การที่เรารักเขาแล้วเขาไม่รักตอบเป็นเพราะผลกรรมอะไร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เถ้าถ่าน, 14 มกราคม 2005.

  1. เถ้าถ่าน

    เถ้าถ่าน บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    การที่เรารักแอบชอบเขา แล้วเขาไม่รักตอบเลยเป็นเพราะผลกรรมอะไรรึเปล่าหนอ
     
  2. ดาวหางสีเงิน

    ดาวหางสีเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2005
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +795
    น่าจะมองได้ว่าเป็นกรรมเล็กๆครับ
    เพราะฉะนั้น เมื่อเขาไม่รักตอบแล้ว จงอโหสิกรรมให้เขาเถิดครับ

    หรือไม่ก็...ฉุดเลยค้าบบบบบบบบบ


    ล่อเล่งนะตัวเอง
     
  3. mikky

    mikky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    894
    ค่าพลัง:
    +577
    อันนี้ตอบยากจริง ๆ จะว่าไม่มีกรรมผูกพันธ์กันมาก็อาจไม่ใช่ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นคุณคงไม่รักเขาหรอก
     
  4. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ลองไปอ่านใน กรรมพยากรณ์ ภาค1 ดูน่ะครับ

    www.dungtrin.com

    ถ้าไปอ่านเอง คงรู้ได้ละเอียดมากกว่า
    ที่ผมจะเอาความเข้าใจจากตรงนั้นมาพูด

    ถ้าอ่านแล้วนอกจากจะรู้เรื่อง หายคาใจตรงส่วนนี้
    ก็จะมีความรุ้ ความเข้าใจ ในเรื่องอื่นๆเพิ่มเติม
     
  5. casy99

    casy99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +449
    ตัวเองก็บอกอยู่แล้วว่าแอบรัก ไม่ต้องบ่นหรอก ใครจะไปรู้ได้ไม่ใช่ผู้วิเศษจะได้หยั่งรู้จิตใจคนอื่นได้
     
  6. Issara

    Issara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +433

    แนะนำให้ถามคุณ Catwater เพราะเขา ลึกซึ้ง ดื่มด่ำ คร่ำหวอด และเชี่ยวชาญเรื่องนี้มากถึงมากที่สุด
    (b-deejai)
     
  7. Issara

    Issara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +433
    <EMBED src= "http://www.fisho.com/webboard/song/Peachmaker_ChangMaiRooLuey.mp3" WIDTH=290 HEIGHT=46 ></EMBED>

    <img src="http://www.tourthai.com/gallery/images025/10598086UEeSFhLHWf_ph.jpg"</img>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2005
  8. Cloud

    Cloud Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +82
    ผมก็ไม่รู้นะครับว่าเป็นเพราะอะไร แต่ถ้าเรารักเขาเราควรจะบอกเขาไปเลยนะครับ เพราะเขาจะได้รู้ว่าเราคิดกับเขายังไง อีกอย่างถ้าเราบอกเขาแล้วเขาบอกว่าไม่รักเราก็จะเป็นผลดีกับทั้งเราและเขา แต่ที่ดีกับเราเพราะว่าเราจะได้ไม่ต้องไปรอคอยเขาอย่างมีความหวัง แล้วเราก็จะได้ไปหาคนที่ดีกว่า หรือถ้าหากรู้สึกว่าเขาก็มีใจตอบ เราก็คงต้องพี่สูจน์ความรักที่เรามีต่อเขาด้วยความดีทั้งปวง อันนี้คงไม่ต้องให้บอกนะครับว่าต้องทำอะไรบ้างเพราะว่าถ้าคนที่มีความรักแล้วย่อมจะรู้เองว่าสิ่งไหนที่ดี ที่ทำแล้วคนที่เรารักจะมีความสุข ทุกอย่างอยู่ที่การกระทำครับ ถ้าทำดีที่สุดแล้วยังไม่ได้ผลก็คงต้องตัดใจ เพราะอาจเป็นกรรมเก่าที่เราทำ เลยทำให้ชาตินี้คนที่เรารักไม่รักเราตอบ แต่อย่าท้อถอยใจการทำความดีนะครับ สู้ สู้ สู้
     
  9. Catwater

    Catwater เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2005
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +142
    เฮ้ย มาคร่ำหว่งคร่ำหวอดอะไรกันฟะ (b-ng) แฟนตูก็ใน Avatar นั่นไง
    (b-2love)
     
  10. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    เจอออกบ่อย ชินแล้วครับ
     
  11. koymoo

    koymoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    2,068
    ค่าพลัง:
    +7,066
    ง่ะ... อยากรู้เหมือนกันว่า กรรมอะไร หงึๆ ไปแอบรักเขาบ่อยเลย...
     
