ลดรับกุมภา วัวธนูครูบากฏษดาปลุกเสก, ลป.แผ้วยุคต้น,พระดีปีลึก พิธีใหญ่, สงวนสิทธิการจองภายใน 3 วัน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย นพ_กำแพงแสน, 1 เมษายน 2012.

  1. SIR2010

    SIR2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,947
    ค่าพลัง:
    +5,623
    โอนเงินแล้ว 550.- บาท วันที่ 7/12/62 เวลา 22.18 น.
     
  2. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    รับทราบขอบพระคุณครับ วันจันทร์จัดส่งแล้วแจ้งให้ทราบครับ
     
  3. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    จองครับ
     
  4. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    จองครับ
     
  5. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    รับทราบการจองทั้งสองรายการครับ
     
  6. อภิลาโภ

    อภิลาโภ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    12,661
    ค่าพลัง:
    +4,318
    โอนแล้วครับ เวลา 20.01 น. ข้อมูลในข้อความส่วนตัวนะครับ
     
  7. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,759
    ค่าพลัง:
    +8,253
    โอนให้พร้อมแจ้งทางข้อความส่วนตัวแล้วครับ
     
  8. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ขอบพระคุณครับพรุ่งนี้จัดส่งแล้วแจ้งให้ทราบครับ
     
  9. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลดรับส่งท้ายปี


    ชุดหลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฏีทอง พระยอดขุนพลโสฬสมงคล + ภาพยันต์ชูชก เปิดให้บูชา 600 บาท จัดส่งEMS
    พระยอดขุนพลโสฬสมงคลหลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง สร้างปี2546 ออกแบบได้ละเอียดสวยงามและดูเข้มขลังมาก สร้างน้อยหายาก
    เนื้อนวโลหะ ก้นตอกโค๊ด+หมายเลข สร้าง 1054 องค์
    เนื้อสัตตโลหะ ก้นตอกโค๊ด+หมายเลข สร้าง 1156 องค์
    เนื้อทองฝาบาตร ก้นตอกโค๊ด+หมายเลข สร้าง 1079 องค์( เหรียญนำเข้าพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร วัดท่าขนุนเดือนกุมภาพันธ์ 62)
    FB_IMG_1546705058380.jpg FB_IMG_1546705060956.jpg FB_IMG_1546705063823.jpg 20190105_222323.jpg 20190105_222332.jpg
     
  10. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลดรับปีใหม่

    พระผงหลวงปู่ทวด รุ่น โพธิญาณ มหามงคล ๙ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด อธิษฐานจิต เป็นที่รู้กันดีว่าองค์หลวงตามหาบัว ท่านเข้มงวดและไม่ค่อยสนับสนุนในเรื่องวัตถุมงคลเท่าไหร่นัก มีเรื่องเล่าว่า แม้แต่องค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขณะที่ท่านแจกวัตถุมงคลแก่ญาติโยมในงานบุญแห่งหนึ่งพอเห็น หลวงตามหาบัว เดินขึ้นศาลาวัดมา ท่านยังต้องหยุดแจกทันทีด้วยความเกรงใจ องค์หลวงตามหาบัวท่านไม่เคยจัดสร้างหรือสั่งให้สร้างวัตถุมงคลด้วยตัวท่านเอง ด้วยความเมตตาของท่านก็ได้มีการผ่อนผันบ้าง โดยดูเจตนาของผู้ที่จัดสร้างเป็นหลัก วัตถุมงคลของท่านจึงมีออกมามากมายหลายรุ่น โดยเฉพาะในช่วง ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นมาถึงปัจจุบันนี้ วัตถุมงคลของท่านเท่า ที่มีผู้บันทึกใว้พอแบ่งได้เป็น 3ประเภทหลักๆ คือ ประเภทที่1. สร้างและนำเข้าพิธีปลุกเสกหมู่โดยมีองค์หลวงตาท่านอยู่ในพิธีด้วยเช่นงานผ้าป่าช่วยชาติ งานบุญประทายข้าวเปลือก งานมอบทองคำวาระต่างๆ งานวันเกิด งานเปิดสามแดนโลกธาตุ เป็นต้น ประเภทที่2. สร้างโดยศิษย์คนสำคัญ นำเข้าพิธีทุกพิธีเป็นปีๆ และนำพระไปไว้ที่กุฎิท่านนานเป็นเดือนๆ จึงนำมาแจกกัน แต่ก็มีไม่มากเท่าที่ทราบตอนนี้ส่วนมากไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก ต้องไปรับจากครูบาอาจารย์โดยตรงมากกว่า และจะแจกเป็นรายบุคคลไป เท่านั้น ประเภทที่3. ผ่านการอธิฐานจิต จากท่านโดยตรง ประเภทนี้หายากสุดๆ ใครมีก็เงียบ ไปค่อยบอกกัน นอกจากนี้ก็มีตามโอกาสที่ท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกในงานสำคัญตามวาระต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่ารุ่นไหนก็มีความศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้นถ้านำมาบูชาด้วยใจที่ศรัทธา ก็ศักดิ์สิทธิ์ด้วยบารมีของท่านครับ หลวงปู่ทวดรุ่นโพธิญาณ รุ่น “มหามงคล ๙” พิมพ์กลีบบัวใหญ่ จัดสร้างโดยหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ผ่านการเมตตาจากองค์หลวงตามหาบัวถึง ๒ ครั้งด้วยกัน เนื่องจากว่าในขณะที่หลวงตายังแข็งแรงดีอยู่นั้น ท่านได้ไปเยี่ยมหลวงปู่บุญเพ็งบ่อยๆ ซึ่งในขณะนั้นได้มีการหล่อพระพุทธชินราชพระประธานวัดป่ากู่ทอง และมีการก่อสร้างปรับปรุงเสนาสนะและสร้างเจดีย์ในวัดป่าวิเวกธรรม จึงเป็นโอกาสอันดีที่หลวงปู่บุญเพ็งได้กราบอาราธนานิมนต์หลวงตาได้ช่วยแผ่เมตตาให้แน่นอนว่าดีมากๆครับ เพราะตอนที่หลวงตาได้กราบพระ(ตามรูป) 3 ครั้งแล้ว ท่านได้กล่าวกับหลวงปู่บุญเพ็งว่า ที่เรากราบสามครั้งนี้กระเทือนถึงสามแดนโลกธาตุ... ครั้งแรก วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๒(วันเข้าพรรษา) ครั้งที่สอง วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๒ (วันที่ ๙ เดือน ๙ ปี ๙๙ ) สร้างจากผงพุทธคุณหลายอย่างเกศาพ่อแม่ครูอาจารย์ โรยผงเพชรหน้าทั่ง ฝังแผ่นโค๊ตด้านหลัง

