คณะสงฆ์ 4 จังหวัดชายแดนใต้ ร้องตั้ง สมาคมปกป้องชาวพุทธ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    984e0b897e0b8a2e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b89fe0b8b1e0b899e0b898e0b887e0b980e0b8abe0b895e0b8b8-15.jpg

    ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – “รักชาติ สุวรรณ์” ตัวแทนเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ชี้เหตุกองกำลังบีอาร์เอ็นโจมตี 15 ศพ ชรบ.ที่ จ.ยะลา สั่นสะเทือนแนวคิด “ชุมชนดูแลตัวเอง” แถมยังท้าทายความคิดที่จะให้ “ถอนทหาร” ออกจากแผ่นดินไฟใต้

    วันนี้ (7 พ.ย.) แฟนเพจเฟซบุ๊ก Patani NOTES ได้โพสต์เชิงให้ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้ข้อความลักษณะพาดหัวข่าวไว้ว่า “รักชาติ สุวรรณ์” ชี้เหตุโจมตีที่ลำพะยา สั่นสะเทือนความคิดเรื่องชุมชนดูแลตัวเอง ก่อนจะตามด้วยรายละเอียดของเนื้อหา ดังนี้

    นายรักชาติ สุวรรณ์ ตัวแทนจากเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีกลุ่มคนใช้อาวุธยิงโจมตีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยชี้ถึงผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เพราะผู้คนเสียชีวิตกันถึงสิบห้าศพ เป็นเหตุรุนแรงที่ถือว่าใหญ่มากสำหรับยะลาหลังเหตุระเบิดกลางเมือง ซึ่งมีทั้งระเบิดตลาดในตัวเมืองและย่านถนนรวมมิตร

    “มันเกิดที่ลำพะยา คือที่นั่นอาจจะมีความรู้สึกไม่สบายใจกันบ้าง แต่ก็ยังอยู่กันได้เป็นปกติ เท่าที่เคยเข้าพื้นที่ไปก่อนหน้านี้ พบว่า พุทธและมุสลิมในพื้นที่ไว้ใจกันดี คนพุทธในพื้นที่หากจะหวาดระแวงมุสลิม ก็หวาดระแวงมุสลิมจากนอกพื้นที่”

    เหตุการณ์หนนี้เขาชี้ว่า เป็นสิ่งที่สั่นสะเทือนความเชื่อมั่นของชุมชนที่ดูแลตัวเอง เนื่องจากลำพะยาถือเป็นพื้นที่ที่เรียกกันว่า ชุมชนเข้มแข็ง และที่ผ่านมา แม้ด้านนอกจะมีเจ้าหน้าที่ เช่น มีป้อม อส.อยู่ แต่ภายในชุมชนนั้นอาศัยพลเรือนด้วยกันเองดูแลความปลอดภัยร่วมกันในรูปแบบของ ชรบ. อันเป็นรูปแบบที่หวังกันว่า จะเป็นคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชุมชนคนพุทธ ในขณะที่หลายฝ่ายชี้ว่า การมีกำลังทหารอาจไม่ตอบโจทย์ และอยากให้มีการถอนทหาร เหตุการณ์นี้ท้าทายความคิดเรื่องถอนทหารอย่างชัดเจน

    “เราไม่ใช่อยากให้ทหารอยู่กับเราตลอดไป เราเองก็อยากให้พื้นที่บ้านเราสามจังหวัดกลับไปเหมือนเดิม แต่พอมีเรื่องอย่างนี้ขึ้นก็ต้องเข้าใจว่า คนพุทธส่วนใหญ่ต้องพึ่งทหาร เวลาที่พวกเขาถูกกระทำเขาก็ไม่รู้จะไปพึ่งใคร ก็ต้องพึ่งทหาร พอหลายคนบอกให้ทหารออก เราก็บอกว่าโอเคก็ให้ดูแลกันเอง แต่ว่ามันต้องปลอดภัย เมื่อมีแบบนี้เกิดขึ้น เรื่องจะมายืนยันคำเดิมให้ถอนทหาร ผมว่ายากแล้ว โดยเฉพาะในความเห็นพี่น้องคนพุทธ”

    นายรักชาติ ชี้ว่า ความรู้สึกเช่นนี้มุสลิมในพื้นที่ควรจะทำความเข้าใจความรู้สึกของคนพุทธในเวลานี้ “อย่างเช่นมีการตอบโต้ต่อว่ากัน เราก็ต้องเข้าใจความรู้สึกกันว่า คนพุทธเขาก็กลัว ขนาดอยู่เวรยามกันยังโดนแบบนี้ มุสลิมบางคนเข้ามาต่อว่า บอกว่าปัญหาอยู่ที่ทหาร แต่เราคิดว่าทหารก็ต้องดูแลเรา ก็อยากให้เข้าใจเราด้วย เราฟังเสียงคนพุทธ ผมพยายามบอกว่าเราก็อยากให้กลับมาเหมือนเดิม แต่พอเรากลัวขึ้นมาก็ต้องให้ทหารมาช่วย”

