ึพระโพธิสัตว์ท่านมีหลักเกณฑ์ในการช่วยคนมั้ยคะ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 29 มีนาคม 2019.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    เช่น ต้องเคยเป็นญาติกัน เคยช่วยเหลือกันมาในอดีต
    หรือ ช่วยเพราะสงสาร แล้วท่านพิจารณาอย่างไรคะ ว่าเมื่อท่านช่วยแล้วจะเกิดประโยชน์มากกว่าโทษ เช่น ผู้หญิงโดนสามีตบตีทำร้ายนอกใจ พระโพธิสัตว์เป็นคนกลางมาช่วย แล้วท่านจะรู้ได้ยังไงคะ ว่าเค้า2คนจะไม่กลับไปคืนดีกัน และร่วมกันมาทำร้ายพระโพธิสัตว์ในภายหลัง
     
  2. Fallenz

    Fallenz ○~พบแล้ว เจอแล้ว เสวนาแล้ว ที่เหลือแล้วแต่วาสนา~●

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +733
    วัดที่ความเมตตา ล้วนๆ จ้ะ

    เรื่องอื่น ถ้าคิดจะทำ ลงนรกเพราะเรื่องนั้นๆ ก็ไม่เป็นไร
     
  3. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    พระโพธิสัตว์ใช้...สัปปุริสธรรม 7 ในการช่วยสรรพสัตว์

    สัปปุริสธรรม 7

    (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี — qualities of a good man; virtues of a gentleman)

    1. ธัมมัญญุตา (ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆ เป็นต้น — knowing the law; knowing the cause)

    2. อัตถัญญุตา (ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น — knowing the meaning; knowing the purpose; knowing the consequence)

    3. อัตตัญญุตา (ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป — knowing oneself)

    4. มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น — moderation; knowing how to be temperate)

    5. กาลัญญุตา (ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น — knowing the proper time; knowing how to choose and keep time)

    6. ปริสัญญุตา (ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น — knowing the assembly; knowing the society)

    7. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา (ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น — knowing the individual; knowing the different individuals)

    ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อนี้ ชื่อว่า
    เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณครบ 9
    แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ทรงประกอบด้วยธรรมเหล่านี้
    (ท่านแสดงไว้เฉพาะข้อหลัก 5 ข้อ คือ ข้อ 1-2-4-5-6 องฺ.ปญฺจก. 22/131/166 A.III.148)
    จึงทรงยังธรรมจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี.


    ที่มา

    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=287
     
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    พระโพธิสัตว์ทุกท่าน ทุกชนิด ทุกอย่าง
    จะเน้นช่วยคน จนไม่มีที่สิ้นสุด คือ
    จะช่วยเหลือทุกคนเท่าเทียมกันหมด
    ไม่เลือกว่า จะยากดีมีจน ท่านช่วยหมด


    แต่มีอยู่ประเภทเดียว คือ พระโพธิสัตว์ที่บรรลุธรรมแล้ว
    จะเน้นช่วย เฉพาะที่ช่วยได้ คือ เน้นช่วยแล้วปล่อยวาง
    จะช่วยเฉพาะคนที่เหมาะสมที่จะช่วยเท่านั้น
    นอกจากนั้น จะปล่อยวาง ปล่อยให้กฏแห่งกรรม
    ทำหน้าที่ของมันไป จะไม่ไปยุ่งเกี่ยว จนหมดหน้าตัก
    เรียกว่า ถึงช่วยคนอื่น แต่ตนเองก็ไม่ได้ไปทุกข์กับเค้าด้วย


    ไม่เหมือนพระโพธิสัตว์พวกแรก ที่พอเค้าทุกข์
    ก็เอาใจไปทุกข์กับเค้าด้วย นอกจากช่วยเหลือแล้ว
    ก็ทุกข์ตามเค้าไปด้วย ถ้าช่วยไม่ได้ก็จะยิ่งเป็นทุกข์
    หนักขึ้นไปอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...