มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 729 เหรียญหลวงปู่ขาน ฐานวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย หลวงปู่ขานเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล เหรียญสร้างปี 2538 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 60 ปีเนื้ออัลปาก้า มีพระอัฐิธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 445 บาฟรีส่งemsสส
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

    8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-1-840x1024.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตตั้งไว้ประเสริฐแล้ว”

    หลวงปู่ขาน ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาอันสง่างาม เป็นแบบอย่างในด้านความพากเพียรและกาประพฤติปฏิบัติ มักน้อยสันโดษ ออกธุดงค์แสวงหาครูบาอาจารย์ตามป่าเขาแลโถงถ้ำ ต่อสู้ต่อความยากลำบาก ความกันดารอดอยาก จนได้พบวิมุตติธรรมหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดจากสังสารวัฏได้ในพรรษาที่ ๗

    หลวงปู่ขาน ถือกำเนิด ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๘ ปีกุน ณ บ้านโนนปอแดง ต.โนนสัง อ.โนนสัง จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ.หนองบัวลำภู)

    ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ ของ คุณพ่อหนู คุณแม่ห่อน สุขา มีพี่น้องทั้งหมด ๑๐ คน

    ๑. พระสอน (มรณภาพ)
    ๒.นายพร (ถึงแก่กรรม)
    ๓. นางสอ (ถึงแก่กรรม)
    ๔.นางสังข์ (ถึงแก่กรรม)
    ๕.นางวัง(ถึงแก่กรรม)
    ๖.นางเวิน (ถึงแก่กรรม)
    ๗.นางเหวิ่น (ถึงแก่กรรม)
    ๘.นายหว่าน (ถึงแก่กรรม)
    ๙.หลวงปู่ขาน ฐานวโร (มรณภาพ)
    ๑๐. นางก้าน (มารดาของพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร)

    9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-2.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลวงปู่ขาน ท่านมีศักดิ์เป็นลุงของท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยเจ้าแห่งวาชูคุ เพราะเป็นพี่ชายของโยมมารดาท่านพระอาจารย์เสถียร และเป็นพระอาจารย์ผู้อบรมธรรมให้กับท่านพระอาจารย์เสถียร อีกด้วย

    ชีวิตช่วงเยาว์วัย ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำสวน ได้ออกบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครั้นต่อมาเมื่ออายุ ๒๑ ปี ๑๐ เดือน ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๑๕.๔๓ น. ณ วัดป่าชะบาวัน บ้านกุดฉิม ต.บ้านค้อ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู โดยมีพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโยธานิมิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อุ่น ชาคโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเพ็ง อิติโสภโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานวโร” แปลว่า “มีที่ตั้งอันประเสริฐ”

    9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B9%85.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลวงปู่ขาน ได้พำนักจำพรรษาแรก ณ วัดป่าสำโรง ซึ่งมีหลวงปู่ชม โฆสิโก เป็นเจ้าอาวาส พอออกพรรษาหลวงปู่ขานได้ออกธุดงค์เดินทางไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ตลอดระยะเวลาที่อยู่วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ขาวได้ให้อุบายธรรมแก่ท่านมากมายจนปลาบปลื้มอันเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม หลวงปู่ขาน ได้ปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้นทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งอดอาหารอดนอน มีสติอยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่น และนอน บางคราวก็ถือเนสันชิกอยู่ในอริยาบถ ๓ ไม่ยอมให้หลัดติดพื้น มุ่งมั่นทำความเพียร อยู่อย่างสันโดษ ตามถ้ำตามผาตามโขดหิน ผลาญหินบ้าน โคนไม้บ้าง ไม่คลุกคลีอยู่กับหมู่คณะ รวมระยะเวลาที่อยู่ถ้ำกลองเพล ๒ พรรษาด้วยกัน คือ พรรษาที่ ๒ – ๓ ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๐๒ จึงได้กราบลาหลวงปู่ขาว ออกไปแสวงหาโมกขธรรมต่อไป

    ได้อยู่จำพรรษาที่ วัดป่าแก้วชุมพล ในพรรษาที่ ๔ หลังจากนั้นหลวงปู่ขาน ได้จาริกไปที่ต่างๆ เช่น ภูกระดึง อุดรธานี หนองคาย โพนพิสัย จนมาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ถ้ำจันทน์ จ.หนองคาย ท่านได้รับอุบายวิธีการปฏิบัติสำหรับขจัดขัดเกลากิเลสจาก พระอาจารย์จวน มากมายตลอดทั้ง ๒ พรรษา ในช่วงที่หลวงปู่ขาน อยู่ที่ถ้ำจันทน์แห่งนี้ ท่านได้เกิดอาพาธเป็นไข้มาเลเรีย แม้โรคาพาธจะเบียดเบียนท่านอย่างหนักขนาดไหนก็ตาม ท่านก็ไม่ท้อถอยยอมต่อพยาธิภัยเลย เร่งความเพียรด้วยจิตใจอันเด็ดเดี่ยว ด้วยการประกอบอาจาริยวัตรท่านก็มิขาดตก ถวายการอุปัฏฐากรับให้หลวงปู่จวนอย่างไม่บกพร่อง “ธัมมะรัตนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ผู้ปฏิบัติซึ่งธรรมให้เป็นที่พึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นธรรมโอสถอย่างสูง” หลวงปู่ขาน ท่านได้ใช้ธรรมโอสถเยียวยารักษาธาตุขันธ์จากอาพาธไข้ป่าด้วยความเพียรจนหายขาดจากอาพาธทั้งปวง

    สมัยที่อยู่อุปัฏฐากหลวงปู่จวน อยู่ที่ถ้ำจันทน์นั้น ท่านได้ขึ้นไปรับใช้บีบนวดหลวงปู่จวน อยู่บนกุฏิ กระทั้งเวลาเที่ยงคืนเห็นจะได้ หลวงปู่จวนจึงให้ท่านกลับไปพักผ่อน ช่วงที่ท่านเดินลงจากกุฏิ พอดีเป็นช่วงเวลาที่เสือออกมาหากิน จึงเดินมาประจันหน้ากันที่ใต้กุฏิหลวงปู่จวน หลวงปู่ขานท่านเล่าว่า ด้วยความกลัวและทำอะไรไม่ถูก พลันสติจึงบังเกิดขึ้นตักเตือนว่าต้องนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงได้นั่งลงกับพื้นใต้กุฏิ และกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่นานจิตก็สงบ รวมเป็นสมาธิแล้วน้อมเข้ามาในกาย พิจารณากายจนท่านได้พบธรรมะอันพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาและสอนพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งธรรมเหล่านั้นได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจของหลวงปู่เป็นครั้งแรก เมื่อจิตถอนออกมาก็รุ่งเช้าพอดี เสือก็ไม่อยู่แล้ว หลวงปู่ขานท่านอยู่ที่ถ้ำจันทน์ จ.หนองคาย ถึง ๒ พรรษา คือ พรรษา ๕ และ ๖

    94653365_2602855813322707_2131753377523040256_n.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลังจากนั้นได้ธุดงค์ไปยังถ้ำพระนาผักหอก ที่บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ได้พบหลวงปู่ลี กุสลธโร ซึ่งได้มาพักภาวนาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้อยู่ก่อนแล้ว ตอนนั้นหลวงปู่ลี มีพรรษาเข้าได้พรรษาที่ ๑๕ ในพรรษานั้น โดยหลวงปู่ลี ได้บรรลุธรรมพบวิมุตติสุขได้ตั้งแต่กลางพรรษาที่ ๑๑ แล้ว ในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดบ้านกกกอก (ปัจจุบันคือ วัดป่าปริตตบรรพต) อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ขาน เมื่อมาอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ลี ท่านก็รีบเร่งภาวนา ต่างองค์ต่างปฏิบัติ ต่างองค์ต่างบำเพ็ญ อย่างไม่ลดละต่อกิเลส การบิณฑบาตแม้ว่าจะลำบากเพราะมีบ้านคนเพียง ๖ หลังคาเรือน บางวันได้ข้าวเหนียวแค่ ๓ ปั้น หลวงปู่ทั้ง ๒ หาได้ใยดีแก่ปากแก่ท้องไม่ ตั้งหน้าตั้งตาเอาธรรมะชำระกิเลส ให้หมดสิ้นไป เมื่อติดขัดสิ่งใดในการภาวนา หลวงปู่ลี ก็คอยให้คำปรึกษาถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันเรื่อยมา

    จนในพรรษาที่ ๗ นี้เองซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๖ (แต่ในหนังสือประวัติหลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านว่ามาอยู่ที่ถ้ำนาผักหอกร่วมกับหลวงปู่ขาน ฐานวโร ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๗ จึงมีความคาดเคลื่อนเรื่องปี พ.ศ.กันอยู่) หลวงปู่ขาน ได้พบกับวิมุตติธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องยุติการเดินทางใน ๓ โลกธาตุ ภพชาติต่างๆของท่านได้สิ้นสุดลง ณ ถ้ำพระนาผักหอกแห่งนี้ คืนหนึ่งหลังหลวงปู่ขาน ได้พบวิมุตติธรรมในขณะที่กำลังภาวนาอยู่นั้น ท่านได้นิมิตเห็นกับนางอุบลวรรณาเถรีมายืนอยู่เบื้องหน้า และกล่าวอนุโมทนาแก่หลวงปู่ถึงผลของการบำเพ็ญเพียรภาวนา จนได้พบกับวิสุทธิธรรม และสามารถเอาชนะกิเลสชำระให้หมดไปจากใจได้ รุ่งเช้าหลวงปู่ถอนออกจากสมาธิ และเขียนไว้บนผนังหน้าถ้ำว่า “ถ้ำโลกะวิทู” อันมีความหมายว่า “รู้แจ้งโลก”

    หลวงปู่ขาน ได้กลับไปวัดถ้ำกลองเพล กราบนมัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย อยู่ปฏิบัติอาจาริยวัตรถวายพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างเต็มกำลัง แม้ท่านจะมีธรรมอันประเสริฐประดิษฐานอยู่ในใจแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่ได้ละทิ้งการบำเพ็ญภาวนาได้ไปอยู่ที่ถ้ำผาผึ้งซึ่งอยู่ในอาณาเขตวัดถ้ำกลองเพลเพียงลำพัง ในพรรษาที่ ๘ และ ๙ ท่านอยู่กับหลวงปู่ขาว ถึง ๒ พรรษา จากนั้นจึงได้กราบลาหลวงปู่ขาว ไปอยู่วิเวก และเข้าจำพรรษาที่วัดป่าชบาวัน จ.หนองบัวลำภู อยู่ร่วมกับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ถึง ๓ พรรษา คือ พรรษาที่ ๑๐ – ๑๒ พอออกพรรษาจึงกราบลาหลวงปู่มหาบุญมี ออกจาริกไปทางภาคเหนือพร้อมด้วยพระอาจารย์ท่านต่างๆ ๑๑ รูป ได้แก่ หลวงปู่ทูล ขิปฺปปัญโญ , หลวงปู่หวัน จุลปัญฑิโต หลวงปู่จรัส ธัมมธโร และหลวงพ่อกองเหรียญ เป็นต้น คณะของหลวงปู่ได้หยุดพำนักปักกลดอยู่ที่ดอยน้ำตกพัฒนา (ปัจจุบันคือวัดดอยน้ำตกพัฒนา อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย มีหลวงปู่จรัส ธัมมธโร เป็นเจ้าอาวาส)

    กอรปกับญาติพี่น้องของท่านได้อพยพมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ จ.เชียงราย เนื่องจากบ้านโนนปอแดง อยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อนอุบลรัตน์ สำหรับวัดป่าบ้านเหล่าหรือดอยกู่แก้วเคยเป็นวัดในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์อาณาจักรเชียงแสนมาก่อน หลวงปู่ขาน ท่านพิจารณาเห็นถึงความสงบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรม ท่านจึงเกิดความชอบใจและได้ตัดสินใจจำพรรษาอยู่ที่ดอยกู่แก้ว ในพรรษาที่ ๑๓ ต่อมามีผู้มีศรัทธาถวายที่ดินบริเวณดอยกู่แก้วแก่หลวงปู่ขาน ท่านจึงสร้างเป็นวัดป่าบ้านเหล่า ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “วัดวชิระทรงธรรมพัฒนา” และอยู่อบรมธรรมแก่ลูกศิษย์ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๓ – พรรษาที่ ๕๐ คือปี พ.ศ.๒๕๑๒ จนถึงปีแห่งมรณกาลของท่านคือปี พ.ศ.๒๕๔๙

    %B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    “…หลวงปู่ขาน นี่วาระจิตท่านเร็วมากนะ ขนาดเราแค่คิดไว้ในใจห่างตั้ง ๕-๖ กิโลเมตร ท่านยังรู้ได้ เพราะเราเคยลองดู ครั้งหนึ่งเราตั้งใจจะไปกราบท่าน เลยคิดในใจว่า ถ้าหากว่าหลวงปู่ขาน รู้จักวาระจิตจริงดังคำเขาลือกัน ขอให้นั่งรอเราอยู่ อย่าพึ่งเข้าที่พัก..”