    นายรักชาติ ชี้ว่า สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือทำข้อตกลงกันได้ว่าในพื้นที่ไม่ให้มีความรุนแรง “เช่นบอกว่าลำพะยาต้องไม่มีเหตุการณ์ เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งแล้วค่อยๆ ถอน ต่อไปก็คงได้ แต่พอมาเกิดเหตุการณ์แบบนี้ จะถอนทหารคงยาก”

    เขาย้ำว่าเสียงของคนพุทธที่ออกมาเรียกร้องนั้นชัดเจนว่า พวกเขาพยายามบอกว่าไม่ต้องการความรุนแรง เท่าที่สังเกตในช่วงการยกป้ายแสดงพลังเมื่อวาน (6 พ.ย.) ป้ายต่างๆ ไม่มีป้ายที่ด่าทอเลย มีแต่ป้ายให้ยุติความรุนแรง ทำให้รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการสื่อสารจริงๆ

    เหตุการณ์เช่นนี้สั่นสะเทือนกระบวนการสันติภาพ หรือลดทอนแรงสนับสนุนในหมู่คนพุทธในเรื่องการพูดคุยระหว่างสองฝ่ายหรือไม่ นายรักชาติเห็นว่าไม่กระทบ “เสียงสนับสนุนเรื่องการพูดคุยไม่ได้ลดลง เรื่องการพูดคุยคนทั่วไปก็เชียร์ เพราะเขาก็เสี่ยง”

    สิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นภาพสะท้อนในเวลานี้คือ ความรู้สึกในหมู่คนพุทธที่ว่า การลงมือหนนี้เป็นฝีมือกลุ่มบีอาร์เอ็นแน่นอน และต้องการให้มีการปราบปรามอย่างเด็ดขาด แต่เขาก็ชี้ว่าปัญหาคือ จะหาคนเหล่านี้ได้อย่างไร จากไหน

    สำหรับในวันนี้มีหลายกลุ่มออกแถลงการณ์ประณามความรุนแรง แถลงการณ์ทุกฉบับแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสีย เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้แสดงความกังวลเป็นพิเศษต่อผลกระทบต่อครอบครัวของผู้สูญเสีย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประณามการใช้ความรุนแรง ขอให้มีการติดตามตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และดำเนินการเพื่อให้ชุมชนรู้สึกปลอดภัย มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอให้รัฐติดตามตัวผู้ลงมือมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเร่งด่วน ถูกต้องและเป็นธรรมเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม และขอให้เยียวยาผู้เสียหาย ขอให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น ไม่เผยแพร่ความเกลียดชัง

    ขณะที่กลุ่มเปอร์มาสเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการติดอาวุธพลเรือน และขอให้คู่ความขัดแย้งคำนึงถึงหลักกฎหมายมนุษยธรรมสากล ขอให้ทบทวนเงื่อนไขที่จะขยายความขัดแย้ง และหาทางแก้ปัญหาด้วยวิถีทางการเมือง และสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ หรือกลุ่มลูกเหรียง ประณามการใช้ความรุนแรงละเมิดกฎแห่งสิทธิมนุษยชน และเรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ผลักดันรณรงค์ให้ยุติการกระทำต่อผู้บริสุทธิ์

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/south/detail/9620000106973
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    886e0b98c-4-e0b888e0b8b1e0b887e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b88ae0b8b2e0b8a2e0b981e0b894e0b899e0b983.jpg
    คณะสงฆ์ 4 จังหวัดชายแดนใต้ร้อง ตั้งสมาคมปกป้องชาวพุทธ หลังเกิดเหตุยิง 15 ศพ

    เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 พ.ย. ที่วัดตานีนรสโสร พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ปัตตานี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่พบปะพระสงค์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อ.ของสงขลา เดินทางมาประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการ ตามโครงการสัมนาและรับฟังนโยบายของรัฐมนตรี พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและหารือร่วมกันในการแก้ไขความเดือดร้อนของชาวไทยพุทธในพื้นที่

    หลังเกิดเหตุคนร้ายคนร้ายไม่ทราบกลุ่ม ไม่ต่ำกว่า 10 คน ใช้อาวุธสงครามบุกยิงป้อมจุดตรวจชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เป็นเหตุให้ เจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านเสียชีวิต 15 ราย เหตุเกิดเมื่อคืน วันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวไทยพุทธเป็นอย่างมาก

