ลูกศิษย์บันทึก เล่ม 3 หน้า 149 ของข้าพเจ้า

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย montrik, 1 กันยายน 2018.

  1. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    เรื่องเล่าใน อดีต ที่น่าอ่านมากครับ

    เล่าเรื่อง ปิดตลาดท่าเรือปล้น และเรื่อง ศาลหลักเมืองพิจิตร เรื่องที่น้อยคนนักจะรู้ !!

    (เทพารักษ์พิทักษณ์ศาลหลักเมือง สร้างจากหลักประหารโจรคดีดัง และเป็นคดีตำนาน ในอดีต) !!

    “ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน”

    อันว่าศาลหลักเมืองพิจิตร หลักโบราณทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ อยู่ในบริเวณอุทยานเมืองเก่านั้น ในปัจจุบันไม่พบหลักฐาน โดยการนั่งวิปัสสนาของ หลวงปู่โง่น โสรโย

    (เกจิตะบะสูง คณาจารย์แห่งตำนาน พิจิตร จริงๆท่านบอกว่าท่านเป็นคนทุกที่เพราะจากประวัติหลวงปู่ โง่น โสรโย ท่านเคยเล่าว่าเพราะบิดาเป็นชาวแพคือล่องแพไปเรื่อยเกิดบนแพเรือจึงเป็นคนหลายจังหวัด )

    หลวงปู่ โง่น โสรโย ท่านนี้ผู้ได้ชื่อว่า มีจิตที่สามารถสื่อสารกับสิ่งเล้นลับได้และเป็นที่เคารพศัทธามากของคนเมืองพิจิตร.

    ทีนี้หากจะให้เล่าประวัติศาลหลักเมืองพิจิตร ก็คงเล่าได้ความจากการสืบค้นได้ดังนี้ ..

    ศาลหลักเมืองพิจิตร(เก่า) คาดว่าได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.๑๖๐๑ สมัยพระเจ้ากาญจนกุมาร ผู้ครองนครไชยบวร แต่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จึงไม่สามารถระบุสถานที่ตั้งได้อย่างแน่ชัด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ - ๒๕๑๐ นายแสวง ศรีมาเสริม ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มีดำริที่จะบูรณะปรับปรุงพื้นฟูเมืองพิจิตรเก่าขึ้นเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และได้กำหนดให้มีการฝังหลักเมืองขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสร้างและเป็นที่รวมจิตใจของชาวพิจิตร โดยหลวงปู่โง่น โสรโย ได้นั่งฌานสมาธิเห็นที่ตั้งศาลหลักเมืองเก่า และเมื่อขุดลงไปก็พบซากไม้ที่ใช้ทำหลักเมืองในอดีต และยังพบซากโครงกระดูก วัตถุโบราณอีกเป็นจำนวนมากมายหลายอย่าง จึงพอสันนิษฐานได้ว่า บริเวณพื้นที่ตั้งศาลหลักเมืองปัจจุบันนี้แหล่ะเคยเป็นที่ตั้งศาลหลักเมือง สมัยที่พระยาโคตรบองฝังไว้แต่เดิมมาก่อนนั่นเอง.

    แต่ศาลหลักเมืองใหม่ที่ทุกๆท่านหากผ่านไปพิจิตร และมีโอกาสได้ไปสักการะ หรือคนเมืองพิจิตรเอง จะรู้กันหรือไม่นะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ..

    " ศาลหลักเมืองที่นี่ เป็นศาลหลักเมืองที่มีการนำไม้หลักประหาร ดคีดังนำมาแกะทำเป็น รูป เทพารักษ์พิทักษณ์หลักเมือง " !! .

    เมื่อสมัยอดีตมีคดีดังอยู่คดีหนึ่งคือ ..

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ .. ณ. ตลาดท่าเรือ ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในตอนนั้นยังเป็นชุมชนที่ไม่ใหญ่โตนัก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มีเพียงห้องแถวไม้ชั้นเดียวตั้งเรียงรายอยู่สองฟากถนนที่ตัดมุ่งตรงไปยังสถานีรถไฟ แต่การค้าของตลาดท่าเรือก็คึกคักพอสมควร มีสาขาธนาคารเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ มีร้านทองถึง ๕ ร้าน แต่ละร้านก็แขวนทองโชว์เต็มตู้ประชันกัน โดยไม่คิดว่าจะมีโจรที่ไหนกล้ามาปล้น เพราะอยู่กลางตลาด ห่างจากสถานีตำรวจและที่ว่าการอำเภอประมาณ ๑๐๐ เมตรเท่านั้น

    แต่แล้วในเย็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๘ ราว ๑๖.๒๐ ก็มีรถเมล์สองแถวสีเทาคันหนึ่งวิ่งเข้ามาอย่างช้าๆ จอดที่หน้าโรงแรมตั้งซาฮะ ภายในรถมีชายฉกรรจ์สิบกว่าคน อาวุธครบมือ แต่งกายคล้ายเครื่องแบบครึ่งท่อน นุ่งกางเกงสีกากี ผู้คนในตลาดเห็นก็นึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับผู้ร้ายมา

    ทันทีที่รถจอด ชายคนหนึ่งถือปืนคาร์ไบน์และยังมีถุงผ้าหูรูดห้อยติดข้อมือ กระโดดลงมาเป็นคนแรก แล้วยิงปืนขึ้นฟ้า ๑ นัด ประกาศก้องว่า “อ้ายเสือบุก!”

    จากนั้นทุกคนก็ตามลงมา พร้อมกับยิงปืนหูดับตับไหม้เป็นการข่มขวัญ อีกส่วนหนึ่งกระจายกำลังไปที่หน้าสถานีตำรวจและที่ว่าการอำเภอ สาดกระสุนข่มขวัญและตรึงกำลังไว้โดยรอบไม่ให้เจ้าหน้าที่ออกมาต่อสู้ ชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของต่างวิ่งกันอลหม่าน เจ้าของร้านก็รีบปิดร้าน โดยเฉพาะร้านทองทั้ง ๕ แต่ก็ยังช้าไปกว่า ๕ โจรที่มีอาวุธปืนสั้นซึ่งมาเฝ้าประกบร้านทองทุกร้านล่วงหน้าแล้ว

    นายแก้ว หรือ กำหน่ำ แซ่หล่า เจ้าของร้านทอง “เล่าย่งเฮง” กำลังจะปิดประตูร้าน แต่ก็ไม่ทันโจรคนหนึ่งที่ถือปืนสั้นปราดเข้ามา นายแก้วเห็นหน้าโจร ก็ร้องขึ้นว่า

    “อ้ายวี มึงเองหรือ?”

    ทันใดปืนในมือ “อ้ายวี” ก็คำรามขึ้น นายแก้วทรุดลงตายคาที่ โจรเอาด้ามปืนทุบกระจกตู้ กวาดทองคำเหลืองอร่ามลงใส่ถุงที่เตรียมมาจนเกลี้ยงตู้ แล้วเผ่นออกจากร้านไป

    พอออกจากร้าน โจรที่หิ้วทองออกมาก็เห็นนายจอม เปี่ยมสาคร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๒ ตำบลท่าเจ้าสนุก อำเภอท่าเรือ ซึ่งแต่งเครื่องแบบจะไปร่วมงานวันเฉลิมพระชนม์พรรษาที่อำเภอ และวิ่งมาเพราะเสียงปืน โจรเลยนึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่จะมาขัดขวาง เลยส่องดับคาที่ไปอีกราย

    ที่ร้านทองอีกแห่งชื่อ“ย่งฮวด” นายตังสิ่น แซ่ตั้ง อายุ ๘๗ ปี เจ้าของร้านทำท่าจะขัดขืน เลยถูกยิงดับเป็นศพที่ ๓

    แต่ที่ร้านทอง “ฮั่วซ่งหลี” นายเล่าท้อ แซ่ฮั้ว กับ นางเซี๊ยะกิม แซ่ฮั้ว กำลังช่วยกันจะเก็บทองซ่อน แต่พอเห็นโจรถือปืนพรวดพราดเข้ามาเลยกลัวจนตัวสั่น ยืนนิ่งทำอะไรไม่ถูก ดูโจรกวาดทองจากตู้ใส่ถุงไม่กระดุกกระดิก พอโจรกวาดทองเสร็จจะถอยออกจากร้าน ยิงปืนกลรัวเพื่อจะข่มขวัญ นางเซี๊ยะกิมซึ่งกำลังกลัวสุดขีดอยู่แล้ว เลยช็อกหัวใจวายตายเป็นศพที่ ๔

    ก่อนที่จะถอยออกจากร้าน โจรคนหนึ่งหันไปเห็นนางสาวเซี๊ยะคิ้ม หน้าตาดีหลบซ่อนอยู่ เลยคว้าตัวไปด้วยเป็นของแถม

    ไม่เพียงแต่ร้านทองทั้ง ๕ ร้านถูกทุบกระจกตู้กวาดทองไปเรียบ ร้านขายนาฬิกา ร้านขายวิทยุ ร้านขายเสื้อผ้า ก็ถูกกวาดทรัพย์สินมีค่าเช่นกัน กลุ่มโจรใช้เวลาปฏิบัติการอยู่นานราว ๒๐ นาที หัวหน้าโจรจึงส่งสัญญาณให้สมุนที่ปิดล้อมโรงพักและที่ว่าการอำเภอถอยไปที่รถ พร้อมกับตะโกนบอกกลุ่มที่ยังเก็บกวาดทรัพย์สินตามร้านว่า “อ้ายเสือถอย” มารวมกันกลับขึ้นรถพร้อมกับเชลยสาว แล้วยิงกราดไปรอบทิศเป็นการขู่ไม่ให้มีการติดตาม กระสุนชุดล่าถอยของโจรยังทะลุฝาบ้านเข้าไปถูกขานางนิภา เกตุอ่ำ ที่กำลังให้นมลูกบาดเจ็บไปอีกราย

    ปรากฏว่าโจรที่ปฏิบัติการครั้งนี้มีถึง ๑๗ คน มากับรถสองแถว ๑๒ คน และรออยู่ก่อนแล้ว ๕ คน ส่วนคนขับรถสองแถวนั้นคือนายวิชัย มานะกิจมงคล ถูกโจรคนหนึ่งไปว่าจ้างให้ไปรับพรรคพวกอีก ๑๑ คน แล้วจี้ให้ขับไปที่ตลาดท่าเรือ

    ขณะที่ถอยออกไปจากการปล้น นอกจากในรถสองแถวซึ่งดัดแปลงมาจากรถปิคอัพจะอัดแน่นไปด้วย ๑๗ โจรแล้ว น.ส.เซี๊ยะคิ้มที่ถูกจับมาด้วยยังร้องไห้ครวญครางขอชีวิตไปตลอดทาง พอไปถึงบ้านร่อม ห่างตลาดท่าเรือไป ๓ กม. โจรจึงยอมปล่อยตัวลงข้างทาง ส่วนคนขับรถยังถูกจี้ให้ไปส่งยังจุดที่กำหนดไว้ ซึ่งก็อยู่ในเขตบ้านร่อมนั่นเอง

    เมื่อถึงจุดที่หมาย กลุ่มโจรก็ลงจากรถ ยอมปล่อยคนขับไปแต่โดยดี แล้วพากันเดินถือปืนหอบทองตัดทุ่งไป ขณะนั้นยังไม่มืดชาวบ้านจึงเห็นพวกโจรถนัด แต่ก็ไม่มีใครกล้าดู ต่างปิดประตูหน้าต่างกันพร้อมหน้า กลุ่มโจรได้แวะที่บ้านของนายเชื้อ เขมารมย์ ครูใหญ่ ร.ร.ประชาบาลบ้านร่อม ซึ่งเป็นทางผ่าน ขอน้ำดื่ม ซึ่งครูใหญ่ก็ต้องบริการให้ด้วยความเกรงกลัว

    ในวันนั้น พ.ต.ท.สมหวัง เพ็ญสูตร ผู้กำกับการตำรวจภูธรภาค ๑ มือปราบที่กำลังดัง นำตำรวจออกไปติดตามคนร้ายปล้นทรัพย์ที่ตลาดช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ กลับมาในตอนเย็นยังแวะที่สถานีตำรวจท่าลาน เพื่อสืบเรื่องคนร้ายปล้นรถโดยสารและฆ่าเจ้าทุกข์ตายที่อำเภอบ้านหมอ สระบุรีอีกคดี ก็พอดีมีรถโดยสารเข้ามาแจ้งว่ากำลังมีการปล้นที่ตลาดท่าเรือ ผู้กำกับฯสมหวังจึงโทรศัพท์แจ้งสถานีตำรวจบ้านหมอให้นำกำลังไปสกัดเส้นทางที่คาดว่าคนร้ายจะต้องหนีไปทางนั้น ส่วนตัวเองก็นำกำลังรีบรุดไปติดตามคนร้ายกลุ่มนี้ทันที

    ผู้กำกับฯสมหวังได้ข่าวว่ากลุ่มโจรลงรถที่บ้านร่อมและเดินตัดทุ่งไป จึงติดตามไปจนทัน กลุ่มโจรเห็นตำรวจตามมาจึงจี้ตัวชาวนากำบังกระสุนและยิงต่อสู้ขณะที่ถอย ทำเอาเจ้าหน้าที่ยิงตอบไม่สะดวก จนความมืดคืบคลานมา กลุ่มโจรทั้ง ๑๗ คนจึงอาศัยความมืดหลบหนีไปได้

    ในยุคนั้นการปล้นฆ่าเกิดขึ้นในต่างจังหวัดเป็นประจำ โดยเฉพาะในภาคกลาง แต่การปิดตลาดท่าเรือปล้นถือว่าเป็นการกระทำอุกอาจ อำมหิต ไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง และเป็นการหยามหน้ากรมตำรวจ หนังสือพิมพ์ได้ประโคมข่าวนี้อย่างเอิกเกริกจนทำให้ตำรวจใหญ่นั่งกันไม่ติด พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ระดมนายตำรวจของท้องที่โดยรอบเข้าร่วมพิชิตคดีนี้ โดยตั้งเป็นคณะปราบปรามชุดพิเศษเฉพาะกิจขึ้นมา มี พล.ต.ต.ประหลาท ประการะนันท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธร เป็นผู้อำนวยการ

    จากการสอบสวนในที่เกิดเหตุ มีผู้ตกเป็นเหยื่อโจรเสียชีวิตไป ๔ คน รวมทรัพย์สินที่โจรปล้นไปมีมูลค่าราว ๖ แสนบาท

    เป็น ๖ แสนบาทในขณะที่ทองคำราคาบาทละ ๓๐๐ บาท

    ต่อมาไม่นาน ตำรวจก็สืบรู้ตัวโจรก๊กนี้ ว่ามี เสือใบ กุลแพ ที่ลูกน้องตั้งฉายาให้ว่า “เจ้าพ่อกำแพงเขย่ง” เป็นหัวหน้า และเป็นคนที่เอาปืนจี้หัวนายวิชัยคนขับรถสองแถวให้มาปล้น โดยมี เสือมาย หรือ นายละมาย ภู่แสนสะอาด คนที่รสนิยมจัดในเรื่องผู้หญิงและเป็นคนคว้าตัว น.ส. เซี๊ยะคิ้มเป็นของแถม เป็นผู้วางแผนปล้น