    เปิดให้บูชา 250 บาท จัดส่งEMS ( เหรียญนำเข้าพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร วัดท่าขนุนเดือนกุมภาพันธ์ 62) 20181005_215543.jpg 20181005_215606.jpg
     
  11. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +821
    จองครับ
     
  12. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    รับทราบขอบพระคุณครับ
     
  13. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +821
    โอนแล้วตามข้อความครับ
     
  14. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ขอบพระคุณครีบวันนี้จัดส่งแล้วแจ้งให้ทราบครับ
     
  15. อภิลาโภ

    อภิลาโภ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    12,661
    ค่าพลัง:
    +4,318
    รับพัสดุแล้วครับ ขอบคุณครับ
     
  16. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลดพิเศษรับส่งท้ายปี จองกี่รายการก็เพิ่มค่าจัดส่งเพียง 50 บาท

    พระพุทธชินราชหลังอกเลา ปี 2515 เนื้อเกสร นิยม หลวงพ่อกวยร่วมปลุกเสก เปิดให้บูชา 180 บาท

    พระพิมพ์พระพุทธชินราช หลังอกเลา ปี ๒๕๑๒ นี้พระมหาโกเมส มณีโชติ แห่งวัดราชนัดดา กทม. เป็นผู้สร้าง เข้าพิธีปลุกเสก พิธีเดียวกับพระสมเด็จ "พระพุทธบาทประชารักษ์" ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ในยุคนั้นมาร่วมพิธีปลุกเสกมากมาย เช่นหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู,หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ฯลฯ
    ประวัติและความเป็นมา
    พระสมเด็จรุ่นนี้พระธรรมรัตนากรหรือหลวงพ่อใหญ่เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสระบุรีในขณะนั้นได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เนื่องจากท่านเห็นว่าวัดพระพุทธบาทยังไม่เคยมีการจัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จมาก่อนเลย ท่านได้เห็นว่าดอกไม้ที่ประชาชนนำมาใส่บาตรพระช่วงเทศกาลในช่วงเข้าพรรษาเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้ดำริให้รวบรวมไว้เพื่อนำมาเป็นมวลสารในการจัดสร้างและอีกวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อแจกแก่ผู้ที่เข้ามาแสดงมุตาจิตที่ท่าน ได้เลื่อนสมณศักดิ์ และส่วนหนึ่งนำมาจำหน่ายแก่ประชาชนที่มานมัสการรอยพระพุทธบาทในราคาองค์ละสิบบาทเพื่อเป็นที่ระลึก
    การจัดสร้างมีการดำเนินการโดยทางวัดเองเริ่มประมาณในปี พ.ศ.2512 โดยมี “พระมหาโกเมศ” จากวัดราชนัดดาซึ่งมีความสนิทกับท่านพระธรรมรัตนากรเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง โดยพิมพ์พระเป็นพิมพ์ที่ท่านพระมหาโกเมศจัดหามาเท่าที่ทราบมีประมาณสิบกว่าพิมพ์ โดยเรียกชื่อพิมพ์คล้ายกันกับสมเด็จบางขุนพรหมแต่ได้แกะพิมพ์ให้แตกต่างกันออกไป และการพิมพ์องค์พระทำเป็นแบบสองหน้าก็มี ที่เรียกชื่อเท่าที่พบ
    ๑) พิมพ์ทรงเจดีย์
    ๒) พิมพ์ฐานขาสิงห์
    ๓) พิมพ์เกศบัวตูม
    ๔) พิมพ์ปรกโพธิ์
    ๕) พิมพ์อกครุฑ
    ๖) พิมพ์ฐานแซม
    ๗) พิมพ์วัดเกศ
    พิมพ์นอกจากนี้จะเป็นพิมพ์พิเศษที่ทำขึ้นมาเพื่อแจกแก่ผู้ที่มาช่วยงาน เช่น ทำเป็นพิมพ์สองหน้า
