เรื่องเด่น หลวงปู่โต๊ะพบพระโพธิสัตว์กวนอิม

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 18 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    picture110.png


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กุมภาพันธ์ 2018
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    ประวัติหลวงปู่โต๊ะ

    พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน 2 คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้วเหมือนเดิม ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีอยู่เป็นเวลาอยู่ 4 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปการะท่านต่อมา เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งต่อมามีพระอธิการคำ เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา พร้อมทั้งเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ หลงจากนั้น ท่านได้เรียนศึกษาปฏิบัติคันทธุระ วิปัสสนาธุระ หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนมีความเพียรพยายาม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาพระอธิการคำ ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456

    ออกธุดงค์
    ต่อมาหลวงปู่โต๊ะ ได้ออกธุดงค์จาริกไปทั้วทุกภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ท่านได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรม โดยได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เรียนวิชาพุทธาคม และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และก็ได้ธุดงค์ไปยังภาคเหนือเพื่อศึกษาวิชากับพระอาจารย์อีกหลายท่าน และในขณะที่ท่านเดินธุดงค์ ท่านก็ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อชุ่ม วัดราชสิทธาราม ส่วนสหธรรมิกของท่านที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม และต่อจากนั้น ท่านก็เดินทางไปยังภาคใต้ ไปที่จังหวัดปัตตานี และเมื่อหลวงปู่ท่านกลับมาที่ จังหวัดธนบุรี กลับมายังวัดประดู่ฉิมพลี ท่านก็ได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง

    ปฏิปทาและจริยาวัตร
    หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนที่มีศีลวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีกริยามารยาทที่งดงาม มีความสุภาพอ่อนโยน มีความเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้ และท่านได้เคยเจอเกี่ยวกับโรคระบาด หลวงปู่ท่านเห็นคนหลายคนไม่สบาย ท่านก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะท่านเองก็เป็นโรคนี้ด้วยเหมือนกัน ท่านจึงตั้งจิตว่า หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ท่านจงหายจากโรคนี้ แต่ถ้า ท่านหมดบุญแล้ว ก็ขอให้ตายซะ ในตอนกลางคืน ท่านได้นิมิตว่า หลวงพ่อบ้านแหลมได้นำน้ำพระพุทธมนต์มาเจริญให้ ตื่นมาท่านก็มาเจริญน้ำพระพุทธมนต์ และสุดท้ายท่านก็หายจากโรคนี้

    เบื้องปลายชีวิต
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ มีผู้คนมานิมนต์ท่านให้ออกมาให้พร หรือ ขอความช่วยเหลือ ท่านจึงไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพท่านจึงไม่ค่อยแข็งแรง แต่ยังพอฉันอระไรได้มาก แม้จะรักษาอย่างดีเท่าใด แต่สุขภาพ กายสังขารของท่านก็ไม่อาจจะทนไหว ท่านได้อาพาธครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 และก่อนมรณภาพได้เพียง 7 วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 คณะลูกศิษย์ทีเป็นพยาบาล ได้มาถวายรังนกอีก แต่คราวนี้สังเกตได้ว่า แขนของท่าน บวม ท่านอยู่ได้จนกระทั่งเมื่อเวลา 9:55 น. ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ 93 ปี 73 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษ เสมอพระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน 100 วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ

    สมณศักดิ์
    หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ ได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

    • พ.ศ. 2457 - เป็นพระครูสัญญาบัตรฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ที่ พระครูสังฆวิชิต
    • พ.ศ. 2463 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูวิริยกิตติ์
    • พ.ศ. 2497 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม
    • พ.ศ. 2506 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
    • พ.ศ. 2511 - เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม
    • พ.ศ. 2516 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสังวรวิมลเถร
    • พ.ศ. 2521 - เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวราภิมณฑ์ โสภณภาวนานุสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

    _2_992.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    มรดกชิ้นสุดท้ายของ..หลวงปู่โต๊ะ (สอนภาวนา)
    จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่

    การนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงปู่โต๊ะ แห่งวัดประดู่ฉิมพลี : ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะท่านจะสอนวิธีนั่งเจริญกรรมฐาน วิปัสสนาให้แก่ศิษย์ ท่านจะได้ศิษย์แต่ละคนที่มีความประสงค์จะถวายตัวเป็นศิษย์ทางนั่งเจริญกรรมฐานวิปัสสนา เพื่อแสวงหาความสงบทางใจ จัดหาดอกไม้ธูป เทียน มาสักการะท่านเป็นการขึ้นครูหรือเรียกว่าขอขันธ์ ๕ จากท่านก่อน และท่านจะนัดให้มาในวันพฤหัส โดยแต่ละคนต้องนำ
    ๑. ธูป ๕ ดอก
    ๒. เทียนขาว ๕ เล่ม
    ๓. ดอกไม้ ๕ กระทง
    ๔. ข้าวตอก ๕ กระทง

