ผมเจริญมาถูกทางไหม?(ขอถามเป็นภาษาพูดนะครับ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย parasite_moll, 20 พฤษภาคม 2008.

  1. parasite_moll

    parasite_moll Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +79
    นั่ง ... สมาธิ พิจารณากาย มองไปที่จิต มองมันอยู่อย่างนั้น

    ทำงาน เดินไป-มา เกิดกิเลส ก็มองมันอีก ตามดูมัน พอตามดูมัน มันก็หลอกหลอนไม่ได้ (เท่าที่ตามดูทัน)

    ไอ้ที่ไม่ทัน มันก็ปรุงแต่งไปเรื่อย .... มีสติตามดูอีกที โห มันพาไปไกลนะเนี่ย

    ทีนี้พอกลับบ้าน มานั่งสมาธิ เอาล่ะสิครับ ฟุ้ง ... เป็นถนนทางลูกรังเลย

    ไม่เป็นไร จะฟุ้งก็ฟุ้งไป ข้าพเจ้าก็หน้าด้านตามดูไอ้ที่ฟุ้ง ๆ เนี่ยแหละ

    จากจิตที่ฟุ้ง ... กลายเป็นจิตที่สงบ แหม ... นั่งดูตั้งครึ่ง ชม. นึกว่าจะไม่สงบซะแล้ว

    อีกสักพัก มาใหม่ ทีนี้ความคิด ... ก็ไม่เป็นไร จะคิดก็คิดไป ก็ทำหน้าที่ตามดูจิตมันคิดอีกเหมือนเดิม

    ดูสักพัก มันก็เลิกคิด กลับมานิ่งสงบ อยู่กับกาย กับลมหายใจ

    ค่อยยังชั่วหน่อย ... แล้วก็มาถึงเวทนาเลยครับ ทีนี้ปวดขาแทบจะแยกเป็นชิ้น ๆ

    เอาล่ะ ไหน ๆ ก็ตามดูมาตั้งหลายอย่าง ดูมันปวดสักหน่อยจะเป็นไร?

    โอโฮ้ .... ปวดสุด ๆ พอกำหนดจิตกลับมาหาลมหายใจ เข้าสู่สมาธิแบบสมธะ

    เวทนาก็เบาบางลงบ้างเล็กน้อย ... แค่พอทนได้ สักพัก คราวนี้ปวดสุด ๆ

    ปวดจนไม่สามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิได้ ผมเริ่มสงสัยว่า ต้องทำยังไงต่อล่ะครับ?
     
  2. pom980095

    pom980095 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +181
    ดิฉัน ฝึกแบบ ยุบหนอ-พองหนอ สามารถตอบคุณได้บางเรื่อง การมองดูเวทนา ในตอนที่ฝึกใหม่ๆ จะติดมองเวทนาแบบเพ่ง (สมถะ) ยังไม่ใช่การตามรู้สภาวะธรรม มันจะปวดมากในช่วงแรก แล้วผ่อนจนหายปวด สักพักความปวดจะเกิดขึ้นมาใหม่ มันจะวนไป-มาแบบนี้แหละ จนถึงความปวดหนึ่งที่รุนแรงตามดูยังไงก็ไม่หายปวดสักที ถ้าอดทนยอมตามดูแบบตายเป็นตาย จะสามารถเข้าฌาณได้ที่จุดนี้ ดิฉันเข้าไปฌาณ 4 ได้ครั้งแรกด้วยวิธีนี้แหละ แต่ฌาณนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะอารมณ์แรกที่สัมผัสได้หลังจากปวดเป็นที่สุด คือ ความสุข สุขที่สุด คุณเคยได้ยินคนติดสุขในฌาณมั๊ย เพราะมันสุขมากจนทำให้คนละไปเจริญวิปัสสนาไม่ได้ แรกๆดิฉันก็อยากจะเข้าแต่ฌาณ 4 แต่พอไม่เห็นประโยชน์จึงละ ไปเจริญวิปัสสนาแทนใช้สมถะช่วยข่มกิเลิสและนิวรณ์แค่นั้นไม่จำเป็นต้องไปถึงฌาณ4 ตามรู้สภาวะธรรมเกิด- ดับแทน ถึงจุดนี้เวทนาจากความปวดจะไม่ค่อยมี มันจะเห็นรูปและนามชัด อย่างที่คนบอก กายปวด จิตไม่ได้ปวด แบบนั้น
     