    เสือใบเคยบวชเรียนเป็นเณรและเป็นทหารอยู่ที่ลพบุรีถึง ๓ ปี เมื่อออกจากทหารก็ริเป็นเสือปล้นจนชื่อดัง เมื่อนายสันต์ เอกมหาชัย นายอำเภอเมืองลพบุรี มีนโยบายจะใช้โจรปราบโจร เสือใบจึงถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ ตำบลดอนโพธิ์ ซึ่งก็ทำให้โจรในลพบุรีสงบไปได้พักหนึ่ง

    แต่เสือไม่ยอมทิ้งลาย ต่อมาผู้ใหญ่ใบกับลูกน้องอีก ๕ คนข้ามถิ่นไปปล้นบ้านผู้ใหญ่ฉุย ที่ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เจ้าทรัพย์ยิงสู้ถูกต้นขาขวาผู้ใหญ่ใบจนหนีไม่รอด ถูกจับดำเนินคดี ศาลตัดสินจำคุก ๑๐ ปี ลดฐานสารภาพเหลือ ๕ ปี และขาข้างนั้นพิการจนต้องเดินโขยกได้ฉายาว่า “เจ้าพ่อกำแพงเขย่ง”

    ในเรือนจำสระบุรี เสือใบได้รู้จักกับเสือมาย โจรรุ่นน้องที่ให้ความนับถือเรียกว่าพี่ เมื่อพ้นโทษก็ยังมีความสัมพันธ์กันตลอดมา เมื่อเสือมายคิดจะเข้าปล้นตลาดท่าเรือ โดยดูลาดเลาและวางแผนไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไปชวนเสือใบมาร่วมปล้นด้วย

    เมื่อรู้ตัวระดับหัวหน้าของ ๑๗ โจรที่ปิดตลาดท่าเรือปล้นแล้ว ตำรวจจึงวางแผนที่จะล่าคนหนึ่งคนใดมาให้ได้ก่อน เพื่อขยายผลเอาทั้ง ๑๗ โจรมารับโทษ แต่หัวหน้าโจรที่รู้ตัวมาต่างก็อยู่ในระดับพระกาฬทั้งนั้น จะยอมให้จับแต่โดยดีคงเป็นไปไม่ได้ หากจู่โจมเข้าไปจับแบบไม่รัดกุม ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตฝ่ายปราบปรามเป็นแน่ และถ้าหากเสือร้ายเป็นฝ่ายตาย การขยายผลก็จะหมดไปทางหนึ่งด้วย

    คณะปราบปรามชุดพิเศษเฉพาะกิจประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว กาหัวที่จะคว้าตัว “เจ้าพ่อกำแพงเขย่ง” เป็นคนแรก เพราะมีพยานยืนยันแน่ชัดว่าเป็นคนเอาปืนจี้หัวนายวิชัย คนขับรถสองแถว ทั้งยังเดินเขย่งโชว์ตัวให้คนเห็นทั้งตลาด

    คณะปราบปรามฯได้ตัว จ.ส.ต.พล เพียรเจริญ หัวหน้าสถานีตำรวจบ้านกุ่ม ลพบุรี ซึ่งสนิทสนมกับเสือใบและรู้จักบ้านช่องเป็นอย่างดี ฉะนั้นกลางดึกของคืนวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๐๘ หลังการปล้นเพียง ๒ วัน พ.ต.อ.ตรึก สุทธิจิตต์ และพ.ต.ท. สมหวัง เพ็ญสูตร ก็นำกำลังตำรวจจำนวนหนึ่งลงเรือโดยมี จ.ส.ต.พลเป็นผู้นำทาง ไปถึงบ้านของเสือใบ กุลมา ที่ตำบลดอนโพธิ์ในเช้าตรู่ของวันที่ ๘

    เมื่อวางกำลังรายล้อมไว้แล้ว จ.ส.ต.พลก็ไปตะโกนเรียกที่หน้าบ้านว่า

    “ใบโว้ย ตื่นหรือยัง?”

    “ใครวะ?” เสียงถามมาจากบนบ้าน

    “ข้าเอง พลโว้ย”

    “มาทำไมวะแต่เช้ามืด” เจ้าพ่อเริ่มสงสัย

    “มีธุระโว้ย ลงมาคุยกันหน่อย”

    แม้จะเรียกให้ลงมาโดยดี แต่เจ้าหน้าที่ก็เพียงต้องการให้เสือร้ายพุ่งความสนใจไปที่ จ.ส.ต.พลเท่านั้น ขณะที่หน่วยจู่โจมคืบคลานเข้าไปไม่ให้เสือร้ายรู้ตัว และตรูกันขึ้นไปล็อคตัวไว้ได้ขณะที่เสือร้ายถลาไปคว้าปืน

    เมื่อหมดทางที่จะต่อสู้ “เจ้าพ่อกำแพงเขย่ง” ก็ยอมจำนนให้สวมกุญแจมือแต่โดยดี เจ้าหน้าที่ค้นทั่วบ้านและบริเวณโดยรอบ พบปืนคาร์ไบน์ที่ใช้ในการปล้นพร้อมเครื่องทองของกลางยังอยู่เพียบ เสือสิ้นลายรับสารภาพและเผยตัวลูกน้องร่วมขบวนจนหมดสิ้น

    วันต่อมา สายรายงานมาว่า สมบุญ มากฤทธิ์ ๑ ใน ๑๗ โจรได้หลบไปอยู่บ้านพรรคพวกที่ ต.โพธิ์เอน ในอำเภอท่าเรือนั่นเอง พ.ต.ท.สมหวังจึงพาตำรวจไปล้อมไว้ตั้งแต่ตี ๓ พอสว่างก็จู่โจมเข้าจับ เสือร้ายหันไปคว้าปืน แต่ก็ถูกปืนตำรวจจ่ออยู่หลายกระบอก เลยต้องยอมให้จับแต่โดยดีอีกราย เจ้าหน้าที่ยึดได้ปืนพก ๑ กระบอก กระสุนตุนไว้ถึง ๑๐๒ นัด นาฬิการาโดเรือนทอง ๑ เรือน พร้อมกับเครื่องทองอีกมาก

    ในเวลาต่อมา ตำรวจชุดเดิมก็บุกไปรวบตัว ทวี เฉลิมสมัย คนที่สังหารเถ้าแก่ร้านทองเล้าย่งฮง และผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๒ ท่าเจ้าสนุก ถึง ๒ ศพ ได้ที่บ้านแม่ พร้อมด้วยของกลางถึง ๘๕ รายการ

    เมื่อได้ตัวหัวหน้าโจรและสมุนตัวสำคัญมาอีก ๒ คน พ.ต.ท.สมหวัง เพ็ญสูตร มือปราบคนดังก็คึกคักขึ้นมาทันที ในวันที่ ๒๗ สายก็รายงานมาว่า บุญเลิศ ปลอดเกิด โจรอีกคนหลบไปอยู่ที่ตลาดโคกตูม นิคมสร้างตนเอง ลพบุรี จึงพากำลังพร้อมสุนัขตำรวจมุ่งไปที่จุดนั้น แต่พอใกล้ถึง ตำรวจท้องที่คนพาไปก็ชี้มือให้ดูชายคนหนึ่งขี่จักรยานสวนทางมา พร้อมกับบอก

    “นั่นไอ้บุญเลิศนี่ครับ”

    ตำรวจเลยไม่ต้องออกแรง แค่จอดรถเทียบแล้วเอาปืนจ่อ บุญเลิศก็ลงจากรถให้จับแต่โดยดี

    ระหว่างที่ตำรวจกำลังพิชิตดาวโจรได้อย่างง่ายดาย สายลับของกองอำนวยการ ๓ คน คือนายบุญลือ ชูมา นายอุดม มงคลแก้ว และนายสำราญ ปายาทะ ซึ่งกำลังแกะรอยตามโจรให้ตำรวจ เกิดเสียท่าให้โจรรู้ เลยถูกเก็บเรียบร้อยทั้ง ๓ คน ตำรวจสืบรู้ว่าคนยิงทิ้งสายลับของตนก็คือ เสือศิริ กุลวิบูลย์ และ เสือแบน วงษ์ขำ ซึ่งกำลังวางแผนจะเข้าปล้นบ้านคหบดีที่บ้านดงสัก อำเภอบ้านหมอ สระบุรีอีก จึงไปซุ่มรอตั้งแต่หัวค่ำ ราว ๔ ทุ่มก็เห็นชาย ๒ คนลัดเลาะชายป่ามุ่งหน้ามา ตำรวจรอให้โจรทั้ง ๒ เข้ามาใกล้ในระยะปืน แล้วจึงตะโกนให้หยุดแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ สองเสือสาดกระสุนใส่ทันที ตำรวจจึงสาดกระสุนตอบ ทั้งสองฝ่ายยิงกันหูดับตับไหม้จนชาวบ้านแตกตื่นทั้งหมู่บ้าน ประมาณ ๑๕ นาทีเสียงปืนฝ่ายโจรก็สงบ ตำรวจเข้าเคลียร์พื้นที่ก็พบเสือศิริถูกยิงเสียชีวิต ในมือยังถือปืนกลเอ็มทรี มีกระสุนเหลืออีกร้อยกว่านัด และมีปืนคอลท์ซุปเปอร์เหน็บเอวอีกกระบอก

    ห่างไปราว ๑๐ เมตร เสือแบนถูกยิงพรุน มีคาร์ไบน์ตกอยู่ข้างตัว ๑ กระบอก กระสุนอีกสองร้อยกว่านัด

    ทั้ง ๒ เสือต่างห้อยพระเครื่องดังๆที่คอเป็นพวง แต่พระกับโจรก็ไปด้วยกันไม่ได้ โจรดับแต่พระยังอยู่

    รายการต่อไปเป็นของ ศักดิ์ นันโท เสืออารมณ์ร้าย ไม่พอใจใครก็ยิงดื้อๆ แม้แต่แม่ตัวเองก็ยังทำร้าย ก่อคดีทั้งฆ่าทั้งปล้นไว้มาก ตำรวจได้ข่าวว่าไปตั้งชุมเสืออยู่ในป่าช้าคลองวัว เขตติดต่ออยุธยากับอ่างทอง ใกล้กับบ้านพ่อตาแม่ยาย มีชัยภูมิเหมาะเพราะมีคลองชลประทานผ่าน แต่เสือร้ายลงคลองไม่ทันเมื่อตำรวจไปถึง ถูกยิงตายเสียก่อน ลูกน้องพากันใช้คลองแหวกวงล้อมไปได้ เสือศักดิ์แขวนพระเป็นพวงถึง ๓๐ องค์ คงจะหนักพระนี่เองที่ทำให้หนีไม่ทัน

    ส่วนโจรสำคัญอีกคนคือ “เสือมาย” ละมาย ภู่แสนสะอาด ซึ่งเป็นทั้งเสือปล้นและเสือผู้หญิง ผู้วางแผนปล้นในครั้งนี้ พ.ต.ท.สมหวังส่งสายสืบตามประกบเพื่อจะเอาตัวมาให้ได้ แต่เสือมายกลับรู้ว่า ๒ พี่น้อง พายัพกับพยนต์ ที่ตามมาคลุกคลีนั้นคือสายของตำรวจ จึงยิงทิ้งเสียกลางทุ่ง

    แต่แล้วสายที่ทำแนบเนียนจนเสือมายจับไม่ได้ก็รายงานว่า เสือมายจะไปเที่ยวงานผูกพัทธสีมาวัดดอนทองที่บ้านหมอ สระบุรี จึงนำกำลังไปกระจายอยู่ในงานตั้งแต่หัวค่ำ รออยู่จนเที่ยงคืนก็ยังไม่เห็นเงาขุนโจร จนกระทั่งราวตี ๒ จึงสังเกตเห็นชายกลุ่มหนึ่งแต่งกายคล้ายทหารนั่งกินเหล้าอยู่ที่ร้านในงาน ขณะเจ้าหน้าที่กำลังกระจายกำลังเข้าล้อมนั้น เสือมายรู้ตัวจึงสาดกระสุนเข้าใส่ก่อน คนที่มาเที่ยวงานต่างแตกหนีกันกระเจิง เสือมายเชื่อมั่นในเครื่องรางของขลังที่ห้อยไว้เต็มคอ จึงยืนปักหลักซัดกับตำรวจโดยไม่หลบเข้าที่กำบัง ผลก็คือพรุนไปทั้งเสือและเครื่องราง จบชีวิตตัวการต้นคิดที่วางแผนปิดตลาดท่าเรือปล้น

    ส่วนอีกราย ตำรวจรู้ว่า เสือน้อย เจริญสุข กำลังจะไปเอาของกลางที่ฝากไว้ที่บ้านหนองเบี้ยว โคกสำโรง ลพบุรี จึงไปดักจับได้โดยละม่อมอีกเป็นรายที่ ๕

    บางคนหนีไปไกล อย่าง บั๊ก หรือ มะลิ คาลามานนท์ ไปกบดานอยู่ถึงลำปาง แต่ก็ไม่รอดอยู่ดี ตำรวจตามไปคว้าตัวมาได้

    ในที่สุด ๑๗ โจรก็ถูกจับเป็นมาได้ ๖ จับตาย ๖ ญาติเกลี้ยกล่อมให้มามอบตัวอีก ๑ คือ ลำพอง มหาวิจิตร ซึ่งวัยยังไม่ถึง ๑๘ นอกนั้นยังไม่ได้ตัว หน่วยปราบปรามพิเศษจึงต้องวางสายออกล่าทุกหัวระแหงต่อไป

    รัฐบาลถือว่าการปิดตลาดท่าเรือปล้นเป็นการกระทำที่อุกอาจและเหี้ยมโหด ไม่เกรงกลัวกฎหมาย จึงนำเรื่องเข้า ครม. ตอนนั้นยุคเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ออกกฎหมายมาเป็นเครื่องมือครองอำนาจไว้ เรียกว่า “ธรรมนูญการปกครอง” ซึ่งมาตรา ๑๗ ของธรรมนูญนี้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งประหารชีวิตคนได้ จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้รับทอดอำนาจและเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงใช้มาตรา ๑๗ ซึ่งจอมพลสฤษดิ์เคยใช้ประหารชีวิตคนมาหลายรายแล้ว สั่งประหารโจรปล้นตลาดท่าเรือ ๖ คนที่จับมาได้ ให้เอาไปยิงเป้า ณ ที่เกิดเหตุ

