ขอทราบอารมณ์แต่ละฌานอย่างละเอียด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noolegza, 23 เมษายน 2008.

  1. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ตามกระทู้ครับ ผมเปิดดูตามหน้าต่างๆแล้ว ไฟล์ของหลวงพ่อฤาษีก็โหลดไปแล้ว แต่เหมือนยังไม่สบใจครับ เลยอยากทราบว่าแต่ละฌานที่แบ่งเป็น
    1.อย่างหยาบ
    2.อย่างกลาง
    3.อย่างละเอียด
    อารมณ์ของแต่ละขั้นเป็นอย่างไรครับ
     
  2. ..ขุนพล..

    ..ขุนพล.. สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +2
    อันนี้ถามแบบกว้างมาก ดุจดังถามว่ามหาสมุทรกว้างเท่าใด ผู้อธิบายใยเล่า
    จะบอกให้รู้ได้ละเอียด

    ฌานหยาบ ฌานกลาง ฌานละเอียด เมื่อไม่ถามถึงปัจจัยฌาน แต่ถามสภาวะก็จะตอบโดยสภาวะอย่า งงล่ะกัน

    อันอารมณ์ฌานนั้น เมื่อรู้แล้วถึงจุดแห่งความดับ รอยต่อระหว่างการเกิด
    รสของอารมณ์นั้นยังจัดเป็นฌานหยาบ
    อธิบายว่า ดุจดัง ชายผู้เห็นสตรี ย่อมรู้ตามสัญญาว่าเป็นแม่ พี่น้อง หรือ
    ภรรยาตน โดยแยกได้ด้วยความเป็นจริง แยกได้โดยหยาบ

    ฌานปานกลาง นั้นเมื่อเห็นการเกิด การดับของอารมณ์ โดยความเป็นวิมุติ
    อารมณ์นี้จัดได้ว่าเป็นกลาง
    อธิบายว่า เมื่อชายนั้น เห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมรู้คุณ สนองคุณ รู้หน้าที่

    ฌานละเอียดนั้น เมื่อละอารมณ์ทั้งหมด เห็นอารมณ์ ตามเหตุปัจจัยละอารมณ์แล้ว จึงย่างเข้านิพพาน
    อธิบายว่า เมื่อชายนั้น เห็นการพรักพราก จากทั้งหมด จึงถอดถอนภพชาติ
    โดยเว้นแล้วซึ่งอารมณ์ที่เกิดในใจ เห็นด้วยความธรรมดาของโลก
     
  3. ..ขุนพล..

    ..ขุนพล.. สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +2
    เอาอันหยาบไปทำก่อนหนา

    เมื่อเรา ได้อารมณ์ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา แล้วเช็คอารมณ์
    นี้ใว้ แล้วเริ่มยึดในอารมณ์ทีละตัว โดยเอา อุเบกขาเป็นแกน

    ทีนี้เมื่อเรามีอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์ของอุเบกขา ก็ตั้งนิมิต เช่นว่า
    กสินกองใดที่เป็นรูป หรือเก่งแล้วก็เอานามเช่น อากาศ แสงสว่าง วิญญาน
    มากำหนดใว้ในใจ โดยอย่าลืมอุเบกขารมณ์นะ

    ตอนนี้ อายตนะจะตัดเหลือมโนอย่างเดียวแล้ว ก็จะมีนิมิตเกิด ตรงนี้ถ้า
    อารมณ์อุเบกขายังไม่แตกซ่าน นิมิตก็จะไม่ตก จะเห็นนิมิตเกิดโดยมีเรา
    เป็นผู้ดู ไม่มีความคิดเกิด มีสตินิดหน่อยใว้เพื่อดูอย่างเดียว เรียกตกภวังค์จิต

    รสของอารมณ์ตอนตกภวังค์นี้ที่จำเป็นกับการเจริญครั้งต่อไป ถ้าเข้าออก
    ตามใจนึกได้ไม่เนิ่นช้าเรียกวสี