    เพราะปกติหลวงปู่ท่านฉันเช้าเสร็จจะเข้าที่พักเลย ตอนนั้นเราฉันเช้าเสร็จตอนแปดโมงเช้า และต้องเดินขึ้นเขาไปหาท่านอีกประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร เราไปถึงวัดป่าบ้านเหล่าประมาณ ๑๑ โมงเช้า พอไปถึงยังไม่ได้วางกลด วางบาตรเลย หลวงปู่ท่านพูดดักเลยว่า “ทำไมให้ พระผู้เฒ่าคอยตั้งนาน” นั่น ! ท่านเก่งมากนะ

    ตอนเช้าจะออกบิณฑบาต เราไปรับบาตรจากท่านเสร็จ ต้องเดินลงเขาไป ตอนนั้นเรายังหนุ่มแน่น เรียกว่าเดินอย่างเต็มที่แล้ว กะว่าจะไปรอท่านหน้าทางเข้าหมู่บ้าน พอไปถึงก็เจอหลวงปู่นั่งเคี้ยวหมากรออยู่ทางเข้าหมู่บ้านแล้ว ท่านเก่งมากนะ”

    พระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร
    วัดถ้ำผาเกิ้ง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น
    หลวงปู่ขาน มักจะสอนพระเณรให้รู้จักพึ่งตนเอง มีความอดทน และทำเป็นตัวอย่างมากกว่าสอนด้วยปากเปล่า และหลวงปู่ไม่รับนิมนต์กิจ ที่ไหนไกลจากบ้านเหล่าเลย อีกทั้งท่านยังเป็นพระที่มีขันติธรรม แม้ท่านป่วยก็ไม่บ่น แสดงอาการอ่อนแอให้ใครเห็นเลย ท่านจะใช้ธรรมโอสถรักษาเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ลูกศิษย์ หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปณิธานไว้ ๕ ข้อ คือ
    ๑.จะไม่ไปนั่งบ้านโยม ไม่ขึ้นบ้านน้อย บ้านใหญ่
    ๒.ไม่รับนิมนต์นอกเขต (รับเฉพาะหมู่บ้านเหล่า หากท่านไม่ไปงานนิมนต์ ท่านจะให้พระรูปอื่นไปแทน)
    ๓.ไม่จับโทรศัพท์ พูดโทรศัพท์
    ๔.จะไม่เขียนจดหมายติดต่อกับใคร
    ๕.จะไม่ขึ้นเครื่องบิน

    %E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99-2.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    16105573_1074617259309302_4561918942882514917_n.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพาน ภายในกุฏิ ณ วัดป่าบ้านเหล่า เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๒๑.๓๔ น. สิริอายุรวม ๗๑ ปี ๑ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๕๐

    เถ้าอัฐิและเถ้าอังคารของหลวงปู่ขาน นั้นในเวลาต่อมาได้กลายเป็น พระธาตุ แสดงถึงการสำเร็จเป็นพระอรหันต์เจ้าและเข้าสู่นิพพานแล้วอย่างแท้จริง

    9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.jpg
    หลวงปู่ศรี สิริธโร วัดป่าโนนทองอินทร์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
    หลวงปู่บุญจันทร์ (ดำ) สีลคุโณ วัดป่ามณีศรีโคตมวงศ์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
    หลวงปู่โส อาจาโร วัดป่าลันวัฒนาราม อ.ฝาง จ.เชีนงใหม่
    ในงานประชุมเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    ณ วัดวชิรทรงธรรมพัฒนา (วัดป่าบ้านเหล่า) อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3.jpg
    รูปเหมือน หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    9%89%E0%B8%87-%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg
    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    89%E0%B8%87-%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-2.jpg
    อัฏฐบริขาร ภายใน พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    89%E0%B8%87-%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-3.jpg
    อัฐิธาตุ ภายใน พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    โอวาทธรรม หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    ท่านจะเน้นให้พระเณรปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ สมกับเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้หาทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

    “..ถ้าเป็นอาบัติ ทุกกฎ มันก็กดมรรค กดผลไว้ ไม่ให้เกิดขึ้น มีขึ้น ถ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ มันก็ตีมรรค ตีผล ตีจิต ตีใจ ไม่ให้เกิดขึ้น..”

    “..ไปไหนไม่เท่ากับอยู่วัด อยู่วัดไหนก็ ไม่เท่าอยู่วัดตัวเอง
    คนมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จะได้ไม่นิ่งนอนใจในชีวิต..”

    “..คนมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จะได้ไม่นิ่งนอนใจในชีวิต..” SAM_9097.JPG SAM_9088.JPG SAM_9089.JPG
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 730 เหรียญโต๊ะหมู่บูชารุ่นพูลทรัพย์เเสนล้านหลวงปู่ทองพูน สิริกาโม พระอรหันต์เจ้าวัดสามัคคีอุปถัมถ์(วัดป่าภูกระเเต) อ.เมือง จ.บึงกาฬ หลวงปู่ทองพูนเป็นศิษย์หลวงปู่สีโห ,หลวงปู่จวน กุลเชษโฐ วัดภูทอก เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2554 เนื้อกะไหล่เงิน มีตอกโค๊ต ภ เน้าเหรียญ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ***********บูชาที่ 395 บาทฟรีส่งems ประวัติโดยย่อ หลวงปู่พระครูสิริธรรมวัฒน์ (พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม)
    วัดสามัคคีอุปถัมภ์ ( วัดภูกระแต ) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
    414-1d8b-jpg-jpg.jpg
    ท่าน อาจารย์ทองพูล สิรกาโม เป็นพระกรรมฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยพระเถระรุ่นนี้ มีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่คำตัน พระครูอุดมศีลวัฒน์ วัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม พระครูปัญญาวรากร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม โดยเฉพาะท่านอาจารย์ทองพูลกับท่านอาจารย์จวน ทั้ง 2 องค์ มีความสนิทสนมกันมาก
    ท่านอาจารย์ทองพูล เดิมชื่อหนูพูล นามสกุล เอนไชย เกิดที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อนายเคน มารดาชื่อนางสุภี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7คน
    ตั้งแต่วัยเด็กท่านอาจารย์ทองพูลมีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา ท่านอาจารย์ได้บรรพชาอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกายที่วัดท่าเดื่อ โดยมีพระอุปัชฌาย์สิงห์ (ปัจจุบันคือ พระครูนรสีสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส)
    การบวช ครั้งนั้นเป็นการบวชในงานบุญประเพณีของผู้ที่ท่านอาจารย์คุ้นเคย และต่อมาท่านอาจารย์ทองพูลได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ฝั้น โดยท่านอาจารย์ทองพูลได้เปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมี่พระอาจารย์เจดีย์(จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์สวัสดฺ เป็นพระกรรมวาจาจาร มีฉายาว่า สิริกาโม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2495
    นับ ตั้งแต่การอุปสมบท ท่านอาจาย์ทองพูล ได้ตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อเร่งความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกท่านอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษาและอดอาหารควบคู่กันไป ท่านอาจารย์ทองพูลยังป่วยอาพาธเป็นไข้มาเลเรียนอย่างหนัก แต่ท่านอาศัยธรรมโอสถขันติธรรมเพ่งเวทนาที่เกิดขึ้นจนไข้มาเลเรียหายไปเอง
    สำหรับ วัดสามัคคีอุปถัมภ์แห่งนี้ ท่านอาจารย์ทองพูลได้เดินทางมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยุ่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบ รกครึ้ม
    เมื่อ ท่านอาจารย์มาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกท่านจำวัดใต้ต้นบก และ 3-4 วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้าน และกุฎิชั่วคราวแบบง่ายๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นท่านอาจารย์จึงได้พัฒนาวัดเรือยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
    415-2b97-jpg-jpg.jpg
    421-5f1a-jpg-jpg.jpg

    419-debd-jpg-jpg.jpg

    418-3cf3-jpg-jpg.jpg
    *****หลวงปู่ละสังขารเข้าอนุปาิเสสนิพพานวันที่ 12 พ.ค.ปี 2558 เวลา 18.59 น. สิริอายุ 83 ปี พรรษาที่ 63 ปี >>>>>>>>>>มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ SAM_9090.JPG SAM_9091.JPG SAM_8176.JPG
     
  3. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  4. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  5. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 731 เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิมเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2532 เนื้อทองเเดงรมดำ สร้างโดยหน่วยบัญชาการกรป.กลางเชียงใหม่ที่ 32 มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 350 บาทฟรีส่งems
    ประวัติ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง

    g8.jpg

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    ท่านมีนามเดิมว่า สิม วงศ์เข็มมา เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2452 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา เวลาประมาณ 21.00 น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดามารดาชื่อ นายสาน - นางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน ท่านเป็นคนที่ 5

    สกุล "วงศ์เข็มมา" เป็นสกุลเก่าแก่สกุลหนึ่งของบ้านบัว ผู้เป็นต้นสกุล คือ ท่านขุนแก้ว และ อิทปัญญา น้องชาย ตัวท่านขุนแก้วก็คือ ปู่ของหลวงปู่สิมนั่นเอง เ เท้าความในคืนที่หลวงปู่เกิด ประมาณเวลา 1 ทุ่ม โยมมารดาของท่านเคลิ้ม หลับไป ก็ได้ฝันเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรัศมีกายสุกสว่างเปล่งปลั่งแลดูเย็นตาเย็นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลอยลงมาจากท้องฟ้าลงสู่กระต็อบกลางทุ่งนาของนาง ต่อมาเวลาประมาณ 3 ทุ่ม นางสิงห์คำก็ให้กำเนิดเด็กน้อยผิวขาวสะอาด และจากนิมิตที่นางเล่าให้ฟัง นายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า "สิม" ซึ่งภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ อันอาจบ่งบอกถึงความใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ซึ่งต่อมาเด็กชายสิมผู้นึ้ ก็ได้ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ บำเพ็ญสมณธรรม ใช้ชีวิตที่ขาวสะอาดหมดจดตลอดชั่วอายุขัยของท่าน เมื่อเริ่มเข้ารุ่นหนุ่ม อายุ 15-16 ปี ท่านมีความสนใจในดนตรีอยู่ไม่น้อย หลวงปู่แว่น ธนปาโล เล่าว่า ตัวท่านเองเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่สิม เป็นหมอแคน

    สิ่งบันดาลใจให้หลวงปู่สิม อยากออกบวชคือ ความสะดุ้งกลัวต่อความตาย ท่านเล่าว่า "ตั้งแต่ยังเด็กแล้วเมื่อได้เห็น หรือได้ข่าวคนตาย มันให้สะดุ้งใจ ทุกครั้ง กลัวว่าเราจะตายเสียก่อนได้ออกบวช" มรณานุสติได้เกิดขึ้นในใจของท่านอยู่ตลอดเวลา เฝ้าย้ำเตือนให้ท่านไม่ประมาท ในชีวิต ไม่ประมาทในวัยไม่ประมาทในความตาย เป็นเพราะหลวงปู่สิมกำหนด "มรณํ เม ภวิสฺสติ" ของท่าน มาแต่ไหนแต่ไรแล้วนั่นเอง ตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวชจวบจนสิ้นอายุขัย ของท่าน หลวงปู่สิมก็ ยังใช้อุบายธรรมข้อเดียวกันนี้อบรมลูกศิษย์ลูกหาอยู่เป็นประจำ เรียกว่า หลวงปู่เทศน์ครั้งใด มักจะมี "มรณํ เม ภวิสฺสติ" เป็นสัญญาณเตือนภัย จากพญามัจจุราชให้ลูกศิษย์ลูกหาตื่นตัวอยู่เสมอทุกครั้ง

    870-adc5.jpg
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เมื่อท่านอายุ 17 ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีรัตนาราม ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ณ บ้านบัว นั้นเอง ตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม 2469 ตรงกับวัน อาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาคณะกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์มาจากจังหวัดหนองคาย เพื่อมาเผยแพร่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชน โดยเดินทางมาถึงวัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สามเณรสิม จึงได้มีโอกาสเดินทางไปฟังธรรม ทั้งจากพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สามเณรสิมได้เฝ้าสังเกต ข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจาย์มั่น ท่านพระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์ มหาปิ่น และได้บังเกิดความเลื่อมใสอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น และได้ขอญัตติใหม่มาเป็นธรรมยุติกนิกาย แต่โดยที่ขณะนั้นยัง ไม่มีโบสถ์ของวัดฝ่ายธรรมยุติในละแวกนั้น การประกอบพิธีกรรมจึงต้องจัดทำที่โบสถ์น้ำ ซึ่งทำจากเรือ 2 ลำ ทำเป็นโป๊ะลอยคู่กัน เอาไม้พื้นปูตรึงเป็นพื้นแต่ไม่มีหลังคา สมมติเอาเป็นโบสถ์ โดยท่านพระอาจารย์มั่นฯ เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จากนั้นสามเณรสิมได้ติดตามพระอาจารย์มั่นไปอยู่จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    เมื่อสามเณรสินอายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 ตรงกับ วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง โดยมีเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุติจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธาจาโร" จากนั้นท่านก็ได้เดินทางติดตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าบ้านเหล่างา) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วัดป่าบ้านเหล่างานี้เป็นวัดอยู่ในเขตป่าช้า (บริเวณโรงพยาบาลขอนแก่นในปัจจุบัน) ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักอบรมกรรมฐาน แก่ญาติโยมชาวขอนแก่น

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ได้ออกอุบายสอนลูกศิษย์ของท่านให้ได้พิจารณา อสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาพระเณรไปขุดศพขึ้นมาพิจารณา หลวงปู่สิมได้ เล่า ประสบการณ์ที่ท่านได้อสุภกรรมฐานจากซากศพและว่า "นี่แหละร่างกายนั้น พระพุทธองค์ท่านจึงทรงสอนให้กำหนดเป็นอสุภกรรมฐาน อย่าไปเห็นว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย ให้เข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่า กัน"

    "สมมติโลกว่าสวยว่างามสมมติธรรมมันไม่สวยงาม อสุภํ มรณํ ทั้งนั้น ถึงมันจะยังไม่ตาย ตอนเด็กตอนหนุ่มก็เถอะ ไม่นานละ เดี๋ยวมันก็ทยอยตายไปทีละคน สองคน หมดไป สิ้นไป ไม่เหลือ"
    871-199c.gif
    ในชีวิตสมณะของท่าน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่า "โสสานิ กังคะ" คือไปเยี่ยมป่าช้าเป็นธุดงควัตร และที่วัดป่าเหล่างานี้เอง ที่หลวงปู่สิมได้ มีโอกาสปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลานาน 3-4 ปี ทั้งได้มีโอกาสมักคุ้นกับพระกรรมฐานองค์สำคัญๆ หลายองค์ เช่น หลวงปู่เทศก์ เทสฺรํสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, ท่านพ่อลี ธมฺมธโร, ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

    ปี พ.ศ. 2479 (พรรษาที่ 8) เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนพระอาจารย์สิงห์ ขนุตยาคโมที่วัดจักราช สมเด็จฯ ท่านได้แลเห็นจริยาวัตรของหลวงปู่สิม ขณะทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้และเกิดชื่นชอบถูกใจ ถึงกับปรารถนาจะชวนหลวงปู่สิมไปอยู่ด้วย กับท่าน จึงเอ่ยปากขอตัวหลวงปู่สิม กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ว่า "พระองค์นี้มีลักษณะเป็นผู้มีบุญบารมี ผมจะขอตัวให้ไปอยู่ด้วยจะขัดข้องหรือเปล่า" ซึ่งท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านก็มิได้ขัดข้อง ด้วยเห็นเป็นวาสนาบารมีของหลวงปู่สิม ที่จะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่เยี่ยงท่านสมเด็จฯ นี้ ทั้งจะได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร จึงได้ร่วมเดินทางมากับสมเด็จฯ ที่วัดบรมนิวาส มาจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักสมเด็จฯ ทำให้หลวงปู่สิม ได้รับความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยมากขึ้น หลวงปู่สิม อยู่รับใช้สมเด็จฯด้วยจริยา ดีเยี่ยม พร้อมกันนั้นหลวงปู่สิม ก็ได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ พระธุดงค์กรรมฐานให้แก่พระเณรจำนวนมากที่มารับการฝึกฝนอบรมจากหลวงปู่สิม
    ปี พ.ศ. 2480 ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สิม ได้เรียนขออนุญาตต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เดินทางธุดงค์กลับถึงบ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิดตามคำอาราธนา และเมื่อหลวงปู่ปรารภ ที่จะให้มีวัดป่าธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นวัดแรกในบ้านบัว ญาติโยม จึงต่างสนองตอบ คำปรารภของหลวงปู่สิม อย่างกระตือรือร้นและเต็มอกเต็มใจ โยมอาของท่าน คือนางคำไพ ทุมกิจจะ ได้มีศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่สิม จัดสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2480 สำนักสงฆ์นี้ปัจจุบันได้พัฒนาเป็น "วัดสันติสังฆาราม" พร้อมด้วยวัดและสำนักสงฆ์ สาขา เกิดอีก 9 แห่ง