    ๒๔ มีนาคม ๒๕๐๙ โจรทั้ง ๖ ได้ถูกเบิกตัวออกจากเรือนจำโดยมีประชาชนตามดูกันแน่นขนัดนำตัวไปที่สนามโรงเรียนท่าเรือนิตยานุกุล ซึ่งปักหลักไม้กางเขนไว้ ๖ หลัก มีผ้าดิบขาวปิดบังไว้ ๓ ด้าน ด้านหน้ามีวงกลมดำเป็นเป้าตรงหัวใจพอดี ใช้คันดินของทางรถไฟเป็นกำแพงหลัง และมีกระสอบทรายกองไว้หลังหลักประหาร มือสังหารถูกวางตัวประกบเป็นรายคนคือ

    ๑. พ.ต.ต.ศุภสิทธิ์ ศรีสุระสงคราม ยิงเสือใบ
    ๒. พ.ต.ต.ทิพย์เจริญ ชูเวช ยิงเสือสมบุญ
    ๓. ร.ต.อ.ชูพันธ์ ประยูรเวช ยิงเสือทวี
    ๔. ร.ต.ท.สหัส จิตตานนท์ ยิงเสือบุญเลิศ
    ๕. ร.ต.ท.ประสาร ธนสุกาญจน์ ยิงเสือมะลิ
    ๖. ร.ต.ต.ดำริห์ บุญกระทือ ยิงเสือน้อย

    โดยมี พ.ต.อ.(พิเศษ) จรุง เศวตนันทน์ เป็นผู้อ่านคำสั่งนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางประชาชนที่มาดูกันแน่นขนัด จากนั้นคาร์ไบน์ ๖ กระบอกก็คำรามพร้อมกันกระบอกละ ๑๕ นัด มีแต่เสือใบคนเดียวที่ ๑๕ นัดยังเอาไม่อยู่ ต้องแถมให้เป็น ๒๒ นัด

    ตลอดทั้งวัน ประชาชนเป็นหมื่นๆคนที่มาดูการประหารก็ยังไม่ยอมถอย เมื่อเคลื่อนย้ายศพของผู้ถูกประหารออกไปแล้วต่างก็กรูเข้าดูถึงหลักประหารและกองกระสอบทรายที่ยังมีเลือดกระจายอยู่ทั่วไป พากันค้นหาหัวกระสุนเอาไปทำมหาอุดคล้องคอ เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ จนกองกระสอบทรายทลายลงมา

    เมื่อความมืดคืบคลานเข้ามาประชาชนจึงเริ่มถอย ทิ้งสถานที่ประหารให้เปล่าเปลี่ยววังเวง ตามปรกติบริเวณนี้เป็นเส้นทางเดินไปตลาดและสถานีรถไฟ แต่คืนนั้นไม่มีใครกล้าเดินเลย ทั้งหลักประหารและกองกระสอบทรายยังอยู่ ยิ่งทำให้ดูน่ากลัวยิ่งขึ้น

    ตอนเช้า มีมอเตอร์ไซด์ ๑๐ คันตรงมาที่ ร.ร.ท่าเรือนิตยานุกุล ปรากฏว่าเป็นกลุ่มนักมวยอาชีพจากกรุงเทพฯ ต่างเข้ารื้อผ้าดิบที่ใช้เป็นฉากบังตัวขณะประหาร เพื่อเอาไปทำผ้าคาดศีรษะขึ้นเวที ซึ่งเชื่อว่ามีอาถรรพ์ข่มขวัญคู่ต่อสู้ได้ และเกิดวิวาทจนเกือบตะลุมบอนกันเมื่อต่างอยากจะได้ผืนของเสือใบ กุลมาที่มีรอยกระสุนถึง ๒๒ รูมากกว่าคนอื่น

    แม้ ๖ โจรถูกจับตาย อีก ๖ โจรถูกประหารไปแล้ว และอีกคนที่มอบตัวซึ่งศาลได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต แต่อีก ๔ โจรยังลอยนวล ฝ่ายปราบปรามยังไม่หมดภารกิจที่ต้องติดตามด้วยความคิดถึงกันต่อไป

    ๑ ใน ๔ ที่ตำรวจต้องการตัวมากที่สุดก็คือ จำเนียร สีม่วง หรือ “เสือขาว” ซึ่งแต่ก่อนก็มีค่าตัว ๒ พันบาทอยู่แล้ว หลังจากร่วมปล้นตลาดท่าเรือและยังปล้นต่อมาอีกเรื่อยๆ ค่าตัวพุ่งขึ้นไปถึง ๒ หมื่นบาท ตอนนั้นเสือขาวโด่งดังมาก ปล้นฆ่าทั่วไปหลายจังหวัด จนตำรวจสงสัยว่าเสือขาวปล้นจริงหรือคนอื่นผสมโรงแอบอ้าง ตำรวจจึงตามตัวไม่ลดละลงไปถึงราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางเหนือก็ไปถึงเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แต่ก็คลาดกันหวุดหวิด แม้บางครั้งล้อมไว้แล้ว เสือขาวก็ยังแหวกวงล้อมออกไปได้อีก ทำเอาตำรวจร้อนไปทั้งกรมเมื่อถูกหาว่าหมดน้ำยา

    และแล้วตำรวจก็ได้ข่าวมาว่า เสือขาวจะเข้าวิวาห์ที่บ้านไร่แถวมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม ลพบุรี ที่ชาวบ้านเข้าไปบุกเบิกทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยสู่ขอลูกสาวชาวบ้านเป็นเจ้าสาว พ่อเจ้าสาวเรียกเงินสด ๑ หมื่นบาท เสือขาวจ่ายให้แค่ ๑ พัน พ่อตาก็ไม่กล้าอ้าปากกลัวลูกปืนจะกรอกเข้าไป ตำรวจยกกำลังเป็นร้อยเพราะเสือขาวส้องสุมลูกน้องและอาวุธไว้มาก ตร.ถือฤกษ์ส่งตัวเข้าหอตอน ๒ ทุ่มเป็นฤกษ์จู่โจม เกิดยิงกันหูดับตับไหม้ แต่พอเสียงปืนสงบตำรวจสาดไฟเข้าบ้าน ก็เห็นศพนอนอยู่เกลื่อนและมีรอยหยดเลือดเข้าไปในป่า เมื่อตามรอยเลือดไปก็พบเสือขาวสิ้นชีวิตอยู่ในชุดเจ้าบ่าว นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว มีรอยกระสุนเหนือคิ้วซ้าย ทะลุกะโหลกเข้าไป

    จบชีวิตเสือร้ายปล้นตลาดท่าเรือที่หนีหลักประหารไปได้อีกราย แต่ก็เกิดข้อกังขา ร่ำลือกันทั่วไปว่าเสือขาวยังมีชีวิตอยู่ คนที่ตายไม่ใช่ตัวจริง

    พ.ต.ท.สมหวัง เพ็ญสูตร ยังติดตามโจรปล้นตลาดท่าเรือที่ยังเหลืออีก ๓ คนต่อไป ตำรวจรู้ว่าโจรคนที่ไปติดต่อเช่ารถสองแถวแล้วจี้มาปล้นนั้นก็คือ “เสือท็อก”หรือ วิชิต เกตุคำศรี อดีตโก๋หลังวังเจ้าของฉายา “เปี๊ยก กีวี” อันธพาลเมืองหลวงรุ่น ๒๔๙๙ ต้องคดีขว้างระเบิดขวดใส่ทหาร ถูกตัดสินจำคุก ๕ ปี แต่ก็เข้ากลุ่มอันธพาลรุ่นเดียวกันในคุกไม่ได้ เลยขอย้ายจากคุกลาดยาวไปอยู่เรือนจำสระบุรี เกิดไปถูกคอกับเสือสมบุญ พอมีความดีความชอบออกมาทำงานนอกเรือนจำ เสือสมบุญเลยพาหนีไปอาศัยอยู่กับเสือมาย จากโก๋เมืองกรุงเลยกลายเป็นสมุนโจรภูธรไป

    ตำรวจได้ข่าวว่าเปี๊ยกหลบไปอยู่ราชบุรี พ.ต.ท.สมหวัง เพ็ญสูตร จึงชวน ร.ต.ท. ประสาร ธนสุกาญจน์ไปหาในงานฉลองศาลเจ้าหลักเมืองในค่ายภาณุรังษี คิดว่าเปี๊ยกน่าจะออกมาเที่ยวหาความสำราญในงานนี้ตามนิสัย แล้วก็เป็นที่คาดเห็นเปี๊ยกเดินมากับกลุ่มชายฉกรรจ์ ๔-๕ คน ฉะนั้นหลังจากนัดแนะกันแล้ว พ.ต.ท.สมหวังก็เข้าไปแนะนำตัว

    “อั๊วชื่อสมหวัง เพ็ญสูตร มาจับโจรปล้นตลาดท่าเรือ”

    แค่นี้ทั้งกลุ่มก็เกิดอาการหนาวไปตามๆกัน เพราะชื่อนี้กำลังดังในฐานะเป็นมือปราบมหากาฬ และยังเคยเป็นผู้กำกับราชบุรีมาก่อน

    แต่ก่อนที่คนกลุ่มนั้นจะขยับตัว ร.ต.ท.ประสารก็โดดเข้าล็อคคอเปี๊ยก กีวีทันที อีก ๔-๕ คนจึงหนีกันกระเจิง

    เปี๊ยกถูกนำตัวมาขึ้นศาล แม้จะหนีหลักประหารร่วมกับพรรคพวกทั้ง ๖ คนมาได้ แต่ศาลก็ตัดสินประหารชีวิตเขาอยู่ดีที่บางขวาง

    เมื่อหมดเปี๊ยก กีวีไปอีกคนหรือ “เสือโก๊ะ” ที่ยังลอยนวลอยู่ ทั้ง ๒ เคยปะทะกับตำรวจมาหลายครั้งและถูกยิงบาดเจ็บแต่ก็แหวกวงล้อมไปนอนเลียแผลได้ จากนั้นก็เก็บตัวเงียบสนิทจนตำรวจไม่ได้วี่แวว แม้จะออกตามล่าทุกหัวระแหงและส่งสายออกไปทุกทิศก็ไม่ได้ข่าว ในที่สุดเลยต้องยอมปิดคดีให้ ๒ เสือลอยนวลไปได้ รอให้สร้างคดีใหม่ค่อยตามล่ามาบวกคดีเก่า

    คดีปิดตลาดท่าเรือปล้น นับเป็นข่าวดังสนั่นหวั่นไหวที่สุดในยุคนั้น เพราะนอกจากจะเป็นการปล้นอย่างเอิกเกริกแล้ว นายกรัฐมนตรียังใช้ ม.๑๗ สั่งยิงเป้ากลุ่มโจรในที่เกิดเหตุ ท่ามกลางสายตาของคนนับจำนวนหมื่นๆอีกด้วย

    ตำนาน ๑๗ โจรปล้นตลาดท่าเรือ อยุธยานี้ เป็นเรื่องราวสะเทือนขวัญมากในอดีต แต่มีเรื่องราวต่อจากนั้นที่หลายคนไม่ทราบ !!!



    กาลต่อมา ณ. ที่ศาลหลักเมือง พิจิตร

    ที่แห่งนี้มีการนำไม้หลักประหารโจร จากคดีปล้นที่โด่งดังในการปิดตลาดอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เล่าไว้ข้างต้น และถูกคณะปฏิวัติสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร สั่งประหารชีวิตโดยการสร้างหลักประหารใกล้ๆ ตลาดอำเภอท่าเรือ (สถานที่ปล้น) โดยการยิงเป้าหมู่ (เพชฌฆาต ๑ ต่อ ๑) ให้สัญญาณยิงประหารพร้อมกันในช่วงเวลาเดียวกัน จบชีวิตลงไปนั้น ต่อมา ..

    ได้มีการทำเรื่องขอไม้หลักประหารคดีดังกล่าวนี้นำมาประกอบพิธีการทำหลักเมือง(ใหม่) ที่พิจิตร !!

    ในการนั้นผู้กำหนดพิธีการในการตั้งศาลหลักเมืองคือ หลวงปู่โง่น โสรโย เป็นผู้กำหนดฤกษ์ในการตั้งศาลหลักเมือง

    โดยการนำไม้หลักประหารโจร คดีที่อำเภอท่าเรือนั้นนำมาแกะสลักนำมาทำเป็นรูป ท้าววิรุฬห์ องค์พญาครุฑ พญานาคและพระอินทร์ เทพารักษ์พิทักษ์ หลักเมือง นำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลหลักเมือง(หลังใหม่) นี้ สืบต่อมา ..

    เมื่อวันที่ ๑๖ เดือนเมษายน ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เวลา ๑๒.๐๐น. ซึ่งตรงกับวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก จุลศักราชที่ (จ.ศ.) ๑๓๓๐ .

    รู้กันบ้างไหมเอ่ย หลายคนไม่รู้ แม้แต่คนที่พิจิตรเองก็ไม่ทราบ จึงนำมาเล่าบอกประดับความรู้กัน.

    " แอดมิน "

    #เพจเรื่องเล่าภาพเก่าในอดีตราชบุรี ®.
    FB_IMG_1570705250505.jpg
     
  2. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    บันทึกเรื่องแปลก ที่เกิดขึ้นวันนี้กับผมเอง

    เช้านี้ผมเดินทางไปหาร่างทรงท่านนึงที่มีสำนักอยู่ใกล้ๆกับ ม.อาเซี่ยน ชลบุรี ทางไปสัตหีบเพื่อนำวัตถุมงคลไปให้คุณน้าที่เป็นร่างทรงของปู่ฤๅษีตาไฟ

    ร่างทรงท่านนี้ ลูกน้องเก่าผมเคยมาหาสิบกว่าแีมาแล้ว เพื่อปรึกษาดวงชะตา และการแก้ไข ตามความเชื่อของเขา แต่ก็ได้ผลสำเร็จทุกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องการงาน และถูกศัตรูทำคุณไสยใส่ และลูกน้องผมคนนี้ก็แนะนำผมไปหาท่านเมื่อปีกว่ามานี้เอง

    เดือนที่แล้ว ร่างทรงท่านนี้ ทราบจากลููููกน้องผมว่า เคยบวชวัดท่าซุง และท่านก็ฝากถามผมมาว่า มีพระคำข้าวใช่ไหม เขาศรัทธามาก และอยากได้ไว้ติดตัว

    ผมก็เลยไปหาท่านและเอาพระฃคำข้าวเลี่ยมกรอบเรียบร้อย และเิารูปถ่ายหลวงพ่อไปให้ด้วย เมื่อสองสัปดาห์ก่อน แต่ไม่เจอตัวท่าน ฝากไว้กับคนที่ตำกนักท่านไว้

    วันรุ่งขึ้นท่านโทรมาบอกว่า พระที่เอาไปให้แตก รูปที่เอาไปให้ ก็กระจกแตก ผมแปลกใจมาก ทั้งๆที่ก่อนเอาไปผมดูแล้วก็เรียบร้อยดี ระหว่างทางก็ไม่มีปัญหาอะไร

    ท่านก็บอกว่า ไม่เป็นไรแค่บอกว่า องค์พระคำข้าวที่แตก ปู่ฤๅษีท่านมาบอกว่า จะบดใส่สีผึ้ง เอาไว้แจกผู้คน เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ส่วนรูปที่แตก ท่านจะเอาไปเปลี่ยนกระจกใหม่เอง

