จุดแตกต่างที่สำคัญที่สุด ระหว่าง สติปัฏฐาน กับ สมถกรรมฐาน คืออะไร ?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ท่อนนี้สอนดีมากครับ
    แต่ท่อนอื่นเละเทะไปหน่อย
    คงจะต้องฝึกอีก ให้เยอะๆครับ
    เส้นทางมีหมื่นแสนล้านวิถี
    ใครชอบใจวิธีไหนก็ฝึกแบบนั้น
    แต่อย่าเพี่งคิดว่า เส้นทางของผู้อื่นผิดเพี้ยน
    เอาไว้ฝึกได้ถึงที่สุดแล้ว ก็จะรู้เห็นเอง
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ไอ้ สมถะ เสียวโว้ยๆๆนั่นน่ะ...ผมประชด ต่างหาก

    สมถะอะไร จะเป็นแต่ความสุข..
    สมถะ มัน เป็นการ เอาออก สละ สลัด ทิ้ง ปล่อย ให้ทาน เสียสละ สูญเสีย
    ยอมละทิ้ง มันไม่ได้หมายถึง นั่งหาความสุขอย่างเดียว...ความสุขส่วนมากจะทำให้ติดใจ เพลินใจ ลุ่มหลง...มันต้อง มีทุกข์ มีเสียดาย มีหวงแหน มีน้ำตา มันถึงจะ เข้าใจ ..สมถะ ทั้งหมด
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อีกอย่าง ผมไม่ได้มาสอนใคร
    เขาถาม ผมตอบ อธิบาย..เท่านั้น.
    ก็แค่นั้น

    ไม่ได้ หลงตัวเอง เหมือน ใครบางตนหรอก...ติงต๊อง
     
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ญาณสมถะ อะไร จะเลือกเอาแต่ความสุข ความพอใจ ของตนเป็นที่ตั้ง..
    ญาณน่ะ มันต้องเป็นกลาง รับได้หมดทั้ง ความทุกข์และความสุข
    ถ้าเลือกเสพเอาเฉพาะความสุขแล้วมันจะค้นพบ สัจธรรม ได้ที่ไหน
    สอนมั่วๆ
     
  5. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    นี่ถ้าคุณขยันฝึกจิต เหมือนกับที่โพสต์แต่เรื่องที่มั่วๆ
    มั่วตั้วไปหมด เหล่านี้ละก็ คุณอาจจะบรรลุจิตใจตนเอง
    ปล่อยวางบางเรื่องราวได้บ้าง
    นี่คุณกลับเอาทุกโพสต์มาเป็นความคิดของตน
    อย่างนี้จะยิ่งเพิ่มอัตตา ตัวตน โดยที่ตนเองก็รู้สึกได้
    แต่ใจมันยังไม่เชื่อ มันก็ทำร่างกายให้เชื่อต่อไม่ได้
    ไม่จำเป็นจะต้องเก็บเอาทุกเรื่องราวมาใส่ใจ
    เอาเท่าที่จำเป็นก็พอ นอกนั้น ก็ปล่อยวาง ออกไป
    ถือซะว่า ไม่ใช่เรื่องของเรา
     
  6. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    มรรควิธี มีหมื่นวิถี มีแสนวิธีพร่ำสอน
    ท่านใช้ใจตนเองวัด ใม่ใช้ ธรรม เข้าวัดทดสอบ
    ท่านก็ย่อมได้แต่สิ่งที่ท่านชอบใจ
    ส่วนอันไหนที่ท่านไม่ชอบใจ
    ท่านก็คิดว่า เค้าทำผิดวิธี
    แล้วตัวท่านฝึกถึงตรงนี้หรือยัง
    ไม่ใช่อ่านมาอย่างเดียว แล้วมาคอยคอมเมนต์ผู้อื่นเค้า
    ที่เค้าฝึกจิต ฝึกธรรมในธรรม จนได้ดีแล้ว
    คล่องแคล่วแล้ว แต่ท่านกลับไม่รู้แม้กระทั่ง กายในกาย
    ต้องกลับไปทบทวนใหม่ให้ดี

    กาย เวทนา จิต และ ธรรม
    และ พระไตรลักษณะสาม
    ต้องฝึกควบคู่กัน จึงจะมีโอกาสบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2019
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    เราก็บอกเตือนท่าน ด้วยความเมตตา
    อยากให้ท่าน ปล่อยวาง ได้
    ไม่ใช่ยึดเอาไว้ทั้งหมด

    ปล่อยวาง บรรลุธรรม

    ท่องจำให้ขึ้นใจ
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อืม เห็นทีต้อง ปล่อยวางจริงแหล่ะ

    ทำไงก็ไม่หายเบื่อ...
    ผมไม่ได้อยากบรรลุธรรมเลยสักนิด....
     