    สำหรับ วัดสันติสังฆาราม จังหวัดสกลนครนี้ หลวงปู่สิม ได้ เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนแล้วเสร็จ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาฝังลูกนิมิตในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ในโอกาสเดียวกับงานอายุครบ 71 พรรษา ของหลวงปู่สิม

    หลวงปู่สิม ได้ธุดงค์ไปในหลายจังหวัด อาทิ เช่น วัดป่าสระคงคา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักสงฆ์หมู่บ้านแม่ดอย (ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ชื่อว่า วัดป่าอาจารย์มั่น) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (ณ ที่นี้หลวงปู่สิมได้พบ หลวงปู่มั่นฯ และได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากหลวงปู่มั่น จนการปฏิบัติธรรม ของหลวงปู่สิม ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก) เมื่อแยกจากหลวงปู่มั่นแล้ว หลวงปู่สิมได้ เดินธุดงค์ ไปทางอำเภอสันกำแพง เข้าพักที่ วัดโรงธรรม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นสำนักชั่วคราว ที่วัดโรงธรรมสามัคคีนี้ เคยเป็นสถานที่ที่ครูอาจารย์หลายท่านเคยใช้พักจำพรรษา อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นต้น

    หลวงปู่สิม ได้พักจำพรรษาที่วัดโรงธรรมสามัคคี แห่งนี้ ติดต่อกันนานถึงห้าปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึงปี พ.ศ. 2487 จึงย้ายไปจำพรรษาที่ ถ้ำผาผัวะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 ในระหว่างนั้น หลวงปู่สิมได้รับรู้ความคับจิตคับใจของบรรดาชาวบ้านทั้งหลาย หลวงปู่สิมได้ปลุกปลอบใจของชาวบ้านที่กำลังสิ้นหวังให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้น ด้วยการหยั่งพระ สัทธรรมลงสู่จิตของพวกเขา

    ในระหว่างออกพรรษา หลวงปู่สิม ได้จาริกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียร ณ สถานที่วิเวกหลายแห่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ศิษย์อาวุโสชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งคือ เจ้าชื่น สิโรรส (วัย 96 ปี) โดยในปี พ.ศ. 2488 เจ้าชื่น สิโรรส ได้อพยพครอบครัวหลบภัยสงครามไปอยู่ที่ถ้ำผาผัวะ ขณะที่หลวงปู่สิมธุดงค์ ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาผัวะนี้ ท่านเปรียบเสมือนที่พึ่งอันสูงสุดที่มีความหมายมาก สำหรับคนที่อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด เนื่องจากสงคราม ปลายปี พ.ศ. 2498 เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาใกล้จะยุติ เจ้าชื่น สิโรรส ซึ่งอพยพจากถ้ำผาผัวะ กลับคืน ตัวเมืองเชียงใหม่ ได้กราบอาราธนาหลวงปู่สิม ให้ย้ายเข้ามาพักจำพรรษา ที่ตึกของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กีรติปาล (คิวริเปอร์) ซึ่งอยู่ที่ถนนดอยสุเทพตรงข้าง กับถนนไปสนามบินเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือที่ตั้งของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่สิมพบกับลูกศิษย์ คนแรกที่อุปสมบทที่เชียงใหม่คือ พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตฺโต ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัด "สันติธรรม" ซึ่งได้ทำการก่อสร้างขึ้นในภายหลัง ปี พ.ศ. 2490 เมื่อสงครามสงบโดยสิ้นเชิง มีข่าวว่า เจ้าของบ้านคือ แม่เลี้ยง ดอกจันทร์ และลูกหลานที่อพยพหลบภัยสงครามไปจะกลับคืน ถิ่นฐานเดิม หลวงปู่สิม จึง ปรารภเรื่องการสร้างวัด คำปรารภในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจ ให้คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ เกิดศรัทธาขึ้นมาอย่างแรงกล้า ที่จะสร้างวัดถวายหลวงปู่สิม ด้วยพลังศรัทธานั้นเอง "วัดสันติธรรม" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยอาศัยกำลังศรัทธา ของสานุศิษย์

    ปี พ.ศ. 2497 โยมมารดาของหลวงปู่สิม ถึงแก่กรรม หลวงปู่สิม จึงได้เดินทาง จากเชียงใหม่ลงมาที่บ้านบัวอีกครั้งหนึ่ง ครั้นเสร็จงานฌาปนกิจศพโยมมารดาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ ไปจังหวัดนครพนมทันที เพื่อจำพรรษาที่ภูลังกา


    ช่วงปี พ.ศ. 2498-2403 หลวงปู่สิม ได้กลับไปพักจำพรรษาที่วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในจิตใจส่วนลึกของท่านนั้น ยังปรารภความสงบวิเวกของป่าเขาและโพรงถ้ำต่างๆ อยู่ จนต้นปี พ.ศ. 2503 ต่อมาได้มีพระลูกศิษย์ของหลวงปู่ ไปพบ ถ้ำปากเปียง ซึ่งอยู่ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่สิม จึงย้ายไปอยู่ ภาวนาที่ถ้ำปากเปียงบ่อยครั้ง ด้วยเป็นที่สงบสงัดร่มรื่น ต่อมาในฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2503 ลุงติ๊บ คนบ้านถ้ำ ได้เป็นคนนำทาง พาหลวงปู่ปีนป่ายภูเขาขึ้นไปตามซอกเล็กๆ เพื่อหาถ้ำที่กว้างและอยู่สูง ตามคำปรารภของหลวงปู่สิม ที่ว่า "กิเลสจะได้เข้าหายาก" จนกระทั่งได้พบถ้ำผาปล่อง ซึ่งเป็นถ้ำที่ท่านคิดว่าจะเป็นบ้านสุดท้ายในการบำเพ็ญภาวนาในชีวติของท่าน หลวงปู่สิม ได้ พักค้างคืนบนถ้ำผาปล่องหนึ่งคืน แล้วก็ลงไปพักที่ถ้ำปากเปียงต่อ ต่อจากนั้นท่านก็ได้แวะเวียนไปพักที่ถ้ำผาปล่องอีกเสมอ

    ในปี พ.ศ. 2504 ท่านพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร (ท่านเจ้าคุณวิสุทธิธรรม รังสี) เจ้าอาวาส วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งเป็นศิษย์ในสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่นกัน ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงลงมติขอให้หลวงปู่รับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส หลวงปู่จึงได้ช่วยอยู่ดูแลวัดอโศการาม ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 และในปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ได้รับการขอร้องจาก ท่านเจ้าคุณนิโรธธรรมรังษี ให้หลวงปู่ช่วยรับตำแหน่งรักษาการ เจ้าอาวาส วัดป่าสุทธาวาส หลวงปู่สิม จึงจำใจต้องรับเป็นเจ้าอาวาส ให้วัดป่าสุทธาวาสอยู่ 1 พรรษา โดยที่ใจจริงของท่านนั้นเบื่อหน่าย คิดอยากแต่จะออกธุดงค์อยู่เรื่อยไป

    ในระหว่าง พ.ศ. 2506-2509 หลวงปู่สิม ได้มีปัญหาอาพาธด้วยโรคไตมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 ด้วยปัญหาสุขภาพของหลวงปู่สิม หลวงปู่สิม จึงได้ตัดสินใจวาง ภารกิจต่างๆ โดยลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสทุกวัดที่ท่านดูแลอยู่ จากนั้น ท่านก็มาจำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่องตลอดมา

    ในปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่สิม ได้เดินทางไปสังเวชนียสถานที่อินเดียและได้เดินทางไปอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2523 นอกจากนี้แล้วหลวงปู่สิม ยังได้มีโอกาส เดินทางไปที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตลอดถึงทวีปยุโรป และอเมริกาอีกด้วย

    หลวงปู่สิม ท่านมีความขยันและตั้งใจมั่นตั้งแต่เด็กดังเช่น พระอาจารย์ศรีทอง (พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งเป็นมหานิกาย) ได้เล่าว่า ครั้งเมื่อทางวัดมีการขุดสระ สามเณรสิมก็ไปช่วยขุดและขุดจนกระทั่งใครต่อใครเขาทิ้งงานไปหมด เนื่องจากขุดลงไปลึกถึงสิบเอ็ดสิบสองวาแล้ว ก็ยังไม่มีน้ำ เมื่ออุปัชฌาย์ถามว่า "จะขุดไปถึงไหนกัน" สามเณรสิมตอบว่า "ขุดไปจนสุดแผ่นดินนั่นแหละ" ปฏิปทาของหลวงปู่สิม ที่แสดงถึงความมีเมตตาอย่างล้นเหลือต่อลูกศิษย์ ได้แสดงให้เห็นอยู่เนืองๆ หลวงปู่สิม ปกครอง พระเณรลูกวัดของท่านอย่างอบอุ่น ใกล้ชิดเหมือนพ่อดูแลลูกๆ ภาพในอดีตที่ประทับใจลูกศิษย์ (คุณแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์) ภาพหนึ่งก็คือ เวลาที่พระเณรอาพาธ หลวงปู่สิม จะนั่งเฝ้าไข้อย่างสงบ ไม่ยอมห่างจนกระทั่ง ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ครั้งหนึ่งเณรน้อยนอนซมด้วยโรคพยาธิตัวเหลืองซูบซีดผอม เพราะฉัน อาหารไม่ได้เลย "แม่ไล" ได้เอายาถ่ายพยาธิมาถวาย เณรน้อยก็ฉันไม่ได้ อาเจียนออกมา ทำให้แม่ไลโมโหมากจะบังคับให้ฉันให้ได้ แต่หลวงปู่สิม ซึ่ง นั่งเฝ้า อยู่อย่างใจเย็นได้ปลอบประโลมเณรน้อยของท่านขึ้นว่า "วันพรุ่งนี้เถอะเน้อ ไปบิณฑบาตได้กล้วยก่อน จะเอายาใส่ในกล้วยให้เณรน้อยฉัน" งานพัฒนาชุมชนที่นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ของหลวงปู่สิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส และผลงานก็ได้ก่อประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ แก่ชาวบ้านเกษตรกร ก็คือ งานสร้างฝายน้ำล้น ลำน้ำอูน ที่ท่าวังหิน ซึ่งก็คือบริเวณ สำนักสงฆ์เวฬุวันสันติวรญาณ ในปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2521 ภายหลังจำพรรษา ที่วัดสันติสังฆาราม หลวงปู่สิม ก็ได้รับ อาราธนาจากชาวบ้านทั้ง 4 ตำบล ใน 2 เขตอำเภอ ให้มาเป็นประธานในการสร้างฝายน้ำล้นกั้นลำน้ำอูน งานสร้างฝายน้ำล้นชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของหลวงปู่สิม เด่นชัดมาก ในเรื่องความเป็นผู้เอาใจใส่ และรับผิดชอบในภารกิจ เมื่อที่ประชุมปรึกษาหารือกันว่าเห็นควรจะเริ่มงานกันวันใหม่ หลวงปู่สิม ก็ว่าให้เริ่มงานกันวันนี้เลย

    หลวงปู่สิม เป็นผู้มีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง อดทน พูดจริง ทำจริง ถือสัจจะมั่นคง เป็นผู้ไม่มากโวหาร ทุกวันหลวงปู่จะพาเริ่มงานตั้งแต่ตี 4 ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นพอ 10 โมงเช้า จึงพักฉันอาหาร หลังอาหารแล้วก็เริ่มทำงานกันต่อจนมืดค่ำ พอถึงเวลา 1 ทุ่ม หลวงปู่ก็จะพาสวดมนต์และฟังเทศน์ เสร็จแล้ว ก็เริ่มท้ิงหินลงในคอกไม้ที่สร้างไว้ ตลอดแนวฝาย กว่าจะได้จำวัดก็ 4 ทุ่ม หรือบางวัน งานจะติดพันจนถึงตีหนึ่งตีสอง เป็นดังนี้ตลอดระยะเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 จนฝายน้ำล้นสร้างสำเร็จ หลวงปู่สิม จึงกลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาปล่อง

    หลวงปู่สิม ได้รับสมณศักดิ์ "พระครูสันติวรญาณ" ในวันที่ 5 ธันวาคม 2502 และได้รับพัดยศโดยเลื่อนจากสมณศักดิ์ที่ "พระครูสันติวรญาณ" เป็น "พระญาณสิทธาจารย์" ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 และในคืนวันที่ 13 สิงหาคม 2535 พระเณรพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้พร้อมใจกันเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองสมณศักดิ์ถวายหลวงปู่ ที่ถ้ำผาปล่อง หลังจากเจริญพระพุทธมนต์หลวงปู่ได้พาพระเณรและญาติโยมนั่งภาวนา ต่อจนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. แล้วท่านก็นั่งพักดู บริเวณ ภายในถ้ำอีกประมาณ 20 นาที คล้ายกับจะเป็นการอำลา จนถึงเวลา 22.00 น. ท่านจึงกลับเข้ากุฏิที่พักด้านหลังภายในถ้ำผาปล่อง และได้มรณภาพในเวลาประมาณ ตีสาม สิริรวมอายุของหลวงปู่ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา

    872-1945.jpg

    ธรรมโอวาท จาก พระธรรมเทศนา พุทธาจารานุสรณ์ และ ธรรมลิขิต

    1. คำว่า จิต ได้แก่ ดวงจิต ดวงใจผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่ ผู้ได้ยินได้ฟังอยู่ เราฟังเสียง ได้ยินเสียง ใครเป็นผู้รู้อยู่ในตัวในใจ นั่นแหละมันอยู่ตรงนี้ ให้รวมให้สงบเข้ามาอยู่ตรงนี้ ตรงจิตใจผู้รู้อยู่
    2. ตาเห็นรูป ก็จิตดวงนี้เป็นผู้เห็น ดีใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียใจก็จิตดวงนี้หลงไป เสียงผ่านเข้ามาทางโสต ทางหูก็จิตดวงเก่านี่แหละ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็จิตดวงนี้เป็นผู้หลง เมื่อจิตใจดวงนี้เป็นผู้หลงผู้เมาไม่เข้าเรื่อง เราก็มาแก้ไขภาวนาทำใจให้สงบ ไม่ให้หันเหไปกับอารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดดับอยู่ในตัว ในใจ ในสัตว์ ในบุคคลนี้ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็แตกดับไปเป็นธรรมดาอย่างนี้
    3. การปฏิบัติบูชา ภาวนานี้ เป็นการปฏิบัติภายใน เป็นการเจริญภายใน พุทโธภายใน ให้ใจอยู่ภายใน ไม่ให้จิตใจไปอยู่ภายนอก SAM_9096.JPG SAM_9095.JPG SAM_8191.JPG
     
