพบจริง ๆ บางคนพบแล้วถึงธรรมกาย ในประวัติหลวงพ่อบอกว่าเจ้านี่ถึงธรรมกาย ท่านเล่าอยู่ในประวัติของท่าน



    ที่กล่าวมานี่เป็นเรื่องย่อ แม้ที่ปฏิบัติพุทโธ เขาก็เอานิมิตเข้าในพิจารณาภายใน ไม่ได้เอาไว้ข้างนอก เหตุเพราะอะไร? เพราะข้างนอกเป็นนิมิตหลอก เป็นกสิณ เป็นปฏิภาคนิมิต ติดปฏิภาคนิมิตบางครั้งก็จริงบ้าง เพี้ยนบ้าง เพราะเห็น จำ คิด รู้ ไม่ได้ซ้อนกัน ฝรั่งเขาเรียกโฟกัสซ้อนกัน เหมือนเราปรับกล้องถ่ายรูป เหมือนแว่นแก้วหรือแว่นสายตา จะปรับโฟกัสหรือจุดรวมแสง คล้ายกันอย่างนั้นไม่ได้มีหยุด ณ ภายใน ไม่ได้หยุด ณ ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ ๕,อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, ซึ่งเขาตั้งอยู่กลางกันและกันตามลำดับ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม แตกต่างกันอย่างนี้ จึงไม่มีสภาวะจะไปพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม กิเลสก็ไม่หมด และการเห็นนิมิตภายนอกกาย ด้วยความเห็น (ด้วยใจ) ความจำ ความคิด ความรู้ บางครั้งก็เที่ยง บางครั้งก็เล่ห์ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริง เพราะถูกภาคมารเข้าสอดละเอียด ให้เห็นนิมิตหลอกได้ง่าย



    เพราะฉะนั้นให้ไปถามบูรพาจารย์ของเราที่ดี ๆ ประเสริฐ ๆ ท่านต่างเพ่งไปข้างในหมดทั้งนั้น จึงจะถึงนิพพาน เพราะที่นั่นจะสามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมทั้ง ณ ภายในแบบเบื้องต้น คือเอาปัจจัยในตัวเรา กายมนุษย์นี้แหละเป็นปัจจัยในการน้อมนำกาย เวทนา จิต ธรรม ของคนอื่นมาเป็นอารมณ์เป็นเครื่องพิจารณา ณ ภายนอก <!--MsgFile=0-->
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แต่ถ้าทำละเอียดไป ๆ ก็เหมือนอย่างวิธีปฏิบัติของเรา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ เข้าไป ณ ภายใน



    แต่การจะเข้าถึง กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ต้องเหมือนขึ้นบันได ขึ้นบันไดขั้นที่ ๑ เมื่อขึ้นไปยืนแล้ว เรายืนบนชั้นที่ ๑ แล้วจึงก้าวขึ้นบันได ที่ ๒ เอาชั้นที่ ๑ เป็นฐาน จึงก้าวขึ้นชั้นที่ ๒ ยืนอยู่บนชั้นที่ ๒ เรียบร้อยมั่นคงแล้ว เอาชั้นที่ ๒ เป็นฐาน ก้าวขึ้นสู่ชั้นที่ ๓ ชั้นที่ ๔ ตามลำดับดังนี้ใจก็เหมือนกัน ที่จะสามารถบริสุทธิ์ ต้องอาศัยฐานที่ตั้งฐานในการพิจารณา ฐานในการกำจัดกิเลสเป็นชั้น ๆ ไป กิเลสของเรามีตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียด



    กิเลสหยาบ มี อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หนาเตอะอยู่ในกายมนุษย์หยาบ

    กิเลสละเอียด ต่อไป โลภะ โทสะ โมสะ อยู่ในใจของกายทิพย์

    ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายรูปพรหม นี้ละเอียดไป

    ปฏิฆะ กามราคะ อวิชชา นั่นกิเลสละเอียดค้างอยู่ในใจของกายอรูปพรหม



    แต่ว่ากายหยาบลงมามีกิเลสทั้งหมด ที่ละเอียด ๆ ไป ก็กิเลสที่เหลือ ๆ บางลงไป ๆ จากกิเลสหยาบไปเป็นกิเลสละเอียด ๆ ๆ อยู่ที่ไหน? อยู่ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ นั่นเอง แต่เมื่อสุดละเอียดของกายรูปพรหมอรูปพรหม พ้นจากอรูปภพ นั่นเป็นธาตุธรรมบริสุทธิ์ที่พ้นโลก คือธรรมกาย เพราะฉะนั้น จะเข้าถึงธรรมกาย เข้าถึงพระนิพพาน ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมให้ทั้งรู้ทั้งเห็น และทั้งเป็น ธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ชำระกิเลสเป็นชั้น ๆ ผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน ละเอียด ไปสุดละเอียดเป็นชั้น ๆ ไป