    ส่วนเนื้อหาพระจะแบ่งออกเป็นสามสีคือ
    ๑)เนื้อสีน้ำตาลหรือเนื้อเกสร สร้างจำนวนไม่มาก ไม่ได้นำออกจำหน่าย
    ๒) เนื้อสีเปลือกมังคุด สร้างจำนวนน้อยสุด ไม่ได้นำออกจำหน่าย
    ๓) เนื้อสีขาวสร้างจำนวนมากและนำมาจำหน่ายองค์ละสิบบาท
    พระทั้งหมดจัดสร้างจำนวนเท่าใดไม่ทราบ เมื่อทำการกดพิมพ์พระเป็นจำนวนพอแก่ความต้องการแล้วได้จัดพิธีพุทธาภิเศกที่ศาลาหอเย็นใกล้รอยพระพุทธบาทในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ได้จัดพิธีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มาก ซึ่งได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ในยุคนั้นมาร่วมพิธีปลุกเสกกันมากมาย อาทิ เช่น
    หลวงปู่โต๊ะวัด ประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู
    หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
    ฯลฯ
    และในปีพ.ศ. ๒๕๒๒ พระที่เหลือของท่านส่วนหนึ่งพระธรรมรัตนากรหรือหลวงพ่อใหญ่ได้นำมาเข้าพิธีอีกครั้งหนึ่ง มีพระเกจิมาร่วมปลุกเสก เช่น
    หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
    หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    พระราชอุทัยกวี (หลวงพ่อพุธ)เจ้าคณะจังหวัดอุทัย (องค์นี้งูเห่าแผ่แม่เบี้ยท่านชี้มือสยบเลยจากคำบอกเล่าของผู้ที่ไปนิมนต์ท่าน)
    หลวงปู่นาค วัดหนองโปร่ง
    หลวงพ่อสุวรรณ วัดเขาบ่มกล้วย
    หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โกร่งธนู
    ฯลฯ
    พระรุ่นนี้หลวงพ่อกวยได้นำพระบางส่วนกลับไปด้วย โดยส่วนตัวผม ถือว่าเป็นของดีพิธีใหญ่ มวลสารเยี่ยม เกจิย์เก่า ดีครบสูตรพุทธคุณทุกทาง สภาพสวยเดิมสมบูรณ์พิมพ์คมชัดลึก พระชุดนี้ถือว่า เป็นของดีราคาถูก มีประวัติการสร้างที่แน่นอน ถือ เป็นพระนอกวัด(วัดโฆษิตาราม) ที่หลวงพ่อกวยท่านเศก น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง

    ที่มาข้อมูล

    http://www.zoonphra.com/shop/catalog.php?storeno=c001&idp=1414 20191215_105026.jpg 20191215_105032.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2019
  17. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลดพิเศษรับส่งท้ายปี จองกี่รายการก็เพิ่มค่าจัดส่งเพียง 50 บาท

    พระนางพญา หลวงปู่นนท์ วราโภ วัดเหนือวน ราชบุรี มีเกศาเยอะ เปิดให้บูชา 100 บาท

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่นนท์ วราโภ

    วัดเหนือวน
    ต.คุ้งน้ำวน อ.เมือง จ.ราชบุรี


    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระครูวราโภคพินิต” หรือ “หลวงปู่นนท์ วราโภ” อดีตเจ้าอาวาสวัดเหนือวน ต.คุ้งน้ำวน อ.เมือง จ.ราชบุรี พระเถระชื่อดังที่มีอาวุโสสูงสุดของจังหวัดราชบุรี เป็นพระที่มากไปด้วยความเมตตาปรานี และเป็นศิษย์สายพุทธาคมวัดสัตตนารถปริวัตร และวัดลาดเมธังกร แห่งเมืองราชบุรี ที่มีพระเกจิอาจารย์เรืองวิชาอาคมหลายรูป อาทิ พระพุทธวิริยากร (จิตร) เจ้าของเหรียญพระสงฆ์เหรียญแรกของเมืองไทย, พระพุทธวิริยากร (อินทร์) ฯลฯ