  12. Issara

    Issara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +433
    คนนี้แฟน koymoo เหรอ ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0030536.jpg
      0030536.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.8 KB
      เปิดดู:
      78
  13. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    คู่มือการปฏิบัติธรรม ฉบับดับทุกข์ อิสระมุนี<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    1.จงประพฤติศีล 5 ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด ไม่ขโมยสิ่งของๆใคร ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไม่ดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา <o:p></o:p>
    2.แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควรสำหรับผู้ที่เป็นฆราวาส และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบ<o:p></o:p>
    3.ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา<o:p></o:p>
    4.วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่ จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือเทวดา อินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมจะไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น <o:p></o:p>
    5.พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 อย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้าๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันก็จะหยุดนับของมันเอง<o:p></o:p>
    6.หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่า พุท หายใจออกกำหนดว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นเพียงอุบายที่จะทำให้จิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น<o:p></o:p>
    7.แต่ในการฝึกแรกๆนั้น ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่างๆแทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรกๆมันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก 15 นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับ หรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เองของมัน<o:p></o:p>
    8.การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวันๆละ 2-3ครั้ง แรกๆให้ทำครั้งละ 15 นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ปรารถนา<o:p></o:p>
    9.ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับใหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือสัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต<o:p></o:p>
    10.เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่างๆต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใดๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ<o:p></o:p>
    11.จงยกเอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานี้มันมาจากไหน? มันเกิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะอะไรท่านจึงหนักใจกับมัน? ทำอย่างไรที่ท่านจะสามารถแก้ไขมันได้? ทำอย่างไรท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน?<o:p></o:p>
    12.การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่านมันจะค่อยๆรู้เห็น และเกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่างๆได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว<o:p></o:p>
    13.ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้น หลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตนเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืนอะไรเพียงไหน? ท่านจะได้อะไรจากชีวิตคือร่างกายและจิตใจนี้? ท่านจะอยู่ไปในโลกนี้นานเท่าไหร่? เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร? ให้พยายามถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    14.หรือท่านอาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเองเท่าที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนรวมหรือไม่? หรือท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง? และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูดจะทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของชีวิตของท่านเอง <o:p></o:p>
    15.จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือท่านจะฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลัง และมั่นคง สภาวจิตเช่นนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่างๆ หรือสิ่งต่างๆที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง<o:p></o:p>
    16.สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ " ปัญญา " นั่นเอง<o:p></o:p>
    17.จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น<o:p></o:p>
    18.ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบเสียก่อน จากนั้นจึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    19.ท่านจะต้องรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลายๆอย่างท่านไม่สามารถจะแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ตามสภาวะแวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือ ท่านจะต้องพยายามหาวิธีทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่าท่านทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ช่างมัน ปัญหามันจะหมดไปหรือไม่ก็ช่างมัน ท่านจะได้หรือจะเสียก็ช่างมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดีร้ายได้เสียมันก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน<o:p></o:p>
    20.ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เช่นเรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เพราะทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาในโลกก็ล้วนแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิดมาจากอำนาจของเทวดาฟ้าดิน ที่ไหนเลยมันเป็นของธรรมดาที่มีอยู่ในโลกอย่างนี้เอง<o:p></o:p>
    21.จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า "อนิจจตา" ซึ่งแปลว่า ความไม่เที่ยง สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะความเป็นของไม่เที่ยงของมันนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดีร้ายได้เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่านรู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย<o:p></o:p>
    22.จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " ทุกขตา" ซึ่งแปลว่า ความเป็นทุกข์ จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้กำลังประสบอยู่<o:p></o:p>
    23.จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " อนัตตตา " ซึ่งแปลว่าความไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา หรือความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร ข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น หมายความว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะมีอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นานก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้ตลอดไป ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนถาวรของมันจึงไม่มี ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย<o:p></o:p>
    24.เมื่อทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวรเช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหลอยากได้อยากเป็นอะไรในมันให้มากเรื่องไปโดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า?<o:p></o:p>
    25.ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก ต้องกำหนดจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ 2 จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบ<o:p></o:p>
    26.พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่ง ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น<o:p></o:p>
    27.จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดีที่ถูกใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจหรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น<o:p></o:p>
    28.จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายาม รักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากได้อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาจิตให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ และสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้จะทำให้จิตใจของท่านสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อนได้เป็นอย่างดีที่สุด <o:p></o:p>
    29.จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกมาจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็จะรักษาจิตให้สะอาดผ่องใสและไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่างๆมาไว้ในใจให้หนักใจเปล่าๆเลย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา<o:p></o:p>