  7. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 732 พระนาคปรกผงศิลา 9 มงคลหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง องค์พระสร้างปี 2540 เนื้อสีดำ มวลสารของพระรุ่นนี้เป็นมวลสารมงคลระดับสูง เต็มด้วยคุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสมเด็จ 9 มงคลมวลสารที่ใช้สร้างพระชุด9มงคลทั้งหมดล้วนคัดสรรมาอย่างดีอันประกอบด้วย
    เส้นเกศา 9 พระสุปฏิปันโน
    อันประกอบด้วย เส้นเกศา 1, หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ,2 เส้นเกศาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ,3 เส้นเกศาหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,4 ,เส้นเกศาหลวงปู่ชอบ ฐานสโม,5 เส้นเกศาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี,6 เส้นเกศาหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ,7, เส้นเกศาหลวงปู่สิม พุทธาจาโร, 8, เส้นเกศาหลวงปู่พระอาจารย์วัน อุตตโม, 9, เส้นเกศาหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    9 มงคลพิเศษ
    1) ผงอังคาร ๕ คณาจารย์อันประกอบด้วย 1, ผงอังคารครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน, 2, ผงอังคารหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ ,3, ผงอังคารหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย, 4 ,ผงอังคารหลวงปู่สาม อภิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ ,ผงอังคารหลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิต จ.หนองคาย, 5 ,ผงอังคารหลวงปู่สิงห์ทอง วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร,
    2) แร่ ทรายทองคำ, พลอยบดหลายชนิด, อาทิ นิล ไพลิน โกเมน ฯลฯ
    3) ผงพระกรุต่างๆผงเก่าพระธาตุหริภุญไชย,ดินสังเวชนีสถานในอินเดีย
    4) เเร่ไหลดำจากประเทศลาว
    5) ผงเกสร9ชนิด
    6) ผงว่านสาวหลง
    7)โกเมนบด ,ไพลินบด
    8)นิลบด
    9) ผงมะพร้าวนรเก มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>> >>>>>บูชาี่ 295 บาทฟรีส่งems sam_0687-jpg.jpg SAM_9098.JPG SAM_9099.JPG SAM_6819.JPG sam_0687-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2021
  9. ธรรมาวุธ

    ธรรมาวุธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    364
    ค่าพลัง:
    +394
    ขอบูชาครับ
     
  10. ธรรมาวุธ

    ธรรมาวุธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    364
    ค่าพลัง:
    +394
    จอแจ้งโอนรายการ 695 และ 730 ครับ ที่อยู่ผมส่งทางข้อความครับ ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    432
    ค่าพลัง:
    +275
    ขอจองบูชาครับ
     
  12. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 733 เหรียญหลวงปู่ขาน ฐานวโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย หลวงปู่ขานเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล เหรียญสร้างปี 2546 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 68 ปีเนื้อกะไหล่เงิน มีพระอัฐิธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

    -e0-b8-9a-e0-b9-89-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b9-80-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b9-88-e0-b8-b2-1-840x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตตั้งไว้ประเสริฐแล้ว”

    หลวงปู่ขาน ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาอันสง่างาม เป็นแบบอย่างในด้านความพากเพียรและกาประพฤติปฏิบัติ มักน้อยสันโดษ ออกธุดงค์แสวงหาครูบาอาจารย์ตามป่าเขาแลโถงถ้ำ ต่อสู้ต่อความยากลำบาก ความกันดารอดอยาก จนได้พบวิมุตติธรรมหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดจากสังสารวัฏได้ในพรรษาที่ ๗

    หลวงปู่ขาน ถือกำเนิด ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๘ ปีกุน ณ บ้านโนนปอแดง ต.โนนสัง อ.โนนสัง จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ.หนองบัวลำภู)

    ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ ของ คุณพ่อหนู คุณแม่ห่อน สุขา มีพี่น้องทั้งหมด ๑๐ คน

    ๑. พระสอน (มรณภาพ)
    ๒.นายพร (ถึงแก่กรรม)
    ๓. นางสอ (ถึงแก่กรรม)
    ๔.นางสังข์ (ถึงแก่กรรม)
    ๕.นางวัง(ถึงแก่กรรม)
    ๖.นางเวิน (ถึงแก่กรรม)
    ๗.นางเหวิ่น (ถึงแก่กรรม)
    ๘.นายหว่าน (ถึงแก่กรรม)
    ๙.หลวงปู่ขาน ฐานวโร (มรณภาพ)
    ๑๐. นางก้าน (มารดาของพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร)

    -e0-b8-b2-e0-b8-9a-e0-b9-89-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b9-80-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b9-88-e0-b8-b2-2-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลวงปู่ขาน ท่านมีศักดิ์เป็นลุงของท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยเจ้าแห่งวาชูคุ เพราะเป็นพี่ชายของโยมมารดาท่านพระอาจารย์เสถียร และเป็นพระอาจารย์ผู้อบรมธรรมให้กับท่านพระอาจารย์เสถียร อีกด้วย

    ชีวิตช่วงเยาว์วัย ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำสวน ได้ออกบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครั้นต่อมาเมื่ออายุ ๒๑ ปี ๑๐ เดือน ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๑๕.๔๓ น. ณ วัดป่าชะบาวัน บ้านกุดฉิม ต.บ้านค้อ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู โดยมีพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโยธานิมิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อุ่น ชาคโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเพ็ง อิติโสภโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานวโร” แปลว่า “มีที่ตั้งอันประเสริฐ”

    88-e0-b8-82-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-90-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-a7-e0-b9-82-e0-b8-a3-e0-b9-85-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลวงปู่ขาน ได้พำนักจำพรรษาแรก ณ วัดป่าสำโรง ซึ่งมีหลวงปู่ชม โฆสิโก เป็นเจ้าอาวาส พอออกพรรษาหลวงปู่ขานได้ออกธุดงค์เดินทางไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ตลอดระยะเวลาที่อยู่วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ขาวได้ให้อุบายธรรมแก่ท่านมากมายจนปลาบปลื้มอันเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม หลวงปู่ขาน ได้ปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้นทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งอดอาหารอดนอน มีสติอยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่น และนอน บางคราวก็ถือเนสันชิกอยู่ในอริยาบถ ๓ ไม่ยอมให้หลัดติดพื้น มุ่งมั่นทำความเพียร อยู่อย่างสันโดษ ตามถ้ำตามผาตามโขดหิน ผลาญหินบ้าน โคนไม้บ้าง ไม่คลุกคลีอยู่กับหมู่คณะ รวมระยะเวลาที่อยู่ถ้ำกลองเพล ๒ พรรษาด้วยกัน คือ พรรษาที่ ๒ – ๓ ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๐๒ จึงได้กราบลาหลวงปู่ขาว ออกไปแสวงหาโมกขธรรมต่อไป

    ได้อยู่จำพรรษาที่ วัดป่าแก้วชุมพล ในพรรษาที่ ๔ หลังจากนั้นหลวงปู่ขาน ได้จาริกไปที่ต่างๆ เช่น ภูกระดึง อุดรธานี หนองคาย โพนพิสัย จนมาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ถ้ำจันทน์ จ.หนองคาย ท่านได้รับอุบายวิธีการปฏิบัติสำหรับขจัดขัดเกลากิเลสจาก พระอาจารย์จวน มากมายตลอดทั้ง ๒ พรรษา ในช่วงที่หลวงปู่ขาน อยู่ที่ถ้ำจันทน์แห่งนี้ ท่านได้เกิดอาพาธเป็นไข้มาเลเรีย แม้โรคาพาธจะเบียดเบียนท่านอย่างหนักขนาดไหนก็ตาม ท่านก็ไม่ท้อถอยยอมต่อพยาธิภัยเลย เร่งความเพียรด้วยจิตใจอันเด็ดเดี่ยว ด้วยการประกอบอาจาริยวัตรท่านก็มิขาดตก ถวายการอุปัฏฐากรับให้หลวงปู่จวนอย่างไม่บกพร่อง “ธัมมะรัตนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ผู้ปฏิบัติซึ่งธรรมให้เป็นที่พึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นธรรมโอสถอย่างสูง” หลวงปู่ขาน ท่านได้ใช้ธรรมโอสถเยียวยารักษาธาตุขันธ์จากอาพาธไข้ป่าด้วยความเพียรจนหายขาดจากอาพาธทั้งปวง

    สมัยที่อยู่อุปัฏฐากหลวงปู่จวน อยู่ที่ถ้ำจันทน์นั้น ท่านได้ขึ้นไปรับใช้บีบนวดหลวงปู่จวน อยู่บนกุฏิ กระทั้งเวลาเที่ยงคืนเห็นจะได้ หลวงปู่จวนจึงให้ท่านกลับไปพักผ่อน ช่วงที่ท่านเดินลงจากกุฏิ พอดีเป็นช่วงเวลาที่เสือออกมาหากิน จึงเดินมาประจันหน้ากันที่ใต้กุฏิหลวงปู่จวน หลวงปู่ขานท่านเล่าว่า ด้วยความกลัวและทำอะไรไม่ถูก พลันสติจึงบังเกิดขึ้นตักเตือนว่าต้องนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงได้นั่งลงกับพื้นใต้กุฏิ และกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่นานจิตก็สงบ รวมเป็นสมาธิแล้วน้อมเข้ามาในกาย พิจารณากายจนท่านได้พบธรรมะอันพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาและสอนพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งธรรมเหล่านั้นได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจของหลวงปู่เป็นครั้งแรก เมื่อจิตถอนออกมาก็รุ่งเช้าพอดี เสือก็ไม่อยู่แล้ว หลวงปู่ขานท่านอยู่ที่ถ้ำจันทน์ จ.หนองคาย ถึง ๒ พรรษา คือ พรรษา ๕ และ ๖

    94653365_2602855813322707_2131753377523040256_n-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลังจากนั้นได้ธุดงค์ไปยังถ้ำพระนาผักหอก ที่บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ได้พบหลวงปู่ลี กุสลธโร ซึ่งได้มาพักภาวนาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้อยู่ก่อนแล้ว ตอนนั้นหลวงปู่ลี มีพรรษาเข้าได้พรรษาที่ ๑๕ ในพรรษานั้น โดยหลวงปู่ลี ได้บรรลุธรรมพบวิมุตติสุขได้ตั้งแต่กลางพรรษาที่ ๑๑ แล้ว ในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดบ้านกกกอก (ปัจจุบันคือ วัดป่าปริตตบรรพต) อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ขาน เมื่อมาอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ลี ท่านก็รีบเร่งภาวนา ต่างองค์ต่างปฏิบัติ ต่างองค์ต่างบำเพ็ญ อย่างไม่ลดละต่อกิเลส การบิณฑบาตแม้ว่าจะลำบากเพราะมีบ้านคนเพียง ๖ หลังคาเรือน บางวันได้ข้าวเหนียวแค่ ๓ ปั้น หลวงปู่ทั้ง ๒ หาได้ใยดีแก่ปากแก่ท้องไม่ ตั้งหน้าตั้งตาเอาธรรมะชำระกิเลส ให้หมดสิ้นไป เมื่อติดขัดสิ่งใดในการภาวนา หลวงปู่ลี ก็คอยให้คำปรึกษาถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันเรื่อยมา

    จนในพรรษาที่ ๗ นี้เองซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๖ (แต่ในหนังสือประวัติหลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านว่ามาอยู่ที่ถ้ำนาผักหอกร่วมกับหลวงปู่ขาน ฐานวโร ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๗ จึงมีความคาดเคลื่อนเรื่องปี พ.ศ.กันอยู่) หลวงปู่ขาน ได้พบกับวิมุตติธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องยุติการเดินทางใน ๓ โลกธาตุ ภพชาติต่างๆของท่านได้สิ้นสุดลง ณ ถ้ำพระนาผักหอกแห่งนี้ คืนหนึ่งหลังหลวงปู่ขาน ได้พบวิมุตติธรรมในขณะที่กำลังภาวนาอยู่นั้น ท่านได้นิมิตเห็นกับนางอุบลวรรณาเถรีมายืนอยู่เบื้องหน้า และกล่าวอนุโมทนาแก่หลวงปู่ถึงผลของการบำเพ็ญเพียรภาวนา จนได้พบกับวิสุทธิธรรม และสามารถเอาชนะกิเลสชำระให้หมดไปจากใจได้ รุ่งเช้าหลวงปู่ถอนออกจากสมาธิ และเขียนไว้บนผนังหน้าถ้ำว่า “ถ้ำโลกะวิทู” อันมีความหมายว่า “รู้แจ้งโลก”

    หลวงปู่ขาน ได้กลับไปวัดถ้ำกลองเพล กราบนมัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย อยู่ปฏิบัติอาจาริยวัตรถวายพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างเต็มกำลัง แม้ท่านจะมีธรรมอันประเสริฐประดิษฐานอยู่ในใจแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่ได้ละทิ้งการบำเพ็ญภาวนาได้ไปอยู่ที่ถ้ำผาผึ้งซึ่งอยู่ในอาณาเขตวัดถ้ำกลองเพลเพียงลำพัง ในพรรษาที่ ๘ และ ๙ ท่านอยู่กับหลวงปู่ขาว ถึง ๒ พรรษา จากนั้นจึงได้กราบลาหลวงปู่ขาว ไปอยู่วิเวก และเข้าจำพรรษาที่วัดป่าชบาวัน จ.หนองบัวลำภู อยู่ร่วมกับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ถึง ๓ พรรษา คือ พรรษาที่ ๑๐ – ๑๒ พอออกพรรษาจึงกราบลาหลวงปู่มหาบุญมี ออกจาริกไปทางภาคเหนือพร้อมด้วยพระอาจารย์ท่านต่างๆ ๑๑ รูป ได้แก่ หลวงปู่ทูล ขิปฺปปัญโญ , หลวงปู่หวัน จุลปัญฑิโต หลวงปู่จรัส ธัมมธโร และหลวงพ่อกองเหรียญ เป็นต้น คณะของหลวงปู่ได้หยุดพำนักปักกลดอยู่ที่ดอยน้ำตกพัฒนา (ปัจจุบันคือวัดดอยน้ำตกพัฒนา อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย มีหลวงปู่จรัส ธัมมธโร เป็นเจ้าอาวาส)

    กอรปกับญาติพี่น้องของท่านได้อพยพมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ จ.เชียงราย เนื่องจากบ้านโนนปอแดง อยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อนอุบลรัตน์ สำหรับวัดป่าบ้านเหล่าหรือดอยกู่แก้วเคยเป็นวัดในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์อาณาจักรเชียงแสนมาก่อน หลวงปู่ขาน ท่านพิจารณาเห็นถึงความสงบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรม ท่านจึงเกิดความชอบใจและได้ตัดสินใจจำพรรษาอยู่ที่ดอยกู่แก้ว ในพรรษาที่ ๑๓ ต่อมามีผู้มีศรัทธาถวายที่ดินบริเวณดอยกู่แก้วแก่หลวงปู่ขาน ท่านจึงสร้างเป็นวัดป่าบ้านเหล่า ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “วัดวชิระทรงธรรมพัฒนา” และอยู่อบรมธรรมแก่ลูกศิษย์ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๓ – พรรษาที่ ๕๐ คือปี พ.ศ.๒๕๑๒ จนถึงปีแห่งมรณกาลของท่านคือปี พ.ศ.๒๕๔๙

    88-e0-b8-b2-e0-b8-9a-e0-b9-89-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b9-80-e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b9-88-e0-b8-b2-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    “…หลวงปู่ขาน นี่วาระจิตท่านเร็วมากนะ ขนาดเราแค่คิดไว้ในใจห่างตั้ง ๕-๖ กิโลเมตร ท่านยังรู้ได้ เพราะเราเคยลองดู ครั้งหนึ่งเราตั้งใจจะไปกราบท่าน เลยคิดในใจว่า ถ้าหากว่าหลวงปู่ขาน รู้จักวาระจิตจริงดังคำเขาลือกัน ขอให้นั่งรอเราอยู่ อย่าพึ่งเข้าที่พัก..”