    เอาแค่นี้ก่อน ทำให้ได้อย่าถามเล่นๆล่ะ
     
  4. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ครับ..ออกจะกว้างไปอย่างว่าจริงๆครับ คือตอนแรกได้ยินมาว่า อารมณ์ของฌาน4แบบหยาบนั้น จะแทบไม่มีลมหายใจและวางเฉยเป็นอุเบกขา ส่วนอารมณ์อย่างละเอียดนั้นจะมีอาการหูดับ คือไม่ได้ยินเสียงด้วย ผมก็เลยสงสัยว่าแต่ละขั้นอารมณ์เป็นเช่นไร
    ตามที่ท่านขุนพลว่า การตกภวังค์ถ้าจับอารมณ์ได้จะเป็นวสีหรือครับ หมายถึงตกภวังค์แบบที่เรารู้ตัวอยู่ด้วยใช่ไหมครับ(แบบว่ารู้ตัวตลอดอยู่ก็วูบขึ้นมาเองเฉยๆ) ตอนนี้เป็นทุกครั้งที่นั่งเลย....แล้วเมื่ออยู่ในฌาณ 4 เราจะภาวนาอะไรต่อล่ะครับ ในเมื่อในตำราบอกให้ลืมลมหายใจ เราจะจับอะไรมาแทนครับ
     
  5. ..ขุนพล..

    ..ขุนพล.. สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +2

    ในฌานไม่มีการภาวนา มีเพียงการดูการรู้ทั่ว คนละอันกับการรู้แบบอนิจจังนะ
    การพุ่งไปของจิต ตามธรรมชาติของมันแล้ว เมื่ออารมณ์เราพร้อม ถ้าแต่แรกจิตเรากำหนดไว้ที่ใด เช่น อากาศ จิตจะสัมปะยุติกับอากาศ จะเกิดสภาพ
    ของอากาศอรูป เกิดการรู้ในฌานนั้น
    การที่ตำราบอกให้ลืมลมหายใจแต่จริงๆแล้ว ถ้าเรายิ่งพยายามไม่ใส่ใจใน
    ลมหายใจเท่าใร จิตและอารมณ์ก็จะไม่ละเอียด มันต้องให้ร่างกายมันละลมหายใจเมื่อมันพร้อม โดยเราไม่กำหนดละ และไม่ปรุงเพิ่มให้ไปกำหนดอีกตามรูปแบบ ให้พิจารณาอารมณ์อย่างเดียว อย่าปรุงแต่งจิต
    เมื่อเมื่อเราละเอียดกว่านี้ค่อยดูอารมณ์เกิด อารมณ์ดับของการเกิดรูปนาม
    อีกทีก็จะเป็นวิปัสสนาสมถะ ตอนแรกหัดดูอารมณ์ฌานก่อนครับ

    ส่วนวสีนั้นเป็นการหน่วงนึกอารมณ์ อยากได้อารมณ์ใดนึกมาได้ดังใจ
    ก็จะเรียกวสี ก็จะเข้าฌานได้ดังใจ หน่วงนึกยังไง เช่นว่าเมื่อเราเห็นการเกิดกิเลสตัวใด จิตเราปรุงแต่งตามหลักอริยสัจ ปรุงลงมาเห็นเป็นอนัตตาโดยมี
    ผู้ดูโดยไม่แต่งเพิ่ม จะได้อารมณ์มาเช่นอารมณ์อุเบกขา หรืออนัตตาตามภูมิ
    ธรรมตน ทีนี้การหน่วงเอาอารมณ์ก็แบบนี้ เราไม่ต้องปรุงแต่งธรรมมาให้เกิดสังเวช ให้เกิดตามระบบการทำงานของจิต แต่เรามาเอาผลเลย คือเอาอารมณ์สุดท้ายเลย นึกอุเบกขาก็เกิดอุเบกขามาเลย ไม่เนิ่นช้า คือวสี
     