  3. พระศุภศิษฏ์

    พระศุภศิษฏ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +98
    ถ้ามาถึงตรงเวทนาให้ดูต่อไป ถ้าทนไม่ให้อธิษฐานจิตถ้าจะตายก็ตายให้ถวายเป็นพุทธบูชา หรือถ้าอย่างนั้นให้พยามทำไปเช่นวั้นนี้ทำได้15 นาที พรุงนี้เกิดอีกให้ทนให้มากกว่าครั้งที่แล้ว ทำไปดูไปมาถูกทางก่อนจะรู้ธรรมที่สูงขึ้นต้องเห็นทุกข์เป็นข้อแรกในอริสัจ 4 แล้วจะเห็นเวทนาก็แค่เวทนาพอผ่านแล้วจะนั่งครั้งต่อไปจะไม่ปวดแน่นอน
    อนุโมทนา เจริญธรรม
     
  4. มโนนาฎ

    มโนนาฎ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +86
    เป็นเช่นเดียวกันค่ะในบางครั้ง แต่บางครั้งก็หลุดเข้าไปสู่ความว่าง สว่างจ้า เบาค่ะแล้วจะมีความรู้สึกสบายค่ะแต่ระยะเวลาได้ไม่นานประมาณไม่ถึง1นาทีก็กลับเข้ามามือดับอีกรอบ ต่อจากนั้นก็นั่งไปอีกเพื่อให้เกิดขึ้นหลายๆครั้ง(ทำตามที่ครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ค่ะ)
     
  5. พธบ

    พธบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +2,348
    ตามดูทำไม มันไม่ใช่งานของเรา ผู้ปฏิบัติ

    งานของผู้ปฏิบัติ แท้ที่จริงนั้น คือ ตามรู้ ไม่ใช่ตามดู ตามรู้ครับ แต่รู้แล้วล่ะ ไม่ใช่ตามดู ไม่ใช่หนัง จะได้ตามดู ตอนต่อไป

    รู้แล้วละ คือ เมื่อกำหนดจิต ให้เป็ฯ ปัจจุบัน ทำไง คือ ปัจจุบันๆ ก็คือ เมื่อมันเกิด จะรู้ว่า มันเกิด ถ้ามันยังไม่เกิด คุณจะรู้อะไร ก็มันไม่เกิด

    ที่คุณบอกตามรู้ มันผิด มันต่างกันโดยสิ้นเชิง ต่างอย่างไร

    ต่างตรงที่ สมมุติ คุณเดิน อริยาบทเดิน คุณก็รู้อยู่ว่า มันเดิน ที่นี้ คนเดิน เดินยังไง ซ้าย ขวา ซ้าย

    ตามรู้ กับ ตามดู ต่างกันอย่างไร ตามรู้คือ รู้ว่า มันยกนะ มันย่างนะ มันเหยียบนะ มันถูกหนอ แตะหนอ อย่างนี้เป็นต้น

    ตามดูคือ อะไร เดินซ้ายไป คุณก็รู้ว่า ก้่าวเท้า ซ้าย ก็จะก้าวขวา ในเวลาต่อมา คุณก็จะปรุงแต่งสิทีนี้

    เพราะ คุณตามดูไง คุณรู้อยู่ สัญญา มันบอกอยู่ว่า เมื่อก้าวเท้าซ้าย ต้องก้าวเท้าขวา มันจำได้หมายรู้อยู่

