สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ?temp_hash=8c4f6238fd9bc87480d83023f54caf54.jpg Screenshot_20200921-181648_Chrome.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    เหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •



    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    #สัมมาอะระหัง
    คำว่า “สัมมาอะระหัง” เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ ๒ ศัพท์ “สัมมา” ศัพท์หนึ่ง “อะระหัง” ศัพท์หนึ่ง
    “สัมมา” เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบในพระพุทธคุณ ๙ บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ “สัมพุทโธ” เป็นสัมมาสัมพุทโธเป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค ๘ ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น
    ส่วนศัพท์ว่า “อะระหัง” เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อเข้าคู่กันเป็น สัมมาอะระหัง ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือ ถูกต้อง ไม่ผิด โดยนัยว่าบทบริกรรม “สัมมาอะระหัง” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงมีความหมายสูง และอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสสติโดยแท้
    บท “สัมมาอะระหัง” นี้ โบราณาจารย์สมัยก่อนท่านแยกพรรณนาพระพุทธคุณทีละอักษร ในบทภาวนานี้ มี ๕ อักษร คือ สัม, มา, อะ, ระ, หัง แต่ละอักขระหรือแต่ละอักษรไปนี้ ท่านโบราณาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
    (สัม)
    สงฺขตาสงฺขเต ธมฺเม สมฺมา เทเสติ ปาณินํ
    สํสารสฺส วิฆาเฏติ สมฺพุทฺธํปิ นมามิหํ ฯ
    ๑. พระพุทธองค์ทรงแสดงสังขตธรรมและอสังขตธรรม โดยชอบแก่สัตว์ทั้งหลาย
    ๒. พระพุทธองค์ ทรงทำลายการเวียนเกิดเวียนตายได้
    ๓. พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ
    พระคาถาบทนี้ท่านบอกอุปเท่ห์ คือวิธีใช้ไว้ว่า ให้ภาวนาก่อนจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล
    (มา)
    มาตาว มานปาลิเต มานสตฺเต ปมทฺทิ โย
    มานิโต เทวสงฺเฆหิ มานฆาตํ นมามิหํ ฯ
    ๑. พระพุทธองค์ทรงย่ำยีสัตว์ผู้มีมานะ (ความถือตัว) ที่มานะ (ความถือตัว) เลี้ยงไว้ดุจมารดา
    ๒. พระพุทธองค์ อันหมู่ทวยเทพยอมรับนับถือ
    ๓. พระพุทธองค์ทรงทำลายมานะได้
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ
    พระคาถาบทนี้ ท่านบอกอุปเท่ห์ไว้ว่า ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน หมายความว่า ถ้าบังเอิญท่านต้องเผชิญกับคนใจแข็ง ให้มีอันแข็งข้อ แข็งกระด้างเอากับท่านอย่างนี้แล้ว โบราณาจารย์ท่านแนะนำให้ใช้คาถาบทนี้ แก้ไขเหตุการณ์
    (อะ)
    อนุสฺสาหสพฺพสตฺตานํ อนุสฺสาเหติ โย ชิโน
    อนนฺตคุณสมฺปนฺโน อนฺตคามี นมามิหํ ฯ
    ๑. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนคนไม่มีอุตสาหะ ให้มีความอุตสาหะ
    ๒. พระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมไม่สิ้นสุด
    ๓. พระพุทธองค์ทรงถึงที่สุดแห่งทุกข์
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ
    พระคาถาบทนี้ ท่านบอกอุปเท่ห์ไว้ว่า ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้ หมายความว่า ถ้าท่านต้องเข้าป่าที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม หรือต้องลงน้ำในย่านที่มีสัตว์น้ำอันตราย ถ้าทำใจให้เป็นสมาธิ ภาวนาคาถาบทนี้ จะป้องกันสัตว์ร้ายได้
    (ระ)
    รโต นิพฺพานสมฺปตฺโต รโต โส สตฺตโมจโน
    รมาเปติธ สตฺเต โย รมทาตํ นมามิหํ ฯ
    ๑. พระพุทธองค์ทรงยินดีในธรรม ได้ทรงบรรลุถึงพระนิพพาน
    ๒. พระพุทธองค์ทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์
    ๓. พระพุทธองค์ทรงยังสัตว์ให้ยินดีในพระนิพพาน
    ๔. พระพุทธองค์เป็นผู้ทรงประทานให้ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่ยินดี
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ
    พระคาถาบทนี้ ถ้าใครยึดมั่นท่องบ่นภาวนาเป็นนิจ สามารถป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวงได้
    (หัง)
    หญฺญติ ปาปเก ธมฺเม หํสาเปติ ปทํ ชนํ
    หํสมานํ มหาวีรํ หนฺตปาปํ นมามิหํ ฯ
    ๑. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปธรรม
    ๒. พระพุทธองค์ยังชนให้ยินดี ซึ่งทางฆ่าบาปนั้น
    ๓. พระพุทธองค์ทรงร่างเริง
    ๔. พระพุทธองค์ทรงกล้าหาญยิ่งใหญ่
    ๕. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปได้แล้ว
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ
    พระคาถาบทนี้ โบราณาจารย์ท่านแนะนำว่า ให้หมั่นเพียรภาวนาเมื่อจะเข้าสู่ณรงค์สงคราม ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้
    พระคาถา แสดงความหมายว่า แต่ละอักขระของบท สัมมาอะระหัง ที่นำมาลงไว้พร้อมทั้งอุปเท่ห์ คือวิธีใช้นี้สำหรับผู้ที่นับถือและเชื่อมั่นภาวนาให้จริงจัง จนจิตเป็นสมาธิมั่นคง ย่อมได้ผลจริงดังใจหมาย
    lBhjRSURqW6N2Yg_m94IDCb2TbRUne99BkE4OzPvjgrG&_nc_ohc=VBh3R2vNmxEAX8TJ65L&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    vqyuvmklunu6zaj-krxxjjntchq2axfp6ayk6fkf-_nc_ohc-w5ozykskacgax-smnip-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท [​IMG] วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น 12 ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.12/448, 450/482-483, 485)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี
    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ

    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้

    "ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส" (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.2528, หน้า 37-38.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้

    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12 อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย "ตา" หรือ "ญาณ" พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า

    "อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ
    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส

    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ" (อ้างแล้ว. หน้า 38-39)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี "อนุสัย" ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง 8 อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย

    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม" นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย

    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า "พระนิพพานธาตุ" อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า "ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ" ด้วยประการฉะนี้

    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ 4 ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด

    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้

    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้

    1. กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
      ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
      ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกาย 1 "ดวงศีล" 1 ธาตุละเอียดของ "ทุกขสัจ" 1 "สมุทัย" (ตัณหา) 1 และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) 1 อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ "ใจ" ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น "ทุคคติภพ" พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น "ทุกข์" ไม่เป็น "สันติสุข" และ
    2. ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "มนุษยธรรม" กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "เทวธรรม" คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พรหมธรรม" คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พุทธธรรม" ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป "ธรรมกาย" ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
      ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
      พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี "สันติสุข"
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน

    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ?temp_hash=07b249827fc49398f60fa56b980b5de8.jpg



    120196795_3678107838890064_1355205414647874687_o-jpg.jpg



    สมเด็จองค์ปฐมบรมศาสดา ประดิษฐาน ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    อย่าละความเพียร

     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    7ddCV3C7zo0yNbkOvuawxO7CsVWzfwwGV00Na77p2eXs&_nc_ohc=n4ltitXBN3EAX81THla&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    aSmvdmBF_Ki1yUJ5PaUlQ5exVc2_wgM44Hr8l410puyL&_nc_ohc=AJAS2AlbOnYAX9bTr2i&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว
    พบแล้วไม่กำ
    จะเกิดมาทำไม

    สิ่งที่อยากเขาก็หลอก
    สิ่งที่หยอกเขาก็ลวง
    ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย

    เลิกอยากลาหยอก
    รีบออกจากกาม
    เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป

    เสร็จกิจสิบหก
    ไม่ตกกันดาร
    เรียกว่านิพพานก็ได้.
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    - บางคนชอบตำหนิสมถะ
    ไปตำหนิก็เท่ากับคุณเอาน้ำร้อนสาดหน้าตัวเอง
    เป็นกรรมนะ.

    ในยามต้นแห่งราตรี ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงระลึกชาติได้ เห็นสัตว์โลกตายเกิด ตายเกิด แล้วไปทุคติภูมิ นี่ เห็นนรกนะ ทุคติภูมิ ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง สัตว์นรกบ้าง อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง ไปเกิดในทุคติภูมิอย่างนี้มากต่อมาก แต่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์น้อยเหลือเกิน หรือจะกลับไปเกิดเป็นเทพยดาน้อยนัก

    พระพุทธองค์ถึงกับตรัสสอนพระภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์โลกตายแล้วจากความเป็นมนุษย์นี่ จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกน้อยนัก แต่ไปเกิดในนิรยภูมิมากต่อมากนัก ก็คือ ไปเกิดเป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มากต่อมาก