    ผมก็บอกท่านว่า จะเอาองค์ใหม่ไปให้แทองค์ที่แตกให้ ท่านก็ดีใจมาก

    เช้านี้ผมว่างก็เลยนึกได้ว่า จะต้องเอาพระไปให้ท่าน ก็ขับไปหาโดยที่ไม่ได้นัดไว้ ก็เจอพอดี ผมมอบให้เสร็จ ท่านบอกว่ารอเดี๋ยว จะมีอะไรให้ เป็นการตอบแทน ปู่ฤๅษีท่านสั่งไว้ ให้มอบของสิ่งหนึ่งให้

    แล้วท่านก็เดินเข้าไปในตำหนัก ผมเดินตาม ท่านเอื้อมมือไปหนิบกรอบรูปที่แขวนไว้วบนประตูทางเข้า แต่เอื้อมไม่ถึง ผมก็ช่วยดึงลงมา

    เป็นกรอบไม้ยุคเก่า ใส่แผ่นโลหะเงิน สลักเป็นรูปกลวงพ่อปานวัดบางนมโค ลงยา ตามรูป

    ท่านบอกว่า เป็นของตกทอดมาจากพ่อท่านก็แขวนไว้นานแล้ว ปู่ฤๅษีสั่งให้มอบสิ่งนี้ให้ผม ว่ามีบุญบารมีพอ สมที่จะได้ไว้ครอบครอง

    ผมนี้อึ้งเลยครับ

    หลังจากขอบคุณร่ำลากันก็กลับมาที่พัก แกะออกมาส่องดู ทีแรกผมนึกว่าเป็นแผ่นอลูมิเนียมเพราะมีขุยที่ปุกร่อนด้านล่าง แต่ได้พลิกดูด้านหลัง อย่างถี่ถ้วนจึงแน่ใจว่าเป็นแผ่นเงินจริงๆ และน่สจะเก่ามาก แต่ไม่มั่นใจว่าทันท่านหรือไม่ ยังค้นหาประวัติไม่เจอครับ

    ขอบันทึกไว้กันลืมเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ

    ปล โดยส่วนตัว ผมไม่ได้เชื่อทางเรื่องร่างทรงเท่าใดนัก แต่ก็ไม่ลบหลู่วิชาของใคร แต่ลูกน้องผมคนนี้ เขาศรัทธาทางตรีมูรติมาก และเชื่อทางศาสตร์นี้มาก เพราะเขาประสบพบเจอต่อตัวเอง

    วันเสาร์ที่ 19 ต.ค.19

    IMG20191019200313.jpg IMG20191019200752.jpg IMG20191019200459.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    หลายคนติดอยู่แค่นี้

    พระอาจารย์กล่าวว่า "ส่วนใหญ่แล้วพวกเราก็ยังเลือกทำบุญในส่วนของสังฆทาน วิหารทาน แล้วก็ธรรมทาน #ถ้าบอกว่ามีประโยชน์น้อย #พวกเราก็คงจะช็อคตาตั้ง เพราะอย่าลืมว่าแม้แต่เป็นสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน ก็อยู่ในระดับของทานเท่านั้น #ยังมีระดับของศีลที่สูงกว่านั้น #ระดับของภาวนาที่สูงกว่านั้น #แต่หลายคนกลับติดอยู่แค่นี้ ผลอะไรไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นกับตัวเองตั้งหน้าตั้งตาทำทานอย่างเดียว #โดยหวังว่าผลของทานจะไปแก้ไขวิถีชีวิตของเราได้ดีขึ้น #ต้องบอกว่าหลงทางไปไกล สิ่งที่จะแก้ไขชีวิตของเราให้ดีขึ้นก็คือภาวนา ถ้าสมาธิทรงตัว ปัญญาก็จะเกิดด้วย จะเห็นหนทางแก้ไขได้เร็วยิ่งขึ้น

    ถามว่าแล้วทำทานไม่ถูกหรือ ? ถูก...แต่ถูกไม่หมด #เพราะส่วนใหญ่เราไปฟังผลของทานในการเปลี่ยนแปลงซึ่งยาก การทำทานเราทำตามหน้าที่ ทำตามรูปแบบ ทำตามกำลังใจที่เราสละออก แต่ผลที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะว่าควบคุมกาย วาจา ใจของเราทั้งหมด"

    แต่ปัจจุบันนี้จำนวนมากด้วยกัน ถึงเวลา เอ้า...ไปทำบุญ #ดวงไม่ดี...#ไปทำบุญ ถ้าอยากจะดวงดีจริง ๆ ภาวนาไว้ทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น หรือตลอดทั้งวันได้ยิ่งดี #ไม่ใช่ดวงไม่ดีแล้วไปทำทาน #เหมือนกับภูเขาถล่มทับแล้วเอาไม้จิ้มฟันไปค้ำไว้ โอกาสค้ำอยู่มีน้อยมาก แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

    #เพราะฉะนั้นถ้าภูเขาถล่มทับต้องระดับภูเขาไปค้ำไว้ ก็คือเรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่พวกเรามักถนัดในการซื้อความสบายใจ ได้จ่ายเงินทำทาน มักง่าย...! #ให้ไปตั้งหน้าตั้งตาขัดเกลารักษาศีลตัวเอง #ให้ไปนั่งสมาธิภาวนารู้สึกว่ายาก เพราะฉะนั้นทำให้ตายก็ได้ผลหน่อยหนึ่ง แล้วไอ้เต้ยก็จะสงสัยว่า ทำมาทั้งชีวิตทำไมได้แค่นี้ ? ปล่อยเถอะ...ให้โง่ต่อไป #กัณฑ์เทศน์ก็คือธรรมทานก็ยังเป็นทานอยู่ดี ส่วนการขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของตัวเองไม่มีเลย เมื่อไร ๆ ก็ยังหลุดยังรั่วอยู่"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๖๒
    FB_IMG_1571629302624.jpg
     
  4. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    #คาถาป้องกันสารพิษ
    #ฉบับพ่อครูบาบุญชุ่มเจ้า
    ( ป้องกันภัยอันตรายทุกอย่าง)
    “ทะสะขะ สะมังวิสาตุ ทะสะขะ
    สะมังวิสาตุ ทะสะขะ สมังวิสาตุ”
    ให้ภาวนา ๓ จบ ๙ จบ ก่อนลุก ก่อนนอน
    แคล้วคลาดจากกัมมันตภาพรังสี สารเคมี
    และ โรคอันเกิดจากสารพิษ ดีนักเเลชงัดนัก
    แล ทุกประการ ฯ
    FB_IMG_1571650121393.jpg
     
  5. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
    มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล
    ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน
    แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ

    เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า
    เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
    เจ้ามามือเปล่า เจ้าจะ เอาอะไร
    เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา
    (พระราชดำรัส ร.๕)

    ๒๓ ตุลาคม #วันปิยมหาราช
    น้อมเกล้ารำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    FB_IMG_1571791619489.jpg
     
  6. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    น่าจะเป็นข้อคิด เตือนใจ นักเรียนนอกทั้งหลายได้บ้าง

    “ให้พึงนึกในใจไว้ว่าเราไม่ได้มาเรียนจะเปนฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเปนคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง”

    (จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๕๘, ๑๓๘)
    FB_IMG_1571887893531.jpg
    23 ตุลาคม วันปิยมหาราช ขอน้อมนำคำสอน และน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    FB_IMG_1571886477940.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2019
  7. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    เรื่องเล่า อภินิหารครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง

    เมื่อนานมาแล้วสมัยที่ท่านยังอยู่ที่วัดฟ้าหลั่ง วันหนึ่ง หลวงปู่ครูบาอินได้ออกปากถามพระเลขาของท่านรูปหนึ่งว่า

    “อยากดูน้ำไต่ขื่อไหม...??”

    “อยากดูครับ...ครูบา”

    “งั้นไปเอาน้ำต้นมา...”

    เมื่อพระเลขารูปนั้นไปหา “น้ำต้น” (คนโทดินเผาแบบล้านนา ที่ใช้สำหรับใส่น้ำกินน้ำใช้) ที่มีน้ำบรรจุเต็มมาถวายแล้ว ครูบาอินท่านก็อธิษฐานอยู่ครู่หนึ่ง แล้วปลดเอารัดประคดของท่านออกมาให้พระเลขา ให้เอามามัดน้ำต้นคนโทไว้ให้มั่น แล้วเอาขึ้นไปผูกกับขื่อกุฏิ ลอยคว้างอยู่กลางอากาศ ก่อนออกคำสั่งว่า

    “ลองตีน้ำต้นดูสิ” เมื่อได้ฟัง พระเลขาก็อุทธรณ์ทันทีว่า

    “อ้าว...น้ำต้นก็แตก หกเปรอะเลอะเทอะกันหมดพอดีสิครับ ครูบา...???”

    “เถอะน่า...บอกให้ตีก็ตีเถอะ...”

    “เอาก็เอาวะ...??” พระเลขานึกในใจ ก่อนที่จะหลับตา “ตีคนโฑดินเผา” ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย งานนี้ต้อง ”เปียก” อย่างแน่ๆ

    โพล๊ะ...!!!!!!! อะไรกันนี่...????

    ในทันทีที่คนโทดินเผาแตกกระจายจากแรงตีนั้น แทนที่น้ำภายใจจะไหลซ่าตกลงมาตามธรรมดาที่ควรจะเป็น สิ่งมหัศจรรย์ที่พระเลขารูปนั้นแทบจะช๊อคด้วยไม่อยากจะเชื่อสายตา ก็พลันบังเกิดขึ้นในทันใด

    แม้เศษดินเผาคนโทจะถูกตีแตกร่วงกราวไปหมดแล้ว แต่ “น้ำ” ที่อยู่ในคนโทนั้น กลับจับตัวเป็นก้อนแข็งรูปคนโฑ ภาชนะที่ใส่อยู่นั่นเอง โดยน้ำรูปคนโฑนั้น ก็ยัง “ลอย” แต่งแต่งๆ กลางอากาศ โดยมีรัดประคดที่รัดคนโฑดินเผาไว้แตกแรกผูกมัดติดกับขื่อไว้อย่างมั่นคง เป็นที่น่าตื่นเต้นตกตะลึงเป็นที่สุด !!!!!!!!

    เมื่อเห็น “พระเลขา” ของท่าน “ช็อคซีนีม่า” ได้ที่ ครูบาอินก็สั่งต่อไปอีกว่า

    “งั้นลองเอานิ้วจี้ไปที่น้ำดูสิ...”

    เมื่อหายจากตกตะลึง พระเลขาก็เลยเอานิ้วจี้ไปที่ “น้ำไต่” ที่ลอยยังกับลูกโป่งอยู่กลางอากาศตามคำสั่งโดยมิชักช้า ปานประหนึ่งจะพิสูจน์ให้แจ้งใจไปเลยทีเดียวว่า สิ่งที่ตนเห็นนั้นจะเป็น “ของจริง” หรือ “ภาพลวงตา” หรือไม่

    ซ่า...!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

    คราวนี้ “ไม่มีอะไรในกอไผ่” อีกแล้ว

    เพราะในวินาทีที่นิ้วสัมผัสกับน้ำที่รวมตัวเป็นรูปน้ำต้น ซึ่งถูก “ผูก” ติดอยู่กลางขื่อนั่นเอง น้ำรูปคนโทนั้น ก็ “คืนสภาพ” แตกกระจายไหลซ่าลงใส่พระเลขาจนเปียกมะล่อกมะแล่กไปหมดเลยทีเดียว โดยหลวงปู่ครูบาอิน อินโท นั่งมองอยู่ใกล้พลางอมยิ้มชอบใจังหวัด.!!

    นี่คือ “ของเล่น” สนุกๆ ของพระอริยเจ้าผู้มีฤทธิ์อันยิ่ง...

    อำนาจจิตฤทธิ์อภิญญาของครูบาอินนี้ ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ลำพัง แค่การเสกน้ำให้เทไม่ออก ก็ยากเอาเรื่องอยู่แล้ว...แต่นี่ท่านเล่นเสกให้คงรูปเป็นทรงคนโทใส่น้ำ แถมยังเอาไปผูกห้อยไว้กลางหาวเสียอีก เก่งไม่เก่งหรือไม่อย่างไร คิดดูเอาเองเทอญ...

    ::: เสกลำใยเป็นแมลงผึ้ง :::
    อีกคราว พระเลขา (เจ้าเก่า) ที่เคยเจอประสบการณ์ “น้ำไต่” จนเปียกโชกไปทั้งตัว ก็ได้เห็นครูบาอินท่าน “ทำฤทธิ์” ให้ได้ช๊อคซีนีม่าอีกครั้งหนึ่ง โดยคราครั้งนี้ ครูบาอินท่านเอา “ลำไย” (ที่เป็นเม็ดๆ กินหวานๆ นั่นแหละครับ) มาเสกเป่างึมๆ งำๆ อย่างไม่ทราบเหตุผล ชั้นแรกนึกว่าท่านจะเสกลำไยให้ญาติโยมเอาไปกินเป็นยารักษาโรคภัย แต่ไปๆ มาๆ ที่ไหนได้...