    30.จะคิดเรื่องอะไรก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้พวกเขาได้รับความสุขสงบในชีวิต คิดเพื่อที่จะทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด คิดจะทำให้ตัวเองและคนอื่นสัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    31.จงจำไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์ได้ นอกจากความคิดผิดของท่านเอง ถ้าท่านคิดผิด ท่านก็จะเป็นทุกข์ ถ้าท่านคิดถูก ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    32.จงอย่าเชื่อถือสิ่งงมงายไร้เหตุผล เช่น เมื่อมีความทุกข์ หรือเกิดเรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนาขึ้น ก็ไปบนเจ้าที่เจ้าทาง ไปไหว้จอมปลวก ไหว้ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ปรารถนาจะให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านหลงผิดคิดว่ามีอยู่ในสถานที่เหล่านั้น มาช่วยท่านให้พ้นทุกข์อย่างนี้เป็นต้น นี่คือความงมงาย จงละเลิกมันเสีย เพราะมันจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองทรัพย์สินและเวลาโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น<o:p></o:p>
    33.จงรู้ความจริงว่า เรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจนี้เป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีอยู่ในโลกนี้ บางทีท่านก็ได้ตามที่ปรารถนา แต่บางทีก็ไม่ได้ตามที่ปรารถนา มันเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้เอง อย่าตื่นเต้นดีใจหรือเสียใจไปกับมัน<o:p></o:p>
    34.ตลอดเวลาที่ท่านกำลังทำกิจการงานอะไรอยู่ จงน้อมจิตให้มองเห็นความสงบที่ท่านเคยพบในการฝึกสมาธิและจงมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก จงแยกมันให้ออกว่า สิ่งหนึ่งคือจิตอันสงบของท่าน ส่วนอีกสิ่งหนึ่งคือความปรุงแต่งวุ่นวายของโลก สิ่งทั้ง 2 นี้มันแยกกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน<o:p></o:p>
    35.ถ้าท่านไม่มองหาความสงบ แต่หันไปอยากได้อยากดีกับสิ่งภายนอก จิตของท่านก็จะสับสนวุ่นวายและเป็นทุกข์ แต่ถ้าท่านมองเห็นความสงบของจิต และควบคุมจิตไม่ให้เกิดความอยากความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอขึ้นมาแล้ว จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ที่ใดก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวยหรือยากจนสักเพียงใดก็ตาม แต่จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการฝึกจิตด้วยวิธีการนี้<o:p></o:p>
    36.จงใช้ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งปัญญานั้น หมายถึงความมีสติที่รู้จักประคับประคองจิตให้สะอาดอยู่เสมอ รู้จักทำจิตให้ปล่อยวาง ทำจิตให้โปร่งเบา รู้เท่าทันว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าผิดท่านจะไม่ทำไม่พูด ถ้าถูกท่านจึงจะทำจะพูด และรู้จักพิจารณาว่าหน้าที่ที่ท่านจะทำกับสิ่งนั้นๆคืออะไร แล้วก็ทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด พยายามแก้ปัญหานั้นให้สงบไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมและถูกต้องที่สุด โดยไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้จะทำให้ปัญญาของท่านคมชัด และจะไม่มีความทุกข์อยู่ในจิตเลย<o:p></o:p>
    37.ท่านต้องรู้ว่า คนส่วนมากในโลกนี้เขามีกิเลส คือความโลภ โกรธและหลง ดังนั้นบางทีเขาก็คิดถูกและทำถูก แต่บางทีก็คิดผิดและทำผิด บางทีก็โง่ บางทีก็ฉลาด เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องให้อภัยเขา ค่อยๆพูดกับเขา ไม่ด่าว่ารุนแรงกับเขา ท่านจะต้องใช้ปัญญาของท่านเข้าไปสอนเขา ไปชักจูงเขาให้เดินในทางที่ถูก นี่คือหน้าที่ของผู้มีปัญญาที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนโง่ที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ผลที่จะได้รับก็คือ ท่านจะเป็นคนที่มีจิตใจเยือกเย็นและน่าเคารพกราบไหว้ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านจะไม่เป็นทุกข์ร้อนเลย แม้ว่าจะพบเห็นหรือเกี่ยวข้องกับคนมากมายหลายประเภทในโลกนี้อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    38.การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ในตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิอย่างนี้ คือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นสูงสุดแล้วก็คือความรู้จักปล่อยวาง ไม่แบกหามภาระใดๆมาไว้ในใจจนนอนไม่หลับและเป็นทุกข์นั่นเอง<o:p></o:p>
    39.จงจำไว้ว่า การฝึกสมาธินั้น แท้จริงแล้วท่านทำเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นเองที่จะเป็นตัวทำลายความทุกข์ทางใจให้หมดสิ้นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่ การอ้อนวอนอธิษฐานเอาอะไรๆตามใจตัวเอง<o:p></o:p>
    40.จงตั้งใจไว้ว่า ถ้าจะรู้สึกเป็นทุกข์หงุดหงิดเมื่อไร ท่านจะสลัดมันทิ้งเมื่อนั้น ท่านจะไม่เอาอารมณ์นั้นมาไว้ในใจ ถ้าท่านสลัดอารมณ์ไม่ดีให้หลุดไปได้เมื่อไร ท่านก็จะรู้แจ้งธรรมะเมื่อนั้น ท่านจะหมดทุกข์เมื่อนั้น ท่านจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของท่าน ในนาทีที่ท่านสลัดอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายออกไปจากใจได้<o:p></o:p>
    41.ในตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จงอย่าคิดอยากจะหายจากโรคนั้น แต่จงคิดว่า ท่านจะรักษาโรคไปตามเรื่องของมัน บางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านไม่เป็นโรคนี้ท่านก็ต้องตายอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเสียใจหรือหวาดกลัวต่อโรคนั้น<o:p></o:p>
    42.จงตามดูความรู้สึกภายในจิตอยู่เสมอ ถ้าจะวิตกกังวลให้ตัดทิ้งเลย ถ้าจะหงุดหงิดตัดทิ้งเลย ถ้าจะห่วงอะไรก็ตัดทิ้งไปเลย ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอ ปัญญาของท่านก็จะสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ในจิต นี่แหละคือทรัพย์อันประเสริฐสุดในชีวิตของท่าน และสิ่งเลวร้ายต่างๆก็จะสลายตัวไปเองในที่สุด<o:p></o:p>
    43.ปัญหาที่ทำให้ท่านหนักใจเป็นทุกข์ จะไม่เกิดขึ้นในจิต ถ้าท่านทำจิตให้สลัดอารมณ์ดีร้ายเหล่านั้น อยู่เช่นนี้เสมอ<o:p></o:p>
    44.สมาธิก็จะมั่นคงต่อเนื่องอยู่ในจิต แม้ท่านจะกำลังเดินเหินไปมาหรือทำการงานทุกอย่างอยู่ ถ้าหากว่าท่านพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้ สมาธิก็จะมั่นคงยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    45.อย่าคิดจะให้สิ่งต่างๆ มันเป็นไปตามใจของท่านหมด แต่จงคิดว่า มันจะเกิดเรื่องดีร้ายอย่างไรก็ให้มันเกิด ท่านจะพยายามหาทางแก้ไขมันไปตามความสามารถ แก้ได้ก็เอา แก้ไม่ได้ก็เอา เรื่องดีก็ทิ้ง เรื่องร้ายก็ทิ้ง สุขก็ทิ้ง ทุกข์ก็ทิ้ง แล้วจิตของท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์เลย<o:p></o:p>
    46.ท่านจงอย่าปล่อยให้ความอยาก ความรักตัวหวงตัว เกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมชาติอย่างนั้นมันเป็นสิ่งสกปรกที่จะบั่นทอนจิตของท่านให้ตกต่ำและเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    47.พอมีเวลาว่าง จงน้อมจิตเข้าสู่สมาธิอันสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ แม้จะทำครั้งละ 5 นาที สมาธิที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตได้เช่นเดียวกัน และจะเพิ่มปริมาณความสงบสะอาดของมันขึ้นเรื่อยไป จิตของท่านก็จะมั่นคงแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นไป<o:p></o:p>
    48.จงอย่าคิดว่า ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติควบคุมจิตของตัวเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะความคิดอย่างนั้นมันเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย<o:p></o:p>
    49.เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ 1 - 2 กลับไปกลับมาพร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า นี่มันคืออะไร? ทำอย่างไรเราจึงจะไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน? เราควรจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้อย่างถูกต้องที่สุด?<o:p></o:p>
    50.การทำอย่างนี้จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง และท่านจะเกิดความคิดที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง<o:p></o:p>
    51.หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวาง อย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    52.พอถึงเวลาก็นั่งสมาธิอีก<o:p></o:p>
    53.พอออกจากสมาธิก็ตามดูจิต และทำจิตให้ปล่อยวางเรื่อยไป<o:p></o:p>
    54.จงมองเห็นความไม่เที่ยงของทุกสิ่งอยู่เป็นประจำ<o:p></o:p>
    55.จงยอมรับการเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน<o:p></o:p>
    56.นี่คือการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก<o:p></o:p>
    57.จงคิดเสมอว่า ชีวิตท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และความพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาท คือ อย่ามัวเมาสนุกสนานอยู่ในโลก โดยไม่มองหาทางหลุดรอดให้กับตัวเอง เพราะความประมาทอย่างนั้น มันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึงสติปัญญาความหลุดพ้น<o:p></o:p>
    58.ความหลุดพ้นทางจิต คือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม<o:p></o:p>
    59.ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้เรียกกันว่า " การปฏิบัติธรรม " นั่นเอง<o:p></o:p>
