ธรรมะที่แท้จริงคืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผีเสื้อราตรี, 5 มีนาคม 2008.

  1. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ขอให้คิดว่าเป็นการสนทนาธรรมแล้วกันนะ เราเรียนธรรมมะเพราะเราอยากหลุดพ้นจากความทุกข์ กรรมฐานน่าจะเป็นพาหนะที่นำพาเราไป อยากถามท่านทั้งหลายว่าปลายทางของกรรมฐานที่นำทางท่านไปจะไปสุดที่ตรงไหน และทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ไหม ด้วยเหตุผลอันใด ช่วยเข้ามาสนทนาธรรมกันที
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ธรรม คือ ทุกอย่าง ทุกสิ่ง ไม่มีสิ่งใด ไม่ใช่ ธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2008
  3. คนมีกำกึด

    คนมีกำกึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +278
    ธรรมะคือ มโน คือใจของท่านนั่นเอง
     
  4. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ปลายทางของกรรมฐานแต่ละกองจะไปสุดทางไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ปลายทางก็คือ การหลุดพ้นของใจที่ไม่กำเริบอีก เราอาจเริ่มต้นที่กรรมฐานใดก็ได้ครับจนได้สมาธิหลุดพ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายได้ แต่สมาธิก็ยังอาจเสื่อมได้

    ต่อเมื่อละ ราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว การหลุดพ้นจากนิวรณ์นั้นก็จะเสถียรและมั่นคงไม่เสื่อมอีก เราจะมีจิตทรงอยู่ในสมาธิโดยธรรมชาติทุกขณะจิต สาเหตุของทุกข์เกิดมีเพราะความยึดมั่น ถ้าปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ใจก็จะเป็นอิสระและพ้นจากทุกข์ทั้งปวงครับ (เหมือนมีม่านบาเรียห่อหุ้มรอบกายเป็นวงกลมอยู่)


    ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาในพระสูตรนี้ครับ

    เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ
    [๕๐๓] ก. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีเท่าไร?​
    สา. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมี ๔ อย่าง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง ดังนี้แล.​
    ก. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?​
    สา. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
    ก. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?​
    สา. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือการมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)ในเบื้องต้น ๑ ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล.
    ก. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?​
    สา. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือการไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
    [๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?​
    สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ
    เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.
    ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวางเป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้นแผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวางเป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้.
    เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
    เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.
    เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต.
    ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน?
    ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
    เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้วทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
    เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่าเลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ. ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้นนั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
    เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่าเลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.
    ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.​
    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.​
    จบ มหาเวทัลลสูตร ที่ ๓
    ที่มา:
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,794
    ธรรมะคือ กายที่ยาววาหนาคืบ ใจซัดส่ายแส่ หาอารมณ์ต่างๆทำให้เกิดความสุขความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ปฏิบัติอย่าทิ้งหลัก กายกับใจ ถ้าทิ้งแล้วไม่พบธรรมแน่นอน สาธุ....
     
  6. ผีเสื้อราตรี

    ผีเสื้อราตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +283
    ขออนุโมทนา ในบุญของทุกท่านด้วยและขอให้ทุกท่านได้ค้นพบพระนิพพานตามสมควรแก่ปฏิบัติดีแล้วชอบแล้ว สาธุ
     
  7. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    แจ้งในไตรลักษณ์
    ถอนจากอุปาทาน
    ปล่อยวางในขันธ์
    อยู่กับปัจจุบันธรรม​
     
  8. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ตามตำราว่าไว้เป้าหมายของการภาวนาคือพระนิพพาน คือความพ้นทุกข์ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีก และพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายในยุคนี้ก็มีทั้งท่านที่ถึงเป้าหมายนี้และและยังอยู่ระหว่างทาง

    ถ้าเราภาวนาถูกทางจริงๆ สติเราจะพัฒนาขึ้นสามารถเท่าทันกิเลสได้ไวขึ้น มากขึ้น ความทุกข์ในชีวิตจะลดลงเรื่อยๆ อุปมาเหมือนคนแบกถุงทรายหลายถุง ยิ่งเดินไปก็ยิ่งรู้ตัวว่ากำลังแบกถุงทรายอยู่ ก็ค่อยๆทิ้งถุงทรายลงข้างทาง พอทิ้งแล้วความเบาสบายก็เกิดขึ้นมาเอง