    หลวงปู่นนท์ วราโภ มีนามเดิมว่า นนท์ ศรีจันทร์สุก เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พุทธศักราช 2453 ตรงกับวันพุธ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ ณ บ้านเตาอิฐ หมู่ที่ 1 ต.เตาอิฐ อ.บางแพ (ปัจจุบันขึ้นอยู่กับ ต.วังเย็น) จ.ราชบุรี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายพลอย และนางทองคำ ศรีจันทร์สุก


    ๏ ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษาเบื้องต้น

    ในวัยเด็กเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดหนองม่วง (หงษ์วิทยาคาร) ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี และยังเป็นลูกศิษย์วัดอยู่กับ หลวงพ่อเงิน นนโท วัดหนองม่วง ตลอดเวลาที่อยู่วัดได้ปรนนิบัติรับใช้พระเณรพร้อมกับเรียนหนังสือไปด้วย เด็กชายนนท์ ศรีจันทร์สุก เป็นเด็กที่ขยันขันแข็ง เป็นที่รักใคร่ ชื่นชอบ และไว้วางใจของหลวงพ่อเงิน นนโท เป็นอย่างมาก จากนั้นได้เล่าเรียนวิชาโดยหลวงพ่อเงินเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้ตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคาถาอาคม เวทมนตร์ ไสยศาสตร์ ทั้งสำหรับกันและแก้ นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาตำรับตำรายาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติมอีกด้วย จนกระทั่งเด็กชายนนท์ ศรีจันทร์สุก มีจิตใจฝักใฝ่ในทางธรรมยิ่งขึ้น มีอุปนิสัยรักสงบ และดูเด่นและสะดุดตาต่อผู้พบเห็น แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกัน

    ต่อมา พระครูใบฎีกาถาวร วัดโสมนัสวิหาร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ได้เดินทางมาพักเยี่ยมญาติโยมแถวบ้านหนองม่วง เกิดชอบใจในอุปนิสัยของเด็กชายนนท์ จึงชักชวนให้มาอยู่ด้วยกันที่วัดสัตตนารถปริวัตร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี (ในตัวเมืองราชบุรี) เพราะท่านจะต้องไปจำพรรษาที่นั่น

    เด็กชายนนท์จึงได้เล่าเรียนหนังสือที่วัดสัตตนารถปริวัตร เป็นเวลาถึง 2 ปี หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร (ดา) เจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร และเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี ได้จัดส่งพระครูใบฎีกาถาวรให้มาช่วยดูแลที่วัดเหนือวน จึงเป็นเหตุให้เด็กชายนนท์ต้องติดตามพระครูใบฎีกาถาวร ผู้เป็นพระอาจารย์ ไปอยู่ด้วย


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ปี พ.ศ.2470 ในขณะที่นายนนท์ มีอายุได้ 17 ปี พระครูใบฎีกาถาวร ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรให้ ณ วัดเหนือวน ต.คุ้งน้ำวน อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยมีพระครูอุดมธีรคุณ (ดา) วัดสัตตนารถปริวัตร จ.ราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นได้บวชเป็นสามเณรแล้ว พระครูใบฎีกาถาวรได้ส่งไปเรียนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรม ณ วัดสนามพราหมณ์ ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี สอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรก

    ในขณะที่สามเณรนนท์กำลังเรียนนักธรรมชั้นโทอยู่นั้น พระครูใบฎีกาถาวรเกิดอาพาธหนัก สามเณรนนท์จึงต้องกลับมาปรนนิบัติดูแลพระอาจารย์ จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลง นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา สามเณรนนท์ก็มิได้ไปพำนักอยู่พรรษาที่วัดอื่นอีกเลย

    %CB%C5%C7%A7%BB%D9%E8%BA%D8%B4%B4%D2%20%B6%D2%C7%E2%C3~0.jpg
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร


    ต่อจากนั้นเมื่ออายุได้ 19 ปี ได้หันมาเรียนทางด้านกรรมฐาน บำเพ็ญทางจิตเพื่อเป็นการกำราบกิเลสที่จะเกิดขึ้นกับจิตใจ โดยฝากตัวเรียนกรรมฐานกับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร แห่งวัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี พระอริยสงฆ์ที่ทรงคุณด้านวิปัสสนาธุระเป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เนื่องจากหลวงปู่บุดดา ถาวโร พร้อมด้วยพระสหธรรมิกได้ธุดงควัตรผ่านมา และจำพรรษาอยู่ที่วัดเหนือวน

    ครั้นเมื่อสามเณรนนท์ ศรีจันทร์สุก มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2474 ณ พัทธสีมาวัดเหนือวน ต.คุ้งน้ำวน อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยมีพระพุทธวิริยากร (ดา) วัดสัตตนารถปริวัตร จ.ราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเมธีธรรมานุยุต (เม้ย) วัดลาดเมธังกร จ.ราชบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเฉื่อย วัดเหนือวน จ.ราชบุรี เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “วราโภ” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีรัศมีอันประเสริฐ”


    ๏ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเหนือวน

    ครั้นบวชแล้ว ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดเหนือวนมาตลอด ต่อมาในปี พ.ศ.2499 พระอธิการเฉื่อย เจ้าอาวาส ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ด้วยความศรัทธาชาวบ้านและพระเถระผู้ใหญ่ได้มีบัญชาแต่งตั้งพระภิกษุนนท์ วราโภ รักษาการแทนเจ้าอาวาส ไปพลางก่อนเป็นเวลา 1 ปี จึงได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเหนือวน ในปี พ.ศ.2500 จวบจนมาถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลานานถึง 49 ปี

    ตลอดเวลาที่หลวงปู่นนท์ วราโภ ได้ปกครองวัดเหนือวน ท่านได้ให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรทุกรูป ส่งเสริมการเรียนรู้พระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลี เพื่อเป็นการเรียนรู้พระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า เพื่อเป็นรากฐานแห่งการปฏิบัติทางจิตอันเป็นจุดสูงสุดของพระพุทธศาสนา

    เมื่อมีเวลาจะดูแลซ่อมแซมทำนุบำรุงเสนาสนะของวัด และยังได้ดูแลโรงเรียนประชาบาล อันเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ชาวละแวกตำบลคุ้งน้ำวน เท่ากับเป็นการตอบแทนชาวบ้านทั้งหลายที่มีต่อท่าน ด้วยการอุปถัมภ์ค้ำจุนโรงเรียนประชาบาลวัดเหนือวนประชาอุทิศ ตลอดมา

    %CB%C5%C7%A7%BB%D9%E8%B9%B9%B7%EC%20%C7%C3%D2%E2%C0%202.jpg
    หลวงปู่นนท์ วราโภ


    ๏ การศึกษาพุทธาคมและกรรมฐาน

    การศึกษาพุทธาคมของหลวงปู่นนท์ ท่านได้สืบทอดวิชามาจากครูบาอาจารย์หลายรูป นับตั้งแต่เป็นเด็กวัด อาทิ พระพุทธวิริยากร (ดา), พระครูเมธีธรรมานุยุต (หลวงพ่อเม้ย) วัดลาดเมธังกร อ.เมือง จ.ราชบุรี, พระภิกษุชม วัดบางแพเหนือ อ.บางแพ จ.ราชบุรี และอาจารย์พงษ์ พรรณารักษา (ฆราวาส) ฯลฯ

    ครั้งยังเป็นสามเณรในสมัยเป็นผู้ใกล้ชิดกับหลวงปู่บุดดา ถาวโร พร้อมด้วยพระมหาเลื่อน ท่านได้ศึกษาด้านการกรรมฐานบำเพ็ญทางจิตจนสำเร็จ

    นอกจากนั้นแล้ว ในชีวิตสมณเพศตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงวัยชรา หลวงปู่นนท์ก็ยังมั่นคงในการเจริญกรรมฐานตลอดมา ด้วยเห็นว่าเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้จิตใจหมดจดบริสุทธิ์ได้จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และอาสวะเครื่องย้อมใจที่ทำให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นไปได้

    ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่นนท์เป็นผู้มีกายผ่องใส ใจผ่องแผ้วอยู่ตลอดเวลา เป็นที่ปรารถนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เดินทางมากราบไหว้ท่านถึงวัดกันเป็นจำนวนมาก

    บรรดาศิษยานุศิษย์ที่ใกล้ชิดต่างเชื่อว่าท่านเป็นทิพยจักษุ มีเทพคู่บารมีคอยช่วยเหลือ อีกทั้งมีมุขวาจาสิทธิ์ พูดจริงทำจริง และเป็นอย่างที่ท่านพูดเสมอ หลายคนเคยประจักษ์มาแล้ว อย่างเช่นงานพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรที่วัดเจ้าอาม หลายปีก่อนนั้นได้นิมนต์หลวงปู่นนท์มานั่งบริกรรมภาวนาประจำทิศ เสร็จพิธีญาติโยมเข้าไปรดน้ำมนต์ พอเข้าไปใกล้บาตรน้ำมนต์ เห็นน้ำมนต์ในบาตรหมุนเป็นเกลียว ทั้งที่ยังไม่ได้พรมน้ำมนต์เลย


    ๏ การสร้างวัตถุมงคล

    หลวงปู่นนท์ ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้ไม่กี่รุ่น เหตุนี้ทำให้คนที่อยู่นอกพื้นที่หาบูชายากหน่อย บางรุ่นก็หมดจากวัดไปนานแล้ว อย่างเช่น เหรียญรูปไข่ รุ่นแรก พ.ศ.2511 หายากมาก นอกจากนี้ยังมี เหรียญกลมเล็ก รุ่น 3 พ.ศ.2530 แต่ที่ยังพอมีเห็นให้บูชาจะเป็นรุ่นหลังๆ อย่างรุ่น 4 รุ่น 5 โดยเฉพาะพระปิดตาสุดยอดเมตตามหานิยม ส่วนพระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกสร้างเมื่อ พ.ศ.2539 ยอดเยี่ยมทางการค้าขายโชคลาภ

