รู้จักความจริงในมุมมองของอริยะ (โดยดังตฤณ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 4 เมษายน 2008.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>(ดังตฤณ)</TD><TD>
    </TD><TR><TD colSpan=2>
    รู้จักความจริงในมุมมองของอริยะ

    ขั้นสุดท้ายของการฝึกมีสติอยู่กับสภาวธรรม

    การเจริญสติที่ผ่านมาเป็นไปเพื่อประโยชน์อะไร? คำตอบคือเป็นไปเพื่อเห็นความจริงที่เหล่าอริยะเห็น

    แล้วความจริงที่เหล่าอริยะเห็นคืออะไร? คำตอบคือความจริงเกี่ยวกับทุกข์และการดับทุกข์

    เมื่อเจริญสติมาถึงขั้นที่พร้อมบรรลุมรรคผล เราย่อมทราบว่ากายใจอันถูกส่องสำรวจมาอย่างดิบดีแล้วนี่แหละ คือที่ตั้งของความจริงเกี่ยวกับทุกข์และการดับทุกข์ ดังนี้

    ๑) ทุกข์

    ทุกข์คือขันธ์ ๕ เพราะขันธ์ ๕ คือที่ตั้งของอุปาทานว่ามีเราเกิดมา มีเราแก่ลง มีเราตายไป มีเราพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก มีเราเผชิญเรื่องน่าขัดเคือง มีเราอยากได้แล้วไม่ได้อย่างใจ ตลอดจนมีเราร้องไห้คร่ำครวญด้วยความเศร้าโศกอยู่

    ต่อเมื่อรู้เห็นขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง คือเกิดแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดา ไม่น่าพอใจ ไม่ควรยึดถือ ขันธ์ ๕ จึงปรากฏต่อใจโดยความเป็นก้อนทุกข์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา

    ผู้มีคุณสมบัติพร้อมจะบรรลุมรรคผล ย่อมรู้สึกอยู่ว่าไม่เคยมีเราเกิดมา ไม่มีเราแก่ลง และจะไม่มีเราตายไป ไม่มีเราพลัดพราก ไม่มีเราเผชิญเรื่องน่าขัดเคือง ไม่มีเราเป็นผู้ไม่ได้อย่างใจ ไม่มีเราร้องไห้คร่ำครวญด้วยความเศร้าโศก มีแต่ขันธ์ ๕ แสดงความจริงอยู่ว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ไม่ควรถือว่าขันธ์เหล่านั้นเป็นเราเลย

    ผู้ใกล้บรรลุมรรคผลย่อมเห็นตามจริงว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ให้มาก

    ๒) เหตุให้เกิดทุกข์

    เหตุให้เกิดทุกข์คือความอยากเสพผัสสะที่น่าเพลิดเพลินยินดี เพราะความอยากเสพผัสสะนั่นเอง เปรียบเสมือนยางเหนียว หรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็กที่ล่อใจให้อยากมีตัวตน ไม่อยากทิ้งขันธ์ ๕ ไป อยากเอาแต่ขันธ์ ๕ ที่ชอบใจ แล้วเมื่อไม่ได้อย่างใจเสมอไปก็เป็นทุกข์ทุรนทุรายกัน

    ตัวผัสสะไม่ได้เป็นปัญหา ความอยากเสพผัสสะต่างหากที่ใช่ อย่างเช่นเคยเห็นรูปร่างหน้าตายวนใจ ถ้าถอนตาแล้วไม่ติดใจก็แล้วไป แต่ถ้าติดใจก็กระวนกระวายอยากเห็นอีก หรืออย่างความคิดอันเป็นคลื่นกระทบใจ ที่ผุดขึ้นแล้วสลายตัวไปตามทางของมันอยู่ทุกขณะ แต่อาการเสพติดความคิดทำให้เราไม่อยากให้มันหายไป กลัวว่าถ้าไม่มีความคิดจะไม่ฉลาด หรือกระทั่งกลัวว่าถ้าความคิดสาบสูญแล้วจะไม่มีเราหลงเหลืออยู่ รวมแล้วคนเราจึงกลัวตาย กลัวไม่ได้เห็น กลัวไม่ได้ยิน กลัวไม่ได้คิดแบบที่ชอบใจอีกแล้ว

    ต่อเมื่อเจริญสติรู้เห็นผัสสะกระทบเป็นขณะๆ จึงทราบว่าภาพเสียงและความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายหายไปทุกขณะอยู่แล้ว นาทีก่อนกับนาทีนี้เป็นคนละตัวกันแล้ว จะหวงหรือไม่หวงทุกผัสสะก็ต้องหายไปอยู่ดี หน่วงเหนี่ยวไว้ให้เป็นของเราจริงไม่ได้เลย