    30_02_08_16_8_44_33.jpg


    เมื่อมากันพร้อมแล้ว ท่านจะนำเข้าสู่พระอุโบสถและเริ่มสอนวิธีนั่งปฎิบัติเจริญกรรมฐานวิปัสสนาต่อไปนี้

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ปาณาติปาตาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    อะทินนาทานาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ นิจจะสีละวะเสนะสาธุกัง อัปปมาเทนะ รกฺขิตัพพานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลัง วิโสธะเย

    30_02_08_16_8_44_53.jpg

    (จุดธูปเทียนได้)
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
    สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
    พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ(กราบ)
    ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ(กราบ)
    สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ(กราบ)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า คุณบิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ข้าพเจ้าจะขออย่างพระลักษณะปิติทั้ง๕ จงมาบังเกิดใน จักขุทวาร โสตะทวาร ฆานะทวาร ชิวหาทวาร กายะทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิด นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ(กราบ)
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    30_29_07_16_8_26_07.jpg
    ขอให้สังเกตภาพหลวงปู่โต๊ะที่มุมด้านบนขวามือ ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ

    30_29_07_16_8_28_04.jpg
    ช่วงหนึ่งพระอาจารย์ได้ถามแนวการสอนกรรมฐานของวัดนี้ เจ่าอาวาสได้ชี้มาที่รูปที่มุมห้อง เป็นรูปนี้ครับ


    หลวงปู่โต๊ะบอกวิธีนั่งเจริญสมาธิ
    (ต่อจากด้านบน)

    เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง แล้วมองดูพระประธาน
    ผิวพรรณวรรณ สัณฐาน ท่านเป็นอย่างไร.?
    หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง ลืมตาเห็นผิวพรรณ สัณฐานเป็นอย่างไร.?
    แม้หลับตาก็เห็นผิวพรรณวรรณท่านเหมือนอย่างกับลืมตา ทำอย่างนั้นไป

    น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
    น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
    น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
    น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)

    ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว
    ภาวนาว่า ”พุทโธ” ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…
    ภาวนาว่า ”พุทโธ” ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…
    (ให้เวลาปฎิบัติพอสมควรแล้ว หลวงปู่จะสอนและแนะแนวทางปฎิบัติ)
    _____________________
    จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่


    30_29_07_16_8_23_09.jpg
    ขยายภาพให้ดูกันชัดๆครับ การน้อมองค์พระไปตามจุดต่างๆนั้น คล้ายกับการเดินจิตของกรรมฐานมัชฌิมาฯ
    กระทู้ต่อไปผมจะเปรียบเทียบกรรมฐานของหลวงปู่โต๊ะกับกรรมฐานมัชฌิมาฯ ให้เห็นกันชัดๆ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    30_29_07_16_8_24_25.jpg

    30_29_07_16_8_25_18.jpg



    ต่อไปนี้ จะแนะแนวทางของการปฎิบัติในกรรมฐาน...

    - กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ สมถะกรรมฐานประการหนึ่ง วิปัสสนากรมมฐานประการหนึ่ง
    - สมถะเรียกว่า ความสงบ วิปัสสนา ปัญญาเห็นแจ้ง

    - สมถะ สงบจากอะไร “นิวรณ์ ๕” มีอะไรบ้าง กามฉันทะ ความใคร่ในกาม กามคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส ดผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่กามเรียกว่า กามคุณ ๕ เราพึงสังเกตุดูว่า จิตของเรามันตกอยู่ในกามตัวใดบ้าง เมื่อเรารู้ว่า อ้อ มันติดอยู่ที่ความพอใจ ในรูปก็ดี ในเสียงก็ดี ในกลิ่นก็ดี ในสัมผัสก็ดี ในรสก็ดี เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม ความสงบหาเกิดขึ้นกับเราไม่ เพราะเหตุใด เพราะจิตมันเข้าไปอยู่ในกาม ความสงบไม่มี เมื่อความสงบไม่มีเรียกว่าอะไร ไม่ใช่สมถะไม่ใช่สมถะ แล้วเรียกว่าอะไร จิตฟุ้งซ่าน ไปในรูปบ้าง ไปในเสียงบ้าง ไปในกลิ่นบ้าง ไปในรสบ้าง ไปในสัมผัสบ้าง จิตตกอยู่ในกาม ความสงบหาเกิดขึ้นได้ไม่ สมถะกรรมฐาน ถ้าความสงบไม่มีเรียกว่าสมถะไม่ได้ จิตมันตกอยู่ในอำนาจของกามคุณแล้ว