    60.ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย<o:p></o:p>
    61.อย่าเชื่อง่ายจนเกินไปอย่าคิดว่าใครพูดอย่างไรก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ๆ จึงจะถูก ธรรมะของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่า จิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจ ฯลฯ อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้<o:p></o:p>
    62.แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันวางได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละจึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริงๆ จากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น<o:p></o:p>
    63.จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วกำลังความมั่นคงและความสงบของจิตก็จะเกิดขึ้น<o:p></o:p>
    64.การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับหรือกำหนดอะไรสักอย่างหนึ่ง อยู่อย่างต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง<o:p></o:p>
    65.การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด<o:p></o:p>
    66.จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและฉลาด ให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน<o:p></o:p>
    67.จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะละลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ทานอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    68.อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด<o:p></o:p>
    69.มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่นมันไว้ในใจ<o:p></o:p>
    70.จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะความทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่านหรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม<o:p></o:p>
    71.จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้วถูกต้องแล้ว มันก็ดีแล้วและถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด และทำให้ทุกสิ่งถูกต้องที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง<o:p></o:p>
    72.จงพยายามเข้าหาครูบาอาจารย์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะที่เป็นเช่นนั้น จะช่วยให้ท่านได้สติปัญญาและรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้อง<o:p></o:p>
    73.อย่าลืมหลักปฏิบัติที่ว่า หยุดคิดให้จิตสงบ แล้วจากนั้นจึงคิดอย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    74.อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่านเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาก็จะเป็นทุกข์เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา<o:p></o:p>
    75.จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้จะช่วยให้จิตของท่านสะอาดและมีความพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด<o:p></o:p>
    76.จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้ สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา<o:p></o:p>
    77.จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น<o:p></o:p>
    78.การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะกับดวงวิญญาณต่างๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น<o:p></o:p>
    79.อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงานและแสวงหาอะไรๆ ที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง<o:p></o:p>
    80.ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไรๆ สมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยากนั่นแหละที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่งคือวันที่สิ่งนั้นมันหายไปจากท่าน<o:p></o:p>
    81.แต่ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละ อย่างนี้เรื่อยไป<o:p></o:p>
    82.ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป<o:p></o:p>
    83.จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำกิจการงานใดๆ อยู่ก็ตาม<o:p></o:p>
    84.สมาธิเปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก<o:p></o:p>
    85.เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฎขึ้นมาในจิตทันที<o:p></o:p>
    86.จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย ท่านจึงจะเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้<o:p></o:p>
    87.ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้นคือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกไปจากความทุกข์ได้<o:p></o:p>
    88.การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไรๆตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมา ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย<o:p></o:p>
    89.อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไรๆ มาตามที่ปรารถนา แต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่งมันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้จะเป็นอะไรเลย<o:p></o:p>
    90.เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร ก็จงใช้สติคิดดูว่าทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน<o:p></o:p>
    91.ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้อะไรๆเหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้นๆ ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือมันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุกๆกรณี<o:p></o:p>
    92.ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อจะเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก<o:p></o:p>
    93.เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่งทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่คนทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่าท่านชนะมัน<o:p></o:p>
    94.เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย<o:p></o:p>
    95.เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือสภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้ว ท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย<o:p></o:p>
    96.เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา<o:p></o:p>
    97.จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมันด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    98.จงเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจอยู่ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    99.จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและความไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท่านต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีก็ได้ถึงที่สุด<o:p></o:p>
    100.ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบ และเพ่งให้เห็นความสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบและเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้<o:p></o:p>
    101.ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย<o:p></o:p>
    102.เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่จะเอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ นับ 1-2 ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ<o:p></o:p>
    103.เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิต สิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย<o:p></o:p>
    104.จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้วจงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลาแล้วจงออกมาสู้กับปัญหา อย่างนี้เรื่อยไป<o:p></o:p>
    105.จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด ในสักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก<o:p></o:p>
    ..................................................................................................................................................................................................................................<o:p></o:p>
    จากหนังสือธรรมะเรื่อง คู่มือการปฏิบัติธรรม งานเขียนของ หลวงพ่ออิสระมุนี แห่ง สำนักธรรมวิหารี ห้วยสัตว์ใหญ่ ตู้ ปณ.40 ปทจ.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทร (032)429300 แฟกซ์ (032)513013 มือถือ (01)9064119<o:p></o:p>
    มีความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเวปนี้ เมลมาได้ที่ dham8@yahoo.com นะครับ<o:p></o:p>
    ขอขอบคุณ คุณประสิทธิ์ - คุณเยาวพาณี เจียรไนสกุล ผู้พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการ และอนุญาตให้นำขึ้นเวปไซต์นี้ครับ<o:p></o:p>
    หากท่านใดเห็นด้วยกับข้อความด้านล่าง จะช่วยเผยแพร่เวปนี้โดยเมลไปบอกเพื่อนๆของคุณ ก็จะเป็นกุศลนะครับ<o:p></o:p>
    สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง
     