    ส่วนพระเครื่องรุ่นหลังๆ ที่ได้รับความนิยมสูง เช่น พระสมเด็จอกครุฑเศียรบาตร ผงว่านมหามงคลมวลสาร 108 จากพระเกจิอาจารย์เกือบทั่วประเทศ ขนาดยังไม่ทันปลุกเสกไตรมาสพอลูกศิษย์และญาติโยมรู้เรื่องต่างสั่งจองก่อนหมด ก่อนเปิดให้บูชาเนื่องในวันคล้ายวันเกิด พ.ศ.2543 ของท่าน ส่วนรุ่นสุดท้ายก็คือ รุ่น 8 รอบ 96 ปี ที่สร้างเป็นรูปแบบงานย้อนยุคเหรียญดังวัดสัตตนารถปริวัตร พระเครื่องของหลวงปู่นนท์ กล่าวขานว่า ดีทางเมตตามหานิยม ผสมแคล้วคลาดปลอดภัย มีไว้ไม่อับจน

    คณะศิษยานุศิษย์เชื่อมั่นในบุญญาบารมีของหลวงปู่นนท์ ว่ามีพลังจิตตานุภาพในการอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลให้เกิดฤทธิ์อำนาจได้ ทั้งนี้เพราะท่านเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมสายตรงจากวัดสัตตนารถปริวัตร และวัดลาดเมธังกร

    พระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยและพระเถระผู้ใหญ่ยกย่องนับถือหลวงปู่นนท์ ในเรื่องปฏิปทาว่ามีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ศีลาจารวัตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่พระเกจิอาจารย์วัดดังต่างๆ ในภูมิภาคตะวันตกมีงานพุทธาภิเษกจะต้องนิมนต์หลวงปู่นนท์ วัดเหนือวน ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ

    _4_132.jpg
    หลวงปู่นนท์ วราโภ


    ๏ การมรณภาพ

    หลังจากถูกโรครุมเร้าจนต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร อยู่ประมาณ 3 เดือน โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

    ท่านก็ละสังขารลงอย่างสงบด้วยโรคชรา ในเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ของวันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ.2550 ท่ามกลางความโศกเศร้าของศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก สิริอายุรวม 96 ปี 9 เดือน 19 วัน พรรษา 76 กำหนดพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ วันที่ 11 มกราคม ณ วัดเหนือวน

    ถึงหลวงปู่นนท์จะจากไป แต่ชาวบ้านและลูกศิษย์ที่เคารพนับถือทั้งหลายต่างเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านแสดงให้เห็น และสร้างความมั่นใจว่าหลวงปู่นนท์ยังอยู่ในใจ และคอยปกป้องรักษาคุ้มภัยช่วยเหลือทุกคน



    .............................................................

    รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
    1. หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 31
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 โดย ดุสิต ลิมปวัฒนางกูร
    วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5959
    2. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ หน้า 1
    คอลัมน์ เกจิสยามรัฐ - 13/1/2550
    20191215_105729.jpg 20191215_105742.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2019
  18. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลดพิเศษรับส่งท้ายปี จองบูชากี่รายการ เพิ่มค่าจัดส่งแค่ 50 บาท

    พระรูปเหมือนหลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล ปี 54 เนื้อผงผสมเกษาหลังติดจีวร เปิดให้บูชา 100 บาท