    - เรามีวิธีอะไรที่จะพึงแก้ ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง ๕ นั้นได้...มีทางแก้ พิจารณา กายะคะตานุสติ ก็ได้ หรืออสุภะกรรมฐานก็ได้ เพื่อแก้ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง ๕ ไอ้ที่จิตมันตกไปในกามคุณ เพราะเราเห็นผิดว่าเป็นไปตามจริตของจิตที่มันพอใจ มันชอบรูป เออ!รูปดี มันชอบเสียง เออ!เสียงเพราะดี ชอบกลิ่น เออ!หอมดี ชอบรส รสอย่างนั้น รสอย่างนี้ ชอบสัมผัส การถูกต้องนิ่มนวลอะไรๆเหล่านี้ ธรรมารมณ์อารมณ์พอใจ ไม่พอใจเพิ่มขึ้น

    30_29_07_16_8_25_43.jpg
    วันนั้นมีบริษัทหนึ่งมาตรวจโรคให้พระ โดยใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์



    - แก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ไม่แน่นอน มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มันมาได้อย่างไร อะไรเป็นตัวทุกข์ชาติ ชาติเป็นตัวทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ นี่เป็นตัวทุกข์ ไหนบ่นกันอยู่เรื่อยๆว่า เป็นทุกข์จริง ฉันนี่เป็นทุกข์จริง แล้วเราก็เข้าไปหาทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรานะ เราไม่ต้องการความทุกข์ เราต้องการความสุข แต่ทำไมจิตมันตกไปเองในเรื่องทุกข์อย่างนั้น ทุกข์อย่างนี้ ทุกข์อย่างโน้น ทุกข์ร้อยแปดพันเก้า กิเลส กิเลสกรรมวิบาก กิเลสความใคร่ ใคร่ไปในเรื่องต่างๆ

    - กรรม แปลว่า กระทำ กิเลสกรรม กระทำดี กระทำชั่ว วิบาก เราทำดี ได้รับผลดี เราทำชั่ว ได้รับหลชั่ว พวกนี้เอง ทำให้เราเห็นไปในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม มันก็เพลินในเรื่องความเห็นผิด มันเพลินไป ความเพลินที่เราเพลินเลยเผลอ เผลอไป เผลอไป เผลอไปเลยหลง หลงว่าอย่างนี้ดี หลงไปหมด คนที่หลงนั่นเป็นเพราะอะไร ปราศจากสติ คนปราศจากสติ ปราศจากสติ เขาเรียกว่าอะไร คนประมาท อ้อ.! เรานี่เป็นคนประมาทนะ ทำเป็นคนไม่ประมาทเสียบ้างซี เอ้อ.! ทำไง.?

    - ทำสมถะกรรมฐานนี่ละ เพื่อความไม่ประมาท เพื่อความสงบจากกาม แล้วรู้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความสงบ รู้ได้ มีสติเข้าไปคุมจิต เมื่อเรามีสติเข้าไปคุมจิต เราจะรู้ว่า จิตมีอะไรเป็นอารมณ์ มีดีกับชั่ว อะไรดี กุศลจิต นี่ดี เป็นคนฉลาดเกิดขึ้นในจิตของตนเอง รู้เหตุผล นี่ควร นี่ไม่ควร เกิดปัญญาขี้นในจิต อกุศลจิต นี่จิตโง่ จิตไม่ฉลาด เรียกว่าอกุศลจิต เกิดขึ้นรู้ไม่เท่าทัน อะไรเป็นอารมณ์ของจิต กุศลจิต อกุศลจิต