    จากลำไยธรรมดาสามัญ พอครูบาอินท่านคลายมือออกเพียงเท่านั้น จากลำไยก็กลายเป็น “แมลงผึ้ง” บินกันหึ่งๆ ให้เห็นกันจะๆ ต่อสองนัยน์ตาของพระเลขาเลยทีเดียว...!!!!!! ไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อแล้ว... และเชื่อแน่ได้ว่า หากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ที่เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตนยังคงมีชีวิตอยู่ และได้มาเห็นครูบาอินเสกลำไยเป็นแมลงผึ้งได้เห็นปานนี้แล้ว คงจะต้องมีการ “แลกวิชา” กันอย่างขนานใหญ่เป็นแน่...หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง...???รับรองว่า คุณภาพแห่งพุทธคุณที่หลวงปู่ครูบาอินท่านฝากไว้ในเครื่องมงคลทุกอย่างนั้น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระเครื่องของอดีตพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ราคาแพงๆ เป็นแสนเป็นล้านอย่างแน่แท้ เพราะมี “อาจารย์” ศิษย์สายเจ้าคุณนรรัตน์ฯ, หลวงปู่เทสก์ ที่มีสมาธิจิตสูงเคยลองสัมผัสพลังพระของครูบาอินแล้ว ก็แทบจะถึงแก่การอึ้งพร้อมกับอุทานขึ้นมาเลยทีเดียวว่า “นี่พระของใครนี่...ทำไมพลังจึงแรงกล้าในระดับเดียวกับหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำ ทะเลจืด ซึ่งไม่น่าจะมีใครเสมอเหมือนได้อีกเล่า.
    FB_IMG_1571887594064.jpg
     
  8. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    วันนี้เป็นวันที่ระลึกคล้ายวันใกล้มรณภาพหลวงพ่อฯ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๕
    ...ภาพนี้สะท้อนมาถึงปัจจุบันนี้ ที่ญาติโยมคอยใส่ย่ามพระสงฆ์ที่ออกมาจากโบสถ์ โดยเฉพาะหลังจากพิธีพุทธาภิเษกเสร็จแล้ว

    สมัยนั้น ใครได้ทำบุญกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ถือว่าโชคดีมาก เพราะท่านเป็นเนื้อนาบุญที่ดี แล้วก็ท่านเป็นพระปฏิบัติเข้าถึงธรรมแล้วจริงๆ

    ถึงแม้ท่านจะไม่ยอมรับว่าท่านเป็นอะไรก็ตาม แต่ก็คาดเดาได้ว่าท่านถึงระดับไหน โดยสังเกตจากคำสอนของท่าน ที่สอนมุ่งความพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้นั่นเอง

    สำหรับฌานโลกีย์ท่านสอนถึงสมาบัติ ๘ สามารถแจงอารมณ์ได้จนถึงโลกุตรฌาน คือ "นิโรธสมาบัติ"

    หลวงพ่อท่านบอกว่า สมัยนี้พระที่ได้กรรมฐาน ๔๐ และมหาสติปัฏฐานสูตร ปัจจุบันนี้หายากมากๆ

    จึงเป็นอันที่น่าเสียดาย ที่พวกเราเหล่าคณะศิษย์วัดท่าซุง ที่ได้สูญเสียบุคคลากรที่มีความสามารถสูงไป

    หากได้ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๕ ขณะนั้นท่านนอนป่วยหนักอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อยู่ในความดูแลของนายแพทย์หลายท่านที่เป็นลูกศิษย์ของท่าน
    FB_IMG_1572303509898.jpg
     
  9. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    วันแห่งความทรงจำ

    น้อมรฤก ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๒
    ครบรอบ ๒๗ ปี วันมรณภาพ
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)
    FB_IMG_1572393512107.jpg
     
  10. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    โปรดใช้วิจารณญาณ

    พิธีหล่อรูปเหมีอนหลวงพ่อ
    ณ วัดธรรมยาน เพชรบูรณ์

    วันที่ 26 ต.ค. ก่อนบุญกฐิน

    องค์หลวงพ่อฯ วัดท่าซุง มาในพิธีฯ

    พระที่เดินในพิธี จริงๆ คือ...
    ท่านพระคุณเจ้าปลัดวิรัช โอภาโส
    (เจ้าอาวาส)
    อดีต คือพระเลขาฯ องค์หลวงพ่อฯ วัดท่าซุง
    . FB_IMG_1572422118421.jpg FB_IMG_1572422104274.jpg FB_IMG_1572422106591.jpg FB_IMG_1572422111120.jpg FB_IMG_1572422101740.jpg
     
  11. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    กันลืมครับ
    FB_IMG_1572579560779.jpg
     
  12. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    FB_IMG_1572595427290.jpg
     
  13. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    พักไว้ตรงนี้ก่อน

    วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร ขอเชิญร่วมทำบุญบูชาพระกริ่ง 100 ปี พระพรหมมงคลญาณ วิ.
    สมทบทุนสร้างมหากุศลตามโครงการพระเดชพระคุณพระพรหมมงคลญาณ วิ.
    เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคล 100 ปี พระพรหมมงคลญาณ วิ.
    ได้มีพิธีพุทธาภิเษกแล้ว เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562

    ร่วมทำบุญ จองพระกริ่ง 100 ปี ได้ที่ สำนักงานธรรมบริการ วัดธรรมมงคล (เท่านั้น) ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน ถึง 30 ธันวาคม 2562 เวลา 09.00 – 18.00 น.
    กรุณาติดต่อขอรหัสการจองทุกครั้งก่อนโอนเงิน สอบถามที่ LINE โดย โอนเงินผ่านธนาคารกรุงไทย สาขา สุขุมวิท 64 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี วัดธรรมมงคล เลขบัญชี 017-1-34900-8

    ติดต่อ-สอบถาม สำนักงานธรรมบริการ วัดธรรมมงคล
    โทร 02-332-4145, 092-452-4900
    Line ID : @dhamma_services
    FB_IMG_1572622107415.jpg
     
  14. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมสมทบทุนบริจาคมูลนิธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) พร้อมรับเสื้อคอโปโล,เสื้อคอกลม หรือเข็มกลัด 100 ศตวรรษาวัฒนายุกาล พระพหรมมงคลญาณ วิ.

    ผ่านทางช่องทางแบบฟอร์มออนไลน์ช่องทางเดียวเท่านั้น
    https://www.luangporviriyang.org/Donation

    โดยหากท่านมีข้อสงสัยประการใดสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ทาง
    Line Willpower Foundation: @wp_foundation
    โทร: 065-985-7321, 065-985-7322

    (หลังจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป เพื่อความสะดวกของท่าน ทางมูลนิธิฯ จะยกเลิกการจองผ่านแบบฟอร์มกระดาษ)

    ขอบคุณค่ะ อนุโมธนาสาธุค่ะ
    1572622269248.jpg 1572622266578.jpg
     
  15. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    เสาะหามาอ่าน

    สรีระสังขารของพระมหากัสปะเถรเจ้า ณ เชียงตุง

    ผู้ถาม : ไม่ใช่อยู่อินเดียหรือครับ.....?.....
    หลวงพ่อ : ปัดโธ่..จะอยู่อินเดียตะพึดเลยนะ ยกยอดให้อินเดีย ตะบัน..ท่านอยู่ตรงนี้ พระมหากัสสปะท่านมีงานอยู่แถวนี้ ระหว่างเชียงตุง เชียงราย แล้วก็ประเทศจีน ที่พระพุทธเจ้าส่งให้มาประกาศศาสนา ถ้าต่ำลงมานั้นเป็นเขตของ พระมหากัจจายนะ จากลำพูนลงมาก็เป็นเขตของพระโมคคัลลาน์ ก็ว่าตามเขต แล้วท่านก็นิพพานแถวนี้ ถ้าถามว่า "ศพของพระมหากัสสปะมีจริงไหม...?.."

    ขอยืนยันว่ามีจริง...ยังอยู่ ดอกไม้ที่เขาบูชาก็ยังอยู่ ธูปกับเทียนที่เขาบูชาก็ยังอยู่ แต่ว่าเวลาปกตินี่เราเข้าไม่ได้ เพราะเขาลูกเล็กๆ สองลูกข้างหน้าต่ำเคลื่อนมาติดกัน เมื่อปีกึ่งพุทธกาลน่ะเข้าได้ เขาลูกเล็ก ๆ มันขยายตัวออก เป็นเรื่องอัศจรรย์เหมือนกันนะ จนกระทั่งฝรั่งเข้าไปถ่ายภาพได้ ฉันได้ภาพที่ฝรั่งถ่ายประมาณ ๑๐ ภาพ

    ในปีนั้นนะ เขาพิมพ์ขาย ไอ้ฉันน่ะไม่ได้ซื้อ เขามาให้แล้วก็เอาภาพนั้นไปให้ หลวงพ่อเล็กดู ถามว่า..."การนั่งอยู่...การเข้าสมาธิเป็นของไม่แปลก แต่ธูปกับเทียนที่เขาบูชาทำไมจึงไม่เศร้าหมอง.....ยังสด ธูปเทียนก็ยังติดอยู่" หลวงพ่อเล็ก (หลวงพ่อเล็ก เกสโร วัดบางนมโค) ก็เลยบอกว่า

    คำอธิษฐานของพระอรหันต์ จะให้เป็นอะไรก็ได้ ใครไม่เชื่อก็ไปดู พวกที่ได้ มโนมยิทธิไปดูก็ได้นี่ ไม่ต้องรอให้เขาเปิด...เข้าได้

    ผู้ถาม : แล้วที่ว่าจะเผาต้องเผาบนมือพระศรีอาริย์ล่ะครับ...?...
    หลวงพ่อ : ตามท่านว่ามา ถ้าเราไม่เชื่อเราอย่าเพิ่งตาย รอดูก่อน..จนกว่าพระศรีอาริย์จะนิพพาน!!"

    ผู้ถาม : โอ้โฮ...?...
    หลวงพ่อ : อ้าว...ถ้าพูดเวลานี้ก็เถียงกันไม่จบ บางคนว่า"ฉันไม่เชื่อหรอก เป็นพระพุทธเจ้า แล้วกฎแห่งกรรมย่อมสิ้นไป มันเป็นเช่นนั้นจริง..!! ตามเรื่องมีว่า....

    สมัยก่อนโน้น พระมหากัสสปะท่านเป็นช้าง รูปร่างท่านจึงใหญ่โตคล้ายช้าง แล้วพระศรีอาริย์ท่านเป็นเจ้าของ และก็มีการพนันกันว่า ช้างตัวนี้สามารถจะหยิบอะไรก็ได้ ก็บังเอิญคนพนันมันเกเร มันเอาเหล็กเผาจนแดงโชนให้อม ที่แรกเจ้าของยอมแพ้ ยอมให้ถูกปรับดีกว่า ไม่ยอมให้ช้างหยิบ ช้างก็รักษาศักดิ์ศรี อาศัยที่รักเจ้าของก็เอางวงหยิบ หยิบได้ฝ่ายนั้นก็ต้องแพ้ แต่ช้างก็ต้องตาย

    เพราะอาศัยกรรมอันนี้หน่อยเดียว เวลาที่พระศรีอาริย์จะนิพพานท่านก็เอาศพพระมหากัสสปะใส่พระหัตถ์ อธิษฐานเตโชธาตุเผา เมื่อเผาแล้วก็อาศัยเหตุนี้เป็นปัจจัยพระองค์จึงนิพพาน แต่อย่าลืมนะ ไฟที่ใช้กำลังใจให้เกิดขึ้นมันไม่ร้อนหรอก ท่านจะร้อนก็ได้ ไม่ร้อนก็ได้

    โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    จากหนังสือตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๑-๒๓

    ....
    และในส่วนการบันทึกของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ที่มีหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เป็นองค์รับรอง มีข้อความดังนี้..