    มันก็ไม่เป็นปัจจุบัน สิครับ เพราะ คุณรู้แล้วว่า มันจะเกิดอะไรขึ้น

    นั่นไม่ใช่ การพยายาม ตามรู้สภาวะจิต นั่นมันเป็น วิปัสสะนึก ไม่ใช่ วิปัสสนา

    วิปัสสนา ต้องรู้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ว่า รู้ล่วงหน้า ไม่ต้องตามดู เพียงแค่รู้ว่า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

    มันไม่เที่ยว เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนที่แน่นอน ถ้่่่าคุณทำอย่งนั้น กฎไตรรัตน ก็ผิดหมด

    เพราะอะไร เพราะคุณพยายามจะบอกว่า มันเกิดขึ้น แล้วมันต้องตั้งอยู่ และมันก็จะต้องอยู่ต่อไป เพราะคุณตามดูมันอ่ะครับ

    ปวด ก็ ปวดสิ ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ ก็พิจารณาไปว่า การปวดเป็นธรรมดา การเกิดเป็นธรรมดา การแก่เป็นธรรมดา การตายเป็นธรรมดา

    ก็คุณ นั่ง มันก็ต้องปวดสิครับ ก็ถูกต้องแล้วไง ก็แค่้...รู้พอ ว่า ปวด

    และกลับมากำหนดใหม่ มันปวด ก็ กำหนดใหม่ และกลับมากำหนดที่เดิมต่อ พอมันเกิดอะไรเข้ามา ก็กำหนดรู้ให้ทัน

    หากคุณ บอกว่า คุณปวดขา คุณเลย กำหนดที่ขา ที่ปวดและตามดู อย่างงี้ ในขณะที่เอาจิต ไปกำหนดตามดู ขาที่ปวดอยู่ อะไรเกิดขึ้น ก็ไม่รู้อะสิครับ

    เพราะ อะไร เพราะ คุณเอาจิตไปผูกมัดกับขาเสียแล้ว

    มันไม่เป็นปัจจุบัน มันจะรู้เท่าทัน กิเลส ได้อย่างไร ที่คุณพูด มันเป็ฯเพียง รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ เท่านั้น มันพื้นๆ

    หน้าที่เราคือ ตามให้ทัน กิเลส ในขณะที่คุณ ตามดู ขาที่ปวด นั้น คุณรู้ไหมว่า คุณเกิด กิเลสขึ้นแล้ว เป็นกิเลส ที่คุณ กำหนด ไม่ทันด้วย

    ที่น่าสงสารที่สุดก็คือ คุณไม่รู้ สักนิดเลยด้วยซ้ำว่า มันคือ กิเลส ที่หนองเนืองอยู่ในนั้น ในจิตคุณ ที่เกิด ตัณหา ( ตัณหา 3 )

    การที่คุณบอกว่า ตามดูมัน มันจะเกิดกิเลส ก็ตามดูมัน นั่นแหละ ตัวกิเลส เพราะ ความอยากไง ตัณหาไง อยากรู็ อยากตามดู

    การที่ปวดขา เพราะ นั่งนานนั้น มันเป็ฯ ธรรมดา ของสังขาร คุณใช้ปัญญา ธรรมดา ก็พิจารณาได้ ว่า ต้องแก้ อย่างไร ก็เปลี่ยน อิริยาบท สิครับ

    ยืน เดิน นั่ง นอน ลืมไปหมดแล้ว จะตามกิเลส อย่างเดียว หลงไปหมด

    ทางสายกลาง ไม่ไป จะตรึงทำไม จะหย่อนทำไม กลางๆ สิครับ

    มันปวด ก็เปลี่ยนมาเดิน มันง่วง ก็นอน กำหนดไป ง่วงหนอ ง่วงหนอ เป็นต้น

    ไม่ไหว ก็กำหนดไป รู้เท่าทันมันไปว่า ไม่ไหวแล้วหนอ ไม่ไหวแล้วหนอ จิตมันจะล้มตัวนอน เพราะไม่ไหว อยากนอน ก็กำหนด รู้ให้ทันว่้า อยากนอนหนอ