    ถ้าเราปฏิบัติผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อการปล่อย การวาง แต่เป็นเพื่อการได้ การเอา เพื่อการมีไอ้นั้น มีไอ้นี่ หรือสภาวะอะไรที่ดีๆ หรือที่เราชอบใจ บอกได้เลยว่ายังไม่ใช่ทางเป็นทางกิเลส เพราะปฏิบัติไปยิ่งหนัก ยิ่งมีภาระ ยิ่งวุ่นวาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2008
  9. dhammadasa

    dhammadasa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    679
    ค่าพลัง:
    +69
    สำหรับผม
    ธรรมะคือการเอา "จิต" มาสอน "จิต"
    เราบังคับจิตด้วยสมถะตลอดเวลาไม่ได้
    แต่เรามีวิปัสนาซึ่งเป็นอุบายที่พระพุทธเจ้าคิดค้นไว้เพื่อให้จิตสอนตัวเองให้เชื่องได้
    เมื่อจิตเชื่อง จิตก็จะมองเห็นธรรมที่แท้จริงที่เป็นกฏซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติได้
    จิตจะทำงานสอดคล้อง "ถูกต้อง" กับธรรมชาติ
    นั่นคือจุดหมายปลายทางของผม
    ไม่รู้ตรงกับของคนอื่นหรือเปล่า
    (one-eye)
     
  10. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,174
    ค่าพลัง:
    +7,815

    จะไปสุดตรงไหน ไม่รู้ยังไปไม่ถึง แต่โดยทฤษฎีแล้วก็เหมือนกันหมด แค่อยู่ในอารมณ์ฌานในสมาธิก็สุข(เกิดแต่ความสงบ)ได้ถึงเพียงนี้แล้ว หากพ้นทุกข์หลุดพ้นไปได้ คงจะสุขมากกว่านี้อย่างเทียบกันไม่ได้ จิตนาการไม่ออกเลยมั้งจ๊ะ
     
  11. weirchai

    weirchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    393
    ค่าพลัง:
    +1,410
    เริ่มต้นก็เดินไปเรื่อย ๆ สักวันมันก็จะต้องถึงจุดหมาย
    ปลายทางของกรรมฐานที่เราฝึกกันนั้น เห็นที่จะเหมือนกันหมดทุกคนแหละมั้ง นั้นก็คือการเข้าถึงพระนิพพาน ในเมื่อเรายังไปไม่ถึงเราก็ควรจะหาที่แวะพักเหนื่อยก่อนแต่ไม่ใช่แวะไปอบายภูมินะ แวะไปบน สวรรค์ หรือ พรหมโลก ก่อน แล้วค่อยเดินต่อไป กรรมฐานนั้นคือชื่อที่ครอบคลุมทั้งหมดรวมไว้แล้วทั้งสมถะและวิปัสนาญาณ
     
  12. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ธรรมะที่แท้จริง เหมือนที่ท่านเว่ยหล่างกล่าวนั่นแหละ "ไม่มีทั้งกระจกและโพธิ แล้วฝุ่นจะจับได้อย่างไร" ธรรมะที่พูดได้คือวิธิการเพื่อไปสู่ความดับอย่างสิ้นเชิง
     
  13. พิญณ์

    พิญณ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +19
    การไม่ยึดติด ไม่ผูกมัด ไม่มีกายจีรัง สูญสลายตามเวลา สรุปคือ ธรรมชาติที่ไร้ซึ่งการปรุงแต่ง
    หลับตาสบายๆใต้ต้นไม้มีลมพัดแผ่วเบา จิตสงบนิ่ง ดีไม่คิด เลวไม่คิด ไม่ยึดติดอะไร ไม่มีตัวกู ของกู "ธรรมมะ"
     
  14. keawnum

    keawnum Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +51
    ปลายทางของกรรมฐานไม่มีจุดสิ้นสุดจ่ะ ไม่งั้นทำไมพวกได้อภิญญาถึงเกิดแล้วเกิดอีก คิดสิ แปลกไหม

    กรรมฐานก็เหมือนกีฬา กีฬาทางจิตเท่านั้นแหละ มีไว้ฝึกสมาธิ ให้ใจจดจ่อ จ่อมากๆจะได้เอาหัวมีสมาธิที่จดจ่อไปคิดพิจารณาว่าอันไหนมันเป็นสิ่งสมมติ จะได้ละๆทิ้งกันไป ไม่ต้องมาเกิด อย่าไปหลงกับธรรมะให้มาก สิ่งสมมติของมนุษย์นี่ล่ะตัวดี(แต่มันก็เป็นอุบายให้คนสนธรรมมากขึ้น)