  6. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ก็คือให้พิจารณาอารมณ์ในขณะนั้นใช่หรือไม่ครับ เช่น ตอนนี้รู้สึกยังไง ดีใจ เสียใจ เฉยๆ อะไรแบบนี้ใช่ไหมครับ ....แล้วถ้าเรามารู้สึกว่าลมหายใจกลับมาอีก ก็คือ เราตกมาฌาน3ใช่ไหมครับ แล้วก็พิจารณาลมหายใจเพื่อเข้าฌาน4ใหม่ อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ....ผมอ่านหนังสือธรรมะมาน้อยอะครับ ศัพท์บางตัวก็ไม่ค่อยเข้าใจ ขอบคุญมากครับที่ช่วยตอบคำถาม
     
  7. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ผมนั่งแบบที่เขาสอนมา และอ่านจากเว็ปนี้ มันก็มีตามนั้น ตอนสุดท้ายดิ่งลงข้างล่าง เลยดึงกลับ เพราะยังตัดกังวล 10ไม่ได้ ต้องตัดกังวล 10 ก่อนถึงจะไปได้ แล้วยึดอารมย์นั้นได้แล้ว จะไปแป๊บเดียวเอง
     
  8. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    ตอบแบบนักปฏิบัตินะคะ


    ถ้าเป็นฌานสี่ของอานาปานสติ ก็จะรู้สึกลมหายใจดับ
    ลมหายใจว่าง หรือลมหายใจละเอียดเหมือนไหลเข้าออกแบบ
    ไม่มีร่องรอย คือ รู้ว่ามีการเข้าออกแต่แทบสัมผัสไม่ได้เลย

    ถ้าเป็นฌานสี่ของกายานุสติปัฏฐาน ก็จะรู้สึกตัวหาย
    ไม่มีตัว หรือกายเราเปลี่ยนไปเหมือนว่างๆ เบาๆ นุ่มนวล
    อุ่นๆ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แทบจะไม่มีความรู้สึกว่ามีกายเลย

    ฌานอื่นๆ ในกรรมฐานอื่นๆ ขี้เกียจตอบค่ะ มันยาว
     
  9. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975

    เป็นนักปฏิบัติและนักสอนที่แยบคายดีนี่คะ


    ผู้ได้ชื่อว่าวิญญูชนย่อมมีความอ่อนน้อมเป็นนิตย์เช่นนี้เอง
     
  10. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    แนะนำให้ลองไปอ่าน ทางเอก อ่านออนไลน์ได้ที่
    http://wimutti.net/download/books/web/tangake/main.htm?a=1

    ดาวน์โหลดเป็น PDF เก็บไว้อ่านในเครื่อง
    http://wimutti.net/download/books/web/tangake/pdf.htm

    ถ้าต้องการเป็นไฟล์เสียงอ่าน ฟังสบายๆ ก็เลือกอันนี้
    http://wimutti.net/download/books/web/tangake/sound/sound_content.htm


    ถ้าเป็นไฟล์เสียงอ่านเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ เลือกโหลดหัวข้อตามนี้น่ะครับ
    7 - ๓.๒ สัมมาสมาธิ
    60 - ๔.๔ ปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
    61 - ๔.๔.๑ ความหมายของสมาธิ
    62 - ๔.๔.๒ ประเภทของสมาธิ
    63 - ๔.๔.๓ บทบาทของสัมมาสมาธิ
    64 - ๔.๕ สัมมาสมาธิมีความสุขอันเนื่องมาจากความมีสติเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
    65 - ๔.๕.๑ สัมมาสมาธิสำหรับสมถยานิก
    66 - ๔.๕.๒ สัมมาสมาธิสำหรับวิปัสสนายานิ

    เมื่อศึกษาแล้ว จะพบว่าการภาวนาเพื่อพ้นทุกข์ไม่ใช่เรื่องยากเหลือวิสัยในภพชาติปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2008
  11. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    วิตกในองค์ฌาน ไม่ใช่ความ เป็นทุกข์ ร้อนใจ กังวล นะคะ
    คนที่ได้ฌานหนึ่ง จิตจะสงบสงัดจากนิวรณ์ห้า (นิวรณ์ห้าดับ)
    ในระดับหยาบ คือ ดับได้ด้วยอาศัยการกำหนดจิตเนืองๆ เช่น
    อาศัยคำบริกรรม