    การจะไปรู้เห็นอย่างนั้น ใจจะต้องหยุดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงไปพิจารณาเห็นอยู่ตรงนั้น คนไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่รู้ เลยเหมาเอาว่าการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ติดนิมิต แต่เขาไม่รู้ เมื่อเอาใจเข้าใน หยุดนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแล้ว เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไปจนสุดละเอียด จะติดนิมิตเดิมที่ไหน คนพูดไม่รู้ พูดตำหนิเขาอย่างง่าย ๆ นั่นตัวเองไม่รู้ตัว เพราะไม่รู้ว่านิมิตเป็นอย่างไร นิมิตนั้นเรากำหนดขึ้นเพื่อรวมใจ เพราะสายตาเนื้อมองไม่เห็นว่าใจมีรูปร่างเป็นอย่างไร เพราะใจไม่มีรูปร่าง แต่ธาตุละเอียดเขามี เห็นได้ด้วยตาใน ตาเนื้อมองเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยอุบายวิธีรวมธรรมชาติของใจ ๔ อย่าง คือ ความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มาหยุดข้างใน ก็ต้องให้นึกเห็นนิมิตข้างในไว้ นึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิต “นิมิต” แปลได้หลายอย่าง ความฝันก็ได้ สิ่งที่เห็นอย่างอื่น เรียกนิมิตก็ได้ นิมิตนึกให้เห็นเครื่องหมาย หรือนิมิตด้วยใจ เรียกกำหนด “บริกรรมนิมิต” เป็นเครื่องหมายที่นึกเห็นด้วยใจเพื่อรวมใจเข้ามาอยู่ในองค์บริกรรมนิมิต เมื่อใจค่อย ๆ มาหยุดนิ่งแล้วเห็นสิ่งที่เราเอามาเป็นเครื่องหมายนั้นใส แต่เห็นเดี๋ยวเดียวก็หาย เห็นได้ชั่วคราว เรียก “อุคคหนิมิต”



    ถ้าว่าใจแค่นึกเห็นได้ บริกรรมนิมิตคือกำหนดนิมิตได้นั้น เป็นสมาธิอยู่ในระดับ
    ขณิกสมาธิ คือสมาธินิดหน่อย แต่พอเอาเกศา (ผม)มาเพ่ง คือนึกให้เห็นด้วยใจ และบริกรรมภาวนา คือนึกท่องในใจว่า “เกศาๆๆ” จนกระทั่งเห็นเกศาใส เรียกว่าพอสามารถถือเอา “อุคคหนิมิต” ได้ นี้ เป็นสมาธิในขั้น “อุปจารสมาธิ” ขั้นตอนนิมิตอันมีผลให้เกิดสมาธิระดับต่าง ๆ เป็นไปอย่างนี้



    ถ้าจิตนิ่งสนิท เห็นใสแจ่ม ทีนี้เส้นเกศานิดเดียว จะขยายให้เท่าตึกนี้ก็ได้ ย่อลงมาเล็กนิดเดียวก็ได้ ใสอย่างนี้เรียก “ปฏิภาคนิมิต” นิมิตติดตา ลืมตาก็เห็น ยืนก็เห็น เดินก็เห็น หลับตาก็เห็น เรียกว่า ได้ปฏิภาคนิมิต นี้เป็นสมาธิระดับ อัปปนาสมาธิ



    นิมิตนี้ตั้งแต่นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามา ใจก็ค่อย ๆหยุด เครื่องหมายเดิมที่คิดเห็นมาเป็นเห็นใส จากใสก็เห็นติดตาติดตาติดใจเป็นปฏิภาคนิมิต ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นอนหลับไปแล้ว ตื่นมาก็เห็นอีก ก็อย่างนี้