    ประกอบกับในห่วงที่ผ่านมายังคงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณร และวิธีการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ ดังนั้นจึงมีเวทีสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเพื่อหาทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความมาสงบในพื้นที่

    โดยมี เจ้าคณะจังหวัดใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พระสังฆาธิการ เครือข่ายไทยพุทธ และเจ้าหน้าที่ กองพันราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านจังหวัดปัตตานี เข้าร่วมในครั้งนี้

    ด้าน พระสิริจริยาลังการ เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี กล่าวบนเวทีสัมมนาว่า ทางคณะสงฆ์ จะจัดตั้งเป็นสมาคมความมั่นคงพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคณะสงฆ์ทั้ง 5 จังหวัด มีสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด 5 จังหวัด

    มี กอ.รมน. มี ศอ.บต. มีสมาคม สมาพันธ์ชาวไทยพุทธ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งสมาคม เมื่อมีการจัดตั้งสมาคมถูกต้องตามกฎหมาย ทางคณะสงฆ์ และชาวพุทธในพื้นที่ จะได้มีตัวตนเพื่อช่วยกันสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งให้กับพระพุทธศาสนา[​IMG] [​IMG]

    ขณะนี้กำลังยื่นจัดตั้งสมาคมโดยมีศูนย์การพัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมตัวกันในการทำงาน ซึ่งเป็นแนวทางเดียวที่จะสามารถให้มีความเสมอภาคของคนในพื้นที่ ที่มีความหลากหลายในพหุวัฒนธรรม ซึ่งทางคณะสงฆ์ขอให้ทางรัฐมนตรีช่วยส่งเสริมในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมามีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

    ที่ประชุมจะเสนอทางภาครัฐว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ให้กับประชาชนให้มากที่สุด นั้นคือสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้ และความมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนาในพื้นที่ เป็นเป้าหมายและถูกทำลายชีวิตจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อความเป็นอยู่ของวัด

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดที่อยู่ในหมู่บ้านห่างไกล การเดินทางระหว่างบ้านกับวัด มีความปลอดภัยน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าออกมา ซึ่งทางราชการก็ทราบ จำเป็นที่จะต้องหาวิธีแก้ไขเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชาวบ้าน

    ด้าน นายพงษ์พันธ์ จันทร์เล็ก ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ยื่นข้อเสนอให้กับทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ข้อ คือ 1.กำหนดนโยบายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่เพื่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินทั้งไทยพุทธ และมุสลิม และกำหนดบทลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้มีองค์กรอิสระในการติดตามดำเนินผล

    2.กำหนดให้ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น รับผิดชอบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของไทยพุทธและมุสลิม แต่ละชุมชนที่มีมัสยิดนั้นๆ รายงานผลการปฏิบัติ ต่อกำนัน และผู้ใหญ่บ้านได้รับทราบ ทุก 3 เดือน และกำหนดบทลงโทษ สำหรับ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ เพราะได้รับค่าตอบแทน

    ด้าน นายเทวัญ กล่าวว่า จะนำปัญหาที่ทางคณะสงฆ์และเครือข่ายไทยพุทธที่เสนอมา นำไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมในคราวหน้า เพื่อเร่งช่วยเหลือความเดือดร้อนของชาวพุทธในพื้นที่ อย่างเร่งด่วน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_3037983
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8a5e0b887e0b89ee0b8b7e0b989e0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b89ee0b89ae0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1.jpg

    วันนี้ (7พ.ย.62) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายณัฏฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายณรงค์ ทรงอารมณ์ รองผู้อำนวยการรักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ลงพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อพบปะพระสังฆาธิการ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา พร้อมรับเรื่องการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ โดยนายเทวัญ กล่าวว่า คณะสงฆ์เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จดทะเบียนรูปแบบของสมาคม เพื่อสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย คณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่ในการหนุนเสริมคณะสงฆ์ ในด้านการปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธาณสงเคราะห์ อย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในพื้นที่ พร้อมกันนี้ จากเหตุรุนแรงคนร้ายยิง ชรบ.เสียชีวิต ผู้ร่วมเวที ขอให้ปรับมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างความสงบให้เกิดขึ้นในพื้นที่

    นายเทวัญ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ตนจะรวบรวมข้อเสนอต่างๆจากพระภิกษุสงฆ์และประชาชนในพื้นที่ที่ได้สะท้อนความต้องการมารายงานให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบ และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมการเรียนธรรมะของเยาวชนให้เพิ่มมากขึ้น การพัฒนาวัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้เพื่อพัฒนาพระพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความมั่งคง แข็งแกร่ง เป็นศูนย์รวมจิตของประชาชน และจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดสันติสุขในพื้นที่