    ตรงนี้ เป็นวิชชาที่หนึ่ง ที่สำคัญ ที่บุคคลทั้งหลายไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง เพราะไม่รู้เห็นนรก ไม่รู้เห็นสวรรค์ ตามความเป็นจริง ไม่รู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิด ก็หลงคิดว่า เรานี่สบายแล้ว ตายแล้วก็เดี๋ยวกลับมาสบายใหม่ ไม่มีทางถ้าคุณไม่ทำความดี และหลีกหนีความชั่ว

    ต้องทำความดีหลีกหนีความชั่ว เพราะความชั่วนำไปสู่นิรยภูมิ ไปเกิดในทุคติภูมิ ในภพชาติปัจจุบันก็ต้องลำบาก ลำบากในภพชาติปัจจุบันนี่แหละ กรรมมันตามสนองทุกคนแหละ แต่ว่าเรื่องกรรมตรงนี้ยังไม่พูด พูดว่าไปเกิดในทุคติภูมิ

    บุคคลที่กระทำความชั่วมากๆ ก็มีอาการเหมือนสัตว์โลกในทุคติภูมิ บางคนก็เหมือนเปรต บางคนก็เหมือนอสุรกาย บางคนก็เหมือนสัตว์เดรัจฉาน บางคนก็เหมือนสัตว์นรก ร้อนรุ่มมากมายก่ายกอง แสดงอาการต่างๆเหมือนสัตว์นรก ใช่ไหม นั่นความทุกข์นะ ตัวเองยังไม่รู้ บางคนก็หลงทำ

    ทีนี้ ต่อไป อาตมาภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ (นี่ ในยามกลางแห่งราตรี ทรงเจริญฌานสมาบัติถึงจตุตถฌาน) บริสุทธิ์ผ่องแผ่วไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ รู้อุบัติรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย และอาตมาภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังอุบัติ เลว ปราณีต มีผิวพรรณดีมี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์

    คือ เห็นกฏแห่งกรรม ญาณที่สอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะฉะนั้น คนไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ พึงสำเหนียก รู้ตัวซะ ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กรรม กรรมชั่วติดตามเหมือนเกวียน ล้อเกวียนกระทบเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉันใดฉันนั้น แต่คนทำดีเหมือนมีเงาติดตามตัวไปทุกหนทุกแห่ง ให้ผลเป็นความเจริญสันติสุขในชีวิต กรรมชั่วหนัก กรรมดีเบา หรือเรียกว่าบุญ ก็คือธรรมชาติที่ชำระจิตใจให้ผ่องใส เพราะคนจะทำดีก็ด้วยจิตใจที่มันผ่องใสนั่นแหละ ผ่องใสจากกิเลส ใช่ไหม

    นี่ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สองที่อาตมาภาพได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี (คือ ในยามกลางแห่งราตรี) อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมาภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่ (ก็คือว่า ดำเนินไปอย่างนั้น)

    ในยามปลายแห่งราตรี อาตมาภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ (นี่เจริญฌานสมาบัติขั้นที่ ๔ อีกครั้งหนึ่ง) บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอยู่อย่างนั้น ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ เหล่านี้อาสวสมุทัย เหล่านี้อาสวนิโรธ เหล่านี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    เอาล่ะ ตรงนี้คือ เห็นแจ้งในอริยสัจตามความเป็นจริง โดยญาณสาม สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ดังได้กล่าวมาแล้ว และก็รู้เหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน กิเลสตกตะกอนนอนเนื่องในจิตสันดานอย่างไร ที่ไหน ตรงนี้นะ ผู้เจริญภาวนาถูกส่วนจะรู้จะเห็นได้ ตามรอยบาทพระพุทธองค์ จะรู้เห็นอย่างนี้ได้

    (บางคนชอบตำหนิสมถะ) ทรงใช้อยู่แล้ว คุณไปตำหนิก็เท่ากับคุณเอาน้ำร้อนสาดหน้าตัวเอง เป็นกรรมนะ

    เมื่ออาตมาภาพนั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สาม ที่อาตมาได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมาภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่.

    นี่ พระพุทธเจ้าท่านยังเจริญภาวนาสมาธิ นี่อาการตรัสรู้เลย แล้วใครปฏิเสธสมาธิคุณเป็นอะไร คุณเป็นอะไร คุณจะละเว้น แล้วมาตำหนิสมาธิน่ะ ถ้าใครตำหนิสมาธิน่ะ คุณเป็นอะไร.

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มาจากเทศนาธรรมเรื่อง "ปฏิบัติให้เข้าถึง"
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,405
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...