    เพราะฉะนั้นนิมิตเป็นเครื่องช่วยให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ โดยมีนิมิตหรือเครื่องหมายเป็นสื่อให้รวมใจมาหยุดมานิ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง ถ้าเห็นนิมิตอยู่ภายนอกนั้นเป็นปฏิภาคนิมิตล้วน ๆ ภายนอกนั้น เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจ มันเล่ห์ได้เช่นว่าพอใครเห็นนิมิตอยู่ภายนอก จะอธิษฐานเห็นอะไร ๆ เดี๋ยวเดียวก็เห็น ใจลำเอียงนิดเดียวก็เห็น ตามที่ใจนึกลำเอียงไว้ก่อนได้ เพราะใจหยุดยังไม่จริง ไม่หยุดนิ่งจริงความปรุงแต่งจึงยังมิได้ บางทีก็มีมากด้วย



    แต่การนึกให้เห็นด้วยใจในครั้งแรก เป็นอุบายวิธีที่กระทำขึ้นเพื่อรวมใจเข้ามา ตั้งแต่บริกรรมนิมิต นึกให้เห็นด้วยใจ อย่างนี้ไม่ผิดถูกทีเดียว เป็นวิธีให้ได้อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ให้ได้สมาธิตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วใจหยุดนิ่งสนิทจริง ๆ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิต ก็เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้น ของปฐมฌาน <!--MsgFile=1-->



    คนที่เจริญสมาธินอกศาสนา กระทำสมาธิโดยไม่รู้ที่ตั้งของใจเพราะเขาไม่รู้มัชฌาปฏิปทาคือทางสายกลาง ไม่รู้วิธีเจริญภาวนามีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นเอกายนมรรค คือทางสายเอกว่า ฐานที่ตั้งของใจควรจะอยู่ที่ไหน ก็ต้องอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เอง แต่เขาไม่เคยเห็น ก็เลยไม่รู้ว่าเอกายนมรรคอยู่ตรงไหน รู้แต่เพียงตัวหนังสือ นี่ ความแตกต่างจากอ่านหนังสือกับการลงมือปฏิบัติภาวนา แตกต่างกันอย่างนี้ ประสบการณ์ไม่มี จึงต่างกันตรงนี้



    ความจริงการเจริญภาวนาสมาธิ มีตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณนานมาแล้ว ก่อนพุทธกาลก็มี แต่เป็นมิจฉาสมาธิ คือมิได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา มิได้เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีบุญบารมีจะพัฒนาวิธีปฏิบัติเข้าไปสู่จุดนี้เอง ได้แก่ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สด เป็นต้น ท่านจึงเอานิมิตเข้าไปพิจารณา ณ ภายใน



    หลวงปู่สดหรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านทราบเหตุและผล จึงได้ชี้แจงอธิบายออกมาเลยทีเดียวว่า เมื่อใจไปหยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะลอยเด่นขึ้นมา จิตนี้เป็น “วิสุทธิจิต” วิสุทธิจิตนี้มิได้เป็นเพราะการอ่านหนังสือแล้ว เรียกวิสุทธิจิต แต่ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องเป็นที่ใจ ซึ่งอยู่ท่ามกลางวิสุทธิศีล หรือศีลวิสุทธิ ศีลที่บริสุทธิ์อยู่ที่ใจ เจตนาความคิดอ่านผ่องใสอยู่นั่นเป็นสีลานุสติ หลวงพ่อท่านเรียก “ศีลเห็น”



    ศีลเห็นเป็นอย่างไร? ถ้าศีลมัวหมอง เห็นเลย ข้างใน ไม่ได้เรื่องมัวหมอง ในใจนี่แหละ สีลานุสติ หรือ ศีลวิสุทธิ ตั้งอยู่ในท่ามกลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ - มนุษย์ละเอียดนี่เอง



    เมื่อใจไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นเข้า ถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายจิตดวงเดิมตกศูนย์ ดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมา ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่ที่ผ่องใส เพราะฉะนั้นจิตดวงใหม่ละคือปล่อยนิมิตไปแล้ว ดวงเก่าไปแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจดวงใหม่ จึงปรากฏขึ้นมา จึงไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงเดิมแล้ว เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย แล้วเขาก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป ถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในต่อ ๆ ไป จนสุดละเอียดถึงธรรมกาย