  14. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    คู่มือการปฏิบัติธรรม ฉบับดับทุกข์ อิสระมุนี<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    1.จงประพฤติศีล 5 ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด ไม่ขโมยสิ่งของๆใคร ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไม่ดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา <o:p></o:p>
    2.แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควรสำหรับผู้ที่เป็นฆราวาส และมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบ<o:p></o:p>
    3.ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวม อย่าเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา<o:p></o:p>
    4.วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่ จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือเทวดา อินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมจะไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น <o:p></o:p>
    5.พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก โดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 อย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้าๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันก็จะหยุดนับของมันเอง<o:p></o:p>
    6.หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่า พุท หายใจออกกำหนดว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นเพียงอุบายที่จะทำให้จิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น<o:p></o:p>
    7.แต่ในการฝึกแรกๆนั้น ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่างๆแทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรกๆมันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก 15 นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับ หรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เองของมัน<o:p></o:p>
    8.การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวันๆละ 2-3ครั้ง แรกๆให้ทำครั้งละ 15 นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ปรารถนา<o:p></o:p>
    9.ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบเย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับใหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือสัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต<o:p></o:p>
    10.เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่างๆต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใดๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ<o:p></o:p>
    11.จงยกเอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานี้มันมาจากไหน? มันเกิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะอะไรท่านจึงหนักใจกับมัน? ทำอย่างไรที่ท่านจะสามารถแก้ไขมันได้? ทำอย่างไรท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน?<o:p></o:p>
    12.การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่านมันจะค่อยๆรู้เห็น และเกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่างๆได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว<o:p></o:p>
    13.ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้น หลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตนเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืนอะไรเพียงไหน? ท่านจะได้อะไรจากชีวิตคือร่างกายและจิตใจนี้? ท่านจะอยู่ไปในโลกนี้นานเท่าไหร่? เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร? ให้พยายามถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    14.หรือท่านอาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเองเท่าที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนรวมหรือไม่? หรือท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง? และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูดจะทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของชีวิตของท่านเอง <o:p></o:p>
    15.จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือท่านจะฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลัง และมั่นคง สภาวจิตเช่นนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่างๆ หรือสิ่งต่างๆที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง<o:p></o:p>
    16.สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ " ปัญญา " นั่นเอง<o:p></o:p>
    17.จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น<o:p></o:p>
    18.ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบเสียก่อน จากนั้นจึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    19.ท่านจะต้องรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลายๆอย่างท่านไม่สามารถจะแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ตามสภาวะแวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือ ท่านจะต้องพยายามหาวิธีทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่าท่านทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ช่างมัน ปัญหามันจะหมดไปหรือไม่ก็ช่างมัน ท่านจะได้หรือจะเสียก็ช่างมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดีร้ายได้เสียมันก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน<o:p></o:p>
    20.ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เช่นเรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เพราะทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาในโลกก็ล้วนแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิดมาจากอำนาจของเทวดาฟ้าดิน ที่ไหนเลยมันเป็นของธรรมดาที่มีอยู่ในโลกอย่างนี้เอง<o:p></o:p>
    21.จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า "อนิจจตา" ซึ่งแปลว่า ความไม่เที่ยง สิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะความเป็นของไม่เที่ยงของมันนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดีร้ายได้เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่านรู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย<o:p></o:p>
    22.จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " ทุกขตา" ซึ่งแปลว่า ความเป็นทุกข์ จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้กำลังประสบอยู่<o:p></o:p>
    23.จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " อนัตตตา " ซึ่งแปลว่าความไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา หรือความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร ข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น หมายความว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะมีอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นานก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้ตลอดไป ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนถาวรของมันจึงไม่มี ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย<o:p></o:p>
    24.เมื่อทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวรเช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหลอยากได้อยากเป็นอะไรในมันให้มากเรื่องไปโดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า?<o:p></o:p>
    25.ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก ต้องกำหนดจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ 2 จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบ<o:p></o:p>
    26.พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่ง ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น<o:p></o:p>
    27.จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดีที่ถูกใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจหรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น<o:p></o:p>
    28.จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายาม รักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากได้อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาจิตให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ และสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้จะทำให้จิตใจของท่านสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อนได้เป็นอย่างดีที่สุด <o:p></o:p>
    29.จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกมาจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็จะรักษาจิตให้สะอาดผ่องใสและไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่างๆมาไว้ในใจให้หนักใจเปล่าๆเลย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา<o:p></o:p>
