รบกวนผู้รู้ช่วยคลายความสงสัยหน่อยครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย lasdover, 4 พฤษภาคม 2008.

  1. lasdover

    lasdover สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    คือผมมีความสงสัยในการปฏิบัติในทางสายกลางคับ

    คือจากการที่ผมได้ศึกษาปฏิปทาของพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาเห็นว่าพวกท่านเหล่านั้นได้ฝึกฝนอบรมจิตอย่างหนักจนถึงขั้นอดนอนและผ่อนอาหารซึ่งมันไม่ใช่ทางสายกลางแต่ว่าพวกท่านเหล่านั้นก็ยังบรรลุมรรคผลได้ผมจึงสงสัยว่าเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับกำลังใจของท่านผู้นั้นหรือเปล่าครับ




    และหากว่าความสงสัยของผมเป็นการปรามาสท่านเหล่านั้นก็ขอได้โปรดให้ท่านเหล่านั้นได้งดซึ่งโทษล่วงเกินอันนี้ด้วยเถิด
     
  2. theexcaribur

    theexcaribur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +3,907
    การปฏิบัติที่พระท่านสอนมี 4 แบบ ครับ
    1.ปฏิบัติง่าย บรรลุง่าย
    2.ปฏิบัติง่าย บรรลุยาก
    3.ปฏิบัติยาก บรรลุง่าย
    4.ปฏิบัติยาก บรรลุยาก
    แต่ถ้าจะแบ่งตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งไว้แล้ว จะมี 4 แบบ คือ
    1.สุกขวิปัสโก
    2.เตวิชโช (วิชชาสาม)
    3.ฉฬภิญโญ (อภิญญา6)
    4.ปฏิสัมภิทาญาณ
     
  3. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนาสาธุครับ

    ท่านรองนำธรรมบทนี้ไปพิจารณา อย่างนี้ 1

    บุคคล ๔ <SUP>1-</SUP> บุคคล ๔ จำพวก คือ

    ๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
    ๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ
    ๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้
    ๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย

    พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ
    ๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้
    ๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
    ๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
    ๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า
    (ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=บุคคล_๔_1
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%A4%A4%C5_%F4_1


    ท่านรองพิจารณาจะแนวทางหลาย ๆ แนวทาง นี้อีกหนึ่ง
    ซึ่งเป็นเพียงวิธีการที่ต่างกันและสามารถสรุปการปฎิบัติในทางสายกลางหรือที่เรียกอีกอย่างว่า ดำเนินตามมรรคมีองค์แปด ได้ว่า

    สรุปทางสายกลางและมรรคแปด คือ "ทางของใคร มรรคของใคร"

    วิธีอดนอนผ่อนอาหารก็ไม่ได้ใช้ได้ผลกับทุกคนนะครับ
    ผมจำได้ว่า หลวงปู่ฝั้นท่านเคยบอกว่า ท่านไม่ถูกกับวิธีผ่อนอาหาร

    ฉะนั้นตรงนี้อย่าสงสัยลังเล วิธีการนี้เด็ดขาดแน่นอนในการพ้นทุกข์
    เพียงแต่ต้องถูกกับจริตของท่าน

    หากวิธีนี้แนวทางนี้ไม่ใช่ก็มีวิธีอื่นแนวทางอื่น ที่ไปได้เหมือนกัน
    วิธีฟังธรรมะแล้วบรรลุ ก็มีในสมัยพุทธกาล และสมัยปัจจุบัน

    หรือจะปฏิบัติสมถะ ไล่ลำดับญาณ
    หรือจะวิปัสนาล้วนๆก็ได้

    แล้วแต่ท่านจะพิจารณา

    ผมเสริมนิดว่า ที่ท่านว่าการอดนอนผ่อนอาหารไม่ใช่ทางสายกลาง
    เพราะมันไปเกิด ปฏิฆะ ในใจท่าน ไปขัดกับ ทางสายกลางที่ท่านยึดว่าถูกอยู่

    ตรงนี้ หากทางสายกลางที่ท่านยึดไว้ ตรงกับวิธีอดนอนผ่อนอาหาร
    ท่านจะมองว่า นี้เป็นทางสายกลางและยิ่งทำยิ่งดี ยิ่งเจริญยิ่งดี

    อีกอย่างที่ท่านยังสงสัยก็เป็น ข้อนี้ยังเป็นนิวรณ์ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    สรุปที่ท่านถามอีกที ตรงนี้สรุปเป็นวิธีนะครับ

    สรุปทางสายกลางและมรรคแปด คือ "ทางของใคร มรรคของใคร"

    พุทธภูมิ ต้อง บำเพ็ญอย่างหนัก อดนอน เพื่อความสุขของสัพพะสัตว์
    อดอาหาร เพื่อสัพพะสัตว์ได้อิ่มดีมีความสุข