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    พอผมใช้ธรรม เป็นตัววัด เอามา เป็นฐาน

    ท่านก็บอก ผมใช้ใจ...

    ถ้าผมบอก ผมใช้ใจ ที่เป็นธรรม ท่านก็บอก ไม่มีใจที่เป็นธรรม..ไช่มั้ย.?

    ก็นี่ไง...พลิกไปพลิกมา แม้ ธรรมที่เป็นกลาง ยัง ไม่รู้ ไม่เข้าใจ

    อิอิ ผมว่า นี่แหล่ะเรื่องปกติ ล่ะ
     
  10. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    การใช้ ”ดวงตาทิพย์” เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    โดย...พระพรหมมงคลญาณ (รองสมเด็จฯ วิริยังค์ สิรินธโร)
    เจ้าอาวาส(องค์ปัจจุบัน) วัดธรรมมงคล สุขุมวิท101 กรุงเทพฯ



    *** ข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับ พระพรหมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) ***


    1. ท่านเป็นลูกศิษย์โดยตรงของ…
    1) ท่านเจ้าคุณ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ (พระอุปัชฌายะ)
    2) หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
    3) พระอาจารย์ กงมา จิรปุญโญ


    2. ผลงานที่สำคัญของท่าน เช่น
    1) สถาบันพลังจิตตานุภาพ : ปัจจุบันมีผู้สำเร็จเป็นครูสอนสมาธิไปจากสถาบันนี้ จำนวนประมาณ อย่างน้อย 50,000 คนแล้ว (ส่วนมากเป็นฆราวาส) มีอย่างน้อย 200 สาขา ทั่วประเทศ
    2) สร้างวัด ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมประมาณ 40 วัด
    3) พระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศ บรรจุพระบรมสารีริธาตุที่ได้รับจากพระสังฆราชแห่งประเทศบังคลาเทศ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์โดยพระองค์เอง
    4) พระพุทธรูปหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เนื้อหยกตันทั้งองค์) หน้าตักกว้าง 1.66 เมตร สูง 2.20 เมตร และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราชฯ ทรงเสด็จมาพุทธาภิเษกโดยพระองค์เอง

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



    การใช้ ”ดวงตาทิพย์” เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    เราไม่ต้องไปพูดขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ นั่นมันเป็นการสมมติส่วนหนึ่ง แต่ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อจิตของเราแน่วแน่ เราอยากจะเข้าจิตเมื่อไรก็เข้าได้ อย่างนั้นใช้ได้แล้ว ไม่ต้องไปสมมติอะไรให้มันยาก เมื่อถึงเวลาทำสมาธิ พอขัดสมาธิเสร็จจิตก็ลงไปเลย ก็ใช้ได้ อย่างนี้ก็เรียกว่าเกิดความชำนาญ หรือเรียกว่าเป็นสมาธิเข้าขั้น

    จิตที่เป็นสมาธิเข้าขั้นนั้นมีการทดสอบได้ เราจะทดสอบด้วยตนเองเมื่อไรก็ได้ เราทดสอบจิตของเราว่า จิตของเราอยู่ในขั้นที่มีกระแสจิตแล้วหรือยัง ถ้ามีกระแสจิตแล้วหลับตาก็มองเห็น ถ้าไม่มีกระแสจิตหลับตามันก็เท่านั้น กระแสจิตนั้นก็คือกระแสธรรม เป็นกระแสที่ได้รับจากพลังของจิต ก็เหมือนกันกับพลังไฟฟ้า พลังแสงอาทิตย์ ที่มันบังเกิดขึ้นมีแสงสว่างออกไป ถ้าไม่มีกำลัง ไม่มีพลัง แสงเหล่านั้นก็ออกมาไม่ได้

    เมื่อจิตของเราเกิดพลังขึ้นมา เราก็จะได้รู้ว่า จิตของเรามีกระแสจิตแล้ว หลับตาทดสอบดูอะไรก็ได้ จะพิจารณาดูกะโหลกศีรษะหรือจะพิจารณาดูกระดูกซี่โครงก็ได้ หรือจะพิจารณาดูหมดทั้งตัวว่ามันตายไปก็ได้ จะเป็นตัวเราก็ได้ตัวคนอื่นก็ได้ หรือเราจะมองดูกระดูกที่ถูกเผาไฟแล้วทั้งหมด ถ้าเรามองไปยังไม่เห็นก็ถือว่า จิตนั้นยังไม่มีกระแสจิต