    เพราะปกติหลวงปู่ท่านฉันเช้าเสร็จจะเข้าที่พักเลย ตอนนั้นเราฉันเช้าเสร็จตอนแปดโมงเช้า และต้องเดินขึ้นเขาไปหาท่านอีกประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร เราไปถึงวัดป่าบ้านเหล่าประมาณ ๑๑ โมงเช้า พอไปถึงยังไม่ได้วางกลด วางบาตรเลย หลวงปู่ท่านพูดดักเลยว่า “ทำไมให้ พระผู้เฒ่าคอยตั้งนาน” นั่น ! ท่านเก่งมากนะ

    ตอนเช้าจะออกบิณฑบาต เราไปรับบาตรจากท่านเสร็จ ต้องเดินลงเขาไป ตอนนั้นเรายังหนุ่มแน่น เรียกว่าเดินอย่างเต็มที่แล้ว กะว่าจะไปรอท่านหน้าทางเข้าหมู่บ้าน พอไปถึงก็เจอหลวงปู่นั่งเคี้ยวหมากรออยู่ทางเข้าหมู่บ้านแล้ว ท่านเก่งมากนะ”

    พระอาจารย์สุบรรณ์ สิริธโร
    วัดถ้ำผาเกิ้ง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น
    หลวงปู่ขาน มักจะสอนพระเณรให้รู้จักพึ่งตนเอง มีความอดทน และทำเป็นตัวอย่างมากกว่าสอนด้วยปากเปล่า และหลวงปู่ไม่รับนิมนต์กิจ ที่ไหนไกลจากบ้านเหล่าเลย อีกทั้งท่านยังเป็นพระที่มีขันติธรรม แม้ท่านป่วยก็ไม่บ่น แสดงอาการอ่อนแอให้ใครเห็นเลย ท่านจะใช้ธรรมโอสถรักษาเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ลูกศิษย์ หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปณิธานไว้ ๕ ข้อ คือ
    ๑.จะไม่ไปนั่งบ้านโยม ไม่ขึ้นบ้านน้อย บ้านใหญ่
    ๒.ไม่รับนิมนต์นอกเขต (รับเฉพาะหมู่บ้านเหล่า หากท่านไม่ไปงานนิมนต์ ท่านจะให้พระรูปอื่นไปแทน)
    ๓.ไม่จับโทรศัพท์ พูดโทรศัพท์
    ๔.จะไม่เขียนจดหมายติดต่อกับใคร
    ๕.จะไม่ขึ้นเครื่องบิน

    e0-b8-ab-e0-b8-a5-e0-b8-a7-e0-b8-87-e0-b8-9b-e0-b8-b9-e0-b9-88-e0-b8-82-e0-b8-b2-e0-b8-99-2-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    16105573_1074617259309302_4561918942882514917_n-jpg.jpg
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    หลวงปู่ขาน ฐานวโร ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพาน ภายในกุฏิ ณ วัดป่าบ้านเหล่า เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙ เวลา ๒๑.๓๔ น. สิริอายุรวม ๗๑ ปี ๑ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๕๐

    เถ้าอัฐิและเถ้าอังคารของหลวงปู่ขาน นั้นในเวลาต่อมาได้กลายเป็น พระธาตุ แสดงถึงการสำเร็จเป็นพระอรหันต์เจ้าและเข้าสู่นิพพานแล้วอย่างแท้จริง

    89-e0-b8-a7-e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-jpg.jpg
    หลวงปู่ศรี สิริธโร วัดป่าโนนทองอินทร์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
    หลวงปู่บุญจันทร์ (ดำ) สีลคุโณ วัดป่ามณีศรีโคตมวงศ์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
    หลวงปู่โส อาจาโร วัดป่าลันวัฒนาราม อ.ฝาง จ.เชีนงใหม่
    ในงานประชุมเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    b9-e0-b9-88-e0-b8-82-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-90-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-a7-e0-b9-82-e0-b8-a3-jpg.jpg
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    ณ วัดวชิรทรงธรรมพัฒนา (วัดป่าบ้านเหล่า) อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    b9-e0-b9-88-e0-b8-82-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-90-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-a7-e0-b9-82-e0-b8-a3-jpg.jpg
    รูปเหมือน หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    89-e0-b8-87-e0-b8-88-e0-b9-80-e0-b8-8a-e0-b8-b5-e0-b8-a2-e0-b8-87-e0-b8-a3-e0-b8-b2-e0-b8-a2-jpg.jpg
    พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    -e0-b8-87-e0-b8-88-e0-b9-80-e0-b8-8a-e0-b8-b5-e0-b8-a2-e0-b8-87-e0-b8-a3-e0-b8-b2-e0-b8-a2-2-jpg.jpg
    อัฏฐบริขาร ภายใน พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    -e0-b8-87-e0-b8-88-e0-b9-80-e0-b8-8a-e0-b8-b5-e0-b8-a2-e0-b8-87-e0-b8-a3-e0-b8-b2-e0-b8-a2-3-jpg.jpg
    อัฐิธาตุ ภายใน พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    โอวาทธรรม หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    ท่านจะเน้นให้พระเณรปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ สมกับเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้หาทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

    “..ถ้าเป็นอาบัติ ทุกกฎ มันก็กดมรรค กดผลไว้ ไม่ให้เกิดขึ้น มีขึ้น ถ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ มันก็ตีมรรค ตีผล ตีจิต ตีใจ ไม่ให้เกิดขึ้น..”

    “..ไปไหนไม่เท่ากับอยู่วัด อยู่วัดไหนก็ ไม่เท่าอยู่วัดตัวเอง
    คนมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จะได้ไม่นิ่งนอนใจในชีวิต..”

    “..คนมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ จะได้ไม่นิ่งนอนใจในชีวิต.. SAM_9100.JPG SAM_9101.JPG SAM_9097.JPG
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    สส
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร

    %B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg
    >>>>>>รายการนี้ปิดครับหลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร รายการที่ 734 เหรียญใจหลวงปู่ประสาร สุมโน พระโพธิสัตว์โต เเห่งวัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ผั่น ปาริสโก เหรียญสร้างปี 2555 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 82 ปี เนื้อทองเเดง มีตอกโค๊ตหลังเหรียญ ,มีพระเกศาหลวงปู่มาเป็นมงคล **********บูชาที่ 355 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่ประสาร สุมโน (พระครูสุมนสารคุณ) มีนามเดิมว่า ประสาร นามสกุล “เผ่าเพ็ง” ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น “เผ่าพุทธ” และในปัจจุบันคือนามสกุล เผ่าพุทธ (พุทธะ) นั่นเอง

    เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในขณะนั้น ต่อมายกระดับขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยแยกการปกครองมาจากจังหวัดอุบลราชธานี) จึงถือตามเอกสารทางราชการในปัจจุบันว่า หลวงปู่ประสารเป็นคนบ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    โยมบิดามีนามว่า นายกลม โยมมารดามีนามว่า นางขาว นามสกุล เผ่าพุทธ (นามสกุลเดิมฝ่ายโยมมารดา “หงส์คำ) มีพี่น้องชายหญิง ๒ คน คือ

    ๑. พระครูสุมนสารคุณ (หลวงพ่อประสาร เผ่าพุทธ)
    ๒. นางเตย น้องสาว ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ (พ.ศ.๒๕๕๒ ต้นปี)


    ปฐมวัย
    ในวัยเด็กหลวงปู่ประสารนั้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านหนองเป็ดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ชีวิตของท่านก็เหมือนเด็กในชนบททั่ว ๆ ไป ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงานในบ้านตามแต่กำลังของเด็กจะช่วยได้ แม้ว่าร่างกายของท่านในยามนั้นจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะเป็นคนที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากน้ำนมของโยมมารดาของท่านไม่มีพอให้ท่านดื่ม แต่การประกอบสัมมาอาชีพท่านเล่าว่าท่านไม่เคยท้อ จนถึงปัจจุบันร่างกายของท่านก็ไม่ค่อยแข็งแรง กระทั่งปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์ศรีอารย์ เป็นคนบ้านหนองเป็ดได้ไปจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ผั่น วัดนาหัวช้าง หรือ วัดป่าอุดมสมพร ในปัจุบัน ได้มารักษาตัวโรคนิ่วที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วมาเยี่ยมโยมทั้งสองที่บ้านหนองเป็ด โดยพักที่ วัดบ้านหนองค้อ ซึ่งบ้านหนองค้อกับบ้านหนองเป็ดนั้นอยู่ห่างกันคนละฝั่งคลอง
    ในยุคนั้นหลวงปู่ประสาร ท่านออกจากโรงเรียนแล้วช่วยพ่อ-แม่ทำไร่ทำนา เมื่อเสร็จงานไร่งานนาแล้วว่างงานก็วิ่งเล่นตามประสาเด็กชนบทที่ว่างงาน พระอาจารย์ศรีอารย์เมื่อเห็นหลวงปู่ประสารย่างเล่นตามประสาคนชนบท จึงถามท่านด้วยความเมตตาว่า “มึงอยากบวชบ่”

    ท่านจึงตอบว่า “ก็อยากบวชอยู่แล้วล่ะขอรับพระอาจารย์”

    ท่านจึงพูดว่า “ให้บอกพ่อ-แม่เสียก่อน ท่านจะบวชให้”

    เมื่อนำเรื่องไปปรึกษาครอบครัว พ่อ-แม่บอกว่า “มึงจะบวชได้บ่ พระกรรมฐานฉันข้าวมื้อเดียว”

    หลวงปู่ประสารในขณะนั้นจึงตอบพ่อ-แม่กลับไปว่า “ฉันก็เป็นคนเหมือนพระท่านนั่นแหละ เมื่อท่านอดได้ฉันก็ต้องทำได้”

    เมื่อไปบอกขออนุญาตจากทางบ้านแล้วก็ไปพบพระอาจารย์ศรีอารย์ ท่านจึงให้โกนหัวบวชขาว (ประมาณว่าให้ถือศีล ๘ นั่นแหละ ผู้เขียน) ในต้นปี ๒๔๙๒ ที่วัดโนนค้อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่พักของพระสายกรรมฐาน ไม่มีพระอยู่ประจำ พระกรรมฐานผ่านมาพักแล้วก็จากไปเป็นอยู่เช่นนั้น พอบวชได้ไม่กี่วันกลาง ๆ เดือนมกราคมของปีนั้นเดินทางจากจังหวัดยโสธรไปวัดป่าอุดมสมพรของพระอาจารย์ผั่นที่จังหวัดสกลนคร

    บรรพชาอุปสมบท
    จนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๒ ได้บวชเป็นสามเณรที่ วัดสว่าง โดยมี เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชา เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นพระหนุ่มยังจาริกธุดงค์อยู่ที่ภาคเหนือแถวจังหวัดลำปาง และจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระสบาย และในพรรษานั้นข่าวว่าพระอาจารย์มั่นท่านอาพาธ สามเณรประสารในสมัยนั้นก็เดินทางไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ศรีอารย์ได้นำพระ-เณรไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ โดยไปพักที่ศาลา แม้ว่าจะมีพระ-เณรไปไม่ต่ำกว่า ๕๐-๖๐ รูป แต่ไม่มีเสียงดังหรือเสียงกระแอมไอให้ยินเลย การเดินของพระครูบาอาจารย์ต่าง ๆ นั้นหรือก็อยู่ในอาการสำรวมระวัง แม้จะออกเดินไปที่ใดก็สำรวมระวังอินทรีย์ บริเวณวัดนั้นก็ปัดกวาดสะอาดสะอ้าน จนค่ำพระอาจารย์มั่นก็ออกมาพบศิษย์และเทศนาอบรมพระ-เณรเสร็จ สามเณรประสารในขณะนั้นก็มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งแรก

    เมื่อจบการเทศน์ฯ ท่านกลับไปพักที่ศาลา ท่านเล่าว่า พยายามไม่ให้เกิดเสียงดัง แม้แต่การวางกระโถนท่านก็กลัวจะเกิดเสียงดัง ต้องเอามือรองก้นกระโถนแล้วค่อย ๆ วางลง แต่พอตกกลางคืนจิตใจเป็นลิงเป็นค่าง ยังมีความคิดวอกแวก จึงพยายามรักษาใจไว้ให้มั่นคง เพราะกลัวว่าจิตนั้นจะฟุ้งซ่านคิดออกนอกลู่นอกทาง จึงนั่งภาวนาจนจิตแตกเหงื่อไหลโทรมกายท่าน ด้วยอานุภาพหรือบารมีความกลัวในพระอาจารย์มั่นเพราะเชื่อกันว่าจิตของพระอาจารย์มั่นนั้นท่านสามารถรู้วาระจิตผู้อื่น และอีกอย่างเพราะอยู่ในรัศมีของท่าน กลัวว่าท่านพระอาจารย์มั่นจะรู้ความคิดที่จิตเกิดวอกแวกเนื่องจากอยู่ในบริเวณของท่าน เพราะบุญบารมีของท่านแก่กล้า จึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะจิตใจไม่ยอมหลับยอมนอน คุมจิตรักษาใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ได้บวชมาได้ฟังเทศน์ฟังธรรมขณะนั้น แม้หลวงปู่มั่นจะอาพาธแต่ยังพอเดินได้ออกมารับบิณฑบาตภายในวัด ในขณะนั้นพระอาจารย์มั่นท่านบวชได้ ๖๐ พรรษาพอดี