    ถ้าจะนับว่า กรณีที่เห็นกายในกาย ธรรมในธรรม นี้เป็นนิมิต คือสิ่งที่สัมผัสและเห็นได้ เหมือนเรากำลังเห็นซึ่งกันและกัน เห็นอาคารบ้านเรือน เรียกว่านิมิตก็ได้ แต่เป็นการเห็นนิมิตของจริงโดยสมมติ เห็นของสมมติ จะเรียกว่านิมิตก็เรียกไป นิมิตนั่นแหละ สิ่งที่เห็นนั้นมีอยู่จริงในใจเรา ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเรา คือ
    การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมจากสุดหยาบของกายเนื้อไปสุดละเอียดของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์
    -กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม
    -กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม
    -กายอรูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย



    นิมิตในส่วนที่กล่าวนั้น ของโลกิยะ ตั้งแต่กายมนุษย์หยาบไปสุดละเอียด ไปถึงกายอรูปพรหม นั่นแหละเป็นของจริงโดยสมมติ เป็น “บัญญัติ” ที่เราเรียกว่า “อ้อ ! นี่ตัวตนของเรา” บัญญัติขึ้น ที่แท้จริงไม่ใช่ตัวตนแท้จริง เป็นอนัตตา ตรงนี้แหละเข้าใจให้ดี



    ถ้าพ้นนิมิตที่เรียกว่า ตัวตนโดยสมมติ หรือว่า ของเราโดยสมมติ พ้นสิ่งนี้ไปแล้ว เป็นกายธรรม เป็น “ธรรมกาย” นั้นเป็นปรมัตถธรรมปรมัตถธรรมนั้นไม่ใช่ส่วนนิมิตที่เป็นสมมติแล้ว เป็นธรรมในธรรมที่ละเอียดไปสุดละเอียด พ้นโลกแล้ว เพราะฉะนั้นให้เข้าใจ คนไม่เข้าใจก็บอกว่า “ติดนิมิต ติดธรรมกาย” ถ้าท่านได้ปฏิบัติถึงธรรมกาย เป็นธรรมกายแล้ว ท่านจะรู้ว่า ที่ด่ามา ท่านต้องรีบไปกราบขอโทษให้ทั่วนะ เพราะการปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วมีคุณมหาศาลนับประมาณมิได้ อย่าว่าแต่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายเลย ได้แค่ดวงใสอยู่ตรงศูนย์กลางกาย เห็นใสแจ่มอยู่ก็มีคุณมโหฬารแล้ว คุณค่ามหาศาล นับประมาณมิได้ สามารถจะปฏิบัติให้ถึงมรรคผลนิพพานแม้ในชาตินี้ก็ได้ในเบื้องต้น ถ้าได้เพียงเห็นดวงใส ไม่ต้องพูดถึงธรรมกายหรอก ถึงอย่างไรก็จะต้องถึงธรรมกายจนได้แหละ <!--MsgFile=2-->


    เพราะฉะนั้น คนไม่รู้ พูดไปก็บาป เพราะธรรมกายนั่นไมใช่นิมิตแล้ว จริงอยู่เห็นได้ สัมผัสได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้มีในนิพพานสูตร


    อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ
    โน เจ ตํ ภิกิขเว อภวิสฺส อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ
    นยิธ ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ
    ปญฺญาเยถ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ อภูตํ
    อกตํ อสงฺขตํ ตสฺมา ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส สงฺขตสฺส
    นิสฺสรณํ ปญฺญายติ.



    แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้วมีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว อันเป็นปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ก็แลเพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้วปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ.


    นั้นเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เรื่องสมมติ ไม่ใช่เรื่องบัญญัติแล้วพ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นโปรดเข้าใจว่านั่นไม่ได้เรียกว่านิมิต พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว...”


    ที่สถิตอยู่ของพระนิพพาน คือของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วที่ดับขันธ์ (คือดับรอบ) เข้าปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สถานที่นั้น พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า “อายตนะ” พระพุทธเจ้าดำรัสเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องนิมิตทั้งสิ้น <!--MsgFile=3-->


    นิมิตอีกคำหนึ่ง คือ สุบินนิมิต ความฝัน

    สิ่งที่เห็นได้ สัมผัสได้ คือที่ชื่อว่า “นิมิต” ดังที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้เป็น
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