    สาวกภูมิ ก็บำเพ็ญแต่ก็ไม่ต้องหนักขนาด พุทธภูมิจนถึง 30 ทัศ

    พุทธภูมิ
    เสื้อผ้า เราใช่ปอน ๆ เพื่อเปลี่ยนความหรูหรา ไปเป็นความอบอุ่นแก่ผู้ทุกข์ยาก
    อาหาร เรากินเพื่ออยู่ เปลี่ยนเลิศรสจาก ฟูจิ MK โออิชิ โค้ก ชาเขียว เป็นข้าวแกงถุง น้ำเปล่า เพื่อแบ่งปันความอิ่มท้องให้ปวงชน
    ที่อยู่ อยู่บ้านหลังน้อย สละความสบายโอ่อ่า ฟู่ฟ่า เพื่อ แบ่งเป็นความสุขแก่คนทุกข์ยาก

    ตรงนี้ท่านพิจารณาการบำเพ็ญในเรื่องทางสายกลางนะครับ

    ในเรื่องของทางและวิธี มีเป็นล้านวิธีแสนแนวทาง คือ มันเยอะเพราะเป็นเรื่องปลีกย่อย

    แต่สรุปเป็นหัวข้อใหญ่ คือ มรรคแปด และ ทางสายกลาง

    ขออนุโมทนา



    ผู้มีกิเลสน้อย ดังผงธุลีเกาะที่จิตเพียงเบาบาง เป่าเพียงนิด ปัดเพียงนิด จิตก็บริสุทธิ์ คือ ปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็พ้นไปได้

    ผู้มีกิเลสหนา ดังมีพื้นปูนเกาะที่จิตก็ต้องเจาะ กระแทกด้วยเครื่องมือที่หนัก จึงจะขัดเกลากิเลสออกไปได้ จิตก็บริสุทธิ์ คือ ต้องปฏิบัติอย่างกลางจึงพ้นไปได้

    ผู้มีกิเลสหนามาก ดังมีภูเขาหินห่อหุมอยู่ที่จิต ต้องระเบิดภูเขากิเลสนั้นด้วยวิรุนแรงก่อนก่อน จากนั้นก็ขุดก็ถากกิเลสนั้นด้วยวิธีการที่ได้ผล จิตก็บริสุทธิ์ คือ ต้องปฏิบัติอย่างยิ่งจึงจะพ้นไปได้

    </TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2008
  4. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ผมเคยได้ยินหลวงพ่อ ท่านนึงบอกผมว่า

    ทางสายกลางนั้นไม่ใช่ทางสายกลางที่เราจะรู้จักกันได้ด้วยปัญญาทางโลก

    แต่ก่อนจะมารู้จักทางสายกลางเราควรจะรู้จักสัมมาทิฎฐิให้ดีก่อน

    เพราะตราบใดที่เรายังไม่มีสัมมาทิฎฐิที่มั่นคง เราก็ยังไม่ต้องไปหาหรอก

    ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ท่านกล่าวถึง เพราะกลางของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน
     
  5. พระศุภศิษฏ์

    พระศุภศิษฏ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +98
     
  6. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    <table id="post812600" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;">14-11-2007, 04:57 PM <!-- / status icon and date --> </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #1 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> joni_buddhist <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_812600", true); </script>
    ทีม ผู้ดูแลเว็ปบอร์ด
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 02:33 AM
    วันที่สมัคร: Sep 2005
    สถานที่: 35 ถนนเจริญกรุง55 ยานนาวา สาทร กทม.10120
    อายุ: 27 ปี
    ข้อความ: 6,107 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 80 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 50,996 ครั้ง ใน 6,032 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 5203 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_812600" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- icon and title --> หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนเรื่องจริต ๖ ในการเจริญพระกรรมฐาน
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message --> <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>จริต ๖ <hr size="1">[​IMG]</td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td valign="top">จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน


    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>๑. ราคจริต <hr size="1"></td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td valign="top">จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม มีอารมณ์หนักไปในกามคุณ ๕ คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์หนักไปในราคะคือความกำหนัดยินดี นี่บุคคลผู้เป็นเจ้าของราคจริตมีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไม นิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริตมีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตีความหมายว่าราคจริตมีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด

    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริต

    ราคะจริตนี้ ท่านจัดกรรมฐานที่เหมาะสมไว้ ๑๑ อย่างคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กับ กายคตานุสสติกรรมฐาน ๑ รวมเป็น ๑๑ อย่าง ในเมื่ออารมณ์รักสวยรักงามปรากฏขึ้นแก่อารมณ์จิต จงนำกรรมฐานนี้มาพิจารณา โดยนำมาพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ ตามแต่ท่านจะชอบใจ จิตใจท่านก็จะคลายความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ลงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นเลย ถ้าจิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์

    เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุทั้งหลายที่เคยนิยมชมชอบว่าสวยสดงดงามกลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎธรรมดา จนเห็นว่าจิตใจไม่มั่วสุมสังคมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา โดยเอาอสุภกรรมฐาน หรือกายคตานุสสติกรรมฐานเป็นหลักชัย ทำอย่างนี้ไม่นานเท่าใด ก็จะเข้าถึงมรรคผลนิพพาน
    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>๒. โทสจริต <hr size="1"></td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโห อะไรนิดก็โกรธ อะไรหน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคืองโมโหโทโสใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริต

    คนมักโกรธหรือขณะนั้นเกิดมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ขวางอารมณ์ไม่สะดวกแก่การเจริญฌาน ท่านให้เอากรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และ วัณณกสิณ ๔ วัณณกสิณ ๔ ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว กรรมฐานทั้งแปดอย่างนี้ เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ ท่านจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมแก่ท่าน คือตามแต่ท่านจะพอใจ เอามาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆ คลายตัวระงับไป
    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>๓. โมหจริต <hr size="1"></td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่าอะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ครั้งใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตาม เก็บดะไม่เลือก มีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ไม่ชอบให้

    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริต

    อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็จขาด ท่านให้เจริญ อานาปานานุสสติกรรมฐาน อย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงและความคิดฟุ้งซ่านจะสงบระงับไป

    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>๔. วิตกจริต <hr size="1"></td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อยก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริต

    เช่นเดียวกับ โมหจริต

    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>๕. สัทธาจริต <hr size="1"></td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา

    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริต

    ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ เชื่อโดยปกติหรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตามท่านให้เจริญกรรมฐาน ๖ อย่างคือ อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ ๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ๖. เทวตานุสสติกรรมฐาน อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้ จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>๖. พุทธจริต <hr size="1"></td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td>เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณ ไหวพริบดี การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง

    กรรมฐานที่เหมาะแก่จริต

    คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ และมีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้ ๑. มรณานุสสติกรรมฐาน ๒. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ๓. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๔. จตุธาตุววัฏฐาน รวม ๔ อย่างด้วยกัน


    </td></tr></tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="97%"><tbody><tr><td valign="top">กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง ๖ ท่านจัดเป็นหมวดไว้ ๕ หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้นๆ รวม ๓๐ อย่าง หรือในที่บางแห่งท่านเรียกว่า ๓๐ กอง กรรมฐานทั้งหมดด้วยกันมี ๔๐ กอง ที่เหลืออีก ๑๐ กองคือ อรูป ๔ , ภูตกสิณ ๔ ได้แก่ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ ๔ อย่างนี้เรียกภูตกสิณ อาโลกสิณ ๑ และ อากาสกสิณ ๑ รวมเป็น ๑๐ พอดี กรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ท่านตรัสไว้เป็น กรรมฐานกลาง เหมาะแก่จริตทุกอย่าง รวมความว่า ใครต้องการเจริญก็ได้เหมาะสมแก่คนทุกคน แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ฌาน ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้น ถ้าเจริญอรูปเลยทีเดียวจะไม่มีอะไรเป็นผล เพราะอรูปละเอียดเกินไปสำหรับนักฝึกสมาธิใหม่



    </td></tr><tr><td bgcolor="#99ccff" valign="top">๏ อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่าอยู่ในกฎ ๖ ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายมีไม่ครบ มีมากน้อยยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมีที่มีการอบรมมามาก บารมีในการละมีสูง อารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละมีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง

    จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว นักปฏิบัติเพื่อฌานโลกีย์ หรือเพื่อมรรคผลนิพพานก็ตาม ควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติเพื่อการละ ด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์

    ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ไปปรารถนาความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ผูกพันในทรัพย์สมบัติบ้าง วิตกกังวลถึงเหตุการณ์ต่างๆ บ้าง เกิดอารมณ์สัทธาหวังในการสงเคราะห์หรือมุ่งบำเพ็ญธรรมบ้าง เกิดอารมณ์แจ่มใส น้อมไปในความเฉลียวฉลาดบ้าง เมื่อรู้ในอารมณ์อย่างนี้ ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อผลให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน

    </td></tr><tr><td>จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    ที่มา

    </td></tr></tbody></table>http://www.geocities.com/4465/samadhi/samp6.htm
    </td></tr></tbody></table>
     
  7. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    หลวงพ่อชา สุภัทโท(พระโพธิญาณเถร )
    วัดหนองป่าพง อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี

    " ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นการหลุดพ้น... พยายามมากเกินไป แต่ขาดปัญญา เป็นการเคี่ยวเข็ญตนเองไปสู่ความทุกข์ยากโดยไม่จำเป็น

    ..เดินทางสายกลาง คือสงบ วางสุข วางทุกข์ หน้าที่ของเรานั้น ทำเหตุให้ดีที่สุดเท่านั้น ส่วนผลที่จะได้รับเป็นเรื่องของเขา..ถ้าเราดำเนินชีวิต โดยมีการปล่อยวางเช่นนี้แล้วทุกข์ก็ไม่รุมล้อมเรา..