    คำว่าวิตกไม่ได้แปลอย่างนี้นะคะ ผิดแล้วค่ะ
     
  12. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    ถ้าได้ฌาน ฌานมีองค์ห้า หนึ่งในองค์ห้าคือ วิตก แล้วจะมีทุกข์ได้อย่างไรค่ะ?
    ภาวะฌานนั้นพ้นทุกข์ชั่วคราวนะคะ วิตก จึงไม่ได้แปลว่าเป็นทุกข์เลยค่ะ
     
  13. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    คำศัพท์พุทธแปลเอาไมได้นะคะ
    ต้องปฏิบัติจิตค่ะ จนเห็นแจ้งแล้วว่าคืออะไร
    แล้วค่อยสอบอารมณ์กับผู้รู้เท่านั้นค่ะ ถึงค่อยสรุป


    ศัพท์ธรรมะ เป็นสัจธรรม หากไม่เห็นธรรม ไม่เห็นภาวะ แปลยังไงก็ผิดค่ะ
     
  14. ..ขุนพล..

    ..ขุนพล.. สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +2
    ไม่ใช่อารมณ์ดีใจ เสียใจ
    แต่อารมณ์ที่ใช้ในฌาน คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัตคตาหรืออุเบกขา คือ
    อารมณ์ 5 อย่าง ที่ใช้ในการเข้า ดูให้ชัด รู้สึกถึงอารมณ์นั้นให้เต็มเปี่ยม

    เมื่อไปถึงจุดที่เริ่มสงบ แล้วรู้สึกตัว กลับมาดูลมหายใจใหม่ ก็เรียกว่า
    วิจิกิจฉาที่ละแล้วเกิดใหม่ จึงกลับมามีวิตกใหม่ กำลังฌานเลยตก เพราะใน
    ฌานละเอียด ก็มีเพียงอารมณ์เดียว ซึ่งเมื่อจิตตกก็ต้องประคองจิตใว้โดย
    อารมณ์เมตตา จิตก็จะมีกำลังใหม่ ไม่ต้องมาไล่ลำดับลม
     
  15. noolegza

    noolegza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +3,844
    ยากจัง....อยู่ได้แวบเดียวมันก็คิดละ..เช่น..คิดว่าลมหายใจหายไปรึยัง..ก็คิดแล้ว..สรุปก็คือให้ใช้การประคองอารมณ์อย่างเดียวเลย .....ยากมากกก แต่จะพยายามครับ
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ทราบไปก็เท่านั้นครับ สร้างความสงสัยเปล่าๆ
    หรือไม่ก็จะเอาไปเทียบ
    ว่าทำไมเราไม่มีสภาวะอย่างนี้เหมือนชาวบ้าน
    กลายเป็นความอยากไปอีก

    ปฎิบัติแบบสบายๆครับ ไม่ต้องไปเร่ง
    สภาวะธรรมใดเกิดให้ตรามรู้อย่างเดียว สักว่าเป็นผู้ดู
    เมื่อลมละเอียด ญาณก็ระเอียดตามไปด้วย
    สภาวะธรรมใหม่ก็จะมาให้เราดูตามความละเอียด
    ให้เราไม่ต้องสนสภาวะแสงสีใดๆ
    แต่ให้สาวไปที่จิต ดูสภาวะนั้นอย่างเป็นธรรมชาติ
    อย่าเอาจิตไปเกาะอารมณ์ เดี๋ยวจะตันซะก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 เมษายน 2008
  17. pom980095

    pom980095 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +181
    ของหลวงพ่อฤาษีที่ท่านเขียนมันตรงทุกอย่างแล้ว ตอนแรกเราก็อ่านไม่เข้าใจ แต่พอเข้าฌาณได้ มันตรงทุกอย่าง แล้วท่านก็อธิบายเข้าใจง่ายด้วย ถ้าคนไม่เคยเข้าฌาณอ่านยังไงก็ไม่เข้าใจนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...