    ธรรมที่แท้จริง ถ้าตอบไปก็เป็นสิ่งสมมติปรุงแต่งขึ้นมาอีกน่ะสิ จะให้ตอบแบบไหนลองอ่านทวนไปมาหลายๆรอบนะ
     
  15. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าเราเข้าใจกฏไตรลักษณ์ นี้ก็จะเข้าใจธรรมได้มากขึ้น เมื่อเข้าใจ ใจก็สงบ ไม่ฟุ่งซ่าน ทำให้เกิดสมาธิ และปัญญา ตามมา เมื่อรู้เหตุ รู้ผลตามความเป็นจริง ความยึดมั่นถือมั่นก็คลายลง...ท่านก็จะพบความสุขที่ท่านต้องการ
     
  16. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนา


    [​IMG]

    บทสรุปกรรมฐาน 40 กอง คือ ติดฐานไหน ปลงฐานนั้น
    ฐานไหนไม่ติด ไม่ตรงจริต ไม่ต้องปลง เพราะมันปลง มันไม่ยึดอยู่แล้ว
    ปลงตรงฐานที่ติด จะได้ไม่มัวหาฐานอยู่
    เป็นกรรม
    ในฐาน
    วนเวียนใช้วิบาก ใน เทวโลก พรหมโลก ไม่หลุดไม่พ้นสักที

    บทสรุป กรรมฐาน คือ ปลงทุกฐาน นิพพานทันที

    ขอเชิญฟังธรรมเทศนาหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ
    สรุปการปฏิบัติ
    สรุปโลก สรุปธรรม 1
    สรุปวิชชา สรุปอวิชชา 1

    ที่มา http://www.rombodhidharma.com/Pg-04-Dharma.htm
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2008
  17. i_cad

    i_cad สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +12
    เมื่อเราอาศัยอยู่บนโลก ภายใต้สภาวะธรรมชาติ เมื่อรับรู้เข้าใจ มีหลักการอันเป็นธรรมะในการปรับเข้าหา และหลีกหนีภัยแห่งธรรมชาติ เปรียบเหมือนการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ขวางแม่น้ำอันไหลเชี่ยวกราก หยุดความปัี่นป่วนของสภาวะธรรมชาติ ควบคุมนำมาใช้แต่ประโยชน์ ความเข้าใจสร้างเขื่อน อาจพ้องกับธรรมะ วัสดุมวลสารที่นำมาสร้างเปรียบได้ด้วยกรรมฐานและวิปัสนา
     
  18. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าโลกุตตระเป็นเอกเสมอ
    จุดหมายของการปฏิบัติกรรมฐานทุกกองคือเห็นแจ้งใน ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    เมื่อเห็นไตรลักษณ์ แจ้งแล้ว เราจะ เข้าใจ สภาวะ สัพพเพ ธัมมา อนัตตาติ
    และ จบด้วย พุทธพจน์

    จิตฺเตน นียติ โลโกจิตฺเตน ปริกสฺสต
    จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺสสพฺเพว วสมนฺวคู

    "โลกอันจิตนำไปอยู่ เป็นไปตามจิต สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจแห่งธรรมอันเดียวคือจิต"
     
  19. hacknok

    hacknok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +646
    อนุโมทนาบุญกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านทุกนามทุกประการเทอญ...ขอสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิฐานจงศักดิ์สิทธิสำเร็จเป็นจริงโดยฉัพลันทันใจทุกประการ
    อนุโมทนาบุญทั้งหมดทั้งมวลกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆท่านทุกๆนามครับและขอให้มีความสุขเจริญในธรรมตลอดไปด้วยเทอญ

    สามารถเข้าไปดูสรุปงานกิจกรรมโครงการสร้างวัดปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาและอัญเชิญพระยรมสารีริกธาตุไปที่วัดภูน้อย บ้านกลาง ต.คำพี้ อ.นาแก จ.นครพนม
    http://www.watthummuangna.com/board/...ead.php?t=3311

    ช่วยด้วยครับขาดปัจจัยซื้อโค - กระบือจำนวน 5,999 บาท
    http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=3875
    ...................................................................................

    ปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...