    ส่วนธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว และอายตนะนิพพาน
    เป็นปรมัตถธรรม เป็นอสังขตธรรม นั่นเป็นอมตธรรม ชื่อว่าวิสังขารมีสังขารไปปราศแล้ว หรือพ้นไปจากสังขารแล้ว มิใช่เรื่องนิมิต จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีโดยทางปฏิบัติภาวนา



    กล่าวสรุปว่า การเห็นนิมิตนอกตัว อาจจะถูกหลอกได้ง่าย ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อาจเล่ห์ได้ง่าย เห็นผิดพลาดได้ง่าย เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติภาวนาที่เห็นนอกตัว อย่างเช่น พวกฤาษีชีไพร หรือแม้แต่พระธิเบต มหายาน ที่นิยมตั้งใจให้เห็นอยู่ที่กระหม่อม หรือเห็นที่หน้าผากก็มีโอกาสเห็นผิดจนได้ แต่ถ้าตั้งใจให้เข้ามาภายในตัว โอกาสพิจารณาเห็นถูกยิ่งมากขึ้น แต่ก็ไม่วายถูกปรุงแต่งมากมายหนักหนา ก็มีโอกาสพลาดได้เหมือนกัน รู้ไปไม่ตลอด รู้เรื่องธรรมกายแต่รู้ไม่ตลอด เคยได้ยินว่า พวกพระธิเบตดั้งเดิมเขารู้ธรรมกายตลอดแต่หลัง ๆ มา ชักไม่ตลอด นิมิตติดอยู่ที่หน้าผาก เขาเรียกว่า “ตาที่ ๓”



    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านมีประสบการณ์ ท่านทราบแน่ชัดเลยว่านิมิต ได้แก่ปฏิภาคนิมิต หรือแม้ตั้งแต่บริกรรมนิมิตก็เถอะ ท่านให้เอาใจเข้ามารวมข้างในแล้ว จิตไม่ปรุงแต่ง เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งแล้วกิเลสก็เบาบาง เมื่อกิเลสเบาบาง ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ได้แก่ ธาตุ ละเอียดของขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, ก็จะซ้อนกันอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับเป็นชั้น ๆ กันเข้าไปข้างในตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ความเห็น จำ คิด รู้ ก็เที่ยงขึ้น ไปจนถึงคนที่ปฏิบัติภาวนาให้ใจจุดหยุดนิ่งแน่วแน่ ถึงได้ปฏิภาคนิมิต หยุดนิ่งตรงนั้นจิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ ปล่อยนิมิตเดิมไป จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้น นั้นเป็นธรรมในธรรม และกลางธรรมในธรรม มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด และยิ่งเมื่อเราเข้าถึงกายละเอียด ๆ ที่หนึ่ง ก็ผ่องใสทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม



    อาศัยใจของกาย เวทนา จิต และธรรม ที่ผ่องใสระดับนั้นเป็นพื้นฐานปฏิบัติให้ผ่องใสยิ่งขึ้นไปอีก หยุดนิ่งกลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก เข้าสู่กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียด ๆ ต่อ ๆ ไปอีก จนสุดละเอียดถึงจะถึงธรรมกาย ทีนี้เหมือนกับแว่นขยายซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ โฟกัสตรงกัน เมื่อโฟกัสตรงกันตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม การเห็นอะไร ๆ จะแม่นยำ แต่ที่ไม่แม่นยำ ก็คือว่า เคลื่อนศูนย์ เมื่อเคลื่อนศูนย์ จิตก็ปรุง หลวงพ่อท่านบอกว่า กลางของกลางนั่นแหละถูกพระแล้ว ใครอยากเข้าถึงพระให้หยุด หยุดให้หยุดกลางของหยุดดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป แต่ถ้าใครเอาใจออกนอกตัว ก็ถูกถิ่นกำเลของมาร เริ่มตั้งแต่จิตของเราออกไปยึดเกาะอารมณ์ภายนอก แล้วก็ปรุงแต่อารมณ์นั้น ๆ แต่เมื่อใจหยุดนิ่ง ก็หยุดปรุง นี่ธรรมชาติของใจเป็นอย่างนี้



    เพราะฉะนั้น การเอาใจไปวางไปหยุดไปนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือสองนิ้วมือนั้น ถูกศูนย์กลางกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียด ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานเลย เพราะฉะนั้นบางคนนั่งภาวนา ๆ ไปจนจิตละเอียดขึ้นวูบหนึ่ง เห็นธรรมกาย เห็นพระนิพพานได้เลยก็มี บางคนนั่งไปเห็นดวงธรรม หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางดวงธรรม เห็นธรรมกายใสสว่าง ไม่ต้องผ่านกายมนุษย์ก็มี ข้อนี้ไม่เป็นประมาณ <!--MsgFile=4-->