    30.จะคิดเรื่องอะไรก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้พวกเขาได้รับความสุขสงบในชีวิต คิดเพื่อที่จะทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด คิดจะทำให้ตัวเองและคนอื่นสัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    31.จงจำไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์ได้ นอกจากความคิดผิดของท่านเอง ถ้าท่านคิดผิด ท่านก็จะเป็นทุกข์ ถ้าท่านคิดถูก ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    32.จงอย่าเชื่อถือสิ่งงมงายไร้เหตุผล เช่น เมื่อมีความทุกข์ หรือเกิดเรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนาขึ้น ก็ไปบนเจ้าที่เจ้าทาง ไปไหว้จอมปลวก ไหว้ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ปรารถนาจะให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านหลงผิดคิดว่ามีอยู่ในสถานที่เหล่านั้น มาช่วยท่านให้พ้นทุกข์อย่างนี้เป็นต้น นี่คือความงมงาย จงละเลิกมันเสีย เพราะมันจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองทรัพย์สินและเวลาโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น<o:p></o:p>
    33.จงรู้ความจริงว่า เรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจนี้เป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีอยู่ในโลกนี้ บางทีท่านก็ได้ตามที่ปรารถนา แต่บางทีก็ไม่ได้ตามที่ปรารถนา มันเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้เอง อย่าตื่นเต้นดีใจหรือเสียใจไปกับมัน<o:p></o:p>
    34.ตลอดเวลาที่ท่านกำลังทำกิจการงานอะไรอยู่ จงน้อมจิตให้มองเห็นความสงบที่ท่านเคยพบในการฝึกสมาธิและจงมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก จงแยกมันให้ออกว่า สิ่งหนึ่งคือจิตอันสงบของท่าน ส่วนอีกสิ่งหนึ่งคือความปรุงแต่งวุ่นวายของโลก สิ่งทั้ง 2 นี้มันแยกกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน<o:p></o:p>
    35.ถ้าท่านไม่มองหาความสงบ แต่หันไปอยากได้อยากดีกับสิ่งภายนอก จิตของท่านก็จะสับสนวุ่นวายและเป็นทุกข์ แต่ถ้าท่านมองเห็นความสงบของจิต และควบคุมจิตไม่ให้เกิดความอยากความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอขึ้นมาแล้ว จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ที่ใดก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวยหรือยากจนสักเพียงใดก็ตาม แต่จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการฝึกจิตด้วยวิธีการนี้<o:p></o:p>
    36.จงใช้ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งปัญญานั้น หมายถึงความมีสติที่รู้จักประคับประคองจิตให้สะอาดอยู่เสมอ รู้จักทำจิตให้ปล่อยวาง ทำจิตให้โปร่งเบา รู้เท่าทันว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าผิดท่านจะไม่ทำไม่พูด ถ้าถูกท่านจึงจะทำจะพูด และรู้จักพิจารณาว่าหน้าที่ที่ท่านจะทำกับสิ่งนั้นๆคืออะไร แล้วก็ทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด พยายามแก้ปัญหานั้นให้สงบไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมและถูกต้องที่สุด โดยไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้จะทำให้ปัญญาของท่านคมชัด และจะไม่มีความทุกข์อยู่ในจิตเลย<o:p></o:p>
    37.ท่านต้องรู้ว่า คนส่วนมากในโลกนี้เขามีกิเลส คือความโลภ โกรธและหลง ดังนั้นบางทีเขาก็คิดถูกและทำถูก แต่บางทีก็คิดผิดและทำผิด บางทีก็โง่ บางทีก็ฉลาด เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องให้อภัยเขา ค่อยๆพูดกับเขา ไม่ด่าว่ารุนแรงกับเขา ท่านจะต้องใช้ปัญญาของท่านเข้าไปสอนเขา ไปชักจูงเขาให้เดินในทางที่ถูก นี่คือหน้าที่ของผู้มีปัญญาที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนโง่ที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ผลที่จะได้รับก็คือ ท่านจะเป็นคนที่มีจิตใจเยือกเย็นและน่าเคารพกราบไหว้ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านจะไม่เป็นทุกข์ร้อนเลย แม้ว่าจะพบเห็นหรือเกี่ยวข้องกับคนมากมายหลายประเภทในโลกนี้อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    38.การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ในตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิอย่างนี้ คือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นสูงสุดแล้วก็คือความรู้จักปล่อยวาง ไม่แบกหามภาระใดๆมาไว้ในใจจนนอนไม่หลับและเป็นทุกข์นั่นเอง<o:p></o:p>
    39.จงจำไว้ว่า การฝึกสมาธินั้น แท้จริงแล้วท่านทำเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นเองที่จะเป็นตัวทำลายความทุกข์ทางใจให้หมดสิ้นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่ การอ้อนวอนอธิษฐานเอาอะไรๆตามใจตัวเอง<o:p></o:p>
    40.จงตั้งใจไว้ว่า ถ้าจะรู้สึกเป็นทุกข์หงุดหงิดเมื่อไร ท่านจะสลัดมันทิ้งเมื่อนั้น ท่านจะไม่เอาอารมณ์นั้นมาไว้ในใจ ถ้าท่านสลัดอารมณ์ไม่ดีให้หลุดไปได้เมื่อไร ท่านก็จะรู้แจ้งธรรมะเมื่อนั้น ท่านจะหมดทุกข์เมื่อนั้น ท่านจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของท่าน ในนาทีที่ท่านสลัดอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายออกไปจากใจได้<o:p></o:p>
    41.ในตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จงอย่าคิดอยากจะหายจากโรคนั้น แต่จงคิดว่า ท่านจะรักษาโรคไปตามเรื่องของมัน บางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านไม่เป็นโรคนี้ท่านก็ต้องตายอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเสียใจหรือหวาดกลัวต่อโรคนั้น<o:p></o:p>
    42.จงตามดูความรู้สึกภายในจิตอยู่เสมอ ถ้าจะวิตกกังวลให้ตัดทิ้งเลย ถ้าจะหงุดหงิดตัดทิ้งเลย ถ้าจะห่วงอะไรก็ตัดทิ้งไปเลย ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอ ปัญญาของท่านก็จะสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ในจิต นี่แหละคือทรัพย์อันประเสริฐสุดในชีวิตของท่าน และสิ่งเลวร้ายต่างๆก็จะสลายตัวไปเองในที่สุด<o:p></o:p>
    43.ปัญหาที่ทำให้ท่านหนักใจเป็นทุกข์ จะไม่เกิดขึ้นในจิต ถ้าท่านทำจิตให้สลัดอารมณ์ดีร้ายเหล่านั้น อยู่เช่นนี้เสมอ<o:p></o:p>
    44.สมาธิก็จะมั่นคงต่อเนื่องอยู่ในจิต แม้ท่านจะกำลังเดินเหินไปมาหรือทำการงานทุกอย่างอยู่ ถ้าหากว่าท่านพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้ สมาธิก็จะมั่นคงยิ่งขึ้น<o:p></o:p>
    45.อย่าคิดจะให้สิ่งต่างๆ มันเป็นไปตามใจของท่านหมด แต่จงคิดว่า มันจะเกิดเรื่องดีร้ายอย่างไรก็ให้มันเกิด ท่านจะพยายามหาทางแก้ไขมันไปตามความสามารถ แก้ได้ก็เอา แก้ไม่ได้ก็เอา เรื่องดีก็ทิ้ง เรื่องร้ายก็ทิ้ง สุขก็ทิ้ง ทุกข์ก็ทิ้ง แล้วจิตของท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์เลย<o:p></o:p>
    46.ท่านจงอย่าปล่อยให้ความอยาก ความรักตัวหวงตัว เกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมชาติอย่างนั้นมันเป็นสิ่งสกปรกที่จะบั่นทอนจิตของท่านให้ตกต่ำและเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    47.พอมีเวลาว่าง จงน้อมจิตเข้าสู่สมาธิอันสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ แม้จะทำครั้งละ 5 นาที สมาธิที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตได้เช่นเดียวกัน และจะเพิ่มปริมาณความสงบสะอาดของมันขึ้นเรื่อยไป จิตของท่านก็จะมั่นคงแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นไป<o:p></o:p>
    48.จงอย่าคิดว่า ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติควบคุมจิตของตัวเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะความคิดอย่างนั้นมันเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย<o:p></o:p>
    49.เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ 1 - 2 กลับไปกลับมาพร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า นี่มันคืออะไร? ทำอย่างไรเราจึงจะไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน? เราควรจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้อย่างถูกต้องที่สุด?<o:p></o:p>
    50.การทำอย่างนี้จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง และท่านจะเกิดความคิดที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง<o:p></o:p>
    51.หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวาง อย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    52.พอถึงเวลาก็นั่งสมาธิอีก<o:p></o:p>
    53.พอออกจากสมาธิก็ตามดูจิต และทำจิตให้ปล่อยวางเรื่อยไป<o:p></o:p>
    54.จงมองเห็นความไม่เที่ยงของทุกสิ่งอยู่เป็นประจำ<o:p></o:p>
    55.จงยอมรับการเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน<o:p></o:p>
    56.นี่คือการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก<o:p></o:p>
    57.จงคิดเสมอว่า ชีวิตท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และความพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาท คือ อย่ามัวเมาสนุกสนานอยู่ในโลก โดยไม่มองหาทางหลุดรอดให้กับตัวเอง เพราะความประมาทอย่างนั้น มันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึงสติปัญญาความหลุดพ้น<o:p></o:p>
    58.ความหลุดพ้นทางจิต คือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม<o:p></o:p>
    59.ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้เรียกกันว่า " การปฏิบัติธรรม " นั่นเอง<o:p></o:p>
    60.ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย<o:p></o:p>