    นั่นหมา่ยถึง เรากำหนดทัน ปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ พอจะนอนหลังยังไม่ถึงพื้นที่นอน ก็ไปนึกก่อนเลยว่า ถึงที่นอนแล้ว

    พยายามปฏิบัติ ตามธรรมชาติ ที่เป็นไป มันจะตกลงใน กฎพระไตรรัตน ก็ปล่อยมันไป กำหนดให้ทันปัจจุบันเป็นพอ

    * ตามรู้ และ ละ ไม่ใช่ ตามดูและตามกิเลสไป เวลาจะเสียป่าว มารจะครอบงำ ทำให้เกิดเป็น วิปัสสนูปกิเลส ได้นะครับ พี่น้องครับ

     
  6. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,174
    ค่าพลัง:
    +7,815

    เพิ่มความเพียรให้มาก เมื่อจิตรวมแล้วอาการเจ็บปวดทางร่างกายจะหายไปเองจ๊ะ หุ หุ หุ
     
  7. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พวกคุณนี้ปฏิบัติธรรมแปลกๆ ปฏิบัติเอาทุกข์ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนี้นี่ ปวดหนอๆอะไรนี่ผมไม่เอา นั่งแล้วปวดแล้วเพ่งอะไรนี่ผมไม่เอา ปวดก็เปลี่ยนอริยาบท ที่สำคัญอยู่ที่ภาคปัญญา และธรรมทั้งหลายสำเร็จได้โดยมีใจเป็นหัวหน้า และต้องมัชฌฺมาปฏิปทา...
     
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ราคะ มานะ มัจฉริยะ โกรธะ โทสะ และโมหะ เป็นต้น เมื่อดูแล้ว (ถ้าอยากจะดู) ไม่ใช่ตามดูเฉยๆ ต้องมีสติรู้ด้วยว่ามันมีอยู่ มันเกิดขึ้น แล้วไงเหรอ ก็คือต้องเอามันออกเสีย อย่างนี้แหละเรียกว่า "วิปัสสนากรรมฐาน"...เอามันออกด้วยสติปัญญาอันแยบคาย โดยพิจรณาให้เห็นให้ถ่องแท้ว่า มันเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา...ไม่พึงยึดมั่นถือมั่น...เอามันออกเสีย และพึงระวังรักษาจิตอย่าให้มันกำเริบขึ้นมาอีก...ถ้ามันกำเริบขึ้นมาอีกก็ภาวนาอย่างเดิมให้ชำนิชำนาญ ก็จะละมันได้เอง แล้วก็จะอยู่ตัว แล้วจิตก้จะปลอดโปร่งโล่งสบาย ก็วิมุตติเป็นลำดับลำดาไป...
     
  9. พธบ

    พธบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +2,348
    ถูกต้องครับ เห็นด้วย......

    ** สายไปพระนิพพาน ไม่ได้มีเส้นทางเดียว เปลี่ยนได้กับเราเดินทางไป ณ ที่ๆหนึ่ง มันมีหลายทางเดิน มีทั้งอ้อมและลัด เลือกเอาว่า จะเอาทางไหน

    ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องคำนึงถึงจริต ของคนด้วยว่า เหมาะกับการฝึกแบบไหน ถึงจะไปเร็ว แต่สุดท้าย ก็คือ ต้องยกระดับจิต เป็นวิปัสสนาหมด ไม่งั้น ก็แค่ โลกียะ เท่านั้นเอง


    ราคจริต

    ผู้มีราคจริตจะมีอิริยาบถเรียบร้อย นุ่มนวล ไม่รีบร้อน
    ทำการงานสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
    ชอบอาหารรสหวาน มัน อร่อย สีสันน่ารับประทาน
    ชอบของสวยของงาม เสียงที่ไพเราะ เรื่องตลกขบขัน
    จะมีลักษณะเจ้าเล่ห์ ชอบโอ้อวด ถือตัว แง่งอน
    พิถีพิถันและชอบยอ
    (น่าจะแสดงว่า มีกามฉันทนิวรณ์มาก)
    กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ๑