    “เมื่อขึ้นไปอยู่ริมน้ำแม่งัด บ้านช่อแล ได้ ๔ - ๕ ปี แต่อยู่บ้านแม่แต วันหนึ่งนึกถึงตาผ้าขาวสุกว่า “เอ ตาเฒ่านี้จะไปเกิดที่ไหนแล้วหนอ เดี๋ยวนี้ ”
    พอเรานึกได้เท่านั้น ก็มีเทวดา ๒ ตนผู้ชายหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ - ๑๙ ปี นั่งเครื่องยนต์รูปร่างคล้ายกับเรือสุพรรณหงส์มารับ
    “นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าเถ๊อะ จะพาไปหาตาผ้าขาวสุก อยู่ป่าหิมพานต์”
    “จะไปนานไหม จะได้เอาผ้าครองไปด้วย”
    “ไม่นานหรอก ตี ๔ ก็กลับมาแล้วครับ”
    “เอ้า... ไปก็ไป” พอเราพูดอย่างนี้ กายก็นั่งอยู่ ใจก็เดินขึ้นยนต์สุพรรณหงส์ จากนั้นก็ลอยไปตามอากาศ ช้าก็ได้เร็วก็ได้เหมือนกับคนเขาขับรถ แต่ยนต์นี้ไม่ต้องขับไปได้เองตามอานุภาพของบุญ ลอยไปผ่านไปแม่ฮ่องสอน เข้าเขตพม่า เลยพม่าเข้าแคชเมียร์ เข้าเขตภูเขาหิมะ เครื่องยนต์นั้นก็ลอยต่ำลงสูงกว่าปลายไม้นิดหน่อย เมื่อเข้าใกล้ที่อยู่ของพ่อขาวสุกแล้วก็ลงจอดยนต์ไว้ เดินเท้าเข้าไป มีหมู่เทวดามาต้อนรับ แล้วเดินกันเป็นกระบวนไป ลึกเข้าไปอีกก็มีพวกสัตว์ป่าหิมพานต์ รูปร่างเป็นตัวสัตว์ต่างๆ มาต้อนรับ สัตว์ที่เหมือนกับในเมืองมนุษย์ก็มี เช่น หมูป่า กวาง เก้ง เสือ ช้าง หมี ๔ เท้า ๒ เท้า เลื้อยคลานมีหมด
    สัตว์ที่รูปร่างเหมือนกับรูปที่เขาเขียนว่า สัตว์หิมพานต์ อย่างนั้นก็มีอยู่มาก ต่างก็มาชื่นชมยินดีต้อนรับเป็นหมู่เป็นคณะ
    “ทำไม สัตว์ป่าทั้งหลายที่แถบนี้จึงมีมาก” ผู้ข้าฯ ถามเทวดา
    “โอ... พระผู้เป็นเจ้า ก็แถบถิ่นนี้ อยู่ในวงล้อมของภูเขา ๓ ลูกในนี้นั้นใต้ภูเขา ลูกกลางนี้เป็นที่ประดิษฐานพระศพของพระมหากัสสปเถรเจ้า หมู่หิมพานต์เหล่านี้ก็มากราบไหว้ ทำความยินดีต่อพระเถรเจ้า แต่ก็ไม่มีใครเข้าไปกรายใกล้ได้ เพราะมีเทพเจ้าผู้ศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายรักษาไว้อยู่ หมู่หิมพานต์ทั้งหลายก็อาศัยกระทำความยินดีนี้เองแหละที่เป็นบุญเป็นกุศลมหาศาลของตนได้ ”
    ผู้ข้าฯ รู้ทิศทางที่เขาชี้ให้ดูว่า ศพของพระมหากัสสปเถรเจ้าอยู่ทางนั้นตรงนั้น ก็ยกมือไหว้ ยืนวันทาอยู่ว่า นะโม ๓ จบ อิติปิโสฯ สฺวากฺขาโตฯ สุปฏิปนฺโนฯ แล้วก็อุกาสะฯ ไหว้พระธาตุ เจริญเมตตาไหว้จบแล้วหมู่เทวดา หมู่สัตว์ที่แห่ล้อมอยู่นั้นสร้องสาธุการ สนั่นป่า ว่า “สาธุ” ๓ ครั้ง
    จึงถามเขาว่า “ตาผ้าขาวสุกล่ะ อยู่ทางไหน ? ”
    เทวดา ๒ ตนที่พาไปนั้นจึงว่า อยู่ทางนี้เดินจากนี้ไปไม่ไกลหรอกประมาณ ๑ เส้น ขอพระผู้เป็นเจ้า ไปคนเดียวเถิด พวกผมจะรออยู่ตรงนี้ เราก็เดินไปคนเดียว ไปเห็นต้นไม้มุ่นต้นใหญ่ต้นหนึ่งสูง กิ่งก้านสาขาเหมือนกับเวลาเรากางกลดออก อยู่ใกล้ๆ โคนต้น เห็นผู้หญิงสาว ๔ คน
    “สูเจ้ามาอยู่ทำอะไรตรงนี้ ? ”
    “โอ พระผู้เป็นเจ้า มาธุระอันใดหนอ ”
    “มาหาตาพ่อขาวสุก คนเฒ่าอยู่ไหน ? ”
    อยู่ในโพรงไม้ตรงใต้คาคบลงมานั่นแหละท่านพระผู้เป็นเจ้า เสวยวิบากเป็นบ่างใหญ่อยู่
    แล้วสูเจ้าหล่ะมาอยู่ทำไมตรงนี้
    “โอ... มารักษาพ่อผ้าขาวนี้แหละ เมื่อพ้นจากวิบากตรงนี้แล้วจะได้ออกไปเกิดในเมืองมนุษย์ แล้วจะได้เป็นผัวเมียกัน ทำความดีต่อไปได้ ”
    “เดี๋ยวนี้สูเจ้าเป็นภูมิใด ? ”
    “เวนิมานกเปรต กลางวันเป็นผี กลางคืนเป็นเทวดา”
    เรารู้เท่านั้นแล้วก็ลาเขากลับออกมา ไหว้วันทาไปทางศพพระมหากัสสปเถระนั้นอีก เสร็จแล้วก็ลาพวกเทวดาและพวกหิมพานต์สัตว์เหล่านั้น เทวดาสองตนนั้นก็บันดาลเอายนต์เหาะคันเก่านั้นมารับก็ลอยขึ้นอากาศ วนเลาะดูป่าหิมพานต์ เลาะเขตอินเดีย ทิเบตต่อเมืองจีน เลาะทางทิศเหนือเรื่อยๆ มา เข้าทางเมืองเชียงแสน ลัดตรงมาถึงแม่แตง แม่งัด ยนต์เหาะก็ลงจอด เทวดาสองตนก็กราบไหว้ลาไป ขาไปเขาไม่นั่งยนต์นั้น เขาหายไปทันที ยนต์ก็หายไป ตัวเราก็มองร่างกายที่นั่งอยู่ มองดูนาฬิกาพกตั้งไว้ก็ตี ๐๔.๐๐ น. พอดี เดินเข้าสวมรูปกายรู้สึกตัวก็ดูนาฬิกาก็ตี ๐๔.๐๐ น. เหมือนกับในนิมิต เป็นเรื่องแปลกมาก หากไม่ประสบด้วยตนเองก็คงไม่เชื่อ แต่ตนของตนก็เชื่อความมีกำลังของจิตที่ฝึกฝนมานานหลายภพหลายชาติ ไม่สงสัยไม่อวดตัว
    เอานิมิตเรื่องนี้ไปเล่าให้ท่านอาจารย์ตื้อฟัง เพิ่นก็ว่า “ผู้ข้าฯ ก็ไปมาแล้วล่ะ ท่านจามเอ๊ย ไปกราบไหว้มาแล้ว ที่ตั้งศพพระมหากัสสปเถระ วงนอกภูเขา ๗ ลูกต่อๆ กันเป็นวงภูเขา วงในมีภูเขา ๓ ลูกซ้อนเหลื่อมกัน อยู่ตรงกลางลึกใต้พื้นภูเขา ๓ ลูกนั้นแหละที่ศพพระมหากัสสปเถระตั้งอยู่ หันหัวไปตะวันออก เอาเท้าไปตะวันตก มีเทพยักษ์รักษาอยู่นอกด่าน ๑
    ด่านสอง พวกเทวดากับพวกนาค
    ด่านสุดท้ายเป็นพวกเทพครุฑ รักษาอยู่อย่างใกล้ชิด เขาจะรักษาไว้จนกว่าศาสนายุคของพระศรีอาริย์จะมาตรัสเป็นพุทธะเจ้า แล้วเตโชธาตุของท่านจะเผาคราบของท่านเอง”
    เรื่องพวกเทวดา พวกสัตว์ป่าหิมพานต์นั้น ท่านอาจารย์ตื้อก็ว่าอย่างที่เราไปเห็นมาแล้ว หากไม่มีพยานกับท่านอาจารย์ตื้อ ผู้ข้าฯ ก็จะไม่เล่าให้ฟังหรอก น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก แปลกแท้ๆ ในโลก”
    และหลวงปู่จาม ท่านยังเล่าเพิ่มของ ท่านเจ้าคุณ จันทร์ เขมิโย อีกว่า...
    ในครั้งนั้นเจ้าคุณจันทร์ยังเล่าให้ฟังอีกว่า “เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ได้ว่าไว้ว่า ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ผู้มาบูรณะพระธาตุพนมให้ยุคต้นนั้นเป็นลูกศิษย์ของพระมหากัสสปะมาแต่ยุคก่อสร้างเริ่มแรก
    เป็นนายช่างผู้ใหญ่รับบัญชาจากพระมหากัสสปะทุกอย่างแล้วสร้างขึ้นได้สูง ๘ วา ก่อด้วยหินตามดฐานกลมฝังพระธาตุหัวอกก้ำซ้าย ๑๒ ก้ำขวา ๑๒ พร้อมเครื่องบูชาภายในแล้วต่อยอดให้แหลมขึ้นไปอีกครึ่งวา
    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นนายช่างใหญ่ควบคลุมดูแลการก่อสร้าง เสร็จจากพระธาตุพนมแล้ว ก็ไปก่อพระธาตุอิงฮังฝั่งซ้ายพระธาตุอิงฮังสร้างเริ่มต้นยุคเดียวกันแต่พระธาตุนั้นได้มาจากพระมหากัจจายนะเป็นผู้อัญเชิญมา
    พระอรหันตเจ้า ๒ องค์นี้มาเมืองอีสาน เมืองลาว พม่า ตอนใต้ เมืองเขมร โปรดผู้คนแถบแถวนี้ เมื่ออายุมากแล้วแยกย้ายกันไป พระมหากัจจายนะนิพพานอยู่ทุ่งไหหินเมืองลาว พระมหากัสสปะนิพพานอยู่เขาหิมาลัยเชิงภูเขา ๗ ชั้น ชั้นในภูเขาซ้อนเหมือนกับฉัตร ส่วนพระศพนั้นอยู่ลึกในถ้ำหิน
    อันนี้เจ้าคุณเมืองนครพนมเล่าให้ฟัง
    FB_IMG_1572673890596.jpg
     
  16. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพวกเรา
    ที่เจ้าหนี้คือกิเลสมันตามทวง
    มีอะไรบ้างมันก็มารวมทวงกันชาตินี้แหละ
    ตัดใจเสียนะลูกรัก
    คิดว่าเรารวมใช้หนี้มันเท่าที่เราจะพึงมี
    มันอยากทวงก็เชิญให้มันทวง
    เราจะยอมลำบากเพียงชาตินี้ชาติเดียว
    ต่อไปเราพ้นภัย คือ เข้าพระนิพพานกันก็หมดเรื่อง
    จงคิดว่าขณะนี้เรากำลังถูกเจ้าหน้าที่ใช้งาน
    เราเพื่อลบล้างหนี้ เมื่อหนี้หมด เรามีความสุข
    คิดอย่างนี้ใจจะสบาย มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า
    โลกไม่มีความสุข เอาอะไรแน่นอนไม่ได้
    อะไรจะเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา "ช่างมัน"
    ต่อสู้มันโดยธรรมจนกว่าจะสิ้นปราณ
    ใจจะมีอารมณ์เป็นสุข ต่อไปเราพ้นทุกข์
    คือ เข้าพระนิพพานกันก็หมดเรื่อง

    พ่อสอนลูก หน้า 4
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    FB_IMG_1572943983035.jpg
     
  17. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    เสาร์ อาทิตย์ที่ผ่านมา กลับไปบ้านต่างจังหวัดที่กำแพงเพชร นอกจากจะไปเสาะหาของดี ของเก่าแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะต้องสนทนากับญาติผู้ใหญ่ เพื่อสอบถามสารทุกข์สุขดิบ ทั้งด้านสุขภาพ และอื่นๆ แล้วแต่อารณ์สนทนาจะพาไปถึงเรื่องไหน

    คุณตาบัวลา ซึ่งเป็นคุณตาของภรรยา ท่านชอบเล่าเรื่องราวเก่าๆ ตั้งแต่วัยเด็ก ความซุกซน วีรกรรม การดำเนินชีวิตที่ยากลำบาก ต้องอพยพจากบ้านเดิม ศรีสะเกษ ติดตามขบวนนายฮ้อย สู่เวียงจันทร์ กลับมาอีสาน ภาคกลาง นครสวรรต์ จนย้ายไปกำแพงเพชร ในยุคเปิดป่าให้ประชาชนไปจับจองที่ดินทำกิน เมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา และได้ที่แปลงสุดท้ายไว้ทำนา แบ่งให้ลูกๆ จนถึงทุกวันนี้ เจอกันทีไรท่านมักจะเล่าเรื่องเหล่านี้ วนไปวนมา ตามอาการของผู้สูงอายุ เราก็ฟังไม่เบื่อ

    คราวนี้ท่านถามแปลก ว่า อยากได้คาถาดีมั้ยเล่า (ปกติแกหวงวิชา แม้ลูกๆ หรือใครถาม ท่านก็จะไม่ให้ใคร คงจะดูคนรับด้วย ว่าเหมาะสมหรือไม่ ผมคิดเอาเองนะ)

    ท่านให้ไว้ 4 บท ดังนี้
    (ผมขอมอบให้ทุกท่านเป็นวิทยาทาน)

    1) คาถากันลม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธ์ ท่านได้มาตั้งแต่ยังหนุ่มๆ ได้จากคนนครสวรรค์ เจอกันในงานแต่งงานหนึ่ง คุยกันถูกคอ เขาบอกให้มา คาถานี้มีประสบการณ์ เมื่อครั้ง มีพายุลมแรงมาที่หมู่บ้าน ท่านท่องคาถานี้ ปรากฎว่า ลมแหวกไปเป็นช่อง โดนบ้านอื่นซ้าน ขวา เว้นบ้านท่านไว้หลังเดียว

    ขึ้นต้น ไม่บังคับว่า จะต้องตั้งนะโมหรือไม่ เพราะยามคับขัน รีบเอาแต่บทคาถาก็พอ
    คาถามีอยู่ว่า

    " มเหปัด ตัดวาโย
    พุทธัง มเหปัด ตัดวาโย
    ธัมมังง มเหปัด ตัดวาโย
    สังฆัง มเหปัด ตัดวาโย

    พุทโธ วาโย เพิก
    ธัมโม วาโย เพิก
    สังโฆ วาโย เพิก "

    จะท่องกี่จบก็ได้
    เสร็จแล้ว เป่าไปทางลมที่พัดมา ให้ออกไป

    .........................................
     
  18. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    รวมคาถา 79 บทของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง


    รวมคาถา 79 บท ของหลวงพ่อฤาษี เช่น สูตรเร่งรัดอภิญญา ฝึกมโนกันตายโหงตายอย่างสุคติสวรรค์ที่ไป และคาถาอีก 70 บท


    คำสวดธัมมะจักร


    ธัมมะจักรนี้ถ้าท่านใดได้สวดจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นกิจการงาน แขนงไหนที่ทำอยู่จะมีความเจริญก้าวหน้า เพราะว่าธัมมะจักรเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโปรดนัก บวชปัญจวคีย์ และยังเป็นวงล้อที่หมุนเป็นครั้งแรกของพระพุทธศาสนา จึงนับว่าเป็นการลำบากที่ผู้คนทั้งหลายจะได้สวด และยังจะเป็นการเปลื้องทุกข์ภัยต่างๆ นานาได้อีกด้วย สิ่งร้ายจะกลายเป็นดีและยังทำให้มีอายุยืน มีความสุขกาย สุขใจ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย

    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ยามานัง เทวานัง
    ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    พรหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    พรหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    พรหมะปุโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง พรหมะปุโร หิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    มะหาพรหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง มะหาพรหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อาภัสสะระ เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อสัญญะสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อสัญญะสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมินติ


    พุทธชัยมงคลคาถา


    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้าง
    ครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)
    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
    โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (อนึ่ง พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน
    มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือขันติความอดทน,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจ
    ไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือ ความมีพระทัยเมตตา, )
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)
    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิ-มาล ผู้แสนจะดุร้าย
    มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์, )
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งมีครรภ์
    เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนีผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างคือปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมาย
    ในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราชชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธี
    บอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะนั้น,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรือง
    ด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยาคือทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
    (บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุก ๆ
    วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ)

    เสริมสร้างทางสวรรค์-นิพพาน


    พุทธะ พุทธา พุทเธพุทโธ
    พุทธังอะระหังพุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา
    นะโมพุทธายะ
    จะทำให้ท่านมีความสุข - อายุยืน - นิพพาน


    สืบสร้างทางสวรรค์-นิพพาน


    พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ


    พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
    เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัณชรให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและบูชาเจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะณายะ
    เทวานังปิยะตังสุตตะวา อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ



    ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสังเย ปิวิงสุ นะราสะภา.



    ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.



    สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.



    หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.



    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.



    ๑เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.



    กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.



    ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตานะลาเฏ ตีละกา มะมะ.



    ๒เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

    ๑๐

    ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิวาเม อังคุลิมาละกัง.

    ๑๑

    ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะธะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

    ๑๒

    ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.