    พระเนื้อผงรูปอาร์มหลวงปู่สี สิริญาโณวัดป่าศรีมงคล (ศิษย์เอกหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง) ออกวัดเลิงแฝก จ.อุบลฯ ปี 54 ผสมเกษาหลังติดจีวร เป็นพระที่สมบูรณ์ด้วยหกดี (๑.มวลสารดี ๒.เกจิดี ๓.ฤกษ์ยามดี ๔.พิธีดี ๕.เจตนาในการสร้างดี ๖.ผู้มีไว้ครอบครองดี) น่าเก็บ น่าใช้อีกละครับ
    อุปสมบท
    หลวงปู่สีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดป่าบ้านเปือย เมื่อ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ปี พ.ศ ๒๔๘๘ โดยมีพระครูศรีละสุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์
    หุ่นขี้ผึ้ง หลวงปู่สี สิริญาโณ ณ.วัดป่าคำเจริญ อ.กันทรารมย์ จ.ศีรษะเกษ สร้างถวายโดย หลวงพ่อสว่าง กัลยาโณ พระลูกศิษย์
    ปฏิบัติกรรมฐาน
    ในปี 2512 หลวงปู่สี ได้มีโอกาสมาพบกับพระโพธิญาณเถร ( ชา สุภทฺโท ) ซึ่งการพบกันครั้งนั้น นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิต เนื่องจากได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมและการปฏิบัติกรรมฐานที่ถูกต้องจากหลวงพ่อชาโดยตรง จนกระทั่งหลวงพ่อชา ได้มอบหมายให้หลวงปู่สี ไปดูแลวัดสาขาของวัดหนองป่าพงซึ่งก็คือวัดป่าศรีมงคลนั่นเอง
    หลวงปู่สี สิริญาโณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีมงคล ( วัดป่าบ้านเปือย ) อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง ก่อนที่ท่านจะได้เข้ามาขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาพระธรรมกับหลวงพ่อชานั้น หลวงปู่สีท่านได้เคยร่ำเรียนวิชชาการวิทยาคมต่างๆ มาแล้วหลายสายหลายด้าน เรียกได้ว่าก่อนหน้าที่ท่านจะได้พบกับหลวงพ่อชานั้น ท่านได้ศึกษาวิชชาอาคมมามากมายหลายศาสตร์แขนง แม้แต่การใช่พระคาถาปัดเป่ารักษาคนป่วยไข้ให้หายจากอาการป่วย ท่านก็ได้ร่ำเรียนมาจนแตกฉาน กระทั่งท่านได้มีบุญโอกาสมาเจอกับหลวงพ่อชา ใน ปี พ.ศ. 2512 ท่านถึงได้ตัดสินใจเป็นมั่นคงหนักแน่นที่จะละทิ้งในวิชาอาคมต่างๆที่เรียนมาทั้งหมดเพื่อที่จะนำตัวของท่านเข้าสู้การปฏิบัติธรรมเจริญความเพียรทางด้านวิปัสสนาให้ถ่องแท้แตกฉาน จากวันนั้นเป็นต้นมาท่านจึงได้อยู่ปฏิบัติกับหลวงพ่อชา จวบจนกระทั่งจนมาถึงวันหนึ่ง หลวงพ่อชา ผู้เป็นพระอาจารย์ได้มีดำริสั่งการ ให้ตัวท่านนั้นได้เดินทางไปดูแลวัดป่าในสาขาของวัดหนองป่าพง สาขาที่ 13 ณ วัดป่าศรีมงคล ( วัดป่าบ้านเปือย ) อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี และวัดป่าริมโขง(สีมงคลธรรมสถาน) บ้านตามุย อ.ห้วยไผ่ จ.อุบลราชธานี จนถึงปัจจุบันนี้ ท่านสิริอายุได้ ๙๓ ปี ๗๒ พรรษา 20191215_110725.jpg 20191215_110741.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2019
  19. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลดพิเศษรับส่งท้ายปี จองบูชากี่รายการ เพิ่มค่าจัดส่งแค่ 50 บาท

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่บุญพิน โภคทรัพย์ เลี่ยมพลาสติก เปิดให้บูชา 80 บาท
    20190514_200648.jpg 20190514_200655.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2019
  20. นพ_กำแพงแสน

    นพ_กำแพงแสน เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    14,873
    ค่าพลัง:
    +10,040
    จองแล้ว
    ลดพิเศษรับส่งท้ายปี จองบูชากี่รายการ เพิ่มค่าจัดส่งแค่ 50 บาท


    พระสมเด็จ ๙ อรหันต์ เนื้อผสมอัฐิธาตุ อังคารธาตุ เกศา ชานหมาก มูลนิธิโลกทิพย์ จัดสร้าง ๒๕๓๘ เปิดให้บูชา 100 บาท

    พระสมเด็จ 9 อรหันต์มวลสารดีมากมายเนื้อผสมอัฐิธาตุอังคารธาตุเกศาและชานหมากของพระอรหันต์ 9 รูปเป็นพระที่สร้างโดยเจ้าของนิตยสารพระโลกทิพย์,ฤทธิ์อำนาจเมื่อหลายปีมาแล้วนิยมห้อยบูชากันในหมู่ศิษย์และฆราวาสที่นับถือครูบาอาจารย์สายพระป่าสายกรรมฐานเพราะเป็นพระดีและมีประสบการณ์กันมากมายปัจจุบันหายากแล้ว พระอรหันต์ 9 รูป มีรายนามดังนี้
    1. หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แห่งวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
    2. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    3. หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
    4. หลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
    5. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    6. หลวงปู่สาม อกิญจโน แห่งวัดไตรวิเวก จ.สุรินทร์
    7. หลวงปู่บัว พาปัญญาภาโส แห่งวัดป่าพระสถิตย์ จ.หนองคาย
    8. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่งวัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    9. หลวงปู่สี ฉันทสิริ แห่งวัดเขาถ้ำบุญนาค จ.นครสวรรค์
    พระสมเด็จ 9 อรหันต์ หรือ พระผงอังคาร 9 อรหันต์ สร้างเมื่อปี พศ.2538 สุดยอดความขลังเป็นที่สุดของมวลสารในการสร้างพระรุ่นนี้ขึ้นมาที่มาของพระรุ่นนี้คือได้มวลสารหลักๆ อาทิ
    1. พระผงรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งด้านหลังบรรจุเกศาแท้ ๆ ของหลวงปู่มั่น สร้างโดยหลวงปู่เจี๊ยะ วัดป่าภูริทัตตะฯ จ.ปทุมธานี สมเด็จชานหมากของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ด้านหลังฝังเหล็กเปียกสร้างโดยพระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
    2. พระผงรุ่นอายุยืน เส้นเกศา จีวร ชานหมาก หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค ผิวสรีระบางส่วนที่ขูดออก ครั้งเปลี่ยนจีวร สีผึ้งที่ทำจากอุจจาระ ซึ่งก่อนมรณภาพหลวงปู่สี ฉันทสิริ ได้ขับถ่ายออกมาเป็นสีผึ้ง