    - พุทโธ นี่เรียกว่า กุศลจิต มีประโยชน์อะไร ภาวนาพุทโธ มีประโยชน์อะไร แล้วทำไมมีตั้งหลายอย่างหนัก เดี๋ยวก็ให้ตั้ง เดี๋ยวก็ไม่ให้ตั้ง ตั้งอย่างนั้น ตั้งอย่างนี้ ก็เพื่อทดลอง สติกับจิต ให้รู้ว่า ตั้งที่ตรงนั้นน่ะ จิตใจมันเป็นอย่างไรไม่ทราบ มันยังส่ายออกออกไปนอกพุทโธ หรือว่าอยู่ในพุทโธ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    เมื่อมันส่ายออกออกไปนอกพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร สติคุมไว้ เมื่อมันอยู่ในพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร ความสุขอยู่นอกพุทโธ ได้ผลอย่างไรบ้าง ในเรื่องการปฎิบัติ จิตมันอยู่ในพุทโธมันได้ผลอะไรบ้าง ในการปฎิบัติของแต่ละท่าน ละท่าน มันเป็นอย่างงั้น พุทโธนี่เป็นอารมณ์ของจิต สติ จิต แล้วก็อารมณ์ จะต้องมีสติคุมจิตเสมอ คุมอะไร เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่โน้น เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่นี่ เพราะจริตของคน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบโยกย้าย ดี โยกย้าย ได้เห็นสิ่งอะไรผิดแปลก แปลก ของที่เราไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน เราก็เห็น ก็ได้ยิน ถิ่นที่เราไม่เคยไป เอ้อ! ไปได้ ไปได้ดูของแปลกๆ เมื่อไปดูของแปลกๆน่ะ มันมีประโยชน์อะไรสำหรับรู้ สำหรับเห็น มันเป็นประโยชน์ทางโลกหรือว่าประโยชน์ทางธรรม หรือเอาทางโลกมาเปรียบเทียบกับทางธรรม หรือเอาทางธรรมมาเปรียบเทียบกับทางโลก บางคนชอบอย่างนั้น

    บางคนไม่ไปอยู่เฉยๆ อยู่ที่เดียวดีกว่า มันไม่ยุ่ง อยู่ที่เดียวอย่างงั้นก็มี ไม่อยากเที่ยวไปโน้น ไม่อยากเที่ยวไปนี่ อยู่ที่ไหนก็อยากอยู่ที่นั่นมันสบาย มีศีล มีจิตที่ตั้ง เราก็ตั้งดู มันสบายที่ไหน อยู่ที่นั่นก็ได้ เห็นว่ามันไม่สบายก็ย้ายไปอีก ย้ายไปหาความสุขเกิดจากจิตใจของเรา ทำไป

    ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ต้องมีอย่างนี้ มีพระปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ปริยัติเป็นข้อที่ดี ว่าพุทโธเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็นำเอาพุทโธมาปฎิบัติ เรียกว่า ธรรม

    30_29_07_16_9_09_55.jpg
    เจดีย์กลมทรงรามัญ ถ่ายจากคลองภาษีเจริญ

    30_29_07_16_9_11_11.jpg

    30_29_07_16_9_11_42.jpg

    30_29_07_16_9_12_07.jpg
    ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ถ่ายจากสะพานข้ามคลองภาษีเจริญ สะพานนี้สามารถเดินไปวัดปากน้ำได้


    เราภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้สังเกตอยู่ที่ใจ ใจมันเลื่อมใสในพุทโธ บางคราวมันไม่เลื่อมใสในเครื่องพุทโธ เมื่อภาวนาพุทโธเมื่อไหร่มันไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เมื่อไม่เห็นด้วย เราจะต้องทำ ต้องแก้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ ปล่อยไปใหญ่ ต้องแก้ ต้องอ้อนวอน ชวนให้ทำงาน ชวนจิตให้มาทำงานว่า ไอ้งานที่ทำๆกันน่ะ ฉันเคยทำเหมือนกันน่ะ ไอ้งานเหล่านั้นน่ะ แต่มันได้ประโยชน์น้อย งานที่ฉันได้ใหม่ได้ประโยชน์มาก เชิญมาลองทำดู ดูฉันเป็นตัวอย่าง เดี๋ยวนี้ฉันทำงานอีกอย่างหนึ่งแล้ว รู้สึกสบาย

    ท่านผู้ใหญ่ก็ชอบว่า ทำงานดี ผู้น้อยก็ชอบว่า ดี ท่านอัธยาศัยใจคอ วางตนเป็นกลางๆ ไม่เข้าไม่ออก ท่านถือเป็นกันเอง เออ! งานดีแล้วท่านเสนองานการของเราที่ทำ เสนอผู้หลักผู้ใหญ่ว่า นาย ก. เขาทำยังงั้นๆได้รับความชมเชย หรือขึ้นเงินดาวเงินเดือนอะไรให้นี่ล่ะ ฉันทำอย่างงี้ได้เพราะกิจการที่ทำขึ้นใหม่ เราก็ชวนเขา เอ้า!ไปวัดประดู่ ไปทำงานที่วัดประดู่ หลวงปู่โต๊ะ ท่านสอนให้ฉันทำงานขึ้นใหม่ ไปซี เราก็ไป เราก็มาขึ้นทำกันนี่ละ