    คำที่ว่าเห็นนั้นมันชัดแจ้ง มันไม่เหมือนกันกับเราลืมตามอง เพราะเราลืมตามองมันเป็นตาหนังหรือเรียกว่า ตาสมมติ มองดูกระดูกก็อย่างนั้น มองดูเนื้อหนังก็อย่างนั้น มันเป็นเพียงสื่อสัมพันธ์เท่านั้นสำหรับตานอกที่เรียกว่า ดวงตาของเรานี้

    ***** แต่ส่วนกระแสจิตหรือเรียกว่า “ดวงตาใน” นั้นเรามองชัดลงไปด้วยความสามารถแห่งปฏิภาคนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ เราสร้างขึ้นมาเป็นกะโหลกศีรษะ โครงกระดูก หรืออะไรเราก็สร้างขึ้นมาได้ ถ้าสร้างขึ้นมาได้เช่นนั้นแล้ว เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ผู้นั้นมีกำลังจิตสูงจริงๆ

    ***** อันนี้บอกเอาไว้ เผื่อใครทำได้คนนั้นก็จะได้ทำให้ก้าวหน้าต่อไป เผื่อว่าใครยังทำไม่ได้ก็ให้รู้ไว้ว่า กระแสจิตเกิดขึ้นจากพลังของจิต และเป็น ”ดวงตาทิพย์” ดวงตาทิพย์นี้เป็นดวงตาทิพย์ที่มีประสิทธิภาพ คือ สามารถมองดูเห็นชัด

    สำหรับผู้ที่มีสมาธิแก่กล้า เช่น พวกฤาษีต่างๆ จะทำสมาธิเพื่อฤทธิ์เดช เพื่อจะเป็นการแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ เขาทำเพื่อให้มันพิเศษๆไป อย่างนั้นมันเป็นจุดประสงค์ของพวกฤาษี แต่จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนานั้น ไม่เหมือนกันกับจุดประสงค์ของฤาษี จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา ต้องการกำจัดกิเลสให้สิ้นไปจากจิตโดยสิ้นเชิง

    ***** แต่หากว่าพวกฤาษีเหล่านั้น ต้องการอยากจะทำกิเลสให้หมด ฤาษีก็ทำได้ง่ายกว่าพวกเรา เพราะมีเครื่องมือครบแล้ว ( คือ พลังจิตสูง , ฌาน 4 และอภิญญา 5 ) พร้อมที่จะทำลายกิเลสได้ทุกเมื่อ...

    มีพวกฤาษีประมาณห้าร้อยตนออกจากป่าหิมพานต์ มานั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งในต้นไม้นั้นมีปราสาทเทวดาอยู่ข้างบน……………
    ………ฤาษีได้ยินเทวดาเล่าว่า มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้ว ก็อยากจะไปฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า จึงได้ลาเทวดา แล้วก็พากันเหาะจากสถานที่นั้นไปยังวัดพระเชตวัน เมื่อเหาะไปถึงแล้วก็ไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

    ***** พระองค์แนะวิปัสสนาให้นิดเดียวเท่านั้น ให้พิจารณาไตรลักษณ์ คือ ให้พิจารณา อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน อนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ “ พิจารณาเพียงเท่านี้ชั่วโมงเดียวฤาษีทั้งห้าร้อยก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสไปได้ “

    ฤาษีเหล่านั้นแต่ก่อนทำไมถึงไม่สำเร็จ ก็เพราะว่าไม่รู้จักวิปัสสนา จึงไม่เกิดความสำเร็จขึ้น ทำไมฤาษีจึงเหาะได้ ก็เพราะฤาษีมีฌาน แต่เป็นโลกียฌาน แล้วทำไมฤาษีเหล่านั้นจึงแสดงฤทธิ์ได้จนกระทั่งเศรษฐีต่างๆ พากันเลื่อมใส ก็เพราะว่าฤาษีเหล่านั้นได้บำเพ็ญฌานสำเร็จแล้ว แต่ฌานที่ได้สำเร็จแล้วนั้นไม่ใช่ว่ากิเลสจะหมดไปด้วย เพราะพวกฌานต่างๆ นั้นไม่สามารถที่จะกำจัดกิเลสได้ ไม่เหมือนกับวิปัสสนา

