10 สุดยอดการค้นพบ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกแห่งปี 2007

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 12 มิถุนายน 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>10 สุดยอดการค้นพบ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกแห่งปี 2007</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>12 มิถุนายน 2551 06:48 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>"กิ้งกือมังกรสีชมพู" สร้างชื่อให้ประเทศไทยด้วยการติดอันดับ 1 ใน 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกแห่งปี 2550 แต่สิ่งมีชีวิตใหม่อีก 9 ชนิด ก็สร้างความตื่นเต้นฮือฮาให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ไม่แพ้กัน ส่วนจะมีชนิดไหนบ้างและน่าตื่นเต้นมากน้อยเพียงใด ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จะนำพาไปรู้จักกันเดี๋ยวนี้เลย

    สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตท (Arizona State University) สหรัฐอเมริกา จัดอันดับ 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่แห่งปี 2550 และประกาศรายชื่อสิ่งมีชีวิตใหม่ทั้ง 10 ชนิดไปแล้วเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ซึ่งมีกิ้งกือมังกรสีชมพู เป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าป้ายติดโผกับเขาด้วยในอันดับที่ 3

    ส่วนอันดับอื่นๆ มีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันต่อได้เลย


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ปลากระเบนไฟฟ้า อิเล็กทรอลักซ์ แอดดิโซนิ (Electrolux addisoni)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 1 ปลากระเบนไฟฟ้า (electric ray)

    ปลากระเบนไฟฟ้าชนิดนี้เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ในวงศ์นาร์คิดี (Narkidae) พบบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อิเล็กทรอลักซ์ แอดดิโซนิ (Electrolux addisoni) ซึ่งอิเล็กทรอลักซ์นั้นมาจากชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนชื่อสามัญเรียกว่าออร์เนท สลีพเพอร์ เรย์ (Ornate sleeper ray) ด้วยลักษณะพิเศษที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้และชื่อเรียกที่น่ารักน่าขัน ทำให้มันขึ้นแท่นอันดับ 1 ของ 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในโลกประจำปี 2550 ซึ่งการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าชนิดนี้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความหลากหลายของปลาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกได้ว่ามากน้อยเพียงใด


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ฟอสซิลส่วนหัวของไดโนเสาร์ปากเป็ด ไกรโพซอรัส โมนูเมนท์เอนซิส (Gryposaurus monumentensis)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 2 ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ด (Duck-billed Dinosaur) อายุ 75 ล้านปี

    ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดนี้ถูกค้นพบโดยทีมนักบรรพชีวินวิทยาของพิพิธภัณฑ์แอลฟ์ (Alf Museum) ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า ไกรโพซอรัส โมนูเมนท์เอนซิส (Gryposaurus monumentensis) นับได้ว่าเป็นฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ และคาดว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในแหล่งขุดข้นฟอสซิลบริเวณที่ราบทางตอนใต้ในรัฐยูทาห์ (Kaiparowits Plateau) เมื่อ 75 ล้านปีก่อน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>กิ้งกือมังกรสีชมพู หรือ เดสโมไซเตส เพอร์พิวโรเซีย (Desmoxytes purpurosea)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 3 กิ้งกือมังกรสีชมพู (Shocking pink dragon millipede)

    กิ้งกือมังกรสีชมพูมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดสโมไซเตส เพอร์พิวโรเซีย (Desmoxytes purpurosea) ลักษณะรูปร่างสวยงามแปลกประหลาด มีสีชมพูสดใสตลอดทั้งตัว มีหนามแหลมคล้ายมังกร และสามารถปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมาป้องกันไม่ให้ศัตรูทำร้ายได้ พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก มีตัวอย่างจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเดนมาร์ก มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Natural History Museum of Denmark, University of Copenhagen)


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>กบหายากชนิด ฟิลอตัส ไมอา (Philautus maia)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 4 กบหายากของศรีลังกา

    กบชนิดนี้เป็นกบหายากที่พบในประเทศศรีลังกา ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า ฟิลอตัส ไมอา (Philautus maia) โดยก่อนหน้านี้เชื่อว่ากบดังกล่าวได้สูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบัน แต่เมื่อมีการค้นพบกบชนิดนี้อีกครั้งจึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศศรีลังกา ซึ่งกบดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับตัวอย่างกบที่เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2403 และต่อมาไม่เคยมีใครพบเห็นอีกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะไม่ค่อยมีใครรู้จัก


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>งูไทปันชนิด ออกไซอุรานัส เทมโพราลิส (Oxyuranus temporalis)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 5 งูไทปันชนิดใหม่ (Central Ranges Taipan) หนึ่งในงูที่มีพิษร้ายมากที่สุดในโลก

    งูชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ออกไซอุรานัส เทมโพราลิส (Oxyuranus temporalis) พบในประเทศออสเตรเลีย อาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในงูชนิดที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลก และเป็นญาติใกล้ชิดกับงูไทปันโพ้นทะเล (inland taipan) และงูไทปันชายฝั่ง (coastal taipan) ที่เป็นงูมีพิษร้ายแรงมากที่สุดอันดับ 1 และ 3 ของโลก ซึ่งการค้นพบงูชนิดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดประเภทสิ่งมีชีวิตที่มีพิษรุนแรงเพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยที่ถูกพิษจากสัตว์เหล่านี้


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ค้างคาวผลไม้ชนิด สไตลอคทีเนียม มินโดเรนซิส (Styloctenium mindorensis)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 6 ค้างคาวผลไม้ (Mindoro stripe-faced fruit bat)