    3. เส้นเกศา-อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    4. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    5. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่ขาว อนาลโย
    6. พระผงอังคารธาตุ หลวงปู่ชา สุภัทโท
    7. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ ชานหมากหลวงปู่สาม อกิญจโน
    8. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    9. อัฐิธาตุ-อังคารธาตุ หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส

    บวกด้วยผงธาตุกายสิทธิ์
    1. ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช
    2. ผงว่าน 108
    3. ดินสังเวชนียสถานทั้ง 4 ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน
    4. ใบโพธิ์ ของต้นโพธิ์ตรัสรู้แท้ ๆ จากประเทศอินเดีย
    5. ผงแร่เกาะล้าน แร่เกาะคาม แร่เกาะภูเก็ต แร่เมฆพัด
    6. ผงแร่เหล็กไหลเพลิง
    7. ผงเหล็กไหลตาแรด หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแฝด
    8. ผงธูป ผงพระเก่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    9. ดินกากยายักษ์ที่ใช้ผสมทำพระผงหลวงปู่ทวด
    10. ผงเกสรดอกไม้บูชาพระอาจารย์หลายรูป
    11. ผงพระเก่าหลวงพ่อมงคลบพิตร
    12. ผงพระธาตุพระสิวลี ชนิดสีขาวและสีดำ
    13. ผงสะเก็ดแก้ว พิสดาร

    ทั้งหมดคือมวลสารกายสิทธิ์ที่จัดสร้างสุดยอดพระผง สมเด็จ 9 อรหันต์ ซึ่งควรค่าแก่การเก็บสะสม
    โดยมีพิธีอธิษฐานจิต-พุทธาภิเษก ถึง 3 ครั้ง
    ครั้งที่1. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 ภายในโบสถ์มหาอุด วัดอินทราราม จ.สมุทรสงคราม ซึ่งตรงกับวันเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา โดยหลวงพ่อแดง นันทิโย และพระภิกษุผู้ทรงอิทธิจิตสูงส่งภายในวัดอินทรารามทั้งยังเป็นผู้สร้างพระสมเด็จ 9 อรหันต์ ตามสูตรการสร้างพระสมเด็จที่สืบทอดมาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และ หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ

    ครั้งที่2. เมื่อเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2538 พิธีมหาพุทธาภิเษก ภายในพระวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป นั่งปรกแผ่เมตตาดังนี้
    1. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    2. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม
    3. หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า
    4. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
    5. หลวงพ่อยะ วัดท่าข้าม จ.นครปฐม
    6. หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    7. หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ.นครปฐม
    8. หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
    9. หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี

    ครั้งที่3. อธิษฐานจิตแผ่พลังโดยพระป่ากรรมฐานในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกจำนวนทั้งหมด 22 รูป ดังนี้
    1. หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร
    2. หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพฯ
    3. หลวงพ่อคำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
    4. พระอาจารย์กิ ธัมมุตตโม วัดสนามชัย จ.อุบลราชธานี
    5. พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
    6. พระอาจารย์บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม จ.ขอนแก่น
    7. หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส จ.ลำปาง
    8. หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิตร
    9. พระอาจารย์โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว น จ.อุบลราชธานี
    10. พระโพธินันทมุนี วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    11. พระอาจารย์แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    12. พระครูอุดมสังวรคุณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    13. หลวงพ่อเพิ่ม กิตติวัฒฑโน วัดถ้ำไตรรัตน์ จ.นครราชสีมา
    14. หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ วัดถ้ำเสือวิปัสสนา จ.กระบี่
    15. พระอาจารย์สมาน ชิตมาโร วัดป่าศรัทธาราม จ.นครราชสีมา
    16. หลวงพ่อเที่ยง ผาสุโก วัดหลวงปรีชากูล จ.ปราจีนบุรี
    17. พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
    18. พระอาจารย์เคล็ม ปิยธโร วัดกระสัง จ.บุรีรัมย์
    19. หลวงพ่อแดง นันทิโย วัดอินทราราม จ.สมุทรสงคราม
    20. พระอาจารย์เฉลียว วรกิจโจ วัดป่าโคกมน จ.เลย
    21. หลวงพ่อสิทธา เชตะวัน
    22. พระอาจารย์เกษมสุข เขมสุโข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ กรุงเทพฯ 20190513_071437.jpg 20190513_071444.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...