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
    ราคจริตมีลักษณะ คือ มายา มายา เจ้าเล่ห์
    โอ้อวด ถือตัว ปรารถนาลามก ปรารถนามาก มีความอยากใหญ่
    ไม่สันโดษ แง่งอน ขี้โอ่


    โทสจริต

    ผู้มีโทสจริต ท่านว่าจะมีอิริยาบถพรวดพราด รีบร้อน กระด้าง
    การงานสะอาดแต่ไม่เรียบร้อย ไม่สำรวย
    มุ่งแต่ในสิ่งที่ตนต้องการหรือปรารถนา
    ชอบอาหารเปรี้ยว เค็ม ขม ฝาดจัด
    รับประทานอาหารเร็ว คำโตๆ
    ชอบดูการชกต่อย
    เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ
    ลบหลู่บุญคุณคน ตีเสมอ มักริษยา
    (น่าจะเป็นเหตุให้มี พยาปาทนิวรณ์ มาก)
    กรรมฐานที่เหมาะคือ วัณณกสิณ ๔ และ พรหมวิหาร ๔

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
    โทสจริตมีลักษณะ มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่คุณท่าน
    ตีตนเสมอท่าน ริษยา ตระหนี่


    โมหจริต

    ผู้ที่เป็นโมหจริตจะมีลักษณะเซื่องๆ ซึมๆ เหม่อๆ ลอยๆ
    ทำการงานหยาบ ไม่ถี่ถ้วน คั่งค้าง เอาดีไม่ได้
    ไม่เลือกอาหาร อย่างไหนก็เอาหมด รับประทานมูมมาม
    ใครว่าอะไรดีก็ว่าดีด้วย ใครว่าอะไรไม่ดีก็ว่าไม่ดีด้วย
    มักง่วงเหงาหาวนอน ไม่เป็นเรื่องเป็นราว
    ช่างสงส้ย เข้าใจอะไรยาก
    (ก็น่าจะมี ถีนมิทธนิวรณ์ มาก)
    กรรมฐานที่เหมาะคือ อานาปาณสติ

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
    โมหจริตมีลักษณะ หดหู่ เคลิบเคลิ้ม ฟุ้งซ่าน รำคาญ
    เคลือบแคลง ถือมั่นในสิ่งที่ยึดถือ ถืองมงาย
    สละ (สิ่งที่ยึดถือ เช่น อุปาทาน) ได้ยาก


    วิตกจริต

    ทำอะไรเชื่องช้าคล้ายโมหจริต
    ทำการงานไม่เป็นส่ำ จับจดแต่พูดเก่ง
    อาหารไม่แน่นอนเจาะจงรส อย่างไหนก็ได้
    มีความเห็นตามคนหมู่มาก
    มีลักษณะฟุ้งซ่าน โลเล เดี๋ยวรักเดี๋ยวชัง
    ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ
    (น่าจะ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ มาก)
    กรรมฐานที่เหมาคือ อานาปาณสติ

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
    วิตกจริตมีลักษณะ พูดมาก ยินดีคลุกคลีในหมู่คณะ
    ไม่ยินดีในการประกอบกุสล มีกิจไม่มั่นคง จับจด
    กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว
    คิดพล่านไปต่าง ๆ นานา


    สัทธาจริต

    มีบุคลิกลักษณะแช่มช้อย ละมุนละม่อม
    ทำการงานเรียบร้อยสวยงามเป็นระเบียบ
    ชอบอาหารหวานมันหอม
    ชอบสวยงามอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
    เป็นผู้เบิกบานในการทำบุญ
    (ราคจริตเบิกบานต่อการได้หน้า)
    กรรมฐานที่เหมาะคือ อนุสติ ๖

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
    สัทธาจริตมีลักษณะ บริจาคทรัพย์เป็นนิจ ใคร่เห็นพระอริยะ
    ใคร่ฟังพระสัทธรรม มากด้วยความปราโมทย์
    ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส


    พุทธิจริต

    เป็นคนว่องไวและเรียบร้อย
    การงานเรียบร้อยเป็นระเบียบและเป็นประโยชน์ด้วย
    อาหารชอบเปรี้ยวเค็มเผ็ดขมพอกลมกล่อม ไม่จัดนัก
    ดูอะไรเห็นอะไรอย่างพินิจพิเคราะห์
    เป็นคนว่าง่าย ไม่ดื้อ มีสติสัมปชัญญะ
    มีความเพียรพยายาม รู้เร็ว เข้าใจอะไรๆ ได้ง่าย
    กรรมฐานที่เหมาะคือ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า
    พุทธิจริตมีลักษณะ ว่าง่าย มีมิตรดีงาม
    รู้ประมาณในโภชนะคือการบริโภค
    ระลึกและรู้สึกตัว ประกอบความเพียร
    สลดใจในสิ่งที่ควรสลด
    เริ่มตั้งความที่ใจสลดไว้โดยแยบคาย


    ในจริตทั้ง ๖ อย่างนี้ ท่านสงเคราะห์ด้วยความเสมอภาคกันได้เป็น ๓ คู่ คือ
    ราคจริต กับ สัทธาจริต
    โทสจริต กับ ปัญญาจริต
    โมหจริต กับ วิตกจริต

    ราคจริต กับ สัทธาจริต ที่จัดว่ามีความเสมอภาคกันนั้น คือ
    ราคะ เป็นหัวหน้าในฝ่ายอกุศล
    สัทธา ก็เป็นหัวหน้าเหมือนกัน แต่เป็นหัวหน้าทางฝ่ายกุศล
    ราคะ ย่อมแสวงหากามในกามคุณ
    สัทธา ก็แสวงหาเหมือนกัน แต่แสวงหาบุญ
    คือ กุสลธรรม มีสีล เป็นต้น
    ราคะ นั้นติดใจในสิ่งที่ไร้สาระไร้ประโยชน์ฉันใด
    สัทธาก็เลื่อมใสในสิ่งที่เป็นสาระเป็นประโยชน์ฉันนั้น

    โทสจริต กับ พุทธิจริต (หรือปัญญาจริต)
    ที่จัดว่ามีความเสมอภาคกันนั้น คือ
    โทสะ มีการเบื่อหน่าย แต่เป็นการเบื่อหน่ายในสิ่งที่ไม่ชอบ
    ถ้าสิ่งใดยังชอบอยู่ก็ไม่เบื่อหน่ายในสิ่งนั้น
    ส่วน ปัญญาก็มีการเบื่อหน่ายเหมือนกัน
    คือเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง
    ไม่ใช่ว่าเลือกเบื่อหน่ายบ้างไม่เบื่อหน่ายบ้าง เหมือนอย่างโทสะ
    หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
    โทสจริตนั้นเบื่อหน่ายด้วยอำนาจแห่งโมหะ
    ซึ่งเป็นทางให้ถึงอบาย
    ส่วนพุทธิจริตนั้นก็เบื่อหน่ายเหมือนกัน
    แต่ว่าเบื่อหน่ายด้วยอำนาจแห่งปัญญา
    ซึ่งเป็นทางให้ถึงสวรรค์ตลอดจนถึงพระนิพพานก็ได้ นี่เป็นประการหนึ่ง
    อีกประการหนึ่ง
    โทสะเป็นธรรมที่เกิดเร็ว ดุจไฟไหม้ฟางลุกโพลงขึ้นในทันใด
    ฝ่ายปัญญาก็เป็นธรรมที่เกิดเร็วเหมือนโทสะ
    คือเกิดสว่างจ้ารู้แจ้งขึ้นมาในทันใดนั้นเหมือนกัน