    ค้างคาวผลไม้ชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สไตลอคทีเนียม มินโดเรนซิส (Styloctenium mindorensis) พบบนเกาะมินโดโร (Mindoro) ประเทศฟิลิปปินส์แห่งเดียวเท่านั้น และเป็นค้างคาวชนิดที่ 2 ในสกุลสไตลอคทีเนียม โดยชนิดแรกนั้นพบอยู่บนเกาะสุลาเวสี อินโดนีเซีย ค้างคาวผลไม้ชนิดนี้จัดเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของค้างคาวลดน้อยลง และยังถูกล่าจากมนุษย์ แต่การค้นพบค้างคาวชนิดใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพฤติกรรมและการกระจายพันธุ์ของค้างคาวบนเกาะมินโดโรเพื่อหาวิธีอนุรักษ์ต่อไป


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เห็ดเซอโรโคมัส ซิลวูดเอนซิส (Xerocomus silwoodensis)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 7 เห็ดเซอโรโคมัส ซิลวูดเอนซิส

    เซอโรโคมัส ซิลวูดเอนซิส (Xerocomus silwoodensis) เป็นเห็ดชนิดใหม่ที่พบอยู่ในซิลวูดแคมปัส (Silwood Campus) ในอิมพีเรียลคอลเลจ (Imperial College) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่ก็ยังพบในบริเวณอื่นของอังกฤษอีก 2 แห่ง รวมทั้งในสเปนและอิตาลีอีกอย่างละหนึ่งแห่ง การค้นพบนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อการศึกษาชนิดของพืชพรรณต่างๆ ในบริเวณนั้น และสถานภาพของเห็ดชนิดนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แมงกะพรุนกล่องชนิด มาโล คิงกิ (Malo kingi)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 8 - แมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish)

    แมงกะพรุนชนิดใหม่นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแมงกะพรุนอิรุคันจิ (irukandji jellyfish) เป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่ 2 ของในสกุลมาโล (Malo) ซึ่งมีพิษรุนแรงมาก ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า มาโล คิงกิ (Malo kingi) โดยตั้งตามชื่อของโรเบิร์ต คิง (Robert King) นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกพิษของแมงกะพรุนชนิดนี้ขณะเล่นน้ำทะเลอยู่ทางตอนเหนือของควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย การตายของคิงทำให้เกิดการตื่นตัวและหาวิธีการจัดการแมงกะพรุนชนิดดังกล่าวเพื่อความปลอดภัยของประชาชน


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ด้วงแรด เมกาซีราส ไบรอันซาลตินี (Megaceras briansaltini)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 9 ด้วงแรด (Rhinoceros beetle)

    ที่มาของชื่อด้วงแรดมาจากลักษณะของเขาที่โค้งงอเหนือศีรษะของด้วงที่มองดูคล้ายกับนอของแรด ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า เมกาซีราส ไบรอันซาลตินี (Megaceras briansaltini) พบในประเทศเปรู ซึ่งลักษณะโดดเด่นแปลกประหลาดของด้วงแรดนี้ยังไปคล้ายคลึงกับด้วงแรดสีฟ้าในภาพยนตร์เรื่อง อะ บักส์ ไลฟ์ (A Bug's Life) อีกด้วย


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ต้นมิชลินแมน (Michelin Man™ Plant)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อันดับ 10 ต้นมิชลินแมน (Michelin Man™ Plant)

    พืชชนิดใหม่รูปร่างประหลาด มีข้อปล้องพองๆ มองดูคล้ายกับมิชลินแมน (Michelin Man™) ตัวการ์ตูนที่เป็นพรีเซนเตอร์ของยางมิชลิน เลยถูกตั้งชื่อให้ว่าต้นมิชลินแมน ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า เทคติคอร์เนีย ไบเบนดา (Tecticornia bibenda) พืชชนิดนี้ถูกค้นพบทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลียร่วมกับพืชชนิดใหม่อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 298 ชนิด

    (หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพประกอบจาก International Institute for Species Exploration: IISE)


    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000068649




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. โปเต้ผู้ใฝ่ธรรม

    โปเต้ผู้ใฝ่ธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +573
    IMPOSSIBLE!!
     
  3. อุดรเทวะ

    อุดรเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,925
    ค่าพลัง:
    +130
    สัตว์แปลกๆทั้งนั้นเลยครับ ผมคิดว่ายังมีหลงเหลืออีกเยอะครับ เพราะการใช้ชีวิตของสัตว์แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน บางตัวออกหากินตอนกลางคืนแถมตัวเล็กอยู่ในป่าลึกเห็นตัวยาก จะมีใครที่ไหนพบได้ง่ายๆ รักนวลสงวนตัวแบบนี้ยากครับ
     
  4. ศิวิไลซ์

    ศิวิไลซ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2007
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +737
    ตัวที่ 3 ของไทย หลายคนอาจนึกว่าเป็นตะขาบ แต่จริงๆ แล้วอยู่ในตระกูลเดียวกับกิ้งกือครับ
    โดยกิ้งกือจะต่างกับตะขาบโดย แต่ละปล้องของลำตัวจะมีขา 2 คู่ แต่ตะขาบจะมีคู่เดียว

    เคยเห็นตัวจริงมาแล้วครับ แต่สีไม่สดเท่าไหร่ คงยังไม่โตเต็มที่

    เดี๋ยวต้องไปค้นรุปมาแปะก่อนนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...