    ผู้มีคุณสมบัติพร้อมจะบรรลุมรรคผล ย่อมเห็นความติดใจในผัสสะทั้ง ๖ โดยความเป็นเครื่องร้อยรัด สมควรละเสีย เพราะเมื่อละได้ก็เหมือนทำลายโซ่แห่งความหลงผิดสำเร็จ ขันธ์ ๕ ย่อมปรากฏในการรับรู้ไม่ต่างกับก้อนเสลดในปากที่ควรถ่มทิ้ง ไม่น่าเสียดาย ไม่น่าหวงไว้สักนิดเดียว

    ผู้ใกล้บรรลุมรรคผลย่อมเห็นตามจริงว่า เหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งควรละให้สิ้น

    ๓) ความดับทุกข์

    ความดับทุกข์คือการสละคืนความอยากเสพผัสสะได้จริงอย่างสิ้นเชิง เพราะหลังจากสละคืนความอยากได้หมดจด เท่ากับดับเหตุแห่งความดิ้นรนกระวนกระวายได้สนิท

    ขันธ์ ๕ นั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแสนดีน่าเพลิดเพลินเพียงใด อย่างไรก็เป็นมหันตทุกข์โดยตัวของมันเองเสมอ ดังที่ผู้ใกล้บรรลุมรรคผลเห็นตามจริงอยู่แล้ว ส่วนการสงบจากขันธ์ ๕ นั้น แม้จะยังไม่ประจักษ์ด้วยใจว่าเป็นเช่นไร ผู้ใกล้บรรลุมรรคผลก็ย่อมมีความเข้าใจตรงตามจริงว่านั่นแหละบรมสุข เปรียบเหมือนเห็นว่าไฟร้อน แม้ไฟยังลุกโพลงอยู่ก็ย่อมเข้าใจว่าสงบจากไฟเสียได้สิ้นเชิง จึงชื่อว่าเย็นสนิท

    ผู้มีคุณสมบัติพร้อมจะบรรลุมรรคผล ย่อมไม่ผูกพันกับผัสสะใดๆแม้รสสุขอันน่าพิศวงของสมาธิ ใจสละคืนหมด ไม่เอาความรู้สึกนึกคิด ไม่เอาตัวตน มีแต่มุ่งจะทำที่สุดทุกข์ท่าเดียว และเขาย่อมถึงซึ่งความสำเร็จโดยไม่เนิ่นช้า ทะลุขันธ์ ๕ ออกไปเห็นด้วยจิตอันเป็นฌานว่าความดับทุกข์เป็นเช่นไร

    ผู้ใกล้บรรลุมรรคผลย่อมเห็นตามจริงว่า ความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรประจักษ์ให้แจ่มแจ้ง

    ๔) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คือการดำเนินชีวิตเยี่ยงอริยบุคคลผู้บรรลุมรรคผล เมื่อรู้ความจริงอย่างอริยะ คิดอย่างอริยะ พูดอย่างอริยะ กระทำอย่างอริยะ มีสติรู้อย่างอริยะ และจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างอริยะ วันหนึ่งย่อมกลายเป็นอริยะ ดังนั้นถ้าเราสงสัยว่าทำไมเจริญสติแล้วสติไม่เจริญ หรือสติเจริญแต่ไม่บรรลุมรรคผลเสียที ก็สมควรใช้ข้อปฏิบัติของเหล่าอริยะเป็นเกณฑ์ในการสำรวจตรวจตรา ว่าวิธีดำเนินชีวิตของเราเข้าทางตรงหรือยัง

    การดำเนินชีวิตเยี่ยงอริยะประกอบด้วยองค์ ๘ ประการดังนี้

    ๑. รู้ความจริงอย่างอริยะ คือรู้ว่าอะไรคือทุกข์ รู้ว่าอะไรคือเหตุแห่งทุกข์ รู้ว่าอะไรคือความดับทุกข์ และรู้ว่าการดำเนินชีวิตอย่างไรจึงดับทุกข์ได้ ผู้รู้ความจริงอย่างอริยะได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งอาจหมายถึงสัมมาทิฏฐิระดับรับฟังแล้วจดจำ หรือสัมมาทิฏฐิระดับการตรึกนึกให้เข้าใจ ตลอดจนเกิดสัมมาทิฏฐิบริบูรณ์ด้วยการเจริญสติแล้วบรรลุมรรคผล