    โมหจริต กับ วิตกจริต
    ที่จัดว่ามีความเสมอภาคกันนั้น คือ
    โมหะมีอาการสงสัยลังเลใจอยู่
    ส่วนวิตกก็คิดแล้วคิดอีก
    อันเป็นอาการที่คล้ายกับลังเลไม่แน่ใจเช่นเดียวกัน
    อีกประการหนึ่ง โมหะ มีอาการฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
    ส่วน วิตกก็คิดอย่างนี้ คิดอย่างนั้น แล้วก็คิดอย่างโน้น
    อันเป็นอาการคิดพล่านไปเช่นเดียวกัน
    ดังนี้จึงว่า มีความเสมอภาคกัน

    ผู้ใดมีจริตอย่างใดนั้น
    มีลักษณะที่พอจะอาศัยใช้เป็นเครื่องสังเกตอยู่ ๕ ประการ คือ
    อิริยาบถ ได้แก่ การเดิน ยืน นั่ง นอน
    และอาการที่เคลื่อนไหวทำกิจการงานต่าง ๆ
    กิจจะ ได้แก่ การงานที่ทำ
    โภชนะ ได้แก่ อาหารที่บริโภค
    ทัสสนะ ได้แก่ การดู การฟัง การดม การกิน การลูบไล้แต่งเนื้อแต่งตัว
    ธัมมปวัตติ ได้แก่ ความเป็นไปต่าง ๆ
    เป็นต้นว่า ความประพฤติดีหรือเลว
    ดังที่ได้ใส่รายละเอียดแต่ละจริตไว้แล้วข้างบน

    เอวัง....โหตุ
     
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,463
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    เรื่องปวดขานี่เป็นบททดสอบของเราครับ ผมปฏิบัติธรรมมานานพอสมควรเเล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่ง อยู่ดีๆระหว่างที่นั่งสมาธิอยู่ ขามันก็เกิดปวดซะอย่างนั้น ตอนเเรกก็งงว่า เอ ทําไมปวดได้หว่า ??? เราก็ไม่ได้ไปทําอะไรมานี่ ช่วงเเรกๆที่เป็นนั้น ผมจะเปลี่ยนจากท่านั่งขัดสมาธิมาเป็นวิธียืดขาออกไปซึ่งก็ทําให้หายปวดได้ เเต่เเท้ที่จริง วิธีนี้เป็นวิธีคิดที่ผิด เพราะวันต่อๆมาที่ผมกลับมานั่งอีก มันก็ปวดอีกเช่นเดิม จนผมไปอ่านเจอจากหลวงพ่อว่า เวลาที่เกิดอาการนี้ ให้เรานั่งต่อไปเลย คือประมาณว่า ถ้าต้องตายก็ขอตายไปเลย หลังจากนั้น ผมก็ไม่สนละว่าจะปวดหรือไม่ปวด ตอนปวด ผมก็ปวดหนอๆๆๆ เเล้วก็นั่งต่อไปเเบบไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น จับอยู่ที่ลมพุทโธหายใจเข้าออกของเราพอ ทําอย่างนี้ไปได้ไม่ถึงอาทิตย์ อาการปวดขานี้ก็หายไปอย่างไม่มีสาเหตุ สรุปก็ขอให้ จขกท นั่งปฏิบัติต่อไปในท่านั้นล่ะครับ เเต่ถ้าไม่ไหวหรือทนไม่ได้จริงๆก็ไม่ต้องฝืนมาก ( เเต่ถ้าเป็นผม ผมจะฝืนนั่งต่อดั่งที่ผมกล่าวไป ) มันก็เหมือนกับถ้าเรากลัีวอะไร เราต้องไปหาสืิ่งนั้นๆครับ ไม่อย่างนั้น เราก็จะต้องหนีสิ่งที่เรากลัวไปตลอดชีวิตครับ ต้องงัดสู้กับเขาครับ เป็นกําลังใจให้ครับ เจ่ริญในธรรมครับ
     
  11. SpecDum

    SpecDum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +489












    กำหนดรู้
    วางอุเบกขา
    แบบมีปัญญา!!!!






















     
  12. galateer

    galateer Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +65
    อนุโมทนาสาธุ ดูว่ามีจริตแบบไหน จะได้ปฏิบัติให้ถูกทาง นะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...