    61.อย่าเชื่อง่ายจนเกินไปอย่าคิดว่าใครพูดอย่างไรก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ๆ จึงจะถูก ธรรมะของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่า จิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจ ฯลฯ อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็นของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้<o:p></o:p>
    62.แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันวางได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละจึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริงๆ จากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น<o:p></o:p>
    63.จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วกำลังความมั่นคงและความสงบของจิตก็จะเกิดขึ้น<o:p></o:p>
    64.การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับหรือกำหนดอะไรสักอย่างหนึ่ง อยู่อย่างต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง<o:p></o:p>
    65.การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด<o:p></o:p>
    66.จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและฉลาด ให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตให้ปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน<o:p></o:p>
    67.จงทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะละลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ทานอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    68.อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด<o:p></o:p>
    69.มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่นมันไว้ในใจ<o:p></o:p>
    70.จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะความทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่านหรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม<o:p></o:p>
    71.จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้วถูกต้องแล้ว มันก็ดีแล้วและถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด และทำให้ทุกสิ่งถูกต้องที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง<o:p></o:p>
    72.จงพยายามเข้าหาครูบาอาจารย์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะที่เป็นเช่นนั้น จะช่วยให้ท่านได้สติปัญญาและรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้อง<o:p></o:p>
    73.อย่าลืมหลักปฏิบัติที่ว่า หยุดคิดให้จิตสงบ แล้วจากนั้นจึงคิดอย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    74.อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่านเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาก็จะเป็นทุกข์เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา<o:p></o:p>
    75.จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้จะช่วยให้จิตของท่านสะอาดและมีความพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด<o:p></o:p>
    76.จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้ สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา<o:p></o:p>
    77.จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น<o:p></o:p>
    78.การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะกับดวงวิญญาณต่างๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น<o:p></o:p>
    79.อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงานและแสวงหาอะไรๆ ที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง<o:p></o:p>
    80.ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไรๆ สมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยากนั่นแหละที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่งคือวันที่สิ่งนั้นมันหายไปจากท่าน<o:p></o:p>
    81.แต่ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละ อย่างนี้เรื่อยไป<o:p></o:p>
    82.ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป<o:p></o:p>
    83.จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำกิจการงานใดๆ อยู่ก็ตาม<o:p></o:p>
    84.สมาธิเปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก<o:p></o:p>
    85.เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฎขึ้นมาในจิตทันที<o:p></o:p>
    86.จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย ท่านจึงจะเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้<o:p></o:p>
    87.ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้นคือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกไปจากความทุกข์ได้<o:p></o:p>
    88.การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไรๆตามที่ท่านปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมา ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย<o:p></o:p>
    89.อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไรๆ มาตามที่ปรารถนา แต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่งมันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้จะเป็นอะไรเลย<o:p></o:p>
    90.เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร ก็จงใช้สติคิดดูว่าทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน<o:p></o:p>
    91.ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้อะไรๆเหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้นๆ ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือมันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุกๆกรณี<o:p></o:p>
    92.ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อจะเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก<o:p></o:p>
    93.เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่งทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่คนทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่าท่านชนะมัน<o:p></o:p>
    94.เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย<o:p></o:p>
    95.เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือสภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้ว ท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย<o:p></o:p>
    96.เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา<o:p></o:p>
    97.จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมันด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    98.จงเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจอยู่ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ<o:p></o:p>
    99.จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและความไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท่านต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีก็ได้ถึงที่สุด<o:p></o:p>
    100.ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบ และเพ่งให้เห็นความสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบและเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้<o:p></o:p>
    101.ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย<o:p></o:p>
    102.เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่จะเอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ นับ 1-2 ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ<o:p></o:p>
    103.เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิต สิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย<o:p></o:p>
    104.จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้วจงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลาแล้วจงออกมาสู้กับปัญหา อย่างนี้เรื่อยไป<o:p></o:p>
    105.จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด ในสักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก<o:p></o:p>
    ..................................................................................................................................................................................................................................<o:p></o:p>
    จากหนังสือธรรมะเรื่อง คู่มือการปฏิบัติธรรม งานเขียนของ หลวงพ่ออิสระมุนี แห่ง สำนักธรรมวิหารี ห้วยสัตว์ใหญ่ ตู้ ปณ.40 ปทจ.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทร (032)429300 แฟกซ์ (032)513013 มือถือ (01)9064119<o:p></o:p>
    มีความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเวปนี้ เมลมาได้ที่ dham8@yahoo.com นะครับ<o:p></o:p>
    ขอขอบคุณ คุณประสิทธิ์ - คุณเยาวพาณี เจียรไนสกุล ผู้พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการ และอนุญาตให้นำขึ้นเวปไซต์นี้ครับ<o:p></o:p>
    หากท่านใดเห็นด้วยกับข้อความด้านล่าง จะช่วยเผยแพร่เวปนี้โดยเมลไปบอกเพื่อนๆของคุณ ก็จะเป็นกุศลนะครับ<o:p></o:p>
    สัพพะทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง
     