    ๒. คิดอย่างอริยะ คือคิดออกจากกาม คิดอภัยไม่พยาบาท และคิดหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนใดๆ เพราะกาม พยาบาท และการเบียดเบียนนั้น เป็นเปลือกหนาห่อหุ้มจิตให้มืดมนอยู่ เมื่อมืดอยู่ความจริงใดๆย่อมไม่ปรากฏให้เห็น

    ๓. พูดอย่างอริยะ คือการเว้นจากการพูดเท็จอันเป็นเหตุให้จิตบิดเบี้ยว เว้นจากการพูดส่อเสียดอันเป็นเหตุให้จิตเร่าร้อน เว้นจากการพูดหยาบคายอันเป็นเหตุให้จิตสกปรก และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้ออันเป็นเหตุให้จิตพร่ามัว กล่าวโดยสรุปคือการพูดไม่ดีเป็นเหตุให้ไม่อาจมองเห็นอะไรตามจริง ถ้างดเว้นเสียได้จึงค่อยเห็นตามจริงได้

    ๔. กระทำอย่างอริยะ คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการขโมย เว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันล้วนเป็นบาปที่พอกหนาแล้วกลายเป็นความโง่เขลา เมื่อเห็นบาปเป็นของดีย่อมได้ชื่อว่าเห็นผิดเป็นชอบ คนเราย่อมไม่อาจเห็นความจริงทั้งที่ยังเห็นผิดเป็นชอบอยู่

    ๕. เลี้ยงชีพอย่างอริยะ คือหากินด้วยความสุจริต ถ้าเป็นพระต้องรักษาวินัยสงฆ์และเพียรเพื่อทำมรรคผลนิพพานให้แจ้งตามกติกาการบวช ถ้าเป็นชาวบ้านต้องทำอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม

    ๖. เพียรอย่างอริยะ คือตัดใจละบาปอกุศลทั้งปวงจนเหือดแห้งไปหมด ขวนขวายเพิ่มบุญกุศลทั้งหลายจนบริบูรณ์เต็มที่ เช่น มีน้ำใจสละให้ทานคนและสัตว์เพื่อทำลายความตระหนี่ เป็นต้น ไม่มัวหลงประมาทว่าเราดีแล้ว ไม่ต้องเพิ่มความดีแล้ว

    ๗. มีสติระลึกรู้อย่างอริยะ คือมีความรู้สึกตัวอยู่ รู้สึกถึงกาย เวทนา จิต และธรรม กำจัดความอยาก ละความเศร้าโศกเสียได้

    ๘. มีสมาธิตั้งมั่นอย่างอริยะ คือเป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากบาปอกุศล จิตตั้งรู้อยู่ในขอบเขตกายใจคงเส้นคงวา กระทั่งเกิดปีติสุขอันวิเวก แล้วพัฒนาขึ้นไปถึงการมีอุเบกขาอันเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ จิตเหมือนปรากฏเป็นอีกภาวะหนึ่งแยกออกมาตั้งมั่นเป็นต่างหากจากกาย เป็นต่างหากจากความรู้สึกนึกคิด สว่างจ้าด้วยปัญญา มีหน้าที่อย่างเดียวคือรู้เห็น ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับกายใจใดๆ

    ผู้ใกล้บรรลุมรรคผลย่อมเห็นตามจริงว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ทั้ง ๘ ประการควรเจริญให้มาก

    เมื่อเอากายใจเป็นที่ตั้งแห่งความจริง เราจะพบว่านอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดมา นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ทุกข์ทั้งหลายล้วนเป็นเท็จด้วยอาการเลอะเลือนไป เมื่อสงบจากทุกข์ได้เฉพาะตน จึงชื่อว่าเข้าถึงของจริงอันเป็นบรมสุข ตั้งมั่นถาวรไม่กลับกลายเป็นอื่นอีก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุ

    ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา
     
  3. จรรยา

    จรรยา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +33
    รู้จักความจริงในมุมมองของอริยะ

    * *

    อริยมรรคมีองค์แปด
    ไม่แน่ว่าเป็นอริยะแล้วจะสรุปได้ปราณีตหรือแตกฉานอย่างที่พระพุทธองค์วางไว้


    และไม่จำเป็นต้องอริยะอ่าน คนทั่วทราบแล้วปฏิบัติตาม ก็นำความเป็นอริยะมาสู่

    (||)
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก็ไม่ต้องไปเลียนแบบพระอริยะ
    แต่ให้เป็นมรรคอุปนิสัยที่ไหลออกมาจากใจ..

    (||)
     

แชร์หน้านี้

Loading...