    จิตของคนตามธรรมชาตินั้นไม่มีความดีใจเสียใจ..ที่มีความดีใจเสียใจนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นอารมณ์ ที่มาหลอกลวง จิกก็หลงไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปตามอารมณ์.ผู้ใดตามดู จิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงของมาร การกระทำจิตให้สงบนั้น

    อย่าเพิ่งเข้าใจว่ามาทำวันเดียวหรือสองวันมันจะสงบได้..จะต้องพยายาม ทำเรื่อย ๆ ไปให้เห็นความสงบเกิดขึ้นมาต้องพยายามทำให้มาก ทำบ่อย ๆ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้อง มีสติอยู่เสมอ "


    ที่มา : http://www.watthummuangna.com/board/archive/index.php/t-2447.html
     
  8. พระชายแดน

    พระชายแดน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +5
    กัมมุนา วัตตะตี โลโก
    สาธุ

    ทางสายกลาง คือไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
    สิ่งใดตึง สิ่งใดหย่อน รู้ได้เฉพาะตน
    เร่งสร้างกรรมดีไว้ให้มาก เป็นเสบียงให้กับตัวเอง
     
  9. pom980095

    pom980095 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +181
    ดิฉันขอบอกเล่าตามความเข้าใจก็แล้วกัน คนบางคนมีจริตแบบตัณหาจริต จำเป็นต้องฝึกสมถกรรมฐานก่อนจนได้ฌาณเพื่อจะข่มกิเลิส และ นิวรณ์แล้วก็หันไปฝึกวิปัสสนากรรมฐาน การฝึกสมถะก็จะยังไม่เป็นทางสายกลางนัก มีหลายวิธีด้วย เช่นการทรมานตนอย่างพวกโยคีก็เป็นการฝึกสมถะ การดูเวทนาและอดทนต่อเวทนาก็เป็นการฝึกสมถะ เป็นต้น และมีอีกอย่างที่เคยประสบพบเจอมาคือวิปัสสนาญาณ 16 ขั้นภยตูปัฏฐานญาณ ญาณนี้ผู้ปฏิบัติจะกระเสือกกระสนหาทางพ้นทุกข์ ใจมันร้อนรุ่มไปหมดจะทำกรรมฐานแทบไม่หลับไม่นอน กินก็ไม่กิน นอนก็ไม่นอนอยากแต่จะทำกรรมฐาน พอมันฝืนสังขารมากไปมันจะไม่ค่อยก้าวหน้า ผู้ปฏิบัติบางคนถึงกับร้องไห้ฟูมฟาย มันจะเป็นอยู่พักหนึ่งจนเห็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มากขึ้นพอพ้นญาณนี้ไปก็จะกลับมาเดินทางสายกลางเอง
     
  10. rawiphan

    rawiphan บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ที่ท่านเหล่านั้นถือปฏิบัติตามกันมาจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์
    ท่านให้เร่งความเพียร อดนอนผ่อนอาหารเป็นอุบายให้จิตเบากายเบาง่ายกับการเข้าสมาธิได้ง่าย จิตรวมได้เร็วและยังเป็นการตัดกามราคะออกไปเพื่อไม่ให้มารบกวนจนเกิดความฟุ้งซ่านในระหว่างเข้าบันลังก์สมาธิเพชร

    เมื่อท่านเหล่านั้นคุมจิตได้แล้วก็จะเข้าสู้กระบานการ
    การปฏิบัติในทางสายกลางครับเพื่อความรู้ยิ่งความรู้ดี
    เพื่อการตรัสรู้ธรรมะเพื่อความหลุดพ้น
     
  11. lasdover

    lasdover สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยคลายความสงสัยแก่ผมคับ
     
  12. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +405
    นั่นแหละคือสายกลางแหละครับ เพราะพระปฏิบุติอย่างที่คุณว่านั้น ท่านจะมีสติรู้ว่าท่านควรที่จะต้องทำอย่างไร หากเห็นว่านอนมากไปก็นอนให้มันน้อยลงมิใช่ว่าจะอดนอน หากเห็นว่ากินมากไปก็ลดลงหรืออดซะบ้างอันนี้มันเป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติที่จะต้องรู้ตัวเองครับ ว่าในการทำความเพียรของตัวเองนั้นควรเพิ่มหรือควรลดอะไรเพื่อผลของการปฏิบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...