    ***** เพราะฉะนั้นฤาษีทั้งห้าร้อยนั้น เมื่อไปฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงถึงไตรลักษณ์ “ ฤาษีทั้งห้าร้อยก็สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีพลังจิตอยู่พร้อมแล้ว “


    พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) ท่านแสดงไว้อย่างชัดเจนว่า…

    1. แต่ส่วนกระแสจิตหรือเรียกว่า “ดวงตาใน” นั้นเรามองชัดลงไปด้วยความสามารถแห่งปฏิภาคนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ เราสร้างขึ้นมาเป็นกะโหลกศีรษะ โครงกระดูก หรืออะไรเราก็สร้างขึ้นมาได้ ถ้าสร้างขึ้นมาได้เช่นนั้นแล้ว เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ผู้นั้นมีกำลังจิตสูงจริงๆ

    2. อันนี้บอกเอาไว้ เผื่อใครทำได้คนนั้นก็จะได้ทำให้ก้าวหน้าต่อไป เผื่อว่าใครยังทำไม่ได้ก็ให้รู้ไว้ว่า กระแสจิตเกิดขึ้นจากพลังของจิต และเป็น ”ดวงตาทิพย์” ดวงตาทิพย์นี้เป็นดวงตาทิพย์ที่มีประสิทธิภาพ คือ สามารถมองดูเห็นชัด

    3. เมื่อจิตของเราเกิดพลังขึ้นมา เราก็จะได้รู้ว่า จิตของเรามีกระแสจิตแล้ว หลับตาทดสอบดูอะไรก็ได้ จะพิจารณาดูกะโหลกศีรษะหรือจะพิจารณาดูกระดูกซี่โครงก็ได้ หรือจะพิจารณาดูหมดทั้งตัวว่ามันตายไปก็ได้ จะเป็นตัวเราก็ได้ตัวคนอื่นก็ได้ หรือเราจะมองดูกระดูกที่ถูกเผาไฟแล้วทั้งหมด

    *********

    จากทั้ง 3 ข้อความที่คัดมานี้ แสดงอย่างชัดเจนที่สุดว่า พระครูบาอาจารย์ท่านก็ใช้ ”ฤทธิ์” คือ “ดวงตาทิพย์” ในการเจริญมหาสติปัฏฐานและวิปัสสนา

    **********

    การฝึกเจริญมหาสติปัฏฐานและวิปัสสนามีหลายวิธี สามารถทำได้ทั้ง ”นอกฌานหรืออยู่ในฌาน” ดังนั้นวิธีของแต่ละท่านก็อาจแตกต่างกันไป

    - ผู้ที่มีอัธยาศัยแบบสุกขวิปัสสโก หลายท่านก็จะฝึกนอกฌาน (จิตยังมีนิวรณ์ 5 อยู่)

    ***** ผู้ที่มีอัธยาศัยแบบวิชชา 3 หรือ อภิญญา 6 หลายท่านก็จะฝึก ในฌาน หรือ ใช้ฤทธิ์ (เช่น ดวงตาทิพย์ เป็นต้น) เพราะท่านเห็นว่า การฝึกในฌาน หรือ ใช้ฤทธิ์ นั้นเป็นการฝึกในขณะที่จิตปราศจากนิวรณ์ 5 อย่างแท้จริง ดังนั้นการที่จะตัดกิเลสและบรรลุธรรมย่อมเป็นไปได้ง่ายมากๆอย่างยิ่ง
    สมดังข้อความ (2 บรรทัดสุดท้าย) ที่ว่า “ เพราะฉะนั้นฤาษีทั้งห้าร้อยนั้น เมื่อไปฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงถึงไตรลักษณ์ ฤาษีทั้งห้าร้อยก็สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีพลังจิตอยู่พร้อมแล้ว “


    ขอท่านสมาชิกทั้งหลายพึงพิจารณาเนื้อความเหล่านี้ “ด้วยจิตอันบริสุทธิ์เป็นกลางอย่างแท้จริง” แล้วท่านจะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่จากคำสอนของพระครูบาอาจารย์ เพื่อจะได้นำไปใช้เจริญวิปัสสนาได้อย่างถูกทางและถูกต้อง ต่อไปด้วยเทอญ


    { คัดลอกมาจาก : หนังสือ “คุณค่าของชีวิต : ธรรมเทศนาแนวทางการปฏิบัติธรรม” (หัวข้อ : สมาธิวิสุทธิ) โดย พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) หน้าที่ 91 – 92 พิมพ์ครั้งที่ 2 /2543 ของ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ }

    โดย...พระพรหมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร)

    *******
     

แชร์หน้านี้

Loading...