    จนถึงเดือนพฤศจิกายน ท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก บรรดาลูกศิษย์จึงนำท่านลงมาอยู่ที่วัดโนนโค่ ในขณะนั้น พระอาจารย์กู่ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อชาวบ้านได้ข่าวว่าพระอาจารย์มั่นลงมาพักที่วัดโนนโค่ ผู้คนหลั่งไหลมากราบท่านจำนวนมาก แต่ว่าไม่มีเสียงอึกทึก แม้เสียงไอเสียงจาม ในเดือนพฤศจิกายนนั้นเห็นว่าอาการอาพาธของท่านพระอาจารย์มั่นไม่ดีขึ้น จึงเอารถมารับไปที่วัดป่าสุทธาวาสซึ่งยังไม่เจริญ ด้านใต้ของวัดยังเป็นป่ารกทึบอยู่ และได้มรณภาพลงในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง

    หลวงปู่ประสาร สุมโน ผู้มากด้วยเมตตา เย็นกายเย็นใจเป็นปกติ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๒ ที่วัดป่าสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร และปีพ.ศ.๒๔๙๔ เข้ารับการอุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าพระคุณธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “สุมโน” โดยหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมตตาเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในปีพ.ศ.๒๔๙๖ และได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก ไปทางภาคใต้ร่วมกับกองทัพธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    จดีย์พุทธเมตตามหามงคล
    พระครูสุมนสารคุณ (หลวงปู่ประสาร สุมโน) พร้อมศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก และกัลยาณมิตรทั้งหลาย ต่างมีจิตหวนรำลึกถึงปฏิปทาจริยาสัมมาปฏิบัติของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก ซึ่งเป็นศิษย์สายพระกรรมฐานที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต จึงมีเจตนารมณ์ร่วมกันหาทุนจัดสร้าง “เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล (ผั่น ปาเรสโก) ” เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านผู้เป็นพุทธสาวกที่สำคัญ ด้วยงบประมาณ ๒๐ ล้านบาทในเบื้องต้น

    B8%9C%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%81.jpg
    เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล (ผั่น ปาเรสโก)
    B8%9C%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%81.jpg
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก
    เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ และอัฐิธาตุตลอดจนอัฎฐบริขารของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก”

    เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช ประเทศศรีลังกา ที่จะได้รับในอนาคต
    เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสที่พระองค์ทรงฉลองศิริราชสมบัติครบ ๖ รอบ และทรงเจริญพรรษาครบ ๘๐ พรรษา

    เพื่อเป็นอามิสบูชา ปฏิบัติบูชา และเป็นอนุสรณ์สถาน แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านซึ่งเป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย และมั่นคงในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสมอมาจนตลอดชีวิต เพื่อเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมะภาวนา ตามแนวทางหลักพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า SAM_9103.JPG SAM_9104.JPG SAM_7644.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2021
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 735 เหรียญกษาปณ์หลวงปู่คำพอง ติสโส พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้ากกดู่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หลวงปู่คำพองเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2536 เนื้ออัลปาก้า สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 6 รอบ (72 ปี) มีพระอังคารธาตุหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *********บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งemsสส
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่คำพอง ติสโส

    วัดถ้ำกกดู่
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%AA.jpg
    หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    หลวงปู่คำพอง ติสโส ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ผู้ฝากชีวิตและจิตใจไว้กับความดีงาม ท่านเชื่อความดีที่เคยกระทํามา จึงมีความมั่นใจว่า “ความดีงาม นั้นต้องชนะอุปสรรคได้อย่างสิ้นสงสัย”

    ท่านหลวงปู่คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระที่เปิดเผย พูดคําใดต้องเป็นคํานั้น และในคําพูด คําสอนของท่าน แม้เราไม่เข้าใจ จะคิดว่าเป็นวาจาที่รุนแรง แต่ ความจริงแล้ว ท่านไม่ได้รุนแรง กับคนฟัง! แต่รุนแรงกับกิเลสใน ตัวคนฟังต่างหาก…ดังนั้นผู้ฟัง เป็นจึงมีความเคารพบูชาท่าน ในฐานะที่พูดความจริงและเป็น การฆ่าเสียซึ่งกิเลสภายในใจคน ได้อย่างชะงัด!…

    หลวงปู่คําพอง ติสโส ท่านเกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ บ้านตําบลสงเปลือย อําเภอเขื่อนคําแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี

    บิดาชื่อ บุญนาค มารดาชื่อ ลุน นามสกุล สงเคราะห์ อาชีพ ทํานาค้าขาย

    พออายุท่านเข้ารุ่นหนุ่ม ท่านเป็นนักค้ากําปั้นบนเวที (บนสังเวียน)

    ชีวิตอันทรหดและแสนลําเค็ญนี้ เป็นสัจธรรมให้ข้อคิดตั้งแต่บัดนั้นมา จึงหันเหเข้าสู่ทางธรรม

    83F0B9BF-57B6-4FCE-97DE-778A3F186879-875x1024.jpg
    หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    อายุได้ ๒๒ ปีเต็มบริบูรณ์ ท่านได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ปีมะเมีย ณ พัทธสีมา วัดมหาไชย อ.หนองบัวลําภู จ.อุดรธานี โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ (เส็ง กณฺณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์

    B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%882-931x1024.jpg
    พระพิศาลคณานุกิจ (เส็ง กณฺณวโร) วัดมหาชัย อ.หนองบัวลำภู
    ผู้ตั้งวัด พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๕๑๓ ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่หลวงปู่มั่น พาไปธุดงค์ด้วย
    และ เป็นพระอุปัชฌาย์ ของ หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่
    หลังจากบวชเป็นพระภิกษุหนุ่มแน่นแข็งแรงได้ไม่นาน ท่านก็ได้ออกเดินทางมายังพระธาตุพนม ในลักษณะธุดงควัตร จะเป็นด้วยความบังเอิญ หรือบุญบารมี ก็หารู้ไม่ ท่านได้มาพบบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านนามน จ.สกลนคร

    เพราะว่าขณะที่เดินทางไปถึงพระธาตุพนมนั้น เกิดได้ยินกิตติศัพท์ของท่าน จึงเดินทางมานมัสการ ซึ่งในคราวนั้น ก็มีท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม เดินทางไปพร้อมกัน ท่านจึงได้มอบกาย ถวายตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่บัดนั้น

    อุบายธรรมะต่าง ๆ ในระยะ แรก ๆ ท่านก็ได้รับการแนะนําจากครูบาอาจารย์ฝ่ายผู้ใหญ่ เช่น หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ บ้างเช่นกัน

    ท่านหลวงปู่คำพอง ติสโส เป็นพระนักต่อสู้ ประกอบกับท่านเป็นนักมวย มีเลือดนักต่อสู้อันโชกโชนมาก่อน

    ดังนั้น การปฏิบัติธรรมภาวนา ท่ามกลางดงสัตว์ป่านานาชนิดนั้น ไม่เคยหวั่นเกรงอันใดเลย ท่านต่อสู้ขอเพียงเพื่อลุจุดหมายปลายทาง คือ ทางพ้นทุกข์

    การประพฤติปฏิบัติธรรม ของท่านหลวงปู่คำพอง นั้น เกือบตายเพราะไข้ป่าก็หลายครั้ง ความเด็ดขาดที่ว่า “เอ้าเป็นอย่างไง ก็เป็นกัน” นั่นแหละจึงพ้นมาได้ เพราะกิเลสทั้งหลาย มันกลัวคนเอาจริง….

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นกําลังสําคัญในกองทัพธรรมองค์หนึ่ง เดินธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรมะทางภาคใต้รวมกําลังกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    ในการนั้นได้มีครูบาอาจารย์ ที่ชาวภาคใต้รู้จักดีคือ ท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์คําพอง ท่านพระอาจารย์โสม หลวงพ่อเอี่ยม พระมหาปิน ชลิโต เป็นต้น…

    และการเผยแพร่ธรรมะทางภาคนี้ เป็นไปด้วยความทุกข์ยากลําบาก ทุกองค์ต้องทรงจิตไว้ ด้วยพรหมวิหารธรรมอย่างเข้มแข็งจริง ๆ

    เพราะอุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้น มีผู้ต่อต้านธรรมะของพระศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พระภิกษุ เจ้าถิ่นเอง พวกชาวบ้านที่เป็นบัวเหล่าที่ ๕ บ้าง แต่ก็ต้องแพ้ภัย ตนเองจนหมดสิ้น

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ไม่เคยละลดความเพียร ยืน เดิน นั่ง นอน มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ท่านเคยเล่าว่า

    “สันดานนี้มันติดตัวมา เมื่อสมัยอยู่กับพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ ใหญ่ผู้เลิศด้วยคุณธรรมวิเศษ หลวงพ่อก็เลยได้นิสัยจากท่าน มาแค่ปลาย ๆ เล็บเท้าของท่านเท่า นั้นแหละลูก ๆ เอ๊ย”’

    %88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%AA-2.jpg
    แถวนั่ง
    หลวงพ่อคำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
    แถวยืน
    หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
    หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ (วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน)
    หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม (วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน)
    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง มีนิสัยคล้ายคลึงกับครูบาอาจารย์หลาย ๆ องค์ เช่น หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์มหาบัว พระอาจารย์วัน คือ..พูด แบบโผงผาง ถ้าแข็งก็แข็งดังเพชร ถ้าอ่อนก็อ่อนเป็นน้ํา ไม่ ไว้หน้าใครเอาใจใครไม่เป็นธรรมะใดที่เป็นสัจธรรม ตามความเป็นจริงแล้ว ท่านจะนํา มาฆ่าเสียซึ่งกิเลสในใจคนฟัง อย่าง เอาเป็นเอาตาย สมกับนักต่อสู้ เลือดอาชาไนย ในสายผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ “ไม่มีมายา” คือ ท่านเป็นพระที่จะพูดเอาอกเอาใจญาติโยมไม่เป็น ในการนี้ได้เคยสอบถามเอา ความจริงจากท่านก็ได้รับคําตอบ ชนิดโผงผางเลยว่า

    “ลูกเอ๋ย…. ความเมตตาปรานี พรหมวิหารธรรม ย่อมต้องมีอยู่ในจิตใจของทุก ๆ คนนั่นแหละ นะ…

    แต่บางคราว เจ้ากิเลส ตัวเชื้อโรคนี้ มันยังตัว ฝังหัว ลงบนจิตใจมนุษย์เข้าไปแล้ว จะไม่ไล่ ไม่เข้าย่ํายีมันบ้างเลยนั้น ต่อไปมันจะเคยตัวนะ

    ฉะนั้นเวลาถางป่ารก ๆ โดย เฉพาะป่ากิเลสนี้ เราต้องฟันหนักๆ หน่อย มิเช่นนั้นต้นรากเหง้ามันไม่ขาด ไม่ขุดรากขุดโคน ไม่ช้ามันก็งอกเงยขึ้นอีก ไหมล่ะ

    ยิ่งพวกเรานี่นะ ชอบเลี้ยง ชอบขุน รดน้ําพรวนดินอยู่เป็นประจํา ๆ มันจะกลับงามขึ้นอีก ประไรเล่า”

    หลวงพ่อจึงพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า…

    ถ้ารู้ตัวเจ้ากิเลสนี้ มันจะอยู่ จะอาศัยอะไรอยู่ก็ต้องฟันให้มัน กระเทือนเลย มันจะได้รู้สึกตัว

    และอีกอย่างหนึ่ง เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราจะมาพูดโกหก หลอกลวงไม่ได้ ก็พอเราไม่เคยสอนเลย พระพุทธเจ้าท่านพูดแต่ ค่าจริง สงสารจริง รักชอบจริง ไม่เคยโกหกสักครั้งเดียว

    %88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%AA-1.jpg
    หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่
    ดังนั้น เราเป็นบุตรผู้ดําเนินตาม จะเอาคําพูดใดเล่ามาสอน ก็ต้องเอาคําพูดของพ่อ คือ พระพุทธเจ้าเท่านั้นมาสอนสั่งญาติโยม

    ถ้าผิดไปเสียจากคําสอนที่ เที่ยงธรรมแล้ว จะเป็นคําสั่งสอนปลอม พูดเอาอกเอาใจ ก็มิใช่เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมปลอม เพราะนั่นเป็นการพูดเพาะ กิเลสให้แก่ผู้ฟังธรรม ไม่ใช่พูดเพื่อขัดเกลากิเลส พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนเรื่องให้พูดเอาใจญาติโยม

    ฉะนั้น อาตมาขอพูดอย่างตรง ๆ ว่า “เอาใจใครไม่เป็น”

    หลวงปู่คำพอง เป็นโรคหัวใจโตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มปอด เมื่อต้องบิณฑบาตไกลๆ หรือเดินขึ้นเขา

    กระทั่งคืนวันที่ ๒ ธ.ค.๒๕๔๔ หลวงปู่คำพอง มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ สิริอายุ ๘๐ ปี พรรษา ๕๙

    B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%AA.jpg
    ภาพนี้ถูกบันทึกที่วัดถ้ำกกดู่ ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่คำพอง ติสโส
    9%88-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-1024x682.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส ณ วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    88-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-2-1024x682.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส ณ วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    88-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-3-1024x682.jpg
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส ณ วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    SAM_9106.JPG SAM_9107.JPG SAM_4838.JPG
     
  15. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 736 เหรียญอาร์มหลวงปู่เเพงตา เขมิโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประดู่วีรธรรม จ.นครพนม มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล
    หลวงปู่แพงตา เขมิโย อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม

    B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2.jpg

    พระครูภาวนาภิรัต” หรือ “หลวงปู่แพงตา เขมิโย” อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม ต.กุดตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิที่มีความสามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บแก่ญาติโยม ด้วยท่านมีความรู้ด้านยาสมุนไพร
    • มีนามเดิมว่า แพงตา นุนนท์ เกิด เมื่อวันพุธที่ 5 มิ.ย.2457 ที่บ้านดอนดู่ ต.กุดตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม

    ชีวิตในวัยเยาว์ เมื่ออายุ 9 ขวบ ได้บรรพชา ศึกษาธรรมวินัยอยู่ 3 ปี

    ครั้นอายุครบ 22 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบวรศรัทธาราม ต.กุดตาไก้ โดยมี พระวงษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ศึกษาเล่าเรียนมนต์น้อย มนต์กลาง มนต์หลวง และเรียนอักษรธรรม อีกทั้ง ได้ศึกษาแนวทางการปฏิบัติธรรมจาก พระอุปัชฌาย์ กระทั่ง พ.ศ.2480 ไปจำพรรษาที่ภูค้อ จ.สกลนคร กับพระอาจารย์ลับ เพื่อปฏิบัติธรรมด้วยการอดข้าว ดื่มแต่น้ำอย่างเดียว

    หลังออกพรรษาเดินทางไปที่ถ้ำกวนพลอย ถ้ำยาโดน ประเทศลาว ขากลับได้แวะนมัสการพระอาจารย์ศรีทัตถ์ ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน ได้คำแนะนำให้ไปปฏิบัติธรรมที่ภูเขาควาย เป็นเวลาร่วม 3 เดือน

    พ.ศ.2482-2484 ธุดงค์ไปเมืองกาสีและเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว จำพรรษาสอนมนต์น้อยมนต์กลางให้พระเณรครบ 7 วัน จึงสลับสับเปลี่ยนกับพระอาจารย์ลับไปปฏิบัติและสอนพระเณรที่วัดป่าต่อตลอดทั้งพรรษา จากนั้นไปถ้ำภูผาเจริญ ก่อนนั่งบำเพ็ญภาวนาตามป่าช้าที่เป็น กลลวงของผีสางนางไม้ ในเขตน้ำมิ่ง น้ำปอน ของลาว แล้วธุดงค์ไปถ้ำจำปาที่ภูเขาควายนั่งสมาธิอีก 3 เดือน จึงกลับมาอยู่ที่วัดประดู่วีรธรรมนาน 7 พรรษา เพื่อปฏิสังขรณ์วัด

    พ.ศ.2492-2494 เดินทางไปพระบาทโพนสัน ประเทศลาว เพื่อช่วยสร้างกุฏิ วิหาร ก่อนมุ่งไปเวียงจันทน์และธุดงค์ไปยังเชียงตุง ผ่าน 10 เมืองของพม่าถึงย่างกุ้ง แล้วนั่งสมาธิบริเวณพระธาตุ 7 วันและกลับสู่มาตุภูมิใน พ.ศ.2495 ได้ 1 ปี จึงเดินทางไปพม่าและลาวอีกครั้ง เพื่อทบทวนความทรงจำหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานนานอีก 3 ปี
    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2486 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม พ.ศ.2517 เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม

    ผลงานด้านการศึกษา พ.ศ.2499 จัดตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน พ.ศ.2500 ให้มีการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดประดู่วีรธรรม พ.ศ.2515 ให้มีการสอนพระอภิธรรม วัดประดู่ วีรธรรม พ.ศ.2517 เป็นกรรมการอุปถัมภ์การสอนนักธรรม อ.ปลาปาก

    งานด้านสาธารณูปการ พ.ศ.2507 เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดกุดตาไก้เหนือ พ.ศ.2509 เป็นผู้อำนวยการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ภูกระแต พ.ศ.2511 เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดบ้านชะโนด ต.คำเตย พ.ศ.2512 เป็นผู้อำนวยการสร้างอุโบสถวัดบวรศรัทธาราม ต.กุดตาไก้ พ.ศ.2515 เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดตาลกุด ต.โพนแพง พ.ศ.2514 เป็นผู้อำนวยการสร้างพระธาตุอินทร์แขวนจำลอง นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว และเป็นผู้อำนวยการสร้างศาลาการเปรียญวัดกุดตาไก้เหนือ

    นอกจากนี้ ยังสร้างเสนาสนะในวัดประดู่วีรธรรม เช่น กุฏิ 6 หลัง ศาลาการเปรียญ 2 หลัง อุโบสถ หอระฆัง กำแพงวัด ซุ้มประตู สิมน้ำ เป็นต้น

    เดินธุดงค์ไปตามป่าเขานาน 19 ปี ท่ามกลางสัตว์ร้ายและภยันตราย ก่อนจะกลับมาทำนุบำรุงวัดบ้านเกิดดังกล่าว นอกเหนือจากเป็นพระวิปัสสนาจารย์เป็นประธานในงานบุญต่างๆ ท่านยังมีพรสวรรค์พิเศษช่วยบรรเทาและรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ญาติโยม อย่างไม่ถือชนชั้นวรรณะกระทั่งถึงวาระสุดท้าย

    ด้านวัตถุมงคลท่านเมตตาให้ลูกศิษย์สร้างหลายรุ่น โดยเฉพาะรุ่น พ.ศ.2516 ซึ่งเป็นเหรียญอาร์มรุ่นแรก เนื้อกะไหล่ทอง ที่มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดคงกระพัน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของ นักอนุรักษ์ที่แสวงหาวัตถุมงคลชุดนี้

    ช่วงระยะ 8 ปีให้หลัง พระครูภาวนาภิรัตป่วยด้วยโรคเบาหวาน กระทั่งในวันที่ 9-10 ส.ค.2535 หลวงปู่ได้เกิดปวดท้องรุนแรงกะทันหัน ลูกศิษย์จึงนำไปหาหมอที่คลินิก ก่อนส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพนม แต่กว่าจะรู้ว่าไส้ติ่งอักเสบอาการของท่านได้อ่อนระโหยโรยแรง

    จนกระทั่งเวลา 13.00 น. วันที่ 12 ส.ค.2535 หลวงปู่แพงตา มรณภาพอย่างสงบ โดยมี พระเทพมงคลเมธี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมขณะนั้น เฝ้าดูอาการตลอด

    สิริอายุ 78 ปี พรรษา 5

    มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **********บูชาที่ 275 บาทฟรีส่งems SAM_9111.JPG SAM_9112.JPG SAM_8380.JPG
     
  17. Khun Kriang

    Khun Kriang สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +4
    จองครับ
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 737 พระผงอังคารธาตุ 9 พระอรหันต์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี หลวงมหาบัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง มีผสมว่าน 108 ชนิด สร้างปี 2553(ทันพระหลวงตาครับ องค์ท่านละสังชารปี 2554 ) มีตอกเเผ่นโค๊ต 3 โค๊ต หลังเป็นพระสิวลีเถระ องค์นี้สวยมาก มีพระธาตุผุดขึ้นนิดๆ มีพระเกศาหลวงตามาบูชาเเละพระธาตุ 2 องค์ ***********บูชาที่ 455 บาทฟรีส่งems sam_7657-jpg.jpg sam_9000-jpg.jpg sam_9044-jpg.jpg sam_9047-jpg.jpg sam_9046-jpg.jpg SAM_8198.JPG sam_7401-jpg.jpg sam_7402-jpg.jpg sam_7403-jpg.jpg sam_7404-jpg.jpg sam_7405-jpg.jpg
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 738 ล็อกเก็ตฉากขาวรุ่นอาจาริยบูชาคุณหลวงปู่หา สุภโร พระอรหันต์เจ้าวัดสักกะวัน(วัดไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ล็อกเก็ตสร้างปี 2557 มีตอก 2 โค๊ต หลังล็อกเก็ต มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศารวมพระอรหันต์มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ*********บูชาที่ 455 บาทฟรีส่งems
    พระเทพมงคลวชิรมุนี
    (หา สุภโร)

    หลวงปู่ไดโนเสาร์, หลวงปู่หา
    87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B9%82%E0%B8%A3%29.jpg
    เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2468
    อายุ 96
    อุปสมบท พ.ศ. 2489 มหานิกาย
    พรรษา 76
    วัด วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
    จังหวัด กาฬสินธุ์
    สังกัด ธรรมยุตินิกาย ญัตติ พ.ศ. 2490
    วุฒิ นธ.เอก
    ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
    อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์
    ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์
    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    พระเทพมงคลวชิรมุนี
    [1] (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามตามสัญญาบัตรว่า พระเทพมงคลวชิรมุนี เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ทำให้มีการขุดค้น โดยเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย[2] และยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธร บริเวณที่ขุดค้นพบอีกด้ว
    ประวัติ[แก้]
    พระเทพมงคลวชิรมุนี [1](หลวงปู่หา สุภโร) ท่านมีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะ เกิดวันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีฉลู ที่บ้านนาเชือก ตำบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตำบลนาเชือก) อำเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ บิดาชื่อ นายสอ ภูบุตตะ มารดาชื่อ นางบัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวมกัน ๗ ท่าน

    ท่านถือกำเนิดในตระกูลที่มีฐานะดีในหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวมากกว่า ๓๐ ตัว มีที่นากว่า ๖๐ ไร่ มารดาเลี้ยงหม่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงที่สุดในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านมีความขยันหมั่นเพียร และความอุตสาหะ ท่านช่วยโยมบิดามารดาทำงานทุกอย่าง ท่านได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดบ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบในสงคราม และท่านได้เข้ารับการฝึกซ้อมรบ ภายหลังก่อนที่ท่านจะไปในสงครามจริงๆ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ได้ยุติลงก่อนในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ครั้งนึงท่านชอบการต่อยมวยมาก ท่านชอบไปต่อยมวยตามงานวัดต่างๆ ในเวลาว่างจากการทำนาและงานอื่น แต่โยมบิดาของท่านไม่ชอบที่ท่านเป็นนักมวยนัก พอช่วงอายุประมาณ ๒๐ ปี คุณยายของท่านก็ได้ปรารภกับท่านว่าอยากจะให้ท่านบวชให้คุณยายของท่านหน่อย อันเป็นที่มาของการออกบวชภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนา

    ท่านอุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้า ๒๑ ปี ที่สิมน้ำ ณ วัดสว่างนิวรณ์นาแก ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดมหานิกาย เมื่อท่านบวชแล้วก็มาอยู่ที่วัดสุวรรณชัยศรี ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นที่นั่นการปกครองในคณะสงฆ์ยังไม่ทั่วถึงมากนัก การบวชของคณะธรรมยุตและคณะมหานิกายยังไม่มีการแยกจากกัน ยังคงใช้พระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศว่า พระอุปัชฌาย์สังกัดนิกายอะไรผู้บวชก็ต้องสังกัดนิกายนั้น พระครูประสิทธิ์สมณญาณ จนฺโทปโม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี (ศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านจึงได้ขึ้นไปอบรมการเป็นพระอุปัชฌาย์ของคณะธรรมยุต ต่อมาเมื่อท่านอายุ ๒๒ ปี ท่านได้ญัติติเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำ ณ วัดบ้านหนองโจด (ปัจจุบันเป็นที่นาชาวบ้าน) ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ วันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูปลัดอ่อน ขนฺติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระใบฎีกาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา ว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”

    เมื่อท่านยังเป็นพระนวกะ (ผู้บวชใหม่) ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี และ ในปีพ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้นักธรรมชั้นโทที่วัดขวัญเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และในปีพ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีโอกาสศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร จนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก ท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) และด้วยความที่ท่านมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ท่านจะเรียนบาลีเป็นประจำทุกวัน เมื่อเว้นว่างจากการเรียนบาลีแล้ว ท่านก็จะเดินทางด้วยเท้าเปล่าเพื่อไปเรียนกรรมฐานจากพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล และพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) ที่วัดบรมนิวาส

    เมื่อเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคดีซ่าน การเรียนทั้งปริยัติและปฏิบัติจึงได้ระงับไว้ก่อน เมื่ออาการหนักมากจนถึงขั้นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ถึง ๓ เดือน โดยไม่มีท่าทีว่าจะหาย หรือดีขึ้นเลย ท่านจึงทอดอาลัยในชีวิต แล้วตั้งความปรารถนาขอใช้ชีวิตที่เหลือในการรับใช้พระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก โดยท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐาน ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) ว่า “หากข้าพเจ้าจะมีชีวิตในการบวช ขอให้โรคหาย ถ้าหากจะไม่มีชีวิตแล้ว ขอให้ตายกับผ้าเหลือง” ท่านมีความคิดว่าหากได้บวชอยู่นานๆ จะได้ทำประโยชน์ในพระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิดเพื่อตั้งต้นดำเนินภารกิจดังที่ตั้งปณิธานไว้ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า “ขอให้ได้อยู่ป่าทำความสงบสบายทางจิต”

    ด้วยอานิสงส์แห่งการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา ในขณะนั้นท่านก็ได้รับการรักษาจากหมอพื้นบ้าน และการอบรมทางใจจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเข้าช่วยเหลือ จึงเป็นผลให้อาการของโรคทุเลาลงจนหายขาดในที่สุด เมื่อหายเป็นปกติแล้วท่านจึงออกเที่ยวปฏิบัติรุกขมูล หาความวิเวกทางกายและใจออกธุดงค์ไปยังภาคต่างๆ ในประเทศไทยแทบทุกจังหวัด ไปทุกมุมเมืองในภาคอีสาน และข้ามไปยังฝั่งลาว ไปถึงนครเวียงจันทน์ถึงสองครั้ง เข้ากัมพูชา จนเห็นผลทางจิตอันแน่นอนแล้ว ท่านจึงกลับมาช่วยงานพระศาสนาดังปฐมปณิธาน

    ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์[แก้]
    • เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ชั้น เอก โท ตรี
    • เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงในคณะธรรมยุติภาคอีสาน
    • พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบล (ธ) ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอ (ธ) ปกครอง ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอท่าคันโท
    • พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ)
    • พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ)
    สมณศักดิ์[แก้]
    • ได้รับการแต่งตั้งพระฐานานุกรมในพระสุธรรมคณาจารย์ที่ พระสมุห์หา สุภโร
    • พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    • พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    • พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    • พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระญาณวิสาลเถร
    • พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพมงคลวชิรมุนี ภาวนาวิธีวราจารย์ ไพศาลศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[1]
    งานการศึกษา[แก้]
    • พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๕๐๙ เปิดสอนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
    • เปิดสำนักสอบธรรมสนามหลวง จำนวน ๑๓ พรรษา ณ วัดสักกะวัน (วัดเดิม) ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๒๗ เปิดสำนักสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    งานสาธารณูปการ[แก้]
    • ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ย้ายวัดสักกะวัน จากตำบลโนนศิลา มาอยู่ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • ได้พัฒนาวัดสักกะวัน โดยการสร้างโบสถ์ วิหาร และตัดถนนรอบวัดจำนวน ๕ สาย เพื่อใช้ในการเดินจงกรม
    • ได้ตัดถนนสายหน้าวัดสักกะวัน - วัดตาดแม่นาย
    • ได้ก่อสร้างเมรุเผาศพ
    • ได้ช่วยวัดต่างๆ สร้างโบสถ์จำนวน ๙ หลัง ในจังหวัดกาฬสินธุ์
    • ได้มอบพื้นที่บริเวณลานจอดรถให้กับหน่วยงานราชการทำประโยชน์
    • ได้สนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