    30_29_07_16_9_09_32.jpg
    ท่าเรือของวัดประดู่ฉิมพลี

    30_29_07_16_9_08_10.jpg
    บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ

    30_29_07_16_9_08_30.jpg
    บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ


    บางคราวก็เห็นด้วยที่นั่งภาวนา บางคราวไม่เห็นด้วย เพราะอะไร เพราะงานมันบีบคั้น นั่งไปนานๆหน่อย เมื่อย ปวดที่นั่น เจ็บที่นี่ ยุงกัดที่โน่น ยุงกัดที่นี่ ง่วงเหงาหาวนอนไป จิตใจไม่สงบ นั่งอยู่ที่นี่ คิดไปที่โน่น ต่อไปถึงที่นั่น อะไรอีก จะถามว่า นั่นแกคิดเรื่องอะไรอยู่บ้างไหม ที่ไปนั่งภาวนานับไม่ถ้วน อะไรต่ออะไร มันเข้ามาวุ่นวายกันใหญ่ ไม่เห็นจะมีท่ามีทาง อย่า อย่า อย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่งใจร้อนต้องอ้อนวอนนิดหน่อย เพราะงานเขายังไม่เคยทำ เขาไม่เคยทำงานชิ้นนี้ ต้องอ้อนวอนหน่อย ให้รู้ว่า ดีนะ

    งานนี้น่ะดี ทำไปเหอะ ค่อยๆทำไป ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ถึงศรัทธาเวลาไหน ก็เวลานั้นได้ จะถามว่าทำยังไง ยืนก็ทำได้ นอนก็ทำได้ นั่งก็ทำได้ เดินก็ทำได้ มันอยู่ที่การกระทำ เออลองดูซี นั่งก็ทำ ไม่ต้องมาก ๕ มินิส ๑๐ มินิส หรือจะมีศรัทธายิ่งไปกว่านั้นก็ได้

    30_29_07_16_9_12_50.jpg

    30_29_07_16_9_13_18.jpg

    30_29_07_16_9_13_38.jpg

    30_29_07_16_9_14_00.jpg
    บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ มีนักท่องเที่ยวนั่งเรือชมคลอง ทั้งที่น้ำในคลองไม่ใสเอาเลย


    นั่งกำหนดจิตว่า เดี๋ยวนี้จิตมันเป็นอย่างไร.? จิตมันเป็นอย่างไร ทีนี้จิตมันก็เชื่องช้า คุ้นกับงานการเข้า ทีหลังเราไม่ต้องเตือน มันเดินไปตามงานมราเรากะให้ทำ ไม่ต้องไปทำกันบ่อยๆ จำได้ก็เข้ามา อารมณ์อื่นๆก็เบาไป เบาไปแล้วเราก็รู้สึกแช่มชื่น จิตใจมันสมคบดี มันรู้เท่าทัน กิเลส ตัญหา อุปาทาน รู้เท่าทันเขา เย็นเข้า เย็นเข้า ไอ้พวกนั้นดับ ดับด้วยอะไร ดับด้วยศีล ดับด้วยสมาธิ ดับด้วยปัญญา เรียกง่ายๆเขาว่า”วิมุติ” หลุดไปเป็นครั้งเป็นคราว เป็นขณะ เป็นสมัย เป็นกาล หลุดไปได้

    เราเคยโกรธคนมากๆ ต่อไปโกรธน้อยลง เรามารู้ตัวว่า เอ๊ะ!ไอ้โกรธนี่ มันต้องเราก่อนซิ เราก่อน มันเผาเราก่อน แล้วมันจึงไปเผาคนอื่น แล้วก็เดือดร้อน ด้วยประการต่างๆ ลดลงเพราะเห็นโทษ ได้ที่โกรธหรือราคะอะไรนี่ เพราะความหลงของเรา เข้าใจว่ามันเป็นยังงั้นๆยังงั้นๆ

    ทีนี้ก็แก้ความหลง เขาเรียกว่า อวิชชา เราก็ทำ อวิชชานั่นน่ะ เป็นวิชชาขึ้น เมื่อมันเป็นวิชชา ความรู้มันก็ดีขึ้น ความโง่หมดไป ความเขลาหมดไป ความฉลาดก็เกิดขึ้นฉันใด การที่เรามาอบรมใจก็ฉันนั้น ต้องปลอบ ช่วยเหลือตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น การที่จะมาทำจิต ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ตั้งสติคุมจิต จิตก็มีอารมณ์ คือ พุทโธ ทำจิตตัวเอง จะนั่งได้นานเท่าไหร่ก็ตาม ที่ได้อธิบายมานี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้..
     

แชร์หน้านี้

Loading...