    เพราะฉะนั้น จึงขอสรุปไว้เท่านี้ก่อนว่า ถ้าเอาใจออกนอกตัวนั้นเป็นถิ่นทำเลของมาร การเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้จะทำหน้าที่ปรุงแต่งได้มากขึ้น การเห็นอะไร ๆ จึงไม่เที่ยงร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วก้อ มักจะผิดพลาดได้เสมอ จึงต้องให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายที่ใสละเอียด ต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด จิตก็จะหยุดปรุงแต่ง ธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ก็จะซ้อนเป็นชั้น ๆ กันเข้าไปข้างในตรงกันหมด ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากสุดหยาบถึงสุดละเอียด จนถึงธรรมกาย และเป็นธรรมกาย และถึงอายตนะนิพพาน ให้ได้รู้เห็นทั้งสภาวะของสังขารธรรมและวิสังขารธรรม ตามที่เป็นจริง ให้เข้าใจจุดนี้ให้ดี นี้คือผลดีของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ตั้ง “ใจ” ไว้ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม



    แท้ที่จริง กระบวนการของจิต เมื่อจิตดวงเดิมหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม หยุดนิ่งถูกส่วน ก็จะตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ถ่ายทอดกรรมเดิม ปรุงแต่งเป็นจิตดวงใหม่ (ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย) ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นธรรมชาติเกิดดับ ๆ อยู่อย่างนี้นี่แหละ ได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของกาย เวทนา จิต และธรรมของสัตว์โลก



    เพราะฉะนั้น จึงแนะนำให้เอาใจมาหยุดตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมจริง ๆ และเป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือ ใจเปลี่ยนวาระตรงนี้ ปรุงแต่งตรงนี้ หยุดปรุงตรงนี้ เข้าถึงมรรคผลนิพพานก็เข้ากันตรงนี้ เพราะเข้าด้วยใจ และ ด้วยธาตุธรรมละเอียด มิได้เดินเข้าด้วยกายภายนอก แต่เข้าด้วยใจ ใจที่รับรู้ทางปริยัติเรียกว่า “วิญญาณ” เป็นแกนกลาง ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร ธรรมชาติอีก ๓ อย่างของใจ อยู่ในกลางของกลางซึ่งกันและกันไปจนถึงวิญญาณ รวมเรียกว่า “ใจ”



    ใจนี้เมื่อถึงอรูปพรหมละเอียด สุดละเอียดแล้วตกศูนย์ นี่แหละ “วิญญาณดับ” นั่นแหละ สุดละเอียดของวิญญาณของกายในภพ ๓ จึงปรากฏ “ธรรมกาย” รู้ของธรรมกายไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นญาณนี้แหละญาณหยั่งรู้ของธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดจนเป็นธรรมกายที่ละเอียด ทีนี้แม่นยำนักเชียว แต่ถ้าเคลื่อนศูนย์เมื่อไร ก็หายแม่น หรือว่าโอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลสก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกายโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว พวกที่ธรรมกายมัวหมอง หรือไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส จึงบอกกัน ณ บัดนี้ว่า มาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่มีการพยากรณ์กัน เว้นแต่ครูกับศิษย์ ไม่มีการพยากรณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข้างหลังจะเป็นอย่างไรไม่มีใครให้มาดูว่า พ่อแม่ไปอยู่ไหนนะ เราไม่พูด ที่วัดนี้ไม่ทำ และบอกต่อ ๆ กันว่าอย่าทำ เพราะใจที่ท่านเริ่มออกไปถิ่นทำเลของมารแล้ว พอจิตปรุงปุ๊บ เดี๋ยวก็หลงลาภสักการะ เสร็จภาคมารเขาเท่านั้นแหละฉะนั้นจงจำไว้ เราปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดกิเลส



    อีกอย่างหนึ่งโปรดทราบ คือว่าแม้ธรรมกายช่วยอะไร ๆ ได้มากพอสมควร แต่ทุกคนต้องช่วยตนเอง มาศึกษามาปฏิบัติให้เป็นเองให้พอช่วยตนเองได้ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว จงตั้งใจทำเองให้เป็นเอง ให้เกิดเอง ถ้าจะขอความช่วยเหลือจากครูบาอาจารย์ขอให้เป็นเรื่องจำเป็นจริง ๆ เพราะกิจสำคัญคือเรื่องกำจัดกิเลสใครเขามาขอให้ช่วยทำอะไร ท่านจงอย่ารับทำให้ทั่วไป เพราะมารเขาสอดละเอียดให้มีภาระมาก ๆ เรื่องกายในมิใช่เรื่องธรรมดา ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายทั้งหลาย อย่าเมตตามาก อย่าไปตั้งสำนักรับทำอะไร ๆ ถ้าทีเมตตามาก เกินอุเบกขา ระวังจะกลายเป็นเมตตุ๊บ คือหล่นตุ๊บลงได้ง่ายมาก อย่าอยากดังทางนี้เลย จงปฏิบัติภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสลูกเดียว ให้เขาฝึกปฏิบัติเอง เพียงแต่ทำใจให้หยุดให้นิ่ง “สัมมาอะระหัง” ตรงกลางของกลาง ก็ช่วยได้พอสมควรแล้ว ช่วยตัวเองได้มาก ถ้าใจหยุดนิ่งสนิทจนเห็นดวงใสแจ่มละก็ช่วยได้มากเลย แม้โรคภัยไข้เจ็บก็หายได้มากทีเดียว ถ้าทำวิชชาชั้นสูงยิ่งขึ้นไปอีกช่วยได้มากอีก



    เพราะฉะนั้น จงช่วยตัวเอง และแนะนำผู้อื่นให้ฝึกปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมในธรรม ถึงธรรมกายเอง ก็จะสามารถช่วยตัวเองได้.



    **************************************************************************

    (นิตยสารธรรมกาย เล่มที่ ๔๐)
    จัดพิมพ์โดย
    มูลนิธิและสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี <!--MsgFile=5-->
     
  16. 1redstar

    1redstar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    622
    ค่าพลัง:
    +1,368
    ทักษิณกับวัดธรรมกายเหมือนกันเลย
    ทักษิณทำประชาชนแตกแยก
    วัดธรรมกายทำครอบครัวแตกคอ
     
  17. nut33

    nut33 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +44
  18. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ความรู้ลึกซึ้งนักยากแท้หยั่งถึง
     
  19. Middle way

    Middle way สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ไขข้อข้องใจ

    ธรรมะนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ใจเท่านั้นสัมผัสได้
    เถียงกันไปมาทุกคนก็ต่างว่าตนนั้นถูกต้องเสมอ
    แต่ลองมองในมุมมองที่แตกต่าง
    แทนที่จะเสียเวลามาหาว่าธรรมกายจริง/เท็จอย่างไรนั้น
    เปลี่ยนมาเป็นนั่งหลับตาแล้วเจริญสมาธิภาวนาดีกว่า
    แล้วจะรู้เองว่าอะไรจริง อะไรเท็จ อะไรคือของแท้แน่นอน
    ชาวต่างชาติยังเข้าถึงได้ ยังคิดได้
    แล้วเราคนไทยที่เกิดในเมืองพุทธแท้ๆล่ะจะคิดได้หรือไม่
    อันนี้แล้วแต่บุญนะจ๊ะ...อีกไม่กี่ปีรู้กัน(สนุกแน่!)
    กับยุคที่จะผ่านไป
    "ถิ่นกาขาว"
    และยุคที่เหลือ
    "ชาวศิวิไล ไทยมหารัฐ จักรพรรดิราช"
    ทำดี...สรรเสริญ
    ว่าร้าย...ปล่อยไปตามกฎแห่งกรรม
    --------------------------------------
    จากเด็กที่ไม่รู้อะไร แต่รู้อะไร
    (แค่หลับตา...ง่ายนิดเดียว^^)
    เข้าพรรษา เข้าถึงธรรมนะจ๊ะ
     
  20. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,670
    ค่าพลัง:
    +51,947
    *** โอ้...มนุษย์ ****

    สุดท้าย...จบลงด้วยสัจจะ
    เพราะสัจจะ เขาพาให้ตัดกิเลสนิสัย ตัญหาราคะ มานะทิฐิ ได้จริง
    เมื่อ ถึงเวลา ก็จะได้รู้ได้เห็นเอง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...