    ฝากตัวเป็นศิษย์กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์[แก้]
    การค้นพบกระดูกไดโนเสาร์[แก้]
    ในขณะที่ท่านกำลังดำเนินการก่อสร้างวัดสั่งสอนผู้คนพุทธศาสนิกชน สอนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรบริหารการปกครองคณะสงฆ์อยู่นั้นท่านก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติในทางการอบรมจิตทำสมาธิภาวนา เมื่อมีเวลาว่างท่านจะขึ้นบนยอดภูกุ้มข้าวกางกลดนั่งสมาธิครั้งละ ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหารไม่เข้าห้องน้ำ อบรมจิตใจตนเองอย่างนี้โดยวิธีนี้เรียกว่าการเข้า “ปฏิสลี” มีเพียงบางวันที่สามเณรจะเอายาต้มไปส่งแต่ถ้าเห็นหลวงปู่ไม่เปิดกลดก็จะกลับลงมาโดยไม่ได้ถวายยาต้มนั้นในบางปีท่านฉันภัตตาหารเพียงวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาเท่านั้น ประมาณปี ๒๕๓๔ ท่านได้พบนิมิตโอภาส คือพบแสงสว่างที่ใสมากเป็นแสงที่ท่านไม่เคยพบในโลกนี้สว่างไปทั่วโลกธาตุ สว่างทั้งจักรวาล มองทะลุภูเขา มองทะลุต้นไม้มองเห็นทุกอย่างอยากเห็นสิ่งใดก็เห็นไปหมด แล้วก็ปรากฏสัตว์ชนิดหนึ่ง คอยาว ตัวใหญ่กว่าช้างเท้าใหญ่เท่ากระบุง เดินไปเดินมาในบริเวณภูกุ้มข้าว กินยอดไม้ เล่นน้ำ และล้มลงตายขณะที่เห็นมีลักษณะเป็นเหมือนฟีมล์หนังกลางแปลงในสมัยก่อนพอสัตว์นั้นตายลงก็หมดม้วนพอดี เป็นอย่างนี้อยู่ ๒-๓ ครั้ง ในปี ๒๕๓๖ และปี๒๕๓๗ก็มีลักษณะเดียวกัน ครั้งสุดท้าย พอเห็นจบแล้วก็มีเสียงมาบอกว่า จะมาขออยู่ด้วยเตรียมตัวไว้พรุ่งนี้จะมีฝนมาจากทิศอุดรห่าใหญ่ผมจะมากับฝน ครั้งล่าสุดท่านเข้าปฏิสลีได้เพียง ๓ วันเท่านั้น ท่านจึงเก็บบาตรและกลดลงจากยอดเขาสั่งให้พระเณรเก็บสิ่งของไปไว้บนกุฏิเวลาประมาณเที่ยงวันฝนก็เริ่มตั้งเคาและตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาหลวงปู่ท่านได้กางร่มเดินออกมาตรวจบริเวณวัดขณะฝนตก ร่มที่กางโดนลมพัดจนหักและปลิวไปกับลมเหลือเพียงด้ามร่มเท่านั้น บริเวณทั้งหมดมืดไปหมดมองสิ่งใดไม่เห็นท่านจึงนั่งลงตรงที่เห็นสัตว์นั้นตายในนิมิต ฝนตกกว่า ๓ ชั่วโมงจึงเริ่มซาและหายไปในที่สุด จากฟ้าที่มืดก็ปรากฏแสงสว่างขึ้นมาแผ่นดินที่เคยสูงโดนน้ำเซาะจนเห็นเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ หลายสิบชิ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ท่านนั่ง ท่านก็สั่งให้คนเก็บกระดูกนั้นไว้และส่งข่าวไปยังนายอำเภอเพื่อมาตรวจสอบ ทางอำเภอจึงส่งข่าวไปยังศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่ก็ได้มาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไดโนเสาร์พันธ์กินพืชที่ใหญ่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา (ภายหลังให้ชื่อว่า อีสานโนซอรัสสิรินธรเน่) ต่อมามีการแจ้งว่าจะมีการจะขอทำการขุดค้นเพิ่มเติมจึงกราบเรียนถามองค์หลวงปู่เพื่อชี้จุดที่เห็นในนิมิตเพิ่มเติมท่านจึงได้ชี้ใต้ต้นไม้ทางทิศเหนือของวัดก็พบฟอสซิลไดโนเสาร์อีกหลายตัว(ปัจจุบันคือ “อาคารหลุมขุดค้นไดโนเสาร์พระญาณวิสาลเถร” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ค้นพบครั้งแรก)อีกทั้งยังมีการรวบรวมฟอสซิลไดโนเสาร์จากทั่วสาระทิศมารวมที่วัดสักกะวันและก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปีได้รับพระราชทานนามว่า“พิพิธภัณฑ์สิรินธร” คณะศิษย์ยานุศิษย์ ลูกหลาน จึงถวายฉายานามหลวงปู่ว่า“หลวงปู่ไดโนเสาร์” (แต่เดิมท่านชื่อพระหา ภายหลังได้รับถวายตำแหน่งพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระสมุห์ชาวบ้านจึงให้ชื่อว่าพระอาจารย์สมุห์หาภายหลังเมื่อมีการถวายสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิจิตรสหัสคุณชาวบ้านก็เรียกหลวงตาวิจิตร เมื่อท่านค้นพบไดโนเสาร์ชาวบ้านจึงนิยมเรียกท่านว่าหลวงตาวัดไดโนเสาร์ เมื่อเรียกบ่อยๆจึงเหลือแต่หลวงตากับไดโนเสาร์ แต่คณะศิษย์ในภายหลังไม่อาจเรียกท่านว่าหลวงตาได้(เพราะคำว่าหลวงตาคือคนที่มีครอบครัวแล้วมาอุปสมบท)จึงเรียกท่านว่าหลวงปู่ไดโนเสาร์ SAM_9056.JPG SAM_9057.JPG SAM_9058.JPG SAM_7478.JPG
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 740 เหรียญรุ่นครูเสือหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก พระอรหันต์เจ้าวัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนเเก่น หลวงปู่บุญเพ็งเป็นศิษยืหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,หลวงปุ่เเหวน สุจิณโณ เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2522 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล หน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ตื้อนั่งเต็มองค์(ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่บุญเพ็ง) มีเกศาหลวงปู่บุญเพ็งมาบูชาด้วยครับ *********บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งemslส
    พระโสภณวิสุทธิคุณ
    (บุญเพ็ง กัปปโก)

    %B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%87.jpg
    เกิด 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471
    มรณภาพ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560
    อายุ 89 ปี
    อุปสมบท 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
    พรรษา 69
    วัด วัดป่าวิเวกธรรม
    จังหวัด จังหวัดขอนแก่น
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    ตำแหน่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม
    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    พระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กฺปปโก)
    เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระกรรมฐานสายพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกธรรม

    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก เป็นที่รู้จักในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้มีศีลาจารวัตรอันงดงาม และเป็นพระนักเทศนาโวหารผู้มีปฏิภาณไหวพริบดี เทศนาอบรมจิตภาวนาวิปัสสนากรรมฐาน นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระนักพัฒนารับอุปการะการสร้างและปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดต่างๆ บำเพ็ญคุณูปการแก่คณะสงฆ์และเมตตาเกื้อกูลแก่สังคมและประเทศชาติ

    ชาติกำเนิด[แก้]
    พระโสภณวิสุทธิคุณ
    หรือ หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก เดิมมีชื่อว่า บุญเพ็ง เหล่าหงษา เกิดใน วันมาฆบูชา พ.ศ. 2471 ที่บ้านบัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม บิดาชื่อ นายเอี่ยม เหล่าหงษา มารดาชื่อ นางคง เหล่าหงษา มีพี่น้องทั้งหมดรวม 7 คน

    ...พ่อแม่ท่านเล่าให้ฟังว่า เกิดวันมาฆบูชา วันเพ็ญ เดือน 3 ประมาณตี 5 เศษๆ ท่านจึงตั้งชื่อให้ตามวันเกิดว่า "บุญเพ็ง" วันเพ็ญนี้ คนอีสานเรียกว่า วันเพ็ง เราถือเอาวันมาฆบูชาเป็นวันเกิด...— แก้][/paste:font]
    เมื่อท่านอายุ 21 ปี ได้อุปสมบทในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ณ วัดศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระพิศาลสารคุณ (อินทร์ ถิรเสวี) ต่อมาคือ พระเทพบัณฑิต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาสุพจน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้ฉายา "กปฺปโก" แปลว่า "ผู้สำเร็จ"

    ศึกษาธรรม[แก้]
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ออกศึกษาพระกรรมฐานจากพ่อแม่ครูอาจารย์ อาทิ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) , หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม , หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นต้น

    %B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%81.jpg
    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก - หลวงปู่สิม พุทฺธจาโร - พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    • พ.ศ. 2499 ได้ติดตามพระพี่ชายคือ พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) มาจำพรรษา ณ วัดป่าวิเวกธรรม (เหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นครั้งแรก
    • พ.ศ. 2505 จำพรรษา ณ วัดแพะ อ.เถิน จ.ลำปาง
    • พ.ศ. 2507 จำพรรษา ณ วัดป่าคีรีวัน (คำหวายยาง) อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
      %B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2.jpg
      หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน และ หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก
    • พ.ศ. 2510 ได้รับอาราธนาให้จำพรรษาและอบรมธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
    • พ.ศ. 2530 ได้รับอาราธนาให้จำพรรษาและอบรมธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ณ วัดพุทธรังษี เมืองสแตนมอร์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย
    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก ยังได้รับความเมตตาจากหลวงตา พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ซึ่งท่านให้ความสนิทสนมและไปมาหาสู่กันเป็นประจำ

    นอกจากนี้ หลวงปู่ยังมีสหธรรมิกที่สนิทสนมกันหลายรูป เช่น พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร) พระครูวิสุทธิธรรมสุนทร (บุญเกิด ยุตฺตธมฺโม) พระพิศาลสารคุณ (หลวงปู่ปรีชา สุปัญโญ) พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญโญ) พระธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อบุญเรือง ปุญญโชโต) เป็นต้น

    มรณภาพ[แก้]
    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก อาพาธมาเป็นระยะๆ ด้วยโรคปอดอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบาหวานและความดันโลหิตสูง คณะแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ถวายการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เริ่มอาพาธหนัก โดยมีอาการปอดอักเสบ สำลักอาหารและของเหลว แต่หลวงปู่ได้แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า ไม่ประสงค์ที่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดๆ ต้องการพักรักษาอยู่ที่วัด โรงพยาบาลขอนแก่นจึงจัดเตรียมห้องปลอดเชื้อภายในกุฏิวิเวกวัฒนาทร และจัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดทั้งบุรุษพยาบาลและเครื่องมือทางการแพทย์ถวายการรักษาตามปฏิปทาของหลวงปู่ จนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ตรงกับวันพระ แรม 14 ค่ำ เดือน 1 หลวงปู่ได้ละสังขารด้วยอาการสงบ ในเวลา 15.39 น. สิริอายุ 89 ปี 10 เดือน พรรษา 69

    สมณศักดิ์[แก้]
    ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

    • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิเวกวัฒนาทร [1]
    • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระโสภณวิสุทธิคุณ [2]
    สาธารณสงเคราะห์[แก้]
    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก เป็นพระเถระกอปรด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม รับภารธุระในพระพุทธศาสนา ด้วยการบำเพ็ญคุณูปการแก่คณะสงฆ์ และเมตตาเกื้อกูลแก่สังคมและประเทศชาติ พอสรุปได้ดังนี้

    %B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2.jpg
    พระมหาเจดีย์บูรพาจารย์ ณ วัดป่าวิเวกธรรม(เหล่างา) จ.ขอนแก่น
    ด้านการพระศาสนา[แก้]
    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก ได้อุปการะการสร้างและปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดป่าวิเวกธรรม เช่น พระอุโบสถวัดป่าวิเวกธรรม ศาลาขันตยาคมานุสรณ์ (เพื่อเป็นอนุสรณ์บูชาคุณ พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) เจ้าอาวาสรูปแรก แม่ทัพธรรมพระกรรมฐาน ลูกศิษย์ต้นของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต) ศาลา 82 ปี พระมหาเจดีย์บูรพาจารย์ กุฎิ เมรุ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้อุปการะการสร้างและปฏิบติสังขรณ์เสนาสนะให้แก่วัดต่างๆเช่น สร้างโบสถ์วัดกู่ทอง จ.มหาสารคาม สร้างศาลาการเปรียญวัดเทพนิมิต จ.มหาสารคาม สร้างเจดีย์และบูรณะเสนาสนะวัดป่าคีรีวัน จ.ขอนแก่น สร้างสถานปฏิบัติธรรมมัชฌิมชนบท จ.ขอนแก่น เป็นต้น

    ท่านเป็นพระนักปฏิบัติพระกรรมฐานที่มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เทศนาธรรมอบรมกรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา เช่น รับเป็นธุระเทศนาอบรมที่ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.กรุงเทพฯ ศาลาห้าแยกวัชรพล หรือรับกิจนิมนต์ไปเทศนาอบรมตามสถานที่ต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น แม้อายุกาลพรรษาล่วงเข้าสู่วัยชราภาพ หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก ก็ยังเมตตาต่อศิษยานุศิษย์นำปฏิบัติกรรมฐานนั่งสมาธิภาวนาที่วัดป่าวิเวกธรรมเป็นประจำทุกวัน

    นอกจากนี้ ยังได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะแนวปฏิบัติตามธรรมเทศนาอบรมสั่งสอนของท่านเป็นจำนวนมาก เช่น มรณานุสติ พุทธาภิเษกตนเอง ท่ามกลางโลกธรรม ตั้งต้นปฏิบัติ อบรมจิตภาวนา เป็นต้น และยังได้ผลิตสื่อการเทศนาอบรมสั่งสอนของท่านเป็นเทป แผ่นซีดี และเผยแผ่ในสื่อออนไลน์ เพื่อแจกเป็นธรรมทานอีกด้วย

    220px-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A9%E0%B8%81.jpg
    ครูบาอาจารย์บันทึกภาพร่วมกัน ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พุทธศักราช 2535
    อนึ่ง.........ที่มาของคำว่าครูเสือ ก็คือว่าเวลาหลวงปู่ตื้อออกธุดงค์หรือไปบิณฑบาตร จะมีเสือคอยอารักขาตลอดครับ(นี้คือคำเศน์ของพระหลวงตามหาบัวองค์ท่านจะกล่าวบ่อยๆ เวลาพูดถึงหลวงปู่ตื้อ SAM_9116.JPG SAM_9118.JPG SAM_7793.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...