  15. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,444
    ขอบคุณครับคุณ99919991 มากครับ ที่นำมาเสนอ ได้ข้อคิดและเอาไปปฏิบัติได้ดีมากเลย
     
  16. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ตอนนี้เราทรมานมากเลย..ทุรนทุราย
     
  17. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ตอนนี้เราทรมานทุรนทุรายมากเลย
     
  18. สุวรรณา รัตนกิจเกษม

    สุวรรณา รัตนกิจเกษม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +772
    ท่านผู้รู้บอกกับเราและชี้ให้เราเห็นกรรมที่เคยทำไว้....เราเคยทำร้ายจิตใจผู้ที่มีพระคุณของเรา ผู้ที่เค้าดีต่อเรา...ด้วยความจริงใจ..มาก่อน..ทำให้ตอนนี้มีผลกรรมเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมมาตามสนอง...ทำให้สภาพจิตใจของเราย่ำแย่ทุกวัน ๆ ๆ ๆ เราเจอเหตุการณ์ร้าย ๆ ทุกวัน ๆ ๆเหมือนตกอยู่ในนรก...เลย..แต่ละวันไม่เคยมีความสุข ...อยู่บ้านก็คนมาให้ร้าย ..ไปทำงาน ก็มีคนมาให้ร้าย ไปที่ไหน ก็เจอ ..แม้แต่ญาติหรือเพื่อนสนิท ที่เคยดีต่อกัน ก็เข้าใจเราผิด คิดร้ายและ ให้ร้ายเรา ทำเจอแต่ความเสียใจทุกวัน ๆ ๆ ทุกวันนี้เราได้แต่รอให้กรรมนี้หมดไป และเราพยายามสร้างกุศลผลบุญให้มากที่สุด เพื่ออนาคตชีวิตจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง...(แต่พอเราจะทำบุญ เข้าวัด พ่อแม่ก็คิดว่าเรางมงาย ...เราร้องไห้และพยายามจะทำบุญให้ได้เพราะเห็นถึงความชั่วร้ายของเราเองที่เคยทำคนอื่นไว้...ได้รับผลกรรมชั่วแล้ว..ก็อยากทำดีเพื่อได้รับผลกรรมดีบ้าง..เราไม่อยากเป็นคนไม่ดี เราอยากจะทำแต่สิ่งที่ดีเพื่ออนาคตในวันข้างหน้าจะได้ดีขึ้น)...ผลกรรมที่เราทำขึ้นนั้น ...ก็คือการละเมิดศีล 5 นั่นแหละ ...ข้อที่บอกว่า การโกหก สมัยก่อนเราเป็นคนอารมณ์ร้ายพูดจาไม่ดีทำให้คนอื่นเสียใจทำร้ายจิตใจคนที่เขาจริงใจต่อเราและเราทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์มากมายเพราะว่าเราเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเราเองด้วย...(ผลกรรมที่ย้อนกลับมาทำให้เราทรมานมาก..นอนทุรนทุราย น้ำตาไหล กลุ้มใจ คลุ้มคลั่ง กรีดร้อง เสียใจ..ทำให้เราเกือบคิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง) ตอนนี้เราพยายาม ทำแต่ความดี รักษาศีล 5 และพยายามไม่โกรธใคร พยายามไม่ทำร้ายใคร ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะเราไม่อยากสร้างกรรมชั่วและรับกรรมชั่วของตัวเองอีกแล้ว
    <!-- / message -->
     
  19. Lovermoon

    Lovermoon สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ตามกรรมค่ะ
     
  20. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,291
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    เป็นเพราะ เราคงไ่ม่ได้เกิดมาคู่กันนะครับ คนเราถ้าจะคู่กันเเล้ว ยังไงก็ไม่คลาดเเคล้วกันเเน่นอน ทําใจเหอะครับ ดีที่สุด เก็บความรักไว้ให้พ่อเเม่เราดีที่สุดครับ สบายใจสุดๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...