    ๑๓

    อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

    ๑๔

    ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

    ๑๕

    อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

    อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร


    ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความศิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูลทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ

    พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศ สำเร็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์


    ตั้งนะโม ๓ จบ

    ๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา บทนี้ชื่อ กระทู้ ๗ แบก ประจำอยู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
    ๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง บทนี้ชื่อว่า ฝนแสนห่า ประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
    ๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท บทนี้ชื่อ นารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ (ทิศใต้)
    ๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ บทนี้ชื่อ นารายณ์ถอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)
    ๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ บทนี้ชื่อ นารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)
    ๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ บทนี้ชื่อ นารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
    ๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา บทนี้ชื่อ ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ)
    ๘. อา วิช สุ นุต สา นุส ติ บทนี้ชื่อ นารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)


    ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

    ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอมซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้ง เดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

    ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว


    คำบูชาพระรัตนตรัย

    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
    โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


    นมัสการพระพุทธเจ้า

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


    ๑. พุทธคุณ

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


    ๒. ธรรมคุณ

    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


    ๓. สังฆคุณ

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


    ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

    ๑.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

    ๒.
    อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะระหันตัง สิระสา นะมามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระนัง คัจฉามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
    สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
    โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

    ๓.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

    ๔.
    อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    พุทธัง สิระสา นะมามิ

    ๕.
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน

    ๖.
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๗.
    อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๘.
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๙.
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
    สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
    สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
    สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๑๐.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๑๑.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

    ๑๒.
    กุสะลา ธัมมา
    อิติปิ โส ภะคะวา
    อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    นะโม พุทธายะ
    นะโม ธัมมายะ
    นะโม สังฆายะ
    ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
    อา ปา มะ จุ ปะ
    ที มะ สัง อัง ขุ
    สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
    อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
    โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
    อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
    อิ สวา สุ สุ สวา อิ
    กุสะลา ธัมมา
    จิตติวิอัตถิ

    ๑๓.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

    ๑๔.
    กุสะลา ธัมมา
    นันทะวิวังโก
    อิติ สัมมาพุทโธ
    สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตาวะติงสา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
    มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ยามา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    พรหมมาสัททะ
    ปัญจะ สัตตะ
    สัตตาปาระมี
    อะนุตตะโร
    ยะมะกะขะ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑๕.
    ตุสิตา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    ปุ ยะ ปะ กะ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑๖.
    นิมมานะระติ อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    เหตุโปวะ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑๗.
    ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    สังขาระขันโธ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑๘.
    พรหมมา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    นะโม พุทธัสสะ
    นะโม ธัมมัสสะ
    นะโม สังฆัสสะ
    พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

    ๑๙.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
    อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

    ๒๐.
    อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
    พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
    จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
    เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
    อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
    มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
    สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
    พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
    อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
    อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

    ๒๑.
    สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
    โมกขัง คุยหะกัง
    ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
    สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

    ๒๒.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม อิติปิโส ภะคะวา

    ๒๓.
    นะโม พุทธัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

    ๒๔.
    นะโม ธัมมัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

    ๒๕.
    นะโม ธัมมัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    ๒๖.
    นะโม สังฆัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
    สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

    ๒๗.
    นะโม พุทธายะ
    มะอะอุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    ยาวะ ตัสสะ หาโย
    นะโม อุอะมะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    อุ อะมะ อาวันทา
    นะโม พุทธายะ
    นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
    อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา


    พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

    ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก


    ๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า


    ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส


    ๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

    ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

    ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

    ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า


    ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว


    ๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์


    ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ


    ๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน


    ๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ


    ๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค


    ๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล


    ๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

    ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

    ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

    ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร


    ๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


    ๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

    ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

    ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


    ๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต


    ๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี


    ๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี


    ๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน


    ๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


    ๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


    ๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


    ๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น


    ๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


    ๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


    ๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว


    ๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว


    ๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง


    คาถาพาหุง
    พุทธคุณ พาหุง มหากา


    จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

    หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลยสติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑. พุทธคุณ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

    ๒. ธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    ๓. สังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)


    ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)


    ๕. มหาการุณิโก

    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
    ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
    นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
    พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
    สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
    จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
    มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*

    ) * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า


    กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้


    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
    เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้

    คาถาแผ่เมตตาตนเอง

    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

    บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)

    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

    <<จบบทสวด>>


    -------------------

    คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

    บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
    บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
    บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
    บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
    บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
    บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

    เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรนอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำ อธิบายบทต่างๆ
    ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจเราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน

    ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
    จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    คำแปล - พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือ คู่ต่อสู้
    คำแปล - อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามารเข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
    คำแปล - ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่าถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่ องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและ ยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่งจึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย
    คำแปล - โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้ จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
    คำแปล - นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้าองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้าจึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ
    คำแปล - สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมาองค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    คำแปล - องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน
    คำแปล - พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่าง แน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


    คำแปล มหาการุณิโก

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุก ๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ


    เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว


    คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว" ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่ อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

    วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่างมีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตายคนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลาน ชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

    พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะและจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต" อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำ ยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืน ไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิ ปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

    อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดาจากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวัน จะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบท พาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้

    "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติ ต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวร มหาราชด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"

    สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้า เพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ" เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม ชะยะมังคะลานิ"


    คาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์

    พุทธมังคลคาถาถือเป็น อีกหนึ่งบทคาถา ของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต
    คำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

    พุทธมังคลคาถา

    สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
    โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคเณยเย จะ กัสสะโป
    สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลิ จะ
    ปัจฉิมเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
    โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อีสาเนปิ จะ ราหุโล
    อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
    วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
    เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน
    อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
    นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
    ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
    ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ

    -----------------

    คาถาบูชาพระสมเด็จ


    ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง
    ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
    อัตถิ กาเย กายะญายะ
    เทวานัง ปิยะตัง สุตะวา

    คาถาอารธนาพระสมเด็จ

    โตเสนโต วะระธัมเมนะ
    โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
    โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง
    โตสะจิตตัง นะมามิหัง


    คาถาบูชาพระสมเด็จ

    โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
    โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง

    (เมตตามหานิยมประเสริฐนัก)



    คาถาชุมนุมเทวดา

    ชุมนุมเทวดา
    สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง
    ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ
    เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา
    ปะริตตัง ภะณันตุ
    สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ
    จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ
    คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ
    วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา
    ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
    ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะ จะนัง
    สาธะโว เม สุณันตุ
    ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา
    โองการเทพชุมนุม
    สาธุ อุกาสะ ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระพุทธะคุณณัง
    พระธัมมะคุณณัง พระสังฆะคุณณัง พระศรีรัตนตรัย
    และสมณาจารย์ ครูอาจารย์ เดชะบรมโพธิสมภารมาอยู่
    เหนือเกศเกล้าแห่งข้าพเจ้า ผู้จะตั้งนมัสการ
    เชิญพระพุทธองค์ ทรงพระสูตร พระวินัย
    พระอภิธรรม พระกัมมัฏฐาน พระธัมมามูล
    ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จนทั้งพระไตรปิฎก
    กัณฑ์ไตร พระเตมียน์ใบ้ พระมหาชนก
    พระมโหสถ พระโพธิสัตย์ พระพุทธสิหิง
    พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ
    พระจตุโลกบาล พระโมกคัลลาณญาณ
    พระสารีบุตร พระพุทธกุ กุกสันโธ
    พระโกนาคุมะโน พระพุทธกัสสโป พุทโธ
    พระศรีสากะยะมุนีโคดม พระพุทธบรรทม
    พระนารอด ยอดพระตัณหัง
    อัฏฐะอรหันตัง พระสุวรรณสามปัณฑิตา
    พระแท่นศิลาอาสน์ พระมุนีนาถ
    พระศาสดา พระยาธรรมิกราช
    พระศรีอารินไมตรี พระฤาษีทั้งแปดหมื่นพระองค์
    อันนั่งจมกรมภาวนาอยู่ในถ้ำพระคูหาสวรรค์
    พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระไตรสรรณคมน์
    พระบรรทม พระโกณทัญญาณาณสุวรรณเสน
    พระสุเมรุราช พระธาตุจุฬามณี
    พระศรีมหาโพธิ พระหัตถ์ พระโอษฐ
    พระหฤทัย พระไตรปิฎก พระปัจเจกโพธิ์
    ท้าวสิริสุทโทธนะ พระนางสิริมหามายาอันเป็น
    พระพุทธมารดาแห่งพระพุทธองค์
    อันทรงพระนามกรชื่อพระสิทธารถชาติ
    เป็นที่สุด พระพุธ พระพฤหัส พระสัชชนู
    พระเสาร์ พระราหู พระสมุทรทั้งห้า
    ทั้งแผ่นฟ้า ทั้งพสุธาชล ทั้งปลาอานนท์
    นางเมขลา พระยาพาลีทรพี อินทรชิต
    สุครีพ ทศกัณฑ์ กุมภัณฑ์ พระลักษณ์
    พระราม พระหนุมาณ พระรามสูร
    พระวิฑูรบูริกา สุนันทยักษา พระยานาค
    พระยาครุฑ พระราหู พิเภก ชมภูทีเปหิมะอันตัง
    พระพุทธเทวดาอยู่ในชั้นฟ้า จตุมหาราชิกาสวรรค์
    เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าดาวดึงสวรรค์
    เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้ายามาสวรรค์
    เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าดุสิตาสวรรค์
    เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้านิมมานรดีสวรรค์
    เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าปรนิมมิตวสวัดดีสวรรค์
    เทพยดาอยู่ในชั้นฟ้าอกนิฏฐโลกมหาสวรรค์
    พระตัณหัง พระพุทธวิปัสสี ปิตุมารดา วาสุกรี
    มังกร ครุฑ กินนร กินรี การเวก ปักษา
    มหากุมภัณฑ์อนันทยักษา มหากะบิลราช
    พระโคอุสุภราช พระสารีริกธาตุ
    พระเพลิงอันรุ่งเรืองรัศมี
    พระศรีรัตนตรัยแก้วและสมณาจารย์
    ทั้งพระรัตนญาณ พระบารมีตาวติงสาตีสูน
    นะโมพุทธายะ ธัมโมพุทธายะ สังโฆพุทธายะ
    ธัมมะปัชชา จะวันทะนา เมตตาติ


    คำไหว้พระธาตุรวม

    วันทามิ เจติยัง สัพพัฏฐาเนสุ
    ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุง มะหาโพธิง
    พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา นาคะโลเก
    เทวะโลเก ตาวะติงเส พรัหมะโลเก
    ชัมภูทีเป ลังกาทีเป
    สะรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อะระหันตา
    ธาตุโย เจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสี-
    ติสะหัสสะธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง
    นะระเทเวหิ ปูชิตา อะหัง วันทามิ
    ธาตโย อะหัง วันทามิ ทูระโต
    อะหัง วันทามิ สัพพะโส


    คำไหว้ปาระมี 30 ทัส

    ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะอุปะปาระมี สัมปันโน , ทานะปะรามัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา ไมตรี กรุณา มุฑิตา อะเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    สีละปาระมี สัมปันโน , สีละอุปะปาระมี สัมปันโน , สีละปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    เนขัมมะปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะอุปะปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    ปัญญาปาระมี สัมปันโน , ปัญญาอุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    ขันตีปาระมี สัมปันโน , ขันตีอุปะปาระมี สัมปันโน , ขันตีปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    สัจจะปาระมี สัมปันโน , สัจจะอุปะปาระมี สัมปันโน , สัจจะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    อะธิฏฐานะปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะอุปะปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    เมตตาปาระมี สัมปันโน , เมตตาอุปะปาระมี สัมปันโน , เมตตาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    อุเปกขาปาระมี สัมปันโน , อุเปกขาอุปะปาระมี สัมปันโน , อุเปกขาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    ทะสะปาระมี สัมปันโน , ทะสะอุปะปาระมี สัมปันโน , ทะสะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหังฯ

    คำพรรณนาพระบรมธาตุ

    อะหัง วันทามิ ทูระโต
    อะหัง วันทามิ ธาตุโย
    อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ

    มงคลจักรวาฬทั้ง 8 ทิศ


    มงคลจักรวาฬใหญ่

    สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ อะสีตยานุพยัญชะนานุภาเวนะ อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ เกตุมาลานุภาเวนะ ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาะเวนะ สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ เตชานุภาเวนะ อิทธานุภาเวนะ พะลานุภาเวนะ เญยยะธัมมานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะ ธัมมักขันธานุภาเวนะ นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ สัพพะปะริตตานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทา ฯ อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุ ฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
    ภะวะตุ สัพพะ มังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
    ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
    นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
    ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว
    นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา
    ปะริตตัสสานุภาเวนะ หันตวา เตสัง อุปัททะเว ฯ

    เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
    ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
    โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
    เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
    สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
    ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
    ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
    สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
    อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ
    เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ
    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ ฯ
    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ กะตะเม เอกาทะสะ ฯ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติ ฯ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ ฯ มะนุสสานัง ปิโย โหติ ฯ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติฯ เทวะตา รักขันติ ฯ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ฯ ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ ฯ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ ฯ อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติฯ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ ฯ

    คาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง

    พระสยามมินโธ วะโรอิติ พุทธสังมิ อิติอรหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโม พุทธายะ
    (หรืออาจว่าคาถาแบบเต็มรูปแบบดังนี้)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ
    อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ
    พระสยามมินโท วะโรอิติ
    พุทธะสังมิ อิติอะระหัง
    สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ
    นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง
    (หรือจะช่วยกันรวมจิตอธิษฐานภาวนาพระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง
    โดยขอพรจากพระองค์ท่านเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้)
    ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    ข้าพระพุทธเจ้า ...(ชื่อ) ขอถวายบังคมองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
    ขออัญเชิญพระบารมีแห่งพระองค์โปรดดลบันดาล ให้ข้าพระพุทธเจ้า
    มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าทั้งชีวิตครอบครัว และธุรกิจการงาน
    หวังสิ่งใดขอให้สมปรารถนา ขออัญเชิญพระบารมีแห่งพระองค์
    โปรดดลบันดาลพิทักษ์รักษา ปกแผ่ให้ปวงชนชาวไทยทั้งชาติ
    ปราศจากภยันตราย อันก่อความแตกแยกสามัคคี ให้มีแต่สันติสุข
    ขอให้ชาติไทยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    ธำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย เพื่อให้ปวงชนชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
    ภายใต้พระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมแห่งองค์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระมหากษัตราธิราชไทยทุกพระองค์ด้วยเทอญ


    คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม


    (เป็นการออกเสียงตามภาษาจีนแต้จิ๋วที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแปลไว้ทั้ง สองบท แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสามารถอธิษฐานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอะไรก็ได้ เพราะว่าการสื่อความหมายจะใช้แรงอธิษฐาน ที่เกิดจากความตั้งใจอันแน่วแน่ของผู้กราบไหว้ในขณะสวดบริกรรมนั่นเองที่ สำคัญที่สุด)
    บทสรรเสริญพระคุณ
    นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
    โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
    ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
    นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)
    บทมหากรุณาธารณีสูตร
    โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
    ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)
    นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
    นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
    ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
    หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี
    ซูตัน นอตันเซ
    นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
    ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
    นำมอ นอลา กินซี
    ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
    สะพอ ออทอ เตาซีพง
    ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
    นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา
    ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
    ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
    หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
    มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน
    กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
    หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
    ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
    อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี
    ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
    ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
    สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
    มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ
    ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
    สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
    มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย
    ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
    ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
    มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ
    นำมอห่อลาตัน นอตอลาเยเย
    นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
    งันสิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    (เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ผู้ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย และทรงเอื้ออารีย์แก่มวลมนุษย์ที่ได้กราบไหว้บูชาให้ประสบผลสำเร็จอันพึง ปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ท่านสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์ภัยพยันตรายให้ท่านที่เดือดร้อน ท่านสามารถสวดคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมให้ครบ ๑๐๘ จบทุกวันโดยตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ก็จะได้ผลสำเร็จอันพึงปรารถนาทุกประการ)