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/740496
     
  4. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    8a3e0b8b1e0b89a2-e0b882e0b989e0b8ade0b980e0b8aae0b899e0b8ade0b89be0b898-e0b8aae0b8a1e0b8b2e0b89e.jpg

    เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 พ.ย. ที่วัดตานีนรสโสร พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ปัตตานี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่พบปะพระสงค์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อ.ของสงขลา เดินทางมาประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการ ตามโครงการสัมนาและรับฟังนโยบายของรัฐมนตรี พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและหารือร่วมกันในการแก้ไขความเดือดร้อนของชาวไทยพุทธในพื้นที่ หลังจากที่เกิดเหตุคนร้ายคนร้ายไม่ทราบกลุ่ม ไม่ต่ำกว่า 10 คน ได้ใช้อาวุธสงครามบุกยิงป้อมจุดตรวจชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เป็นเหตุให้ เจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านเสียชีวิต 18 ราย เหตุเกิดเมือคืนของวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวไทยพุทธเป็นอย่างมาก ประกอบกับในห่วงที่ผ่านมายังคงมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณร และวิธีการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ ดังนั้นจึงได้มรเวทีสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเพื่อหาทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความมาสงบในพื้นที่ โดยมี เจ้าคณะจังหวัดใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พระสังฆาธิการ เครือข่ายไทยพุทธ และเจ้าหน้าที่ กองพันราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านจังหวัดปัตตานี เข้าร่วมในครั้งนี้

    ทางด้านพระสิริจริยาลังการ เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี กล่าวบนเวทีสัมมนาว่า ทางคณะสงฆ์ จะมีการจัดตั้งเป็นสมาคมความมั่นคงพระพุทธศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคณะสงฆ์ทั้ง 5 จังหวัด มีสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด 5 จังหวัด มี กอ.รมน. มี ศอ.บต. มีสมาคม สามาพันธ์ของชาวไทยพุทธ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งสมาคม เมื่อมีการจัดตั้งสมาคมถูกต้องตามกฎหมาย ทางคณะสงฆ์ และชาวพุทธในพื้นที่ ก็จะได้มีตัวตน เพื่อช่วยกันสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งให้กับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน ซึงขณะนี้กำลังยื่นจัดตั้งสมาคมโดยมีศูนย์การพัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมตัวกันในการทำงาน ซึ่งเป็นแนวทางเดียวที่จะสามารถให้มีความเสมอภาคของคนในพื้นที่ ทีมีความหลากหลายในพหุวัฒนธรรม ซึ่งทางคณะสงฆ์ขอให้ทางรัฐมนตรีช่วยส่งเสริมในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมามีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งทางที่ประชุมก็จะเสนอทางภาครัฐว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ให้กับประชาชนให้มากที่สุด นั้นคือสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้ และความมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนาในพื้นที่ ซึ่งเป็นเป้าหมายและถูกทำลายชีวิตจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อความเป็นอยู่ของวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดที่อยู่ในหมู่บ้านห่างไกล การเดินทางระหว่างบ้านกับวัด มีความปลอดภัยน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าออกมา ซึ่งทางราชการก็ทราบ จึงจำเป็นที่จะต้องหาวีแก้ไขเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชาวบ้าน

    ด้านนายพงษ์พันธ์ จันทร์เล็ก ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ยื่นข้อเสนอให้กับทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ข้อ คือ 1 กำหนดนโยบายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่เพื่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินทั้งไทยพุทธ และมุสลิม และกำหนดบทลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้มีองค์กรอิสระในการติดตามดำเนินผล ข้อที่ 2 กำหนดให้ อีหม่าม ฆอติบ บิหล่าน รับผิดชอบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของไทยพุทธและมุสลิม แต่ละชุมชนที่มีมัสยิดนั้น ๆ รายงานผลการปฏิบัติ ต่อกำนัน และผู้ใหญ่บ้านได้รับทราบ ทุก 3 เดือน และกำหนดบทลงโทษ สำหรับ อีหม่าม ฆอติบ บิหล่าน ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ เพราะได้รับค่าตอบแทน

    ด้านนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะนำปัญหาที่ทางคณะสงฆ์และเครือข่ายไทยพุทธที่เสนอมา นำไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมในคราวหน้า เพื่อเร่งช่วยเหลือความเดือดร้อนของชาวพุทธในพื้นที่ อย่างเร่งด่วน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/politics/news_1744264
     

แชร์หน้านี้

Loading...