    NONGEAR44:
    พระคาถาป้องกันภัยทั้ง10ทิศ
    ของอาจารย์ฝั้น

    เมื่อสวดคาถานี้ก็อาจสามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่านานาชนิด และภูตผีปีศาจทั้งหลายได้ ถ้าผู้ใดสวดเป็นประจำ ก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย จงตั้งใจสวดทุกเช้าทุกเย็น ก่อนออกจากบ้านไหนก็ตาม ถ้าสวดคาถานี้จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง มีโชคมีลาภและป้องกันอันตรายต่างๆ
    บูระพารัสมิง พรพุทธะคุณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง บูรพารัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    อาคะเนยรัสมิง พรพุทธะคุณัง อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    ทักษิณรัสมิง พรพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    หรดีรัสมิง พรพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง หรดีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    ปัจจิมรัสมิง พรพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    พายัพรัสมิง พรพุทธะคุณัง พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    อุดรรัสมิง พรพุทธะคุณัง อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    อิสานรัสมิง พรพุทธะคุณัง อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง อิสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    อากาศรัสมิง พรพุทธะคุณัง อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง อากาศรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
    ปฐวีรัสมิง พรพุทธะคุณัง ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะ ภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ


    คาถาสารพัดนึก

    พระพุทธเจ้า
    ทานะปาระมี สีละปาระมี เนกขัมมะปาระมี ปัญญาปาระมี วิริยะปาระมี ขันติปาระมี สัจจะปาระมี อธิษฐานะปาระมี เมตตาปาระมี อุเบกขาปาระมี
    ทานะอุปปะปาระมี สีละอุปปะปาระมี เนกขัมมะอุปปะปาระมี ปัญญาอุปปะปาระมี วิริยะอุปปะปาระมี ขันติอุปปะปาระมี สัจจะอุปปะปาระมี อธิษฐานะอุปปะปาระมี เมตตาอุปปะปาระมี อุเบกขาอุปปะปาระมี
    ทานะปะระมัตถะปาระมี สีละปะระมัตถะปาระมี เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี ปัญญาปะระมัตถะปาระมี วิริยะปะระมัตถะปาระมี ขันติปะระมัตถะปาระมี สัจจะปะระมัตถะปาระมี อธิษฐานะปะระมัตถะปาระมี เมตตาปะระมัตถะปาระมี อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี
    บารมี 30 ทัศ
    อานิสงค์ : สารพัดนึก

    รวมคาถาอื่น ๆ


    คาถาเมตตามหานิยม
    นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ
    (ใช้ภาวนาคาถาก่อนออกจากบ้าน จะทำให้คนที่พบเจอมีความรู้สึกที่ดี การติดต่อใดๆก็จะราบรื่นไม่ติดขัด) หรือของอีกสำนักหนึ่งว่าสั้นๆ ดังนี้
    เมตตา คุณะณัง อะระหัง เมตตา

    คาถาเจ้านายเมตตา
    ปัญจะมังสิระสังขาตัง นาหาย นะกาโร โหติ สัมภะโว อิสวาสุ
    (ให้สวดท่องภาวนา ๓ จบ ก่อนออกจากบ้าน แล้วเจ้านายจะเมตตา)

    คาถาขุนแผน
    เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
    (ใช้ท่องกับของใช้ส่วนตัวอะไรก็ได้แล้วจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่หลงไหล)

    คาถาเอ็นดู
    วิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
    ปิยะเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะ มุตตะโม
    ปิโยนาคะ สุปัณณานัง
    ปิณินทะริยัง นะมามิหัง
    นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู
    (ให้ท่องคาถาก่อนไปพบผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดความรักใคร่เอ็นดู)

    คาถาคนนิยม
    เอหิสาลิกา ยังยัง พุทธัง อาคัจฉาหิ สาลิกาถิง กะระณัง ตาวังคาวา
    เอหิมะมะ สุวะโปตะโก อะยัง ราชา สุวัณณะวัณณา สาลิกานัง มะโหสะโต ปิยังมะมะ
    (ใช้สวดภาวนาเมื่อต้องการติดต่อเจรจาในเรื่องสำคัญ ค้าขาย เพื่อให้คนนิยมชมชอบ)

    คาถาสมัครงาน
    พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะริรัญ ชีวิตัญวิทัง
    นะโมมิตตามนุสสาจะ นะเมตตา โมกรุณา
    (ใช้ท่องก่อนออกจากบ้านไปสัมภาษณ์หรือสมัครงานจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่ประทับใจ)

    คาถาค้าขายดี
    โอมอิติพุททัตสะ สุวันนัง วารัชชะคัง วามะนีวาวัตตัง วาพัพพะยัน ละเอหิคาคัชวันติ
    (ให้เอาใบไม้แช่น้ำใส่ขันไว้แล้วสวดภาวนา เลร็จแล้วนำน้ำไปประพรมให้ทั่วร้าน จะทำให้ขายคล่อง)
    หรืออีกคาถาหนึ่งก็ว่ากันว่าทำให้ทำมาค้าขึ้นเหมือนกันคือ
    อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวา อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวา
    และอีกคาถาหนึ่งสำหรับพ่อค้า แม่ค้าที่นิยมเสกเป่า ๓ จบ กับสินค้าเหมือนกันคือ
    พุทธัง พะหุชะนานัง เอหิจิตตัง เอหิมะนุสสานัง เอหิลาภัง เอหิเมตตา
    ชมภูทีเป มะนุสสานัง อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธังเอหิ

    คาถาสาริกาลิ้นทอง
    พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ
    พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ
    พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ
    อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต
    (ใช้สวดภาวนาหากต้องการให้คนรักใคร่ พูดจาเป็นเสน่ห์ ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง)

    คาถาการเจรจา
    นะโมพุทธายะ มะอะอุ ยะธาพุทโมนะ อุอะอะ อิสวาสุ สัพพะทัสสะ อะสังวิสุ โลปุสะพุภะ
    (ใช้ภาวนากับน้ำล้างหน้าตอนเช้าก่อนออกจากบ้านไปติดต่อเจรจาเรื่องสำคัญ จะทำให้สำเร็จในสิ่งที่หวังไว้)

    คาถาอัญเชิญพระเครื่อง
    พุทธัง อาราธนานัง รักษา ธัมมัง อารธนานัง รักษา สังฆัง อาราธนานัง รักษา
    (ใช้สวดภาวนากับพระเครื่องก่อนออกจากบ้าน พระจะคุ้มครองเป็นสิริมงคลกับตัวเอง)

    คาถาอุปถัมภ์
    อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญมาคะตา อิติโพธิ มนุปปัตโต อิติปิโส จะตมะโน
    นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู ยะหันตวา ธามัวเมา พุทพาเอา นะโมพุทธายะ
    (ใช้ท่องก่อนออกจากบ้าน จะทำให้เจ้านายสงสาร ช่วยเหลืออุปถ้มภ์ดี)

    คาถารักแท้
    โอมนะโมพุทธายะ พุทธัง สะระติ ธัมมัง สะระติ สังฆัง สะระติ
    จิตตังสะมาเรมะมะเอทิ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
    (ให้บริกรรมคาถานี้กับลูกอมแล้วอมขณะที่คุยกับคนที่เรารัก จะทำให้เขาคนนั้นเกิดความรักจริงจังขึ้นมา)

    คาถามัดใจ พุทธัง รัตตะนัง ธัมมัง รัตตะนัง สังฆัง รัตตะนัง นะผูก โมมัด พุทรัด ธารึง ยะกรึงคะเร โอมสวาหะ
    (ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ทำให้คนรักคิดถึง)

    คาถามนต์รัก
    โอม นะ ปะ โร รันนะขุเภติ
    พุทธัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
    ธัมมัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
    สังฆัง สะระติ จิตตัง สมาคะมา
    (ใช้ภาวนากับดอกไม้ก่อนที่จะส่งให้กับคนรัก เมื่อเขาหรือเธอสูดดมดอกไม้ก็จะรักเราตอบ)

    คาถาใจอ่อน
    ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะอตใจ นะกาโร โหติ สัมภะโว
    ตรีนิกัตวานะ นะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
    (ใช้ท่องก่อนที่จะพบเจรจากับคนที่เป็นเจ้าหนี้หรือใครก็ตาม จะทำให้ได้รับการผ่อนปรน ใจอ่อนได้ทุกที)

    คาถาผูกใจคน
    โอมนะโมพุทธะ นะ มะ อะ อุ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
    (ใช้สวดเมื่อต้องการให้คนทั่วไปรักใคร่ยินดี ใช้เสกกับแป้งหรือน้ำหอมก็ได้)

    คาถามหาเสน่ห์
    จันโทอะภกันตะโร
    ปิติ ปิโย เทวะมนุสสานัง
    อิตภิโยปุริ โส
    มะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ
    (ให้ภาวนาคาถานี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคน จะทำให้คนที่ต้องไปพบเกิดความรักใคร่)


    หมวดป้องกันภัยต่างๆ

    คาถาป้องกันผี
    นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะ
    สัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะ
    ขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขา
    ปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธัง
    เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง
    อะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง
    ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง
    อิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
    (ใช้สวดภาวนาเมื่อเกิดความกลัวผีขึ้นมา วิญญาณจะไม่มารบกวนเข้าใกล้)

    คาถาป้องกันผีพราย
    ตานังเลนัง สัพพะปาณีนัง เลนังตานัง สัพพะปาณีนัง
    (ใช้สวดภาวนาเพื่อให้ปลอดภัยจากการรบกวนของวิญญาณ ภูตผีต่างๆ หรือภาวนากับน้ำนำไปพรมกับคนที่คิดว่าจะถูกวิญญาณสิงสู่)

    คาถาป้องกันงู
    ปะถะมังพันธุ กังชาตัง ทุติยังทัณฑะ เมวะจะ
    ตะติยังเภทะกัญเจวะ จะตุตถังอังกุ สัมภะวัง
    ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะงู นะกาโร โหติสัมภะโว
    (ใช้ภาวนาเมื่อต้องเข้าป่า ที่รก หรือแม้แต่เมื่อขณะพบเจองู จะทำให้คุณปลอดภัย)

    คาถากันสุนัข
    นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ อิสวาสุ อุอะมะ
    (ใช้ท่องแล้วเป่าเบาๆ เวลาเจอสุนัขดุ)

    คาถาป้องกันตัว
    ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโว
    พินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ
    (ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดังๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)

    คาถาคงกระพัน
    อะสังวิสุ โลปุสะภุพะ
    สังวิทาปุกะยะปะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ อะระหัง
    (ใช้ท่องกับพระเครื่องและวัตถุมงคลและนำติดตัวไว้เพื่อป้องกันตัว คุ้มครอง)

    คาถาป้องกันภัยพิบัติ
    ระตะนัตตะ ยังปุเชมิ คุณะวันตา นะราปิจะ
    เตโสตตะมา นุภาเวนะ ปุญญานิ ปะกะตานิเม
    (ใช้สวดภาวนาก่อนเดินทางหรือกระทำการใดๆที่อาจเกิดอันตราย จะช่วยให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ)

    คาถาสกัดโจรผู้ร้าย
    เจโรอัตนะรถา ยิควา ภูมิยัง
    จักขุมัง ปรมานู ภัควโต อิทธิยา อัตตะโน
    สิริเร มังสัง จักขะ อวสุสตุ
    อวะสุสเต สริเว มังสัง โลหัตตัง
    (ใช้ท่องเพื่อให้ปลอดจากโจรผู้ร้าย)

    คาถาคับขัน
    พุทโธเมสะระณัง เลนัง
    ตาณังชีวิตัง ปะริยันตะ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    นะปิดหู โมปิดตา พุทมิเห็น
    ธาดลซ่อนไว้ ยะหายไป
    (ใช้ท่องบริกรรมเมื่อตกอยู่ในยามคับขัน ศัตรูหรือคนที่ไม่ประสงค์ดีจะมองไม่เห็น)

    คาถาหนังเหนียว
    สุกิตติมา สุภาจาโร สุสีละวา สุปากะโต อัสสะสิมา วะเจธะโร เกสะ โรวา อะสัมภิโต
    (ใช้สวดภาวนาคาถานี้กับน้ำมันทาถูร่างกายจะทำให้อาการฟกช้ำหายเร็ว หรือก่อนออกศึกใดๆ จะทำให้หนังเหนียวไม่บาดเจ็บง่าย)

    คาถาต่อสู้
    นะกาโรปะถะมังฌานัง
    โมกาโรทุติยาฌานัง
    พุทกาโร ตะติยฌานัง
    ธากาโร จะตุตถังฌานัง
    ยะกาโร ปัญจะมังฌานัง
    ปัญจะอักขระรานิ ชาตานิ นะโมพุทธายะ ลักขะนัง
    (ใช้สวดภาวนาเมื่อต้องเผชิญหน้าศัตรูหรือกำลังจะต้องต่อสู้ เพื่อให้พ้นจากอันตราย)

    คาถารอด
    นะรา นะระ หิตังเทวัง นะระเทเรหิปูชิตัง นะรานัง กะมะปังเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง
    (ใช้สวดภาวนาเมื่อสถานการณ์ไม่ค่อยดีเช่น รู้สึกว่ามีคนสะกดรอยตาม ถูกปองร้าย อันตรายกำลังเข้าใกล้ก็ให้ท่องคาถานี้เพื่อให้รอดพ้นอันตรายได้อย่างไม่คาด ฝัน)

    คาถากำบัง
    ปะถะมังพินธุกังชาตัง ตรีนิกัตวา นะนะ การังปัญจะสัมภะวัง
    นะรา นะระ หิตังเทวัง นะระ เทเวหิปูชิตัง นะรานัง กามะปิเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง
    (ใช้สวดภาวนาเพื่อหลบศัตรู หรือคนที่กำลังคิดปองร้าย ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองไม่เห็นหรือคลาดสายตาไปได้)

    คาถาแคล้วคลาด
    พุทธาอะนุนามะริยาสุขังเขยเย
    พุทธาอะนินาสุหะลาลิสังเขยเย
    พุทธาริโยเคมะกุลักขะกัปปะเก
    วันทามิเตสุระนะรักกะเมสะเม
    (ให้ท่องคาถานี้ ๓ จบเวลาต้องการให้แคล้วคลาดในสิ่งใดๆที่อาจเป็นอันตราย หรือเสี่ยง เช่นก่อนเดินทางไกลหรือขึ้นเครื่องบิน)

    คาถากันปืน
    นะอุ เออัด

    ขอบคุณที่มา เว็บบอร์ด dhammajak
     
  19. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
     
  20. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    น้อมส่ง หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี สู่แดนนิพพาน
    สาธุ สาธุ สาธุ
    FB_IMG_1574044255087.jpg
    FB_IMG_1574044246151.jpg
    ขอถวายความอาลัย
    พระครูอุทิศธรรมรส (หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ)
    เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี
    เกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
    มรณภาพอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลทัพทัน จ.อุทัยธานี เช้าวันนี้ 8 นาฬิกาโดยประมาณ ขอน้อมถวายความอาลัยด้วยความเคารพยิ่งขอรับ (งดใช้คำว่า "สาธุ")
    FB_IMG_1574053492713.jpg
    https://www.matichon.co.th/region/news_1758350
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2019

แชร์หน้านี้

Loading...